วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ความจำเป็นของการสานเสวนาระหว่างนักวิทยาศาสตร์กับนักการศาสนาในโลกยุคปัจจุบัน


ความจำเป็นของการสานเสวนาระหว่างนักวิทยาศาสตร์กับนักการศาสนาในโลกยุคปัจจุบัน

เรียบเรียงโดย ม.ฆอซาฟี มะดอหะ

ด้วยพระนามของอัลลอฮผู้ทรงกรุณาปราณี ผู้ทรงเมตตาเสมอ มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิของอัลลอฮพระเจ้าแห่งสากลโลก ผู้ทรงกรุณาปราณี ผู้ทรงเมตตาเสมอ ผู้ทรงอภิสิทธิแห่งวันการตอบแทน ผู้ทรงควรเคารพอีบาดะห์  ผู้ทรงทรงควรขอแก่ความช่วยเหลือ ขอให้พระองค์ทรงชี้นำ ซึ่งทางอันเที่ยงตรง เป็นแนวทางที่พระองค์ทรงโปรดปราน มิใช่แนวทางที่พระองค์ทรงกริ้วและหลงทาง[1]

ในโลกยุคปัจจุบันการสานเสวนา การพูดคุยกัน การปรึกษาหารือกัน เป็นสิ่งที่จำเป็นมากที่สุด เป็นวิธีการแก้ปัญหา หาทางออกให้กับปัญหา แบบสันติวีธีมากที่สุด และดีที่สุด ณ ปัจจุบันนี้ปัญหาต่างๆที่ได้เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ มนุษย์ไปฝ่าฝืนกฎของอัลลอฮ กฎของธรรมชาติ ไปขัดกับธรรมชาติ ที่พระผู้เป็นเจ้าได้กำหนด  ดังตัวอย่างเช่น การสร้างถนนหนทาง ไปขว้างกั้นทางไหลของน้ำ ทำให้น้ำไหลผ่านไม่สะดวก จึงทำให้น้ำท่วมหมู่บ้าน ชุมชน ที่อยู่อาศัยของมนุษย์ นี่เป็นสิ่งที่เราสามารถเห็นด้วยสายตา อะไรก็ตามที่ไปขัดกับธรรมชาติหรือฟิตเราะห์ที่อัลลอฮทรงสร้าง ธรรมชาติก็จะลงโทษมนุษย์ทันที่ ไม่ช้าก็เร็ว

การสานเสวนาระหว่างนักวิทยาศาสตร์กับนักการศาสนานั้น ดูเหมือนว่าทั้งสองรูปแบบนี้ แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ไม่ว่าจะเป็นความคิด ความอ่าน ความเข้าใจ  ชีวิตการเป็นอยู่  และอื่นๆเป็นต้น ซึ่งถ้าเรามองแบบผ่านๆ โดยไม่ได้คิดลึกลงไปนั้น แน่นอนทั้งสองรูปแบบนี้แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เหมือนขั้วบวก กับขั้วลบ ไม่สามารถที่จะมาร่วมกันได้เลย

อิสลามเรียกร้องให้มีการสานเสวนา ให้มีการปรึกษาหารือกันในกิจการทั้งหลายที่มีผลกระทบต่อชีวิตของมนุษย์ ดังที่อัลลอฮ(ซุบฮานาฮูวาตาอาลา) ได้กล่าวไว้ในคัมภีร์อัลกุรอานที่ว่า จงปรึกษาหารือกับพวกเขาในกิจการทั้งหลาย[2]

นักการศาสนาปัจจุบันนี้ โดยทั่วไปจะให้ความสำคัญในเรื่องของจิตวิญญาณ การขัดเกลาจิตใจของมนุษย์ คุณธรรม จริยธรรม ศีลธรรม ความศรัทธา ความรักและความเมตตาต่อสรรพสิ่งทั้งหลายที่อยู่บนโลกใบนี้ โดยให้มนุษย์นั้นประกอบคุณงามความดีทั้งหลาย

นักวิทยาศาสตร์ปัจจุบัน พยายามหาเหตุผลมาอธิบายในธรรมชาติต่างๆที่เกิดขึ้นต่อโลกใบนี้ ว่าอดีตเป็นอย่างไร มาจากไหน อนาคตจะเป็นอย่างไร ซึ่งใช้ความคิดเป็นที่ตั้ง การตั้งสมมุติฐานของนักวิทยาศาสตร์ปัจจุบันนี้ คือ พระเจ้าไม่มีจริง ปฏิเสธของการมีอยู่ของพระเจ้า นักวิทยาศาสตร์ปัจจุบัน พยายามพิสูจน์ ทดลองทุกอย่าง ทำการวิจัยทุกด้าน โดยเชื่อว่า มนุษย์สามารถกำหนดความเป็นไปชะตากรรมของโลกใบนี้ได้ทั้งหมด โดยลืมไปว่าการกำหนดสภาวะ(กอฎอและกอฎัร)ของพระผู้เป็นเจ้านั้น มนุษย์ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้เลย ความหายนะที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันนี้ ไม่ว่าจะเป็นมหาอุทกภัยน้ำท่วม ลมพายุที่ร้ายแรง ฝนตกไม่ตามฤดูกาล แผ่นดินไหวอย่างรุ่นแรง คร่าชีวิตของผู้คนนับล้าน ผลไม้ต่างๆออกไม่ตามฤดูกาลตามที่เป็น สภาพอากาศก็เปลี่ยนไปในทางที่เลวร้ายมากยิ่งขึ้น โลกก็ร้อนมากยิ่งขึ้น สิ่งเหล่านี้บางส่วนเกิดขึ้นด้วยน้ำมือของนักวิทยาศาสตร์ ที่ไม่เชื่อในอัลลอฮ ที่ไม่เชื่อในพระเจ้า ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเจ้า

เมื่อนักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายในยุคปัจจุบัน ไม่เชื่อในพระเจ้า ปฏิเสธการมีอยู่ของอัลลอฮ ทำให้ทฤษฎีทางความคิดของพวกเขา มุมมองของพวกเขา ความอ่านของพวกเขา มองธรรมชาติที่อยู่รอบตัว เป็นเพียงแค่วัตถุ ที่ตอบสอนงความต้องการทางด้านร่างกายของมนุษย์เท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว ธรรมชาติเป็นอะไรไปกว่ากองวัตถุมันมีอะไรบางอย่างศักดิสิทธิ์อยู่ เพราะมันเป็นเวทีหนึ่ง ซึ่งถูกใช้สำหรับแสดงพระนามอันสวยงามองค์อัลลอฮ[3]

ถ้าหากเรามาเปรียบเทียบความเชื่อของมนุษย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันแล้ว จะเห็นได้ว่า ความเชื่อยุคก่อนศาสดามูฮัมหมัดนั้น จะเชื่อในเรื่องของปฏิหารย์อย่างไร้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ เช่นสมัยนบีมูซา อาลัยฮิสสาลาม อีซา อิบนุมัรยัม เป็นต้น ความเชื่อในยุคศาสดามูฮัมหมัดนั้น ถึงแม้ว่ามีการตั้งภาคีมากมาย กายกองในสังคมอาหรับ แต่อย่างน้อย ชาวอาหรับก็เชื่อในพระเจ้า คืออัลลออฮ เพียงแต่เชื่อในเทวรูปที่พวกเขาได้เค้ารพบูชาด้วย ซึ่งมุมมองของอิสลามแล้ว เป็นที่ต้องห้าม เพราะอิสลามเชื่อพระเจ้าองค์เดียวคืออัลลอฮ ศาสนาในสมัยท่านศาสดามูฮัมหมัดนั้น จะนำวิทยาศาสตร์สู่การรู้จักอัลลอฮ คือพระผู้เป็นเจ้า แห่งการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆในจักรวาลแห่งนี้แต่เพียงผู้เดียว แต่สิ่งที่น่าใจหาย ศตวรรษที่ 19-20 อย่างที่ข้าพเจ้าได้กล่าวข้างต้น วิทยาศาสตร์ปฏิเสธการมีอยู่ของพระผู้เป็นเจ้า วิทยาศาสตร์ปฏิเสธศาสนาอย่างสิ้นเชิง โดยมองว่าศาสนาเป็นตัวถ่วงความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ความเชื่อนี้มันเกิดขึ้นได้อย่างไร

                ปัจจุบันนี้ นักการศาสนาเป็นผู้ดำรงไว้ซึ่งศีลธรรมอันดีงาน คุณธรรม จริยธรรม การขัดเกลาจิตใจของมนุษย์ให้สะอาด เป็นต้นเหตุให้มนุษย์อยู่ในความดีงาม ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความโอบอ้อมอารี ความรักและความเมตตาต่อเพื่อมนุษย์ด้วยกัน  ความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน ซึ่งจะนำมาความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน สิ่งเหล่านี้จะทำให้วิถีชีวิตของมนุษย์ในระดับครอบครัว สังคม ประเทศชาติมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แต่สิ่งเหล่านี้ได้ถูกแยกออกไปจากวิถีชีวิตของมนุษย์โดยทั่วไปในยุคปัจจุบัน นักการศาสนาทุกศาสนา ได้ถูกให้แยกออกจากการเมือง โดยได้รับอิทธิพลจากแนวแซคคิวลาริสม(Secularism) ของยิวไซออนิสต์ หากคุณต้องการสิ่งเหล่านี้ ก็ถูกให้ไปที่วัด โบสถ์ หรือมัสยิดเป็นต้น นักการศาสนาปัจจุบันนี้ถูกจำกัดพื้นที่ให้อยู่ในพื้นที่เล็กๆ ถูกจำกัดสิทธิต่างๆในด้านการเมืองอย่างมากมาย อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน

การต่อสู้อันข่มขื่นระหว่างวิทยาศาสตร์กับศาสนานั้น ซึ่งไม่น่าจะเกิดขึ้นในระหว่างศตวรรษที่ 19-20 ความขัดแย้งที่ไม่น่าจะเกิดขึ้น นักการเมืองและผู้นำทางศาสนาต้องสูญเสียพลังงานไปกับการโต้เถียง นักการศึกษาสมัยใหม่ที่ปฏิเสธศาสนาอย่างดีที่สุดว่า เป็นการสิ้นเปลืองเวลาโดยเปล่าประโยชน์ และถ้ามองอย่างเลวที่สุดคือศาสนาเป็นอุปสรรคต่อความเจริญก้าวหน้า การต่อสู้ระหว่างวิทยาศาสตร์กับศาสนา ความขัดแย้งก่อให้เกิดลัทธิปฏิเสธพระเจ้าและลัทธิวัตถุนิยม ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา มนุษย์ได้ปฏิเสธศาสนาในนามของวิทยาศาสตร์ และปฏิเสธวิทยาศาสตร์ในนามของศาสนา โดยให้เหตุผลว่าทั้งสองอย่างนี้ขัดแย้งกัน ความขัดแย้งระหว่างวิทยาศาสตร์กับศาสนา และผลผลิตของมันที่ตามมานั่นคือ ลัทธิวัตถุนิยมนั้นมองธรรมชาติเช่นมนุษย์ว่า เป็นกองวัตถุที่ถูกสร้างขึ้นมาเพียงเพื่อตอบสนองความต้องการทางด้านร่างกายเท่านั้น ผลก็คือ เราได้เห็นความหายนะทางสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นทั่วโลก[4]หากเรามองบนพื้นฐานของความความจริงแล้ว บางครั้งวิทยาศาสตร์ก็มิอาจอธิบายธรรมชาติได้ทั้งหมด

อิสลามมองว่า วิทยาศาสตร์ไม่อาจขัดกับศาสนา เพราะวัตถุประสงค์ของวิทยาศาสตร์คือการทำความรู้จัก การทำความเข้าใจในธรรมชาติและมนุษยชาติ ซึ่งแต่ละอย่างก็คือองค์ประกอบแห่งปรากฏการณ์ที่แสดงคุณลักษณะแห่งเจตนารมณ์และอำนาจของพระเจ้า[5] ความจริงทางวิทยาศาสตร์จำนวนมาก ที่มนุษย์เราพึ่งค้นพบด้วยเทคโนโลยียุคศตวรรษที่ 20 นั้นมีกล่าวอ้างอยู่ในคัมภีร์อัลกุรอานเมื่อ 1,400 กว่าปีมาแล้ว[6]

ศาสนานำทางให้วิทยาศาสตร์ กำหนดเป้าหมายที่แท้จริง ให้แก่วิทยาศาสตร์ตลอดจนวางคุณค่าศีลธรรม และคุณค่าความเป็นมนุษย์สากลไว้ต่อหน้าวิทยาศาสตร์เพื่อเป็นทางนำ ถ้าความจริงในเรื่องนี้เป็นที่เข้าใจในตะวันตกและถ้ามีการค้นพบระหว่างศาสนา ความรู้ในเรื่องนี้สิ่งต่างๆก็คงจะเปลี่ยนไป วิทยาศาสตร์ ไม่น่าจะนำความหายนะมามากกว่าประโยชน์ และวิทยาศาสตร์ก็ไม่น่าจะเปิดประตูให้แก่การสร้างระเบิดและอาวุธร้ายแร้งอื่นๆ

                เหตุผลที่ข้าพเจ้าคิดว่าควรมีการสานเสวนาระหว่างนักวิทยาศาสตร์กับศาสนานั้น

ข้อแรก ข้าพเจ้ามองว่า วิทยาศาสตร์กับศาสนานั้น มันมาจากแหล่งต้นกำเนิดอันเดียวกัน นั้นคือ มาจากอัลลอฮ ผู้ทรงสร้างทุกสรรพสิ่งในจักรวาลแห่งนี้

ข้อที่สอง ข้าพเจ้าเชื่อว่าวิทยาศาสตร์กับศาสนานั้น จะต้องพึ่งพาซึ่งกันและกัน หากขาดอันหนึ่งอันใด จะขาดความสมดุลของโลกใบนี้ เพราะวิทยาศาสตร์คือกุญแจที่สำคัญที่สุด จะนำมนุษยชาติไปสู่การรู้จักอัลลอฮ คือพระเจ้าองค์เดียว ผู้ทรงรอบรู้ ผู้ทรงปรีชาญาณ ผู้ทรงกรุณาปราณี ผู้ทรงเมตตาเสมอ โดยจากการคิดไตร่ตรอง ใช่สติปัญญา สิ่งที่อยู่รอบๆตัวมนุษย์ ว่ามันถูกสร้างได้อย่างไร ใครเป็นผู้สร้างสรรค์มัน เป็นระบบ ระเบียบเรียบร้อย ปราศจากข้อบกพร่องใดๆเลย

ข้อที่สาม ข้าพเจ้าเชื่อว่า มนุษย์เราทุกคนเป็นบ่าวของอัลลอฮ ทั้งที่เป็นมุสลิมและมิใช่มุสลิม มนุษย์ทุกคนเป็นลูกหลานอาดัมกับฮาวา(อีฟ) ทั้งที่เป็นมุสลิมและมิใช่มุสลิม มนุษย์ทุกคนที่อยู่ในสมัยศาสดามูฮัมหมัดหรือหลังจากศาสดามูฮัมหมัดได้จากโลกนี้ไปก็เป็นประชาชาติของมูฮัมหมัด(ศ็อล) ทั้งที่เป็นมุสลิมและมิใช่มุสลิม มนุษย์เรามีอะไรมากมายที่เหมือนกัน มากกว่าที่แตกต่างกันซะอีก ด้วยเหตุผลนี้ ข้าพเจ้าคิดว่าควรมีความจำเป็นที่จะต้องมาพูดกัน สานเสวนากัน ปรึกษาหารือกัน เพื่อที่จะสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกันให้ดียิ่งขึ้น

                หลักการในการสานเสวนาที่ข้าพเจ้าคิดว่ามันจะเป็นไปในทางที่ดี

ข้อแรก ลืมอดีตที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง ละทิ้งเรื่องการโต้เถียงซึ่งกันและกัน ให้อภัยซึ่งกันและกัน ให้ความสำคัญแก่จุดร่วมกัน ภายใต้สโลแกนที่นักวิชาการบางท่านได้กล่าวว่า แสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง   

ข้อที่สอง ปรับทัศนคติที่ดีต่อกัน สร้างความเข้าใจอันดีงาม ระหว่างนักวิทยาศาสตร์กับนักการศาสนา เปิดใจให้กว้าง ยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างกัน เคารพซึ่งกันและกัน ให้เกียติรซึ่งกันและกัน เห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน

ข้อที่สาม มีการพูดคุย สานเสวนา ปรึกษาหารือ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งกันและกัน เพราะไม่ว่าจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ นักการศาสนาก็ล้วนศึกษาธรรมชาติของพระผู้เป็นเจ้า ที่สร้างสรรค์ขึ้นให้กับจักรวาลแห่งนี้ เพียงแต่ศึกษาคนละด้านเท่านั้นเอง เอ็ม.ฟัตฮุลลอฮ กูเลน ได้กล่าวว่า วิทยาศาสตร์และศาสนานั้น ความจริงแล้วเป็นเหรียญสองด้านที่แตกต่างกัน แต่ก็มีต้นกำเนิดมาจากสัจธรรมเดี่ยวกัน

                ดังนั้นหากเราต้องการให้คุณภาพชีวิตของมนุษย์ทุกศาสนา ทุกพื้นที่ ให้เป็นไปในแนวทางที่ดีขึ้น เรามีความจำเป็นที่จะต้องมีการสานเสวนาระหว่างนักวิทยาศาสตร์กับนักการศาสนา

                ในอนาคตอันใกล้นี้ เราจำเป็นที่จะต้องสร้างนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ที่มีศาสนาในหัวใจเป็นตัวควบคุม ป้องกัน จากมารร้ายชัยฏอน ผู้บ่อนทำลายมนุษย์ เป็นผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่และสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามให้เหมาะสม มีความสมดุลกับโลกใบนี้ และเราก็จำเป็นเช่นเดียวกัน ที่จะต้องสร้างนักการศาสนารุ่นใหม่ที่มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เป็นตัวอธิบายนำไปสู่การรู้จักพระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงสร้างสิ่งต่างๆในจักรวาล สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อการสานเสวนาระหว่างนักวิทยาศาสตร์กับนักการศาสนาได้เกิดขึ้นจริง และเป็นไปในทางเชิงสร้างสรรค์ อินชาอัลลอฮ


อัลลอฮจะไม่ทรงเปลี่ยนแปลงชนกลุ่มใดชนกลุ่มหนึ่ง

นอกจากชนกลุ่มนั้นจะเปลี่ยนแปลงตัวของพวกเขาเอง  (ซูเราะห์ อัรรออดู อายัตที่ 13)







บรรณานุกรม

1.คัมภีร์อัลกุรอาน ฉบับแปลไทย

2.ข้อเขียน มุมมอง ความเห็นของ M.Fethulloh Gulen ผู้แปล บรรจง บินกาซัน

3.ความมหัศจรรย์ของอัลกุรอาน ฮารูน ยะห์ยา ผู้แปล ปัญญากร





[1] คัมภีร์อัลกุรอาน ซูเราะห์ฟาตีฮะฮ อายัตที่ 1-7
[2] คัมภีร์อัลกุรอาน ซูเราะห์อัลอิมรอน อายัตที่ 159
[3] คัดลอกจากหนังสือ ข้อเขียน มุมมอง ความเห็นของ ,M.Fethulloh Gulen ,ผู้แปล บรรจง บินกาซัน
[4] คัดลอกจากหนังสือ ข้อเขียน มุมมอง ความเห็นของ ,M.Fethulloh Gulen, ผู้แปล บรรจง บินกาซัน
[5] คัดลอกจากหนังสือ ข้อเขียน มุมมอง ความเห็นของ, M.Fethulloh Gulen ,ผู้แปล บรรจง บินกาซัน
[6] ความมหัศจรรย์ของอัลกุรอาน ,ฮารูน ยะห์ยา, ผู้แปลปัญญากร