วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แนวความคิดและทฤษฏีการบริหารจัดการมัสยิด


แนวความคิดและทฤษฏีการบริหารจัดการมัสยิด
1. ประวัติความเป็นมาของมัสยิดในอิสลาม
ประวัติความเป็นมามัสยิดในอิสลามนั้น จะแบ่งออกเป็นสองช่วงด้วยกัน
ช่วงแรก เป็นช่วงสมัยก่อนท่านนบีมูฮัมหมัด
มีฮาดีษบทหนึ่งเล่าโดยอะบูษัรริน เล่าว่า ฉันได้ถามว่า ความว่า โอ้ท่านรอซูลของอัลลอฮ มัสยิดใด ถูกตั้งขึ้นบนพื้นโลกนี้เป็นหลังแรก? ท่านตอบว่า มัสยิดอัลฮารอม ฉันถามอีกว่าแล้วอะไรอีก? ท่านตอบว่า ต่อไปมัสยิดอัลอักศอ ฉันถามอีกว่า ช่วงระหว่างทั้งสองมัสยิดนั้นกี่ปี? ท่านตอบว่า 40 ปี หลังจากนั้น ท่านกล่าวว่า ณ ที่ใดการละหมาดได้ประสบกับท่าน ท่านก็จงละหมาดเถิด เพราะนั้นเป็นที่สูญูด ในอีกรายงานหนึ่งว่า พื้นดินทั้งหมดนั้นเป็นที่สูญูด บันทึกโดยกลุ่มผู้บันทึกหะดีษ (สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ, 2545: 325).

ช่วงที่สอง เป็นช่วงในสมัยของท่านนบีมูฮัมหมัด
มัสยิดหลังแรกที่เกิดขึ้นในสมัยของท่านนบี คือตอนที่ท่านนบีมูฮัมหมัดได้ไปพักอยู่ที่กูบาอ์ แล้วท่าน นบีมูฮัมหมัดได้สร้างมัสยิดอิสลามขึ้นเป็นครั้งแรก คัมภีร์กุรอานได้กล่าวว่า มัสยิดแห่งนี้เป็นมัสยิดแรกเพราะว่ามันได้ถูกสร้างขึ้นบนรากฐานของความยำเกรงพระเจ้า (ซะกะรียา บะชีร2545 :46)
มัสยิดหลังที่สอง เมื่อท่านท่านนบีมูฮัมหมัดถึงที่นครยัษริบ ท่านได้กระทำอย่างแรกคือการก่อสร้างมัสยิด เพราะมัสยิดเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับชีวิตความเป็นอยู่ของบรรดามุสลิม ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม ดังนั้นท่านนะบี  จึงทำการสร้างมัสยิดตรงที่อูฐของท่านได้คุกเข่าลง ท่านได้ซื้อที่ดินจากเจ้าของ การก่อสร้างมัสยิดจึงเริ่มขึ้นด้วยเจตนารมณ์อันแน่วแน่ การทุ่มเทในหนทางของชัยชนะและผลบุญอันยิ่งใหญ่ ท่านนบีมูฮัมหมัด  ได้ร่วมมือก่อสร้างมัสยิด พร้อมกับบรรดาซอฮาบะฮ์  ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มความมุ่งมั่นและกำลังใจอันเข้มแข็ง อาคารมัสยิดได้สร้างขึ้นอย่างเรียบง่าย ผนังทำจากดิน และเสาทำจากต้นอินทผลัม หลังคาทำจากก้านอินทผลัม อาคารมัสยิดได้มีบทบาทที่สำคัญ ดังเช่นที่ อิมาดุดดีน ค่อลีล ได้บอกไว้ว่า:  “เป็นต้นแบบตามที่อิสลามได้วางเอาไว้ อย่างครอบคลุมและสมบูรณ์แบบ  กลายเป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจในการปฏิบัติพิธีกรรม การทำอิบาดะห์ ตลอดจนระบอบการปกครองด้านการทหาร เพื่อเป็นการกระชับความสัมพันธ์ของชาติทั้งด้านภายในประเทศและต่างประเทศ และเป็นสถาบันแห่งวิชาการพร้อมกับการวางบัญญัติศาสนา ซึ่งบรรดาซอฮาบะฮ์จะมาชุมนุมกันที่นั่น อีกทั้งยังเป็นที่สำหรับการคลี่คลายปัญหาต่างๆและเป็นที่ใช้อบรมสั่งสอนด้วยถ้อยคำต่าง ๆ เป็นศูนย์รวมของสังคมที่บรรดามุสลิมจะได้เรียนรู้กฎระเบียบ ความเสมอภาคและความเท่าเทียมกัน และได้สัมผัสการเป็นเอกภาพ ความเป็นพี่เป็นน้องกัน ความเป็นระเบียบเรียบร้อย มีการก่อสร้างบ้านเรือนอย่างเรียบง่ายรอบ ๆ บริเวณมัสยิดสำหรับเป็นที่พักอาศัยของท่านเราะซูลลุลลอฮ์  พร้อมกับบรรดาภรรยาของท่าน ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุนนะ(http://www. islammore.com/main/content.php?page=sub&category=10&id=1763 สืบค้นวันที่ 3-2-2553.)

2. ความสำคัญและบทบาทของมัสยิด
                                2.1 ความสำคัญของมัสยิด
มัสยิด คือ บ้านของอัลลอฮฺบนพื้นพิภพแห่งนี้ เป็นสถานที่ซึ่งความเมตตาของพระองค์ถูกประทานลงมาอีกทั้งเป็นสถานที่พบปะของบรรดาผู้ศรัทธา และเป็นที่รวมจิตใจของบรรดาผู้ยำเกรง และเป็นสถานที่อันดีเยี่ยมที่ถูกส่องประกายด้วยรัศมีและความสุกใส และทำให้ความหมายที่แท้จริงของความรักและความเป็นพี่น้องประทุขึ้นในใจทั้งหลาย (http://www .bnia bdullah.com/vb/sho w thread.php?p=28472 สืบค้นวันที่ 3-03-2554)
อิสลามคือศาสนาสากลอันเป็นนิรันดร์ ที่องค์อภิบาลทรงยินดีให้เป็นแนวทางชีวิตสำหรับมนุษยชาติ เป็นหลักธรรมแห่งความเป็นอยู่ ในอิสลามไม่ยินดีให้ผู้ที่นับถือปฏิบัติละหมาดของพวกเขาโดยโดดเดี่ยวออกจากสังคมที่พวกเขาใช้ชีวิตอยู่ ทว่าอิสลามเรียกร้องพวกเขาอย่างหนักแน่นที่สุด ให้ปฏิบัติมันในลักษณะของญะมาอะฮฺ และต้องปฏิบัติในมัสยิดด้วยจนกระทั่งถูกแสดงออกมาซึ่งภาพแห่งเกียรติยศ ภูมิฐานและน่าเคารพนับถือ ทำให้พวกเขาอยู่ภายใต้ร่มเงาแห่งความรักและสนิทสนมต่อกันเกาะเกี่ยวเหนี่ยวยึดต่อกันประดุจตัวอาคารอันมั่นคง
การละหมาดวันศุกร์ตามกฎเกณฑ์แล้ว จะต้องปฏิบัติในมัสยิดของชุมชน มันจึงจะนำมาซึ่งความเป็นปึกแผ่นอันหนึ่งอันเดียวกันของสังคมมุสลิม ในรูปแบบที่ชัดเจนสั่นสะเทือนจิตใจที่ถูกควบคุมด้วยความสำนึกและความรูสึก ณ ที่นั้น ย่อมส่งผลให้เกิดเป็นคุณค่าที่งดงามและศักดิ์สิทธิ์อย่างแท้จริง  นักปรัชญาชาวชาวฝรั่งเศสผู้หนึ่งชื่อ "เรนาน" ได้กล่าวอธิบายถึงความปลาบปลื้มตื้นตันใจกับสิ่งที่เขาได้พบและรู้สึก ขณะได้ยืนอยู่ท่ามกลางบรรดามุสลิมที่พวกเขากำลังดูดดื่มอยู่ในการละหมาดว่า "ไม่มีครั้งใดเลยที่ฉันได้เข้าไปในมัสยิดหนึ่งๆ ของมุสลิม ครั้นได้พบเห็นพวกเขารวมกันอยู่ในท่าทางของการละหมาดนอกจากมันทำให้ฉันต้องรู้สึกกับความเศร้าใจอย่างยิ่งที่ฉันเอง ไม่ได้เกิดมาเป็นมุสลิมด้วย" การละหมาดญุมอะฮฺ (วันศุกร์) เป็นสิ่งฟัรฎูในรอบสัปดาห์เป็นวันอีดรอบสัปดาห์ และที่อัลลอฮฺทรงกำหนดให้ทำญามะอะฮฺในวันนั้น ล้วนแสดงถึงความจำเป็นอย่างยิ่ง (วาญิบ มุอักกัด) ที่ละทิ้งไม่ได้
2.2 บทบาทของมัสยิด
บทบาทมัสยิดที่แท้จริงจะแฝงไปด้วยวิทยปัญญาและความศักดิ์สิทธิ์ ที่รวมเข้าด้วยกันระหว่างศาสนาและโลกดุนยา เป็นที่จัดการประชุมและสัมมนาทางวิชาการ เป็นสถานที่รับรองแขก เป็นศูนย์บัญชาการกองทัพ เป็นที่จัดเตรียมกองทัพทหารสู่สมรภูมิ เป็นจุดศูนย์กลางแห่งการให้เนื้อหาวิชาการอิสลาม เป็นที่ๆ ผู้คนทั้งหลายมาพบปะกันเพื่อการอิบาดะฮฺ และบทบาทในชีวิตความเป็นอยู่ของสังคมในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าด้านความนึกคิด ด้านการเมือง หรือด้านสังคม มันเป็นเสมือนป้อมปราการอันมั่นคง สำหรับการเปลี่ยนทัศนะคติ เป็นสภาอิสระที่เปิดกว้างเพื่อความคิดที่หลากหลายและสร้างสรรค์ อันเป็นดั่งพลังที่กระตุ้นสังคมนี้ให้ไปยังทิศทางที่ถูกต้องยิ่งกว่านั้น ยังเป็นสภาที่เหมือนเช่นสภาอื่นๆ ทั่วไป หากสมาชิกของมันนั้นไม่เหมือนสมาชิกอื่นๆ ที่เคลื่อนไหวตามกระแสของการเมือง หรือตามผลประโยชน์ของพวกพ้อง ชาตินิยม สภาเช่นนั้นเปรียบดังโอ่งที่ว่างเปล่าที่มันมีแต่การทำลายซึ่งสิทธิของผู้อื่น ซ้ำยังทำให้ความอธรรมและสิ่งมดเท็จทั้งหลายบังเกิดขึ้นมา ดั่งละครตบตาที่ถูกแสดงออกมาโดยองค์การนานาชาติบางองค์การในปัจจุบัน ที่มีแต่การริดรอนและการทำลายสิทธิ เกียรติยศ แผ่หว่านความอธรรมอยู่เบื้องหลังการหลั่งเลือด การสังหารเด็ก สตรี การขับไล่ประชาชนออกจากประเทศของตนเอง การทารุณกรรม เช่น ทาส และความเลวร้ายอื่นๆ อย่างที่มนุษย์ไม่เคยพบมาในหน้าประวัติศาสตร์เราขอกล่าวว่า แท้จริงมัสยิดในอิสลามนั้น คือ สภาอันบริสุทธิ์เป็นที่รับการเสนอความคิดเห็นอันหลากหลาย โต้แย้งในเรื่องราวกิจกรรมต่างๆ ด้วยความคลาศ (บริสุทธิ์ใจ) เสียสละ และด้วยความรักต่ออัลลอฮฺและเราะซูลของพระองค์ เนื่องจากสมาชิกสัปบุรุษของมัสยิดที่มาร่วมพบปะกันนั้น (http://www.bniabdullah.co m /vb/showthread.php?p=28472 สืบค้นวันที่ 3-03-2554)
อ้างจาก การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการมัสยิดของคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด กรณีศึกษา ตำบลปากบาง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา,ฆอซาฟี มะดอหะ,มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา

หลักการบริหารจัดการในอิสลาม


หลักการบริหารจัดการในอิสลาม
การบริหารจัดการในอิสลามมีลักษณะพิเศษหลายประการในทฤษฎี  ซึ่งการบริหารจัดการในอิสลามได้ให้ความสนใจที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการทุกๆด้าน  ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของปัจจัยภายในขององค์การหรือปัจจัยภายนอกองค์การ  ตลอดจนตัวแปรทางด้านจริยธรรมของคนงานและวิถีชีวิตของตนเองและสังคม
                ในอีกแง่หนึ่งคือ  ทฤษฎีการบริหารจัดการในอิสลามได้บรรจุคุณค่าของสังคมดังกล่าวถือเป็นความจำเป็นอย่างยิ่ง  และมีอิทธิพลต่อจริยธรรมการบริหารจัดการและการปกครองในอิสลามมีจริยธรรมนั้นก็หมายความว่าสังคมอิสลามมีจริยธรรมจากการเรื่องที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้น  ย่อมแสดงว่าทฤษฎีการบริหารจัดการในอิสลามประกอบด้วยคุณลักษณะเฉพาะได้แก่
1.       ทฤษฎีการบริหารจัดการในอิสลามเป็นทฤษฎีที่มีความผูกผันกับปรัชญาสังคมอย่างเน้นแฟ้น  ทฤษฎีนี้ยังมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับจริยธรรมและคุณค่าต่างๆของสังคม
2.       ทฤษฎีการบริหารจัดการในอิสลามจะมองถึงการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจรวมทั้งการให้บริการเพื่อตอบสนองความต้องการทางกายภาพของปัจเจกบุคคลทุกคน (การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและวัตถุ)
3.       ทฤษฎีบังคับให้ความสำคัญต่อการเป็นมนุษย์และจิตใจและให้เกียรติมนุษย์  ในฐานะเป็นเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ  ความสามารถที่ตนมีอยู่  ไม่ว่าความสามารถทางด้านสติปัญญา  ร่างการและจิตใจ (การเปลี่ยนแปลงของตัวบุคคล)
4.       นอกจากนั้นแล้วทฤษฎีการบริหารจัดการในอิสลามทฤษฎีการบริหารจัดการในอิสลาม  ให้ความสำคัญต่อระเบียบวินัยพร้อมทั้งได้กำหนดภาระหน้าที่และความรับผิดชอบของโครงสร้างการบริหารองค์การ  ขณะที่เรียกร้องเพื่อให้การดำเนินงานที่ดีทุกอย่างได้รับการปฏิบัติตาม (การเปลี่ยนแปลงทางด้านจริยธรรมและกฎระเบียบ)
คุณลักษณะเฉพาะทั้ง 4 ทีได้กล่าวมาสามารถกล่าวให้ละเอียดดังนี้
1.             การบริหารจัดการในอิสลามเป็นส่วนหนึ่งของระบบทางสังคม
ศาสนาอิสลามกำหนดเป้าหมายชีวิตของทุกคน  ขณะที่อิสลามได้เสนอรูปแบบดุลยสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับจักรวาล  และมนุษย์กับสังคมโดยคำนึงว่าองค์การที่ระบุถึงความสัมพันธ์ระว่างมนุษย์กับจักรวาล  พระองค์ทรงตรัสว่า  มนุษย์เป็นส่วนของจักรวาล

$tBur àMø)n=yz £`Ågø:$# }§RM}$#ur žwÎ) Èbrßç7÷èuÏ9 ÇÎÏÈ   !$tB ߃Íé& Nåk÷]ÏB `ÏiB 5-øÍh !$tBur ߃Íé& br& ÈbqßJÏèôÜムÇÎÐÈ  

                ความว่า “และข้าไม่ได้สร้างญินและมนุษย์เว้นแต่เพื่อภักดีต่อข้า ข้าไม่ประสงค์ริซกีย์ (ปัจจัยยังชีพ) จากพวกเขา  และไม่ประสงค์ให้อาหารแก่ข้า” (อัล-ซาริยาต 51: 56-57)

 ö@è% ¨bÎ) ÎAŸx|¹ Å5Ý¡èSur y$uøtxCur ÎA$yJtBur ¬! Éb>u tûüÏHs>»yèø9$# ÇÊÏËÈŸw y7ƒÎŽŸ° ¼çms9 ( y7Ï9ºxÎ/ur ßNöÏBé& O$tRr&ur ãA¨rr& tûüÏHÍ>ó¡çRùQ$# ÇÊÏÌÈ  

                ความว่า “จงกล่าวเถิดแท้จริงการละหมาดของฉัน การอีบาดะฮฺของฉัน  การมีชีวิตของฉันและการตายของฉันทั้งปวงนั้นเพื่ออัลลอฮ พระเจ้าแห่งสากลจักรวาลไม่มีสำหรับพระองค์การตั้งภาคีดังกล่าวนั้นถูกฉันใช้ และฉันเป็นคนแรกที่เป็นอิสลาม (การมีชีวิตของฉันและการตายของฉันทั้งปวงนั้นเพื่ออัลลอฮ พระเจ้าแห่งสากลจักรวาลไม่มีสำหรับพระองค์การตั้งภาคีดังกล่าวนั้นถูกฉันใช้ และฉันเป็นคนแรกที่เป็นอิสลาม (ภักดีต่ออัลลอฮ) (อัล-อันอาม 6 : 162-163)
          อัลลอฮได้กล่าวถึงกฎเกณฑ์และระเบียบการดำรงชีวิตในลักษณะที่เป็นสังคมส่วนรวมทั้งนี้ก็เพื่อกำหนดเป็นวิถีชีวิตของมนุษย์ในด้านการบริหารจัดการ  การเมือง สังคมและเศรษฐกิจซึ่งเป็นการบริหารจัดการที่มีความเหมาะสมที่สุดในฐานนะเป็นบ่าวของพระองค์การประกอบอีบาดะฮฺไม่ใช่เป็นการตัดขาดความสัมพันธ์กับโลกแห่งการทำงาน  การประกอบอิบาดะฮฺก็ไม่ใช่ว่าจะต้องให้ความสำคัญต่อภารกิจโลก  ช่วงเวลาเดียวกันทำให้สถานภาพของตนเองในฐานะเป็นมนุษย์ที่พระองค์ทรงส่งมายังโลกนี้เพื่อเป็นผู้พัฒนาและทำให้โลกนี้มีความอุดมสมบูรณ์และเป็นผู้เผยแพร่กฎเกณฑ์ของพระองค์ต้องหมดไป

$tBur àMø)n=yz £`Ågø:$# }§RM}$#ur žwÎ) Èbrßç7÷èuÏ9 ÇÎÏÈ

          ความว่า “และข้ามิได้สร้างญิน และมนุษย์เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อเคารพภักดีต่อข้า” (อัซซาริยาต 51 : 56)
                แท้จริงแล้วการประกอบอิบาดะฮนั้นจะครอบคลุมกิจการงานทุกอย่างที่นำมาซึ่งประโยชน์ในการดำเนินชีวิต การประกอบอิบาดะฮนั้นนับได้ว่า “เจ้าต้องการไหม หากฉันจะบอกถึงอิบาดะฮที่ง่ายที่สุด (ท่านจึงกล่าวต่อไปว่า) นั้นคือการเงียบและมีจริยธรรมที่ดีงาม  หะดิษบทนี้รายงานโดย อิบนู อบีดุนยา คัดจากซุฟวาน บินสุไลมฺ ส่วนอิบาดะฮฺที่สุดยอดที่สุดคือ การญิฮาดในแนวทางของอัลลอฮ และการญิฮาดของอัลลอฮไม่ได้หมายถึงการตัดคอศัตรูด้วยคมดาบ  แต่มันครอบคลุมกิจงานทุกอย่าง กระทั่งคนที่ออกจากบ้านไปทำงานเพื่อหาเลี้ยงชีพครอบครอบก็นับว่าเป็นการต่อสู้ในหนทางอัลลอฮ
                หน้าที่ประการแรกขององค์กรในสังคมอิสลามคือ การจัดเตรียมสภาพที่เหมาะสมกับความเป็นอยู่แก่ทุกปัจเจกบุคคล ในฐานะเป็นบ่าวของอัลลอฮบนหน้าแผ่นดินนี้ นอกจากนั้นแล้วยังต้องเปิดโอกาสให้แก่เขาในการปฏิบัติตามหลักการของอัลลอฮที่ระบุไว้ในกุรอานและซุนนะฮฺของท่านเราะซูล การประกอบอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮในความหมายที่กว้าง จะไม่เกิดขึ้นมาเว้นแต่มนุษย์จะต้องให้กิจการงานของการดำเนินชีวิต  ทุกคำพูดและการกระทำ กิจกรรมการงานและความสัมพันธ์กับคนหมู่มากจะสอดคล้องกับกฎเกณฑ์และหลักการที่พระองค์ทรงกำหนดไว้ในฐานะเป็นวินัยของการดำเนินชีวิตของมุสลิม
                การดำเนินการตามกฎเกณฑ์หรือหลักการของอัลลอฮฺดังกล่าวนั้นจะเริ่มจากสถาบันครอบครัวเป็นพื้นฐานของสังคมจากนั้นได้รับการสนับสนุนจากปัจจัยอื่นๆเช่นปัจจัยทางเศรษฐกิจ การเมืองและการจัดการ
                เมื่อวิถีชีวิตดังกล่าวได้รับการยึดถือโดยสังคมแล้ว จะทำให้เกิดองค์การทางการบริหารต่างๆที่มีสมาชิกองกรค์ อันประกอบไปด้วยผู้บริหารผู้ปกครองที่มีความศรัทธา การดำเนินงานของพวกเจ้ามีความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์สุจริต การปฏิบัติตามคำสั่งของอัลลอฮฺทุกประการและละเว้นสิ่งที่พระองค์ทรงห้าม ขณะนั้นกิจการงานทุกอย่างจะดำเนินไปด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อย ยุติธรรม สมดุล และสอดคล้องกับความต้องการสังคมอิสลามและหลักยึดมั่น(อะกีดะฮฺ)ตลอดจนคำสอนของพระองค์
2.  การจัดการในอิสลามมีความรับผิดชอบในการดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องตามวัตถุประสงค์ของคนงานตราบใดทีเขาทำงานเต็มที่ความรับผิดชอบ
                อะมานะฮฺและหน้าที่ความรับผิดชอบจะต้องได้รับการดำรงตำแหน่งโดยผู้ที่ความสามรถและความเหมาะสมที่สามารถเชื่อถือได้ ดังคำดำรัสของอัลลอฮฺ

( žcÎ) uŽöyz Ç`tB |Nöyfø«tGó$# Èqs)ø9$# ßûüÏBF{$# ÇËÏÈ

ความว่า  “แท้จริงคนดีที่ท่านควรจะจ้างเขาไว้คือผู้ที่แข็งแรง ผู้ที่ซื่อสัตย์(อัลเกาะศ็อด 28 : 26)
                ขณะเดียวกันกับบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญดังกล่าวนั้นจะต้องน้อมรับสิทธิต่างๆของอัลลอฮฺด้วนความเต็มใจและบริสุทธิ์ใจ โดยไม่มีความเห็นแก่ตัว ห่างไกลจากทุกสิ่งที่จะนำไปสู่การกระทำอธรรมและไม่ใช่อำนาจไปในทางที่ผิด เช่น คอรัปชั่น เป็นต้น คนงานทุกคนจะต้องได้รับความผิดชอบในงานที่ตนทำ โดยพิจารณาจากโลกดุนยานี้ ก่อนจะถูกพิจารณาจากอัลลอฮฺในวันอาคีเราะฮฺ
                เมื่อใดที่หน้าที่การงานได้รับการตอบสนองอย่างเต็มความรับผิดชอบและความริสุทธ์ใจแล้ว ทางฝ่ายผู้มีอำนาจไม่ว่าผู้นั้นจะอยู่ในฐานะผู้จัดการหน่วยงานที่เป็นของรัฐหรือหน่วยงานเอกชนก็ตาม เขาจะต้องจ่ายค่าตอบแทนอย่างคุ้มค่าที่สุดแก่คนงานหรือเจ้าหน้าที่ที่อยู่ภายใต้การบริหารงานของเขา ซึ่งอิสลามได้พูดถึงเรื่องนี้แล้ว โดยคนงานจะต้องได้รับรู้ว่าค่าตอบแทนของตนได้รับเท่าไร ท่านนบีมูฮัมหมัด (ศ็อล) กล่าวว่า
ความว่า “ผู้ที่ทำธุระกับคนใดคนหนึ่งเพื่อทำงานใดๆนั้น เขาต้องบอกจำนวนค่าตอบแทนของเขา”
                ทฤษฎีการบริหารจัดการในอิสลามยังได้เสนอผู้บริหารทุกคนดำเนินการบริหารอย่างนิ่มนวล โดยปราศจากการบังคับขู่เข็ญให้คนงานทำงานนอกเหนือความสามรถของเขา
                ศาสนาอิสลามไม่อนุมัติให้ผู้ปกครองหรือผู้จัดการหรือผู้ใช้แรงงานใช้อำนาจอิสระตามอำเภอใจ เช่นการออกคำสั่งให้คนงานทำงานนอกเหนือความสามารถที่ตนมีอยู่ และจ่ายค่าตอบแทนให้แก่เขาอย่างไม่เป็นธรรม อาศัยความเข้าใจเช่นนี้จึงเกิดความขัดแย้งระหว่างฝ่ายบริหารกับคนงาน
ผู้ปกครองอิสลามมีหน้าที่ในการปกครองสิทธิต่างๆของปัจเจกคนให้พ้นจากการล่วงละเมิดหรือถูกระทำอธรรม เรื่องนี้เป็นหน้าทีของรัฐอิสลามทีจะต้องมีความรับผิดชอบในการจัดเตรียมศาลสถิตยุติธรรมที่ทำหน้าที่ในการพิจารณาให้เป็นธรรมในกรณีแรงงานและคนงาน
3.  หลักการชูรอและการร่วมมือในการบริหารจัดการ รวมทั้งการให้เกียรติต่อคุณค่าการเป็นมนุษย์ (คนทำงาน)
ก.    ชูรอ
ชูรอถือเป็นกระบวนการที่มั่นใจได้ว่าสามารถสร้างความมั่นคงแข็งแรงและเกิดความสอดคล้องในการบริหารจัดการอิสลาม ขณะที่มีความร่วมมือถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นในการยึดถือปฏิบัติโดยตลอด สิ่งนี้เราเห็นได้จากคำดำรัสของอัลลอฮฺ ทรงตรัสว่า

öNèdöÍr$x©ur Îû ͐öDF{$#

ความว่า “และจงปรึกษาหารือกับพวกเขาในกิจการทั้งหลาย (อัลอิมรอน 3 : 159)
อัลลอฺทรงตรัสอีกว่า

öNèdãøBr&ur 3uqä© öNæhuZ÷t/

ความว่า “และกิจการของพวกเขามีการปรึกษาหารือระหว่างพวกเขา(อัลอาชูรอ 3 : 38)

ข.    ผู้นำแห่งมนุษย์ชาติ
ความเป็นผู้นำในการบริหารจัดการอิสลาม นำว่าเป็นปัจจัยสำคัญพื้นฐาน และจะต้องมีทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ในการบริหารซึ่งไม่ใช่เป็นผู้นำแบบเผด็จการ แต่ความเป็นผู้นำจะต้องให้ความสำคัญกับกลุ่มคนในทุกระดับชั้น และพร้อมที่จะปรับปรุงแก้ไขความบกพร่องหากปรากฏอยู่ในองค์การ ในเรื่องความเป็นผู้นำในอิสลามมีความใกล้ชิดกับการบริหารตามสถานการณ์ ซัยดินาอุมัร ได้อธิบายรูปแบบการบริหารรูปแบบดังกล่าวว่า “เรื่องนี้ไม่สามารดำเนินการได้ เว้นแต่ต้องอาศัยความอ่อนโยนกับผู้ที่แข็งแกร่งและต้องอาศัยความแข็งกร้าวกับผู้ที่อ่อนโยน” ความเป็นผู้นำในอิสลามไม่ได้อยู่ที่ผลผลิตเพียงอย่างเดียวเท่านั้น และไม่ใช่หวังประโยชน์ส่วนตัวเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่จะเป็นการสร้างความสมดุลระหว่างทั้งสองอย่างยุติธรรมต่างหาก(อะหมัด อิบรอฮีม อบูซิน, 2553: 46)
 อ้างจาก การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการมัสยิดของคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด กรณีศึกษา ตำบลปากบาง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา,ฆอซาฟี มะดอหะ,มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา