นิยาม………..ชีวิต
ในมุมของข้าพเจ้า
ด้วยพระนามของอัลลอฮผู้ทรงกรุณาปราณีผู้ทรงเมตตาเสมอ
พระองค์ผู้ทรงสถิติอยู่เหนือบัลลังค์ พระองค์ผู้ทรงสร้างชั้นฟ้าทั้งหลาย
แผ่นดินและสิ่งที่มีอยู่ระหว่างทั้งสอง
มีใครบางคนได้มาตั้งคำถามชวนคิด
ให้ข้าพเจ้าได้ตอบ ซึ่งข้าพเจ้าได้ฟังคำถามแว็บแรก ฟังดูง่ายมากในการตอบ
แต่พอทบทวนคำถามอีกครั้ง ที่ได้ฟังไปเมื่อกี่ ทำให้ข้าพเจ้าเข้าใจว่า
มันเป็นการยากอย่างมากมายที่จะตอบคำถามที่ได้ถาม
ชีวิตคืออะไร
อะไรคือชีวิต? คำถามนี้ทำให้ข้าพเจ้าต้องคิด ที่จะให้คำนิยามกับมัน ยิ่งคิดมากเท่าไหร่
ยิ่งทำให้ข้าพเจ้าสับสนและไม่เข้าใจมากขึ้นเท่านั้น
แล้วก็ไม่รู้ว่าจะให้คำนิยามอย่างไรดี ถึงจะเหมาะสมที่สุด
และแล้วข้าพเจ้าได้ทบทวนอีกครั้ง กับคำถามที่ยากในการตอบ สมองของข้าพเจ้าได้คิดอีกมิติหนึ่งว่า
ชีวิตของคนเรา ของแต่ละคน มันแตกต่างกันออกไปแน่นอน คำนิยามของแต่ละคน แต่ละอาชีพ
แต่ละประสบการณ์ แต่ละมุมมอง จะให้นิยามคำว่าชีวิตแตกต่างกันไป
นักวิศวกรให้คำนิยามว่า
ชีวิตคือการสร้างสรรค์
นักสถาปัตยกรรมให้คำนิยามว่าชีวิตคือการออกแบบ
นักท่องเที่ยวให้คำนิยามว่าชีวิตคือการเดินทาง
นักศึกษาให้คำนิยามว่า
ชีวิตคือการเรียนรู้
นักเคลื่อนไหวให้คำนิยามว่าชีวิตคือการต่อสู้
นักคณิตศาสตร์ให้คำนิยามว่าชีวิตคือการค้นหาคำตอบ
นักการศาสนาให้คำนิยามว่าชีวิตคือการค้นหาสัจธรรม
นักธุรกิจให้คำนิยามว่าชีวิตคือการลงทุน
จากบางตัวอย่างที่ข้าพเจ้าได้หยิบยกมา
ในแต่ละสาขาวิชาชีพ จะเห็นได้ว่า นิยามคำว่าชีวิตของแต่ละคนนั้น
แตกต่างกันออกไปอย่างสิ้นเชิง แน่นอนเหลือเกินว่าคำนิยามของข้าพเจ้านั้น
แตกต่างจากตัวอย่างที่ข้าพเจ้าได้หยิบยกมาอย่างแน่นอน
ข้าพเจ้าขอให้คำนิยามในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นมุสลิมคนหนึ่งที่เป็นบ่าวของอัลลอฮ
เป็นลูกหลานอาดัม เป็นประชาชาติมูฮัมหมัด
ชีวิต คือ การเคารพภักดีทำอีบาดะห์ต่ออัลลอฮผู้ทรงสร้างชั้นฟ้าทั้งหลาย
แผ่นดิน และเป็นประชาชาติที่ดีของมูฮัมหมัด
ข้าพเจ้าไม่รู้ว่าข้าพเจ้าให้คำนิยามได้ถูกต้อง
หรือเมาะสมหรือไม่ แต่สิ่งที่ข้าพเจ้ารู้แค่เพียงว่า
มนุษย์และญินถูกสร้างขึ้นมาบนโลกใบนี้
ก็เพื่อทำการอีบาดะห์ต่อพระองค์อัลลอฮแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น
ดังที่อัลลอฮซุบฮานาฮุวาตาอาลา ได้กล่าวในคัมภีร์อัลกุรอานที่ว่า
56.
และข้ามิได้สร้างญิน และมนุษย์เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อเคารพภักดีต่อข้า ซูเราะฮฺ
อัซซาริยาต (Az-Zariyat)
และนี่คือคำนิยามคำว่าชีวิตของข้าพเจ้า
โดย ม.ฆอซาฟี มะดอหะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น