วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2554

มุฮัมมัด อากีฟ ผู้คัดค้าน มุสตอฟา กามาล บิดาแห่งตุรกี

   ปัญญาชนคนสำคัญที่ต่อต้านแนวความคิดของมุสตอฟา เคมาล เกี่ยวกับเรื่องคอลีฟะฮ คือมุฮัมมัด อากีฟ เขาเผยแพร่แนวความคิดของเขาในวารสาร "Siratil Mustakim " (หนทางที่เที่ยงตรง) เขากล่าวว่าการใช้อำนาจเผด็จการของสุลต่าน อับดุลฮามีด ได้ละเมิดระบบคอลีฟะฮ เช่นเดียวกับพวกยังเตอร์กที่นิยมเซคคิวล่าร์ (Secularism) อากีฟต้องการให้นำเอารูปแบบของประชาธิปไตยในอิสลามที่มีผู้แทนให้คำปรึกษาต่อผู้ปกครองเหมือนอย่างกับที่ปฏิบัติในประวัติศาสตร์อิสลามสมัยแรก เขาคัดค้านการนำเอาสถาบันการปกครองแบบตะวันตกเข้ามาใช้ในเตอร์กี เขาต่อต้านนโยบายชาตินิยมอย่างบ้าคลั่ง และละทิ้งประชากรมุสลิมที่เคยร่วมอยู่ในอาณาจักรออตโตมาน อารยธรรมตะวันตกนั้นถ้ารับมาทั้งหมดจะทำลายคุณค่าทางจริยธรรมของอิสลาม มุสลิมจะต้องหันหลับไปหาคุณค่าแบบดั่งเดิมของอิสลาม ถ้าต้องการรอดพ้นจากลิทธิจักรวรรดินิยม มุสลิมควรรับเฉพาะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากตะวันตก ปฏิเสธระบบการปกครองอย่างพวกตะวันตกซึ่งจะทำให้มุสลิมอ่อนแอลง มีช่องว่างระหว่างพวกปัญญาชน แม้ประชาชนส่วนใหญ่เป็นปัญญาชนต้องการเลียนแบบตะวันตกทุกอย่าง แต่ประชาชนรู้ว่านั่นเป็นสาเหตุของความล้มเหลว หนทางที่จะนำไปสู่ความก้าวหน้านั้นต้องขึ้นอยู่กับพื้นฐานและประสบการณ์ของสังคมนั้นๆ ด้วย นั่นคือหนทางของโลกอิสลามไม่ใช่หนทางของตะวันตก ถ้าจะพิจารณาถึงแนวความคิดสองแนวนี้จะเห็นได้ว่าต่างกันอย่างชัดแจ้ง มุสตอฟา เคมาล มองว่า คอลีฟะฮไม่ควรมายุ่งเกี่ยวกับการเมือง ในการกล่าวปราศรัยกับโลกมุสลิมหรือถ้ามีหนังสือติดต่อกับมุสลิมในประเทศอื่นก็ควรกล่าวในฐานะที่คอลีฟะฮได้รับเลือกจากรัฐสภาเตอร์กี แต่คอลีฟะฮอับดุลมายีดกระทำตนเกินขอบเขตที่มุสตอฟา เคมาลขีดไว้กระทำตนเป็นผุ้นำโลกมุสลิม ซึ่งมีลักษณะขัดแย้งกับความคิดของมุสตอฟา เคมาลอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้มุสตอฟามองตำแหน่งคอลีฟะฮเป้นตัวขัดขวางความเจริญก้าวหน้าของประเทศ ถ้ายังคงตำแหน่งนี้ไว้ก็จะทำให้ประเทศอื่นมองเตอร์กีเป็นประเทศล้าหลัง


       ส่วนกลุ่มที่คัดค้านเคมาลนั้นพยายามมองระบบคอลีฟะฮในลักษณะดั่งเดิมและจะนำเอาระบบคอลีฟะฮที่แท้จริงมาใช้ในทัศนะของกลุ่มนี้มองสุลต่านแห่งออตโตมานว่า มิใช่ระบบคอลีฟะฮที่สมบูรณ์เป็นระบบผสมผสานระหว่างสมบูรณาญาสิทธิราชกับคอลีฟะฮ ดังนั้นควรทำให้เตอร์กีเป็นสาธารณรัฐอิสลามเหมือนอย่างสมัยแรก ไม่เห็นด้วยกับคำพูดของมุสตอฟาที่ว่า"การดำรงอยู่ของตำแหน่งคอลีฟะฮเป็นการทำลายสาธาณรัฐ"เพราะถ้าพิจารณาถึงระบบคอลีฟะฮที่แท้แล้ว คอลีฟะฮไม่ได้เป็นองค์อธิปัตย์มีอำนาจที่จะทำอะไรได้ตามใจชอบ ตำแหน่งคอลีฟะฮเป้นเพียงผู้แทนในการใช้อำนาจได้มาโดยการเลือกตั้งและต้องอยู่ภายใต้กฎหมายอิสลาม ไม่สามารถใช้อำนาจเกินขอบเขตที่กฎหมายกำหนด การสืบทอดตำแหน่งโดยการสืบราชวงศ์ตามสายเลือดนั้นเป็นการนำเอาระบบอื่นเข้ามาปะปน ซึ่งกลุ่มนี้พยายามที่จะขจัดออก ผู้ที่จะมาเป็นคอลีฟะฮต้องเป็นผู้ที่รอบรู้ในกฎหมายอิสลาม (Shari'a) ระบบคอลีฟะฮนั้นถือว่ากฎหมายอิสลามเป็นธรรมนูญสูงสุด กำหมายต่างๆ ที่ออกมาบังคับใช้ในชุมชนจะขัดแย้งกับกฎหมายอิสลามไม่ได้ สมาชิกรัฐสภาไม่ว่าจะมีคะแนนเสียงเท่าใดไม่อาจเปลี่ยนแปลงกฎหมายอิสลามได้ ซึ่งจะแตกต่างกับระบอบประชาธิปไตยแบบตะวันตก ระบบคอลีฟะฮมิได้กีดขวางความเจริญรุ่งเรืองหรือความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เพราะถ้าพิจารณาจากประวัติศาสตร์ในสมัยอับบาสียะห์ จะเห็นว่าความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการสาขาต่างๆ รวมทั้งทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์ เจริญกว่ายุโรปในสมัยเดียวกันเสียอีก ดังนั้นการหยุดชงักทางวิชาการของอาณาจักรออตโตมานจึงเป็นเรื่องที่ไม่อาจกล่าวสาเหตุมาจากระบบคอลีฟะฮ แต่ถ้าจะกล่าวระบบคอลีฟะฮขัดขวางการนำเอาระบบการดำเนินชีวิตทั้งหมดทุกด้านของตะวันตกมาใช้นั้นย่อมเป็นคำกล่าวที่ถูกต้อง กลุ่มที่คัดค้านวามคิดของมุสตอฟา เคมาล มองเห็นความจำเป็นที่จะพิจารณาเลือกศึกษาเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีจากตะวันตกเท่านั้น เพราะออตโตมานล้าหลังพวกตะวันตกก็เฉพาะด้านนี้ จึงไม่จำเป็นต้องนำเอาวัฒนธรรมอย่างอื่นมา ดร.ไอ มาติน คุนท์ (Dr. I. Metin Kunt) สรุปว่า การที่ออตโตมานตกเป้นเบี้ยล่างพวกตะวันตกก็เพราะว่าเทคโนโลยีของออตโตมานถูกหยิบยืมไป และออตโตมานเองในระยะหลังนี้ก็ไม่พยายามพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่จำเป็นต่อการสร้างเรือรบและอาวุธที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่ออาณาจักรออตโตมานพลาดโอกาสนี้แล้วจึงตกเป็นฝ่ายล้าหลัง
 
อ้างจากเอกสารประกอบการสอนรายวิชา หลักการบริหารในอิสลาม 3 เรียบเรียงโดย อาจารย์ อับดุลเล๊าะห์ อุมา อาจารย์ประจำสาขารัฐประศาสนศาสตร์มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา

วันอังคารที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ฮุซนุซซอน حسن الظن (การมองผู้อื่นในแง่ดี)

ฮุซนุซซอน حسن الظن (การมองผู้อื่นในแง่ดี)



     เมื่อท่านนบี (صلى الله عليه وسلم) ส่งซอฮาบะฮฺออกไปทำงานศาสนา ท่านจะสั่งกำชับว่า จงทำให้ศาสนาเป็นเรื่องง่ายในการปฏิบัติ อย่าบีบคั้นจนเกินไป อย่าทำให้เกิดความยากลำบากในการปฏิบัติ จนกระทั่งทำให้คนอื่นหนีจากเรา จงนำเอาความดีของชาวมะดีนะห์ไปสู่ชาวมักกะฮฺ และจงเอาความดีของชาวมักกะฮฺมาสู่ชาวมะดีนะห์


     การปฏิบัติอาม้าลส่วนตัวของเราเป็นศาสนา และเช่นเดียวกัน การเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างมนุษยชาติ ก้อเป็นศาสนาด้วย ดังนั้นเราต้องระวังคำพูด การกระทำ ในการเชื่อมสัมพันธ์กับมนุษย์ ถ้าเรามีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น มันจะเป็นพื้นฐานแห่งความดีหลายๆ อย่าง เราจึงต้องปฏิบัติกับผู้อื่นด้วยเอี๊ยะซาน คือการทำดีกับคนอื่นในการมุอามาลาตของเรา เมื่อการมุอามาต หรือการเชื่อมสัมพันธ์กับผู้อื่นมีเอี๊ยะซาน ก้อจะดึงหัวใจของผู้คนให้อ่อนโยนได้


     คุณสมบัติหนึ่งในการที่จะมุอามาลาตกับผู้คน ก้อคือ ฮุซนุซซอนحسن الظن (การมองผู้อื่นในแง่ดี) พยายามคิดดีกับผู้อื่น เมื่อเราอยู่ในสังคม อยู่กับมิตรสหาย เมื่อเราคิดดีกับคนอื่น เราก้อจะเห็นความดี เมื่อเราเห็นความดี เราก้อจะได้รับประโยชน์แห่งความดีอันนั้น แต่ถ้าหากซูอุซซอน سوء الظن (คิดไม่ดีกับคนอื่น) ความไม่ดีก้อจะเปิดเผยออกมา และเมื่อเราเห็นความไม่ดี เราก้อจะได้รับผลสะท้อนจากความไม่ดีอันนั้นไปด้วยเช่นเดียวกัน


     ชัยฏอนไม่สามารถจะทำให้มุสลิมคนหนึ่งทำชิริกใหญ่ๆ ได้ แต่แผนการของมันคือ ซูอุซซอน سوء الظن พยายามยุยงให้ผู้ศรัทธาคนหนึ่งคิดไม่ดีกับผู้ศรัทธาอีกคนหนึ่ง นั่นคือสิ่งที่ซัยฏอนจะใส่เข้าไปในหัวใจของคนที่เคร่งศาสนา เพื่อให้เกิดความแตกแยกในหมู่พวกเขา เพราะเมื่อผู้คนที่เคร่งครัดศาสนา มีความรู้สึกที่ไม่ดีต่อกันแล้ว เมื่อนั้น เอี๊ยะติมาด اعتماد กับ ตะอาวุน تعاون จะหมดไป คือความไว้วางใจจะหมดไป การช่วยเหลือซึ่งกันและกันจะไม่มี ทำให้มุสลิมทั้งหมดอ่อนแอ นี่คือเป้าหมายของชัยฏอน


     ซอฮาบะฮฺของท่านนบี(صلى الله عليه وسلم) คนหนึ่ง ซะฮัล บิน ฮุเนดฺ ท่านมักจะพูดกับผู้คนอยู่บ่อยครั้งว่า "พวกท่านจงคิดว่าความผิดพลาดต่างๆ นั้นมาจากตัวเอง" (อิสตะฮีมูอันฟุซะกุม) ที่มันเป็นอย่างนี้เพราะความผิดพลาดของตัวฉัน, เพราะฉันบกพร่อง,เพราะฉันอ่อนแอ ..เมื่อคนที่คิดว่าเป็นความบกพร่องของตัวเอง ก้อจะเป็นการง่ายดายที่เค้าจะมีการอิสละฮฺปรับปรุงตัวเค้า แต่ถ้าหากเค้าคิดว่าเป็นความผิดพลาดของคนอื่น การที่จะอิสละฮฺหรือปรับปรุงตนเองก้อจะไม่มี


     ท่านนบี (صلى الله عليه وسلم) มักจะพูด และสาธยายถึง มะนากิบمناقب (หมายถึงวีรกรรม หรือผลงานของซอฮาบะฮฺแต่ละคน) จนกระทั้งอุลามาอฺมีการรวบรวมเป็นหนังสือหลายๆเล่ม เช่น มะนากิบของอบูบักรأبو بكر, มะนากิบบของอุมัรعمر, มะนากิบของอบูซัรأبو ذرّ และมากมายที่ท่านนบี(صلى الله عليه وسلم) พูดถึงวีรกรรม และผลงานของซอฮาบะฮฺ นี่คือตัวอย่างของฮุซนุซซอน การมองหาความดีงามของคนที่ร่วมสังคมกับเรา


     สังคมแห่งอิสลาม เป็นสังคมที่จะต้องมองความดีซึ่งกันและกัน เพราะการที่คนหนึ่งมีกาลีมะฮฺ "ลาอิลา ฮ่าอิ้ลลั้ลลอฮฺ" อยู่ในหัวใจ เค้าจะต้องมีความดีบางอย่างอยู่ อัลลอฮฺจึงได้ให้ฮิดายะฮฺทางนำกับเค้า ดังนั้นเราจึงต้องพยายามมองหาความดีของคนอื่น และหากต่างคนต่างมองความดีของคนอื่น เราก้อจะเป็นผู้ซึ่งแลกเปลี่ยนความดีซึ่งกันและกัน ความดีก้อจะแพร่กระจาย และนี่คือสิ่งที่ท่านนบี(صلى الله عليه وسلم) ได้วางแนวทางเอาไว้

วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2554

นอนตะแคงขวาดีที่สุด



การผักผ่อนที่ดีที่สุดคือการนอน และคนเราใช้เวลาหลับถึง หนึ่งในสามของอายุคน พูดง่ายๆคือปกติแล้ว แปดชั่วโมงนอน แปดชั่วโมงเรียนหรือทำงาน และอีกแปดชั่วโมงแล้วแต่บุคคลที่จะเอาไปทำอะไร  ขณะนอนหลับท่านอนที่ดีที่สุด ส่งผลให้ผู้หลับนอนหลับสนิทตลอดคืน และตื่นขึ้นด้วยความสดชื่น ไม่รู้สึกปวดเมื่อย
                โดยปกติแล้วคนเราชอบนอนหงาย เพราะเป็นท่านอนมาตรฐาน การนอนหงายที่เหมาะสมนั้น ควรใช้หมอนต่ำและต้นคอควรอยู่ในแนวเดียวกันกับลำตัวเพื่อไม่ให้ปวดคอ อย่างไรก็ตาม ท่านอนหงายไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรคปอดและหัวใจ เพราะกล้ามเนื้อกระบังลมจะกดทับปอดทำให้หายใจไม่สะดวก ส่งผลทำให้การทำงานของหัวใจลำบากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ผู้มีอาการปวดหลังการนอนหงายในท่าราบจะทำให้อาการปวดรุ่นแรงขึ้น
                สำหรับท่านอนที่ดีที่สุด เมื่อเทียบกับท่านอนอื่นๆคือท่านอนตะแคงขวา เพราะจะช่วยให้หัวใจเต้นสะดวกและอาหารจากกระเพาะจะถูกบีบลงลำไส้เล็กได้ดี อีกทั้งยังช่วยบรรเทาอาการปวดหลังได้เป้นอย่างดีอีกด้วย
                ส่วนท่านอนตะแคงซ้ายซึ่งจะช่วยลดอาการปวดหลังได้แต่ควรกอดหมอนข้าง และพาดขาไว้เพื่อป้องกันอาการชาที่ขาซ้ายจากการนอนทับเป็นเวลานาน ท่านอนตะแคงซ้ายอาจทำให้เกิดลมจุกเสียดบริเวณลิ้นปี่ เนื่องจากอาหารที่ยังย่อยไม่หมดในช่วงก่อนเข้านอนยังค้างในกระเพาะอาหาร
                ส่วนท่านอนคว่ำ เป็นท่าที่ทำให้หายใจติดขัด ทั้งยังทำให้ปวดต้นคอ เพราะต้องเงยหน้ามาทางด้านหลังหรือบิดหมุนไปข้างใดข้างหนึ่งเป็นเวลานาน ถ้าจำเป็นต้องนอนคว่ำจึงควรใช้หมอนรองใต้ทรวงอก เพื่ออาการปวดเมื่อยต้นคอ
หมายเหตุ สุขสาระ จากแบบอย่างของท่านนบี
ในระหว่างเดินทาง ท่านนบี จะเข้านอนดึก และท่านจะนอนตะแคงขวา เมื่อตื้นข้นในตอนเช้า ท่าจะใช้มือสอดประสานกันและรองใต้ศรีษะ แล้วท่านก็ลุกขึ้น  มิชกาต
ครั้งหนึ่งท่านนบีเห็นคนนอนหลับในลักษณะนอนคว่ำท่านกล่าวว่า อัลลอฮไม่ทรงชอบการนอนคว่ำ
คัดจากหนังสือ Handy Reference Book of islam
จาก  นิตยาสาร kampongn48 พฤศจิกายน 2550นคั่แคงซ้ายอาจทำให้เกิดลมจุกเสียดบริเวณลิ้นปี่ เนื่องจากอาหารที่ยังย่อยไม่หมดในช่วงก่อนเข้านอนคั่งค้

วันศุกร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2554

สถิติบางอย่างที่แปลกใน "อัล-กุรอาน "


สถิติบางอย่างที่แปลกใน "อัล-กุรอาน "



จากผลการวิจัยในเชิงวิทยาศาสตร์ที่กระทำกับกุรอานในยุคของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนี้ ยิ่งเป็นการตอกย้ำถึงความมหัศจรรย์ของกุรอาน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเองเป็นผู้พิสูจน์ถึงสัจธรรมที่มีกล่าวในกุรอาน
ดังนั้นอัลลอฮฺจึงได้ท้าทายมนุษย์และญินให้สร้างผลงานที่เทียบเท่ากุรอาน ดังซูเราะที่ 17 ( บะนีอิสรออีล ) อายะฮฺ ที่ 88
ความว่า "จงประกาศเถิด มาตรแม้นมนุษย์และญินรวมกันซึ่งจะนำมาสิ่งที่เหมือนอัลกุรอานนี้ แน่นอนพวกเขาไม่สามารถนำมาสิ่งที่เหมือนนั้นได้เลย แม้พวกเขาต่างคนต่างช่วยเหลือกันก็ตาม"
ต่อไปนี้เป็นผลการวิเคราะห์กุรอานในบางแง่มุม จากการวิเคราะห์เชิงสถิติของดร.ตาริค อัล ซูวัยดัน ( Dr. Tariq Al-Suwaidan ) ซึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่มอิควาน อัลมุสลิมูน( Muslim Brotherhood:Ikhwan Al-Muslimoon ) แห่งซาอุดีอาระเบีย
คำ ความหมาย จำนวนครั้งที่นับได้ในกุรอาน
Al-Dunya โลกนี้ 115
Al-Akhira โลกหน้า 115
Al-Malaikah มลาอิกะฮฺ 88
Al-Shayateen ชัยฏอน 88
Al-Hayat การมีชีวิต 145
Al-Maout การตาย 145
Al-Rajul ผู้ชาย 24
Al-Marha ผู้หญิง 24
Al-Shahar เดือน 12
Al-Yaom วัน 365
Al-Bahar ทะเล 32*
Al-Bar แผ่นดิน 13*
เราจะเห็นถึงตัวเลขที่เป็นคู่ ๆ ( เซาไจม : zawgyme ) ที่แปลกมากคือคู่สุดท้าย ทะเล ( น้ำ ) กับแผ่นดิน ที่มีเครื่องหมายดอกจันอยู่ ตัวเลข 32 กับ 13 วิเคราะห์ง่าย ๆ ดังนี้
ทะเล + แผ่นดิน = 32 + 13 =45
เพราะฉะนั้น อัตราส่วนร้อยละของทะเลคือ (32*100) / 45 = 71.1111
อัตราส่วนร้อยละของแผ่นดินคือ (13*100) / 45 = 28.8888
นี่คือค่าอัตราส่วนระหว่าง น้ำกับแผ่นดินของโลกเราที่ทุกคนทราบเป็นอย่างดีแล้ว
... เมื่ออ่านแล้ว ท่านได้ข้อคิดอะไรกันบ้างคะ ???
บทความจาก : ห้องหนังสือ

วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2554

ระบบกฎหมายของอาณาจักรอุษมานียะห์หรือออตโตมาน


                1)  กฎหมาย
                แนวความคิดด้านกฎหมายของออตโตมาน ได้รับแนวคิดจากอาณาจักรเปอร์เซียบ้าง  อาณาจักรเตอรกีในอดีตบ้าง  รวมถึงอาณาจักรอับบาซียะห์ซึ่งเป็นอาณาจักรอิสลามบ้าง
                แนวคิดของชาวเปอร์เซียที่ได้พัฒนามาใช้ในยุคคอลีฟะห์คือ ผู้ปกครองหรือคอลีฟะห์มีอำนาจเด็ดขาด  บทบัญญัติต่างๆ  และความยุติธรรมเป็นไปตามความเห็นของผู้ปกครองเท่านั้น
                แนวคิดของชาวเติร์กนั้นเป็นแนวความคิดที่ว่ากฎหมายมีอำนาจสูงสุด  ผู้ปกครองจะต้องบังคับใช้ด้วยความยุติธรรม  โดยไม่คำนึงถึงความสัมพันธ์ส่วนตัว  แนวคิดที่เหมือนแนวคิดมุสลิมในเรื่องกฎหมายอิสลามหรือชารีอะฮที่นำมาจากอัลกุรอานและอัลหะดีษ  เมื่อกฎหมายอิสลามหรือชารีอะฮเป็นสิ่งสูงสุดในการส่งเสริมพฤติกรรมและชีวิตความเป็นอยู่ในชุมชน  ชารีอะฮจึงไม่จำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขหรือสังคายนาแต่อย่างไร
                แต่สังคมออตโตมานเป็นสังคมหลากหลายมีทั้งยิว  คริสต์  และอื่นๆ  จึงจำเป็นต้องมีกฎหมายมหาชน  โดนเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการจัดตั้งองค์กรและการบริหาร  ดังนั้นจึงมีห้องพิเศษสำหรับการตีความและออกกฎหมายในเรื่องสำคัญๆ ที่ยังไม่ปรากฏในอัลกุรอานหรือกฎหมายที่เกี่ยวกับศาสนิกชนอื่น  ตลอดจนกฎหมายที่เกี่ยวกับการบริหารองค์กรต่างๆ  นักกฎหมายมุสลิม ส่วนมากรับรองสิทธิของสุลต่านเป็นผู้อำนาจสูงสุดในการออกกฎหมายประกาศใช้กฎหมายทางโลก  (kanun)  ในเรื่องสำคัญๆ  ที่ไม่ครอบคลุมในกฎหมายชารีอะฮ
                ดังนั้นกฎหมายที่ใช้ในอาณาจักรออตโตมานจึงมี  2  ประเภทคือ  กฎหมายชารีอะฮและกฎหมายสุลต่านคือ  สุลต่านเป็นผู้บัญญัติกฎหมายที่ไม่เกี่ยวกับศาสนาอิสลาม  ผู้ที่ทำหน้าที่ตัดสินประหารและบังคับใช้บทบัญญัติของสุลต่าน  เรียกว่า  อะฮฺลิอุรฟ์  (ehli orf)  และอุลามะอฺจะทำหน้าที่บังคับกฎหมายชารีอะฮโดยเฉพาะในมิลเล็ตมุสลิม  สำหรับกฎหมายที่นำมาใช้บังคับกับศาสนิกชนอื่นนั้นสามารถตีความและใช้บังคับเฉพาะศาสนิกชนของตนโดยการนำของผู้นำศาสนานั้นๆ  อุลามาอฺมีสิทธิที่จะประกาศโมฆะกฎหมายโลกที่ขัดแย้งกับกฎหมายอิสลามได้
                2)  กอฎี
                กอฎี  คือ  ผู้พิพากษาตามกฎหมายอิสลามซึ่งเป็นสมาชิกของอุลามาอฺ  วิชาที่ศึกษาและตีความกฎหมายนี้เรียกว่า  ฟิกฮ จึงมีการแบ่งระหว่างผู้ที่ศึกษาและตีความกฎหมายหรือที่ปรึกษาของกฎหมายหรือมุฟตีกับผู้นำกฎหมายมาบังคับใช้ในศาลคือ ผู้พิพากษาหรือกอฎีนั่นเอง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าผู้ชี้ขาด (ฮากีม)
                อาณาจักรออตโตมานได้แบ่งเขตตามอำเภอศาล  ทุกเขตมีศาลประจำเขต  มีผู้พิพากษาหรือกอฎีประจำเขต  มีรองผู้พิพากษาและมีผู้ช่วยผู้พิพากษาอีกจำนวนหนึ่ง  ในราชอาณาจักรออตโตมาน  มุสลิมมีทั้ง 4  แนวทางคือ  แนวทางของมัซฮับฮานาฟี  ซาฟีอี  มาลิกี  และฮัมบาลี  แต่แนวทางที่ยอมรับเป็นทางการคือ  แนวทางของมัซฮับฮานาฟี  กอฎีที่สังกัดมัซฮับฮานาฟีเท่านั้นที่ได้รับแต่งตั้งทำหน้าที่ในศาลต่างๆ  บางเมืองเช่น  อียิปต์และซีเรีย  เจ้าหน้าที่ในท้องถิ่นนั้นๆ  แนะนำให้คำปรึกษาแก่กอฎีทางการที่ถือแนวทางมัซฮับฮานาฟี
                กอฎีทุกคนจะทำหน้าที่ทั้งทางศาลและการบริหารบ้านเมือง  เมื่อเป็นผู้พิพากษาในศาลมุสลิมประจำท้องถิ่นก็จะทำหน้าที่นำกฎหมายอิสลามมาบังคับใช้  รวมถึงกฎหมายทางโลกที่สุลต่านออกประกาศบังคับใช้แก่ผู้อยู่ใต้อำนาจรวมถึงชนชั้นปกครองด้วย  กอฎีจะต้องให้ความเชื่อมั่นว่าศาลจะให้ความยุติธรรมแก่ทุกคนได้  การฟ้องร้องจะต้องดำเนินการอย่างรวดเร็วและยุติธรรมแก่ทุกคนได้  โดยไม่ได้แยกชนชั้นวรรณะและไม่มีการแทรกแซงจากใครทั้งสิ้น  แม้แต่ทนายความเองก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะไปช่วยปกป้อง  ผู้หญิง  เด็ก  และเด็กกำพร้าเป็นกรณีพิเศษ
                หน้าที่สำคัญของกอฎี  คือ  สอบสวนคดีต่างๆ  เรียกตัวพยานและลงโทษผู้กระทำความผิด  กอฎีได้รับความช่วยเหลือจากเจ้าเมือง  (sancak bey)  ประจำท้องถิ่นและหัวหน้าตำรวจ  และกอฎีได้รับการยอมรับให้มีอำนาจในท้องถิ่นร่วมกัน
                โดยปกติทุกๆเมือง จะมีหัวหน้าตำรวจประจำเมือง มีอำนาจจับกุมโจรผู้ร้ายตามขอบเขตอำนาจของตนและตามดุลยพินิจของกอฎี
                กอฎียังต้องรับผิดชอบการบริหารท้องถิ่นอีกด้วย  ต้องควบคุม  ตรวจตราผู้บริหารในเขตของตน  ต้องรับผิดชอบออกเอกสารสำคัญ  รับรองบัญชีรายชื่อประเมินภาษีและบัญชีจัดเก็บให้ความเป็นกลาง  หากเกิดความขัดแย้งขึ้นในศาล  บางครั้งยังให้อำนาจและบังคับแก่ข้าราชการท้องถิ่นที่ถูกปลดออก  จากการละเมิดกฎหมายให้คงรักษาการในตำแหน่งจนกว่าตัวแทนจากเมืองหลวงจะมาถึง
                สำหรับรายได้สูงสุดสำหรับกอฎีคือ  150  อักแจ /วัน  ขณะที่ขั้นต่ำได้รับต่ำกว่า  40  อักแจ/วัน  มีรายได้เพิ่มจากค่าธรรมเนียมที่เก็บในศาล  จากผู้ที่เกี่ยวข้องในคดีต่างๆ หรือจากเอกสารต่างๆ  ที่กอฎีออกให้เพื่อรับรองการเกิด  การแต่งงาน  การตาย  และอื่นๆ  นอกจากนี้ยังได้รับเงินจำนวนมากจากค่าปรับ  จากการให้คำแนะนำแก่ผู้บริหารองค์กรท้องถิ่น  กอฎียังมีสิทธิแต่งตั้งครู  และลูกจ้างใน  mekteb  ท้องถิ่นและ  medrese  เชื่อกันว่ากอฎียังมีสิทธิ์ที่จะคืนค่าธรรมเนียมผู้เข้าสอบแก่ผู้ที่ประสบความสำเร็จ
                กอฎีในเมืองหลวง  (อิสตันบูล)  ได้รับรายได้  500  อักแจ/วัน  กอฎีอิสตันบูลมีหน้าที่ควบคุมการตรวจตรา  การตลาด  และควบคุมราคาในเมือง  ควบคุมการสร้างอาคาร  การดูแลการจำหน่ายน้ำ  และการสุขาภิบาล  งานดังกล่าวมีผู้ช่วยคือ  ihtisap aga”  (รับผิดชอบเรื่องตลาด) , mimarbasi”  (งานอาคารและถนนหนทาง) , subasi”  (ตำรวจเทศบาล)  และ  capluk”  (รับผิดชอบงานทำความสะอาดถนนและงานในลักษณะเดียวกัน)
                ตำแหน่งผู้พิพากษาของประเทศในระดับเขตจัดอยู่ใน  mevleviyet”  และผู้ที่อยู่ในตำแหน่งเรียกว่า  มอลลา (molla)”  การแต่งตั้งผู้พิพากษาสูงสุดของประเทศให้มีขึ้นภายใน  1  ปี  การแต่งตั้งกอฎีให้มีขึ้นภายในเวลา  20  เดือน  นับจากตำแหน่งดังกล่าวว่างลง
                ตามปกติแล้วช่วงที่แต่งตั้งกอฎียังมีตำแหน่งอื่นๆ อีกได้แก่  ผู้สมัครที่เหมาะสม  เช่น  กอฎี “toprak”  ทำหน้าที่เป็นตัวแทนกอฎีไปยังที่ต่างๆ  ในเขตของกอฎี  กอฎีนี้จะไปตรวจสอบการกระทำอันมิชอบตามกฎหมาย  ผิดระเบียบต่างๆ  ของท้องถิ่น  กอฎีนี้ยังถูกส่งเป็นผู้สังเกตการณ์ความไม่ยุติธรรม  รับฟังข้อร้องทุกข์  และกอฎีอาจส่งข้อร้องทุกข์ดังกล่าวไปยังกอฎีทหาร  (kazaskar)  หรือสภาสูงสุด  (imperial council)  กอฎีในระดับสูงได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้พิพากษาทางทหาร  เพื่อทำหน้าที่กอฎีทหารในขณะที่กอฎีทหารไม่อยู่
                3)  มุฟตี  (mufti)
                มุฟตี เป็นผู้ประกาศคำฟัตวาหรือข้อวินิจฉัย  เพื่อตอบปัญหาที่กอฎีเสนอให้ หรือเจ้าหน้าที่เป็นผู้เสนอ  หรือแม้แต่สามัญชนที่ต้องการอำนาจทางกฎหมายมาสนับสนุนตนเองในกรณีใดกรณีหนึ่ง  มุฟตีไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือทำการพิพากษาเป็นการส่วนตัว  มุฟตีต้องปัญหาบนรากฐานที่มีอยู่ในประมวลกฎหมาย  มุฟตีแต่ละคนสามารถหาคำตอบในสิ่งที่ตนต้องการโดยเลือกประมวลกฎหมายที่เหมาะสมกับสถานการณ์  กอฎีหรือผู้อื่นที่หาคำตอบในเรื่องใด  หากอ้างถึงมุฟตีถือว่าได้เปรียบที่สุดในการสนับสนุนการตัดสินใจของตน
                อุลามาอหลายท่านมีคุณวุฒิที่จะประกาศตนเองให้เป็นมุฟตีได้  หากมีผู้คนต้องการคำฟัตวา  (ตัดสินวินิจฉัย)  ในสมัยสุลต่านสุไลมานที่ 1  พระองค์พยายามตั้งองค์กรมุฟตีขึ้นโดยมีสำนักงานผู้นำมุสลิมในราชอาณาจักร (ไซคุลอิสลาม)
                ไซคุลอิสลาม  (ผู้นำมุสลิม)  เป็นผู้แต่งตั้งมุฟตีทางการในทุกเมืองใหญ่ๆ  ทำหน้าที่วินิจฉัยปัญหาต่างๆ  เมื่อกอฎีหรือเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่แคว้นต่างๆ ต้องการ  มุฟตีนี้เป็น  อุลามาอที่ได้ศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย  มุฟตีส่วนมากก็ยึดแนวทางฮานาฟีเป็นหลัก  เพราะฮานาฟีเป็นนิกายทางการ  แต่มุฟตีในอียิปต์  ซีเรีย  มาดีนะห์  และมักกะห์  ได้รับการแต่งตั้งโดยการขอร้องของข้าหลวงหรือผู้นำศาสนา  มุฟตีไม่มีเงินเดือนประจำ  มีรายได้จากค่าธรรมเนียมในการประกาศคำวินิจฉัย  บางครั้งจะเรียกเก็บจากทรัพย์สินส่วนบุคคลที่ขอคำวินิจฉัย  (ฟัตวา)  สำหรับมุฟตีที่รัฐบาลแต่งตั้งจะได้รับค่าธรรมเนียมเป็นการถาวรจากพระคลังและยังได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำปหน่งอื่นๆ อีก  เป็นผู้บริหารองค์กรต่างๆ  และเป็นผู้ไกล่เกลี่ยมรดก  นอกจากนี้ยังมีมุฟตีเอกชน  ประกาศคำวินิจฉัยเป็นรายบุคคล  บางครั้งคำวินิจฉัยขัดแย้งกับมุฟตีทางการ
                4)  อุลามาอชั้นผู้น้อย  (lesser ulama
                อุลามาอชั้นผู้น้อยเป็นชนชั้นปกครองเพราะเป็นผู้ที่มีความรู้  ทำหน้าที่เป็นอิหม่ามตามมัสยิดต่างๆ  เป็นผู้นำละหมาดให้ประชาชนทั่วไป  และทำหน้าที่เป็นหัวหน้าของมัสยิด  เป็นคอเต็บ  อ่านคุฏบะฮ์ในวันศุกร์  อุลามาอบางคนทำหน้าที่เป็นผู้นำศาสนา  แนะนำ  อบรมประชาชน  ตามภารกิจและหน้าที่ของศาสนา  บางครั้งก็เป็นนักเผยแผ่ศาสนาในมัสยิดทุกวันสุดสัปดาห์  อุลามาอบางคนเป็นมุอัซซินทำหน้าที่เชิญชวนชาวมุสลิมให้ทำการละหมาดตามเวลาที่กำหนด  อุลามาอดังกล่าวได้รับการแต่งตั้งและค่าใช้จ่ายจากผู้ดูแลเงินบริจาค  ซึ่งมีขึ้นเพื่อสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ  หรือจากบุคคลที่ขอความช่วยเหลือ  ในระยะหลังได้พัฒนาเป็นผู้บริจาค  ซึ่งทำให้เขาได้รับรายได้มากขึ้น  และมีอำนาจทั้งด้านการศึกษาและกฎหมายมากกว่าแต่ก่อน
อ้างจากเอกสารประกอบการสอนรายวิชาหลักการบริหารในอิสลาม3 สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา

วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2554

สถาบันการศึกษาในอาณาจักรอุษมานียะห์หรือออตโตมาน

ภาพการศึกษาในอาณาจักรออตโตมาน

                สถาบันการศึกษาหรือองค์การที่ดำเนินกิจกรรมทางการศึกษามีความสำคัญยิ่งในแต่ละราชวงศ์และเป็นปัจจัยสำคัญในความอยู่รอดของแต่ละราชวงศ์และแต่ละราชอาณาจักร  อาณาจักรออตโตมานให้ความสำคัญต่อการศึกษาเหมือนกับอาณาจักรอิสลามอื่นๆ  ในอดีตประกอบกับอาณาจักรออตโตมานได้แผ่ขยายอาณาเขตครอบคลุมดินแดนในเปอร์เซีย  ซีเรีย  อียิปต์  ตุรกีสถาน  ซึ่งล้วนแต่เป็นศูนย์กลางทางการศึกษาและอารยธรรมในสมัยนั้น  ทำให้การศึกษาในอาณาจักรออตโตมานทวีความคึกคักมากขึ้น  จนกลายเป็นยุคทองทางการศึกษาในคริสต์ศตวรรษที่ 16  องค์การหรือสถาบันที่เกี่ยวกับกิจกรรมทางการศึกษาในอาณาจักรออตโตมานสรุปได้  ดังนี้

                1.  มักตาบศิบยาน  (sibyan mektepleri
                มักตาบศิบยานเป็นสถาบันการศึกษาที่จัดการเรียนการสอนในระดับปฐมศึกษา  สถาบันนี้เดิมเรียกว่า  กุตตาบ  (kuttab)  หรือบางครั้งเรียกว่าดารุลตะลีม  (daru’l-ta’lim)ดารุล  หุฟฟาษ  (karu’l-huffaz)  หรือเรียกว่ามักตาบ  (maktab)  เฉยๆ  ทุกหมู่บ้านหรือชุมชนของอาณาจักรออตโตมาน  ส่วนใหญ่จะมีสถาบันนี้  อาคารของมักตาบศิบยานจะเป็นอาคารที่เรียบง่าย  บางครั้งจะสร้างติดกับมัสยิด  หรือติดกับจวนของชนชั้นผู้ปกครองในหมู่บ้านนั้นๆ  หรือบางหมู่บ้านก็จะสร้างเป็นอาคารต่างหาก  มักตาบศิบยานในบางพื้นที่เป็นสหศึกษาคือรวมเด็กชายและเด็กหญิง  สถาบันนี้ส่วนใหญ่อยู่ภายใต้การดูแลขององค์กรมูลนิธิการกุศล (awaf
                มักตาศิบยาน  จะรับบุตรธิดาของชาวมุสลิมทุกคนที่มีอายุครบ 5 ขวบเข้าศึกษาโดยไม่จำกัดชนชั้นวรรณะ  ผู้ปกครองที่มีลูกหลานอายุย่างเข้า 5 ขวบจะทำพิธีที่เรียกว่าอามีน  อะลาเยอ (amin alayi)  หรือพิธีบัดอีย์  บัสมะละห์  (bed-i besmele)  ในการส่งลูกหลานเข้าเรียนในมักตาบศิบยาน   ครูที่ทำหน้าที่สอนในสถาบันดังกล่าวนี้ส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาในระดับมัดราซะห์  หรือบรรดาอิหม่าม  มุอัสซิน  หรือผู้ดูแลมัสยิด (kayyum)  ที่รู้หนังสือสามารถอ่านออกเขียนได้  ส่วนครูที่ทำหน้าที่สอนในมักตาบศิบยานประเภทสหศึกษาหรือเด็กหญิงล้วนเป็นครูสตรีที่รู้หนังสือ  มีประสบการณ์และเป็นผู้ท่องจำอัลกุรอาน (hafizah)  มักตาบศิบยานมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนรู้หนังสือ   อ่านออกเขียนได้   สามารถอ่านอัลกุร
อานได้อย่างถูกต้อง  และเข้าใจหลักการพื้นฐานของศาสนา  มักตาบศิบยานในบางพื้นที่นอกจากสอนวิชาที่เกี่ยวกับศาสนาแล้ว  ยังสอนวิชาเรขาคณิตเบื้องต้น  และวิชาวรรณกรรมอีกด้วย

               
2.  มัดราซะห์  (madrese
                มัดราซะห์  เป็นสถานที่ที่มีบทบาทเกี่ยวกับการศึกษาที่สำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์อิสลาม  โดยเฉพาะอย่างยิ่งมัดราซะห์นิศอมิยยะห์  (madrasah nizamiyyah)  ซึ่งเกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่11 สถาบันมัดราซะห์จัดตั้งขึ้นเริ่มแรกเพื่อวัตถุประสงค์การผลิตนักฟิกฮ (นักกฎหมายอิสลาม)  โดยเฉพาะ  ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 13  มีสถาบันมัดราซะห์ที่เน้นเฉพาะทางในสาขาอื่นๆ เกิดขึ้น  เช่น  มัดราซะห์หะดีษ (madarisu’l-tafsir)  มุ่งเน้นการผลิตนักอรรถาธิบายอัลกุรอานมัดราซะห์นะห์วุ (madarisu’l-nahv)  ที่เน้นผลิตนักภาษาศาสตร์  เป็นต้น
                ในดินแดนอนาโตเลียมีมัดราซะห์เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายมาแต่อดีตก่อนการสถาปนาอาณาจักรออตโตมาน  ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 14  มีสถาบันมัดราซะห์เกิดขึ้นมากมายในหัวเมืองหลักของอนาโตเลีย  เช่น  เมืองคอนยา (konya)  มีมัดราซะห์ถึง  24  แห่ง  เมืองมาดิน (mardin)  และเมืองสีวัส (sivas)  หัวเมืองละ  13  แห่ง  และหัวเมืองไกยสารีมีมัดราซะห์ถึง  11  แห่ง  นอกจากนี้หัวเมืองรองต่างๆ  เช่น  เมืองสีวรีหิซาร์ (sivrihisar)  เมืองอักซาฮีร  เมืองดิแร (tire)  เมืองอักสาราย  เมืองแอร์ซูรูม  เมืองดิยารบากิรหรือเมืองการามาน  มีมัดราซะห์เมืองละไม่น้อยกว่า 4-6 แห่ง
                ในยุคราชวงศ์ออตโตมานมีการสร้างสถาบันมัดราซะห์ครั้งแรกในสมัยของสุลต่านอรฮันที่เมืองอิซนิกในปี ฮ.ศ. 731 (ค.ศ.1130) กล่าวคือ  เมื่อสุลต่านอรฮันพิชิตเมืองอิซนิกได้สำเร็จ  พระองค์ทรงมีกระแสรับสั่งให้สร้างมัสยิดและมัดราซะห์ขึ้นและพระองค์ทรงแต่งตั้ง  mawlana dawud al-kayseri  ซึ่งเป็นอุลามะอในระดับแนวหน้าในมัยนั้นเป็นผู้ดูแลมัดราซะห์ดังกล่าว  แนวการปฏิบัติของสุลต่านอรฮันกลายเป็นประเพณีของกองทัพออตโตมานเมื่อสามารถพิชิตดินแดนใหม่ก็จะสร้างมัสยิดและมัดราซะห์ขึ้นในดินแดนพิชิตใหม่นั้น  ซึ่งทำให้จำนวนมัดราซะห์ในดินแดนอาณาจักรออตโตมานทวีมากขึ้นอย่างรวดเร็ว  ในระหว่างปี ค.ศ.1331-1451  ในดินแดนอาณาจักรออตโตมานมีสถาบันมัดราซะห์ถึง  82  แห่ง  และเพิ่มจำนวนเรื่อยๆ โดยเฉลี่ย 3 ปีจะมีมัดราซะห์ใหม่ๆ  เกิดขึ้นอย่างน้อย  2  แห่ง (e.ihsanoglu,1998:237
                ในสมัยสุลต่านเมห์เมด  อัลฟาติห์ (mehmed al-fatih)  พระองค์ทรงสร้างมัดราซะห์ษะมานียะห์ (semaniye medreseleri)  ขึ้นในบริเวณรอบๆ  มัสยิดอัลฟาติห์ (fatih camii)  ซึ่งประกอบด้วยมัดราซะห์ชั้นสูง  (sahn)  8 โรง  และมัดราซะห์ระดับรองลงมาที่เรียกว่าแตติมมะห์ (tetimme)  อีก 8 โรง  รวมแล้วบริเวรรอบๆ  มัสยิดอัลฟาติห์มีมัดราซะห์ถึง  16 โรง  นอกจากนี้ประตูด้านทิศตะวันตกของมัสยิดยังมีดารุลตะลีม (darul-ta’lim)  ซึ่งเป็นสถาบันจัดการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษาอีก 1 โรง  พระองค์ทรงวางแผนที่จะให้กรุงอิสตันบูลเป็นศูนย์การศึกษาในภูมิภาคนี้
                บทบาทของมัดราซะห์ในยุคก่อนสุลต่านเมห์เมด  อัลฟาติห์  ส่วนใหญ่จะเน้นในเรื่องศาสนาเท่านั้น  แต่มัดราซะห์  ษะมานียะห์  ของพระองค์มีการจัดการเรียนการสอนในวิชาสามัญ  หรือที่เรียกว่าวิชาอุลูมุลอักลียยะห์ (ulumul-aqliyyah)  อีกด้วย  เช่น  วิชาคณิตศาสตร์  ตรรกศาสตร์  ปรัชญา  วรรณคดี  เป็นต้น  อาจารย์ที่สอนในมัดราซะห์นั้นจะได้รับค่าตอบแทนที่แตกต่างกันตามระดับของมัดราซะห์  ซึ่งเริ่มตั้งแต่  20  อัคแจ (akge)  จนถึง 50 อักแจต่อวัน
                ในยุคคลาสสิคของอาณาจักรออตโตมานมีการแบ่งประเภทและระดับมัดราซะห์ออกมาเป็น  5  ระดับ  ดังนี้
                1.  มัดราซะห์หาซิยะห์  ตัจรีด (hasiye-i  tacrid
                หมายถึงมัดราซะห์ที่ใช้ตำราหะซิยะห์ตัจรีด  เป็นตำราหลักในการเรียนการสอน  ตำรานี้ดั้งเดิมมีชื่อว่าตัจรีดดุลกะลาม  (tecridul-kelam)  แต่งโดยนาศีรุดดีน  อัลตูสี (nasiruddin al-tusi  เสียชีวิตปี ฮ.ศ. 672/ค.ศ. 1273)  และมีการเขียนอธิบายโดยซัมซุดดีน  มะห์มูด  บิน  อบีอัลกอซีม  อัลอิสฟาหานีย์ (semsuddin mahmud b.ebi al-qasim al-isfahani  เสียชีวิตในปี ฮ.ศ.746/ค.ศ.1345)  ต่อมาสัยยิด  ซารีฟ  อัลกุรกานีย์ (seyyid serif al-gurgani เสียชีวิตในปี ฮ.ศ.816/ค.ศ.1413)  ได้เขียนอธิบายเพิ่มเติมต่อในลักษณะเชิงอรรถ
รอบข้างหรือที่เรียกว่าหาซิยะห์ (hasiye)  อาจารย์ที่สอนในมัดราซะห์ระดับดังกล่าวนี้จะได้รับค่าตอบแทนในอัตราวันละ 20-25  อักแจ
                2.  มัดราซะห์มิฟตาห์  (miftah
                หมายถึงมัดราซะห์ที่ใช้ตำรามิฟตาห์  (miftah)  นิพนธ์โดยสิรอญุดดีน  ยูซุฟ  อัลสักกากีย์  (siracuddin yusuf al-sakkaki  เสียชีวิตในปี ฮ.ศ.626/ค.ศ.1228)  เป็นตำราหลักในการเรียนการสอน  อาจารย์ที่สอนในระดับมัดราซะห์มิฟตาห์จะได้รับค่าตอบแทนในอัตราวันละ  30  อักแจ
                3.  มัดราซะห์ตัลวีค  (telvih
                หมายถึงมัดราซะห์ที่ใช้ตำราของศอดรุสสาเรีย  อุไบยดุลลอฮ     อัลบุคอรีย์     (sadrus
seria ubeydullah al-bukhari  เสียชีวิตในปี ฮ.ศ.747/ค.ศ.1346)ชื่อ  ตันกีหุลอุศูล (tenkihul usul)  และเตาฎีหูลตันกีห  (tavdhihul tenkih)  เป็นตำราหลักในการเรียนการสอน  อาจารย์ที่สอนในมัดราซะห์ระดับนี้จะได้รับค่าตอบแทนในอัตราวันละ  40  อักแจ 
                4.  มัดราซะห์คอริจ (haric)
                มัดราซะห์คอริจเป็นมัดราซะห์ที่มีระดับสูงกว่ามัดราซะห์ทั้งสามที่กล่าวมาข้งต้น  มัดราซะห์คอริจ  คือ  มัดราซะห์เก่าแก่ที่มีอยู่เดิมก่อนการสถาปนาอาณาจักรออตโตมาน  ซึ่งสร้างขึ้นโดยขุนนาง  ข้าหลวง  วิเซียร์  หรือชนชั้นปกครองสมัยอาณาจักรเซลจูก  หรือผู้ปกครองรัฐในอนาโตเลียในอดีต อาจารย์ที่สอนในมัดราซะห์ระดับดังกล่าวนี้ จะได้รับค่าจ้างในอัตราวันละ  50  อักแจ
                5.  มัดราซะห์ดาคิล  (dahil)
                หมายถึงมัดราซะห์ที่สร้างขึ้นโดยสุลต่านหรือปาดีซะห์แห่งราชวงศ์ออตโตมาน  หรือสร้างโดยพระบรมวงศานุวงศ์ทั้งหลาย  มัดราซะห์ดาคิลแบ่งเป็น  2  ระดับ  คือ
                5.1)  มัดราซะห์แตติมมะห์  (tatimme)  มัดราซะห์มุศีลาอิ  ศ็อห์น  (musila-i sahn)  อาจารย์ที่ทำหน้าที่สอนนักศึกษาในระดับมัดราซะห์แตติมมะห์นี้จะได้รับค่าจ้างในอัตราวันละ  50  อักแจ
                5.2)  มัดราซะห์ศ็อห์น  (sahn)  คือสถาบันการศึกษาชั้นสูงสุดในระบบมัดราซะห์  ของอาณาจักรออตโตมาน  มัดราซะห์นี้ทำหน้าที่ผลิตอุลามาอ  กอฎี  (ผู้พิพากษา)  ไซดุลอิสลาม  และนักปราชญ์เพื่อรับใช้อาณาจักร  ครูบาอาจารย์ในมัดราซะห์ศ็อห์นส่วนใหญ่เป็นบรรดาอุลามาอ  และนักปราชญ์ชั้นแนวหน้าของอาณาจักรออตโตมาน



                ในสมัยสุลต่านสุไลมาน  กอนูนีย์  สถาบันมัดราซะห์ได้พัฒนามากขึ้น  พระองค์นอกจากสร้างมัดราซะห์ศ็อห์น (sahn)  ถึง  4  โรง  และมักตาบศิบยาน  (sibyan)  อีก 1 โรงแล้ว  พระองค์ยังได้สร้างมัดราซะห์เฉพาะทางในเรื่องสาขาวิชาหะดีษซึ่งเรียกว่าดารุลหะดีษ  (darul hadith)  นอกจากนี้พระองค์ยังได้สร้างวิทยาลัยการแพทย์  โดยใช้ชื่อว่าดารุตตีบ  (darul-tib)  และวิทยาลัยการเภสัชกรรม  (darul-adviye)  พร้อมกับโรงพยาบาลและโรงอาหารสาธารณะหรือที่เรียกว่าดารุสสิยาฟะห์  (daruz-ziyafe)  ขึ้นในรอบๆ บริเวณมัสยิดของพระองค์  (มัสยิดสุไลมานียะห์)
                ในตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18  มีการปรับปรุงสถาบันมัดราซะห์ใหม่  โดยการจัดระดับชั้นมัดราซะห์  ดังนี้
                1.  มัดราซะห์อิบตีดาอีย์  คอริจ  (ibtida-i  haric)  คือมัดราซะห์คอริจชั้นต้น
                2.  มัดราซะห์อิกินญี  คอริจ  (ikinci haric)  คือมัดราซะห์คอริจชั้นสอง
                3.  มัดราซะห์  อิบตีดาอีย์  ดาคิล  (ibtida-i dahil)  คือมัดราซะห์ดาคิลชั้นต้น
                4.  มัดราซะห์อิกินญี  ดาคิล  (ikinci dahil)คือมัดราซะห์ดาคิลชั้นสอง
                5.  มัดราซะห์  มุศีลาอี  ศ็อห์น  (musila  sahn)
                6.  มัดราซะห์  (sahn)
                7.  มัดราซะห์อิบตีดาอีย์  อัตมิซเลอ  (ibtida-i atmisli)  คือมัดราซะห์ที่มีอัตราค่าจ้าง
                     อาจารย์วันละ  60  อักแจ  ชั้นต้น
                8.  มัดราซะห์อีกินญี  อัตมิซเลอ  (ikinye atmisli)  คือมัดราซะห์ที่มีอัตราค่าจ้างวันละ 
                     60  อักแจชั้นสอง
                9.  มัดราซะห์มุศิลาอี  สุไลมานีแย  (musila-i suleymaniye)  คือมัดราซะห์ชั้นเตรียม
                     นักศึกษาเพื่อสู่ระดับมัดราซะห์สุไลมานีแย
                10.มัดราซะห์สุไลมานีแย  (suleymaniye madresesi)  คือสถาบันการศึกษาชั้นสูง
                      สุดในระดับมัดราซะห์
                11.มัดราซะห์ฮาวามิซี  สุไลมานีแย (havamis-i suleymaniye)  เป็นระดับชั้นมัดรา
                         ซะห์ที่เกิดขึ้นใหม่โดยรวมระหว่างมัดราซะห์มุศิลาอี  สุไลมานีแย  กับมัดราซะห์
                         สุไลมานีแยเข้าด้วยกัน
                นอกจากนี้  ยังมีมัดราซะห์เฉพาะทางในสาขาวิชาต่างๆ  เช่น  ดารุลหะดีษ  (darul hadith)  เป็นสถาบันการศึกษาเฉพาะทางในสาขาวิชาหะดีษ  มุอัลลิมฮาแนอิ  นุววาบ  (muallimhane-i nuvvab)  มักตาบนุววาบ  (mektab-i nuvvab)  มัดราซะห์กุฎอต  (madresetul kuzat)  ทั้ง 3 เป็นสถาบันเฉพาะในการผลิตกอฎี  (ผู้พิพากษา)  มัดราซะห์อะอิมะห์  อัล  คุฎอบาต  (madresetul-eimme ve’l hutaba)  และมัดราซะห์อิรซาด  (madresetu’l irsad)  เป็นมัดราซะห์เฉพาะทางในการผลิตอิหม่าม  นักเผยแผ่ศาสนา  และนักเทศนาธรรม  นอกจากนี้ ยังมีมัดราซะห์ที่เน้นเฉพาะในเรื่องศิลปะการเขียนตัวอักษร  เรียกว่า  มัดราซะห์คอตตาตีน  (madresetu’l hattatin)
                จำนวนมัดราซะห์ของอาณาจักรออตโตมานตามหัวเมืองหลักต่างๆ  สรุปเป็นตารางได้ดังนี้
ชื่อเมือง
คริสต์
ศต.ที่14
คริสต์
ศต.ที่15
คริสต์
 ศต.ที่16
ไม่สามารถกำหนดได้
รวม
เมืองอิซนิก
4



4
เมืองบุรซา
19
11
16

36
เมืองแอดิรแน
1
20
10

31
เมืองอิสตันบูล

23
113
6
142
อนาโตเลีย
12
31
32
13
88
แหลมบอลข่าน
4
12
18
5
39
ซีเรีย


3

3
แหลมอาราเบีย (hicaz)


6

6
เยแมน


1

1
รวม
40
97
189
24
350
                จำนวนมัดราซะห์ในดินแดนออตโตมานในพื้นที่ยุโรป  (rumeli)  สรุปเป็นตารางได้ดังนี้
ชื่อประเทศ
จำนวนมัดราซะห์
กรีซ
189
บัลแกเรีย
144
อัลบาเนีย
28
บอสเนีย,เฮอร์เซโกวินา,โครเอเซีย,มอนเตนิโกร
105
โคโซโว,มาซิโดเนีย,เซอร์เบีย,สโลวิเนีย,โวจโวดินา
134
โรมาเนีย
9
ฮังการี
56
รวม
665
                ต่อมาในเดือนซุลเกาะดะห์ ปี ฮ.ศ.1332  (ค.ศ.1914)  มีการตราพระราชกฎหมายปรับปรุงสถาบันมัดราซะห์ครั้งใหญ่  โดยยุบรวมสถาบันมัดราซะห์ทั้งหมดที่มีอยู่ในเมืองหลวงกรุงอิสตันบูลให้เป็นมัดราซะห์เดียวภายใต้ชื่อว่ามัดราซะห์ดารุลคิลาฟะติลอาลียยะห์ (darul-hilafeti’l-aliyye madresesi= แปลว่ามัดราซะห์ชั้นสูงแห่งเมืองคอลิฟะห์)  และได้แบ่งระดับการศึกษาออกเป็น  3  ระดับคือ  ระดับต้น (tali kismi evvel) ระดับกลาง (tali kismi sani) และระดับสูง  (ali kismi)  โดยในแต่ละระดับใช้เวลาการศึกษา  4  ปี
                มัดราซะห์มีบทบาททางการศึกษาของอาณาจักรออตโตมานเรื่อยมาจนถึงช่วงต้นของสาธารณรัฐตุรกี ซึ่งต่อมาได้ยกเลิกสถาบันมัดราซะห์ และได้จัดตั้งสถาบันอิหม่ามคอติบ  (imam hatip mektebi)  เป็นสถาบันการศึกษาศาสนาระดับมัธยม  และคณะอิลาฮิยาด  (ilahiyat fakultesi)  เป็นการศึกษาศาสนาระดับอุดมศึกษาขึ้นแทน  โดยทั้งสองขึ้นอยู่กับกระทรวงศึกษาธิการ
                3.  สถาบันตำหนักใน  (enderun mektebi
                ในตำหนักใน  นอกจากเป็นที่ปฏิบัติงานของขุนนางชั้นผู้ใหญ่แล้ว  ยังเป็นสถานศึกษาที่สำคัญยิ่งของอาณาจักรออตโตมานรองจากสถาบันมัดราซะห์  การศึกษาในตำหนักในนั้นมีเป้าหมายเพื่อผลิตขุนนางข้าราชการทั้งฝ่ายบริหาร  ทหาร  ตุลาการ  และบุคคลสำคัญของรัฐ  ทั้งนี้เพื่อรับใช้พระราชสำนักและอาณาจักร  การศึกษาในตำหนักในมีความแตกต่างกัน  การศึกษาในสถาบันมัดราซะห์ คือนักศึกษาในตำหนักในทุกคนจะต้องเรียนวิชาการทหารและบริหารพร้อมกับฝึกปฏิบัติในภาคสนามจริงอีกด้วย  ระบบการศึกษาในตำหนักในจะมีโปรแกรมและแบ่งระดับชั้นที่ชัดเจนเพื่อกลั่นกรองแยกความสามารถและความถนัดของนักศึกษาแต่ละท่านได้อย่างชัดเจน 




                4.  สถานพยาบาล  (sifahane)  และวิทยาลัยการแพทย์  (daru’t-tib)
                สถานพยาบาลในอดีต นอกจากให้บริการด้านสุขภาพและสาธารณสุขแล้ว ยังเป็นสถานศึกษาวิชาการแพทย์อีกด้วย  ในประวัติศาสตร์อิสลามสถานพยาบาลเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยของสุลต่านวาลีด  บิน  อับดุลมาลีก  (walid b. abdulmalik  ครองราชย์ระหว่างปี ค.ศ.705-715)  แห่งราชวงศ์อุมัยยะห์  และมีความเจริญก้าวหน้ามากมายอย่างแพร่หลายในหัวเมืองหลักต่างๆ  ทั้งในซีเรีย  เปอร์เซีย  และอนาโตเลีย
                ในสมัยราชวงศ์ออตโตมานมีการสร้างสถานพยาบาลครั้งแรกที่เมืองบุรซาในสมัยของสุลต่านบายาซิดที่ 1  (ค.ศ.1360-1403)  สถานพยาบาลในสมัยราชวงศ์ออตโตมานมีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน  เช่น  ดารุซซิฟาอ  (daru’s-sifa)  ดารุศหหะห์  (daru’s-sihha)  ซิฟาฮาแน  (sifahane)  บิมาริสถาน  (bimaristan)  บิมารฮาแน  (bimarhane)  หรือติมารฮาแน  (timahane

                ในเมืองหลวงอิสตันบูลมีสถานพยาบาลเกิดขึ้นหลายแห่งตามยุคสมัยของสุลต่านแต่ละองค์  ส่วนสถานพยาบาลแห่งแรกของเมืองอิสตันบูลคือ  สถานพยาบาลดารุซซิฟาอของสุลต่านเมห์เมดอัลฟาติห์  ซึ่งสร้างขึ้นในปี ค.ศ.1470  เป็นสถานพยาบาลขนาด  70  ห้องผู้ป่วย  ในปี ค.ศ.1488  สุลต่านบายาซิดที่ 2  (ค.ศ.1450-1512)  ได้สร้างสถานพยาบาลเบยาซิดดารุซซิฟาอ  (bayezid daru’s-sifa)  ขึ้นที่เมืองแอดิรแน  โดยเน้นการรักษาพยาบาลเกี่ยวกับโรคตาและโรคประสาท
                ในปี ค.ศ.1550  สุลต่านสุไลมานทรงสร้างสถานพยาบาลดารุซซิฟาอขึ้นในรอบๆ บริเวณมัสยิดของพระองค์  สถานพยาบาลดารุซซิฟาอของสุลต่านสุไลมานเป็นสถานพยาบาลชั้นแนวหน้าที่สุดของอาณาจักรออตโตมาน  พระองค์ได้แยกการศึกษาวิชาการแพทย์จากสถานพยาบาล  โดยทรงจัดตั้งวิทยาลัยการแพทย์ขึ้น  ใช้ชื่อว่า  สุไลมานียะห์  ดารุตติบบี  (suleymaniye daru’t-tibbi)  เพื่อผลิตแพทย์โดยเฉพาะ  นับว่าเป็นวิทยาลัยการแพทย์แห่งแรกของราชวงศ์ออตโตมาน  นักศึกษาที่ประสงค์จะเข้าศึกษาในวิทยาลัยการแพทย์นี้จะต้องจบการศึกษาระดับมัดราซะห์คอริจและดาคิลชั้นต้น  พร้อมกับต้องผ่านชั้นเตรียมมัดราซะห์สุไลมานีแย  (tetimme)  นักศึกษาแพทย์จะเรียกภาคทฤษฎีที่วิทยาลัยการแพทย์สัปดาห์ละ  4  วัน  ที่เหลือจะฝึกปฏิบัติที่สถานพยาบาลดารุซซฺฟาอ   ผู้ที่สำเร็จการศึกษาจะได้รับประกาศนีย
บัตรตามรายวิชาและตำราที่ได้เรียนมา  ในปีเดียวกับนางฮาแสกี  ฮุรเร็ม  สุลต่าน (haseki hurrem sultan)  พระมเหสีของสุลต่านสุไลมานได้สร้างสถานพยาบาลอีกแห่งหนึ่งในอิสตันบูล  โดยใช้ชื่อว่าฮาแสกี  ดารุซซิฟาอ  ซึ่งต่อมาให้จัดเป็นสถานพยาบาลสำหรับสตรีโดยเฉพาะจนถึงปี ค.ศ.1884  และได้เปลี่ยนเป็นสถานพยาบาลโรคประสาท  โรงพยาบาลฮาแสกี  ยังคงดำเนินกิจการอยู่จนถึงปัจจุบันนี้



                ในปี ค.ศ.1583  นูร  บานู  สุลต่าน  (เสียชีวิตปี ค.ศ.1583)  พระมหสีของสุลต่าน  ซาเล็มที่ 2  ได้สร้างสถานพยาบาล  วาลิแด  อะตึก  ดารุซซิฟาอ  (valideatik daru’s sifa)  ขึ้นที่อุสกุดาร  (uskudar)  ในเมืองอิสตันบูล  ต่อมาในปี ค.ศ.1617  สุลต่านอะห์มัดที่ 1  ทรงสร้างสถานพยาบาลสุลต่านอะห์มัด  ดารุซซิฟาอขึ้นที่เมืองอิสตันบูลเช่นกัน  หลังจากปี ค.ศ.1800  เป็นต้นมาอาณาจักรออตโตมานเริ่มมีความสัมพันธ์กับตะวันตกมากขึ้นและเริ่มมีโรงพยาบาลและวิทยาลัยการแพทย์สมัยใหม่เกิดขึ้น  ในปี ค.ศ.1805  รัฐบาลออตโตมานเริ่มก่อตั้งวิทยาลัยการแพทย์พร้อมกับโรงพยาบาลสมัยใหม่ขึ้นที่เขตกาซึม  ปาซา  (kasimpasa)  ในอิสตันบูล  แต่ดำเนินการได้ไม่นานถูกไฟไหม้ในปี ค.ศ.1822  อาคารเสียหายหมดจนต้องปิดดำเนินการในที่สุด  ต่อมาในปี ค.ศ.1839  รัฐบาลออตโตมานได้สร้างสถาบันการแพทย์สมัยใหม่โดยใช้ชื่อว่ามักตาบ  ติบบิยยะห์  อัดลียะห์  ชาฮาแน  (maktebi tibbiye adliye sahane)  ขึ้นที่เขตคาลาตาสาร่าย  เมืองอิสตันบูล  หลังจากอาณาจักรออตโตมานเข้ายุคตันซีมาต  โรงพยาบาลและสถาบันการแพทย์สมัยใหม่ได้เข้าแทนที่บทบาทของสถานพยาบาลดารุซซิฟาอ  และดารุซซิฟาอแห่งอาณาจักรออตโตมานค่อยๆ ลดจำนวนและสูญหายไปในที่สุด

                5.  เตกแก  (tekke)  และซาวิยะห์  (zaviye)
                เตกแกหรือซาวิยะห์เป็นสถาบันการศึกษารูปแบบหนึ่งที่อาณาจักรออตโตมานสืบทอดมรดกจากอาณาจักรเซลจูกและอาณาจักรอิสลามอื่นๆ  ในอดีตเตกแก  หรือซาวิยะห์  เป็นอาศรมหรือที่พำนักและปฏิบัติธรรมของบรรดานักซูฟีและเดรวิซ  (dervish)
                เตกแกและซาวิยะห์มีบทบาททางการศึกษาของชุมชนออตโตมานมาก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการอบรมขัดเกลาจิตใจโดยใช้ศาสนาควบคู่กับตะซัววุฟตามแนวทางของแต่ละสำนัก  ผู้ที่เลื่อมใสสำนักใดก็จะไปที่เตกแกหรือซาวิยะห์ของสำนักนั้นๆ  ตามที่ตนเลื่อมใส  เพื่อรับฟังการเทศนาธรรมจากนักซูฟี  หรือเดรวิซพร้อมกับเข้ารับการอบรมขัดเกลาจิตใจตามแนวทางของสำนักนั้นๆ  ผู้ที่ไม่มีโอกาสเข้าศึกษาในสถาบันมัดราซะห์นิยมอาศัยเตกแกและซาวิยะห์ในการเรียนรู้ศาสนาและแนวทางตะซัววุฟในอนาโตเลียมีนักซูฟีและเดรวิซเกิดขึ้นที่สำคัญหลายท่านด้วยกัน  เช่น  เมาลานา  ญะลาลุดดีน  รูมี  (mawlana jalaluddin rumi)  ยูนุส  เอมแร  (yunus emre)  หะยี  ไบรัม  วาลี  (haci bayram veli)  หะยี  เบกตัซ  วาลี  (haci bektas veli)  บทบาทของเตกแก และซาวิยะห์มีเรื่อยมาควบคู่กับสังคมออตโตมาน  จนกระทั่งรัฐบาลออตโตมานได้ออกกฎหมายสั่งปิดเตกแกและซาวิยะห์ในปี ค.ศ.1925
                นอกจากการศึกษาในระบบตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้ว  มัสยิด  ห้องสมุด  จวนของบรรดาขุนนางชั้นผู้ใหญ่  หรือที่พำนักของบรรดาอุลามาอ ล้วนแต่มีบทบาทในกิจกรรมการศึกษาของอาณาจักรออตโตมาน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19  มีนักศึกษาจำนวนมากนิยมไปศึกษาหาความรู้ตามจวนของบรรดาขุนนางชั้นผู้ใหญ่  และตามบ้านของบรรดาอุลามาอที่มีชื่อเสียงในยุคนั้นๆ  อาทิเช่น  kethudazade mehmed arif, minhat pasa, sadrazam yusuf kamal pasa  เป็นต้น

              
อ้างจากเอกสารประกอบการสอนรายวิชาหลักการบริหารในอิสลาม3 สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา