วันอังคารที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เศรษฐศาสตร์อิสลาม

ท่านผู้อ่านอาจจะเคยได้ยินมาบ้างเกี่ยวกับระบบการเงินการธนาคารอิสลาม (Islamic Finance) Islamic Finance นั้นยังถือว่าใหม่อยู่สำหรับโลกของเรา ระบบนี้ได้เริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาเมื่อไม่กี่สิบปีนี้เอง แต่ถือได้ว่าอัตราการเติบโตของ Islamic Finance นั้นสูงมาก ประเทศไทยของเราเองก็มี ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย สิ่งหนึ่งที่ทุกคนกำลังเฝ้าดูอยู่คือ Islamic Finance นั้นจะสามารถรอดพ้นจากวิกฤตครั้งนี้ได้หรือไม่ การที่เราจะตอบคำถามนี้ได้ส่วนหนึ่งเราคงจะต้องเข้าใจ ระบบ Islamic Finance เสียก่อน และการเริ่มต้นนั้นก็คงต้องศึกษาไปที่วิชาเศรษฐศาสตร์ ระบบ Islamic Financeและเศรษฐศาสตร์อิสลาม (Islamic Economics) มีทั้งข้อเหมือนและต่างจากระบบของตะวันตก (Conventional System) หรือระบบทุนนิยม (Capitalism) ผู้เขียนเองและคนในแวดวง Islamic Finance จำนวนไม่น้อยต่างมีความเชื่อมั่นว่า ถ้าโลกของเราได้นำหลักการของอิสลามนี้ไปใช้อย่างเคร่งครัด ปัญหาเศรษฐกิจและการเงินจำนวนมากในทุกวันนี้คงจะไม่เกิดขึ้นหรือถ้าเกิด ผลกระทบก็น่าจะน้อยกว่าที่เป็นอยู่


หนึ่งในรูปแบบของระบบทุนนิยมที่แพร่หลายทั่วโลกทุกวันนี้ก็คือดอกเบี้ยในระบบเศรษฐกิจและการเงินการธนาคาร การทำงานของดอกเบี้ยนั้น อธิบายด้วยตัวอย่างง่ายๆ คือว่ามีนักลงทุนมาขอกู้เงินจากธนาคารไปลงทุน ไม่ว่าผลของการลงทุนนั้นจะไปได้ด้วยดีมีกำไร หรือล้มเหลวขาดทุน นักลงทุนยังคงจะต้องจ่ายค่าดอกเบี้ยคืนแก่ธนาคารธนาคารเองจะไม่รับรู้ผลของกำไรหรือร่วมแบกรับการขาดทุนนั้น หลักการอิสลามของเราได้ห้ามการทำการค้าการลงทุนในรูปแบบนี้ เราส่งเสริมให้มีการร่วมแบ่งกำไรและรับผิดชอบการขาดทุนระหว่างเจ้าของเงินทุน(ในที่นี้ธนาคาร) และนักลงทุน (Profit and Loss Sharing) หรือที่ฝรั่งเขาพูดกันว่า “no risk, no return” (อาหรับเรียกว่า al ghorm bil ghonm)


อิสลามได้กล่าวถึงผลเสียของระบบดอกเบี้ยว่าก่อให้เกิดการกระจุกตัวของเงินอยู่ในมือของคนส่วนน้อยก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในสังคม และเป็นการสร้างชนอีกชั้นหนึ่งที่ร่ำรวยมหาศาลหรือที่เรียกว่า พวกนายทุน ระบบดอกเบี้ยนั้นยังก่อให้เกิดผลเสียทางอ้อมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการคดโกงการทำทุกอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งเงินนั้นโดยไม่คำนึงถึงผู้อื่นและสังคมโดยรอบข้าง ตัวอย่างที่สำคัญคงจะดูได้จากคดีสองบริษัทยักษ์ใหญ่ของอเมริกา Enron และ Worldcom ที่มีการตกแต่งทางบัญชี หรือบริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้าน IT ของอินเดีย Satyam เมื่อไม่กี่เดือนมานี้เอง ระบบทุนนิยมนั้นสามารถกล่าวได้อีกอย่างว่าใช้หลัก “มือใครยาวสาวได้สาวเอา” ในทางกลับกัน ระบบเศรษฐศาสตร์อิสลามถึงแม้ทุกคนจะมีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ แต่จะต้องอยู่บนพื้นฐานของคุณธรรม เศรษฐศาสตร์อิสลามยึดหลักความเป็นพี่น้องของมุสลิมทั่วโลก เราส่งเสริมในเรื่องของสวัสดิการที่ทุกคนในสังคมควรจะได้รับเพื่อความเติบโตก้าวหน้าของสังคมประเทศชาติอย่างเท่าเทียมและยุติธรรม เพราะฉะนั้น อิสลามจึงห้ามอย่างเด็ดขาดที่จะให้มีการใช้รูปแบบของดอกเบี้ยในการทำการค้าการลงทุน



ปัญหาความไม่เท่าเทียมในสังคมหรือปัญหาการกระจายรายได้ถูกมองว่าเป็นผลเสียที่ชัดเจนของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมในแวดวงนักเศรษฐศาสตร์โดยเฉพาะสายการพัฒนา (Development Economics) ต่างให้ความสำคัญกับประเด็นนี้และถือได้ว่าเป็นเป้าหมายหลักของงานวิจัยจำนวนมากที่ต้องการหาวิธีการแก้ไขและทางออก


อิสลามคัดค้านการผูกขาดทางเศรษฐกิจ แต่สนับสนุนความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สำหรับทุกภาคส่วนของสังคม อิสลามส่งเสริมให้ทุกคนขยันทำงาน หาความรู้ เพื่อความอยู่ดีกินดีของตนเองและครอบครัว หากว่าการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไม่ใช่เป้าหมายอย่างเดียวสำหรับชีวิตนี้ นักเศรษฐศาสตร์จำนวนมากต่างใช้ GDP per Capita หรือผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติต่อหัว เพื่อบ่งบอกว่าประเทศพัฒนามากน้อยเพียงใดผู้เขียนมีความเห็นว่า GDP per Capita นั้นไม่เพียงพอที่จะบ่งบอกระดับของการพัฒนาเพราะเป็นการมองเพียงด้านวัตถุ ประชาชนของประเทศที่ได้ชื่อว่าพัฒนาแล้วจำนวน

มากซึ่งมีรายได้สูงแต่ทำไมไม่มีความสุข มีปัญหาการหย่าร้าง ฆ่าตัวตาย และปัญหาทางสังคมจำนวนมาก ในทางกลับกัน ได้มีการสำรวจวิจัยมาแล้วว่าประเทศเล็กๆ อย่าง ภูฏาน หรือ ประเทศที่ได้ชื่อว่ารายได้น้อยที่สุดแห่งหนึ่งของโลกอย่างบังคลาเทศ กลับมีระดับความสุขมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลกเราคงจะต้องถามตัวเองแล้วว่าเป้าหมายในชีวิตนี้คืออะไรกันแน่ เราจะอยู่กันเพียงเพื่อโลกนี้หรือเพื่อโลกหน้า


ในมุมของอิสลามแล้ว สินทรัพย์ของทุกคนนั้นถือว่าเป็นของพระเจ้า มนุษย์มีหน้าที่เพียงดูแลสินทรัพย์เหล่านั้นและใช้ไปในหนทางของพระเจ้าเพื่อประโยชน์สุขของสังคมโดยรวม เพราะฉะนั้นผู้ที่มีสินทรัพย์มากกว่าหรือพูดง่ายๆ ว่าร่ำรวย ก็จะต้องมีหน้าที่ความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวมมากยิ่งขึ้นตามไปด้วย อิสลามยังให้ความสำคัญกับการได้มาซึ่งสินทรัพย์เหล่านั้นด้วยว่าถูกต้องตามหลักการของอิสลามหรือไม่ไปโกงมาหรือเบียดเบียนใครมาหรือเปล่า


ในระบบเศรษฐกิจแบบอิสลาม สินทรัพย์และเงินทองคงจะไม่อยู่นิ่งในกระเป๋าของใครเป็นแน่ เพราะอิสลามได้ใช้ระบบซะกาตเข้ามาช่วยให้สินทรัพย์เหล่านั้นหมุนเวียนไปในทุกส่วนของระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะคนยากคนจน คนที่ได้รับความเดือดร้อน ซะกาตและระบบการค้าการลงทุนแบบ Profit and Loss Sharing นี่เองที่จะช่วยให้ปัญหาความไม่เท่าเทียมทางรายได้บรรเทาลงสังคม มีความรักความปรองดองเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน ผู้เขียนเองก็มีความเชื่อมั่นว่าจะได้เห็นรูปแบบการจัดการซะกาตในระดับชาติสำหรับประเทศไทยในเร็วๆ นี้


นี่เป็นความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างนี่เป็นความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างระบบเศรษฐกิจแบบอิสลาม แบบทุนนิยมและแบบสังคมนิยม (Socialism) ระบบทุนนิยมนั้นสินทรัพย์เป็นของผู้ที่หามาได้ จะหามาอย่างไร จะใช้สำหรับอะไร ทุนนิยมนั้น ไม่ใส่ใจ คนรวยก็รวยไป คนจนก็ช่างมันสำหรับระบบสังคมนิยม (ก่อนสงครามเย็นจะพบได้ในสหภาพโซเวียตและประเทศบริวาร จีน, เกาหลีเหนือ, เวียดนามเหนือ,ลาว ฯลฯ) ไม่มีใครเป็นเจ้าของสินทรัพย์หรือธุรกิจต่างๆ รัฐบาลคอมมิวนิสต์จะจัดการแบ่งสินทรัพย์เหล่านั้นแก่ทุกๆ คนอย่างเท่าเทียมกันเอง ฟังดูผิวเผินเหมือนจะดี ลองนึกดูสิว่าหากคุณทำงานหนักด้วยความพากเพียร แต่ทุกสิ่งที่คุณหามาได้ต้องตกเป็นของรัฐ คุณจะมีแรงบันดาลใจที่จะพัฒนาตนเอง ทำงานหนักอีกต่อไปหรือไม่


โดยสรุปแล้วระบบเศรษฐกิจแบบอิสลาม ในมุมมองของผู้เขียน ถึงแม้จะไม่หวือหวา อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงลิ่ว แต่ระบบเศรษฐกิจจะมั่นคง แม้ทุกคนจะได้รับสิ่งต่างๆ ตามที่ตนหามาได้ สังคมจะมีความเหลื่อมล้ำน้อยลง ผู้คนจะเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันมากขึ้น โลกโดยรวมจะมีความสุขมากขึ้นเพราะปัญหาต่างๆ ทางสังคมที่เกิดขึ้นทุกวันนี้จะน้อยลง ทุกสิ่งที่กล่าวมานี้สามารถเกิดขึ้นได้ถ้าในระบบเศรษฐกิจนั้นไม่มีดอกเบี้ย แต่ใช้ Profit and Loss Sharing แทนมีการนำหลักการของซะกาตมาบังคับใช้ และที่สำคัญไม่น้อยไปกว่านั้นคือทุกคนต่างทำทุกอย่างโดยระลึกถึงพระเจ้าและผู้คนรอบข้างในสังคมที่มีโอกาสทางเศรษฐกิจน้อยกว่าตนเอง


ที่มา:วารสารสุขสาระ

5 ความคิดเห็น:

  1. อยากเพิ่มเติมอ่าค่ะ เกี่ยวกับ...
    ประวัติศาสตร์แนวคิดเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์อิสลาม ของท่าน อีหม่าม อัล-ฆอซาลี อ่าค่ะ ว่าในช่วงยุคสมัยนั้นน่ะ ท่านอีหม่ามอัล-ฆอซาลี ได้กล่าวถึงเรื่องใดบ้าง ทางด้านการค้า การขายในระบบเศษฐกิจ (เศรษฐศาสตร์อิสลามสมัยก่อน)

    ตอบลบ
  2. ทำไมคุณ Munee ถึงสนใจในสมัย อีหม่ามฆอซาลี เกี่ยวกับการค้า การขายในระบบเศรษฐกิจ เป็นเพราะอะไรคับ

    ตอบลบ
  3. คือว่า... ได้อ่านบทความจากเว๊ปไซต์เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์อิสลาม
    อีหม่ามฆอซาลี ก้อเคยพูดถึงเรื่องต่างๆเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์อิสลาม ระบบเศรษฐกิจในอิสลามตามทรรศนะของเค้า ไว้หลายเรื่องมาก เช่น เศรษฐศาสตร์การเงิน การคลังสาธารณะ การแบ่งงานในการผลิต คือเรื่องที่คนอื่นเค้าเพิ่งจะพูด แต่อีหม่ามฆอซาลีได้เคยพูดไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว ตามทรรศนะของเค้า อ่าค๊าาา

    อาจจะงงๆ นิดนึงอ่าค๊าาาา มาอัฟด้วยคะ

    ตอบลบ
  4. อืมอันนี้ถือว่าถูกต้องคับ คือส่วนใหญ่นักปราชญ์ชาวมุสลิม จะเก่งหลายด้าน เป็นอูลามาอด้านศาสนาแล้ว เป้นอูลามาอด้านอื่นด้วย อย่างเช่นอีหม่ามาฆอซาลี ที่ท่านได้หยิบหยกมา อินชาอัลลอฮจะไปหาข้อมูลมานะคับ ถ้าได้ยังงัยก็จะมาแหลกเปลี่ยน ถ้าไม่ได้ ก็จะบอกว่าหาไม่ได้คับ แต่สิ่งที่ผมสนใจในด้านการแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจแบบอิสลาม ทำให้คนที่อยู่ในอาณาจักรอิสลาม ไม่มีผู้ที่จะรับซะกาต คือในสมัยอูมัร บินอับดุลอาซิซ คอลีฟะฮคนที่แปดของอูมัยยะห ลองศึกษาคอลีฟะหผู้นี้ดูคับ

    ตอบลบ
  5. ลองดูบทความนี้คับ เอามาจากเว็บอิกเราะฟอรั่ม คลิก http://khozafi-shahaan.blogspot.com/2011/02/blog-post_5930.html

    เนื้อหาเรียบเรียงจากหนังสือ Islamic Thinkers on Economics, Administration and transactions by Aidit Ghazali (1991) โพสต์ในเว็บอิกเราะห์ฟอรั่ม โดย Ummu_Khai

    ตอบลบ