วันอังคารที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ราชวงศ์และอาณาจักรในประวัติศาสตร์อิสลาม


ราชวงศ์และอาณาจักรในประวัติศาสตร์อิสลาม
1.ราชวงศ์อัลอุม่าวียะฮ์ (اﻷُمَوِيُّوْنَ )

บรรดาค่อลีฟะฮฺมุสลิมจากวงศ์อุมัยยะฮฺ (بَنُوْأُمَيَّةَ ) มีอำนาจปกครองระหว่างปี ฮ.ศ.40-132 / คศ.661-750 , ค่อลีฟะฮฺ ท่านแรกคือ มุอาวียะฮฺ อิบนุ อบีซุฟยาน และคนสุดท้ายคือ ค่อลีฟะฮฺ มัรวานที่ 2, มีนครดามัสกัส เป็นราชธานี, พวกวงศ์อับบาซียะฮฺ สามารถปราบปรามราชวงศ์อัลอุม่าวียะฮฺลงได้,

พวกอัลอุม่าวียะฮฺจึงย้ายฐานอำนาจของพวกตนไปยังอัลอันดะลุส (เอ็นดะลูเซีย, สเปน) และมีอำนาจปกครองในนครกุรฏุบะฮฺ (โคโดบาฮฺ) ในระหว่างปีฮ.ศ.138-422 / คศ.756-1031, มีอับดุรเราะฮฺมาน อัดดาคิลเป็นผู้ปกครองคนแรก, พวกกษัตริย์ในรัฐอิสระได้ประกาศยุบเลิกราชวงศ์อัลอุม่าวียะฮฺแห่งนครโคโดบาฮฺ ในปี ฮ.ศ.422 / คศ.103

ราชวงศ์อัลอุม่าวียะฮฺในแคว้นชาม (นครดามัสกัส)
1. มุอาวียะฮฺที่ 1 (ฮ.ศ.41 / คศ.661)
2. ยะซีดที่ 1 (ฮ.ศ.60 / คศ.680)
3. มุอาวียะฮฺที่ 2 (ฮ.ศ.64 / คศ.683)
4. มัรวานที่ 1 (ฮ.ศ.64 / คศ.683)
5. อับดุลม่าลิก (ฮ.ศ.65 / คศ.685)
6. อัลวะลีด (ฮ.ศ.86 / คศ.705)
7. สุลัยมาน (ฮ.ศ.96 / คศ.715)
8. อุมัรที่ 2 (ฮ.ศ.99 / คศ.717)
9. ยะซีดที่ 2 (ฮ.ศ.101 / คศ.720)
10. ฮิชาม (ฮ.ศ.105 / คศ.720)
11. อัลวะลีดที่ 2 (ฮ.ศ.125 / คศ.743)
12. ยะซีดที่ 3 (ฮ.ศ.126 / คศ.744)
13. อิบรอฮีม (ฮ.ศ.126 / คศ.744)
14. มัรวานที่ 2 (ฮ.ศ.127-132 / คศ.744-750)

ราชวงศ์อัลอุม่าวียะฮฺในอัลอันดะลุส (นครโคโดบาฮฺ)
1. อับดุรเราะห์มานที่ 1 (อัดดาคิ) (ฮ.ศ.138-172/คศ.756-788)
2. ฮิชามที่ 1 (ฮ.ศ.172-180 / คศ.788-796)
3. อัลฮะกัมที่ 1 (ฮ.ศ.180-207 / คศ.796-822)
4. อับดุรเราะห์มานที่ 2 (ฮ.ศ.207-238 / คศ.822-852)
5. มุฮำมัดที่ 1 (ฮ.ศ.238-275 / คศ.852-886)
6. อัลมุนซิรฺ (ฮ.ศ.273-275 / คศ.886-888)
7. อับดุลเลาะห์ (ฮ.ศ.275-299 / คศ.888-912)


8. อับดุรเราะห์มานที่ 3 (อันนาซิร ลิ ดีนิลลาฮฺ) (ฮ.ศ.299-350 / คศ.912-961)
9. อัลฮะกัมที่ 2 (อัลมุสตันซิร บิลลาฮฺ) (ฮ.ศ.350-365 / คศ.961-976)
10. ฮิชามที่ 2 (อัลมุ่อัยยิด บิลลาฮฺ) (ฮ.ศ.366-399 / คศ.976/1009)
11. มุฮำมัดที่ 2 (อัลมะฮฺดีย์) (ฮ.ศ.399
12. สุลัยมาน (อัลมุสตะอีน บิลลาฮฺ) (ฮ.ศ.399-403 / คศ.1009-1013)
13. อับดุรเราะห์มานที่ 4 (อัลมุรฺตะฎอ) (ฮ.ศ.408 / คศ.1018)
14. อับดุรเราะห์มานที่ 5 (อัลมุสตัซฺฮิรฺ บิลลาฮฺ) (ฮ.ศ.414 / คศ.1023-1024)
15. มุฮำมัดที่ 3 (อัลมุสตักฟี บิลลาฮฺ) (ฮ.ศ.414-416 / คศ.1023-1025)
16. ฮิชามที่ 3 (อัลมุอฺตะมัด บิลลาฮฺ) (ฮ.ศ.420-422 / คศ.1029-1031)

2.ราชวงศ์อัลอับบาซียะฮฺ (اَلْعَبَّاسِِِِيُّوْنَ)

ราชวงศ์ที่สืบทอดการปกครองในระบอบคิลาฟะฮฺภายหลังการล่มสลายของราชวงศ์อัลอุม่าวียะฮฺในนครดามัสกัส, มีอำนาจอยู่ระหว่างปี ฮ.ศ.132-656 / คศ.750-1259, สืบเชื้อสายถึงท่านอัลอับบ๊าส ลุงของท่านศาสดามุฮำมัด (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม), มีธงสีดำเป็นสัญลักษณ์, รัฐคิลาฟะฮฺแห่งอิสลามได้บรรลุถึงความเจริญสุดขีดในรัชสมัยของพวกอับบาซียะฮฺ,
การปฏิวัติลุกฮือของพวกอัลอับบาซียะฮฺได้เริ่มขึ้นในแคว้นคุรอซาน ภายใต้การนำของอบูมุสลิม อัลคุรอซานีย์หลังจากมีการเรียกร้องอย่างลับ ๆ อยู่ราวครึ่งศตวรรษ ในปี ฮ.ศ.130 / คศ.748 ค่อลีฟะฮฺท่านแรกของราชวงศ์คือ อบุลอับบ๊าส อัซฺซัฟฟาฮฺ ซึ่งถูกให้สัตยาบันในมัสญิดแห่งนครอัลกูฟะฮฺ และสามารถสร้างความปราชัยแก่พวกวงศ์อัลอุม่าวียะฮฺ โดยค่อลีฟะฮฺมัรวานที่ 2 ค่อลีฟะฮฺคนสุดท้ายของราชวงศ์อัลอุม่าวียะฮฺได้ถูกสังหาร และอับดุรเราะฮฺมาน อัดดาคิลสามารถหลบหนีไปยังแคว้นอัลอันดะลุส,

ต่อมาค่อลีฟะฮฺอัลมันซู๊รได้สืบอำนาจต่อจากอัซซัฟฟาฮฺ และปราบปรามการจลาจลวุ่นวายจนสามารถสร้างเสถียรภาพให้แก่ราชวงศ์อัลอับบาซียะฮฺ, ในเวลาต่อมา, ค่อลีฟะฮฺอัลมันซุ๊รได้สร้างนครแบกแดดขึ้นเป็นราชธานี
นครแบกแดดได้กลายเป็นนครแห่งอารยธรรมอันเจริญรุ่งเรืองทั้งในด้านวรรณกรรมและสรรพวิทยาตลอดช่วงระยะเวลาหลายศตวรรษในยุคกลาง, มีบรรดาค่อลีฟะฮฺที่เลื่องลือหลายท่าน อาทิเช่น ฮารูน อัรร่อชีดฺ ซึ่งต่างก็อุปถัมภ์บรรดานักปราชญ์ นักกวีเป็นจำนวนมาก
ต่อมาค่อลีฟะฮฺอัลมุอฺตะซิม บิลลาฮฺ ได้สร้างนครซามัรรออฺขึ้นเป็นราชธานีแห่งใหม่ในระหว่างปี คศ.836-892 จนกระทั่งคอลีฟะฮฺอัลมุอฺตะมิด บิลลาฮฺ ได้ย้ายราชธานีกลับมายังนครแบกแดดอีกครั้ง, ภายหลังการลอบสังหารค่อลีฟะฮฺอัลมุตะวักกิล บิลลาฮฺ ในปี ฮ.ศ.247 / คศ.861

พวกเติร์กที่เป็นแม่ทัพก็เข้ามามีอิทธิพลเหนือบรรดาค่อลีฟะฮฺตลอดช่วงเวลาราว 1 ศตวรรษ ทำให้อาณาจักรอัลอับบาซียะฮฺอ่อนแอลง และเป็นผลทำให้มีรัฐอิสระเกิดขึ้นเป็นอันมาก อาทิเช่น พวกฏูลูนียะฮฺ, พวกอัลอิคฺชีดียะฮฺ และพวกอัลฟาฏีมียะฮฺ ซึ่งซ่อลาฮุดดีน อัลอัยยูบีย์ได้ยุบเลิกราชวงศ์ของพวกเขาลง, และพวกอัลฮัมดานียะฮฺในนครฮะลับ (อเล็ปโป),
ต่อมาในปี ฮ.ศ.334 / คศ.945 พวกอัลบุวัยฺฮียูนฺได้เข้ามายึดครองนครแบกแดดเอาไว้ ทำให้บรรดาค่อลีฟะฮฺในราชวงศ์อัลอับบาซียะฮฺกลายเป็นเครื่องเล่นของพวกเขา, ในปี ฮ.ศ.447 / คศ.1055 ตุฆรุ้ล เบก อัซซัลฺจูกีย์ได้เข้ายึดครองนครแบกแดดและประกาศการสิ้นสุดอำนาจของพวกอัลบูวัยฮียูน, พวกมองโกลได้รุกรานและเข้าทำลายนครแบกแดด โดยฮูลากูได้สังหารค่อลีฟะฮฺ อัลมุซตะอฺซิม บิลลาฮฺ ซึ่งทำให้ราชวงศ์อัลอับบาซียะฮฺสิ้นสุดลง
บรรดาค่อลีฟะฮฺในราชวงศ์อัลอับบาซียะฮฺ
1. อัซฺซัฟฺฟาฮฺ (ฮ.ศ.132/คศ.750)
2. อัลมันซูร (ฮ.ศ.136/คศ.754)
3. อัลมะฮฺดีย์ (ฮ.ศ.158/คศ.775)
4. อัลฮาดีย์ (ฮ.ศ.169/คศ.785)
5. ฮารูน อัรร่อชีด (ฮ.ศ.170/คศ.786)
6. อัลอะมีน (ฮ.ศ.193/คศ.809)
7. อัลมะอฺมูน (ฮ.ศ.198/คศ.813)
8. อัลมุอฺตะซิม (ฮ.ศ.218/คศ.833)
9. อัลฺวาซิก (ฮ.ศ.227/คศ.842)
10. อัลมุตะวักกิล (ฮ.ศ.232/คศ.847)
11. อัลมุนตะซิรฺ (ฮ.ศ.247/คศ.861)
12. อัลมุสตะอีน (ฮ.ศ.248/คศ.862)
13. อัลมุอฺตัซฺซุ (ฮ.ศ.252/คศ.866)
14. อัลมุฮฺตะดีย์ (ฮ.ศ.255/คศ.869)
15. อัลมุอฺตะมิด (ฮ.ศ.256/คศ.870)
16. อัลมุอฺตะฎิด (ฮ.ศ.279/คศ.892)
17. อัลมุกตะฟีย์ (ฮ.ศ.289/คศ.902)
18. อัลมุกตะดิรฺ (ฮ.ศ.295/คศ.908)
19. อัลกอฮิรฺ (ฮ.ศ.320/คศ.932)
20. อัรรอฎีย์ (ฮ.ศ.322/คศ.934)
21. อัลมุตตะกีย์ (ฮ.ศ.329/คศ.940)
22. อัลมุสตักฟีย์ (ฮ.ศ.333/คศ.944)
23. อัลมุฏีอฺ (ฮ.ศ.334/คศ.946)
24. อัฏฏออิอฺ (ฮ.ศ.363/คศ.974)
25. อัลกอดิรฺ (ฮ.ศ.381/คศ.991)
26. อัลกออิมฺ (ฮ.ศ.422/คศ.1031)
27. อัลมุกตะดีย์ (ฮ.ศ.467/คศ.1075)
28. อัลมุสตัซฮิรฺ (ฮ.ศ.487/คศ.1094)
29. อัลมุซตัรฺชิดฺ (ฮ.ศ.512/คศ.1118)
30. อัรรอชิดฺ (ฮ.ศ.529/คศ.1135)
31. อัลมุกตะฟีย์ (ฮ.ศ.530/คศ.1136)
32. อัลมุสตันญิด (ฮ.ศ.555/คศ.1160)
33. อัลมุซตะฎีอฺ (ฮ.ศ.566/คศ.1170)
34. อันนาซิรฺ (ฮ.ศ.575/คศ.1180)
35. อัซซอฮิรฺ (ฮ.ศ.622/คศ.1225)
36. อัลมุสตันซิรฺ (ฮ.ศ.623/คศ.1226)
37. อัลมุสตะอฺซิม (ฮ.ศ.640-656/คศ.1242-1258)

3.ราชวงศ์อัรฺรุสตุมียูน (اَلرُّسْتُمِيُّوْنَ)

(ปีฮ.ศ.144-296/คศ.761-908) อาณาจักรของพวกค่อวาริจญ์กลุ่มอัลอิบาฎียะฮฺ, สถาปนาโดยอับดุรเราะฮฺมาน อิบนุ รุสตุม ในแอฟริกาเหนือ, มีเมืองตาฮัรฺต์เป็นราชธานี

* เมืองตาฮัรฺต์ เป็นเมืองโบราณในแอลจีเรียและเคยเป็นราชธานีของพวกอัรรุสฺตุมียูน (คศ.761-908) ถูกพวกอัลฟาฏีมียะฮฺทำลายลงในปี คศ.911,ซากปรักหักพังของนครแห่งนี้อยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองติยาร็อต
* พวกค่อวาริจญ์ (اَلْخَوَارِجُ ) กลุ่มลัทธิในอิสลามที่เก่าแก่ที่สุดกลุ่มหนึ่ง พวกนี้ได้ก่อการกบฏต่อท่านค่อลีฟะฮฺอะลี อิบนุ อบีตอลิบ (ร.ฎ.) เนื่องจากท่านค่อลีฟะฮฺอะลี (ร.ฎ.) ได้ยอมรับการตัดสินภายหลังสมรภูมิซิฟฟีนฺ, พวกค่อวาริจญ์ได้ตั้งค่ายชุมนุมในตำบลฮะเรารออฺ ใกล้ ๆ กับนครอัลกูฟะฮฺ, ท่านค่อลีฟะฮฺอะลี (ร.ฎ.) ได้ปราบปรามพวกค่อวาริจญ์ในเขตอันนะฮฺร่อวานฺ ใกล้กับนครแบกแดดจนพวกค่อวาริจญ์แตกพ่าย ต่อมาอิบนุ มัลญัมฺ หนึ่งจากพวกค่อวาริจญ์ก็ลอบสังหารท่านค่อลีฟะฮฺอะลี (ร.ฎ.),
ส่วนหนึ่งจากผู้นำที่โด่งดังของพวกค่อวาริจญ์คือ อัฎเฎาะฮฺฮ๊าก อิบนุ ก็อยฺซ อัชฺชัยฺบานีย์ และกอฏ่อรีย์ อิบนุ ฟุญาอะฮฺ พวกค่อวาริจญ์ได้แตกออกเป็นกลุ่มต่างๆ มากมาย ที่สำคัญได้แก่ พวกอัลอิบาฎียะฮฺ, อัลอะซาริเกาะฮฺ และอัซซุฟรียะฮฺ การเรียกร้องเชิญชวนของพวกค่อวาริจญ์ได้รับการตอบรับอย่างแพร่หลายในหมู่ชนชาติเบอร์เบอร์ในแอฟริกา ส่วนหนึ่งมีอำนาจปกครองในเขตตะวันตกของโลกอิสลาม (แอฟริกาเหนือ) คือ พวกอัรรุสตุมี่ยูน ซึ่งเป็นกลุ่มอัล-อิบาฎียะฮฺ
* อัลอิบาฎียะฮฺ (اَلإِبَاضِيَّةُ ) เป็นกลุ่มหนึ่งจากพวกค่อวาริจญ์สืบถึงอับดุลลอฮฺ อิบนุ อิบ๊าฎ, พวกอัลอิบาฎียะฮฺได้ก่อการลุกฮือและกบฏต่อบรรดาค่อลีฟะฮฺอยู่หลายครั้ง ที่สำคัญคือ การลุกฮือของอับดุลลอฮฺ อิบนุ ยะฮฺยา ในปีฮ.ศ.129 / คศ.747,
พวกอัลอิบาฎียะฮฺได้แผ่อิทธิพลของพวกตนเหนือยะมันและแคว้นฮัฎร่อเมาวฺต์ และก่อการกบฏต่อพวกอับบาซียะฮฺในโอมาน ค่อลีฟะฮฺ อัซฺซัฟฟาฮฺได้ปราบปรามพวกนี้แต่ก็ไม่สามารถกำจัดขบวนการทางความคิดและจิตวิญญาณของพวกนี้ลงได้อย่างสิ้นซาก แนวความคิดของพวกอัลอิบาฎียะฮฺได้แพร่หลายในโอมาน, ซินซิบาร์ และแอฟริกาเหนือ ซึ่งกลายเป็นลัทธิหรือนิกายของชนชาติเบอร์เบอร์และสถาปนาอาณาจักรอัรรุสตุมียะฮฺขึ้นในเวลาต่อมา

4.อัลฺอิดฺรีซียะฮฺ (اَلإِدْرِيْسِيَّةُ)
อาณาจักรอิสลามของพวกชีอะฮฺในมอรอคโค, สถาปนาโดยอิดรีส อิบนุ อับดิลลาฮฺ, ได้แยกเป็นรัฐอิสระจากระบอบคิลาฟะฮฺแห่งราชวงศ์อับบาซียะฮฺและมีอำนาจปกครองดินแดนตะวันตกไกล (อัลมัฆริบ อัลอักศอ) และติลมีซานฺ ในปี ฮ.ศ.172-363 / คศ.788-974) มีนครว่าลีลีย์เป็นราชธานี ต่อมาย้ายมายังนครฟ๊าสฺ พวกอับบาซียะฮฺและอะฆอลิบะฮฺได้ต่อสู้ขับเคี่ยวกับอาณาจักรอัลอิดฺรีซียะฮฺอยู่เนือง ๆ,
การแตกแยกภายในได้ทำให้อาณาจักรอัลอิดฺรีซียะฮฺอ่อนแอลงและตกอยู่ภายใต้อำนาจของพวกฟาฏีมียะฮฺ รัฐของพวกบะนู ฮัมมูดในอัลอันดะลุสก็สืบเชื้อสายมาจากอาณาจักรนี้และผลงานสำคัญของพวกอิดรีซียะฮฺก็คือ นครฟ๊าสฺ ซึ่งมีอาคารบ้านเรือนสวยงามโดยเฉพาะมัสญิดญามิอฺ อัลก่อร่อวียีน
* อิดรีส อิบนุ อับดิลลาฮฺ (เสียชีวิต ฮ.ศ.177/คศ.793) อิหม่ามในสายชีอะฮฺ, ผู้ก่อตั้งอาณาจักรอัลอิดรีซียะฮฺในมอรอคโค เคยก่อการกบฏต่อพวกอับบาซียะฮฺและหลบหนีออกจากแคว้นอัลฮิญาซฺพร้อมกับรอชิด บ่าวผู้รับใช้ภายหลังสมรภูมิฟัคฺคฺ (คศ.786) เดินทางผ่านอิยิปต์และไปถึงเขตตะวันตกไกล และลงพำนักในเมืองว่าลีลีย์ พวกชนเผ่าเบอร์เบอร์โดยเฉพาะก๊กเอาร่อบะฮฺได้ให้สัตยาบันแก่เขาและประกาศตั้งอาณาจักรอัลอิดรีซียะฮฺในปีคศ.788
กษัตริย์แห่งอาณาจักรอัลอิดรีซียะฮฺ
1. อิดรีส อิบนุ อับดิลลาฮฺ (คศ.788-793)
2. อิดรีสที่ 2 (คศ.802-828)
3. มุฮำมัด อิบนุ อิดรีสที่ 2 (คศ.828-835)
4. อะลีที่ 1 (คศ.835-849)
5. ยะฮฺยาที่ 1 (คศ.849-864)
6. ยะฮฺยาที่ 2 (คศ.864-874)
7. อะลีที่ 2 (คศ.874-883)
8. ยะฮฺยาที่ 3 (คศ.883-905)
9. ยะฮฺยาที่ 4 (คศ.905-922)
10. อัลหะซัน อัลหะญาม (คศ.922-925)
11. อัลกอซิม กันนูนฺ (คศ.937-948)
12. อบู อัลอัยฺช์ อิบนุ กันนูนฺ (คศ.948-959)
13. อัลหะซัน อิบนุ กันนูนฺ (คศ.959-985)

5.ราชวงศ์อัลอะฆอลิบะฮฺ (اَلأَغَالِبَةُ )
อัลอะฆอลิบะฮฺหรือบะนู อัลอัฆฺลับฺ (بَنُوْاَلأَغْلَبِ ) เป็นตระกูลของขุนนางที่มีอำนาจในแอฟริกาเหนือ ระหว่างปี ฮ.ศ.184-296 / คศ.800-909, มีนครอัลกอยฺร่อวาน เป็นราชธานี, สถาปนาโดยอิบรอฮีมที่ 1 อิบนุ อัลอัฆฺลับ ซึ่งเป็นข้าหลวงของค่อลีฟะฮฺฮารูน อัรร่อชีด, ส่วนหนึ่งจากกษัตริย์ในราชวงศ์นี้ คือ อิบรอฮีมที่ 2 ซึ่งเข้ายึดครองซิซิลี (ซิกิลฺลียะฮฺ), มีซิยาดะตุลลอฮฺที่ 3 เป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายในราชวงศ์, พวกอะฆอลิบะฮฺถูกอบู อับดิลลาฮฺ อัชชีอีย์ (เป็นชาวชีอะฮฺ) ผู้เรียกร้องเชิญชวนของพวกฟาฏีมียะฮฺปราบปราม, พวกอะฆอลิบะฮฺมีกองเรือรบขนาดใหญ่ในยุคที่พวกเขาเรืองอำนาจ
* อิบรอฮีมที่ 1 อิบนุ อัลอัฆลับฺ (เสียชีวิต ฮ.ศ.196-คศ.812) ผู้สถาปนาอาณาจักรอัลอัฆละบียะฮฺในแอฟริกาเหนือ, ค่อลีฟะฮฺฮารูน อัรร่อชีด ได้เคยแต่งตั้งให้อิบรอฮีมปกครองแคว้นแอฟริกาในปีคศ.800, อิบรอฮีมได้รับชัยชนะเหนือคู่แข่งของตน และพวกเบอร์เบอร์ได้ยอมสวามิภักดิ์ต่ออิบรอฮีม, เป็นผู้สร้างเมืองอัลอับบาซียะฮฺและเมืองอัลก็อซฺร์ขึ้นใกล้ ๆ กับนครกอยร่อวาน

* อิบรอฮีมที่ 2 อิบนุ อัลอัฆลับฺ (เสียชีวิตฮ.ศ.289/คศ.902) เป็นกษัตริย์ที่เลื่องลือที่สุดในวงศ์อัลอัฆลับในแอฟริกาเหนือ, สืบทอดอำนาจต่อจากอบุลฆ่อรอฟีกฺ พี่ชายของเขาในปี คศ.875, มีอาการทางประสาทเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้ายจนกระทั่งลุแก่อำนาจและสังหารผู้คนเป็นผักปลา, ค่อลีฟะฮฺ อัลมุอฺตะฎิด แห่งราชวงศ์อับบาซียะฮฺจึงปลดอิบรอฮีมที่ 2 ออกจากอำนาจ, อิบรอฮีมที่ 2 จึงออกเดินทางไปยังเกาะซิซิลี (ทางตอนใต้ของอิตาลี) เพราะทำศึกและญิฮาด, เขาเสียชีวิตลงภายหลังการยึดครองเมืองซัรกูเซาะฮฺ (ซาราโกซ่า) ผลงานสำคัญของเขาคือ นครร็อกกอดะฮฺ ซึ่งเป็นราชธานีของอาณาจักร
* เกาะซิซิลี (ซิกิลลียะฮฺ) ตกอยู่ภายใต้การปกครองของชาวอาหรับเป็นเวลา 263 ปี จนกระทั่งพ่ายแพ้ต่อพวกนอร์แมนด์ในปี คศ.1091
6.อาณาจักรอัฏฏอฮิรี่ยะฮฺ (اَلدَّوْلَةُ الطَّاهِرِيَّةُ )

อาณาจักรของวงศ์กษัตริย์ที่มีอำนาจปกครองในแคว้นคุรอซานในระหว่างปี ฮ.ศ.205-259/คศ.820-872, สถาปนาโดยตอฮิรฺ อิบนุ อัลฮุซัยน์ ซึ่งเป็นแม่ทัพคนหนึ่งของค่อลีฟะฮฺ อัลมะอฺมูนแห่งราชวงศ์อับบาซียะฮฺ, ตอฮิร ผู้นี้ได้นำทัพเข้าปราบปรามการลุกฮือของพวกค่อวาริจญ์และแยกตนเป็นอิสระในการปกครองคุรอซานและถูกลอบสังหารในปี คศ.822 , ตอลฮะฮฺและอับดุลลอฮฺ บุตรชายทั้งสองของเขาได้สืบอำนาจต่อมา, อาณาจักรอัฏฏอฮิรียะฮฺถูกพวกอัซซอฟฟารียะฮฺ ปราปปรามลงในเวลาต่อมา

7. อาณาจักรอัซซอฟฟารียะฮฺ (اَلدَّوْلَةُ الصَّفَّارِيَّةُ )

อาณาจักรของวงศ์กษัตริย์ที่มีอำนาจปกครองในแคว้นคุรอซานในระหว่างปีฮ.ศ.254-289/คศ.868-902, ถูกสถาปนาขึ้นบนความล่มสลายของอาณาจักรอัฏฏอฮีรียะฮฺ โดยยะอฺกู๊บ อิบนุ อัลลัยซ์ อัซซ็อฟฟ๊าร, ในปี ฮ.ศ.262/คศ.876
ยะอฺกู๊บได้นำทัพบุกโจมตีนครแบกแดด แต่ถูกกองทัพของค่อลีฟะฮฺ อัลมุอฺตะมิดแห่งราชวงศ์อับบาซียะฮฺ ภายใต้การนำของอัลมุวัฟฟัก พระอนุชาของค่อลีฟะฮฺสร้างความปราชัยในสมรภูมิดีรฺ อัลอากูล, ต่อมาอัมรฺ อิบนุ อัลลัยซ์ น้องชายของยะอฺกู๊บได้สืบทอดอำนาจต่อมาในปีคศ.879 และได้รับความโปรดปรานจากค่อลีฟะฮฺอัลมุอฺตะมิด และ อัลมุอฺตะฎิด แห่งราชวงศ์อับบาซียะฮฺ, ต่อมาถูกอิสมาอีล อิบนุ อะฮฺมัด อัซซะมานีย์จับกุมและส่งมอบแก่ค่อลีฟะฮฺอัลมุอฺตะฎิด ซึ่งทรงสั่งให้ประหารชีวิตอัมรฺผู้นี้ เป็นอันสิ้นสุดอำนาจของพวกอัซซอฟฟารียะฮฺ

8.วงศ์อัซซามานี่ยูน (السَّامَانِيُّوْنَ )

วงศ์กษัตริย์เชื้อสายอิหร่านที่มีอำนาจปกครองในแคว้นคุรอซานและดินแดนเบื้องหลังแม่น้ำ (เอเชียกลาง) ในระหว่างปี ฮ.ศ.261-390/คศ.874-999 มีเชื้อสายสืบถึงซามาน คุดาฮฺ (เจ้าชายอิหร่านเป็นผู้นำในตระกูลซามาน เข้ารับอิสลามและได้รับการคุ้มครองจากอะสัด อิบนุ อับดิลลาฮฺ ผู้ครองแคว้นคุรอซานในรัชสมัยฮิชาม อิบนุ อับดิลม่าลิก ค่อลีฟะฮฺแห่งราชวงศ์อัลอุม่าวียะฮฺ)
หลานชายสี่คนของซามานคุดาฮฺ คือ นัวฮฺ, อะฮฺหมัด, ยะฮฺยาและอิลยาซได้กลายเป็นข้าหลวงของค่อลีฟะฮฺอัลมะอฺมูนแห่งอับบาซียะฮฺในการปกครองนครซะมัรกอนด์, ฟัรฆอนะฮฺ, ช๊าชและฮะรอต ตามลำดับ, ต่อมาอิสมาอีล อิบนุ อะฮฺมัดได้สร้างฐานอำนาจของวงศ์ซามานในระหว่างปีคศ.892-907 และสามารถปรามปรามพวกวงศ์อัซซอฟฟารียะฮฺลงได้, มีกษัตริย์ปกครองทั้งหมด 9 องค์, มีอำนาจแผ่ครอบคลุมจดเขตแดนของอินเดียและตุรกีสถาน
กษัตริย์ที่เลื่องลือ คือ นัซรฺที่ 2, นัวฮฺที่ 1 และ 2, ในรัชสมัยของกษัตริย์ดังกล่าวมีความรุ่งเรืองทางอารยธรรม, นครบุคอรอ และซามัรกอนด์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งจากศูนย์กลางทางวิทยาการอิสลามที่เคียงคู่กับนครแบกแดด, วรรณกรรมของอิหร่านมีความตื่นตัวและได้รับการฟื้นฟูจนปรากฏชื่อของอัรรูดกีย์, อัลฟิรเดาซีย์ และ อิบนุ ซีนา,
พวกซามานียูนได้ใช้ทาสพวกเติร์กในการรับราชการจนพวกเติร์กมีอำนาจมากขึ้นและการบริหารราชการได้ตกไปอยู่ในกำมือของพวกเติร์กจวบจนอัลบฺ ตะกีน อัลฆอซนะวีย์ ได้แยกตนเป็นอิสระในการปกครองและปราบปรามพวกซามานียูนจนสิ้นอำนาจไปในที่สุด

9.พวกอัลฆอซฺนะวียูน (اَلْغَزْنَوِيُّوْنَ )

วงศ์กษัตริย์จากพวกทาสชาวเติร์กที่มีอำนาจปกครองเขตภาคตะวันออกของอิหร่าน และ อัฟกานิสถาน รวมถึงแคว้นปัญจาบในระหว่างปี ฮ.ศ.351-582/คศ.962-1187, สถาปนาโดยอัลบ์ ตะกีน ซึ่งเป็นข้าราชการในวงศ์ซามานียีน และสุบุกตะกีน บุตรเขยของอัลบ์ ตะกีน ได้สร้างฐานอำนาจอย่างมั่นคงต่อมา,
กษัตริย์ที่เลืองนามจากวงศ์กษัตริย์ คือ มะฮฺมูด อิบนุ สุบุกตะกีน (ยะมีน อัดเดาละฮฺ : คศ.970-1030 ; กษัตริย์องค์ที่ 3 ในวงศ์อัลฆอซฺนะวียีน (คศ.998) พิชิตนครบุคอรอและยึดครองอาณาเขตของพวกซามีนียีนในดินแดนเบื้องหลังแม่น้ำ (เอเชียกลาง) มีอำนาจแผ่ครอบคลุมถึงแคว้นปัญจาบและกุชราตฺ, อุปถัมภ์และฟื้นฟูวรรณกรรมและศิลปะวิทยาการ ในรัชสมัยของพระองค์ นักกวี อัลฟิรเดาซี่ได้ประพันธ์ชาฮฺนาเม่ฮฺ) มีนครฆอซนะฮฺเป็นราชธานี และพวกอัลฆอซฺนะวียูนได้สร้างเมืองลาฮอร์ ขึ้นเป็นเมืองเอกของแคว้นปัญจาบ, ต่อมาพวกอัลฆูรียูนได้ปราบปรามพวกอัลฆอซฺนะวียีนจนหมดอำนาจ

10.วงศ์อัลฆูรียูน (اَلْغُوْرِيُّوْنَ )

วงศ์กษัตริย์มุสลิมที่มีอำนาจปกครองในอัฟกานิสถานระหว่างปี ฮ.ศ.543-612/คศ.1148-1215, สืบทอดอำนาจต่อจากพวกอัลฆอซฺนะวียีนในอินเดีย, อาณาจักรอิสระของพวกอัลฆูรียูนถือกำเนิดขึ้นในเขตฆูรฺ ซึ่งเต็มไปด้วยขุนเขาระหว่างเมืองฮะรอตและฆอซฺนะฮฺ, มีนครฟัยรู๊ซฺกูฮฺ เป็นราชธานี, สถาปนาโดยซัยฟุดเดาละฮฺ และยึดครองนครฆอซนะฮฺได้สำเร็จ, ในปีคศ.1149
ซัยฟุดเดาละฮฺถูกบะฮฺรอมชาฮฺแห่งวงศ์ฆอซฺนะวีย์สังหารอะลาลุดดีน อัลฆูรีย์ จึงแก้แค้นด้วยการเผานครฆอซฺนะฮฺ, กษัตริย์องค์สุดท้ายของวงศ์ฆูรีย์ คือ มุอิซซุดดีน มุฮำมัด ซึ่งถูกคุวาริซฺม์ ชาฮฺ ปราบปราม, ต่อมากุตุบุดดีน อัยบัก อดีตทาสของวงศ์ฆูรีย์ได้สถาปนาวงศ์ทาส (ม่ามาลีก) เชื้อสายเติร์กขึ้นในนครเดลฮีของอินเดีย
11.อัลอิคฺชิดียูน (اَلإِخْشِيْدِيُّوْنَ)
อาณาจักรอิสระที่สืบทอดพวกอัตตลูนียูนในการปกครองอียิปต์และซีเรีย ระหว่างปี ฮ.ศ.323-358/คศ. 935-969, สถาปนาโดยมุฮำหมัด อิบนุ ฏุฆจฺญ์ อัลอิคชีดฺ (เสียชีวิตฮ.ศ.334/คศ.946) ซึ่งเคยเป็นข้าหลวงปกครองนครอเล็กซานเดรีย, ปาเลสไตน์และซีเรีย, ค่อลีฟะฮฺแห่งราชวงศ์อัลอับบาซียะฮฺทรงพระราชทานฉายานามแก่เขาว่า “อัลอิคฺชีด”
ต่อมาได้สละตำแหน่งแก่โอรสของตนที่ชื่อ อนูญุรฺ (คศ.946-960) ซึ่งยังทรงเยาว์วัย โดยมีอบุลมิสก์ กาฟู๊ร อัลอิคชีดีย์ (เสียชีวิตฮ.ศ.357/คศ.967) เป็นผู้สำเร็จราชการ ต่อมาในปี คศ.965 กาฟู๊รได้ขึ้นดำรงตำแหน่งซุลตอนแห่งอียิปต์และซีเรีย ในรัชสมัยของพระองค์มีความเจริญทางวรรณกรรมเป็นอันมาก พวกวงศ์อัลฟาฏิมียะฮฺได้ปราบปรามพวกอัลอิคชีดียะฮฺในเวลาต่อมา
12.อัตตูลูนียะฮฺ (اَلطُّوْلُوْنِيَّةُ)
อาณาจักรอิสระที่แยกตนจากอาณาจักรอับบาซียะฮฺ, มีอำนาจปกครองในอียิปต์และซีเรีย ระหว่างปีฮ.ศ.254-292/คศ.868-905, สถาปนาโดยอะฮฺหมัด อิบนุ ตูลูน (เสียชีวิตฮ.ศ.270/คศ.884) ซึ่งเป็นคนใกล้ชิดของค่อลีฟะฮฺ อัลมุสตะอีน บิลลาฮฺแห่งวงศ์อับบาซียะฮฺ ดำรงตำแหน่งข้าหลวงแห่งอียิปต์ในปีคศ.868 ต่อมาแยกตนเป็นอิสระและสร้างนครอัลก่อฏออิอฺเป็นราชธานีแห่งใหม่ของอาณาจักร, อิบนุตูลูนได้แผ่อำนาจของตนเหนืออียิปต์, ซีเรีย และโมซุล, เขาได้สร้างมัสญิดอันงดงามขึ้นในนครอัลกอฏออิอฺ (ใกล้กับฟุสฏ๊อฏ ไคโร),

ต่อมาคุมาร่อวัยฮฺ โอรสของอิบนุตูลูนได้ปกครองต่อมาในปีคศ.884 ธิดาของคุมาร่อวัยฮฺนามว่า ก็อฏรุนนะดาได้อภิเษกกับค่อลีฟะฮฺอัลมุอฺตะฎิดแห่งวงศ์อับบาซียะฮฺ คุมาร่อวัยฮฺถูกสังหารในนครดามัสกัส ภายหลังการถูกสังหารของคุมาร่อวัยฮฺความขัดแย้งภายในได้ทำให้อาณาจักรตูลูนียะฮฺอ่อนแอลง และถูกวงศ์อับบาซียะฮฺปราบปรามในที่สุด ในสมัยที่อาณาจักรนี้รุ่งเรืองสถาปัตยกรรมอิสลามมีความตื่นตัวเป็นอันมาก ที่สำคัญคือมัสญิดญามิอฺ อิบนิ ตูลูนในกรุงไคโร


13.อะตาบัก (أَتَابَك)
เป็นฉายานามในภาษาเติร์กิชที่พวกเซลจูกเติร์กใช้เรียกขานเหล่าขุนนางในราชสำนักบางส่วนตลอดจนบรรดาเสนาบดีและแม่ทัพซึ่งบางคนเป็นผู้อบรมเหล่ายุว กษัตริย์ในศาสตร์แขนงต่าง ๆ ผู้มีราชทินนามว่า อะตาบัก (มีพหูพจน์ว่า อะตาบิกะฮฺ) บางคนสามารถเข้ากุมอำนาจการปกครองจนเริ่มมีรัฐอิสระที่ปกครองด้วยอะตาบักนับแต่คริสต์ศตวรรษที่ 12 ในดินแดนเปอร์เซีย, แคว้นชาม (ซีเรีย) ที่เลื่องลือที่สุดได้แก่ อะตาบิกะฮฺแห่งอาเซอร์ไบจาน, เปอร์เซีย และวงศ์บูรีย์ อิบนิ ตุฆตะกีน, ในดามัสกัสและตระกูลซังกีย์ในโมซุลอัลญะซีเราะฮฺและแคว้นชาม

14.อัลอัรฺตุกียูน (اَلأَرْتُقِيُّوْنَ)
ตระกูลเติร์กะเมน มีอำนาจปกครองในดิย๊าร บักร์ ในศตวรรษที่ 6-9 แห่งฮิจเราะฮฺศักราช/คริสต์ศตวรรษที่ 12-15, มีอัรตุก บุตร อักซับเป็นต้นตระกูล บุคคลผู้นี้เคยรับใช้มาลิกชาฮฺแห่งเซลจูกเติร์กและตุตุชฺ น้องชายของมาลิกชาฮฺ, ซึ่งบุคคลหลังนี้ได้มอบปาเลสไตน์ให้อัรตุกปกครองในปีคศ.1086, ต่อมาบุตรชายของเขาสองคนคือ ซุกมานและเอลฆอซีย์ได้สืบอำนาจต่อมา ลูกหลานของซุกมานได้ปกครองป้อมปราการแห่งเมืองกัยฟ่า และมาร์ดีน ส่วนลูกหลานของเอลฆอซีย์ ได้ปกครองในเขตมาร์ดีน, มัยยาฟาริกีนและอเล็บโป (ฮะลับ)

15.อัลอุรเฏาะฮฺ อัซซะฮะบียะฮฺ (اَلأُرْطَةُ الذَّهَبِيَّةُ)
อาณาจักรของพวกมองโกล สถาปนาโดยบาตู ข่าน (คศ.1204-1255) หลานชายของเจงกีสข่านในเขตลุ่มน้ำวอลก้า (คศ.1242) มีดินแดนครอบคลุมไซบีเรีย, ภาคใต้ของรัสเซีย และลุ่มแม่น้ำวอลก้า มีนครซ่อรอยฺ เป็นราชธานี, ในรัชสมัยบาตู ข่านนั้นพวกมองโกลได้รุกรานโปแลนด์ ฮังการี และข้ามแม่น้ำดานูบไปยังบุลแกเรีย อาณาจักรนี้เริ่มเสื่อมลงในปีคศ.1502

16.อัรฆุน (أَرْغُوْن)
วงศ์ของมองโกลที่มีอำนาจปกครองแคว้นสินธุและบัลลูชิสตาน ระหว่างปีคศ.1479-1559 สถาปนาโดยซุนนูนฺ อัรฆุน ต่อมาพวกวงศ์อัรฆุนตัรข่านได้สืบอำนาจต่อมา และถูกจักรพรรดิอักบัร มหาราช แห่งราชวงศ์โมกุลปราบปรามในปีคศ.1591

17.อัลอะซาริเกาะฮฺ (أَلأَزَارِقَة)
กลุ่มหนึ่งจากพวกค่อวาริจญ์อ้างถึงนาฟิอฺ อิบนุ อัลอัซฺร็อกฺ (เสียชีวิตปีฮ.ศ.65/คศ.685) ซึ่งถูกสังหารในสมรภูมิดูล๊าบ รัชสมัยค่อลีฟะฮฺอับดุลลอฮฺ อิบนุ อัซซุบัยร์ พวกอะซาริเกาะฮฺได้ยึดครองเขตอัลอะฮฺว๊าซฺ (เมืองทางตะวันตกเฉียงใต้ของอิหร่าน) มีผู้นำคนสำคัญ คือ กอฏ่อรี่ย์ อิบนุ อัลฟุญาอะฮฺ (เสียชีวิตปีฮ.ศ.78/คศ.697) ซึ่งเป็นนักกวี เขาใช้ชีวิตไปในการต่อสู้ถึง 13 ปี และสามารถต้านทานการโจมตีของอัลฮัจฺญ๊าจฺ อิบนุ ยูซุฟ ก่อฏ่อรี่ย์ถูกสังหารในสมรภูมิแห่งเมืองฏ่อบะริสตาน ต่อมาพวกอะซาริเกาะฮฺได้ถูกแม่ทัพอัลมุฮัลลับ อิบนุ อบี ซุฟเราะฮฺปราบปราม

18.อัลอิสมาอิลี่ยูน (اَلإِسْمَاعِيْلِيُّوْنَ)
คือ กลุ่มชนที่กล่าวถึงการเป็นอิหม่ามของอิสมาอีล อิบนุ ญะอฺฟัร อัซซอดิก หลังจากบิดาของเขา กลุ่มหนึ่งจากพวกอิสมาอีลียะฮฺภายใต้การนำของอัลฮะซัน อิบนุ อัซซอบฺบาฮฺได้แยกจากค่อลีฟะฮฺ อัลมุสตะอฺลีย์แห่งราชวงศ์ฟาฏิมี่ยะฮฺ และให้สัตยาบันแก่นิซารฺ พระอนุชาของค่อลีฟะฮฺ

การลุกฮือของพวกอิสมาอิลียะฮฺประสบความล้มเหลวในนครอเล็กซานเดรีย อัลฮะซัน อิบนุ อัซซอบฺบาฮฺจึงย้ายไปยังป้อมปราการแห่งอะลาโมตในอิหร่าน (ปีคศ.1090) และสถาปนาการปกครองของพวกอันนิซารี่ยีนหรืออัลฮัชชาชีน ส่วนหนึ่งจากพวกนี้คือกลุ่มชีอะฮฺอิสมาอีลี่ยะฮฺที่ปฏิบัติตามอากา ข่านในปัจจุบัน ส่วนพวกที่ปฏิบัติตาม อัลมุสตะอฺลีย์รู้จักกันในทุกวันนี้ว่าพวกโบฮฺร่าหรืออัซซับอี่ยะฮฺ
19. อัลมุ่รอบิฏูน (اَلْمُرَابِطُوْنَ)
ชนชาติเบอร์เบอร์จากเผ่าลัมตูนะฮฺ ซึ่งเป็นเผ่าหนึ่งจากก๊กซอนฮาญะฮฺ, สถาปนารัฐอิสลามขึ้นในมอรอคโคและแผ่อำนาจปกครองมอรอคโค, เอ็นดะลูเซีย (สเปน) และแอฟริกาเหนือระหว่างปีฮ.ศ.448-541/คศ.1056-1147, รู้จักกันในนามอัลมุลัซฺซิมีนฺ (บรรดาผู้ปิดใบหน้า) และอัลมุรอบิฏูน เนื่องจากพวกนี้จะประกอบศาสนกิจอยู่ในริบาฏ (ซึ่งเป็นทั้งป้อมทหารรักษาการณ์และสถานที่ประกอบศาสนกิจ)
สุลตอนของพวกอัลมุรอบิฏูนที่เลื่องลือที่สุดคือ สุลตอนยูซุฟ อิบนุ ต๊าชฟีนฺ (อบูยะอฺกู๊บ อัลลัมตูนีย์) เสียชีวิตปีฮ.ศ.500/ค.ศ.1106 ผู้เป็นปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์และสร้างนครมัรรอกิชฺ (ในมอรอคโค) เพื่อเป็นศูนย์กลางในการปกครองและยึดครองเมืองฟ๊าส ตลอดจนแผ่อำนาจเหนืออาณาเขตของมอรอคโคทั้งหมด, ต่อมายูซุฟ อิบนุ ต๊าชฟีนฺได้นำทัพอัลมุรอบิฏูนเข้ายึดครองเอ็นดะลูเซียและปราบปรามเจ้าครองนครรัฐอิสระต่าง ๆ (อัฏฏ่อวาอิฟฺ) และได้สร้างความปราชัยแก่กองทัพของอัลฟองโซที่ 6 ในสมรภูมิอัซฺซัลลาเกาะฮฺ (ค.ศ.1086)

20. อัลมุวะฮฺฮิดูน (اَلْمُوَحِّدُوْنَ)
ชนชาติมอรอคโคสายชีอะฮฺ, มีอัลมะฮฺดีย์ อิบนุ ตูมัรฺต์เป็นผู้สถาปนาอาณาจักรภายหลังการล่มสลายของพวกอัลมุรอบิฏูน มีอำนาจปกครองในมอรอคโคและแผ่อำนาจเข้าสู่เอ็นดะลูเซีย (สเปน) ฮ.ศ.515-667/ค.ศ.1121-1269 เรียกกันว่า อัลมุอฺมินียะฮฺ ซึ่งอ้างถึงอับดุลมุอฺมิน อิบนุ อะลีซึ่งเป็นผู้สืบทอดต่อจากอิบนุ ตูมัรฺต์ และสามารถยึดครองนครมัรรอกิชฺ จากพวกอัลมุรอบิฏูนได้ในเวลาต่อมา
ส่วนหนึ่งจากบรรดาสุลตอนของพวกอัลมุวะฮฺฮิดูนคือ อบูยะอฺกู๊บ ยูซุฟและอบูยูซุฟ ยะอฺกู๊บ และเมื่อบุคคลหลังได้สิ้นชีวิตลงอำนาจของพวกอัลมุวะฮฺฮิดูนก็เริ่มเสื่อมลงและสูญเสียอำนาจในเอ็นดะลูเซียภายหลังสมรภูมิอัลอุก๊อบ (ฮ.ศ.609/ค.ศ.1212) และพวกฮัฟซียูนก็แยกตนเป็นอิสระในตูนิเซีย (ฮ.ศ.626/ค.ศ.1228) บะนู อับดิลว๊าด ในนครติลมิซาน (ฮ.ศ.633/ค.ศ.1235) และถูกพวกบะนูมีรีนปราบปรามในที่สุด

21. บรรดาเจ้าครองนครรัฐอิสระ (مُلُوْكُ الطَّوَاﺋﻒ) (ฮ.ศ.422-484/ค.ศ.1023-1091)
บรรดารัฐอิสระขนาดเล็กที่ตั้งขึ้นบนความล่มสลายของอาณาจักรอัลอุมะวียะฮฺในเอ็นดะลูเซีย (สเปน) ภายหลังยกเลิกการปกครองในระบอบคิลาฟะฮฺแห่งวงศ์อัลอุม่าวียะฮฺ บรรดาเสนาบดี, บรรดาเจ้าเมือง, เหล่าผู้นำชาวอาหรับและเบอร์เบอร์ได้แยกกันปกครองในอาณาเขตของตน รัฐอิสระที่มีอิทธิพลมากที่สุดคือ บะนู อับบ๊าด ในนครอิชบิลียะฮฺ (ซิวิลญ่า)
และส่วนหนึ่งจากบรรดาเจ้าครองนครรัฐอิสระ ได้แก่ บะนูญะฮฺวัรฺในนครโคโดบาฮฺ (กุรฏุบะฮฺ), บะนู ฮัมมู๊ดในอัลญะซีราซฺ (อัลญะซีเราะฮฺ อัลค็อฎรออฺ) และมะละกา (มาลิเกาะฮฺ), บะนู ซีรีย์ ในแกรนาดา (ฆอรฺนาเฏาะฮฺ), บะนู บิรฺซ๊าลในก็อรมูนะฮฺ, บะนู มุซัยน์ในเมืองชะลิบ, บะนู มุญาฮิดในเมืองดานิยะฮฺ, บะนู ตุญัยบ์ในซ่าร่าโกซ่า (ซัรกุสเฏาะฮฺ) และบะนู ซุมาดิฮฺในอัลมาเรีย (อัลมะรียะฮฺ), บะนู ซุนนูนฺ ในนครโทเลโด (ตุลัยตุละฮฺ) บะนู อัลอัฟฏ๊อซฺ ในบัฎลิอูซฺ, บะนู อามิรฺในบะลันซียะฮฺ (วาเลนเซีย) บะนู ฮูดในซัรกุสเฏาะฮฺ (ซ่าร่าโกซ่า)
ต่อมาพวกบะนู อับบ๊าดฺได้ขอความช่วยเหลือไปยังพวกอัลมุรอบิฏูนเพื่อต่อต้านการรุกรานของอัลฟองโซที่ 6 กษัตริย์คริสเตียนแห่งคาสทิลล่า (กิชตาละฮฺ) สุลตอนยูซุฟ อิบนุ ต๊าชฟีนฺจึงส่งกองทัพอัลมุรอบิฏูนจากแอฟริกาเหนือเข้าสู่เอ็นดะลูเซียและได้รับชัยชนะต่อกองทัพคริสเตียนในสมรภูมิอัซซัลลาเกาะฮฺ (ฮ.ศ.479/ค.ศ.1086) ในภายหลังยูซุฟ อิบนุ ต๊าชฟีนก็ได้ปราบปรามรัฐอิสระและแผ่อำนาจเข้าปกครองเอ็นดะลูเซียซึ่งเป็นการเริ่มต้นยุคอัลมุรอบิฏูนในเอ็นดะลูเซียในเวลาต่อมา

22. อัซซ่อฟะวียูน (اَلصَّفَوِيُّوْنَ)
ราชวงศ์ที่มีอำนาจปกครองในอิหร่าน (ค.ศ.1501-1731) เดิมเป็นแนวทางฏ่อรีเกาะฮฺซูฟีย์ที่กำเนิดขึ้นในเมืองอัรดะบีล (เมืองหนึ่งทางตอนเหนือของอิหร่าน) ซึ่งอ้างถึง ซ่อฟียุดดีน อัลอัรดะบีลีย์ (เสียชีวิตปีค.ศ.1334) นักซูฟีย์ชาวอิหร่าน, ราชวงศ์นี้มีชาฮฺอิสมาอีลที่ 1 เป็นผู้สถาปนาโดยปราบปรามอักก์ กินฺนูลู หรือชนเผ่าเติรกะเมนที่ถูกเรียกว่า “เผ่าแกะขาว” ที่แผ่อำนาจในอาณาเขตของดิยารบักร์จนถึงแม่น้ำยูเฟรติส,
หลังจากที่พวกมองโกลเริ่มรุกรานอาณาเขตดังกล่าวในปีค.ศ.1466 อุซูน ฮะซัน จึงย้ายเมืองหลวงไปยังนครตับรีซฺ ซึ่งต่อมาชาฮฺอิสมาอีลที่ 1 ก็ปราบปรามชนเผ่านี้และยึดเอานครตับรีซฺเป็นราชธานี พระองค์ใช้พระนามว่า ชาฮฺและประกาศให้นิกายชีอะฮฺเป็นนิกายหลักของอาณาจักรอัซซ่อฟะวียูน, ชาฮฺอิสมาอีลได้ปราชัยแก่อุษมานียะฮฺ (ออตโตมาน) ในสมรภูมิญัลดะรอน (ค.ศ.1514)
ต่อมาชาฮฺ ฏอฮฺมาซิบที่ 1 ได้ย้ายราชธานีไปยังนครก็อซฺวัยน์ (ค.ศ.1555) หลังจากนครตับรีซฺตกอยู่ในกำมือของอุษมานียะฮฺ (ออตโตมาน) และในปีค.ศ.1593 ชาฮฺอับบาส มหาราชที่ (ที่ 1) -ค.ศ.1571-1629- ได้ย้ายราชธานีไปยังนครอิสฟาฮานฺ, ในรัชสมัยของชาฮฺอับบาส มหาราชนั้นพระองค์ได้ผนวกแบกแดด, กัรบะลาอฺ, อันนะญัฟฺ, โมซุลและดิย๊ารบักร์เข้าไว้ในอำนาจและทำสนธิสัญญาประนีประนอมกับพวกอุษมานียะฮฺ, อาณาจักรอัซซ่อฟะวียะฮฺในรัชสมัยของพระองค์มีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอันมากในปีค.ศ.1722 พวกอัฟกันได้ยึดครองอิสฟาฮาน, แม่ทัพนาดิร ชาฮฺของอัซซ่อฟะวียะฮฺจึงขับไล่พวกอัฟกันออกไปและประกาศตั้งตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์ในปีค.ศ.1736, และราชวงศ์นี้ได้สิ้นสุดลงด้วยการสิ้นพระชนม์ของชาฮฺอับบาสที่ 3 (ค.ศ.1731-1736)

23. รัฐสุลตอนแห่งเดลฮี (سُلْطَنَةُدِهْلِىْ)
อาณาจักรที่บรรดาสุลตอนชาวมุสลิมได้ปกครองอินเดียเหนือในนามของบรรดาค่อลีฟะฮฺแห่งราชวงศ์อับบาซียะฮฺ, สถาปนาโดยอิลฺติมิชฺ (ชัมซุดดีน) ประกอบด้วยราชวงศ์ทาสชาวเติร์ก (ม่ามาลีก) คอลญี่ย์, ตัฆลุก, อัซซัยยิด และราชวงศ์ลูดีย์






บรรณานุกรม
จากhttp://www.alisuasaming.com/Word/wordmain_royal.html (สืบค้นวันที่ 29-12-2553)

โครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ และปัญหาที่สังคมไทยกำลังเผชิญอยู่ในเวลานี้

การพัฒนาเศษฐกิจในระยะที่ ผ่านมาว่าประสบผลสำเร็จเชิงวัตถุ แต่ในแง่สังคม ล้มเหลวสิ้นเชิง ดูได้จากความวุ่นวายทางการเมืองที่เกิดขึ้นช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมาที่มีรากเหง้าจากความเหลื่อมล้ำในอำนาจ ความมั่งคั่ง และโอกาสที่หมักหมมอยู่ในสังคมไทยมายาวนาน
ระดับความเหลื่อมล้ำในสังคม เป็นตัวกำหนดว่าคนในสังคมจะอยู่ด้วยกันอย่างร่วมมือร่วมใจ หรือขัดแย้ง จากการวิจัยพบว่า ประเทศที่ผู้คนมีความมั่งคั่งที่ไม่เท่าเทียมกันสูง ทุนทางสังคมของคนในประเทศนั้น จะต่ำ ความไว้เนื้อเชื่อใจต่อกันก็ต่ำ และโอกาสที่จะเกิดการทะเลาะเบาะแว้งระหว่างผู้คนย่อมมีอยู่สูง
การเผาสาขาของธนาคารพาณิชย์ ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ย่านราชประสงค์ สถานีโทรทัศน์ และอาคารพาณิชย์ บ่งบอกถึงการปะทุของ "แรงกดดันเชิงชนชั้น" ที่มีความแตกต่างอย่างมากมายระหว่าง "ผู้ได้โอกาส" กับ "ผู้ด้อยโอกาส" ระหว่าง "คนที่รู้" กับ "คนที่ไม่รู้" และระหว่าง "คนรวย" กับ "คนจน"
รากเหง้าของความเหลื่อมล้ำในอำนาจ ความมั่งคั่ง และโอกาส มาจากการที่สังคมไทยไม่ Clean & Clear ไม่ Free & Fair และไม่ Care & Share ต่อกัน
สังคมไทยเป็นสังคมที่ไม่มีความโปร่งใสในการจัด อันดับการทุจริตคอรัปชันของโลกความโปร่งใสของไทยยังอยู่ในอันดับที่ 57 จาก 62 ประเทศ ทั้งๆที่การทุจริตคอรัปชันเป็นรากเหง้าของความไม่เป็นธรรมในสังคม แต่แทนที่จะปราบปรามการทุจริตคอรัปชันอย่างจริงจัง กลับปล่อยให้การทุจริตคอรัปชันเป็นเครื่องมือของการแลกเปลี่ยน เพื่อให้เกิดความสมประโยชน์ทางการเมือง
การพัฒนาเชิงสังคมที่ล้มเหลว ถือเป็นเรื่องที่น่าสะพรึงกลัว เพราะความเหลื่อมล้ำของความมั่งคั่ง นำไปสู่ความเหลื่อมล้ำของอำนาจ ขณะที่โอกาสการสร้างสังคมที่เกื้อกูล และแบ่งปัน จะเป็นไปไม่ได้เลย ถ้าระดับความเหลื่อมล้ำยังคงมีอยู่เป็นปมปัญหาหลักของการที่ Care & Share Society ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในสังคมไทย
สังคมที่ไม่สะอาด ไม่โปร่งใส ไม่เปิดใจกว้าง และไม่เป็นธรรมต่อกัน ทำให้ความเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มคนหายไป แต่กลับทำให้ความเชื่อมโยงในกลุ่มเดียวกันเหนียวแน่นยิ่งขึ้น เกิดคุณค่าใหม่ ที่กลายเป็นอำนาจนิยม พวกพ้องนิยม บุญคุณนิยม และสุขนิยม ดังจะเห็นได้จากการที่นักการเมืองผู้มีอิทธิพลเกาะกลุ่มกันเองอย่างเหนียว แน่นเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อกัน

จงแก้ไขปัญหาความไม่เป็นธรรมในด้านรายได้ และโอกาสทางสังคม สร้างความเป็น ธรรมในรายได้ และโอกาสทางสังคม พร้อมประกาศเป็นโรดแม็ป

ข้อเสียของระบบเศรฐกิจแบบต่างๆ

ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
1. ก่อให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำอันเนื่องจากความสามารถที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคลโดยพื้นฐาน ทำให้ความสามารถในการหารายได้ไม่เท่ากัน ผู้ที่มีความสามารถสูงกว่าจะเป็นผู้ได้เปรียบผู้ที่อ่อนแอกว่าในทางเศรษฐกิจ
2. ในหลายๆกรณี ราคาหรือกลไกตลาดยังไม่ใช่เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพเพียงพอสำหรับการจัดสรรทรัพยากรของระบบเศรษฐกิจ ตัวอย่างเช่น สินค้าและบริการที่มีลักษณะของการผูกขาดโดยธรรมชาติหรือสินค้าและบริการสาธารณะ ซึ่งได้แก่ บริการด้านสาธารณูปโภค (น้ำประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์ ฯลฯ) โครงสร้างพื้นฐาน (ถนน เขื่อน สะพาน ฯลฯ) จะเห็นได้ว่าสินค้าและบริการดังกล่าวส่วนใหญ่จะต้องใช้เงินลงทุนมาก เทคโนโลยีที่ทันสมัย เสี่ยงกับภาวะการขาดทุน เนื่องจากมีระยะการคืนทุนนาน ไม่คุ้มค่าในเชิงเศรษฐกิจ ทำให้เอกชนไม่ค่อยกล้าลงทุนที่จะผลิต ส่งผลให้รัฐบาลต้องเข้ามาดำเนินการแทน อันเนื่องจากสินค้าและบริการเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานที่ประชาชนต้องการ จะเห็นได้ว่ากรณีดังกล่าวราคาไม่สามารถเข้ามาทำหน้าที่ในการจัดสรรทรัพยากรได้
3. การใช้ระบบการแข่งขันหรือกลไกราคาอาจทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรทางเศรษฐกิจอย่าง สิ้นเปลือง เช่น ในบางช่วงที่มีการแข่งขันกันสร้างศูนย์การค้าเพราะคิดว่าเป็นกิจการที่ให้ผลตอบแทนหรือกำไรดี ศูนย์การค้าเหล่านี้เมื่อสร้างขึ้นมามากเกินไปก็อาจไม่มีผู้ซื้อมากพอ ทำให้ประสบกับการขาดทุน กิจการต้องล้มเลิก เสียทุนที่ใช้ไปในกิจการนั้น เป็นการสูญเสียทรัพยากรทางเศรษฐกิจไปอย่างเปล่าประโยชน์และไม่คุ้มค่า เป็นต้น
ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์
1. ประชาชนไม่มีเสรีภาพที่จะผลิตหรือบริโภคอะไรได้ตามใจ ถูกบังคับหรือสั่งการจากรัฐ
2. สินค้ามีคุณภาพไม่ดีเท่าที่ควร เนื่องจากผู้ผลิตขาดแรงจูงใจ เพราะไม่ว่าจะผลิตสินค้าได้ มากน้อยเพียงใด คุณภาพเป็นอย่างไร ผู้บริโภคก็ไม่มีทางเลือกจะต้องบริโภคตามการปันส่วนที่รัฐจัดให้
3. การใช้ทรัพยากรทางเศรษฐกิจอาจเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถที่จะมีข่าวสารสมบูรณ์ในทุกๆเรื่อง เช่น รัฐไม่รู้ความต้องการที่แท้จริงของประชาชนทำให้ผลิต สินค้าที่ไม่ตรงกับความต้องการ ส่งผลให้มีสินค้าเหลือ (ไม่เป็นที่ต้องการ) จะเห็นได้ว่าลักษณะดังกล่าว ก่อให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรของประเทศไปโดยเปล่าประโยชน์ เป็นต้น
ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
4. ภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม เนื่องจากปัจจัยการผลิตพื้นฐานอยู่ในการควบคุมของ รัฐบาลทำให้ขาดความคล่องตัว การผลิตถูกจำกัดเพราะต้องผลิตตามที่รัฐกำหนด โอกาสที่จะขยายการผลิตหรือพัฒนาคุณภาพการผลิตเป็นไปค่อนข้างลำบาก ทำให้การใช้ทรัพยากรทางเศรษฐกิจอาจเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ในลักษณะเดียวกับระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์

ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบผสม
1. การมีกำไรและระบบกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินอาจก่อให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางฐานะ และรายได้เช่นเดียวกับระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
2. การที่รัฐสามารถเข้ามาแทรกแซงตลาดโดยใช้กลไกรัฐอาจก่อให้เกิด
1. ปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง ทำให้เกิดการบิดเบือน การใช้ทรัพยากรของระบบ เศรษฐกิจเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
2. ปัญหาเอกชนไม่กล้าลงทุนอย่างเต็มที่เนื่องจากไม่แน่ใจในสถานการณ์ทางการเมือง และนโยบายของรัฐบาลซึ่งมีความผันผวนและแปรเปลี่ยนได้ง่าย อาจทำให้เศรษฐกิจเกิดการหยุดชะงัก การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างไม่ต่อเนื่อง

เศรษฐศาสตร์อิสลาม

ท่านผู้อ่านอาจจะเคยได้ยินมาบ้างเกี่ยวกับระบบการเงินการธนาคารอิสลาม (Islamic Finance) Islamic Finance นั้นยังถือว่าใหม่อยู่สำหรับโลกของเรา ระบบนี้ได้เริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาเมื่อไม่กี่สิบปีนี้เอง แต่ถือได้ว่าอัตราการเติบโตของ Islamic Finance นั้นสูงมาก ประเทศไทยของเราเองก็มี ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย สิ่งหนึ่งที่ทุกคนกำลังเฝ้าดูอยู่คือ Islamic Finance นั้นจะสามารถรอดพ้นจากวิกฤตครั้งนี้ได้หรือไม่ การที่เราจะตอบคำถามนี้ได้ส่วนหนึ่งเราคงจะต้องเข้าใจ ระบบ Islamic Finance เสียก่อน และการเริ่มต้นนั้นก็คงต้องศึกษาไปที่วิชาเศรษฐศาสตร์ ระบบ Islamic Financeและเศรษฐศาสตร์อิสลาม (Islamic Economics) มีทั้งข้อเหมือนและต่างจากระบบของตะวันตก (Conventional System) หรือระบบทุนนิยม (Capitalism) ผู้เขียนเองและคนในแวดวง Islamic Finance จำนวนไม่น้อยต่างมีความเชื่อมั่นว่า ถ้าโลกของเราได้นำหลักการของอิสลามนี้ไปใช้อย่างเคร่งครัด ปัญหาเศรษฐกิจและการเงินจำนวนมากในทุกวันนี้คงจะไม่เกิดขึ้นหรือถ้าเกิด ผลกระทบก็น่าจะน้อยกว่าที่เป็นอยู่


หนึ่งในรูปแบบของระบบทุนนิยมที่แพร่หลายทั่วโลกทุกวันนี้ก็คือดอกเบี้ยในระบบเศรษฐกิจและการเงินการธนาคาร การทำงานของดอกเบี้ยนั้น อธิบายด้วยตัวอย่างง่ายๆ คือว่ามีนักลงทุนมาขอกู้เงินจากธนาคารไปลงทุน ไม่ว่าผลของการลงทุนนั้นจะไปได้ด้วยดีมีกำไร หรือล้มเหลวขาดทุน นักลงทุนยังคงจะต้องจ่ายค่าดอกเบี้ยคืนแก่ธนาคารธนาคารเองจะไม่รับรู้ผลของกำไรหรือร่วมแบกรับการขาดทุนนั้น หลักการอิสลามของเราได้ห้ามการทำการค้าการลงทุนในรูปแบบนี้ เราส่งเสริมให้มีการร่วมแบ่งกำไรและรับผิดชอบการขาดทุนระหว่างเจ้าของเงินทุน(ในที่นี้ธนาคาร) และนักลงทุน (Profit and Loss Sharing) หรือที่ฝรั่งเขาพูดกันว่า “no risk, no return” (อาหรับเรียกว่า al ghorm bil ghonm)


อิสลามได้กล่าวถึงผลเสียของระบบดอกเบี้ยว่าก่อให้เกิดการกระจุกตัวของเงินอยู่ในมือของคนส่วนน้อยก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในสังคม และเป็นการสร้างชนอีกชั้นหนึ่งที่ร่ำรวยมหาศาลหรือที่เรียกว่า พวกนายทุน ระบบดอกเบี้ยนั้นยังก่อให้เกิดผลเสียทางอ้อมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการคดโกงการทำทุกอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งเงินนั้นโดยไม่คำนึงถึงผู้อื่นและสังคมโดยรอบข้าง ตัวอย่างที่สำคัญคงจะดูได้จากคดีสองบริษัทยักษ์ใหญ่ของอเมริกา Enron และ Worldcom ที่มีการตกแต่งทางบัญชี หรือบริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้าน IT ของอินเดีย Satyam เมื่อไม่กี่เดือนมานี้เอง ระบบทุนนิยมนั้นสามารถกล่าวได้อีกอย่างว่าใช้หลัก “มือใครยาวสาวได้สาวเอา” ในทางกลับกัน ระบบเศรษฐศาสตร์อิสลามถึงแม้ทุกคนจะมีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ แต่จะต้องอยู่บนพื้นฐานของคุณธรรม เศรษฐศาสตร์อิสลามยึดหลักความเป็นพี่น้องของมุสลิมทั่วโลก เราส่งเสริมในเรื่องของสวัสดิการที่ทุกคนในสังคมควรจะได้รับเพื่อความเติบโตก้าวหน้าของสังคมประเทศชาติอย่างเท่าเทียมและยุติธรรม เพราะฉะนั้น อิสลามจึงห้ามอย่างเด็ดขาดที่จะให้มีการใช้รูปแบบของดอกเบี้ยในการทำการค้าการลงทุน



ปัญหาความไม่เท่าเทียมในสังคมหรือปัญหาการกระจายรายได้ถูกมองว่าเป็นผลเสียที่ชัดเจนของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมในแวดวงนักเศรษฐศาสตร์โดยเฉพาะสายการพัฒนา (Development Economics) ต่างให้ความสำคัญกับประเด็นนี้และถือได้ว่าเป็นเป้าหมายหลักของงานวิจัยจำนวนมากที่ต้องการหาวิธีการแก้ไขและทางออก


อิสลามคัดค้านการผูกขาดทางเศรษฐกิจ แต่สนับสนุนความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สำหรับทุกภาคส่วนของสังคม อิสลามส่งเสริมให้ทุกคนขยันทำงาน หาความรู้ เพื่อความอยู่ดีกินดีของตนเองและครอบครัว หากว่าการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไม่ใช่เป้าหมายอย่างเดียวสำหรับชีวิตนี้ นักเศรษฐศาสตร์จำนวนมากต่างใช้ GDP per Capita หรือผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติต่อหัว เพื่อบ่งบอกว่าประเทศพัฒนามากน้อยเพียงใดผู้เขียนมีความเห็นว่า GDP per Capita นั้นไม่เพียงพอที่จะบ่งบอกระดับของการพัฒนาเพราะเป็นการมองเพียงด้านวัตถุ ประชาชนของประเทศที่ได้ชื่อว่าพัฒนาแล้วจำนวน

มากซึ่งมีรายได้สูงแต่ทำไมไม่มีความสุข มีปัญหาการหย่าร้าง ฆ่าตัวตาย และปัญหาทางสังคมจำนวนมาก ในทางกลับกัน ได้มีการสำรวจวิจัยมาแล้วว่าประเทศเล็กๆ อย่าง ภูฏาน หรือ ประเทศที่ได้ชื่อว่ารายได้น้อยที่สุดแห่งหนึ่งของโลกอย่างบังคลาเทศ กลับมีระดับความสุขมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลกเราคงจะต้องถามตัวเองแล้วว่าเป้าหมายในชีวิตนี้คืออะไรกันแน่ เราจะอยู่กันเพียงเพื่อโลกนี้หรือเพื่อโลกหน้า


ในมุมของอิสลามแล้ว สินทรัพย์ของทุกคนนั้นถือว่าเป็นของพระเจ้า มนุษย์มีหน้าที่เพียงดูแลสินทรัพย์เหล่านั้นและใช้ไปในหนทางของพระเจ้าเพื่อประโยชน์สุขของสังคมโดยรวม เพราะฉะนั้นผู้ที่มีสินทรัพย์มากกว่าหรือพูดง่ายๆ ว่าร่ำรวย ก็จะต้องมีหน้าที่ความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวมมากยิ่งขึ้นตามไปด้วย อิสลามยังให้ความสำคัญกับการได้มาซึ่งสินทรัพย์เหล่านั้นด้วยว่าถูกต้องตามหลักการของอิสลามหรือไม่ไปโกงมาหรือเบียดเบียนใครมาหรือเปล่า


ในระบบเศรษฐกิจแบบอิสลาม สินทรัพย์และเงินทองคงจะไม่อยู่นิ่งในกระเป๋าของใครเป็นแน่ เพราะอิสลามได้ใช้ระบบซะกาตเข้ามาช่วยให้สินทรัพย์เหล่านั้นหมุนเวียนไปในทุกส่วนของระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะคนยากคนจน คนที่ได้รับความเดือดร้อน ซะกาตและระบบการค้าการลงทุนแบบ Profit and Loss Sharing นี่เองที่จะช่วยให้ปัญหาความไม่เท่าเทียมทางรายได้บรรเทาลงสังคม มีความรักความปรองดองเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน ผู้เขียนเองก็มีความเชื่อมั่นว่าจะได้เห็นรูปแบบการจัดการซะกาตในระดับชาติสำหรับประเทศไทยในเร็วๆ นี้


นี่เป็นความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างนี่เป็นความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างระบบเศรษฐกิจแบบอิสลาม แบบทุนนิยมและแบบสังคมนิยม (Socialism) ระบบทุนนิยมนั้นสินทรัพย์เป็นของผู้ที่หามาได้ จะหามาอย่างไร จะใช้สำหรับอะไร ทุนนิยมนั้น ไม่ใส่ใจ คนรวยก็รวยไป คนจนก็ช่างมันสำหรับระบบสังคมนิยม (ก่อนสงครามเย็นจะพบได้ในสหภาพโซเวียตและประเทศบริวาร จีน, เกาหลีเหนือ, เวียดนามเหนือ,ลาว ฯลฯ) ไม่มีใครเป็นเจ้าของสินทรัพย์หรือธุรกิจต่างๆ รัฐบาลคอมมิวนิสต์จะจัดการแบ่งสินทรัพย์เหล่านั้นแก่ทุกๆ คนอย่างเท่าเทียมกันเอง ฟังดูผิวเผินเหมือนจะดี ลองนึกดูสิว่าหากคุณทำงานหนักด้วยความพากเพียร แต่ทุกสิ่งที่คุณหามาได้ต้องตกเป็นของรัฐ คุณจะมีแรงบันดาลใจที่จะพัฒนาตนเอง ทำงานหนักอีกต่อไปหรือไม่


โดยสรุปแล้วระบบเศรษฐกิจแบบอิสลาม ในมุมมองของผู้เขียน ถึงแม้จะไม่หวือหวา อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงลิ่ว แต่ระบบเศรษฐกิจจะมั่นคง แม้ทุกคนจะได้รับสิ่งต่างๆ ตามที่ตนหามาได้ สังคมจะมีความเหลื่อมล้ำน้อยลง ผู้คนจะเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันมากขึ้น โลกโดยรวมจะมีความสุขมากขึ้นเพราะปัญหาต่างๆ ทางสังคมที่เกิดขึ้นทุกวันนี้จะน้อยลง ทุกสิ่งที่กล่าวมานี้สามารถเกิดขึ้นได้ถ้าในระบบเศรษฐกิจนั้นไม่มีดอกเบี้ย แต่ใช้ Profit and Loss Sharing แทนมีการนำหลักการของซะกาตมาบังคับใช้ และที่สำคัญไม่น้อยไปกว่านั้นคือทุกคนต่างทำทุกอย่างโดยระลึกถึงพระเจ้าและผู้คนรอบข้างในสังคมที่มีโอกาสทางเศรษฐกิจน้อยกว่าตนเอง


ที่มา:วารสารสุขสาระ

วันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553

หลักรัฐศาสตร์อิสลามกับการปรองดอง

                อัสสาลามูอาลัยกุมวาเราะห์มาตุลลอฮีวาบารอกาตุฮ อาอูซูบิลลาฮฮิมีนัซซัยฏอนนิรรอยีม
และจงรำลึกถึงขณะที่พระเจ้าของเจ้าได้ตรัสแก่มะลาอิกะฮฺว่า แท้จริงข้าจะให้มีผู้แทนคนหนึ่ง ในพิภพ มะลาอิกะฮฺได้ทูลขึ้นว่า พระองค์จะทรงให้มีขึ้นในพิภพซึ่งผู้ที่บ่อนทำลาย และก่อการนองเลือด ในพิภพกระนั้นหรือ? ทั้ง ๆ ที่พวกข้าพระองค์ให้ความบริสุทธิ์ พร้อมด้วยการสรรเสริญพระองค์ และเทิดทูนความบริสุทธิ์ในพระองค์ พระองค์ตรัสว่า แท้จริงข้ารู้ยิ่งในสิ่งที่พวกเจ้าไม่รู้ (อัลบากาเราะห์ : 20)
อิสลาม คือศาสนา ซึ่งอัลลอฮได้ทรงคัดเลือกศาสดาให้ทำการเผยแพร่ในแต่ละยุคในแต่ละสมัยตั้งแต่นบีอาดัม จนถึงนบีมูฮัมหมัด โดยที่สอนหลักการที่สำคัญที่สุดคือ ความเอกภาพของอัลลอฮ ให้เคารพพระเจ้าองค์เดียว อิสลามมิใช่เป็นศาสนาเพียงแค่ชื่อศาสนาที่พระเจ้าทรงเลือกศาสดาไปเผยแพร่แก่มนุษย์ แต่อิสลามยังเป็นธรรมชาติของสรรพสิ่งในโลกนี้อีกด้วย
อิสลามมิได้หมายถึงศาสนาเท่านั้น แต่อิสลามหมายถึงวิถีแห่งการดำเนินชีวิตหรือธรรมนูญแห่งชีวิต ของผู้นับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งทั้งระบบเศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง สังคม วัฒนธรรม การศึกษา และอื่นๆเป็นต้น และศาสดามูฮัมหมัดถูกส่งมาเพื่อความเมตตาแก่ประชาชาติทั้งหลาย ทั้งที่เป็นมุสลิมและมิใช่มุสลิม อัลลอฮได้ทรงตรัสไว้ว่า
ความว่า และเรามิได้ส่งเจ้ามาเพื่ออื่นใดนอกจากเพื่อเป็นความเมตตาแก่ประชาชาติทั้งหลาย (อัลอัมบิยาอฺ:107) จากอายัตอัลกุรอานที่ได้กล่าวมาข้างต้น เป็นจุดเริ่มต้นของหลักการทางรัฐศาสตร์อิสลาม คืออาณาจักรพระผู้เป็นเจ้า ระบบอาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้าโดยอิสลาม ระบบนี้มิได้ปกครองโดยชนชั้นศาสนาใดโดยเฉพาะ แต่สร้างขึ้นเพื่อชุมชนมุสลิมทั้งหมด รวมทั้งผู้มีตำแหน่งและคนต่ำต้อย ประชาชนมุสลิมทั้งหมดบริหารกิจการภาครัฐตามคัมภีร์อัลกุรอานของอัลลอฮ และปฏิบัติตามแนวทางของศาสดาของพระองค์คือ ศาสดามูฮัมหมัด อัลลอฮซุบฮานะฮุวาตะอาลา ได้ทรงตรัสว่า
ความว่า : โดยแน่นอนเราได้ส่งบรรดาร่อซูลของเราพร้อมด้วยหลักฐานทั้งหลายอันชัดแจ้งและเราได้ประทานคัมภีร์และความยุติธรรมลงมาพร้อมกับพวกเขาเพื่อมนุษย์จะได้ดำรงอยู่บนความเที่ยงธรรม และเราได้ให้มีเหล็กขึ้นมา เพราะในนั้นมีความแข็งแกร่งมาก และมีประโยชน์มากหลายสำหรับมนุษย์ และเพื่ออัลลอฮฺจะได้ทรงรู้ถึงผู้ที่ช่วยเหลือพระองค์ และบรรดารอซูลของพระองค์ (มีความเชื่อมั่น) โดยทางลับ (ต่อพระองค์) แท้จริงอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงพลัง ผู้ทรงอำนาจ (อัลฮาดีด : 25)

ในโองการนี้เหล็กเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจทางการเมือง และทำให้กระจ่างชัดว่า ภารกิจของท่านศาสดา คือการกำหนดเงื่อนไข ซึ่งประชาชนผู้เป็นมวลชน จะได้รับความยุติธรรมทางสังคมอย่างแน่นอนตามมาตรฐานที่ได้ประกาศไว้โดยพระผู้เป็นเจ้า ในคัมภีร์ของพระองค์ ซึ่งได้มอบคำสอนอย่างแจ่มชัด สำหรับประมวลกฎหมายของชีวิต ที่มีวินัยเป็นอย่างดี
(ฮัสบุลลอฮ ตาเห,เอกสารประกอบการสอนรายวิชารัฐศาสตร์เบื้องต้น,สาขารัฐประศาสนศาสตร์มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา)

อิสลามได้บัญญัติสิทธิต่างๆโดยทั่วไปของชนต่างศาสนิกทั้งที่เป็นพลเมืองและผู้อาศัยที่อยู่ภายใต้ การคุ้มครองของรัฐอิสลามดังต่อไปนี้
1.สิทธิด้านเกียรติแห่งความเป็นมนุษย์
ท่านรอซูลลุลลอฮได้กล่าวในคำปราศรัยในคุฏบะฮ พิธีฮัจญ์อำลาในปีที่10 ฮิจเราะห์ศักราช มีใจความว่า โอ้มนุษยชาติ พึ่งทราบเถิดว่า แท้จริงองค์อภิบาลของพวกเจ้ามีเพียงหนึ่งเดียว และแท้จริงบิดาของพวกเจ้ามีหนึ่งเดียว พึ่งทราบเถิดว่า ชาวอาหรับไม่ได้ประเสริฐไปกว่า ชาวต่างชาติ และชาวต่างชาติก็ไม่ได้ประเสริฐไปกว่าชาวผิวแดง ชาวผิวแดงไม่ประเสริฐไปกว่าชาวผิวดำ และชาวผิวดำไม่ได้ประเสริฐไปกว่าชาวผิวแดง นอกจากความยำเกรงต่ออัลลอฮ
ดังนั้นเป็นที่ประจักษ์แล้วว่า อิสลามให้เกียรติแห่งความเป็นมนุษยชาติอย่างเหลือล้น ไม่ว่าพวกเขาเหล่านั้นจะเป็นมุสลิมหรือมิใช่มุสลิม ก็จะได้รับความคุ้มครอง
2.สิทธิความอิสระในด้านความเชื่อ
อัลลอฮซุบฮานาฮุวาตะอาลา ได้ตรัสว่า ความว่า ไม่มีการบังคับใดๆในการเข้ารับนับถือศาสนาอิสลาม (อัลบากอเราะห์ :256 ) จากอายัตดังกล่าวจะเห็นได้ว่าอิสลามไม่มีการบังคับบรรดาผู้ที่มีความเชื่อต่างจากตนให้เข้ารับอิสลาม แต่ทว่ากลับให้สิทธิเสรีภาพ และเปิดโอกาสอย่างเต็มที่ แก่ผู้ที่มิใช่มุสลิม ที่ยึดมั่นในศาสนาของตนต่อไป
3.สิทธิด้านการยึดมั่นในบทบัญญัติศาสนา
อิสลามไม่เคยบังคับให้คนต่างศาสนิก ปฏิบัติตามบทบัญญัติอิสลามดังที่มุสลิมต้องปฏิบัติ พวกเขาจึงได้รับการอนุโลมโดยไม่ต้องจ่ายซะกาต ไม่ต้องละหมาด และอื่นๆเป็นต้น ที่บัญญัติไว้ในอัลกุรอาน แต่ทว่ามุสลิมจะปฏิเสธศรัทธาไม่ได้เด็ดขาดแต่พวกเขาจะต้องจ่ายค่าญิซยะห์ อันน้อยนิดเพื่อแหลกกับการอนุโลมดังกล่าว
อิสลามไม่เคยลงโทษพลเมืองต่างศาสนิกในความผิดตามบทบัญญัติอิสลาม ตราบใดสิ่งดังกล่าวเป้นสิ่งที่อนุมัติในศาสนาของพวกเขา เช่นการดื่มเหล้า บริโภคเนื้อสุกร เป็นต้น ซึ่งแน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้เป้นที่ต้องห้ามในอิสลาม

4.สิทธิด้านความยุติธรรม
อัลลอฮตะอาลาได้ทรงตรัสว่า ความว่า
ถ้าหากพวกเขามาหาเจ้า ก็จงตัดสินระหว่างพวกเขา หรือไม่ก็หลีกเลี่ยงพวกเขาเสีย และถ้าหากเจ้าหลีกเลี่ยงพวกเขา พวกเขาก็จะไม่ให้โทษแก่เจ้าได้แต่อย่างใดเลย และหากเจ้าตัดสินใจ ก็จงตัดสินใจระหว่างพวกเขา ด้วยความยุติธรรม แท้จริงอัลลอฮ์นั้นทรงรักบรรดาผู้ที่ยุติธรรม (อัลมาอีดะห์ : 42)

จากอายัตดังกล่าวจะเห็นได้ว่า อิสลามให้ความสำคัญที่เต็มเปี่ยมของอิสลามต่อพลเมืองที่มิใช่มุสลิม นอกเหนือจากการให้ความอิสระแก่พวกเขาในการขึ้นศาลและพิจรณาคดีตามบทบัญญัติศาสนาของพวกเขาแล้ว อิสลามยังยืนยันถึงความเสมอภาคระหว่างพวกเขากับชาวมุสลิมในสิทธิแห่งความเป็นธรรมที่พึ่งจะได้รับ
5.สิทธิด้านการให้ความคุ้มครองต่อเลือดเนื้อทรัพย์สินและเกียรติ
ท่านรอซูลลุลลอฮ ได้กล่าวคุฏบะฮในวันอารอฟะฮว่า ความว่า แท้จริงเลือดเนื้อของพวกเจ้า และเกียรติของพวกเจ้าเป้นที่ต้องห้ามสำหรับพวกเจ้า เสมือนกับสิ่งที่ต้องห้ามในวันนี้(วันอารอฟะฮ) ของพวกเจ้า ในพื้นแผ่นดินของพวกเจ้าผืนนี้ และในเดือนของพวกเจ้าเดือนนี้ (ซุลฮิจญะฮ)
จากที่กล่าวมาข้างต้นไม่ได้ห้ามเฉพาะมุสลิมเท่านั้น เพราะท่านนบีมูฮัมหมัด กล่าวว่า ความว่า ผู้ใดสังหารชีวิตต่างศาสนิกอยู่ในพันธะสัญญา เขาจะไม่ได้สัมผัสกับกลิ่นของสวรรค์ และแท้จริงกลิ่นอายของมันสามารถสัมผัสได้ในระยะทางถึงสี่สิบปี บอกโดยบุคอรีย์
ดังนั้นอิสลามไม่อนุญาตให้ทำร้ายชนศาสนิกไม่ว่าเขาจะเป็นพลเมืองดั้งเดิมหรือผู้มาเยี่ยมก็ตาม โดยปราศจากความชอบธรรมหรือจะด้วยวิธีใดก็ตาม
6.สิทธิด้านการป้องกันจากศัตรูผู้รุกราน
อัลมัรวาดีย์กล่าวว่า ชาวซิมมีย์ ต้องได้รับสิทธิอันชอบธรรมอันเนื่องจากการจ่ายส่วยญิซยะฮของพวกเขา 2 ประการดังนี้ คือ 1.ต้องไม่ทำอันตรายต่อพวกเขา 2.ต้องให้ความคุ้มครองและปกป้องพวกเขา เพราะการไมทำอันตรายต่อพวกเขา ทำให้พวกเขามีชีวิตอยู่อย่างสงบสันติ และการให้ความคุ้มครองและปกป้องพวกเขา ทำให้พวกเขาได้รับการดูแลอารักษ์ขา ดังนั้น การละเลยต่อการให้ความคุ้มครองพวกเขา ถือว่าเป็นการอธรรมที่ร้ายแรงยิ่ง อัลลอฮได้ตรัสว่า ความว่า และผู้ใดในหมู่พวกเจ้าที่ปฏิบัติอธรรม แน่แท้เราจะให้เขาได้ลิ้มรสแห่งการลงโทษสาหัสยิ่ง (อัลฟุรกอน 19)

7.สิทธิด้านการปฏิบัติที่ดีต่อกัน
อัลลอฮทรงตรัสว่า ความว่า อัลลอฮฺมิได้ทรงห้ามพวกเจ้าเกี่ยวกับบรรดาผู้ที่มิได้ต่อต้านพวกเจ้าในเรื่องศาสนาและพวกเขามิได้ขับไล่พวกเจ้าออกจากบ้านเรือนของพวกเจ้าในการที่พวกเจ้าจะทำความดีแก่พวกเขา และให้ความยุติธรรมแก่พวกเขา แท้จริงอัลลอฮฺทรงรักผู้มีความยุติธรรม แต่ว่าอัลลอฮทรงห้ามพวกเจ้าเกี่ยวกับบรรดาผู้ที่ต่อต้านพวกเจ้าในเรื่องศาสนาและขับไล่พวกเจ้าออกจากบ้านเรือนของพวกเจ้า และช่วยเหลือให้ขับไล่พวกเจ้าในการที่พวกเจ้าจะผูกมิตรกับพวกเขาและผู้ใดผูกมิตรกับพวกเขา ชนเหล่านั้นพวกเขาเป็นผู้อธรรม (อัลมุมตาฮินะฮ :8-9)
จากอายัตดังกล่าวจะเห็นได้ว่า หลักการพื้นฐานการเสริมสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกันกับชุมชนต่างศาสนิก มีลักษณะการการปฏิบัติที่ดี ความเอื้ออาทร เมตตา ตราบใดที่ไม่เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าพวกเขา ได้ตั้งตนเป้นศัตรูกับอิสลามและชาวมุสลิมอย่างชัดแจ้ง
8.สิทธิด้านการให้หลักประกันสังคม
อัลลอฮทรงตรัสว่า ความว่า “แท้จริงทานทั้งหลายนั้น สำหรับบรรดาผู้ที่ยากจนและบรรดาผู้ที่ขัดสนบรรดาเจ้าหน้าที่ในการรวบรวมมัน และบรรดาผู้ที่หัวใจของพวกเขาสนิทสนม และในการไถ่ทาส และบรรดาผู้ที่หนี้สินล้นตัวและในทางของอัลลอฮ์ และผู้ที่อยู่ในระหว่างเดินทาง ทั้งนี้เป็นบัญญัติอันจำเป็นซึ่งมาจากอัลลอฮ์ และอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงรอบรู้ ผู้ทรงปรีชาญาณ (อัตเตาบะฮ: 60)
จากอายัตอัลกุรอานข้างตนจะเห้นได้ว่า หลักประกันทางสังคมเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในสังคม เพื่อเป็นการบรรเทาช่วยเหลือผู้ที่ด้อยโอกาสที่ยากจน หรือขัดสน ในการที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีให้มีความสงบสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
(ศอลิห์ หุสัยน์ อัลอายิด ; อุษมาน อิดรีส, ถอดความและเรียบเรียง,สิทธิของชนต่างศาสนิกในประเทศอิสลาม,ปัตตานี : วิทยาลัยอิสลามยะลา, 2548.)

                 โมเดลการปรองดองในอิสลามโดยมีแบบฉบับจากท่านศาสดามูฮัมหมัดศ็อลฯ


1.การสร้างความเป็นน้องระหว่างเผ่าเอาส์กับเผ่าค็อซรอจญ์ที่รบกันมาเป็นเวลายาวนานที่นครมาดีนะห์ด้วยอัลอิสลาม

2.การจับมือเป็นพี่น้องกันระหว่างกลุ่มมูฮาญีรีนกับอันศอรที่นครมาดีนะห์
          บรรดากลุ่มที่อพยพ(อัลมุฮาญิรูน) ได้ทิ้งทั้งบ้านเรือนและที่อยู่อาศัย ตลอดจนทรัพย์สินรวมถึงครอบครัวไว้ที่นครมักกะห์ ซึ่งพวกเขาได้มาพร้อมกับหัวใจและไม่มีสิ่งใดเลยที่ติดตัวมานอกจากศาสนา ดังนั้นจึงเกิดปัญหาหลายด้านด้วยกัน บ้างขาดแคลนที่อยู่อาศัย ไม่มีญาติพี่น้อง ไม่มีใครที่จะช่วยเหลือแม้แต่ที่หลับนอนพักแรม และปัญหาของคนพลัดถิ่นที่ต้องรอนแรมไปยังที่อื่น ยังคงเป็นปัญหาที่สังคมมนุษยชาติต้องทนทุกข์ทรมานอยู่ทุกยุคทุกสมัย ซึ่งมิใช่เป็นการง่ายที่จะแก้ไขได้ด้วยระยะเวลาเพียงสั้น ๆ หากแต่ว่าบุคคลซึ่งเป็นผู้นำแห่งมนุษยชาติ(ท่านนะบี) ได้วางแนวทางแก้ไขไว้อย่างชัดเจนยิ่ง และด้วยความพยายามที่จะแก้ปัญหาต่างๆให้ลุล่วงไปด้วยดี โดยการให้จับมือเป็นพี่เป็นน้องกันระหว่างกลุ่มของผู้อพยพ (มุฮาญิรีน) กับ กลุ่มผู้ให้ความช่วยเหลือ (ชาวอันศ็อร)  ซึ่งเป็นเจ้าของท้องถิ่น โดยแต่ละฝ่ายจับมือเป็นพี่น้องกันเป็นคู่ๆ จึงทำให้เกิดความอบอุ่นใจแก่บรรดาคนต่างถิ่น และเป็นการลดความทุกข์ยากรวมถึงทำให้เกิดความสนิทสนมซึ่งกันและกัน อีกทั้งความเป็นพี่เป็นน้องกันระหว่างกลุ่มมุฮาญิรีนกับกลุ่มอันศ็อร มีความลึกซึ้งเกินกว่าพี่น้องทางสายเลือดเสียอีก และไม่เคยเห็นรูปแบบของความสัมพันธ์อย่างนี้ในสมัยใดมาก่อนเลย จนมีสิทธิ์รับมรดกทางทรัพย์สินซึ่งมากกว่าทายาทด้วยซ้ำ และการจับมือเป็นพี่เป็นน้องกันมิได้สร้างความหนักอกหนักใจให้แก่ชาวอันศ็อร ซึ่งบรรดาชาวอันศ็อรจะต้องบรรเทาทุกข์ด้วยการแบ่งปันทรัพย์สิน ดูแลเอาใจใส่ใกล้ชิด ฯลฯ ในทางกลับกันชาวอันศ็อรต้องการที่จะให้มากกว่าที่ถูกเรียกร้องเสียอีก จากการจับมือเป็นพี่เป็นน้องกันนี้ พวกเขาได้เสนอต่อท่านเราะซูลลุลลอฮ์ ว่าจะแบ่งปันสวนอินทผลัมให้แก่พี่น้องชาวมุฮาญิรีนอีกด้วย แต่ท่านไม่รับข้อเสนอดังกล่าว ชาวอันศ็อรจึงเสนอให้ชาวมุฮาญิรีนสามารถเข้าไปใช้แรงงานในสวน แล้วพวกเขาจะแบ่งปันผลอินทผลัมให้ กลุ่มมุฮาญิรีนจึงรับข้อเสนอนั้น (*3*)
อัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ทรงชมเชยชาวอันศ็อรและแจ้งถึงส่วนที่พวกเขามีความเอื้อเฟื้อเมตตาในคำตรัสของพระองค์ ว่า :
          “และบรรดาผู้ที่ได้ตั้งหลักแหล่งอยู่ในนครมะดีนะฮ์(ชาวอันศ็อร) และพวกเขาได้ศรัทธาก่อนหน้า การอพยพของพวกเขา (ชาวมุฮาญิรีน) พวกเขารักใคร่ผู้ที่อพยพมายังพวกเขา     และจะไม่พบความต้องการหรือความอิจฉาอยู่ในหัวอกของพวกเขาในสิ่งที่ได้ถูกประทานให้ และยังให้สิทธิ์แก่ผู้อื่นก่อนตัวของพวกเขาเอง ถึงแม้ว่าพวกเขายังมีความต้องการอยู่มากก็ตาม และผู้ใดปกป้องการตระหนี่ที่อยู่ในตัวของเขา ชนเหล่านั้นพวกเขาเป็นผู้ประสบความสำเร็จ” (อัลฮัชร์ 59 : 9)
          บรรดามุฮาญิรีนเกรงว่าชาวอันศ็อร จะรับเอาผลบุญที่จะได้แก่พวกเขาไปหมดสิ้น ชาวมุฮาญิรีนจึงพูดกับท่านเราะซูล ว่า :
          “โอ้ ผู้เป็นเราะซูลของอัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลา พวกเราไม่เคยพบใครเหมือนกับกลุ่มคนที่พวกเราอพยพมา พวกเขาได้ทุ่มเทให้อย่างมากมาย และไม่เคยเห็นใครที่ได้แสดงความเป็นพี่เป็นน้อง แม้ในส่วนเล็กน้อย พวกเขาได้ให้พวกเราร่วมทุกข์ร่วมสุขด้วย พวกเราได้มีความเป็นอยู่อย่างเพียงพอ ซึ่งแน่นอน พวกเราเกรงว่าพวกเขาจะเอาผลบุญไปหมดสิ้น”
ท่านนะบี จึงได้กล่าวว่า :
          (( كَلاَّ مَا أثْنَيْتُمْ عَلَيْهِمْ بِهِ ، وَدَعَوْتُمْ اللهَ – عز وجل – لَهُمْ ))
          ความว่า : “ใช่แล้ว ตามที่พวกท่านกล่าวชมพวกเขานั้น และพวกท่านได้ขอวิงวอนต่ออัลลอฮฮ์ –อัซซะวะญัล- ให้กับพวกเขา”  (*4*)
          ซะอ์ด บิน อัรร่อบีอะฮ์ ที่เป็นชาวอันศ็อรกับพี่น้องของเขา คือ อับดุรเราะฮ์มาน บิน เอ๊าฟ จากชาวมุฮาญิรีน ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุมา ชาวอันศ็อรที่มีความจริงใจเมตตาสงสารต่อชาวมุฮาญิรีน และชาวมุฮาญิรีนที่รู้สึกสำนึกในบุญคุณอันงดงามยิ่ง ท่านเราะซูล ให้เขาจับมือเป็นพี่น้องกันระหว่างทั้งสองคน แล้ว ซะอ์ด ได้เสนอทรัพย์สินที่มีอยู่ให้แก่อับดุรเราะฮ์มานครึ่งหนึ่ง ตลอดจนจะทำการหย่าภรรยาของเขาหนึ่งในสองคนที่มีอยู่แล้วให้ได้แต่งงานด้วย อับดุรเราะฮ์มานจึงพูดว่า :
          “ขออัลลอฮฺทรงประทานศิริมงคลให้แก่ท่านในครอบครัวและทรัพย์สินของท่านด้วยเถิด”   (เขาไม่รับข้อเสนอนั้น)
แล้วพูดว่า :
          “ขอท่านจงบอกแหล่งท้องตลาดให้แก่ฉันด้วย”
          อับดุรเราะฮ์มานได้วนเวียนค้าขายอยู่ในตลาด จนเขาได้กลายเป็นคนมั่งคั่งในหมู่ชาวมุฮาญิรีน (*5*)
          แท้จริง การจับมือเป็นพี่น้องกันได้นำไปสู่ความผูกพันทางใจแก่บรรดาผู้ศรัทธาและทำให้อบอุ่นใจยิ่งในบรรดาชาวมุฮาญิรีน เป็นการสร้างสังคมที่มีความมั่นคงเป็นปึกแผ่น เปี่ยมด้วยความรัก ความเป็นพี่น้อง เมื่อการดำรงชีวิตของชาวมุฮาญิรีนมีความสมบูรณ์ดีและมั่นคงเป็นที่พอเพียงแล้ว อัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ทรงยกเลิกการรับมรดกตกทอดกันในรูปของการจับมือเป็นพี่น้องกัน โดยเปลี่ยนเป็นการรับมรดกโดยทางสายเลือดดังดำรัสของพระองค์ดังดำรัสของพระองค์ที่ว่า :
         "และบรรดาผู้ที่ได้ศรัทธาที่หลัง และได้อพยพ และต่อสู้ร่วมกับพวกเจ้านั้น ชนเหล่านี้แหละเป็นส่วนหนึ่งของพวกเจ้า และบรรดาญาตินั้น บางส่วนของพวกเขาเป็นผู้สมควรต่ออีกบางส่วน ในคัมภีร์ของอัลลอฮฺ แท้จริงอัลลอฮฺนั้นทรงรอบรู้ในทุกสิ่งทุกอย่าง" (อัลอันฟาล 8 : 75)
หมายเหตุ
1.ดู ซอฮี๊ฮฺ อัลบุคอรีย์ : กิตาบ-อัศศอลาฮ์- เรื่อง : บุนยานุ้ลมัสญิด ซึ่งอยู่ในหนังสือ ฟัตฮุ้ลบารีย์เล่มที่ 1 หน้า 540
2.ดูหนังสือ : “ดิรอซะฮ์ ฟิสซีเราะฮฺ” หน้า 149

  • 3.ดู หนังสือ : ฟัตฮุ้ลบารีย์ ของอิบนิ ฮะญัร เล่มที่ 5 / 8 หน้า 322 อยู่ในคำอธิบายฮะดีษที่มีในซอฮี๊ฮฺ อัลบุคอรีย์ หมายเลข 2325---271
  • 4.สุนันติรมิซี 4/653 มัสนัด อะฮฺมัด 3/200 สุนัน บัยหะกี 6/183
  • 5.เรื่องนี้ไปดูที่ซอฮีฮฺห์ อัลบุคอรีย์ : กิตาบุ้ลบุยู๊อฺ บาบ : บท เมื่อเสร็จสิ้นการละหมาดแล้วจึงแยกย้ายไปบนหน้าแผ่นดิน หะดีษที่ 2048 - 2049

  • อ้างจาก http://www.islammore.com/main/content.php?page=sub&category=10&id=1763

    3.การประนีประนอมที่ "อัลฮุดัยบียะห์"
                     หลังจากบรรดามุสลิมได้อพยพมาอยู่ที่มะดีนะฮ์ 6 ปี พวกเขาถูกตัดขาดมิให้เยี่ยมเยือนมัสญิด อัล ฮะรอม และการฏอวาฟที่บัยตุลลอฮ์ ทั้งๆ ที่พวกเขามีสิทธิ์ในการเยี่ยมเยือนและทำการดูแลมากกว่าพวกมุชริกีน ครั้นเมื่ออัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ได้ทรงให้บรรดามุสลิมมีความเข้มแข็ง มีกำลังมากขึ้น และทรงทำให้ฝ่ายมุชริกีนอ่อนกำลังหลังจากสมรภูมิสนามเพลาะจบลง จึงถึงเวลาที่บรรดามุสลิมจะได้ไปเยี่ยมเยือนมัสญิด อัล ฮะรอม เหมือนกับชาวอาหรับอื่นๆ สิ่งที่ทำให้ท่านเราะซูล ต้องทำเช่นนั้น คือ ท่านได้ฝันเห็นว่าท่านและบรรดาศอฮาบะฮ์ทำการฏอวาฟอุมเราะฮ์ ที่บัยติลลาฮิลฮะรอม
               “แท้จริง อัลลอฮ์ ได้ทรงทำให้ความฝันนั้นเป็นจริงแก่เราะซูลของพระองค์ด้วยความเป็นจริง แน่นอน พวกเจ้าจะได้เข้าสู่มัสญิดอัล ฮะรอม อย่างปลอดภัยตามที่อัลลอฮ์ ทรงประสงค์โดย (บางคน) ของพวกเจ้าโกนผมและ (อีกบางคน) ตัดผม พวกเขาไม่มีความหวาดกลัวใด ๆ เพราะอัลลอฮ์ ทรงรอบรู้สิ่งที่พวกเจ้าไม่รู้ ดังนั้น พระองค์จึงได้ทรงกำหนดชัยชนะอื่นจากนั้นด้วยกับชัยชนะอันใกล้นี้”   (อัลฟัตฮ์ 48 : 27)
              ท่านนะบี ได้คาดการณ์แล้วว่าพวกกุเรชจะขัดขวางมิให้เข้าสู่มักกะฮ์  ท่านจึงพยายามรวบรวมมุสลิมให้ได้มากที่สุด มีบรรดามุสลิมีนที่ไปพร้อมกับท่านถึง 10,400 คน(*1*)   และได้แสดงให้ชาวกุเรชเห็นว่าเจตนาของท่านนั้นบริสุทธิ์ใจ มิได้ออกไปเพื่อทำสงครามด้วย ท่านได้ต้อนฝูงสัตว์ที่จะเชือดในการทำพิธีให้อยู่หน้าขบวน และพร้อมทั้งสวมชุดอิฮรามเพื่อทำอุมเราะฮ์ และเมื่อได้ทราบข่าวในระหว่างทางว่าชาวกุเรชเตรียมขัดขวางไม่ให้เข้ามักกะฮ์ และมีเจตนาที่จะทำสงคราม ท่านจึงเปลี่ยนเส้นทางเดินเพื่อหลบเลี่ยงการปะทะ จนเดินทางไปถึงที่ “ อัลฮุดัยบียะฮ์ ” และลงพักที่ตรงนั้น

    การทำสัตยาบัน  “อัรริฎวาน”
              สถานที่อัล ฮุดัยบียะฮ์นี้เอง ท่านนะบี ได้ส่งอุษมาน บิน อัฟฟาน เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เป็นตัวแทนเพื่อเจรจากับพวกกุเรช และพยายามที่จะให้พวกเขาเปิดเส้นทางให้บรรดามุสลิมเข้าสู่มัสญิดอัล ฮะรอม และ ทำอุมเราะฮ์ แต่ว่าพวกกุเรชได้กักขังหน่วงเหนี่ยวอุษมาน แล้วปล่อยข่าวว่าได้ทำการสังหารอุษมานเสียแล้ว   ท่านเราะซูล จึงให้บรรดาซอฮาบะฮ์ทำสัตยาบัน ในการร่วมเป็นร่วมตายด้วยกัน บรรดาซอฮาบะฮ์จึงจับมือทำสัตยาบันร่วมกับบท่านนะบี และเรียกการทำสัตยาบันครั้งนี้ว่า “บัยอะตุรริฎวาน” ซึ่งทำกันใต้ต้นไม้ต้นหนึ่ง อัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ทรงชมเชยผู้ที่เข้าทำสัตยาบันในครั้งนี้ ด้วยโองการที่กล่าวว่า :
               “แท้จริง อัลลอฮ์ ทรงพอพระทัยต่อบรรดาผู้ศรัทธา ขณะที่พวกเขาให้สัตยาบันแก่เจ้า (มุฮัมมัด) ใต้ต้นไม้ (ที่ฮุดัยบียะฮ์) พระองค์ทรงรอบรู้ดีถึงสิ่งที่มีอยู่ในจิตใจของพวกเขา พระองค์จึงได้ทรงประทานความสงบใจลงมาบนพวกเขาและได้ทรงตอบแทนให้แก่พวกเขาซึ่งชัยชนะอันใกล้นี้”  (อัลฟัตฮ์ 48 : 18)
              เมื่อพวกกุเรชได้ล่วงรู้ถึงการทำสัตยบัน พวกเขาจึงปล่อยท่านอุษมาน เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ แล้วส่งตัวแทนเพื่อเจรจาต่อรองกับท่านนะบีมุฮัมมัด ทั้งสองฝ่ายได้ยืนยันแก่ชาวกุเรชว่า ท่านนะบีมุฮัมมัด กับบรรดาศอฮาบะฮ์นั้นมิได้มาเพื่อสู้รบ หากแต่ว่ามาเพื่อทำการเยี่ยมเยือน (ซิยาเราะฮ์) อัลบัยตัลฮะรอม แต่พวกกุเรชไม่ยอมอนุญาตให้ตามที่ได้แจ้งไป เพราะการอนุญาตนั้นพวกเขาถือว่าเป็นการทำลายศักดิ์ศรีของพวกเขาต่อหน้าชาวอาหรับ ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงคิดหาทางออก และทำให้เกิดการประนีประนอมเพื่อรักษาหน้าไว้ และแสดงให้เห็นถึงความอ่อนแอของมุสลิมจากข้อตกลง  ท่านเราะซูล ได้ตกลงร่วมกับพวกเขาคือ ;
    • ให้มุสลิมเดินทางกลับในปีนี้ โดยไม่เข้ามักกะฮ์เพื่อทำอุมเราะฮ์ แล้วปีหน้าให้กลับไปทำใหม่
    • ให้ยุติสงครามระหว่างทั้งสองฝ่าย เป็นระยะเวลา 10 ปี
    • ใครที่เป็นมุสลิมออกจากมักกะฮ์ไปอยู่มะดีนะฮ์ให้ส่งกลับมักกะฮ์
    • ใครออกจากการเป็นมุสลิมแล้วกลับไปมักกะฮ์ ชาวกุเรชจะไม่ส่งคืนเขาให้กับมุสลิม
    • บุคคลในเผ่าต่าง ๆ ที่จะเข้ารวมกับมุฮัมมัดหรือกุเรช พวกเขาก็ย่อมทำได้และให้แต่ละฝ่ายเคารพให้เกียรติพันธมิตรอื่น ๆ ด้วย
              เท่าที่พิจารณาในเงื่อนไขต่างๆ เท่ากับเป็นการบีบบังคับหรือลิดรอนสิทธิ์ของมุสลิม จึงทำให้มุสลิมทั้งหลายได้ทักท้วงท่านเราะซูลุลลอฮ์ หลายครั้งและแสดงความไม่เห็นด้วยในข้อตกลงนั้น แต่ทว่า ท่านเราะซูล ได้กล่าวว่า :
              (( إِنِّيْ رَسُوْلُ الله وَلَنْ يُضَيِّعنِي الله ))
              “แท้จริง ฉันเป็นศาสนทูตของอัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลา แน่นอน อัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลา จะไม่ทรงทอดทิ้งฉันแน่นนอน”
              ในท้ายที่สุดได้เป็นที่ประจักษ์แก่บรรดามุสลิมว่า เงื่อนไขต่างๆได้กลับกลายเป็นผลดีกับบรรดาผู้ศรัทธาทั้งหมด จนทำให้ชาวกุเรชได้ขอยกเลิกข้อตกลงที่บรรดามุสลิมเคยคิดว่าเป็นการบีบบังคับ และลิดรอนสิทธิ์ของพวกเขาออกไป
    ผลลัพธ์ของการประนีประนอมที่ “อัลฮุดัยบียะฮ์”
              อัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลาทรงเรียกการประนีประนอมครั้งนี้ว่าชัยชนะ (ฟัตฮัน)  พระองค์ได้ประทานดำรัสให้กับศาสนทูตในขณะที่ท่านเดินทางกลับว่า :
               “แท้จริง เราได้ให้ชัยชนะแก่เจ้าซึ่งเป็นชัยชนะอย่างชัดแจ้ง”   (อัลฟัตฮ์ 48 : 1) (*2*)

               มีชายคนหนึ่งถามท่านนะบี ว่า : “มันเป็นชัยชนะใช่ไหม?”
              ท่านนบี ตอบว่า :
            
              (( نعم ، والذِيْ نَفْسِيْ بِيَدِهِ إِنَّهُ لَفَتْحٌ ))

              “ใช่แล้ว ขอสาบานด้วยผู้ที่ชีวิตของฉันอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ว่า แน่นอน มันคือชัยชนะที่แท้จริง” (*3*) 
     
    ผลลัพธ์จากการประนีประนอมนั้นมีดังนี้ : -
    1. ในการประนีประนอมครั้งนี้ ชาวกุเรชได้ยอมรับต่อการมีเสถียรภาพและเขตแดนของมุสลิม ในขณะที่มีการเซ็นสัญญาตกลงกันทำให้บางเผ่าได้เข้าร่วมเป็นมิตรกับบรรดามุสลิมอย่างเปิดเผย อย่างไม่หวาดเกรงหรือต้องเอาใจชาวกุเรชอีกต่อไป เช่น ที่เผ่าคุซาอะฮ์ได้กระทำ
    2. การยุติสงครามกับชาวกุเรช ได้เปิดโอกาสให้บรรดามุสลิมไปจัดการกับศัตรูฝ่ายอื่นๆ จึงทำให้การกวาดล้างพวกยิวในเมือง “คอยบัร” เสร็จสมบูรณ์และสามารถยึดครองได้ใน ปีที่ 7 แห่งฮิจญ์เราะฮ์ศักราช ตลอดจนการกวาดล้างเผ่า “ฆ็อต่อฟาน” ทางหัวเมือง “นัจด์” ในสงครามที่ชื่อว่า “ซาติรร่อก็ออ์” รวมถึงการส่งกองกำลังไปที่เมือง “มุอ์ตะฮ์” ซึ่งอยู่ทางด้านทิศเหนือของคาบสมุทรอาหรับและสุดท้ายของการกวาดล้าง คือสงครามที่ชื่อว่า “ซาตุสสะลาซิล”เพื่อเป็นบทเรียนให้เผ่าต่างๆ
    3. การประนีประนอมในครั้งนี้ได้เปิดโอกาสให้มุสลิม มีเวลาในการเผยแพร่อิสลาม ท่านเราะซูล ได้ส่งตัวแทนไปยังเจ้าเมืองต่าง ๆ และบรรดาผู้นำประเทศในคาบสมุทรอาหรับ ทำการเชิญชวนพวกเขาให้เข้ารับอิสลาม การประนีประนอมนี้ได้ให้โอกาสแก่เผ่าต่างๆ กล้าที่จะมีสัมพันธ์ติดต่อกับบรรดามุสลิม และรับทราบเรื่องราวของอิสลาม  เป็นการชี้ให้เห็นว่าอิสลามนั้นได้แผ่ขยายไปอย่างรวดเร็วในระยะเวลาเพียง 2 ปีของการทำสัญญาประนีประนอม ทำให้มีนักต่อสู้เดินทางพร้อมกับท่านเราะซูล เพื่อพิชิตเมืองมักกะฮ์ถึง 10,000 คน  เช่นเดียวกัน ได้มีคนที่มีชื่อเสียงจำนวนหนึ่งเข้ารับนับถืออิสลาม เช่น คอลิด บิน อัลวลีด และอัมรุบนุ้ลอ๊าซ-ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุมา- เป็นต้น
    หมายเหตุ
  • 1.ซ่อฮี๊ฮฺ อัล บุคอรีย์ กิตาบุ้ลมะฆอซีย์ บาบ ฆ็อซวะตุ้ลฮุดัยบียะฮฺ ซ่อฮี๊ฮฺ มุสลิม กิตาบุ้ลอิมาเราะฮฺ บาบ อิสติฮฺบาบ “มุบายะอะฮฺ อัล อิมาม”
  • 2.ดู ความหมายของอายะฮฺในตัฟซีร อัฏฏอบรีย์ และอิบนิ กะซี๊ร
  • 3.มุสนัด อิมาม อะฮฺมัด 3/420 และอัลฮากิมใน “มุสตัดร็อก” ของท่าน 2/459 และท่านได้บอกว่าถูกต้อง (ซอฮี๊ฮฺ) อัซซะฮะบีย์ก็เห็นด้วย
  •  อ้างจาก http://www.islammore.com/main/content.php?page=sub&category=10&id=1781


    4.การมีข้อตกลงกับชาวยิว
              ในขณะที่เราะซูลุลลอฮ์ ได้เข้าสู่นครมะดีนะฮ์ ได้มีชาวยิวอาศัยอยู่ในดินแดนนั้นด้วย ดังนั้นเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ในการสร้างสังคมที่นครมะดีนะฮ์ พร้อมวางกฎเกณฑ์การก่อตั้งอาณาจักรรัฐอิสลามอย่างชัดเจน จึงต้องกำหนดความสัมพันธ์กับชาวยิว ซึ่งพวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของชาวเมืองมะดีนะฮ์ นี่คือสิ่งที่ท่านนะบีถือปฏิบัติและได้มีสนธิสัญญาข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรกับยิวกลุ่มต่างๆ โดยที่พื้นฐานอันสำคัญของข้อตกลงมีว่า :
    • มีการนับถือศาสนาโดยเสรี “มุสลิมมีศาสนาของมุสลิม ยิวมีศาสนาของยิว”
    • ทุกฝ่ายต้องรับผิดชอบในการป้องกันนครมะดีนะฮ์ในขณะที่มีภัยรุกรานจากภายนอก
    • ความปลอดภัยภายในของนครมะดีนะฮ์ อยู่บนความรับผิดชอบของทุกคน “หมายความว่า ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการรักษาความปลอดภัย”
    • ทุกฝ่ายต้องให้เกียรติต่อกัน และจะไม่เป็นมิตรกับชาวกุเรชและไม่มีการช่วยเหลือใด ๆ
    • ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองฝ่ายจะต้องตั้งมั่นอยู่บนความบริสุทธิ์ใจ โดยไม่มีการซ่อนเร้น  หรือเล่ห์เหลี่ยมใด ๆ ทั้งสิ้น
    • ท่านเราะซูล เป็นผู้นำสูงสุดของกลุ่มชน และชาวยิวเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มชน ชาวยิวต้องอยู่ภายใต้การปกครอง ในเรื่องที่มีการพิพาทกันให้ท่านเราะซูลเป็นผู้ชี้ขาด อำนาจการออกคำสั่งเป็นสิทธิ์ของท่านนะบี ทั้งในด้านการทำสงคราม และอื่นๆ  (*1)
               การก่อตั้งมัสญิด การจับมือเป็นพี่น้องกัน ตลอดจนการเขียนสนธิสัญญากับชาวยิวนั้น ท่านเราะซูลุลลอฮ์ ได้วางรากฐาน กฏเกณฑ์การจัดตั้งรัฐอิสลามให้อยู่บนพื้นฐานที่มั่นคง มัสญิดเป็นที่ฝึกฝนบรรดามุสลิม และเป็นการจัดระเบียบมารยาท รวมถึงการเป็นพี่เป็นน้องกันทำให้เอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของส่วนรวม ด้วยความรัก ความซื่อตรงและความเมตตาสงสาร ส่วนที่เป็นลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับสนธิสัญญา เป็นการควบคุมอุปนิสัยใจคอของบรรดาผู้ที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลาม (2*)
              หลังจากนั้น การดำรงชีวิตในรูปแบบอิสลามจึงเริ่มดำเนินไปอย่างสมบูรณ์แบบ มีการตราบัญญัติทางศาสนา คำสอนของอิสลามตามบัญญัติของอัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลา เพื่อเป็นการจัดระบบให้กับสังคมมุสลิมและรัฐอิสลาม จัดระบบวิถีชีวิตส่วนตัวและสังคม รวมทั้งความผูกพันกับพระผู้เป็นเจ้า จัดระบบรัฐซึ่งเกี่ยวกับหน้าที่และสิทธิต่างๆ มีองค์กรทำหน้าที่คอยควบคุมดูแล ใช้หลักบัญญัติเพื่อเผยแผ่คำสอน และให้ความรู้แก่หมู่ชนในเรื่องศาสนา พร้อมทั้งปกครองตัดสินให้เกิดความเป็นธรรมและจัดการโทษแก่ผู้ทำผิด จัดเตรียมทหารเพื่อให้เกิดความมั่นคงในบ้านเมือง ปกป้องพื้นที่ของอิสลาม และเตรียมพร้อมที่จะพิชิตหัวเมืองต่าง ๆ เพื่อขยายการเชิญชวนสู่อัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ให้เข้าถึงทุกหมู่ชน


    หมายเหตุ 
  • 1.รายละเอียดของหนังสือสัญญาและความรู้เพิ่มเติมนั้นดูที่ –อัลอัมรีย์- อัซซีเราะฮฺ อันนะบะวียะฮฺ อัซเซาะฮีฮะฮฺ – มะฮฺดีริสกุลลอฮฺ.อัซซีเราะฮฺ อันนะบะวียะฮฺ ฟีฎอวอิ้ล มะซอดิริลอัศลียะฮฺ..306-318—282-292
  • 2.ดู ข้อเขียนของซอและฮฺ อัชชามีย์ : มินมุอีนิซซีเราะฮฺ : 165
     
  • อ้างจาก http://www.islammore.com/main/content.php?page=sub&category=10&id=1763



                  จากตัวอย่างข้างต้นที่ข้าพเจ้าได้หยิบหยกมาเพียงแค่ 4 โมเดลนั้นที่ท่านศาสดามูฮัมหมัดได้ปฏิบัติไว้ แสดงให้เห็นว่าท่านศาสดามูฮัมหมัดศ็อลฯสร้างความปรองดองได้ด้วยอัลอิสลาม โดยใช้สันติวิธีสู่สันติภาพสากล มีการเจรจาต่อรอง มีการทำข้อตกลงที่ทุกกลุ่ม ทุกเผ่าได้รับผลประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่ล่วงละเมิดอีกกลุ่มหนึ่งหรือเผ่าพันธ์หนึ่ง สิ่งที่สำคัญที่สุดของการปรองดองที่ท่านศาสดามูฮัมหมัดศ็อลฯ ได้ปฏิบัตินั้นก็คือการสร้างความเป็นพี่น้องระหว่างเผ่าเอาส์กับเผ่าค็อซรอจญ์ที่รบรากันมาเป็นเวลายาวนาน และสร้างความเป็นพี่น้อง ความเป็นปึกแผ่นระหว่างกลุ่มมูฮาญีรีนกับกลุ่มอันศอร นี่เป็นต้นแบบของการปรองดองในประวัติศาสตร์อิสลาม

              อิสลาม เชื่อว่า อัลลอฮเป็นผู้สร้างชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน และสิ่งที่อยู่ระหว่างทั้งสอง และมนุษย์ที่อยู่บนโลกนี้ พระองค์คือพระเจ้าเพียงองค์เดียวของเรา และพระองค์คือพระเจ้าของทุกคนในโลกนี้ ไม่ว่าจะนับถือศาสนาใดก็ตาม
    อิสลาม เชื่อว่า อาดัมกับอีฟหรือฮาวาเป็นมนุษย์คู่แรกบนโลกใบนี้และทุกคนที่อยู่บนโลกใบนี้ไม่ว่าจะเป็นชนกลุ่มใด ผิวขาว ผิวดำ ผิวเหลือง หรือผิวแทน เป็นต้น ก็เป็นลูกหลานของอาดัม กับฮาวา
    อิสลามเชื่อว่า มูฮัมหมัดเป็นศาสนทูตของอัลลอฮคนสุดท้าย ทุกคนที่อยู่บนโลกนี้ไม่ว่าจะเป็นมุสลิมหรือไม่ใช่มุสลิมที่อยู่ในช่วงศาสดามูฮัมหมัดหรือหลังจากนั้น ก็เป็นประชาชาติของมูฮัมหมัด
    เมื่อเป็นแบบนี้ ก็ไม่มีสาเหตุที่ทุกคนจะมาทะเลาะกัน เราสร้างรัฐแห่งการปรองดองกัน เพราะทุกคนเป็นบ่าวของอัลลอฮ เป็นลูกหลานของอาดัม และเป็นประชาชาติของมูฮัมหมัด เรามาพร้อมใจกัน เป็นบ่าวด้วยกัน เป็นเอกภาพเดียวกัน ความคิดที่ไม่เหมือนกันก็ให้มาปรึกษาหารือกันเพื่อการอยู่ร่วมกันของพวกเราอย่างสันติภาพทั้งโลกนี้และโลกหน้า

                วะบิลลาฮฮีเตาฟีก วัลฮีดายะห์ อัสสาลามูอาลัยกุมวาเราะหมาตุลลอฮ ฮีวาบารอกาตุฮ

    บรรณานุกรม

    1.ฮัสบุลลอฮ ตาเห,เอกสารประกอบการสอนรายวิชารัฐศาสตร์เบื้องต้น,สาขารัฐประศาสนศาสตร์มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา
    2.ศอลิห์ หุสัยน์ อัลอายิด ; อุษมาน อิดรีส, ถอดความและเรียบเรียง,สิทธิของชนต่างศาสนิกในประเทศอิสลาม,ปัตตานี : วิทยาลัยอิสลามยะลา, 2548.
    3. http://www.islammore.com/main/content.php?page=sub&category=10&id=1763 สืบค้นวันที่ 17-6-2555
    4.http://www.islammore.com/main/content.php?page=sub&category=10&id=1781สืบค้นวันที่ 17-6-2555

    เรียบเรียงโดย ม.ฆอซาฟี มะดอหะ
    ปรับรุงจากเดิม เมื่อวันที่ 17-6-2555


  •  
  • วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2553

    ยิวถูกฆ่าล้างเผ่าพันธ์ทุกยุคทุกสมัย


    การที่ชาวยิวมันเหิมเกริมขนาดนี้ คงไม่แปลกอะไร เพราะบรรพบุรุษของพวกเขาก็เป็นอย่างนี้เช่นเดียวกัน การที่พวกเขาก้าวขึ้นมามีอำนาจ ก็ไม่แปลกอะไรเช่นเดียวกัน เพราะเป็นสัญญาณหนึ่งของวันสิ้นโลก และการที่พวกเขากระทำทารุณต่อชาวปาเลส์ไตน์ ฆ่าล้างเผ่าพันธ์ชาวปาเลส์ไตน์ ก็คงไม่แปลกเช่นเดียวกัน เรามาวิเคราะห์ดูยุคสมัยต่างๆตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน และอนาคตของพวกยิว พวกเขาถูกกระทำอะไรบ้าง และพวกเขามีความผิดอะไร ในการกระทำของพวกเขา ในการที่อัลลอฮทรงลงโทษพวกเขา
    ในสมัยนบียูซุฟอยู่ที่อียิปต์ พวกเขาอยู่อย่างสุขสบายอยู่ในอียิปต์ แต่พอมาถึงยุคในสมัยฟาโรห์ราเมส พวกเขาได้กลายเป็นทาส ของพวกชาวอียิปต์ เป็นทาสอย่างเดียวไม่พอ ยังโดนฟิรเอาน์ราเมสฆ่าลูกชายของพวกเขาอีก ยกเว้นท่านนบีมูซอคนเดียว ที่อัลลอฮคุ้มครอง ถ้าเราวิเคราะห์ความห่างกันระหว่างนบียูซุฟกับนบีมูซอ ก็ไม่ได้ห่างกันมากนัก แต่ทำไม พวกเขาไปทำผิดอะไร อัลลอฮจึงให้พวกเขาไปเป็นทาสของฟิรเอาน์ราเมสผู็โอหัง ทั้งๆที่ในสมัยนบียูซุฟพวกเขาอย่างสุขสบาย
    ในสมัยนบีซะกะรียา พวกเขาได้กระทำผิดอย่างร้ายแรง โดยการฆ่านบีซะกะรียา อัลลอฮก็ได้ส่งบุคตันซํร แห่งบาบิโลนมาฆ่าล้างเผ่าพันธ์ของพวกเขา ฐานความผิดได้ฆ่านบีซะการียา
    ในสมัยนบียะหยา พวกเขาได้กระทำผิดอีกอย่างร้ายแรงอีก โดยการฆ่านบียะหยาอีก อัลลอฮก็ได้ส่ง พวกเปอร์เซีย พวกมะญูซี มาฆ่าล้างเผ่าพันธ์อีก
    ในสมัยนบีมูฮัมหัมดก็เช่นเดียวกัน พวกเขาเป็นใส้ศึกให้แก่ศัตรู หักหลัง บิดพลิ้วสัญญา และอีกต่างๆนานา อัลลอฮก็ได้ให้ท่านนบีมูฮัมหมัดฆ่าพวกผู้ชายก๊กกูร็อยเซาะฮ 800-900 คน บางก็กก็ต้องถูกเนรเทศออกจากเมืองมาดีนะห์
    ในสมัยอดอฟ ฮิตเลอร์ พวกเขาไปทำอะไรผิดอีก อัลลอฮจึงได้ให้ฮิตเลอร์ฆ่าล้างเผ่าพันธ์พวกเขา(แต่ผู้เขียนคิดว่าฐานความผิดล้มล้างระบบคอลีฟะห์อิสลามอุษมานียะห์)
    นี้เป็นแค่บางตัวอย่างของประวัติศาสตร์ที่หยิบยกมาเพื่อทำการวิเคราะห์ถึงความเป็นไปของชาวยิว และมีอีกหลายตัวอย่างของประวัติศาสตร์ที่ข้าพเจ้าไม่ได้หยิบยกมา
    เรามาดูปัจจุบัน พวกเขาได้กระทำต่อชาวปาเลส์ไตน์อย่างโหดเหี้ยมอำมหิต (ข้าพเจ้าคงไม่ต้องสาธยายมากกับการกระทำของพวกเขาต่อชาวปาเลส์ไตน์) ดังนั้นในอนาคตอัลลอฮจะทรงใครมาทำการฆ่าล้างเผ่าพันธ์พวกเขาอีก นี้คือสิ่งที่ท้ายมากในอนาคต หรืออาจจะเป็นรัสเซ๊ย เกาหลีเหนือ อิหร่าน จีน อาจจะเป็นอูซามะห์ บินลาดิน หรืออาจจะเป็นพวกเราทั้งหลาย หรืออาจจะเป็นอิหม่ามมะฮดี ผู้นำที่เราชาวมุสลิมรอคอย เพราะนี่คือสิ่งที่ถูกท่านนบีมูฮัมหมัดได้พยากรณ์เอาไว้แล้วว่า แม้กระทั้งก้อนหินและต้นไม้ก็จะบอกว่ายิวอยู่ข้างหลังฉันจงมาฆ่าพวกเขาเถิด
    ดังนั้นพระองค์จะไม่ทรงเปลี่ยนแปลงโชคชะตาของสู้เจ้า นอกจากสู้เจ้าจะเปลี่ยนแปลงโชคชะตาของสู้เจ้าเอง

    วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

    อิสลามกับการเมืองและประชาธิปไตยในบริบทของจังหวัดชายแดนภาคใต้

    มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮฺ (สุบหานะฮูวะตะอาลา) ผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลกขอความจำเริญและสันติจงประสบแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน อิสลามคือแนวทางที่ครอบคลุมทุกมิติของการดำเนินชีวิต การเมืองจึงเป็นส่วนหนึ่งของการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับประชาธิปไตยที่ค่อนข้างมีความละเอียดอ่อน การอธิบายการเมืองในระบอบประชาธิปไตยด้วยหลักการอิสลามต้องอาศัยความเข้าใจทั้งในระดับหลักคำสอนทางศาสนาและหลักสังคมวิทยาของศาสนาอีกมากพอสมควร หากพิจารณาจากหลักคำสอนทางศาสนาแล้ว บรรดานักวิชาการมุสลิมต่างเห็นพ้องต้องกันว่า "คัมภีร์อัลกุรอ่าน" (Al-Quran) และ "ซุนนะห์" (Sunnah) หรือ วัจนศาสดา ต่างไม่ได้กำหนดรูปแบบปกครอง และไม่ใด้อรรถาธิบายถึงแนวทฤษฎีทางรัฐธรรมนูญใดๆ ไว้อย่างเฉพาะเจาะจง ดังนั้นการเมืองแบบอิสลามจึงมีความเป็นได้หลายรูปแบบและหลายวิธีการ โดยขึ้นอยู่กับมุสลิมในยุคสมัยต่างๆ จะเลือกสรรมาใช้และตีความเอาตามสมควรแก่หมู่คณะของตน อย่างไรก็ตาม ลักษณะข้างต้นไม่ได้หมายความว่า "คัมภีร์กรุอ่าน" และ "ซุนนะห์" ไม่ได้กล่าวถึงหลักการปกครองที่สอดคล้องกับหลักศาสนาเสียทีเดียว เพราะหลักการทางศาสนาทั้งสองแหล่งยังให้เค้าโครงที่ชัดเจนของแบบแผนทางการเมือง ซึ่งสามารถทำให้บรรลุตามหลักคำสอนได้ทุกสถานการณ์ มุสลิมส่วนใหญ่ต่างเห็นพ้องต้องกันว่า ระบบการเมืองแบบอิสลามวางอยู่บนความสัมพันธ์ระหว่างหลักการ "เตาฮีด" ซึ่งหมายถึงหลักเอกภาพและการเป็นพระเจ้าหนึ่งเดียวของ "อัลเลาะห์", ชรีอะห์ (Shari'ah) ซึ่งเป็นกฎหมายอิสลามตามหลักการแห่ง "อัลกุรอ่าน" และ "ซุนนะห์" , อดาละห์ (Adalah) ซึ่งเป็นการสถาปนาความยุติธรรมหลักเสรีภาพ เป็นหลักการที่ว่าด้วยสิทธิที่จะกระทำการภายใต้การเชื่อฟังต่อหลักการชารีอะห์, หลักความเสมอภาค เป็นหลักการที่ว่าด้วยโอกาสอันเทียมเท่ากันของปัจเจกบุคคลชายและหญิง และชูรอ (Shura) ที่ถือเป็นรากฐานและองค์ประกอบสำคัญของอำนาจทางการเมือง ภายใต้หลักการอุมมะห์ (Ummah) อันเป็นระเบียบทางสังคมตามหลักการของอิสลาม หลักการทางศาสนาที่เกี่ยวข้องการเมืองและการปกครองตามประวัติศาสตร์ของศาสนาแสดงให้เห็นว่าในระดับปัจเจกนั้น ผู้ปกครองในยุคแรก อาทิ คาลีฟะห์ (Khalifah) อิหม่าม (Imam) อามิร (Amir) ต่างไม่ได้ถืออำนาจสูงสุด หากแต่เป็นการยึดตามระบบแห่งอาวุโสด้วยหลักการอุมมะห์ ผู้ปกครองและหลักการปกครองจึงวางอยู่บนความเท่าเทียมกัน ไม่มีการแบ่งแยกชนชั้น ด้วยสถานะและความเท่าเทียมกันดังกล่าวนี้ จึงรักษาใว้ซึ่ง "ความยำเกรง" (Taqwa) ขณะที่ "อิหม่าม" จะต้องบริหารงานให้สอดคล้องตามหลักแห่งกฎหมายชารีอะห์ การละเมิดหลักการดังกล่าว มุสลิมสามารถอ้างสิทธิยกเลิกความจงรักภักดีต่อเขาได้ ส่วนในระดับสังคมการเมือง ระบบการเมืองแบบอิสลามวางอยู่บนรัฐธรรมนูญที่ดำรงอยู่ภายใต้หลักการแห่งกฎหมายชาริอะห์ โดยผู้นำสูงสุดจะได้รับความไว้วางใจให้รับผิดชอบบริหารกิจการภาครัฐ ดังกรณีของระบบสภาแบบอามีร์ (Amir) ซึ่งได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนนี้ ต้องอยู่ภายใต้หลักการ "ชารีอะห์" และ "อิจมาอฺ" จนกล่าวได้ว่าเป็นระบบที่ผู้นำมีทั้ง "อิสระและถูกจำกัดอำนาจอยู่ในเวลาเดียวกัน" (ahl al-halli wa al-aqd) กล่าวได้ว่าการพิจารณาความสอดคล้องระหว่างหลักประชาธิปไตยกับแนวความคิดเรื่องการเมืองการปกครองตามหลักศาสนาอิสลามที่เหมาะสมกับบริบทของจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น ถือเป็นประเด็นที่ควรได้รับการศึกษาให้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้องมีการศึกษาหลักการ ความมุ่งหมาย เจตจำนงของอิสลามว่ามีความหมายและสาระสำคัญเป็นอย่างไร แน่นอนว่าการอยู่ร่วมกันท่ามกลางสังคมที่มีความหลากหลายทางความคิด จนในบางครั้งกลายเป็นความขัดแย้งขึ้นมานั้น ถือเป็นเรื่องปกติ แต่หากประเด็นปัญหาดังกล่าวยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสม ก็ถือว่ามีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาและทบทวนมากขึ้นไปอีกว่า สังคมการเมืองที่สอดคล้องกับหลักการศาสนาในพื้นที่ของความหลากหลายทางวัฒนธรรมเช่นจังหวัดชายแดนภาคใต้นี้ควรเป็นอย่างไร โดยจุดมุ่งหมายสูงสุดคือการอยู่ร่วมกันได้บนพื้นฐานของความแตกต่าง
    http://www.thaingo.org/writer/view.php?id=1723

    วันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2553

    อัลกุรอานและฮาดีษที่กล่าวถึงความพอเพียง

    1.ความรวยไม่ได้อยู่ที่การมีทรัพย์มาก แต่ความรวยอยู่ที่ความรวยน้ำใจ” (หะดีษบุคคอรี และ มุสลิม)
    2.มาตร แม้นว่ามนุษย์คนหนึ่งนั้นได้รับครอบครอบสองหุบเขาที่เต็มไปด้วยทรัพย์สิน แน่นอนที่สุดเขาย่อมจะแสวงหุบเขาที่สาม และไม่มีสิ่งใดจะบรรจุเติมเต็มท้องของมนุษย์ได้นอกจากดินเท่านั้น” (เป็นการเปรียบเทียงทำนาองว่า ความตายคือสิ่งเดียวที่สามารถหยุดยั้งกิเลสและความต้องการของมนุษย์ได้)"(รายงานโดยบุคอรี ฮะดิษที่ 6072 และมุสลิม ฮะดิษที่ 2390)
    3.ท่านรอชูลุลลอฮ (ศ.ล) ได้กล่าวว่า “แน่นอนผู้ที่มอบตนแก่พระเจ้าได้ประสบความสำเร็จและเขาได้รับปัจจัยยังชีพที่เพียงพอและเขาพึงพอใจในสิ่งที่อัลลอฮฺ ประทานให้" รายงานโดยมุสลิม
    4.โชคดีเป็นของผู้ที่ได้รับการชี้นำให้ได้รับอิสลามและเขามีปัจจัยยังชีพที่พอเพียงและพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ตัรมีซีย์,สุนัน, หมวด อัซซุดดู ,บรรพ มาจาอาฟิลกีฟาฟวัซซีรอลัยฮี, เล่มที่ : 2349
    5.และบรรดาผู้ซึ่งเมื่อพวกเขาใช้จ่าย พวกเขาก็ไม่สุรุ่ยสุร่ายและไม่ตระหนี่ และระหว่างของสภาพนั้น พวกเขาอยู่สายกลาง ซูเราะฮฺ อัล-ฟุรกอน, 25: 67.
    6.ความผาสุกจะได้แก่ผู้ที่ได้รับการชี้นำสู่อัลอิสลาม โดยที่ การดำรงชีวิตของเขานั้น เป็นเศรษฐกิจพอเพียง และเขาพอใจด้วยสิ่งนั้น
    ผู้ที่ได้รับการชี้นำสู่อัลอิสลามนั้น ได้รับความสำเร็จ โดยที่ การดำรงชีวิตของเขานั้น เป็นเศรษฐกิจพอเพียง และเขาพอใจด้วยสิ่งนั้น บันทึกโดย อิบนุหิบบานและอัลหากิม ดูสิลสิละฮอัศเศาะฮีหะฮ เล่ม 4 หน้า 10 หะดิษหมายเลข 1506
    7.ความร่ำรวยมันมิได้อยู่ที่การมีทรัพย์สินเงินทองมาก แต่ความร่ำรวยนั้นอยู่ที่จิตใจ ร่ำรวยนั้น หมายถึง การมีพอ ความพอ ไม่มักมากและไม่ฟุ้งเฟ้อ บอกโดยมุสลิม, ซอฮีฮฺ, หมวด อัซซากาต, บรรพ ลัยซัลฆอนีอันกัสรอฮฺตุลอารอด, เลขที่: 1051
    8."ท่าน จงอยู่อย่างสมถะบนโลกใบนี้แล้วอัลเลาะฮ์จะรักท่าน และจงปล่อยวางในสิ่งที่มนุษย์ครอบครอง (รู้จักพอไม่คิดแย่งชิงแข่งขันอันก่อให้เกิดโลภและริษยา) มนุษย์จะต่างพากันรักท่าน" รายงานโดย อิบนุมาญะห์ ฮะดิษที่ 4102
    9.“และพวกสูเจ้าจงกินและจงดื่ม และพวกสูเจ้าอย่าได้สุรุ่ยสุร่าย แท้จริงพระองค์มิทรงรักบรรดาผู้ที่สุรุ่ยสุร่าย” (อัล-อะอฺรอฟ อายะฮฺที่ 31)
    “10.แท้จริงบรรดาผู้ที่สุรุ่ยสุร่ายฟุ่มเฟือยในการใช้จ่ายนั้น พวกเขาเป็นพี่น้องกับเหล่ามารร้าย และมารร้ายนั้นมันเนรคุณต่อพระผู้อภิบาลของมัน” (อัลอิสรออฺ อายะฮฺที่ 27)

    วันพฤหัสบดีที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2553

    แหล่งอ้างอิงบางส่วนในเอกสารประกอบการสอนรายวิชาหลักการบริหารในอิสลาม3 มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา

    แหล่งอ้างอิงบางส่วนในหนังสือหลักการบริหารการปกครองในอิสลาม สาม

    ภาษาไทย

    สมาคมนักเรียนอาหรับไทย. 1998 . พระมหาคัมภีร์อัลกุรอานพร้อมความหมาย .อัลมาดี
    นะห์ อัลมูเนาวาเราะห์ .ศูนย์กษัตร์ ฟะฮัด เพื่อการพิมพ์อัลกุรอาน .

    บรรจง บินกาซัน . 2542 . ประวัติศาสตร์สำหรับเยาวชน . กรุงเทพ : สำนักพิมพ์

    ประจักษ์ ช่วยไล . 2521 . โลกอิสลาม . กรุงเทพ : ......................

    พระราชนิพนธ์ ในราชการที่ 5 . 2530 . นิทราชาคริต . กรุงเทพ : โรงพิมพ์คุรุสภา

    สุพล บุญมาเลศ . 2530 . ประวัติศาสตร์อาณาจักรอับบาซียะห์ . กรุงเทพ : ศูนย์
    ภาษาอาหรับ

    สมาน มลีพันธ์ . 2516 . สี่อีหมาน . กรุงเทพ : วงค์เสงียน

    ดลมนรรจน์ บาก และมูฮัมหมัดรอฟลี แวหะมะ , 2543 อาณาจักรออตโตมาน . ปัตตานี
    .โรงพิมพ์มิตรภาพ

    ชัยวัฒน์ ถาวรธนสาร และ นันทนา เตชะวณิชย์ 2544. ประวัติศาสตร์แอฟริกาและตะวันออกกลาง.
    กรุงเทพฯ : รามคำแหง

    ดลมนรรจน์ บากา และ มูหัมมัดรอฟลี แวหะมะ. 2534. อาณาจักรออตโตมานราชวงศ์อุษมานียะฮ.
    พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

    นันทนา เตชะวณิชย์. 2538. ประวัติศาสตร์ตะวันออกกลาง. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ :
    สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
    บรรจง บินกาซัน. 2544. ประวัติศาสตร์อิสลาม. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อัลอะมีน.

    ภาษามลายู

    Abd Malik KarimuIlah (Hamka).1980. Sejarah Umat Islam. Kuala lumpur
    : Idisi pustaka Antara

    Taib Harun. 1981 . Kuasa Pemeritahan Islam . Kotabaharu Kelatan : Dian
    Darulnaim Sdn. Bhd

    --------------1979 . Kuasa Perundagan Islam . Kuala lumpur : Pakarprint Sdn . Bhd.
    Haji Muhamad Abd Ghani . 1968. Sejarah islam. Kota Baharu : Pustaka
    Mahligai pres

    Munawer Imam . 1985 . Mengenal Peribadi 30 Pendekara dan Pemikir
    Islam . Surabaya : Pt Bina ilmu

    Ahmad Jamil . 1984. Seratus Muslim Terkemuka . Pinang,Malaysia:
    :Sabdulmajeed

    Sayid alwakil Muhamad . 1998 . Wajah Dunia Islam . Jakarta Timur Pt al
    kausar

    Haji Hahya Mahayudin . 1993. Sejarah Islam . Malaysia : Pajar Bakti Sdh bhd

    Abd Rahman Mustafa . 1968. Rengkasan Sejarah Kerajaan bani Usmaniyah.
    Pulau pinang : Ziyunaited preiss

    ภาษาอาหรับ

    Abd Qadir aI- Aw dah . 1955. aI- Islam wa Awda a na aI Qanuniyah. -----------
    : --------------
    Abi Muhammad Abd AIIah Ibn Muslim . 1967. aI- Imamat wa aI- Siyasat . aI-
    Qahirah ; Muassasat aI Halabi

    Abd Wahab Khalap . 1977 . al- Siyasat aI-Shar yyah aw Nizamu aI Dawlah
    aI-Islamyyah . aI- Qahirah : Dar aI- Ansar
    al-Nawawy . 1987. Sahih Muslim. Al-qahirah : Dar al-Rayan lil turath

    Abi al Fathy Muhammad Ibn Abdulkarim al Shahr stany. 1998. al-Milal wa al Nihal.
    Bairut Lubnan : Dar al-Ma ripah

    Mas‘u di Abi Hasan Ibn Hasan Ibn Ali . Muruj al- Dhahab wa Ma‘ a din aI-Jawhar.
    Bairut Lubnan : aI Maktabah aI- Asr yah


    Ahmad Shalabi. 1982 . Mawsu‘ ah aI Tarikh al-Islami wa Hadarah aI-Islamiyah.
    al - Qahirah : Maktabat aI - nahdah al – Misriyah

    al Mawardy . 1990 . al Ahkam al sultaniah . Bairut : Dar al-Kutub al araby

    Ahmad Ibn hanbal . 1998 . al-Musnad . al-Riyad : Baitul al-Afkar al-dawliyah

    Ibn khaIdun Abd aI- Rahman. 1992 . Tarikh Ibn khaldun. Bairut Lubnan Dar al
    - kutub al – Ilmiyah


    aI - Tabari Muhamad Ibn Jarir . 1991 .Tarikh al-Umam wa al- Muluk.v.4. Bairut :
    Lubnan Dar al - kutub al- Ilmiyah

    Abd aI- Aziz bin Abd Allah al Humaidi. 1998 . Tarikh aI Islami Mawagifu wa
    ‘Ibar. al-Qahirah : Dar aI- Da‘ wah

    al - Khatib al- Baghdadi . Tarikh Baghdad…….:………

    Hasan Ibrahim Hasan.1983 .Tarikh al-Islam al-siyasi wa al-dini wa al-thaqapi wa
    al- ijtima‘. al -Qahirah : Maktabat aI- Nahdah aI-Misriyah

    Ibrahim Ahmad al- Adwi. 1996. Tarikh aI Alam aI- Islamiy. al-Qahirah :……..

    Ibn Kathir . 1997. al- Bidayah wa aI- Nihayah. V.9-10. Bairut : Dar al- Ma‘ ri fah

    Ibrahim Ahmad al-Adwi. 1979. Tarikh al-Watan al-Arabi wa Hadaratuhu fi al-‘Asr
    al-Islamiy. Hambut :al-Mania.

    Jamaludin Abi al-Hasan.1988. Akhbar aI - Duwal al- Munqati‘ ah tarikh
    aI - dawlah al- Abbasiyah. Saudi : Maktabat aI- Tawdar bi al-
    Madinah al- Munawwarah

    Jalaluddin aI- Suyuti.1999 .Tarikh aI- khulafa’. al-Qahirah: Dar aI-Fajr aI-Turath
    Khustaf Lubun . 1967 . Hadarat aI Arab . ---------- : Matba‘ ah Isa aI Babi aI
    Halabi

    Khayru al-din al-zirikly . 1984 . t6 . al lam . Bairut : Dar-al lmy lilmalayin

    Muhamad aI Mubarak . 1974 . Nizam aI - Islam aI hukm wa aI-
    Dawlah . aI- Qahirah : Dar aI Fikr

    Muhamad Faruq .1981. al Madkhal Li aI – Tashri‘ Ia - Islamiy. Kuwait
    : Wakalat aI – Matba‘ at al-kuwait

    Muhamad aI Khudri bik .---------- . Tarikh aI Umam aI Islamiyah . aI Qahirah :
    Matba‘ at aI IstiQamah

    Shaki Abu Khalil . 1977 . Harun Arrashid Amir aI Khulafa wa Ajalu aI Muluku
    aI Dunya . Dimas Suria : Dar aI Fikr

    Sufi Husin Abd al Muttalib.1995.TatbiQ aI- Shari ah al- Islamiyah fi Bilad
    al- ‘Arabiyah. al Qahirah : Dar aI nahdah al - Arabiyah

    Abi al-hassan Ali ibnuMuhammad ibnu Habib. 1985M-1405 H Al-ahkam al-
    sultaniyah wa al-wilayah al-diniyah. Bairut Lubnan : Dar al-kutub al-
    elmiyah

    Qade Abi yusuf yaa’kub ibnu ibrahim. 1302. kitab al-garaj.Bairut Lubnan : Dar al
    Ma’arifah

    Muhammad al-Mubarak. 196V M-1387H. al-Dawlah wa Nizam al-hisbah ‘Inda
    ibnu Taimiyah. ………….Dar al-fikr
    Sa’di danawy. 2001 M-1421.V1 Muwsu ‘ah Harunal-Rashid.Bairut Lubnan :
    Darsader

    Muhammad Rajab. 2000 Harun Arroshid al-khalifah al-‘alimWa al-faris al-mujahid.
    Dimasy Siria : Dar al-galam

    Muhamadzin/Ahmad al gatan. 1989 Harunal-Rashid al-khalifah al-Mazlum.
    ………..Maktabah al-Sundus

    Muhammad al-zuhaily. 1995 Tarikh al-guda’ fi al-islam. Bairut lubnan : Dar al-fikr
    al-Ma‘aser

    Furuk ‘Umar fawzy. al-khalifah al-muJahid Harun al-Rashid.1989. Baghdad :Dar v
    al- syu’un al-thagafah al-‘amah

    Ahmad Amin bik. Harun al-Rashid. ……… . Misr : Daral-Hilal

    Taha al-hajiry. gasru al-Rashid. ……. Misr : Daral-Ma ‘arif

    AbdLah falaby. Harun al-Rashid. ……… . ……. :Jam ‘yah al-thagafah al-islamiyah

    Ibnu kathir. al-bidayah wa al-nihayah. .V. 9-10 1997M-1417H.Bairut Lubnan : Dar
    al-ma ‘rifah

    Ibnu athir. al-kamilfi al-Tarikh.V5. 1987M-1407H. Bairut Lubnan : Dar al-kutub
    al‘Lmiah

    Abi ‘usman ‘umar ibnu bajar al-Jahiz. 1993 al-bayan wa al-tabYain.
    Bairut Lubnan : Ihya’ al-‘uLam

    Syamsudin Muhammad ibnuAhmah ibnu uthmanal-zahaby. V9. 1996 . Sir al-
    a’lam al-nubala’. V9. 1996 Bairut Lubnan : Mua sasah al-Risalah


    Syawki daif. Tarikh al-adab al-araby al-‘asr al-‘abas al-awwal. …… al-Qahiroh
    : Dar al-ma‘arif.
    Abd.Ghani Haji Mahmood, 1981. Sejarah Islam. Kota Bharu Kelantan : Pustaka Mahligai Press.

    Muhammad Labib Ahmad. 1982. Sejarah dan kebudayaan Islam. Singapura :
    Pustaka Nasional PTE LTD.

    งานวิจัย/วิทยานิพนธ์
    Mustafa ‘Ali Mustafa. Harun Arroshid Hayatuhu al- Diniyah wa al-assiyasah. 1948M-
    1357H. MirsUniver city al-azhar.