วันอังคารที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ชีวประวัติ อัลอิหม่าม อัลฆอซาลี

ท่านมีนามว่า มุฮำหมัดบุตรมุฮำมัดบุตรมุฮำมัดบุตรอะห์มัดอะบูฮามิดอัตตูซี อัลฆอซาลี มีสมญานามว่า حجة الإسلام และ محجة الدين


ถือกำเนิด ณ เมือง ตูซ ฮิจเราะห์ศักราชที่ 450 บิดาของท่านประกอบอาชีพช่างทอผ้า โดยจะนำผ้าไปขายที่ตลาดในเมืองตูซเป็นประจำ

ชีวิตการศึกษาและการเผยแพร่วิชาความรู้ของท่านอิหม่ามฆ่อซาลี

ท่านอิหม่ามอัลฆอซาลีได้เริ่มศึกษาในด้านวิชาการฟิกฮ์เพียงเล็กน้อยที่บ้านเกิดของท่านกับอาจารย์อะห์มัดบุตรมุฮำมัดอัรรอซากานี ต่อมาท่านก็ได้เดินทางไปเมืองยัรยานเพื่อทำการศึกษากับท่านอิหม่ามอบูนัสริอัลอิสมาอิลี่ โดยท่านได้ศึกษาแบบเชิงวิเคราะห์รายละเอียดในหนังสือ (التعليقة) จากท่านอิหม่าม ต่อมาท่านก็เดินทางกลับเมืองตูซ

ต่อมาท่านอิหม่ามอัลฆอซาลีได้เดินทางไปที่กรุงนัยซาบูร( نيسابور) เพื่อทำการศึกษากับท่านอิหม่ามอัลฮะร่อมัยน์ ท่านได้ใช้ความอุตสาหะ พยายาม จนกระทั่งมีความปราชญ์เปรื่องในวิชาการแขนงต่างๆ อาทิเช่น วิชาที่เกี่ยวกับแนวทางของนักวิชาการ ปัญหาขัดแย้ง รากฐานของวิชาต่างๆ วิภาษศาสตร์ ตรรกศาสตร์ และวิชาปรัชญา และท่านยังแต่งตำรับตำราในสาขาวิชาการต่างๆ ที่ท่านได้ศึกษามา กอปรกับท่านนั้นมีความเฉลียวฉลาด และมีความรู้อย่างลึกซึ้งในวิชาการแขนงต่างๆ ท่านอิหม่ามอัลฮะร่อมัยน์ได้เคยกล่าวถึงคุณสมบัติของท่านอิหม่ามอัลฆอซาลี ไว้ว่า ? อัลฆอซาลีนั้น มีความปราชญ์เปรื่องในศาสตร์แขนงต่างๆเป็นอย่างดี

เมื่อท่านอิหม่ามอัลฮะร่อมัยน์สิ้นชีวิตลง ท่านอิหม่ามอัลฆอซาลี จึงออกเดินทางไปหาท่านเสนาบดี ( نظام الملك ) และได้มีการถกปัญหาเกิดขึ้นในระดับบรรดาผู้นำและนักวิชาการระดับชั้นนำอีกหลายท่านที่สภาเสนาบดี และท่านอิหม่ามอัลฆอซาลีก็สามารถตอบข้อโต้แย้งได้ จึงชี้ให้เห็นถึงศักยภาพของท่านอิหม่ามอัลฆอซาลีอย่างประจักษ์ชัดแก่ทุกคนในที่นั้น ในที่สุดพวกเขาก็ให้การต้อนรับท่านอย่างยกย่องและให้เกียรติ และท่านเสนาบดีมีคำสั่งแต่งตั้ง อิหม่ามอัลฆอซาลีให้เป็นศาสตราจารย์ประจำสำนัก النظامية ณ กรุงแบกแดด โดยท่านได้เริ่มทำการสอนในปีฮิจเราะห์ที่ 484

การมุ่งสู่แนวทางตะเซาวุฟและความสันโดษของท่าน

อิหม่ามอัลฆอซาลีได้ทำการสอนวิชาการต่างๆ เป็นระยะเวลาหนึ่ง ท่านนั้นมีชื่อเสียงเป็นที่เลื่องลือ มีผู้คนหลั่งไหลมาศึกษากับท่านเป็นจำนวนมาก แต่ในที่สุดแล้ว ท่านก็สลัดความมีเกียรติ ความสูงส่ง อีกทั้งความรุ่งโรจน์ต่างๆไว้เบื้องหลัง โดยออกเดินทางสู่บัยตุ้ลลอฮ์ นครมักกะห์ เพื่อประกอบพิธีฮัจย์ ต่อมาท่านก็มุ่งหน้าสู่เมืองชาม ในปีฮิจเราะห์ศักราชที่ 488 โดยขอให้น้องชายของท่านทำการสอนแทนท่าน ต่อมาท่านก็เดินทางไปยังบัยตุ้ลมักดิส แล้วจึงเดินทางกลับมาสู่เมืองชามอีกครั้งหนึ่ง ท่านได้พำนักอยู่ในมัสยิดอัลอุมาวี่ ซึ่งสถานที่พักของท่านนี้ปัจจุบันเรียกว่า الغزالية ท่านจะสวมเสื้อผ้าธรรมดาเรียบง่าย รับประทานอาหารแต่พอดี ตระเวนไปยังสถานที่ต่างๆ เช่นไปเยี่ยมเยียนสุสาน และมัสยิดต่างๆ แล้วท่านก็ได้เริ่มทำการแต่งหนังสือ إحياء علوم الدين อีกทั้งยังฝึกฝน โดยการบังคับตนให้ทำอิบาดะห์ แสดงความภักดี และแสดงความใกล้ชิดต่ออัลลอฮ์ด้วยการประกอบกุศลกิจต่างๆมากมาย ต่อมาท่านก็เดินทางกลับมาสู่ กรุงแบกแดดอีกครั้งหนึ่ง เพื่อเข้าร่วมรับฟังการบรรยายศาสนธรรม พร้อมทั้งร่วมสนทนากับผู้รู้แจ้งทั้งหลาย ในช่วงท้ายของชีวิต ท่านได้เดินทางกลับไปยังกรุงคูรอซาน และได้สอนที่สำนัก النظامية ที่เมืองนัยซาบูร نيسابور อยู่ระยะเวลาหนึ่ง ต่อมาท่านก็เดินทางกลับบ้านเกิดคือเมืองตูซ และได้จัดตั้งสถาบันสำหรับนักนิติศาสตร์อิสลาม ที่ข้างๆบ้านของท่าน โดยตั้งสำนักซูฟีอยู่ใกล้ๆกัน


ท่านอิหม่ามได้ใช้ชีวิตบั้นปลายของท่านทำการสอนอัลกุรอานและวิชาการแขนงต่างๆ ตลอดจนเพียรพยายามประกอบศาสนกิจอาสา เช่น ละหมาด ถือศีลอด และอื่นๆ จนกระทั่งท่านสิ้นชีวิต

ท่านนั้นได้รับสถานภาพที่สูงส่ง คอยแนะนำมนุษย์สู่หนทางที่ถูกต้อง และยังเป็นที่รักยิ่งของบุคคลทั่วไป แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ก็ยังมีผู้ที่อิจฉาริษยาและเกลียดชังท่าน ดังมีรายงานมาว่า มีชายคนหนึ่งซึ่งอาศัยอยู่ ณ เขตพรมแดนของเมืองอเล็กซานเดรีย เขามีความโกรธและเกลียดชังในตัวท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีมาก อยู่มาคืนหนึ่ง เขาได้ฝันเห็นท่านนบีมุฮำมัดศ็อลฯ โดยมีท่านอบูบักร์และท่านอุมัรยืนอยู่ข้างๆ และอิหม่ามอัลฆอซาลีก็ยืนอยู่ต่อหน้าเขา พลางกล่าวว่า ? โอ้ท่านร่อซู้ลฯ ชายคนนี้ได้กล่าวประณาม ให้ร้าย และทำให้ฉันได้รับความเดือดร้อน ท่านนบีศ็อล ฯ จึงกล่าวในฝันนั้นว่า ? จงนำแซ่มา ? แล้วนบีก็มีคำสั่งให้โบยชายคนนั้นด้วยแซ่ (อันเนื่องมาจากการกล่าวประณามท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลี) เมื่อชายคนนั้นตื่นขึ้นมา ก็พบว่า มีรอยแซ่นั้นอยู่ที่หลังของเขา ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลี เสียชีวิตที่เมืองตูซ วันจันทร์ที่ 4 เดือนยะมาดิ้ลอาเคร ฮิจเราะห์ศักราชที่ 550
ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลี เสียชีวิตที่เมืองตูซ วันจันทร์ที่ 4 เดือนยะมาดิ้ลอาเคร ฮิจเราะห์ศักราชที่ 550




ตำราของท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลี





البسيط            الوسيط                 الوجيز              الخلاصة



المستصفي             المنحول     تحصين الأدلة          شفاء العليل



الأسماء الحسنى                 الردعلى الباطلة            منهاج العابدين         إحياءعلوم الدين


ขออัลลอฮ์ ซุบฮานะฮูวะตะอาลาทรงโปรดประทานความเมตตาแก่ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลี
http://www.miftahcairo.com/index.php/site-map/101-2011-04-27-19-37-34


เรื่องอีห์ยาอ์ อุลูมุดีน (การฟื้นฟูศาสนศาสตร์) ความคิดทางเศรษฐศาสตร์คุนูปการอันมีค่ายิ่งว่าด้วยเงินตรา เขาพูดถึงความเสียหายของการแลกเปลี่ยนและความสำคัญของเงินตราและหน้าที่ของมัน อัล-ฆอซาลี ได้ชี้ให้เห็นถึงหน้าที่ต่างๆ ของเงินตราว่าเป็นมาตรฐานในการวัดมูลค่า เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน และเป็นที่สะสมมูลค่าไว้อย่างชัดเจนมาก เงินตราไม่ใช่แสวงหาเพื่อตัวมันอย่างเดียวแต่เพื่อทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการขวนขวายพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งอื่นๆ ด้วย การกักตุนจะนำไปสู่การการเงินอย่างผิดพลาดและกีดกันไม่ให้มันทำหน้าที่ได้อย่างถูกต้องในสังคม อัล-ฆอซาลี พุดถึงเรื่องการธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับริบาที่เป็นอันตรายและใช้เงินอย่างไม่ถูกต้อง ตลอดจนเน้นย้ำประเด็นที่ว่า ความกตัญญูต่ออัลลอฮฺนั่นคือต้องใช้เงินในขอบเขตที่ผู้ทรงสร้างปราถนาเท่านั้น