แนวความคิดและทฤษฏีการบริหารจัดการมัสยิด
1. ประวัติความเป็นมาของมัสยิดในอิสลาม
ประวัติความเป็นมามัสยิดในอิสลามนั้น
จะแบ่งออกเป็นสองช่วงด้วยกัน
ช่วงแรก
เป็นช่วงสมัยก่อนท่านนบีมูฮัมหมัด
มีฮาดีษบทหนึ่งเล่าโดยอะบูษัรริน เล่าว่า ฉันได้ถามว่า ความว่า
โอ้ท่านรอซูลของอัลลอฮ มัสยิดใด ถูกตั้งขึ้นบนพื้นโลกนี้เป็นหลังแรก? ท่านตอบว่า มัสยิดอัลฮารอม
ฉันถามอีกว่าแล้วอะไรอีก? ท่านตอบว่า ต่อไปมัสยิดอัลอักศอ
ฉันถามอีกว่า ช่วงระหว่างทั้งสองมัสยิดนั้นกี่ปี? ท่านตอบว่า 40 ปี หลังจากนั้น ท่านกล่าวว่า ณ
ที่ใดการละหมาดได้ประสบกับท่าน ท่านก็จงละหมาดเถิด เพราะนั้นเป็นที่สูญูด
ในอีกรายงานหนึ่งว่า พื้นดินทั้งหมดนั้นเป็นที่สูญูด บันทึกโดยกลุ่มผู้บันทึกหะดีษ (สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ, 2545: 325).
ช่วงที่สอง
เป็นช่วงในสมัยของท่านนบีมูฮัมหมัด
มัสยิดหลังแรกที่เกิดขึ้นในสมัยของท่านนบี
คือตอนที่ท่านนบีมูฮัมหมัดได้ไปพักอยู่ที่กูบาอ์ แล้วท่าน นบีมูฮัมหมัดได้สร้างมัสยิดอิสลามขึ้นเป็นครั้งแรก
คัมภีร์กุรอานได้กล่าวว่า
มัสยิดแห่งนี้เป็นมัสยิดแรกเพราะว่ามันได้ถูกสร้างขึ้นบนรากฐานของความยำเกรงพระเจ้า
(ซะกะรียา
บะชีร, 2545 :46)
มัสยิดหลังที่สอง เมื่อท่านท่านนบีมูฮัมหมัดถึงที่นครยัษริบ
ท่านได้กระทำอย่างแรกคือการก่อสร้างมัสยิด เพราะมัสยิดเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับชีวิตความเป็นอยู่ของบรรดามุสลิม
ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม ดังนั้นท่านนะบี
จึงทำการสร้างมัสยิดตรงที่อูฐของท่านได้คุกเข่าลง ท่านได้ซื้อที่ดินจากเจ้าของ
การก่อสร้างมัสยิดจึงเริ่มขึ้นด้วยเจตนารมณ์อันแน่วแน่ การทุ่มเทในหนทางของชัยชนะและผลบุญอันยิ่งใหญ่
ท่านนบีมูฮัมหมัด ได้ร่วมมือก่อสร้างมัสยิด
พร้อมกับบรรดาซอฮาบะฮ์
ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มความมุ่งมั่นและกำลังใจอันเข้มแข็ง อาคารมัสยิดได้สร้างขึ้นอย่างเรียบง่าย
ผนังทำจากดิน และเสาทำจากต้นอินทผลัม หลังคาทำจากก้านอินทผลัม อาคารมัสยิดได้มีบทบาทที่สำคัญ
ดังเช่นที่ อิมาดุดดีน ค่อลีล ได้บอกไว้ว่า: “เป็นต้นแบบตามที่อิสลามได้วางเอาไว้ อย่างครอบคลุมและสมบูรณ์แบบ กลายเป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจในการปฏิบัติพิธีกรรม
การทำอิบาดะห์ ตลอดจนระบอบการปกครองด้านการทหาร
เพื่อเป็นการกระชับความสัมพันธ์ของชาติทั้งด้านภายในประเทศและต่างประเทศ
และเป็นสถาบันแห่งวิชาการพร้อมกับการวางบัญญัติศาสนา
ซึ่งบรรดาซอฮาบะฮ์จะมาชุมนุมกันที่นั่น อีกทั้งยังเป็นที่สำหรับการคลี่คลายปัญหาต่างๆและเป็นที่ใช้อบรมสั่งสอนด้วยถ้อยคำต่าง
ๆ เป็นศูนย์รวมของสังคมที่บรรดามุสลิมจะได้เรียนรู้กฎระเบียบ
ความเสมอภาคและความเท่าเทียมกัน และได้สัมผัสการเป็นเอกภาพ ความเป็นพี่เป็นน้องกัน
ความเป็นระเบียบเรียบร้อย มีการก่อสร้างบ้านเรือนอย่างเรียบง่ายรอบ ๆ บริเวณมัสยิดสำหรับเป็นที่พักอาศัยของท่านเราะซูลลุลลอฮ์ พร้อมกับบรรดาภรรยาของท่าน
ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุนนะ(http://www.
islammore.com/main/content.php?page=sub&category=10&id=1763 สืบค้นวันที่ 3-2-2553.)
2. ความสำคัญและบทบาทของมัสยิด
2.1
ความสำคัญของมัสยิด
มัสยิด คือ บ้านของอัลลอฮฺบนพื้นพิภพแห่งนี้
เป็นสถานที่ซึ่งความเมตตาของพระองค์ถูกประทานลงมาอีกทั้งเป็นสถานที่พบปะของบรรดาผู้ศรัทธา
และเป็นที่รวมจิตใจของบรรดาผู้ยำเกรง และเป็นสถานที่อันดีเยี่ยมที่ถูกส่องประกายด้วยรัศมีและความสุกใส
และทำให้ความหมายที่แท้จริงของความรักและความเป็นพี่น้องประทุขึ้นในใจทั้งหลาย (http://www .bnia
bdullah.com/vb/sho w thread.php?p=28472 สืบค้นวันที่ 3-03-2554)
อิสลามคือศาสนาสากลอันเป็นนิรันดร์ ที่องค์อภิบาลทรงยินดีให้เป็นแนวทางชีวิตสำหรับมนุษยชาติ
เป็นหลักธรรมแห่งความเป็นอยู่ ในอิสลามไม่ยินดีให้ผู้ที่นับถือปฏิบัติละหมาดของพวกเขาโดยโดดเดี่ยวออกจากสังคมที่พวกเขาใช้ชีวิตอยู่
ทว่าอิสลามเรียกร้องพวกเขาอย่างหนักแน่นที่สุด ให้ปฏิบัติมันในลักษณะของญะมาอะฮฺ และต้องปฏิบัติในมัสยิดด้วยจนกระทั่งถูกแสดงออกมาซึ่งภาพแห่งเกียรติยศ
ภูมิฐานและน่าเคารพนับถือ ทำให้พวกเขาอยู่ภายใต้ร่มเงาแห่งความรักและสนิทสนมต่อกันเกาะเกี่ยวเหนี่ยวยึดต่อกันประดุจตัวอาคารอันมั่นคง
การละหมาดวันศุกร์ตามกฎเกณฑ์แล้ว จะต้องปฏิบัติในมัสยิดของชุมชน มันจึงจะนำมาซึ่งความเป็นปึกแผ่นอันหนึ่งอันเดียวกันของสังคมมุสลิม
ในรูปแบบที่ชัดเจนสั่นสะเทือนจิตใจที่ถูกควบคุมด้วยความสำนึกและความรูสึก ณ ที่นั้น
ย่อมส่งผลให้เกิดเป็นคุณค่าที่งดงามและศักดิ์สิทธิ์อย่างแท้จริง นักปรัชญาชาวชาวฝรั่งเศสผู้หนึ่งชื่อ "เรนาน" ได้กล่าวอธิบายถึงความปลาบปลื้มตื้นตันใจกับสิ่งที่เขาได้พบและรู้สึก
ขณะได้ยืนอยู่ท่ามกลางบรรดามุสลิมที่พวกเขากำลังดูดดื่มอยู่ในการละหมาดว่า "ไม่มีครั้งใดเลยที่ฉันได้เข้าไปในมัสยิดหนึ่งๆ ของมุสลิม
ครั้นได้พบเห็นพวกเขารวมกันอยู่ในท่าทางของการละหมาดนอกจากมันทำให้ฉันต้องรู้สึกกับความเศร้าใจอย่างยิ่งที่ฉันเอง
ไม่ได้เกิดมาเป็นมุสลิมด้วย" การละหมาดญุมอะฮฺ (วันศุกร์) เป็นสิ่งฟัรฎูในรอบสัปดาห์เป็นวันอีดรอบสัปดาห์ และที่อัลลอฮฺทรงกำหนดให้ทำญามะอะฮฺในวันนั้น
ล้วนแสดงถึงความจำเป็นอย่างยิ่ง (วาญิบ มุอักกัด) ที่ละทิ้งไม่ได้
2.2 บทบาทของมัสยิด
บทบาทมัสยิดที่แท้จริงจะแฝงไปด้วยวิทยปัญญาและความศักดิ์สิทธิ์ ที่รวมเข้าด้วยกันระหว่างศาสนาและโลกดุนยา
เป็นที่จัดการประชุมและสัมมนาทางวิชาการ เป็นสถานที่รับรองแขก เป็นศูนย์บัญชาการกองทัพ
เป็นที่จัดเตรียมกองทัพทหารสู่สมรภูมิ เป็นจุดศูนย์กลางแห่งการให้เนื้อหาวิชาการอิสลาม
เป็นที่ๆ ผู้คนทั้งหลายมาพบปะกันเพื่อการอิบาดะฮฺ
และบทบาทในชีวิตความเป็นอยู่ของสังคมในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าด้านความนึกคิด ด้านการเมือง
หรือด้านสังคม มันเป็นเสมือนป้อมปราการอันมั่นคง สำหรับการเปลี่ยนทัศนะคติ เป็นสภาอิสระที่เปิดกว้างเพื่อความคิดที่หลากหลายและสร้างสรรค์
อันเป็นดั่งพลังที่กระตุ้นสังคมนี้ให้ไปยังทิศทางที่ถูกต้องยิ่งกว่านั้น ยังเป็นสภาที่เหมือนเช่นสภาอื่นๆ
ทั่วไป หากสมาชิกของมันนั้นไม่เหมือนสมาชิกอื่นๆ ที่เคลื่อนไหวตามกระแสของการเมือง
หรือตามผลประโยชน์ของพวกพ้อง ชาตินิยม สภาเช่นนั้นเปรียบดังโอ่งที่ว่างเปล่าที่มันมีแต่การทำลายซึ่งสิทธิของผู้อื่น
ซ้ำยังทำให้ความอธรรมและสิ่งมดเท็จทั้งหลายบังเกิดขึ้นมา ดั่งละครตบตาที่ถูกแสดงออกมาโดยองค์การนานาชาติบางองค์การในปัจจุบัน
ที่มีแต่การริดรอนและการทำลายสิทธิ เกียรติยศ แผ่หว่านความอธรรมอยู่เบื้องหลังการหลั่งเลือด
การสังหารเด็ก สตรี การขับไล่ประชาชนออกจากประเทศของตนเอง การทารุณกรรม เช่น ทาส และความเลวร้ายอื่นๆ
อย่างที่มนุษย์ไม่เคยพบมาในหน้าประวัติศาสตร์เราขอกล่าวว่า แท้จริงมัสยิดในอิสลามนั้น
คือ สภาอันบริสุทธิ์เป็นที่รับการเสนอความคิดเห็นอันหลากหลาย โต้แย้งในเรื่องราวกิจกรรมต่างๆ
ด้วยความคลาศ (บริสุทธิ์ใจ) เสียสละ และด้วยความรักต่ออัลลอฮฺและเราะซูลของพระองค์ เนื่องจากสมาชิกสัปบุรุษของมัสยิดที่มาร่วมพบปะกันนั้น
(http://www.bniabdullah.co m /vb/showthread.php?p=28472 สืบค้นวันที่ 3-03-2554)
อ้างจาก การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการมัสยิดของคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด กรณีศึกษา ตำบลปากบาง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา,ฆอซาฟี มะดอหะ,มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา
อ้างจาก การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการมัสยิดของคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด กรณีศึกษา ตำบลปากบาง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา,ฆอซาฟี มะดอหะ,มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น