วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2554

มุฮัมมัด อากีฟ ผู้คัดค้าน มุสตอฟา กามาล บิดาแห่งตุรกี

   ปัญญาชนคนสำคัญที่ต่อต้านแนวความคิดของมุสตอฟา เคมาล เกี่ยวกับเรื่องคอลีฟะฮ คือมุฮัมมัด อากีฟ เขาเผยแพร่แนวความคิดของเขาในวารสาร "Siratil Mustakim " (หนทางที่เที่ยงตรง) เขากล่าวว่าการใช้อำนาจเผด็จการของสุลต่าน อับดุลฮามีด ได้ละเมิดระบบคอลีฟะฮ เช่นเดียวกับพวกยังเตอร์กที่นิยมเซคคิวล่าร์ (Secularism) อากีฟต้องการให้นำเอารูปแบบของประชาธิปไตยในอิสลามที่มีผู้แทนให้คำปรึกษาต่อผู้ปกครองเหมือนอย่างกับที่ปฏิบัติในประวัติศาสตร์อิสลามสมัยแรก เขาคัดค้านการนำเอาสถาบันการปกครองแบบตะวันตกเข้ามาใช้ในเตอร์กี เขาต่อต้านนโยบายชาตินิยมอย่างบ้าคลั่ง และละทิ้งประชากรมุสลิมที่เคยร่วมอยู่ในอาณาจักรออตโตมาน อารยธรรมตะวันตกนั้นถ้ารับมาทั้งหมดจะทำลายคุณค่าทางจริยธรรมของอิสลาม มุสลิมจะต้องหันหลับไปหาคุณค่าแบบดั่งเดิมของอิสลาม ถ้าต้องการรอดพ้นจากลิทธิจักรวรรดินิยม มุสลิมควรรับเฉพาะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากตะวันตก ปฏิเสธระบบการปกครองอย่างพวกตะวันตกซึ่งจะทำให้มุสลิมอ่อนแอลง มีช่องว่างระหว่างพวกปัญญาชน แม้ประชาชนส่วนใหญ่เป็นปัญญาชนต้องการเลียนแบบตะวันตกทุกอย่าง แต่ประชาชนรู้ว่านั่นเป็นสาเหตุของความล้มเหลว หนทางที่จะนำไปสู่ความก้าวหน้านั้นต้องขึ้นอยู่กับพื้นฐานและประสบการณ์ของสังคมนั้นๆ ด้วย นั่นคือหนทางของโลกอิสลามไม่ใช่หนทางของตะวันตก ถ้าจะพิจารณาถึงแนวความคิดสองแนวนี้จะเห็นได้ว่าต่างกันอย่างชัดแจ้ง มุสตอฟา เคมาล มองว่า คอลีฟะฮไม่ควรมายุ่งเกี่ยวกับการเมือง ในการกล่าวปราศรัยกับโลกมุสลิมหรือถ้ามีหนังสือติดต่อกับมุสลิมในประเทศอื่นก็ควรกล่าวในฐานะที่คอลีฟะฮได้รับเลือกจากรัฐสภาเตอร์กี แต่คอลีฟะฮอับดุลมายีดกระทำตนเกินขอบเขตที่มุสตอฟา เคมาลขีดไว้กระทำตนเป็นผุ้นำโลกมุสลิม ซึ่งมีลักษณะขัดแย้งกับความคิดของมุสตอฟา เคมาลอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้มุสตอฟามองตำแหน่งคอลีฟะฮเป้นตัวขัดขวางความเจริญก้าวหน้าของประเทศ ถ้ายังคงตำแหน่งนี้ไว้ก็จะทำให้ประเทศอื่นมองเตอร์กีเป็นประเทศล้าหลัง


       ส่วนกลุ่มที่คัดค้านเคมาลนั้นพยายามมองระบบคอลีฟะฮในลักษณะดั่งเดิมและจะนำเอาระบบคอลีฟะฮที่แท้จริงมาใช้ในทัศนะของกลุ่มนี้มองสุลต่านแห่งออตโตมานว่า มิใช่ระบบคอลีฟะฮที่สมบูรณ์เป็นระบบผสมผสานระหว่างสมบูรณาญาสิทธิราชกับคอลีฟะฮ ดังนั้นควรทำให้เตอร์กีเป็นสาธารณรัฐอิสลามเหมือนอย่างสมัยแรก ไม่เห็นด้วยกับคำพูดของมุสตอฟาที่ว่า"การดำรงอยู่ของตำแหน่งคอลีฟะฮเป็นการทำลายสาธาณรัฐ"เพราะถ้าพิจารณาถึงระบบคอลีฟะฮที่แท้แล้ว คอลีฟะฮไม่ได้เป็นองค์อธิปัตย์มีอำนาจที่จะทำอะไรได้ตามใจชอบ ตำแหน่งคอลีฟะฮเป้นเพียงผู้แทนในการใช้อำนาจได้มาโดยการเลือกตั้งและต้องอยู่ภายใต้กฎหมายอิสลาม ไม่สามารถใช้อำนาจเกินขอบเขตที่กฎหมายกำหนด การสืบทอดตำแหน่งโดยการสืบราชวงศ์ตามสายเลือดนั้นเป็นการนำเอาระบบอื่นเข้ามาปะปน ซึ่งกลุ่มนี้พยายามที่จะขจัดออก ผู้ที่จะมาเป็นคอลีฟะฮต้องเป็นผู้ที่รอบรู้ในกฎหมายอิสลาม (Shari'a) ระบบคอลีฟะฮนั้นถือว่ากฎหมายอิสลามเป็นธรรมนูญสูงสุด กำหมายต่างๆ ที่ออกมาบังคับใช้ในชุมชนจะขัดแย้งกับกฎหมายอิสลามไม่ได้ สมาชิกรัฐสภาไม่ว่าจะมีคะแนนเสียงเท่าใดไม่อาจเปลี่ยนแปลงกฎหมายอิสลามได้ ซึ่งจะแตกต่างกับระบอบประชาธิปไตยแบบตะวันตก ระบบคอลีฟะฮมิได้กีดขวางความเจริญรุ่งเรืองหรือความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เพราะถ้าพิจารณาจากประวัติศาสตร์ในสมัยอับบาสียะห์ จะเห็นว่าความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการสาขาต่างๆ รวมทั้งทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์ เจริญกว่ายุโรปในสมัยเดียวกันเสียอีก ดังนั้นการหยุดชงักทางวิชาการของอาณาจักรออตโตมานจึงเป็นเรื่องที่ไม่อาจกล่าวสาเหตุมาจากระบบคอลีฟะฮ แต่ถ้าจะกล่าวระบบคอลีฟะฮขัดขวางการนำเอาระบบการดำเนินชีวิตทั้งหมดทุกด้านของตะวันตกมาใช้นั้นย่อมเป็นคำกล่าวที่ถูกต้อง กลุ่มที่คัดค้านวามคิดของมุสตอฟา เคมาล มองเห็นความจำเป็นที่จะพิจารณาเลือกศึกษาเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีจากตะวันตกเท่านั้น เพราะออตโตมานล้าหลังพวกตะวันตกก็เฉพาะด้านนี้ จึงไม่จำเป็นต้องนำเอาวัฒนธรรมอย่างอื่นมา ดร.ไอ มาติน คุนท์ (Dr. I. Metin Kunt) สรุปว่า การที่ออตโตมานตกเป้นเบี้ยล่างพวกตะวันตกก็เพราะว่าเทคโนโลยีของออตโตมานถูกหยิบยืมไป และออตโตมานเองในระยะหลังนี้ก็ไม่พยายามพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่จำเป็นต่อการสร้างเรือรบและอาวุธที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่ออาณาจักรออตโตมานพลาดโอกาสนี้แล้วจึงตกเป็นฝ่ายล้าหลัง
 
อ้างจากเอกสารประกอบการสอนรายวิชา หลักการบริหารในอิสลาม 3 เรียบเรียงโดย อาจารย์ อับดุลเล๊าะห์ อุมา อาจารย์ประจำสาขารัฐประศาสนศาสตร์มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา

1 ความคิดเห็น: