วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สันติภาพในท่ามกลางความหลากหลายจากมุมมองในศาสนาพุทธ


สันติภาพในท่ามกลางความหลากหลายจากมุมมองในศาสนาพุทธ
ปาริชาติ สุวรณบุบผา
·       ความรู้เรื่องสันติภาพในพุทธศาสนา ศาสนาพุทธไม่ได้เป็นศาสนาที่มีพระเจ้า เพราะฉะนั้นทุกสิ่งทุกอย่างมนุษย์เป็นผู้ทำเอง
·       จุดหมายสูงสุดของศาสนาพุทธก็คือปฏิบัติมรรคมีองค์แปดให้ถึงพระนิพพาน
·       พุทธศาสนาได้พูดไว้อย่างตรงไปตรงมาถึงเรื่องการทำสันติภาพภายในของมนุษย์แต่ละคนให้บรรลุถึงจุดหมายสูงสุด
·       พุทธศาสนาพูดอย่างชัดเจนว่าคำสอนคือมรรคมีองค์แปด ก็คือว่าทำจิตใจให้ผ่องแผ้ว ไม่ทำบาป กระทำความดี
·       เวลาจะนำเอาคำสอนของศาสนามาใช้ในชีวิตประจำวันก็ใช้ในลักษณะที่ดูบริบทปัจจุบัน ว่าบริบทปัจจุบันเป็นอย่างไร ปัจจุบันนี้มีความขัดแย้งในทุกที่ แต่เวลาพูดถึงความขัดแย้งก็จะบอกอีกว่าเกิดมาเป็นมนุษย์มีความเครียดมีความขัดแย้งได้ สิ่งที่จะต้องระวังอย่างเดียวก็คือว่าทำอย่างไรที่จะไม่ให้ความขัดแย้งนั้นกลายเป็นความรุนแรง
·       ความขัดแย้งในบ้านหรือความขัดแย้งในที่ทำงาน หรือทางการเมืองก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดาแต่ประเด็นก็คือว่าจะทำอย่างไรไม่ให้ความขัดแย้งนั้นกลายเป็นความรุนแรง
·       ในสถานการณ์ปัจจุบันนั้นคนทั้งหลายมักจะกลัวว่าความรุนแรงนั้นจะต้องต่อยกันตีกันหรือว่าใช้ระเบิดปรมาณู อันนั้นเป็นความรุนแรงประเภทหนึ่งเรียกว่าความรุนแรงทางกายภาพ แต่ว่ามันยังมีความรุนแรงอีกประเภทหนึ่งเป็นความรุนแรงที่คนส่วนใหญ่จะไม่พูดถึงก็คือความรุนแรงที่เป็นความรุนแรงเชิงโครงสร้าง
·       ความรุนแรงเชิงโครงสร้างนี้เป็นความรุนแรงที่เกิดจากคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง มีสิทธิพิเศษทางเศรษฐกิจ ทางการเมือง และทางวัฒนธรรมและใช้ความได้เปรียบทางเศรษฐกิจการเมืองและวัฒนธรรมนั้นกดขี่ข่มเหงคนอีกกลุ่มหนึ่ง
·       เมื่อใดก็ตามที่มีความความอยุติธรรมทางเศรษฐกิจการเมืองและวัฒนธรรม เมื่อนั้นก็จะมีความรุนแรงเกิดขึ้น ตรงนั้นเป็นความรุนแรงที่สืบเนื่องอีกอันที่เราบอกว่าเป็นความรุนแรงที่มีกลุ่มคนที่ต้องการจะปลดปล่อยความคิดของตัวเองเป็นความรุนแรงที่เรียกว่า liberative violent
·       เราจะต้องระวังว่าจะไม่ให้เกิดความรุนแรงเชิงโครงสร้างที่เป็นเรื่องความไม่ยุติธรรมทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ถ้าเมื่อไหร่มีความรุนแรงเชิงโครงสร้างก็จะไม่มีสันติภาพที่เราแสวงหาที่เราต้องการ
·       อีกอย่างหนึ่งก็คือความรุนแรงประเภทที่เราเรียกว่าความรุนแรงเพื่อการปลดปล่อยความทุกข์ ถ้าคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งไม่ว่าใครก็ตามได้รับความไม่ยุติธรรม วันหนึ่งเขาก็จะทนไม่ได้แล้วก็จะก่อความรุนแรงอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งความรุนแรงแบบนั้นเราไม่ต้องการจะได้เห็นแต่ว่าเป็นความรุนแรงที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้
·       การแก้ไขความรุนแรงนั้นจะต้องสร้างความยุติธรรมให้เกิดขึ้น
·       เป็นหน้าที่ของชาวพุทธทั้งหลายที่ว่าเมื่อใดก็ตามที่บอกว่ายึดถือพรหมวิหาร ๔ มีความเมตตา ความเมตตาก็คือความรักต่อเพื่อนมนุษย์ ไม่เลือกว่าเขาเป็นใคร เป็นหญิงหรือเป็นชาย ไม่เลือกเชื้อชาติ ไม่เลือกสถานภาพทางสังคม เมื่อใดก็ตามเห็นเขามีความทุกข์ ก็จะต้องช่วยเขา โดยใช้ความกรุณาช่วยเขาปลดปล่อยจากความทุกข์ ถ้าปล่อยให้คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งถูกเอาเปรียบอยู่ตลอดเวลาก็จะกลายเป็นความรุนแรงอีกรูปแบบหนึ่งที่เราไม่ปรารถนาจะให้เกิดขึ้น ซึ่งก็คือความรุนแรงประเภทที่ ๓ คือ liberative violent
·       ความรุนแรงอีกประเภทหนึ่งที่มักลืมไป ก็คือความรุนแรงในเรื่องเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม พุทธศาสนาสอนไว้ชัดเจนว่าทุกสิ่งทุกอย่างต้องเกี่ยวพันซึ่งกันและกันตามหลักปฏิจจสมุปบาท เพราะฉะนั้นมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมก็ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
·       ความรุนแรงทางธรรมชาติถ้าเราวิเคราะห์ลงไปแล้วก็คือเงื่อนไขปัจจัยที่มนุษย์และสิ่งแวดล้อมอยู่ด้วยกันอย่างไม่สมดุลย์
·       พุทธศาสนาได้ชื่อว่าเป็นศาสนาที่มีความยุติธรรม ไม่ได้บอกว่ามนุษย์นั้นเป็นนายเหนือธรรมชาติ แต่เรามองว่าทุกสิ่งทุกอย่างนั้นอยู่ใต้กฎของธรรมชาติ คือกฎที่เกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไป ธรรมชาติก็อยู่ใต้กฎอันนี้ เราจึงสอนให้ไม่เอาเปรียบธรรมชาติ แต่มนุษย์ไม่ได้ปฏิบัติตามกฏหรือหลักศาสนาอย่างนี้ทั้งหมดก็จะรู้สึกไม่รับผิดชอบต่อธรรมชาติ ก็จะใช้ธรรมชาติอย่างไม่มีความรับผิดชอบ
·       สันติภาพคืออะไร พุทธศาสนาได้พูดเรื่องสันติภาพอย่างชัดเจน ทั้งคำสอนและการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุสันติภาพในใจ
·       เราเป็นมนุษย์ที่ไม่ได้แยกส่วน เรายังอยู่ในสังคมเพราะฉะนั้นเราก็ต้องสนใจบริบททางสังคม บริบททางสังคมมนุษย์กำลังอยู่ในภาวะที่มีความรุนแรงหลายรูปแบบ คือความรุนแรงเชิงกายภาพ ที่มนุษย์ใช้กำลังใช้อาวุธประหัตประหารกัน ความรุนแรงประเภทที่ ๒ คือความรุนแรงเชิงโครงสร้าง ที่มีการเอาเปรียบทางสังคมวัฒนธรรม เศรษฐกิจ ความรุนแรงประเภทที่ ๓ คือความรุนแรงที่เรียกว่า liberative violent ความรุนแรงที่คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งไม่ได้รับความยุติธรรม แล้ววันหนึ่งเขาทนไม่ไหวก็ต้องลุกฮือขึ้นมา
·       ความหลากหลายในโลกจริงๆแล้วก็สอดคล้องกับคำสอนทางศาสนาที่เรียกว่าปฏิจสมุปบาทซึ่งคือคำสอนที่ว่าทุกสิ่งทุกอย่างนั้นมีความเกี่ยวเนื่องซึ่งกันและกัน ถ้าสิ่งนี้ก็ขึ้นสิ่งนั้นก็จะเกิดขึ้น ถ้าไม่ต้องการให้สิ่งนี้เกิดขึ้นก็จำกัดเงื่อนไขปัจจัยอันนี้  สิ่งนี้ก็จะไม่เกิดขึ้น
·       การที่เราเข้าใจคำสอนเรื่องปฏิจสมุปบาทว่าทุกสิ่งทุกอย่างต้องอาศัยซึ่งกันและกันนี่ก็คือการที่เรายอมรับอัตลักษณ์ของแต่ละสิ่งว่ามีความเป็นตัวของตัวเอง มีการปกครองตัวเองได้ แต่ในขณะเดียวกันความเป็นปัจเจกที่เดี่ยวๆนี่ก็มีความเป็นสังคมด้วย เพราะฉะนั้นในปัจเจกก็อยู่ในสังคมด้วย และในสังคมก็มีความเป็นปัจเจก
·       ในปัจจุบันนี้ต้องยอมรับความจริงว่าจะต้องเผยแพร่วัฒนธรรม ยอมรับความแตกต่างหลากหลาย ไม่ว่าความแตกต่างนั้นจะเป็นเรื่องภาษา เรื่องศาสนา เชื้อชาติ เพราะว่าถ้าไม่ยอมรับความแตกต่างหลากหลาย มันจะมีปัญหาเกิดขึ้นเพราะแต่ละคนก็จะบอกว่าของที่ตัวเองเป็นนั้นดีที่สุด เช่น ภาษาไทยดีที่สุด ชาติไทยดีที่สุด ศาสนาพุทธดีที่สุด ทุกคนก็จะบอกว่าของที่ตัวเองเป็นนั้นดีที่สุด
·       คำสอนของพระพุทธศาสนาในเรื่องปฏิจสมุปบาทนั้นเราก็จะบอกว่าสิ่งที่เป็นของเราดีที่สุดนั้นก็ไม่เป็นไร แต่ว่าเราจะต้องใจกว้างพอที่จะยอมรับความแตกต่างหลากหลาย
·       จะต้องใจกว้างยอมรับความแตกต่างหลากหลายของคนอื่นแต่ขณะเดียวกันก็บอกว่าจริงๆแล้วศาสนาพุทธก็บอกว่าคำสอนของพุทธดีที่สุดเหมือนกัน เช่นคำสอนที่เรียกว่าเอกยานมัคโค ศาสนาพุทธนั้นเป็นทางสายเดียว ทางสายเอกที่นำไปสู่ความเป็นพระอรหันต์ ถ้าอย่างนั้นก็หมายความว่ามีแต่ศาสนาพุทธเท่านั้นเป็นทางสายเดียว ศาสนาอื่นไม่ใช่ ลักษณะนี้ที่เรียกว่า exclusivism ศาสนาคริสต์เขาก็บอกว่า outside the church that is no salvation นอกพระศาสนาจักรไม่มีทางรอด ก็หมายความว่าคนที่เป็นพุทธเป็นอิสลามก็ต้องตกนรกหมด เพราะฉะนั้นจึงเป็นเรื่องธรรมดาที่ทุกศาสนาจะบอกว่าของตัวเองดีที่สุด แต่จะทำอย่างไรจึงจะอยู่ในท่ามกลางความหลากหลาย ทางศาสนานี้ ทางเชื้อชาตินี้ และอยู่อย่างทำให้ความสันติเกิดขึ้น

เอกสารประกอบการสอนวิชาสันติศึกษา มหาวิทยาลัยอิสลาม โดย อาจารย์กริยา หลังปูเต๊ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น