ระบบดีวาน (ระบบกระทรวง)ในประวัติศาตร์อิสลาม
โดย :นส เภาซียะห์ สาอี
นักศึกษาปริญญาโท
สาขาวิชาประวัติศาสตร์และอารยธรรมอิสลาม
มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา
บทนำ
إن
الحمد لله نحمده ونستعينه ونستغفره ، ونعوذ بالله من شرور أنفسنا وسيئات أعمالنا ،
من يهده الله فلا مضل له ، ومن يضلل فلا هادي له ، ولن تجد له من دون الله وليا
مرشدا
อิสลามเป็นศาสนาที่สมบรูณ์
ครอบคลุมวิถีการดำเนินชีวิตในทุกๆด้านของมนุษย์อย่างครบถ้วนทั้งทางด้าน จริยธรรม
คุณธรรม การปฏิบัติศาสนกิจ เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง และการใช้ชีวิตในสังคม
ซึ่งรูปแบบการดำเนินชีวิตของอิสลามนั้นล้วนแต่สร้างความยุติธรรมและความสันติภายในสังคม ดังอายัต อัลกุรอาน ได้กล่าวไว้ว่า
ความว่า : วันนี้
(หมายถึง ณ วันชุมนุมที่ทุ่งอารอฟะฮฺ
ในพิธีฮัจญ์ปีสุดท้ายของชีวิตท่านศาสนทูต(มูฮัมหมัด)
ซึ่งได้ทำให้ศาสนาของพวกเจ้าสมบรูณ์แล้ว และข้าได้มอบการประทานแก่พวกเจ้าอย่างครบถ้วน
และข้าพอใจให้อิสลามเป็นศาสนาของพวกเจ้า[1]
เพราะฉะนั้น การบริหาร
การปกครองในทัศนะอิสลาม เป็นสิ่งจำเป็นที่มุสลิมสจะต้องรับรู้ เอาใจใส่
ดิ้นรนขวนขวาย ให้ได้มาซึ่งการปกครองทึ่ถูกต้อง เที่ยงธรรม เพื่อให้สังคมเจริญ
มั่นคงและเจริญก้าวหน้า
เหมาะสมกับสภาพที่เอื้ออำนวยต่อชีวิตมนุษย์ในการที่จะประกอบคุณธรรม
จะเห็นได้ว่า
การปกครองของอิสลามได้เกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยของท่านนบี
ซึ่งเป็นบรรทัดฐานที่สำคัญให้กับเหล่าบรรดาศอฮาบะฮฺ และผู้เจริญรอยตามท่าน
ด้วยเหตุนี้ทำให้การบริหาร การปกครองได้มีวิวัฒนาการโดยเฉพาะในสมัย คูลาฟาอฺ
อัรรอชีดีน ตลอดจนราชวงศ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ราชวงศ์อุมัยยะฮฺ อับบาซียะฮฺ
อุษมานียะฮฺ เป็นต้น ซึ่งแต่ละยุค
แต่ละสมัยก็จะมีรูปแบบการบริหารที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสมของสภาพแวดล้อม
และสังคมในสมัยนั้นๆ โดยภาพรวมแล้ว รูปแบบต่างๆที่ถูกนำมาบริหาร
ล้วนแล้วแต่สร้างความเป็นระบบ ระเบียบ ความเจริญรุ่งเรืองให้กับอณาจักรอิสลาม
ระบบดีวานก็เป็นระบบหนึ่งที่ถูกจัดขึ้นในประวัติศาสตร์อิสลาม
เป็นระบบที่สร้างความเป็นระเบียบและเป็นการบ่งบอกถึงความเจริญรุ่งเรืองทางด้านการบริหาร
การปกครองในอิสลามที่สามารถกระจายงานบริหารไปยังหน่วยงานต่างๆ โดยที่หน่วยงานนั้นๆ
ก็มีภาระหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบที่แตกต่างกันไป
วิวัฒนาการของหน่วยงานเหล่านี้จึงถูกเรียกว่า ดีวาน ผู้เขียนขอเสนอ
ความหมายของดีวาน วิวัฒนาการ รวมทั้งดีวานต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสมัยต่างๆ
ของประวัติศาสตร์อิสลาม
ความหมายของดีวาน
นักวิชาการ الماوردي
ได้ให้ความหมายว่า الديوان
คือ
สถานที่บันทึกหรือจัดเก็บเอกสารในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานบริหารและในเรื่องของทรัพย์สิน
โดยผู้ที่รับผิดชอบงานนี้ก็คือมาจากเหล่าบรรดาทหารและผู้ทำงานทั่วไป[2]
อัดดีวาน เป็นคำที่มาจากภาษาเปอร์เซีย โดยมความหมายว่า
การบันทึกหรือ การรวบรวมเอกสาร ซึ่งคำว่า ดีวาน
บ่งบอกถึงสถานที่จัดเก็บหรือบันทึกเอกสารสำคัญต่างๆ
ดีวาน (ديوان) คือ คำในภาษาเปอร์เซีย มีความหมายว่า
ทะเบียนหรือสมุดบันทึกและยังใช้เรียกคำนี้ถึงสถานที่เก็บรักษาทะเบียนหรือสมุดบันทึก
เล่ากันว่า เหตุที่เรียกเช่นนี้ เป็นเพราะว่าจักพรรดิกิซรอ
แห่งจักรวรรดิเปอร์เซียได้ทรงเคยทอดพระเนตรเห็นบรรดาเสมียนกรมต่างก็ก้มหน้าก้มตาขะมักเขม้นปฏิบัติหน้าที่
แสดงท่าทางนึกคิดและอากัปกริยาออกแปลกๆ จักรพรรดิกิซรอ จึงมีดำรัสว่า ‘‘ ดีวานเน๊ฮ์’’
(ديوانه) อันหมายถึง พวกคนบ้า
ในภาษาเปอร์เซียน
ครั้นต่อมาก็ใช้คำนี้เรียกถึงสถานที่นั่งชุมชนของพวกนี้โดยทิ้งอักษร ฮาอ์ (ديوانه) ออกไปเสีย จนเหลือเป็นคำว่า ‘‘ดีวาน’’
ในยุครุ่งเรืองของอิสลาม คำว่า ‘‘ดีวาน’’
ใช้เรียกถึงทะเบียนหรือสมุดบันทึกตามรากศัพท์ภาษาเปอร์เซีย[3]
ดีวานต่างๆ ในสมัยเคาะลีฟะฮฺอัรรอชีดีน
ส่วนประวัติความเป็นมาของดีวานนั้น
เกิดขึ้นในสมัยของเคาะลีฟะฮฺ อุมัร บิน อัลค็อตตอบ
แต่ถ้าหากเรามองย้อนถึงสมัยของท่านรอซูลแล้วจะเห็นได้ว่า หน่วยงานต่างๆ
ท่านนบีก็ได้เริ่มวางพื้นฐานมาแล้ว เพียงแต่ว่า ไม่ได้ถูกจัดขึ้นอย่างเป็นระบบอย่างเช่นในสมัยของเคาะลีฟะฮฺอุมัร
โดยเฉพาะ ในเรื่องของการจัดเก็บภาษี เศาะดากอต เป็นต้น
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพความเป็นจริงและสภาพแวดล้อมในสมัยนั้น
จะเห็นได้ว่า
อณาเขตการปกครองของอิสลามในสมัยเคาะลีฟะฮฺอุมัรได้แผ่ขยายอย่างกว้างขวาง
ทำให้ชนชาวอาหรับ ชนเปอร์เซีย
และโรมันนั้นผสมผสานกัน และทำให้รายได้ของแผ่นดินได้เพิ่มขยายมากขึ้น
ทำให้อุมัรเห็นความสำคัญที่จะต้องทำการบันทึกในหน่วยงานต่างๆ
เคาะลีฟะฮฺอุมัร
เป็นผู้ที่นำเอาระบบดีวานจากผู้นำชาวเปอร์เซีย (مرازبة)มาประยุกต์ใช้ หลังจากได้แผ่ขยายยังประเทศต่างๆในเปอร์เซียนั้น
ทำให้ทรัพย์สมบัติของชาวเปอร์เซียได้หลั่งไหลเข้ามาเป็นของอณาจักรอิสลาม เคาะลีฟะฮฺอุมัรจึงเห็นสมควรที่จะต้องจัดระบบดีวาน
ในสมัยของอุมัรนั้น ทุกๆคนที่เป็นมุสลิมจะได้รับเงินเดือน
ซึ่งอุมัรจะให้ความสำคัญแก่ผู้ที่รับเข้าอิสลามาในช่วงแรก
และผู้ที่ให้การช่วยเหลือแก่ท่านเราะซูลในช่วงสงคราม
จึงได้จัดระบบดีวานนี้ขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ในการบันทึก ระดับต่างๆ ของประชาชน
เริ่มด้วยชนชั้นแรก คือ ผู้ที่มาจากตระกูล อัล-อับบาซ (ลุงของท่านเราะซูล)
ชั้นต่อมา คือ ตระกูล อัล-ฮาชิม[4]
สำหรับผู้ที่บันทึก ในสมัยเคาะลีฟะฮฺผู้ทรงธรรมนั้น
เคาะลีฟะฮฺอุมัร เป็นผู้ที่มอบหมายให้กับดีวาน
โดยมีการบันทึกในเรื่องของทรัพย์สินที่มาจากภาษี الخراج
และ الجزية เป็นต้น และทำการบันทึกรายจ่ายของเหล่าบรรดาทหาร
เจ้าหน้าที่ ผู้ตัดสินคดี เป็นต้น ในแต่ละหน่วยงานก็จะมีผู้บันทึก หลังจากที่งานต่างๆได้แพร่หลายในอณาจักรโดยเฉพาะในเรื่องของ
الخراج และ الجزية ทำให้มีการแยกเป็นดีวาน
النفقة และ الزمام
โดยมอบหมายให้ดีวานเหล่านี้ทำหน้าที่ในการบันทึกรายจ่ายให้กับเหล่าบรรดาทหาร
บรรดาข้าราชการ และยังมีดีวานต่างๆที่ทำหน้าที่ทำหน้าที่ในการจดบันทึก รวยชื่อ
ระดับชนชั้น ของทหารนั้นก็คือ ดีวาน الجند
ภายใต้ดีวานนี้ ก็จะมี ดีวาน الأساطيل
(กรมทหารเรือ) ดีวาน الثغور(กรมทหารชายแดน) เป็นต้น
ส่วนดีวานที่ทำหน้าที่ส่งสารข้อมูลไปยังเจ้าหน้าที่หรือที่อื่นๆ นั้นก็คือ ดีวานالرسائل
(กรมจดหมาย) หรือ
ดีวาน الإنشاء (กรมการเรียบเรียง)[5]
ซี่งในสมัยเคาะลีฟะฮฺอุมัร อัลค็อตตอบ
นั้นรูปแบบของการบริหารงานต่างๆนั้นจะเป็นไปในรูปแบบทั่วไป ทำให้ดีวานต่างๆ
ไม่ได้จำกัดถึงเชื้อชาติ หรือภาษา ด้วยเหตุนี้การปกครองของอุมัรนั้น
จึงเป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องของความเสมอภาคโดยไม่จำกัดถึงเชื้อชาติ ภาษา[6]
ในสมัยอุมัรก็เช่นกัน ดีวาน الجند
ได้เกิดขึ้น
มีหน้าที่ในการบันทึกและแจกจ่ายเงินเดือนให้กับเหล่าบรรดาทหาร ดีวาน الخراج
(ภาษีที่ดิน)หรือ الجباية (รวบรวมทรัพย์สินต่างๆ)
เพื่อทำการบันทึกรายได้ของกองคลัง (بيت
المال) และทำหน้าที่ในการแจกจ่ายทรัพย์สมบัติของกองคลังให้กับผู้ที่สมควรที่จะได้รับ[7]
ดีวานต่างๆ ในสมัยราชวงศ์ อุมัยยะฮฺ
จะเห็นได้ว่า ในสมัยราชวงศ์อุมัยยะฮ์นั้น
อณาจักรอิสลามได้แผ่ขยายมากกว่าในสมัยเคาะลีฟะฮ์ อัรรอชีดีน
กิจการในสมัยนี้ก็ได้แผ่ขยายมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ ทำให้ดีวานก็ได้แผ่ขยายมากขึ้น
ดีวานที่สำคัญในสมัยนี้คือ
1.ดีวาน الخراج
الخراج คือ
ภาษีทรัพย์สินที่ได้มาจากที่ดินที่มุสลิมทำการพิชิตได้ตามพันธะสัญญา ภาษีนี้
เป็นสิ่งที่วาญิบถึงแม้ว่าผู้ถือกรรมสิทธิ์เข้ารับอิสลาม[8]
ดีวาน الخراج (กรมสรรพากร)
เป็นดีวานที่สำคัญอย่างยิ่งในสมัยนี้ [9] เป็นดีวานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการควบคุมดูแลจัดเก็บภาษีที่ดินที่รัฐมุสลิมทำการพิชิตได้
หรืออยู่ภายใต้อำนาจราชอณาจักรอิสลาม
2-ดีวาน
الرسائل (กรมจดหมาย)
ทำหน้าที่ในการบันทึกหรือเขียนสารจากเคาะลีฟะฮฺไปยังหัวเมืองหรือสถานที่ต่างๆ
สารดังกล่าวจะเกี่ยวข้องในเรื่องการบริหาร การเมือง เศรษฐกิจ [10] และมีหน้าที่คอยบันทึกเอกสาร
หนังสือเข้าออกของราชอณาจักร
3-ดีวาน المستغلات
เป็นดีวานที่เก็บรวบรวมทรัพย์สมบัติต่างๆ
ซึ่งสมบัติเหล่านั้นเป็นสมบัติของรัฐ โดยรัฐทำการครอบครอง[11]
4-ดีวาน النفقات (กรมค่าครองชีพ) เป็นดีวานที่ทำการบันทึกและแจกแจงรายจ่ายให้กับให้กับเหล่าบรรดาทหารในระดับชนชั้นต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นชุดแต่งกายของทหาร รวมทั้งรายจ่ายของราชอณาจักร [12]
5-ดีวาน الصدقات
ทำหน้าที่ในการสรรหาและแจกจ่ายทรัพย์สินให้กับผู้ที่สมควรที่จะได้รับ[13]
โดยเฉพาะแปดจำพวกที่อิสลามได้บัญญัติไว้ในอัลกุรอาน
ความว่า :
แท้จริงทานทั้งหลายนั้น สำหรับบรรดาผู้ที่ยากจน และบรรดาผู้ที่ขัดสน
และบรรดาเจ้าหน้าที่ในการรวบรวมมัน และบรรดาผู้ที่หัวใจของพวกเขาสนิทสนม
และในการไถ่ทาสและบรรดาผู้ที่หนี้สินล้นตัว และในทางของอัลลอฮฺ และผู้ที่อยู่ในระหว่างเดินทาง
ทั้งนี้ เป็นบัญญัติอันจำเป็นซึ่งมาจากอัลลอฮฺ และอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงรอบรู้
ผู้ทรงปรีชาญาน[14]
6-ดีวาน الجند เป็นดีวานที่ทำหน้าที่ในการบันทึกรายชื่อหรือชีวประวัติ
รวมทั้งระดับชนชั้นของบรรดาทหาร พร้อมทั้งกำหนดเงินเดือนของทหาร[15]
7-ดีวาน الطراز (กรมออกแบบ) เป็นดีวานที่กำหนด
ออกแบบชุดเครื่องแต่งกายให้กับหน่วยงานต่างๆ หน่วยงานบริหารทางราชการ ทหาร เป็นต้น[16]
และยังมีหน้าที่ในการออกแบบสัญลักษณ์ต่างๆ ของอณาจักร เช่น ธงชาติ ประทับตรา โลโก้
เป็นต้น
8-ดีวาน البريد(กรมไปรษณีย์) เป็นดีวานในการบริการสื่อสาร
ข่าวสารต่างๆและจัดตั้งเครื่องมือในการสื่อสาร ภายในอณาจักรหรือนอกราชอนาจักร
ที่เกี่ยวข้องกับศาสนา การเมือง การบริหาร เป็นต้น
จากประวัติศาสตร์ จะเห็นได้ว่า
หน่วยงานนี้เริ่มมีรากฐานมาตั้งแต่ในสมัยของท่านรอซูล
ดังจะเห็นได้จากการที่ท่านจัดส่งผู้แทนไปยังผู้นำต่างๆ เช่น จักรพรรดิแห่งโรม เปอร์เซีย
อียิปต์ และ เอธิโอเปีย เพื่อนำศาสน์ เชิญชวนพวกเขาเหล่านั้นมาสู่อิสลาม
9-ดีวาน الخاتم (กรมสารบรรณ) ผู้ที่ริเริ่มหน่วยงานนี้ คือ มุอาวียะฮฺ
บิน อบีซุฟยาน[17]
มีหน้าที่ในการตรวจสอบ รับรอง และคุ้มครองเอกสาร จดหมาย หนังสือข้าราชการต่างๆ
ก่อนถูกส่งออกไปยังสถานที่ต่างๆ รวมทั้งตรวจสอบเอกสารที่มาจากนอกราชอณาจักรทุกฉบับ
นอกจากนั้นยังมีหน้าที่ในการประทับตราและปิดผนึกด้วยเทียนสีแดงเพื่อป้องกันจดหมายถูกเปิดก่อนถึงมือผู้รับ
จากประวัติศาสตร์อิสลาม
ดีวานจะจดบันทึกเป็นภาษาโรมันและเปอร์เซีย หลังจากนั้นในสมัยเคาะลีฟะฮฺอับดุลมาลิก
และฮีชาม (ราชวงศ์อุมัยยะฮฺ) ก็ได้เปลี่ยนการบันทึกเป็นภาษาอาหรับ
ดีวานในสมัยราชวงศ์อับบาซียะฮฺ
ในสมัยราชวงศ์อับบาซียะฮฺ ได้มีดีวานต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย
โดยแต่ละดีวานก็จะมีหน้าที่รับผิดชอบแตกต่างกันไป
สมัยนี้ได้นำเอารูปแบบการบริหารจากชาวเปอร์เซีย
ในสมัยนี้เช่นเดียวกันได้มีวิวัฒนาการจากดีวานนั้นมาเป็นกระทรวง
(الوزارة)
สามารถนำมาเป็นแบบอย่างให้กับยุคปัจจุบันได้
ดีวานที่มีความสำคัญยิ่งในสมัยนี้ คือ
ديوان الخراج ، ديوان
الدية ، ديوان الزمام ، ديوان الجند ، ديوان الموالي الغلمان وتسجل فيه أسماء
موالي الخليفة وعبيده ، وديوان البريد ، وديوان زمام النفقات ، ديوان النظر في
المظالم ، ديوان الأحداث والشرطة ، ديوان العطاء
وديوان الجهبذة
-ดีวาน الدية
เป็นดีวานทีคอยดูแลทรัพย์สินที่ฝ่ายผู้ฆ่าจ่ายให้แก่ทายาทผู้ถูกฆ่า
-ดีวาน الزمام เป็นดีวานที่คอยควบคุมดูแลพฤติกรรมของพนักงาน
หรือเจ้าหน้าที่แต่ละหน่วยงานภายในราชวัง
-ดีวาน الموالي الغلمان
เป็นดีวานทีรดูแลติดตามและบันทึกรายชื่อผู้เป็นนายของอัลมาวาลีย์ และผู้เป็นทาส
(อัลมาวาลี คือ บรรดาเชลยศึกที่ถูกจับเป็นทาสและได้รับการปล่อยตัวอีกครั้งหนึ่ง)
-ดีวาน زمام النفقات เป็นดีวานที่ทำหน้าที่ตรวจสอบค่าใช้จ่ายของเจ้าหน้าที่หรือพนักงานของอณาจักร
-ดีวาน النظر في
المظالم
เป็นหน่วยงานในการรับฟังและบันทึกการร้องทุกข์ของประชาชน
-ดีวาน الأحداث เป็นดีวานที่ดูแลและควบคุมเหตุการณ์ต่างๆ
ภายในราชอณาจักร
-ดีวาน العطاء เป็นดีวานที่ทำหน้าที่ในการให้ค่าใช้จ่ายหรือค่าครองชีพให้กับหน่วยงานต่างๆ
-ดีวาน الجهبزة
เป็นดีวานที่ทำหน้าที่ในการดูแลและคุ้มครองแก่ผู้ที่มิใช่มุสลิม(أهل
الذمة )นอกจากดีวานหลักๆที่กล่าวมาข้างต้น ก็ยังมีดีวานต่างๆ
ที่อยู่ภายใต้อำนาจบริหาร การเมือง และอำนาจตุลาการ นั้นก็คือ ديوان
المنح และ ดีวานالأكرهة [18]
-ดีวาน المنح เป็นดีวานที่ทำหน้าที่ในการควบคุม
และติดตามการให้ทุนช่วยเหลือแก่ผู้ยากลำบาก
-ดีวานالأكرهة เป็นดีวานที่คอยควบคุมดูแลและติดตามในการพัฒนา ซ่อมแซม
ถนนหนทาง คูระบายน้ำ สะพานและอื่นๆ
การบริหารส่วนกลางในราชวงศ์อับบาซียะฮฺ
จะไม่ค่อยมีส่วนร่วมในการบริหารของประชาชนเท่าใดนัก แต่จะขึ้นอยู่กับฝ่ายที่ถูกจัดขึ้นเป็นการเฉพาะในการทำหน้าที่ในการบริหาร
นอกจากเกิดเหตุการณที่ฝ่ายนั้นๆ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ เช่น ประชาชนไม่ยอมจ่ายภาษีให้กับรัฐ[20] เป็นต้น
บทสรุป
จะเห็นได้ว่า
ระบบดีวานเป็นระบบที่สำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์อิสลาม และเป็นระบบที่มีวิวัฒนาการตั้งแต่สมัยของท่านรอซูล
จนกระทั่งถึงยุคหลังๆ โดยที่ระบบการบริหารอาจจะแตกต่างกันหรือเหมือนกันนั้น
ก็ขึ้นอยู่กับเอกลัษณ์ของแต่ละสมัย
สิ่งเหล่านี้ เป็นสิ่งยืนยันได้เลยว่า
อิสลามให้ความสำคัญในเรื่องของการบริหาร
การปกครอง สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับทุกๆเวลา สถานการณ์และทุกๆ สมัย
โดยที่รูปแบบในการบริหารนั้นอิสลามไม่ได้กำหนดขอบเขตที่ตายตัวหรือแน่นอนทั้งนี้ขึ้นอยู่ผู้ประยุกต์ใช้เพื่อให้เป็นไปในรูปแบบต่างๆ
และที่สำคัญสิ่งเหล่านั้น จะต้องไม่ขัดแย้งกับหลักพื้นฐานของอัลกุรอานและซุนนะฮฺของท่านรอซูล
และสร้างความยุติธรรมและความสันติให้กับปวงชน
เพราะฉะนั้น
อิสลามเป็นศาสนาที่ครอบคลุมระบอบการดำเนินชีวิตของมนุษย์ เป็นศาสนาที่สอดคล้องกับทุกๆ สถานการณ์ ทุกยุค
ทุกสมัย ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบ ความสันติ ความสงบสุข
ความยุติธรรมให้กับสังคม
บรรณานุกรม
เชากี อบูคอลีล 1987 อัล ฮาฎอเราะฮฺ อัล อารอบียะอฺ
กุลียาตุล ดะวะฮฺ อัล อิสลามียะฮฺ .
มูรอด มูฮัมหมัด อาลี (มปป) อัล
อาซาลีบ อัล อีดารียะฮฺ ฟิล อิสลาม ดารุล อิอตีซอม.
อบุล วัสมี่ย์ อาลี เสือสมิง 2545 ร้อยเรื่องสารพันสรรหามาเล่า
กรุงเทพฯ :ศูนย์หนังสืออิสลาม
อัซซอลิฮฺ ซุบฮี 2001 อันนูซุม อัลอิสลามียะฮฺ นัชอาตูฮา วาตาเตาวีรูฮา
บีรูต : ดารุล อิลมี.
อัตตอบารี อิบนุ ญารีร (มปป) ตารีคุลอุมัม
วัลมูลูก เล่มที่ 3 อัลกอฮีเราะฮฺ.
อัล อัจมีย์ รอฟีก
(มปป) เมาซูอะฮฺ มุซตอลาฮาต อิลมุตตาริค อัล อารอบี วัล อิสลามียะฮฺ บีรูต :มักตาบะฮฺ ลุบนาน.
อัลมาวัรดี อาลี บิน มูฮัมหมัด บิน ฮาบีบ(มปป) อัลอะฮฺกาม อัซซุลตอนียะฮฺ
วัลวีลายาต อัดดีนียะฮฺ ดารุลกุ บีรูต: ตุบอิลมียะฮฺ.
ฮาซัน อิบรอฮัม ฮาซัน และ อาลี อิบรอฮีม ฮาซัน อันนูซุม อัล อิสลามียะฮฺ
มักตาบะฮฺ อันนะฮฺเฎาะอัลมิซรียะฮฺ อัล กอฮีเราะฮฺ 2002.
[2] อัลมาวัรดี อาลี บิน มูฮัมหมัด บิน ฮาบีบ อัลอะฮฺกาม
อัซซุลตอนียะฮฺ วัลวีลายาต อัดดีนียะฮฺ ดารุลกุตุบอิลมียะฮฺ บีรูต หน้า 249
[3] อบุล วัสมี่ย์ อาลี เสือสมิง ร้อยเรื่องสารพันสรรหามาเล่า
ศูนย์หนังสืออิสลาม กรุงเทพฯ 2545 หน้า : 39.
[4] อัตตอบารี อิบนุ ญารีร ตารีคุลอุมัม วัลมูลูก
อัลกอฮีเราะฮฺ เล่มที่ 3 หน้า 162.163
[5] .อัล อัจมีย์ รอฟีก เมาซูอะฮฺ มุซตอลาฮาต อิลมุตตาริค อัล
อารอบี วัล อิสลามียะฮฺ มักตาบะฮฺ
ลุบนาน บีรูต หน้า 338.
[6] ย่อมาจาก อัซซอลิฮฺ ซุบฮี
อันนูซุม อัลอิสลามียะฮฺ นัชอาตูฮา วาตาเตาวีรูฮา ดารุล อิลมี บีรูต
2001 หน้า 313.
[7].ฮาซัน อิบรอฮัม ฮาซัน และ อาลี อิบรอฮีม ฮาซัน อันนูซุม
อัล อิสลามียะฮฺ มักตาบะฮฺ อันนะฮฺเฎาะอัลมิซรียะฮฺ อัล กอฮีเราะฮฺ 2002 หน้า 154.
[10] อัซซอลิฮฺ ซุบฮี
อ้างแล้ว หน้า 314.
[13] อ้างอิงเดียวกัน.
ขอขอบคุณ
นส เภาซียะห์ สาอี
นักศึกษาปริญญาโท
สาขาวิชาประวัติศาสตร์และอารยธรรมอิสลาม
มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น