วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555

หลักการบริหารจัดการในอิสลาม


หลักการบริหารจัดการในอิสลาม
การบริหารจัดการในอิสลามมีลักษณะพิเศษหลายประการในทฤษฎี  ซึ่งการบริหารจัดการในอิสลามได้ให้ความสนใจที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการทุกๆด้าน  ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของปัจจัยภายในขององค์การหรือปัจจัยภายนอกองค์การ  ตลอดจนตัวแปรทางด้านจริยธรรมของคนงานและวิถีชีวิตของตนเองและสังคม
                ในอีกแง่หนึ่งคือ  ทฤษฎีการบริหารจัดการในอิสลามได้บรรจุคุณค่าของสังคมดังกล่าวถือเป็นความจำเป็นอย่างยิ่ง  และมีอิทธิพลต่อจริยธรรมการบริหารจัดการและการปกครองในอิสลามมีจริยธรรมนั้นก็หมายความว่าสังคมอิสลามมีจริยธรรมจากการเรื่องที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้น  ย่อมแสดงว่าทฤษฎีการบริหารจัดการในอิสลามประกอบด้วยคุณลักษณะเฉพาะได้แก่
1.       ทฤษฎีการบริหารจัดการในอิสลามเป็นทฤษฎีที่มีความผูกผันกับปรัชญาสังคมอย่างเน้นแฟ้น  ทฤษฎีนี้ยังมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับจริยธรรมและคุณค่าต่างๆของสังคม
2.       ทฤษฎีการบริหารจัดการในอิสลามจะมองถึงการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจรวมทั้งการให้บริการเพื่อตอบสนองความต้องการทางกายภาพของปัจเจกบุคคลทุกคน (การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและวัตถุ)
3.       ทฤษฎีบังคับให้ความสำคัญต่อการเป็นมนุษย์และจิตใจและให้เกียรติมนุษย์  ในฐานะเป็นเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ  ความสามารถที่ตนมีอยู่  ไม่ว่าความสามารถทางด้านสติปัญญา  ร่างการและจิตใจ (การเปลี่ยนแปลงของตัวบุคคล)
4.       นอกจากนั้นแล้วทฤษฎีการบริหารจัดการในอิสลามทฤษฎีการบริหารจัดการในอิสลาม  ให้ความสำคัญต่อระเบียบวินัยพร้อมทั้งได้กำหนดภาระหน้าที่และความรับผิดชอบของโครงสร้างการบริหารองค์การ  ขณะที่เรียกร้องเพื่อให้การดำเนินงานที่ดีทุกอย่างได้รับการปฏิบัติตาม (การเปลี่ยนแปลงทางด้านจริยธรรมและกฎระเบียบ)
คุณลักษณะเฉพาะทั้ง 4 ทีได้กล่าวมาสามารถกล่าวให้ละเอียดดังนี้
1.             การบริหารจัดการในอิสลามเป็นส่วนหนึ่งของระบบทางสังคม
ศาสนาอิสลามกำหนดเป้าหมายชีวิตของทุกคน  ขณะที่อิสลามได้เสนอรูปแบบดุลยสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับจักรวาล  และมนุษย์กับสังคมโดยคำนึงว่าองค์การที่ระบุถึงความสัมพันธ์ระว่างมนุษย์กับจักรวาล  พระองค์ทรงตรัสว่า  มนุษย์เป็นส่วนของจักรวาล

$tBur àMø)n=yz £`Ågø:$# }§RM}$#ur žwÎ) Èbrßç7÷èuÏ9 ÇÎÏÈ   !$tB ߃Íé& Nåk÷]ÏB `ÏiB 5-øÍh !$tBur ߃Íé& br& ÈbqßJÏèôÜムÇÎÐÈ  

                ความว่า “และข้าไม่ได้สร้างญินและมนุษย์เว้นแต่เพื่อภักดีต่อข้า ข้าไม่ประสงค์ริซกีย์ (ปัจจัยยังชีพ) จากพวกเขา  และไม่ประสงค์ให้อาหารแก่ข้า” (อัล-ซาริยาต 51: 56-57)

 ö@è% ¨bÎ) ÎAŸx|¹ Å5Ý¡èSur y$uøtxCur ÎA$yJtBur ¬! Éb>u tûüÏHs>»yèø9$# ÇÊÏËÈŸw y7ƒÎŽŸ° ¼çms9 ( y7Ï9ºxÎ/ur ßNöÏBé& O$tRr&ur ãA¨rr& tûüÏHÍ>ó¡çRùQ$# ÇÊÏÌÈ  

                ความว่า “จงกล่าวเถิดแท้จริงการละหมาดของฉัน การอีบาดะฮฺของฉัน  การมีชีวิตของฉันและการตายของฉันทั้งปวงนั้นเพื่ออัลลอฮ พระเจ้าแห่งสากลจักรวาลไม่มีสำหรับพระองค์การตั้งภาคีดังกล่าวนั้นถูกฉันใช้ และฉันเป็นคนแรกที่เป็นอิสลาม (การมีชีวิตของฉันและการตายของฉันทั้งปวงนั้นเพื่ออัลลอฮ พระเจ้าแห่งสากลจักรวาลไม่มีสำหรับพระองค์การตั้งภาคีดังกล่าวนั้นถูกฉันใช้ และฉันเป็นคนแรกที่เป็นอิสลาม (ภักดีต่ออัลลอฮ) (อัล-อันอาม 6 : 162-163)
          อัลลอฮได้กล่าวถึงกฎเกณฑ์และระเบียบการดำรงชีวิตในลักษณะที่เป็นสังคมส่วนรวมทั้งนี้ก็เพื่อกำหนดเป็นวิถีชีวิตของมนุษย์ในด้านการบริหารจัดการ  การเมือง สังคมและเศรษฐกิจซึ่งเป็นการบริหารจัดการที่มีความเหมาะสมที่สุดในฐานนะเป็นบ่าวของพระองค์การประกอบอีบาดะฮฺไม่ใช่เป็นการตัดขาดความสัมพันธ์กับโลกแห่งการทำงาน  การประกอบอิบาดะฮฺก็ไม่ใช่ว่าจะต้องให้ความสำคัญต่อภารกิจโลก  ช่วงเวลาเดียวกันทำให้สถานภาพของตนเองในฐานะเป็นมนุษย์ที่พระองค์ทรงส่งมายังโลกนี้เพื่อเป็นผู้พัฒนาและทำให้โลกนี้มีความอุดมสมบูรณ์และเป็นผู้เผยแพร่กฎเกณฑ์ของพระองค์ต้องหมดไป

$tBur àMø)n=yz £`Ågø:$# }§RM}$#ur žwÎ) Èbrßç7÷èuÏ9 ÇÎÏÈ

          ความว่า “และข้ามิได้สร้างญิน และมนุษย์เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อเคารพภักดีต่อข้า” (อัซซาริยาต 51 : 56)
                แท้จริงแล้วการประกอบอิบาดะฮนั้นจะครอบคลุมกิจการงานทุกอย่างที่นำมาซึ่งประโยชน์ในการดำเนินชีวิต การประกอบอิบาดะฮนั้นนับได้ว่า “เจ้าต้องการไหม หากฉันจะบอกถึงอิบาดะฮที่ง่ายที่สุด (ท่านจึงกล่าวต่อไปว่า) นั้นคือการเงียบและมีจริยธรรมที่ดีงาม  หะดิษบทนี้รายงานโดย อิบนู อบีดุนยา คัดจากซุฟวาน บินสุไลมฺ ส่วนอิบาดะฮฺที่สุดยอดที่สุดคือ การญิฮาดในแนวทางของอัลลอฮ และการญิฮาดของอัลลอฮไม่ได้หมายถึงการตัดคอศัตรูด้วยคมดาบ  แต่มันครอบคลุมกิจงานทุกอย่าง กระทั่งคนที่ออกจากบ้านไปทำงานเพื่อหาเลี้ยงชีพครอบครอบก็นับว่าเป็นการต่อสู้ในหนทางอัลลอฮ
                หน้าที่ประการแรกขององค์กรในสังคมอิสลามคือ การจัดเตรียมสภาพที่เหมาะสมกับความเป็นอยู่แก่ทุกปัจเจกบุคคล ในฐานะเป็นบ่าวของอัลลอฮบนหน้าแผ่นดินนี้ นอกจากนั้นแล้วยังต้องเปิดโอกาสให้แก่เขาในการปฏิบัติตามหลักการของอัลลอฮที่ระบุไว้ในกุรอานและซุนนะฮฺของท่านเราะซูล การประกอบอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮในความหมายที่กว้าง จะไม่เกิดขึ้นมาเว้นแต่มนุษย์จะต้องให้กิจการงานของการดำเนินชีวิต  ทุกคำพูดและการกระทำ กิจกรรมการงานและความสัมพันธ์กับคนหมู่มากจะสอดคล้องกับกฎเกณฑ์และหลักการที่พระองค์ทรงกำหนดไว้ในฐานะเป็นวินัยของการดำเนินชีวิตของมุสลิม
                การดำเนินการตามกฎเกณฑ์หรือหลักการของอัลลอฮฺดังกล่าวนั้นจะเริ่มจากสถาบันครอบครัวเป็นพื้นฐานของสังคมจากนั้นได้รับการสนับสนุนจากปัจจัยอื่นๆเช่นปัจจัยทางเศรษฐกิจ การเมืองและการจัดการ
                เมื่อวิถีชีวิตดังกล่าวได้รับการยึดถือโดยสังคมแล้ว จะทำให้เกิดองค์การทางการบริหารต่างๆที่มีสมาชิกองกรค์ อันประกอบไปด้วยผู้บริหารผู้ปกครองที่มีความศรัทธา การดำเนินงานของพวกเจ้ามีความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์สุจริต การปฏิบัติตามคำสั่งของอัลลอฮฺทุกประการและละเว้นสิ่งที่พระองค์ทรงห้าม ขณะนั้นกิจการงานทุกอย่างจะดำเนินไปด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อย ยุติธรรม สมดุล และสอดคล้องกับความต้องการสังคมอิสลามและหลักยึดมั่น(อะกีดะฮฺ)ตลอดจนคำสอนของพระองค์
2.  การจัดการในอิสลามมีความรับผิดชอบในการดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องตามวัตถุประสงค์ของคนงานตราบใดทีเขาทำงานเต็มที่ความรับผิดชอบ
                อะมานะฮฺและหน้าที่ความรับผิดชอบจะต้องได้รับการดำรงตำแหน่งโดยผู้ที่ความสามรถและความเหมาะสมที่สามารถเชื่อถือได้ ดังคำดำรัสของอัลลอฮฺ

( žcÎ) uŽöyz Ç`tB |Nöyfø«tGó$# Èqs)ø9$# ßûüÏBF{$# ÇËÏÈ

ความว่า  “แท้จริงคนดีที่ท่านควรจะจ้างเขาไว้คือผู้ที่แข็งแรง ผู้ที่ซื่อสัตย์(อัลเกาะศ็อด 28 : 26)
                ขณะเดียวกันกับบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญดังกล่าวนั้นจะต้องน้อมรับสิทธิต่างๆของอัลลอฮฺด้วนความเต็มใจและบริสุทธิ์ใจ โดยไม่มีความเห็นแก่ตัว ห่างไกลจากทุกสิ่งที่จะนำไปสู่การกระทำอธรรมและไม่ใช่อำนาจไปในทางที่ผิด เช่น คอรัปชั่น เป็นต้น คนงานทุกคนจะต้องได้รับความผิดชอบในงานที่ตนทำ โดยพิจารณาจากโลกดุนยานี้ ก่อนจะถูกพิจารณาจากอัลลอฮฺในวันอาคีเราะฮฺ
                เมื่อใดที่หน้าที่การงานได้รับการตอบสนองอย่างเต็มความรับผิดชอบและความริสุทธ์ใจแล้ว ทางฝ่ายผู้มีอำนาจไม่ว่าผู้นั้นจะอยู่ในฐานะผู้จัดการหน่วยงานที่เป็นของรัฐหรือหน่วยงานเอกชนก็ตาม เขาจะต้องจ่ายค่าตอบแทนอย่างคุ้มค่าที่สุดแก่คนงานหรือเจ้าหน้าที่ที่อยู่ภายใต้การบริหารงานของเขา ซึ่งอิสลามได้พูดถึงเรื่องนี้แล้ว โดยคนงานจะต้องได้รับรู้ว่าค่าตอบแทนของตนได้รับเท่าไร ท่านนบีมูฮัมหมัด (ศ็อล) กล่าวว่า
ความว่า “ผู้ที่ทำธุระกับคนใดคนหนึ่งเพื่อทำงานใดๆนั้น เขาต้องบอกจำนวนค่าตอบแทนของเขา”
                ทฤษฎีการบริหารจัดการในอิสลามยังได้เสนอผู้บริหารทุกคนดำเนินการบริหารอย่างนิ่มนวล โดยปราศจากการบังคับขู่เข็ญให้คนงานทำงานนอกเหนือความสามรถของเขา
                ศาสนาอิสลามไม่อนุมัติให้ผู้ปกครองหรือผู้จัดการหรือผู้ใช้แรงงานใช้อำนาจอิสระตามอำเภอใจ เช่นการออกคำสั่งให้คนงานทำงานนอกเหนือความสามารถที่ตนมีอยู่ และจ่ายค่าตอบแทนให้แก่เขาอย่างไม่เป็นธรรม อาศัยความเข้าใจเช่นนี้จึงเกิดความขัดแย้งระหว่างฝ่ายบริหารกับคนงาน
ผู้ปกครองอิสลามมีหน้าที่ในการปกครองสิทธิต่างๆของปัจเจกคนให้พ้นจากการล่วงละเมิดหรือถูกระทำอธรรม เรื่องนี้เป็นหน้าทีของรัฐอิสลามทีจะต้องมีความรับผิดชอบในการจัดเตรียมศาลสถิตยุติธรรมที่ทำหน้าที่ในการพิจารณาให้เป็นธรรมในกรณีแรงงานและคนงาน
3.  หลักการชูรอและการร่วมมือในการบริหารจัดการ รวมทั้งการให้เกียรติต่อคุณค่าการเป็นมนุษย์ (คนทำงาน)
ก.    ชูรอ
ชูรอถือเป็นกระบวนการที่มั่นใจได้ว่าสามารถสร้างความมั่นคงแข็งแรงและเกิดความสอดคล้องในการบริหารจัดการอิสลาม ขณะที่มีความร่วมมือถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นในการยึดถือปฏิบัติโดยตลอด สิ่งนี้เราเห็นได้จากคำดำรัสของอัลลอฮฺ ทรงตรัสว่า

öNèdöÍr$x©ur Îû ͐öDF{$#

ความว่า “และจงปรึกษาหารือกับพวกเขาในกิจการทั้งหลาย (อัลอิมรอน 3 : 159)
อัลลอฺทรงตรัสอีกว่า

öNèdãøBr&ur 3uqä© öNæhuZ÷t/

ความว่า “และกิจการของพวกเขามีการปรึกษาหารือระหว่างพวกเขา(อัลอาชูรอ 3 : 38)

ข.    ผู้นำแห่งมนุษย์ชาติ
ความเป็นผู้นำในการบริหารจัดการอิสลาม นำว่าเป็นปัจจัยสำคัญพื้นฐาน และจะต้องมีทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ในการบริหารซึ่งไม่ใช่เป็นผู้นำแบบเผด็จการ แต่ความเป็นผู้นำจะต้องให้ความสำคัญกับกลุ่มคนในทุกระดับชั้น และพร้อมที่จะปรับปรุงแก้ไขความบกพร่องหากปรากฏอยู่ในองค์การ ในเรื่องความเป็นผู้นำในอิสลามมีความใกล้ชิดกับการบริหารตามสถานการณ์ ซัยดินาอุมัร ได้อธิบายรูปแบบการบริหารรูปแบบดังกล่าวว่า “เรื่องนี้ไม่สามารดำเนินการได้ เว้นแต่ต้องอาศัยความอ่อนโยนกับผู้ที่แข็งแกร่งและต้องอาศัยความแข็งกร้าวกับผู้ที่อ่อนโยน” ความเป็นผู้นำในอิสลามไม่ได้อยู่ที่ผลผลิตเพียงอย่างเดียวเท่านั้น และไม่ใช่หวังประโยชน์ส่วนตัวเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่จะเป็นการสร้างความสมดุลระหว่างทั้งสองอย่างยุติธรรมต่างหาก(อะหมัด อิบรอฮีม อบูซิน, 2553: 46)
 อ้างจาก การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการมัสยิดของคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด กรณีศึกษา ตำบลปากบาง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา,ฆอซาฟี มะดอหะ,มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น