วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

นำเสนอผลงานวิจัยเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้


นำเสนอผลงานวิจัยเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
โดย อ.มะเสาวดี ไสสากา อาจารย์ประจำสาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา วิทยาเขตปัตตานี
ได้กล่าวว่า งานวิจัยที่ผมจะนำเสนอเป็นงานวิจัย ซึ่งจริงๆแล้วงานวิจัยนี้ เป็นงานวิจัยตั้งแต่ผมทำเดือน มีนาคมใหม่ๆปีพ.ศ. 2541 แล้วค่อยๆปรับเปลี่ยนงานวิจัยล่าสุดปี 48 มาปรับงานวิจัยที่ผมจะนำเสนอเป็นงานวิจัยที่นำเสนอในเวทีรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์แห่งชาติที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เสนอกับอาจารย์รัฐศาสตร์หลายท่านเป็นงานวิจัยที่โคสกรัฐบาล คืออาจารย์ ปณิธาน วัฒนะยากร ได้พิพาทว่าเป็นอุดมคติทางการเมืองที่น่าจะขับเคลื่อนและเป็นงานวิจัยที่สถาบันปกเกล้าสนับสนุนได้ ดำเนินการต่อไปในปีพ.ศ. 2552 ก็อัลฮัมดุลิลลาฮ งานวิจัยนี้ก็ต่อเนื่อง แต่งานวิจัยที่นำมาพิพาทว่าในเวทีวิชาการผมได้เคยนำเสนอในทางวิชาการ คือ ถนนตรงนี้ นักวิชาการ มหาวิทยาลัยบอกว่าไม่ได้เรื่องเลยวิจัย หลายคนวิพากงานวิจัยนี้ไม่ได้เรื่อง แมทท็อป เทคโนโลยีไม่เคยสมบูรณ์ แต่หารู้ไม่ว่า งานวิจัยที่ World Bank เป็นผู้สนับสนุน และเป็นที่มาของนักวิชาการเหล่านั้น คนที่วิพากนั้นแหละได้ไปรับทุนงานวิจัย จากสิ่งที่มันเป็นงานผลของการวิจัยของผม คือผมไม่เคยสนใจ คือที่ผ่านมามันมีปัญหาเยอะแยะในทางการเมือง ผมจะไม่พูดการเมืองที่มันเป็นมาโคร บางส่วนที่เป็นระบบ แต่ผมจะพูดถึงไมโคร(Micro)ที่อยู่ในพื้นที่ คือ ความเป็นสันดาลของคนที่อยู่ในพื้นที่ทางการเมืองการปกครองมันเป็นเรื่องของสันดาลไอ้พวกสันดาลสื่อถึงนิสัยอย่างเช่น การเมืองบอกว่า เงินไม่มากาไม่เป็น ผมว่าพวกเราน่าจะไม่มีถ้ามีก็ไม่มาก คือที่ผ่านมาเราได้ศึกษาตัวนี้ ได้ศึกษาเพราะว่าผมเป็นคนที่ไป(Apply)โมเดลการเมืองการเลือกตั้งอยู่โมเดลหนึ่ง แนวคิดทฤษฎีที่เรียกว่าสามยุทธศาสตร์สองถวิธี ก็มีนักการเมืองหลายๆ คนมาใช้ จ่ายตังค์และขอใช้โมเดลตัวนี้สุดท้ายแล้วแพ้ทั้งหมดเลยไม่มีใครได้เป็น สส. สักคนที่ผ่านมา  คือผู้นำเขาหวังที่โมเดล จริงๆที่ผู้นำต้องหวังจากตัวเอง จะปรับตัวเองงานที่สำรวจพบว่า ปัญหามันเป็นปัญหาเรื่องผู้นำมาก แต่ผมได้ปฏิเสธปัญหาของผู้ตาม เพราะว่าผู้นำดีไม่ดีผู้ตามก็ต้องมีผลด้วยเหมือนกัน ก็มีเรื่องราวสมัยซอฮาบะฮ ก็ในยุคของคอลีฟะฮ  อัรรอซีดีน ยุคของอาลี มีซอฮาบะฮคือ ยุคของอาลีมันเป็นยุคของฟิตนะฮมากที่สุด เรื่องราวเกิดขึ้นมากมายแล้วมีซอฮาบะฮท่านหนึ่งไปถามว่า “ทำในยุคของท่านมันเกิดฟิตนะฮมากมาย” คือถ้าเป็นบ้านเราก็คือการเมืองมันเหลวแหลก ซื้อสิทธิขายเสียงกันอย่างมากมายเปิดเผยแล้วอะไรประมาณนี้ แต่คนละบริบท อาลีก็ตอบว่า คือในสมัยของคนอื่นก็เขามีการเทียบเคียงเปรียบเทียบระหว่าง อาบูบักร อุมัรและอุสมาน ว่าสมัยสามคอลีฟะฮมีเหตุการณ์อะไรที่มันรุนแรงเหมือนกันในสมัยอาลี  อาลีตอบว่า คือในสมัยอุมัร ในสมัยอาบูบัคร ในสมัยอุสมานนี้ก็คือ ผู้ตามมันเสมือนอาลี แต่ในสมัยอาลีผู้ตามมันไม่ใช่ เพราะฉะนั้นถ้ามองย้อนกลับมาในบริบทบ้านเรา มันจะไปโทษผู้นำอย่างเดียวไม่ได้มันต้องโทษผู้ตามเพราะถ้าผู้ตามไม่ได้เรื่องสันดาลมันสื่อ เพราะฉะนั้นแต่ในสิ่งนี้ผมจะนำเสนอในความเป็นผู้นำ จากการสำรวจอย่างต่อเนื่องพบว่า ปัญหาผู้นำนั้นมี 2 ปัญหาคือ ผู้นำที่มีความชอบธรรมในด้านคุณสมบัติความรู้ความเชี่ยวชาญ ความรู้ความชำนาญ เอาง่ายๆการเลือกตั้งอบต. ปีล่าสุดคือ เลือกตั้งนายกอบต.ปี 43 ผมสำรวจครั้งแรก ปรากฏว่าคนที่เป็นอบต.เป็นสมาชิกก่อน สูงสุดจบปริญญาตรี 3 จังหวัดแค่ 15 เปอร์เซ็นต์ แล้วในอีก 85 เปอร์เซ็น พอลงลึกไปอีก ม.6 จบจากไหนจบจาก กศน. มันสื่ออะไร ความรู้ความสามารถ ความเชียวชาญปริญญาตรีมันน้อยมาก แล้วไปสำรวจนายกอีก ปรากฏว่า ยุคแรกของนายกไม่ถึง 5  เปอร์เซ็น จบปริญญาตรี จะสื่อถึงความรู้ความสามารถได้อย่างไร สองในเรื่องของคุณธรรมจริยธรรม บ้านเราเรียกว่า “ไอ้พวกผู้นำไปมัสยิดไม่เคยหยุด แต่พวกนี้ไปเลยตลอดเวลา”เพราะพวกนี้มันไปอยู่ที่แสงสี อยู่ในเมืองโน้นเพราะฉะนั้นปัญหานี้ไม่มีความชอบธรรมในเรื่องของคุณธรรมจริยธรรม มันกลายเป็นตัวชี้วัดอย่างดี ใครเป็นผู้นำไม่ว่าจะเป็นผู้นำประเภทไหน ระดับไหน มันก็กลายเป็นอย่างนี้ และกลายเป็นค่านิยมที่ต้องทำตัวอย่างนี้ต้องทำตัวที่มันเลยมัสยิดไปอยู่ในแสงสี มันเป็นงานวิจัยที่สะท้อนออกมาในเรื่องของผู้นำ ในเรื่องของการเมืองที่เกี่ยวข้องกับสันดาลของคนสามจังหวัด
เพราะฉะนั้นมนุษย์ก็มีการคิดการเมืองใหม่ๆเกิดขึ้น ก็คล้ายๆกระบวนการปรึกษาหารือ มันเป็นตัวขับเคลื่อนการเมืองในอนาคต ก็เลยได้ทำวิจัยตัวนี้ต่อ มีการกำหนดโมเดลต่างๆที่ผ่านมาเราจะพยายามที่จะขับเคลื่อนการเมือง ในพื้นที่ที่เป็นลักษณะของการศึกษา หรือเราไม่ได้ปฏิเสธการเลือกตั้ง แต่ถ้าการเลือกตั้งมันจะสะอาดมันดีโดยเฉพาะผู้ตามอย่างต้องเข้าใจเจตนาของการเลือกตั้งไม่จำเป็นจะต้องปฏิเสธการค้นหา
                แต่วันนี้พวกเราผู้ตามมีปัญหาเพราะฉะนั้นเราต้องมีการกำหนดหลักสูตรต่างๆที่เกี่ยวข้องกับผู้ตามอย่างพวกเรา จะไปโทษผู้นำอย่างเดียว ไม่ได้เพราะฉะนั้นก็มีการพูดถึงในเรื่องของการปรึกษาหารือเกิดขึ้น เราก็ได้มีการขับเคลื่อนมาสองปีที่ผ่านมา แล้วก็มีบางชุมชนที่เราขับเคลื่อนมันเกือบๆสมบูรณ์
ครั้งหนึ่งมีการเลือกตั้ง กำนัน โดยใช้กระบวนการปรึกษาหารือมันก็ไม่ผิด เพราะการขัคแย้งในเรื่องการศึกษามันสะท้อนความขัดแย้งของชุมชนในหลายๆประเด็นด้วยกัน แต่ประเด็นหลักที่สุดก็คือความขัดแย้งที่เกดจากการเมืองท้องถิ่น หรือการเมืองขอพื้นที่ในชุมชนที่แบ่งพรรคแบ่งพวกของโครงสร้างต่างๆของสังคมได้ปรับเปลี่ยนจากระบบเครือญาติมันแข็งไป ไปเป็นระบบอุปถัมภ์ แล้ววันนี้ก็กลายเป็นระบบฝักฝ่าย เช่น ชอบเสื้อแดง เสื้อเหลืองไร้ ของประชาธิปไตยไร้ ชอบเพื่อแผ่นดินไร้ ชอบประชาธิปัตย์ เพราะอภิสิทธิ์หล่อ มีเหตุผลไหมที่ชอบอภิสิทธิ์ ทำให้สังคมเราปรับเปลี่ยนโครงสร้างสังคมมากมาย แล้วอีกอย่างหนึ่งคือ ไม่ประสานผลประโยชน์ในชุมชน โดยเฉพาะในเรื่องของเงิน งบประมาณ สิ่งเหล่านี้ กระบวนการปรึกษาหารือมันสามารถที่จะเยี่ยวยา ขับเคลื่อนสังคมให้เกิดความสันติสุขได้ เพราะฉะนั้นเราก็พยายามที่จะขับเคลื่อนแต่ในระหว่างที่เราจะขับเคลื่อน เชื่อหรือไม่ ว่าชุมชนอื่นซึ่งไม่ใช่ชุมชนมุสลิมได้ทำแล้วเกิดจริง มีอยู่ที่จังหวัดบุรีรัมย์ ก็คือครั้งแรกของการเลือกตั้งนายกอบต. กำนันผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำศาสนา ผู้นำศาสนาก็คือ เจ้าอาวาสมาปรึกษาหารือกันแล้วพูดถึงคำว่า (Profressionnal) จำเป็นต้องมีการสรรหา ต้องมาปรึกษาหารือ และได้มาซึ่งนายกที่มีความสามารถ  แล้วพื้นที่สอง เกิดที่วังผา อำเภอวังผา จังหวัดแพร่ อันนี้เริ่มต้นจากผู้นำศาสนา เพราะฉะนั้นโมเดลหลายๆโมเดลมันแตกต่างกันที่พื้นที่ ที่ใกล้ที่สุดเพียงให้เราไปศึกษาที่ควนรู เป็นชุมชนชาวไทยพุทธ กระบวนการนี้มันเป็นกระบวนการของเรา แต่คนที่ไปใช้กลับเป็นคนอื่นที่ไม่ใช่เรา เรื่องราวของควนรูก็คือ มันเกิดเหตุการณ์ความขัดแย้งตั้งแต่ในอดีต ความเป็นพี่น้องไปสมัครเลือกตั้งเมื่อ 20 กว่าปีที่ผ่านมา แล้วความบาดหมาง ความขัดแย้งก็มันสืบมาถึงปัจจุบัน แล้วเขาก็ได้เหมือนกับว่าเป็นการทดสอบบทเรียน แล้วใช้กระบวนการปรึกษาหารือจนกลายเป็นโมเดลหนึ่งที่ถูกนำเสนอให้สภาผู้พัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า ทำไห้มีความขัดแย้งในผู้นำทุกระดับทุกประเภท มาจัดกระบวนการปรึกษาหารืออันนี้ก็คือ เป็นงานวิจัยเบื้องต้นก่อนที่จะไห้นักวิชาการ วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิได้มาพูดถึงการเมืองการปกครองในสามจังหวัด
เพราะฉะนั้นผมขอฝากกระบวนการการปรึกษาหารือ ตรงนี้ไห้กับพวกเราไป ผมเชื่อว่าความรู้ความสามารถของพวกเรา สามารถที่จะขับเคลื่อนในชุมชนของเรา อาจจะขับเคลื่อนในระดับเล็กๆก่อน แล้วระดับฮาลาเกาะฮ ค่อยๆไปสู่ระดับทีสูงขึ้น และก็องค์ความรู้ตรงนี้สามารถที่ไปศึกษาของสาขาวิชา รปศ. เพราะมีนักวิชาการที่รับผิดชอบประเด็นการปรึกษาหารือที่จะแนะนำไห้พวกเรา และเรามีโมเดลกระบวนการศึกษาที่เราสามารถที่จะนำไปใช้ หรือ(Apply) ในชุมชนของพวกเรา เบื้องต้น เริ่มต้นผมขอเปิดประเด็นเพียงแค่นี้ในเรื่องการเมืองการปกครองเพียงเท่านี้ ในลักษณะการเมืองภาคไมโคร
อัสสาลามูอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮฮีวาบารอกาตุฮ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น