วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2554

นอนตะแคงขวาดีที่สุด



การผักผ่อนที่ดีที่สุดคือการนอน และคนเราใช้เวลาหลับถึง หนึ่งในสามของอายุคน พูดง่ายๆคือปกติแล้ว แปดชั่วโมงนอน แปดชั่วโมงเรียนหรือทำงาน และอีกแปดชั่วโมงแล้วแต่บุคคลที่จะเอาไปทำอะไร  ขณะนอนหลับท่านอนที่ดีที่สุด ส่งผลให้ผู้หลับนอนหลับสนิทตลอดคืน และตื่นขึ้นด้วยความสดชื่น ไม่รู้สึกปวดเมื่อย
                โดยปกติแล้วคนเราชอบนอนหงาย เพราะเป็นท่านอนมาตรฐาน การนอนหงายที่เหมาะสมนั้น ควรใช้หมอนต่ำและต้นคอควรอยู่ในแนวเดียวกันกับลำตัวเพื่อไม่ให้ปวดคอ อย่างไรก็ตาม ท่านอนหงายไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรคปอดและหัวใจ เพราะกล้ามเนื้อกระบังลมจะกดทับปอดทำให้หายใจไม่สะดวก ส่งผลทำให้การทำงานของหัวใจลำบากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ผู้มีอาการปวดหลังการนอนหงายในท่าราบจะทำให้อาการปวดรุ่นแรงขึ้น
                สำหรับท่านอนที่ดีที่สุด เมื่อเทียบกับท่านอนอื่นๆคือท่านอนตะแคงขวา เพราะจะช่วยให้หัวใจเต้นสะดวกและอาหารจากกระเพาะจะถูกบีบลงลำไส้เล็กได้ดี อีกทั้งยังช่วยบรรเทาอาการปวดหลังได้เป้นอย่างดีอีกด้วย
                ส่วนท่านอนตะแคงซ้ายซึ่งจะช่วยลดอาการปวดหลังได้แต่ควรกอดหมอนข้าง และพาดขาไว้เพื่อป้องกันอาการชาที่ขาซ้ายจากการนอนทับเป็นเวลานาน ท่านอนตะแคงซ้ายอาจทำให้เกิดลมจุกเสียดบริเวณลิ้นปี่ เนื่องจากอาหารที่ยังย่อยไม่หมดในช่วงก่อนเข้านอนยังค้างในกระเพาะอาหาร
                ส่วนท่านอนคว่ำ เป็นท่าที่ทำให้หายใจติดขัด ทั้งยังทำให้ปวดต้นคอ เพราะต้องเงยหน้ามาทางด้านหลังหรือบิดหมุนไปข้างใดข้างหนึ่งเป็นเวลานาน ถ้าจำเป็นต้องนอนคว่ำจึงควรใช้หมอนรองใต้ทรวงอก เพื่ออาการปวดเมื่อยต้นคอ
หมายเหตุ สุขสาระ จากแบบอย่างของท่านนบี
ในระหว่างเดินทาง ท่านนบี จะเข้านอนดึก และท่านจะนอนตะแคงขวา เมื่อตื้นข้นในตอนเช้า ท่าจะใช้มือสอดประสานกันและรองใต้ศรีษะ แล้วท่านก็ลุกขึ้น  มิชกาต
ครั้งหนึ่งท่านนบีเห็นคนนอนหลับในลักษณะนอนคว่ำท่านกล่าวว่า อัลลอฮไม่ทรงชอบการนอนคว่ำ
คัดจากหนังสือ Handy Reference Book of islam
จาก  นิตยาสาร kampongn48 พฤศจิกายน 2550นคั่แคงซ้ายอาจทำให้เกิดลมจุกเสียดบริเวณลิ้นปี่ เนื่องจากอาหารที่ยังย่อยไม่หมดในช่วงก่อนเข้านอนคั่งค้

วันศุกร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2554

สถิติบางอย่างที่แปลกใน "อัล-กุรอาน "


สถิติบางอย่างที่แปลกใน "อัล-กุรอาน "



จากผลการวิจัยในเชิงวิทยาศาสตร์ที่กระทำกับกุรอานในยุคของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนี้ ยิ่งเป็นการตอกย้ำถึงความมหัศจรรย์ของกุรอาน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเองเป็นผู้พิสูจน์ถึงสัจธรรมที่มีกล่าวในกุรอาน
ดังนั้นอัลลอฮฺจึงได้ท้าทายมนุษย์และญินให้สร้างผลงานที่เทียบเท่ากุรอาน ดังซูเราะที่ 17 ( บะนีอิสรออีล ) อายะฮฺ ที่ 88
ความว่า "จงประกาศเถิด มาตรแม้นมนุษย์และญินรวมกันซึ่งจะนำมาสิ่งที่เหมือนอัลกุรอานนี้ แน่นอนพวกเขาไม่สามารถนำมาสิ่งที่เหมือนนั้นได้เลย แม้พวกเขาต่างคนต่างช่วยเหลือกันก็ตาม"
ต่อไปนี้เป็นผลการวิเคราะห์กุรอานในบางแง่มุม จากการวิเคราะห์เชิงสถิติของดร.ตาริค อัล ซูวัยดัน ( Dr. Tariq Al-Suwaidan ) ซึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่มอิควาน อัลมุสลิมูน( Muslim Brotherhood:Ikhwan Al-Muslimoon ) แห่งซาอุดีอาระเบีย
คำ ความหมาย จำนวนครั้งที่นับได้ในกุรอาน
Al-Dunya โลกนี้ 115
Al-Akhira โลกหน้า 115
Al-Malaikah มลาอิกะฮฺ 88
Al-Shayateen ชัยฏอน 88
Al-Hayat การมีชีวิต 145
Al-Maout การตาย 145
Al-Rajul ผู้ชาย 24
Al-Marha ผู้หญิง 24
Al-Shahar เดือน 12
Al-Yaom วัน 365
Al-Bahar ทะเล 32*
Al-Bar แผ่นดิน 13*
เราจะเห็นถึงตัวเลขที่เป็นคู่ ๆ ( เซาไจม : zawgyme ) ที่แปลกมากคือคู่สุดท้าย ทะเล ( น้ำ ) กับแผ่นดิน ที่มีเครื่องหมายดอกจันอยู่ ตัวเลข 32 กับ 13 วิเคราะห์ง่าย ๆ ดังนี้
ทะเล + แผ่นดิน = 32 + 13 =45
เพราะฉะนั้น อัตราส่วนร้อยละของทะเลคือ (32*100) / 45 = 71.1111
อัตราส่วนร้อยละของแผ่นดินคือ (13*100) / 45 = 28.8888
นี่คือค่าอัตราส่วนระหว่าง น้ำกับแผ่นดินของโลกเราที่ทุกคนทราบเป็นอย่างดีแล้ว
... เมื่ออ่านแล้ว ท่านได้ข้อคิดอะไรกันบ้างคะ ???
บทความจาก : ห้องหนังสือ

วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2554

ระบบกฎหมายของอาณาจักรอุษมานียะห์หรือออตโตมาน


                1)  กฎหมาย
                แนวความคิดด้านกฎหมายของออตโตมาน ได้รับแนวคิดจากอาณาจักรเปอร์เซียบ้าง  อาณาจักรเตอรกีในอดีตบ้าง  รวมถึงอาณาจักรอับบาซียะห์ซึ่งเป็นอาณาจักรอิสลามบ้าง
                แนวคิดของชาวเปอร์เซียที่ได้พัฒนามาใช้ในยุคคอลีฟะห์คือ ผู้ปกครองหรือคอลีฟะห์มีอำนาจเด็ดขาด  บทบัญญัติต่างๆ  และความยุติธรรมเป็นไปตามความเห็นของผู้ปกครองเท่านั้น
                แนวคิดของชาวเติร์กนั้นเป็นแนวความคิดที่ว่ากฎหมายมีอำนาจสูงสุด  ผู้ปกครองจะต้องบังคับใช้ด้วยความยุติธรรม  โดยไม่คำนึงถึงความสัมพันธ์ส่วนตัว  แนวคิดที่เหมือนแนวคิดมุสลิมในเรื่องกฎหมายอิสลามหรือชารีอะฮที่นำมาจากอัลกุรอานและอัลหะดีษ  เมื่อกฎหมายอิสลามหรือชารีอะฮเป็นสิ่งสูงสุดในการส่งเสริมพฤติกรรมและชีวิตความเป็นอยู่ในชุมชน  ชารีอะฮจึงไม่จำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขหรือสังคายนาแต่อย่างไร
                แต่สังคมออตโตมานเป็นสังคมหลากหลายมีทั้งยิว  คริสต์  และอื่นๆ  จึงจำเป็นต้องมีกฎหมายมหาชน  โดนเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการจัดตั้งองค์กรและการบริหาร  ดังนั้นจึงมีห้องพิเศษสำหรับการตีความและออกกฎหมายในเรื่องสำคัญๆ ที่ยังไม่ปรากฏในอัลกุรอานหรือกฎหมายที่เกี่ยวกับศาสนิกชนอื่น  ตลอดจนกฎหมายที่เกี่ยวกับการบริหารองค์กรต่างๆ  นักกฎหมายมุสลิม ส่วนมากรับรองสิทธิของสุลต่านเป็นผู้อำนาจสูงสุดในการออกกฎหมายประกาศใช้กฎหมายทางโลก  (kanun)  ในเรื่องสำคัญๆ  ที่ไม่ครอบคลุมในกฎหมายชารีอะฮ
                ดังนั้นกฎหมายที่ใช้ในอาณาจักรออตโตมานจึงมี  2  ประเภทคือ  กฎหมายชารีอะฮและกฎหมายสุลต่านคือ  สุลต่านเป็นผู้บัญญัติกฎหมายที่ไม่เกี่ยวกับศาสนาอิสลาม  ผู้ที่ทำหน้าที่ตัดสินประหารและบังคับใช้บทบัญญัติของสุลต่าน  เรียกว่า  อะฮฺลิอุรฟ์  (ehli orf)  และอุลามะอฺจะทำหน้าที่บังคับกฎหมายชารีอะฮโดยเฉพาะในมิลเล็ตมุสลิม  สำหรับกฎหมายที่นำมาใช้บังคับกับศาสนิกชนอื่นนั้นสามารถตีความและใช้บังคับเฉพาะศาสนิกชนของตนโดยการนำของผู้นำศาสนานั้นๆ  อุลามาอฺมีสิทธิที่จะประกาศโมฆะกฎหมายโลกที่ขัดแย้งกับกฎหมายอิสลามได้
                2)  กอฎี
                กอฎี  คือ  ผู้พิพากษาตามกฎหมายอิสลามซึ่งเป็นสมาชิกของอุลามาอฺ  วิชาที่ศึกษาและตีความกฎหมายนี้เรียกว่า  ฟิกฮ จึงมีการแบ่งระหว่างผู้ที่ศึกษาและตีความกฎหมายหรือที่ปรึกษาของกฎหมายหรือมุฟตีกับผู้นำกฎหมายมาบังคับใช้ในศาลคือ ผู้พิพากษาหรือกอฎีนั่นเอง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าผู้ชี้ขาด (ฮากีม)
                อาณาจักรออตโตมานได้แบ่งเขตตามอำเภอศาล  ทุกเขตมีศาลประจำเขต  มีผู้พิพากษาหรือกอฎีประจำเขต  มีรองผู้พิพากษาและมีผู้ช่วยผู้พิพากษาอีกจำนวนหนึ่ง  ในราชอาณาจักรออตโตมาน  มุสลิมมีทั้ง 4  แนวทางคือ  แนวทางของมัซฮับฮานาฟี  ซาฟีอี  มาลิกี  และฮัมบาลี  แต่แนวทางที่ยอมรับเป็นทางการคือ  แนวทางของมัซฮับฮานาฟี  กอฎีที่สังกัดมัซฮับฮานาฟีเท่านั้นที่ได้รับแต่งตั้งทำหน้าที่ในศาลต่างๆ  บางเมืองเช่น  อียิปต์และซีเรีย  เจ้าหน้าที่ในท้องถิ่นนั้นๆ  แนะนำให้คำปรึกษาแก่กอฎีทางการที่ถือแนวทางมัซฮับฮานาฟี
                กอฎีทุกคนจะทำหน้าที่ทั้งทางศาลและการบริหารบ้านเมือง  เมื่อเป็นผู้พิพากษาในศาลมุสลิมประจำท้องถิ่นก็จะทำหน้าที่นำกฎหมายอิสลามมาบังคับใช้  รวมถึงกฎหมายทางโลกที่สุลต่านออกประกาศบังคับใช้แก่ผู้อยู่ใต้อำนาจรวมถึงชนชั้นปกครองด้วย  กอฎีจะต้องให้ความเชื่อมั่นว่าศาลจะให้ความยุติธรรมแก่ทุกคนได้  การฟ้องร้องจะต้องดำเนินการอย่างรวดเร็วและยุติธรรมแก่ทุกคนได้  โดยไม่ได้แยกชนชั้นวรรณะและไม่มีการแทรกแซงจากใครทั้งสิ้น  แม้แต่ทนายความเองก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะไปช่วยปกป้อง  ผู้หญิง  เด็ก  และเด็กกำพร้าเป็นกรณีพิเศษ
                หน้าที่สำคัญของกอฎี  คือ  สอบสวนคดีต่างๆ  เรียกตัวพยานและลงโทษผู้กระทำความผิด  กอฎีได้รับความช่วยเหลือจากเจ้าเมือง  (sancak bey)  ประจำท้องถิ่นและหัวหน้าตำรวจ  และกอฎีได้รับการยอมรับให้มีอำนาจในท้องถิ่นร่วมกัน
                โดยปกติทุกๆเมือง จะมีหัวหน้าตำรวจประจำเมือง มีอำนาจจับกุมโจรผู้ร้ายตามขอบเขตอำนาจของตนและตามดุลยพินิจของกอฎี
                กอฎียังต้องรับผิดชอบการบริหารท้องถิ่นอีกด้วย  ต้องควบคุม  ตรวจตราผู้บริหารในเขตของตน  ต้องรับผิดชอบออกเอกสารสำคัญ  รับรองบัญชีรายชื่อประเมินภาษีและบัญชีจัดเก็บให้ความเป็นกลาง  หากเกิดความขัดแย้งขึ้นในศาล  บางครั้งยังให้อำนาจและบังคับแก่ข้าราชการท้องถิ่นที่ถูกปลดออก  จากการละเมิดกฎหมายให้คงรักษาการในตำแหน่งจนกว่าตัวแทนจากเมืองหลวงจะมาถึง
                สำหรับรายได้สูงสุดสำหรับกอฎีคือ  150  อักแจ /วัน  ขณะที่ขั้นต่ำได้รับต่ำกว่า  40  อักแจ/วัน  มีรายได้เพิ่มจากค่าธรรมเนียมที่เก็บในศาล  จากผู้ที่เกี่ยวข้องในคดีต่างๆ หรือจากเอกสารต่างๆ  ที่กอฎีออกให้เพื่อรับรองการเกิด  การแต่งงาน  การตาย  และอื่นๆ  นอกจากนี้ยังได้รับเงินจำนวนมากจากค่าปรับ  จากการให้คำแนะนำแก่ผู้บริหารองค์กรท้องถิ่น  กอฎียังมีสิทธิแต่งตั้งครู  และลูกจ้างใน  mekteb  ท้องถิ่นและ  medrese  เชื่อกันว่ากอฎียังมีสิทธิ์ที่จะคืนค่าธรรมเนียมผู้เข้าสอบแก่ผู้ที่ประสบความสำเร็จ
                กอฎีในเมืองหลวง  (อิสตันบูล)  ได้รับรายได้  500  อักแจ/วัน  กอฎีอิสตันบูลมีหน้าที่ควบคุมการตรวจตรา  การตลาด  และควบคุมราคาในเมือง  ควบคุมการสร้างอาคาร  การดูแลการจำหน่ายน้ำ  และการสุขาภิบาล  งานดังกล่าวมีผู้ช่วยคือ  ihtisap aga”  (รับผิดชอบเรื่องตลาด) , mimarbasi”  (งานอาคารและถนนหนทาง) , subasi”  (ตำรวจเทศบาล)  และ  capluk”  (รับผิดชอบงานทำความสะอาดถนนและงานในลักษณะเดียวกัน)
                ตำแหน่งผู้พิพากษาของประเทศในระดับเขตจัดอยู่ใน  mevleviyet”  และผู้ที่อยู่ในตำแหน่งเรียกว่า  มอลลา (molla)”  การแต่งตั้งผู้พิพากษาสูงสุดของประเทศให้มีขึ้นภายใน  1  ปี  การแต่งตั้งกอฎีให้มีขึ้นภายในเวลา  20  เดือน  นับจากตำแหน่งดังกล่าวว่างลง
                ตามปกติแล้วช่วงที่แต่งตั้งกอฎียังมีตำแหน่งอื่นๆ อีกได้แก่  ผู้สมัครที่เหมาะสม  เช่น  กอฎี “toprak”  ทำหน้าที่เป็นตัวแทนกอฎีไปยังที่ต่างๆ  ในเขตของกอฎี  กอฎีนี้จะไปตรวจสอบการกระทำอันมิชอบตามกฎหมาย  ผิดระเบียบต่างๆ  ของท้องถิ่น  กอฎีนี้ยังถูกส่งเป็นผู้สังเกตการณ์ความไม่ยุติธรรม  รับฟังข้อร้องทุกข์  และกอฎีอาจส่งข้อร้องทุกข์ดังกล่าวไปยังกอฎีทหาร  (kazaskar)  หรือสภาสูงสุด  (imperial council)  กอฎีในระดับสูงได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้พิพากษาทางทหาร  เพื่อทำหน้าที่กอฎีทหารในขณะที่กอฎีทหารไม่อยู่
                3)  มุฟตี  (mufti)
                มุฟตี เป็นผู้ประกาศคำฟัตวาหรือข้อวินิจฉัย  เพื่อตอบปัญหาที่กอฎีเสนอให้ หรือเจ้าหน้าที่เป็นผู้เสนอ  หรือแม้แต่สามัญชนที่ต้องการอำนาจทางกฎหมายมาสนับสนุนตนเองในกรณีใดกรณีหนึ่ง  มุฟตีไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือทำการพิพากษาเป็นการส่วนตัว  มุฟตีต้องปัญหาบนรากฐานที่มีอยู่ในประมวลกฎหมาย  มุฟตีแต่ละคนสามารถหาคำตอบในสิ่งที่ตนต้องการโดยเลือกประมวลกฎหมายที่เหมาะสมกับสถานการณ์  กอฎีหรือผู้อื่นที่หาคำตอบในเรื่องใด  หากอ้างถึงมุฟตีถือว่าได้เปรียบที่สุดในการสนับสนุนการตัดสินใจของตน
                อุลามาอหลายท่านมีคุณวุฒิที่จะประกาศตนเองให้เป็นมุฟตีได้  หากมีผู้คนต้องการคำฟัตวา  (ตัดสินวินิจฉัย)  ในสมัยสุลต่านสุไลมานที่ 1  พระองค์พยายามตั้งองค์กรมุฟตีขึ้นโดยมีสำนักงานผู้นำมุสลิมในราชอาณาจักร (ไซคุลอิสลาม)
                ไซคุลอิสลาม  (ผู้นำมุสลิม)  เป็นผู้แต่งตั้งมุฟตีทางการในทุกเมืองใหญ่ๆ  ทำหน้าที่วินิจฉัยปัญหาต่างๆ  เมื่อกอฎีหรือเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่แคว้นต่างๆ ต้องการ  มุฟตีนี้เป็น  อุลามาอที่ได้ศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย  มุฟตีส่วนมากก็ยึดแนวทางฮานาฟีเป็นหลัก  เพราะฮานาฟีเป็นนิกายทางการ  แต่มุฟตีในอียิปต์  ซีเรีย  มาดีนะห์  และมักกะห์  ได้รับการแต่งตั้งโดยการขอร้องของข้าหลวงหรือผู้นำศาสนา  มุฟตีไม่มีเงินเดือนประจำ  มีรายได้จากค่าธรรมเนียมในการประกาศคำวินิจฉัย  บางครั้งจะเรียกเก็บจากทรัพย์สินส่วนบุคคลที่ขอคำวินิจฉัย  (ฟัตวา)  สำหรับมุฟตีที่รัฐบาลแต่งตั้งจะได้รับค่าธรรมเนียมเป็นการถาวรจากพระคลังและยังได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำปหน่งอื่นๆ อีก  เป็นผู้บริหารองค์กรต่างๆ  และเป็นผู้ไกล่เกลี่ยมรดก  นอกจากนี้ยังมีมุฟตีเอกชน  ประกาศคำวินิจฉัยเป็นรายบุคคล  บางครั้งคำวินิจฉัยขัดแย้งกับมุฟตีทางการ
                4)  อุลามาอชั้นผู้น้อย  (lesser ulama
                อุลามาอชั้นผู้น้อยเป็นชนชั้นปกครองเพราะเป็นผู้ที่มีความรู้  ทำหน้าที่เป็นอิหม่ามตามมัสยิดต่างๆ  เป็นผู้นำละหมาดให้ประชาชนทั่วไป  และทำหน้าที่เป็นหัวหน้าของมัสยิด  เป็นคอเต็บ  อ่านคุฏบะฮ์ในวันศุกร์  อุลามาอบางคนทำหน้าที่เป็นผู้นำศาสนา  แนะนำ  อบรมประชาชน  ตามภารกิจและหน้าที่ของศาสนา  บางครั้งก็เป็นนักเผยแผ่ศาสนาในมัสยิดทุกวันสุดสัปดาห์  อุลามาอบางคนเป็นมุอัซซินทำหน้าที่เชิญชวนชาวมุสลิมให้ทำการละหมาดตามเวลาที่กำหนด  อุลามาอดังกล่าวได้รับการแต่งตั้งและค่าใช้จ่ายจากผู้ดูแลเงินบริจาค  ซึ่งมีขึ้นเพื่อสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ  หรือจากบุคคลที่ขอความช่วยเหลือ  ในระยะหลังได้พัฒนาเป็นผู้บริจาค  ซึ่งทำให้เขาได้รับรายได้มากขึ้น  และมีอำนาจทั้งด้านการศึกษาและกฎหมายมากกว่าแต่ก่อน
อ้างจากเอกสารประกอบการสอนรายวิชาหลักการบริหารในอิสลาม3 สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา

วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2554

สถาบันการศึกษาในอาณาจักรอุษมานียะห์หรือออตโตมาน

ภาพการศึกษาในอาณาจักรออตโตมาน

                สถาบันการศึกษาหรือองค์การที่ดำเนินกิจกรรมทางการศึกษามีความสำคัญยิ่งในแต่ละราชวงศ์และเป็นปัจจัยสำคัญในความอยู่รอดของแต่ละราชวงศ์และแต่ละราชอาณาจักร  อาณาจักรออตโตมานให้ความสำคัญต่อการศึกษาเหมือนกับอาณาจักรอิสลามอื่นๆ  ในอดีตประกอบกับอาณาจักรออตโตมานได้แผ่ขยายอาณาเขตครอบคลุมดินแดนในเปอร์เซีย  ซีเรีย  อียิปต์  ตุรกีสถาน  ซึ่งล้วนแต่เป็นศูนย์กลางทางการศึกษาและอารยธรรมในสมัยนั้น  ทำให้การศึกษาในอาณาจักรออตโตมานทวีความคึกคักมากขึ้น  จนกลายเป็นยุคทองทางการศึกษาในคริสต์ศตวรรษที่ 16  องค์การหรือสถาบันที่เกี่ยวกับกิจกรรมทางการศึกษาในอาณาจักรออตโตมานสรุปได้  ดังนี้

                1.  มักตาบศิบยาน  (sibyan mektepleri
                มักตาบศิบยานเป็นสถาบันการศึกษาที่จัดการเรียนการสอนในระดับปฐมศึกษา  สถาบันนี้เดิมเรียกว่า  กุตตาบ  (kuttab)  หรือบางครั้งเรียกว่าดารุลตะลีม  (daru’l-ta’lim)ดารุล  หุฟฟาษ  (karu’l-huffaz)  หรือเรียกว่ามักตาบ  (maktab)  เฉยๆ  ทุกหมู่บ้านหรือชุมชนของอาณาจักรออตโตมาน  ส่วนใหญ่จะมีสถาบันนี้  อาคารของมักตาบศิบยานจะเป็นอาคารที่เรียบง่าย  บางครั้งจะสร้างติดกับมัสยิด  หรือติดกับจวนของชนชั้นผู้ปกครองในหมู่บ้านนั้นๆ  หรือบางหมู่บ้านก็จะสร้างเป็นอาคารต่างหาก  มักตาบศิบยานในบางพื้นที่เป็นสหศึกษาคือรวมเด็กชายและเด็กหญิง  สถาบันนี้ส่วนใหญ่อยู่ภายใต้การดูแลขององค์กรมูลนิธิการกุศล (awaf
                มักตาศิบยาน  จะรับบุตรธิดาของชาวมุสลิมทุกคนที่มีอายุครบ 5 ขวบเข้าศึกษาโดยไม่จำกัดชนชั้นวรรณะ  ผู้ปกครองที่มีลูกหลานอายุย่างเข้า 5 ขวบจะทำพิธีที่เรียกว่าอามีน  อะลาเยอ (amin alayi)  หรือพิธีบัดอีย์  บัสมะละห์  (bed-i besmele)  ในการส่งลูกหลานเข้าเรียนในมักตาบศิบยาน   ครูที่ทำหน้าที่สอนในสถาบันดังกล่าวนี้ส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาในระดับมัดราซะห์  หรือบรรดาอิหม่าม  มุอัสซิน  หรือผู้ดูแลมัสยิด (kayyum)  ที่รู้หนังสือสามารถอ่านออกเขียนได้  ส่วนครูที่ทำหน้าที่สอนในมักตาบศิบยานประเภทสหศึกษาหรือเด็กหญิงล้วนเป็นครูสตรีที่รู้หนังสือ  มีประสบการณ์และเป็นผู้ท่องจำอัลกุรอาน (hafizah)  มักตาบศิบยานมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนรู้หนังสือ   อ่านออกเขียนได้   สามารถอ่านอัลกุร
อานได้อย่างถูกต้อง  และเข้าใจหลักการพื้นฐานของศาสนา  มักตาบศิบยานในบางพื้นที่นอกจากสอนวิชาที่เกี่ยวกับศาสนาแล้ว  ยังสอนวิชาเรขาคณิตเบื้องต้น  และวิชาวรรณกรรมอีกด้วย

               
2.  มัดราซะห์  (madrese
                มัดราซะห์  เป็นสถานที่ที่มีบทบาทเกี่ยวกับการศึกษาที่สำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์อิสลาม  โดยเฉพาะอย่างยิ่งมัดราซะห์นิศอมิยยะห์  (madrasah nizamiyyah)  ซึ่งเกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่11 สถาบันมัดราซะห์จัดตั้งขึ้นเริ่มแรกเพื่อวัตถุประสงค์การผลิตนักฟิกฮ (นักกฎหมายอิสลาม)  โดยเฉพาะ  ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 13  มีสถาบันมัดราซะห์ที่เน้นเฉพาะทางในสาขาอื่นๆ เกิดขึ้น  เช่น  มัดราซะห์หะดีษ (madarisu’l-tafsir)  มุ่งเน้นการผลิตนักอรรถาธิบายอัลกุรอานมัดราซะห์นะห์วุ (madarisu’l-nahv)  ที่เน้นผลิตนักภาษาศาสตร์  เป็นต้น
                ในดินแดนอนาโตเลียมีมัดราซะห์เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายมาแต่อดีตก่อนการสถาปนาอาณาจักรออตโตมาน  ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 14  มีสถาบันมัดราซะห์เกิดขึ้นมากมายในหัวเมืองหลักของอนาโตเลีย  เช่น  เมืองคอนยา (konya)  มีมัดราซะห์ถึง  24  แห่ง  เมืองมาดิน (mardin)  และเมืองสีวัส (sivas)  หัวเมืองละ  13  แห่ง  และหัวเมืองไกยสารีมีมัดราซะห์ถึง  11  แห่ง  นอกจากนี้หัวเมืองรองต่างๆ  เช่น  เมืองสีวรีหิซาร์ (sivrihisar)  เมืองอักซาฮีร  เมืองดิแร (tire)  เมืองอักสาราย  เมืองแอร์ซูรูม  เมืองดิยารบากิรหรือเมืองการามาน  มีมัดราซะห์เมืองละไม่น้อยกว่า 4-6 แห่ง
                ในยุคราชวงศ์ออตโตมานมีการสร้างสถาบันมัดราซะห์ครั้งแรกในสมัยของสุลต่านอรฮันที่เมืองอิซนิกในปี ฮ.ศ. 731 (ค.ศ.1130) กล่าวคือ  เมื่อสุลต่านอรฮันพิชิตเมืองอิซนิกได้สำเร็จ  พระองค์ทรงมีกระแสรับสั่งให้สร้างมัสยิดและมัดราซะห์ขึ้นและพระองค์ทรงแต่งตั้ง  mawlana dawud al-kayseri  ซึ่งเป็นอุลามะอในระดับแนวหน้าในมัยนั้นเป็นผู้ดูแลมัดราซะห์ดังกล่าว  แนวการปฏิบัติของสุลต่านอรฮันกลายเป็นประเพณีของกองทัพออตโตมานเมื่อสามารถพิชิตดินแดนใหม่ก็จะสร้างมัสยิดและมัดราซะห์ขึ้นในดินแดนพิชิตใหม่นั้น  ซึ่งทำให้จำนวนมัดราซะห์ในดินแดนอาณาจักรออตโตมานทวีมากขึ้นอย่างรวดเร็ว  ในระหว่างปี ค.ศ.1331-1451  ในดินแดนอาณาจักรออตโตมานมีสถาบันมัดราซะห์ถึง  82  แห่ง  และเพิ่มจำนวนเรื่อยๆ โดยเฉลี่ย 3 ปีจะมีมัดราซะห์ใหม่ๆ  เกิดขึ้นอย่างน้อย  2  แห่ง (e.ihsanoglu,1998:237
                ในสมัยสุลต่านเมห์เมด  อัลฟาติห์ (mehmed al-fatih)  พระองค์ทรงสร้างมัดราซะห์ษะมานียะห์ (semaniye medreseleri)  ขึ้นในบริเวณรอบๆ  มัสยิดอัลฟาติห์ (fatih camii)  ซึ่งประกอบด้วยมัดราซะห์ชั้นสูง  (sahn)  8 โรง  และมัดราซะห์ระดับรองลงมาที่เรียกว่าแตติมมะห์ (tetimme)  อีก 8 โรง  รวมแล้วบริเวรรอบๆ  มัสยิดอัลฟาติห์มีมัดราซะห์ถึง  16 โรง  นอกจากนี้ประตูด้านทิศตะวันตกของมัสยิดยังมีดารุลตะลีม (darul-ta’lim)  ซึ่งเป็นสถาบันจัดการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษาอีก 1 โรง  พระองค์ทรงวางแผนที่จะให้กรุงอิสตันบูลเป็นศูนย์การศึกษาในภูมิภาคนี้
                บทบาทของมัดราซะห์ในยุคก่อนสุลต่านเมห์เมด  อัลฟาติห์  ส่วนใหญ่จะเน้นในเรื่องศาสนาเท่านั้น  แต่มัดราซะห์  ษะมานียะห์  ของพระองค์มีการจัดการเรียนการสอนในวิชาสามัญ  หรือที่เรียกว่าวิชาอุลูมุลอักลียยะห์ (ulumul-aqliyyah)  อีกด้วย  เช่น  วิชาคณิตศาสตร์  ตรรกศาสตร์  ปรัชญา  วรรณคดี  เป็นต้น  อาจารย์ที่สอนในมัดราซะห์นั้นจะได้รับค่าตอบแทนที่แตกต่างกันตามระดับของมัดราซะห์  ซึ่งเริ่มตั้งแต่  20  อัคแจ (akge)  จนถึง 50 อักแจต่อวัน
                ในยุคคลาสสิคของอาณาจักรออตโตมานมีการแบ่งประเภทและระดับมัดราซะห์ออกมาเป็น  5  ระดับ  ดังนี้
                1.  มัดราซะห์หาซิยะห์  ตัจรีด (hasiye-i  tacrid
                หมายถึงมัดราซะห์ที่ใช้ตำราหะซิยะห์ตัจรีด  เป็นตำราหลักในการเรียนการสอน  ตำรานี้ดั้งเดิมมีชื่อว่าตัจรีดดุลกะลาม  (tecridul-kelam)  แต่งโดยนาศีรุดดีน  อัลตูสี (nasiruddin al-tusi  เสียชีวิตปี ฮ.ศ. 672/ค.ศ. 1273)  และมีการเขียนอธิบายโดยซัมซุดดีน  มะห์มูด  บิน  อบีอัลกอซีม  อัลอิสฟาหานีย์ (semsuddin mahmud b.ebi al-qasim al-isfahani  เสียชีวิตในปี ฮ.ศ.746/ค.ศ.1345)  ต่อมาสัยยิด  ซารีฟ  อัลกุรกานีย์ (seyyid serif al-gurgani เสียชีวิตในปี ฮ.ศ.816/ค.ศ.1413)  ได้เขียนอธิบายเพิ่มเติมต่อในลักษณะเชิงอรรถ
รอบข้างหรือที่เรียกว่าหาซิยะห์ (hasiye)  อาจารย์ที่สอนในมัดราซะห์ระดับดังกล่าวนี้จะได้รับค่าตอบแทนในอัตราวันละ 20-25  อักแจ
                2.  มัดราซะห์มิฟตาห์  (miftah
                หมายถึงมัดราซะห์ที่ใช้ตำรามิฟตาห์  (miftah)  นิพนธ์โดยสิรอญุดดีน  ยูซุฟ  อัลสักกากีย์  (siracuddin yusuf al-sakkaki  เสียชีวิตในปี ฮ.ศ.626/ค.ศ.1228)  เป็นตำราหลักในการเรียนการสอน  อาจารย์ที่สอนในระดับมัดราซะห์มิฟตาห์จะได้รับค่าตอบแทนในอัตราวันละ  30  อักแจ
                3.  มัดราซะห์ตัลวีค  (telvih
                หมายถึงมัดราซะห์ที่ใช้ตำราของศอดรุสสาเรีย  อุไบยดุลลอฮ     อัลบุคอรีย์     (sadrus
seria ubeydullah al-bukhari  เสียชีวิตในปี ฮ.ศ.747/ค.ศ.1346)ชื่อ  ตันกีหุลอุศูล (tenkihul usul)  และเตาฎีหูลตันกีห  (tavdhihul tenkih)  เป็นตำราหลักในการเรียนการสอน  อาจารย์ที่สอนในมัดราซะห์ระดับนี้จะได้รับค่าตอบแทนในอัตราวันละ  40  อักแจ 
                4.  มัดราซะห์คอริจ (haric)
                มัดราซะห์คอริจเป็นมัดราซะห์ที่มีระดับสูงกว่ามัดราซะห์ทั้งสามที่กล่าวมาข้งต้น  มัดราซะห์คอริจ  คือ  มัดราซะห์เก่าแก่ที่มีอยู่เดิมก่อนการสถาปนาอาณาจักรออตโตมาน  ซึ่งสร้างขึ้นโดยขุนนาง  ข้าหลวง  วิเซียร์  หรือชนชั้นปกครองสมัยอาณาจักรเซลจูก  หรือผู้ปกครองรัฐในอนาโตเลียในอดีต อาจารย์ที่สอนในมัดราซะห์ระดับดังกล่าวนี้ จะได้รับค่าจ้างในอัตราวันละ  50  อักแจ
                5.  มัดราซะห์ดาคิล  (dahil)
                หมายถึงมัดราซะห์ที่สร้างขึ้นโดยสุลต่านหรือปาดีซะห์แห่งราชวงศ์ออตโตมาน  หรือสร้างโดยพระบรมวงศานุวงศ์ทั้งหลาย  มัดราซะห์ดาคิลแบ่งเป็น  2  ระดับ  คือ
                5.1)  มัดราซะห์แตติมมะห์  (tatimme)  มัดราซะห์มุศีลาอิ  ศ็อห์น  (musila-i sahn)  อาจารย์ที่ทำหน้าที่สอนนักศึกษาในระดับมัดราซะห์แตติมมะห์นี้จะได้รับค่าจ้างในอัตราวันละ  50  อักแจ
                5.2)  มัดราซะห์ศ็อห์น  (sahn)  คือสถาบันการศึกษาชั้นสูงสุดในระบบมัดราซะห์  ของอาณาจักรออตโตมาน  มัดราซะห์นี้ทำหน้าที่ผลิตอุลามาอ  กอฎี  (ผู้พิพากษา)  ไซดุลอิสลาม  และนักปราชญ์เพื่อรับใช้อาณาจักร  ครูบาอาจารย์ในมัดราซะห์ศ็อห์นส่วนใหญ่เป็นบรรดาอุลามาอ  และนักปราชญ์ชั้นแนวหน้าของอาณาจักรออตโตมาน



                ในสมัยสุลต่านสุไลมาน  กอนูนีย์  สถาบันมัดราซะห์ได้พัฒนามากขึ้น  พระองค์นอกจากสร้างมัดราซะห์ศ็อห์น (sahn)  ถึง  4  โรง  และมักตาบศิบยาน  (sibyan)  อีก 1 โรงแล้ว  พระองค์ยังได้สร้างมัดราซะห์เฉพาะทางในเรื่องสาขาวิชาหะดีษซึ่งเรียกว่าดารุลหะดีษ  (darul hadith)  นอกจากนี้พระองค์ยังได้สร้างวิทยาลัยการแพทย์  โดยใช้ชื่อว่าดารุตตีบ  (darul-tib)  และวิทยาลัยการเภสัชกรรม  (darul-adviye)  พร้อมกับโรงพยาบาลและโรงอาหารสาธารณะหรือที่เรียกว่าดารุสสิยาฟะห์  (daruz-ziyafe)  ขึ้นในรอบๆ บริเวณมัสยิดของพระองค์  (มัสยิดสุไลมานียะห์)
                ในตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18  มีการปรับปรุงสถาบันมัดราซะห์ใหม่  โดยการจัดระดับชั้นมัดราซะห์  ดังนี้
                1.  มัดราซะห์อิบตีดาอีย์  คอริจ  (ibtida-i  haric)  คือมัดราซะห์คอริจชั้นต้น
                2.  มัดราซะห์อิกินญี  คอริจ  (ikinci haric)  คือมัดราซะห์คอริจชั้นสอง
                3.  มัดราซะห์  อิบตีดาอีย์  ดาคิล  (ibtida-i dahil)  คือมัดราซะห์ดาคิลชั้นต้น
                4.  มัดราซะห์อิกินญี  ดาคิล  (ikinci dahil)คือมัดราซะห์ดาคิลชั้นสอง
                5.  มัดราซะห์  มุศีลาอี  ศ็อห์น  (musila  sahn)
                6.  มัดราซะห์  (sahn)
                7.  มัดราซะห์อิบตีดาอีย์  อัตมิซเลอ  (ibtida-i atmisli)  คือมัดราซะห์ที่มีอัตราค่าจ้าง
                     อาจารย์วันละ  60  อักแจ  ชั้นต้น
                8.  มัดราซะห์อีกินญี  อัตมิซเลอ  (ikinye atmisli)  คือมัดราซะห์ที่มีอัตราค่าจ้างวันละ 
                     60  อักแจชั้นสอง
                9.  มัดราซะห์มุศิลาอี  สุไลมานีแย  (musila-i suleymaniye)  คือมัดราซะห์ชั้นเตรียม
                     นักศึกษาเพื่อสู่ระดับมัดราซะห์สุไลมานีแย
                10.มัดราซะห์สุไลมานีแย  (suleymaniye madresesi)  คือสถาบันการศึกษาชั้นสูง
                      สุดในระดับมัดราซะห์
                11.มัดราซะห์ฮาวามิซี  สุไลมานีแย (havamis-i suleymaniye)  เป็นระดับชั้นมัดรา
                         ซะห์ที่เกิดขึ้นใหม่โดยรวมระหว่างมัดราซะห์มุศิลาอี  สุไลมานีแย  กับมัดราซะห์
                         สุไลมานีแยเข้าด้วยกัน
                นอกจากนี้  ยังมีมัดราซะห์เฉพาะทางในสาขาวิชาต่างๆ  เช่น  ดารุลหะดีษ  (darul hadith)  เป็นสถาบันการศึกษาเฉพาะทางในสาขาวิชาหะดีษ  มุอัลลิมฮาแนอิ  นุววาบ  (muallimhane-i nuvvab)  มักตาบนุววาบ  (mektab-i nuvvab)  มัดราซะห์กุฎอต  (madresetul kuzat)  ทั้ง 3 เป็นสถาบันเฉพาะในการผลิตกอฎี  (ผู้พิพากษา)  มัดราซะห์อะอิมะห์  อัล  คุฎอบาต  (madresetul-eimme ve’l hutaba)  และมัดราซะห์อิรซาด  (madresetu’l irsad)  เป็นมัดราซะห์เฉพาะทางในการผลิตอิหม่าม  นักเผยแผ่ศาสนา  และนักเทศนาธรรม  นอกจากนี้ ยังมีมัดราซะห์ที่เน้นเฉพาะในเรื่องศิลปะการเขียนตัวอักษร  เรียกว่า  มัดราซะห์คอตตาตีน  (madresetu’l hattatin)
                จำนวนมัดราซะห์ของอาณาจักรออตโตมานตามหัวเมืองหลักต่างๆ  สรุปเป็นตารางได้ดังนี้
ชื่อเมือง
คริสต์
ศต.ที่14
คริสต์
ศต.ที่15
คริสต์
 ศต.ที่16
ไม่สามารถกำหนดได้
รวม
เมืองอิซนิก
4



4
เมืองบุรซา
19
11
16

36
เมืองแอดิรแน
1
20
10

31
เมืองอิสตันบูล

23
113
6
142
อนาโตเลีย
12
31
32
13
88
แหลมบอลข่าน
4
12
18
5
39
ซีเรีย


3

3
แหลมอาราเบีย (hicaz)


6

6
เยแมน


1

1
รวม
40
97
189
24
350
                จำนวนมัดราซะห์ในดินแดนออตโตมานในพื้นที่ยุโรป  (rumeli)  สรุปเป็นตารางได้ดังนี้
ชื่อประเทศ
จำนวนมัดราซะห์
กรีซ
189
บัลแกเรีย
144
อัลบาเนีย
28
บอสเนีย,เฮอร์เซโกวินา,โครเอเซีย,มอนเตนิโกร
105
โคโซโว,มาซิโดเนีย,เซอร์เบีย,สโลวิเนีย,โวจโวดินา
134
โรมาเนีย
9
ฮังการี
56
รวม
665
                ต่อมาในเดือนซุลเกาะดะห์ ปี ฮ.ศ.1332  (ค.ศ.1914)  มีการตราพระราชกฎหมายปรับปรุงสถาบันมัดราซะห์ครั้งใหญ่  โดยยุบรวมสถาบันมัดราซะห์ทั้งหมดที่มีอยู่ในเมืองหลวงกรุงอิสตันบูลให้เป็นมัดราซะห์เดียวภายใต้ชื่อว่ามัดราซะห์ดารุลคิลาฟะติลอาลียยะห์ (darul-hilafeti’l-aliyye madresesi= แปลว่ามัดราซะห์ชั้นสูงแห่งเมืองคอลิฟะห์)  และได้แบ่งระดับการศึกษาออกเป็น  3  ระดับคือ  ระดับต้น (tali kismi evvel) ระดับกลาง (tali kismi sani) และระดับสูง  (ali kismi)  โดยในแต่ละระดับใช้เวลาการศึกษา  4  ปี
                มัดราซะห์มีบทบาททางการศึกษาของอาณาจักรออตโตมานเรื่อยมาจนถึงช่วงต้นของสาธารณรัฐตุรกี ซึ่งต่อมาได้ยกเลิกสถาบันมัดราซะห์ และได้จัดตั้งสถาบันอิหม่ามคอติบ  (imam hatip mektebi)  เป็นสถาบันการศึกษาศาสนาระดับมัธยม  และคณะอิลาฮิยาด  (ilahiyat fakultesi)  เป็นการศึกษาศาสนาระดับอุดมศึกษาขึ้นแทน  โดยทั้งสองขึ้นอยู่กับกระทรวงศึกษาธิการ
                3.  สถาบันตำหนักใน  (enderun mektebi
                ในตำหนักใน  นอกจากเป็นที่ปฏิบัติงานของขุนนางชั้นผู้ใหญ่แล้ว  ยังเป็นสถานศึกษาที่สำคัญยิ่งของอาณาจักรออตโตมานรองจากสถาบันมัดราซะห์  การศึกษาในตำหนักในนั้นมีเป้าหมายเพื่อผลิตขุนนางข้าราชการทั้งฝ่ายบริหาร  ทหาร  ตุลาการ  และบุคคลสำคัญของรัฐ  ทั้งนี้เพื่อรับใช้พระราชสำนักและอาณาจักร  การศึกษาในตำหนักในมีความแตกต่างกัน  การศึกษาในสถาบันมัดราซะห์ คือนักศึกษาในตำหนักในทุกคนจะต้องเรียนวิชาการทหารและบริหารพร้อมกับฝึกปฏิบัติในภาคสนามจริงอีกด้วย  ระบบการศึกษาในตำหนักในจะมีโปรแกรมและแบ่งระดับชั้นที่ชัดเจนเพื่อกลั่นกรองแยกความสามารถและความถนัดของนักศึกษาแต่ละท่านได้อย่างชัดเจน 




                4.  สถานพยาบาล  (sifahane)  และวิทยาลัยการแพทย์  (daru’t-tib)
                สถานพยาบาลในอดีต นอกจากให้บริการด้านสุขภาพและสาธารณสุขแล้ว ยังเป็นสถานศึกษาวิชาการแพทย์อีกด้วย  ในประวัติศาสตร์อิสลามสถานพยาบาลเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยของสุลต่านวาลีด  บิน  อับดุลมาลีก  (walid b. abdulmalik  ครองราชย์ระหว่างปี ค.ศ.705-715)  แห่งราชวงศ์อุมัยยะห์  และมีความเจริญก้าวหน้ามากมายอย่างแพร่หลายในหัวเมืองหลักต่างๆ  ทั้งในซีเรีย  เปอร์เซีย  และอนาโตเลีย
                ในสมัยราชวงศ์ออตโตมานมีการสร้างสถานพยาบาลครั้งแรกที่เมืองบุรซาในสมัยของสุลต่านบายาซิดที่ 1  (ค.ศ.1360-1403)  สถานพยาบาลในสมัยราชวงศ์ออตโตมานมีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน  เช่น  ดารุซซิฟาอ  (daru’s-sifa)  ดารุศหหะห์  (daru’s-sihha)  ซิฟาฮาแน  (sifahane)  บิมาริสถาน  (bimaristan)  บิมารฮาแน  (bimarhane)  หรือติมารฮาแน  (timahane

                ในเมืองหลวงอิสตันบูลมีสถานพยาบาลเกิดขึ้นหลายแห่งตามยุคสมัยของสุลต่านแต่ละองค์  ส่วนสถานพยาบาลแห่งแรกของเมืองอิสตันบูลคือ  สถานพยาบาลดารุซซิฟาอของสุลต่านเมห์เมดอัลฟาติห์  ซึ่งสร้างขึ้นในปี ค.ศ.1470  เป็นสถานพยาบาลขนาด  70  ห้องผู้ป่วย  ในปี ค.ศ.1488  สุลต่านบายาซิดที่ 2  (ค.ศ.1450-1512)  ได้สร้างสถานพยาบาลเบยาซิดดารุซซิฟาอ  (bayezid daru’s-sifa)  ขึ้นที่เมืองแอดิรแน  โดยเน้นการรักษาพยาบาลเกี่ยวกับโรคตาและโรคประสาท
                ในปี ค.ศ.1550  สุลต่านสุไลมานทรงสร้างสถานพยาบาลดารุซซิฟาอขึ้นในรอบๆ บริเวณมัสยิดของพระองค์  สถานพยาบาลดารุซซิฟาอของสุลต่านสุไลมานเป็นสถานพยาบาลชั้นแนวหน้าที่สุดของอาณาจักรออตโตมาน  พระองค์ได้แยกการศึกษาวิชาการแพทย์จากสถานพยาบาล  โดยทรงจัดตั้งวิทยาลัยการแพทย์ขึ้น  ใช้ชื่อว่า  สุไลมานียะห์  ดารุตติบบี  (suleymaniye daru’t-tibbi)  เพื่อผลิตแพทย์โดยเฉพาะ  นับว่าเป็นวิทยาลัยการแพทย์แห่งแรกของราชวงศ์ออตโตมาน  นักศึกษาที่ประสงค์จะเข้าศึกษาในวิทยาลัยการแพทย์นี้จะต้องจบการศึกษาระดับมัดราซะห์คอริจและดาคิลชั้นต้น  พร้อมกับต้องผ่านชั้นเตรียมมัดราซะห์สุไลมานีแย  (tetimme)  นักศึกษาแพทย์จะเรียกภาคทฤษฎีที่วิทยาลัยการแพทย์สัปดาห์ละ  4  วัน  ที่เหลือจะฝึกปฏิบัติที่สถานพยาบาลดารุซซฺฟาอ   ผู้ที่สำเร็จการศึกษาจะได้รับประกาศนีย
บัตรตามรายวิชาและตำราที่ได้เรียนมา  ในปีเดียวกับนางฮาแสกี  ฮุรเร็ม  สุลต่าน (haseki hurrem sultan)  พระมเหสีของสุลต่านสุไลมานได้สร้างสถานพยาบาลอีกแห่งหนึ่งในอิสตันบูล  โดยใช้ชื่อว่าฮาแสกี  ดารุซซิฟาอ  ซึ่งต่อมาให้จัดเป็นสถานพยาบาลสำหรับสตรีโดยเฉพาะจนถึงปี ค.ศ.1884  และได้เปลี่ยนเป็นสถานพยาบาลโรคประสาท  โรงพยาบาลฮาแสกี  ยังคงดำเนินกิจการอยู่จนถึงปัจจุบันนี้



                ในปี ค.ศ.1583  นูร  บานู  สุลต่าน  (เสียชีวิตปี ค.ศ.1583)  พระมหสีของสุลต่าน  ซาเล็มที่ 2  ได้สร้างสถานพยาบาล  วาลิแด  อะตึก  ดารุซซิฟาอ  (valideatik daru’s sifa)  ขึ้นที่อุสกุดาร  (uskudar)  ในเมืองอิสตันบูล  ต่อมาในปี ค.ศ.1617  สุลต่านอะห์มัดที่ 1  ทรงสร้างสถานพยาบาลสุลต่านอะห์มัด  ดารุซซิฟาอขึ้นที่เมืองอิสตันบูลเช่นกัน  หลังจากปี ค.ศ.1800  เป็นต้นมาอาณาจักรออตโตมานเริ่มมีความสัมพันธ์กับตะวันตกมากขึ้นและเริ่มมีโรงพยาบาลและวิทยาลัยการแพทย์สมัยใหม่เกิดขึ้น  ในปี ค.ศ.1805  รัฐบาลออตโตมานเริ่มก่อตั้งวิทยาลัยการแพทย์พร้อมกับโรงพยาบาลสมัยใหม่ขึ้นที่เขตกาซึม  ปาซา  (kasimpasa)  ในอิสตันบูล  แต่ดำเนินการได้ไม่นานถูกไฟไหม้ในปี ค.ศ.1822  อาคารเสียหายหมดจนต้องปิดดำเนินการในที่สุด  ต่อมาในปี ค.ศ.1839  รัฐบาลออตโตมานได้สร้างสถาบันการแพทย์สมัยใหม่โดยใช้ชื่อว่ามักตาบ  ติบบิยยะห์  อัดลียะห์  ชาฮาแน  (maktebi tibbiye adliye sahane)  ขึ้นที่เขตคาลาตาสาร่าย  เมืองอิสตันบูล  หลังจากอาณาจักรออตโตมานเข้ายุคตันซีมาต  โรงพยาบาลและสถาบันการแพทย์สมัยใหม่ได้เข้าแทนที่บทบาทของสถานพยาบาลดารุซซิฟาอ  และดารุซซิฟาอแห่งอาณาจักรออตโตมานค่อยๆ ลดจำนวนและสูญหายไปในที่สุด

                5.  เตกแก  (tekke)  และซาวิยะห์  (zaviye)
                เตกแกหรือซาวิยะห์เป็นสถาบันการศึกษารูปแบบหนึ่งที่อาณาจักรออตโตมานสืบทอดมรดกจากอาณาจักรเซลจูกและอาณาจักรอิสลามอื่นๆ  ในอดีตเตกแก  หรือซาวิยะห์  เป็นอาศรมหรือที่พำนักและปฏิบัติธรรมของบรรดานักซูฟีและเดรวิซ  (dervish)
                เตกแกและซาวิยะห์มีบทบาททางการศึกษาของชุมชนออตโตมานมาก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการอบรมขัดเกลาจิตใจโดยใช้ศาสนาควบคู่กับตะซัววุฟตามแนวทางของแต่ละสำนัก  ผู้ที่เลื่อมใสสำนักใดก็จะไปที่เตกแกหรือซาวิยะห์ของสำนักนั้นๆ  ตามที่ตนเลื่อมใส  เพื่อรับฟังการเทศนาธรรมจากนักซูฟี  หรือเดรวิซพร้อมกับเข้ารับการอบรมขัดเกลาจิตใจตามแนวทางของสำนักนั้นๆ  ผู้ที่ไม่มีโอกาสเข้าศึกษาในสถาบันมัดราซะห์นิยมอาศัยเตกแกและซาวิยะห์ในการเรียนรู้ศาสนาและแนวทางตะซัววุฟในอนาโตเลียมีนักซูฟีและเดรวิซเกิดขึ้นที่สำคัญหลายท่านด้วยกัน  เช่น  เมาลานา  ญะลาลุดดีน  รูมี  (mawlana jalaluddin rumi)  ยูนุส  เอมแร  (yunus emre)  หะยี  ไบรัม  วาลี  (haci bayram veli)  หะยี  เบกตัซ  วาลี  (haci bektas veli)  บทบาทของเตกแก และซาวิยะห์มีเรื่อยมาควบคู่กับสังคมออตโตมาน  จนกระทั่งรัฐบาลออตโตมานได้ออกกฎหมายสั่งปิดเตกแกและซาวิยะห์ในปี ค.ศ.1925
                นอกจากการศึกษาในระบบตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้ว  มัสยิด  ห้องสมุด  จวนของบรรดาขุนนางชั้นผู้ใหญ่  หรือที่พำนักของบรรดาอุลามาอ ล้วนแต่มีบทบาทในกิจกรรมการศึกษาของอาณาจักรออตโตมาน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19  มีนักศึกษาจำนวนมากนิยมไปศึกษาหาความรู้ตามจวนของบรรดาขุนนางชั้นผู้ใหญ่  และตามบ้านของบรรดาอุลามาอที่มีชื่อเสียงในยุคนั้นๆ  อาทิเช่น  kethudazade mehmed arif, minhat pasa, sadrazam yusuf kamal pasa  เป็นต้น

              
อ้างจากเอกสารประกอบการสอนรายวิชาหลักการบริหารในอิสลาม3 สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา