วันอังคารที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ราชวงศ์และอาณาจักรในประวัติศาสตร์อิสลาม


ราชวงศ์และอาณาจักรในประวัติศาสตร์อิสลาม
1.ราชวงศ์อัลอุม่าวียะฮ์ (اﻷُمَوِيُّوْنَ )

บรรดาค่อลีฟะฮฺมุสลิมจากวงศ์อุมัยยะฮฺ (بَنُوْأُمَيَّةَ ) มีอำนาจปกครองระหว่างปี ฮ.ศ.40-132 / คศ.661-750 , ค่อลีฟะฮฺ ท่านแรกคือ มุอาวียะฮฺ อิบนุ อบีซุฟยาน และคนสุดท้ายคือ ค่อลีฟะฮฺ มัรวานที่ 2, มีนครดามัสกัส เป็นราชธานี, พวกวงศ์อับบาซียะฮฺ สามารถปราบปรามราชวงศ์อัลอุม่าวียะฮฺลงได้,

พวกอัลอุม่าวียะฮฺจึงย้ายฐานอำนาจของพวกตนไปยังอัลอันดะลุส (เอ็นดะลูเซีย, สเปน) และมีอำนาจปกครองในนครกุรฏุบะฮฺ (โคโดบาฮฺ) ในระหว่างปีฮ.ศ.138-422 / คศ.756-1031, มีอับดุรเราะฮฺมาน อัดดาคิลเป็นผู้ปกครองคนแรก, พวกกษัตริย์ในรัฐอิสระได้ประกาศยุบเลิกราชวงศ์อัลอุม่าวียะฮฺแห่งนครโคโดบาฮฺ ในปี ฮ.ศ.422 / คศ.103

ราชวงศ์อัลอุม่าวียะฮฺในแคว้นชาม (นครดามัสกัส)
1. มุอาวียะฮฺที่ 1 (ฮ.ศ.41 / คศ.661)
2. ยะซีดที่ 1 (ฮ.ศ.60 / คศ.680)
3. มุอาวียะฮฺที่ 2 (ฮ.ศ.64 / คศ.683)
4. มัรวานที่ 1 (ฮ.ศ.64 / คศ.683)
5. อับดุลม่าลิก (ฮ.ศ.65 / คศ.685)
6. อัลวะลีด (ฮ.ศ.86 / คศ.705)
7. สุลัยมาน (ฮ.ศ.96 / คศ.715)
8. อุมัรที่ 2 (ฮ.ศ.99 / คศ.717)
9. ยะซีดที่ 2 (ฮ.ศ.101 / คศ.720)
10. ฮิชาม (ฮ.ศ.105 / คศ.720)
11. อัลวะลีดที่ 2 (ฮ.ศ.125 / คศ.743)
12. ยะซีดที่ 3 (ฮ.ศ.126 / คศ.744)
13. อิบรอฮีม (ฮ.ศ.126 / คศ.744)
14. มัรวานที่ 2 (ฮ.ศ.127-132 / คศ.744-750)

ราชวงศ์อัลอุม่าวียะฮฺในอัลอันดะลุส (นครโคโดบาฮฺ)
1. อับดุรเราะห์มานที่ 1 (อัดดาคิ) (ฮ.ศ.138-172/คศ.756-788)
2. ฮิชามที่ 1 (ฮ.ศ.172-180 / คศ.788-796)
3. อัลฮะกัมที่ 1 (ฮ.ศ.180-207 / คศ.796-822)
4. อับดุรเราะห์มานที่ 2 (ฮ.ศ.207-238 / คศ.822-852)
5. มุฮำมัดที่ 1 (ฮ.ศ.238-275 / คศ.852-886)
6. อัลมุนซิรฺ (ฮ.ศ.273-275 / คศ.886-888)
7. อับดุลเลาะห์ (ฮ.ศ.275-299 / คศ.888-912)


8. อับดุรเราะห์มานที่ 3 (อันนาซิร ลิ ดีนิลลาฮฺ) (ฮ.ศ.299-350 / คศ.912-961)
9. อัลฮะกัมที่ 2 (อัลมุสตันซิร บิลลาฮฺ) (ฮ.ศ.350-365 / คศ.961-976)
10. ฮิชามที่ 2 (อัลมุ่อัยยิด บิลลาฮฺ) (ฮ.ศ.366-399 / คศ.976/1009)
11. มุฮำมัดที่ 2 (อัลมะฮฺดีย์) (ฮ.ศ.399
12. สุลัยมาน (อัลมุสตะอีน บิลลาฮฺ) (ฮ.ศ.399-403 / คศ.1009-1013)
13. อับดุรเราะห์มานที่ 4 (อัลมุรฺตะฎอ) (ฮ.ศ.408 / คศ.1018)
14. อับดุรเราะห์มานที่ 5 (อัลมุสตัซฺฮิรฺ บิลลาฮฺ) (ฮ.ศ.414 / คศ.1023-1024)
15. มุฮำมัดที่ 3 (อัลมุสตักฟี บิลลาฮฺ) (ฮ.ศ.414-416 / คศ.1023-1025)
16. ฮิชามที่ 3 (อัลมุอฺตะมัด บิลลาฮฺ) (ฮ.ศ.420-422 / คศ.1029-1031)

2.ราชวงศ์อัลอับบาซียะฮฺ (اَلْعَبَّاسِِِِيُّوْنَ)

ราชวงศ์ที่สืบทอดการปกครองในระบอบคิลาฟะฮฺภายหลังการล่มสลายของราชวงศ์อัลอุม่าวียะฮฺในนครดามัสกัส, มีอำนาจอยู่ระหว่างปี ฮ.ศ.132-656 / คศ.750-1259, สืบเชื้อสายถึงท่านอัลอับบ๊าส ลุงของท่านศาสดามุฮำมัด (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม), มีธงสีดำเป็นสัญลักษณ์, รัฐคิลาฟะฮฺแห่งอิสลามได้บรรลุถึงความเจริญสุดขีดในรัชสมัยของพวกอับบาซียะฮฺ,
การปฏิวัติลุกฮือของพวกอัลอับบาซียะฮฺได้เริ่มขึ้นในแคว้นคุรอซาน ภายใต้การนำของอบูมุสลิม อัลคุรอซานีย์หลังจากมีการเรียกร้องอย่างลับ ๆ อยู่ราวครึ่งศตวรรษ ในปี ฮ.ศ.130 / คศ.748 ค่อลีฟะฮฺท่านแรกของราชวงศ์คือ อบุลอับบ๊าส อัซฺซัฟฟาฮฺ ซึ่งถูกให้สัตยาบันในมัสญิดแห่งนครอัลกูฟะฮฺ และสามารถสร้างความปราชัยแก่พวกวงศ์อัลอุม่าวียะฮฺ โดยค่อลีฟะฮฺมัรวานที่ 2 ค่อลีฟะฮฺคนสุดท้ายของราชวงศ์อัลอุม่าวียะฮฺได้ถูกสังหาร และอับดุรเราะฮฺมาน อัดดาคิลสามารถหลบหนีไปยังแคว้นอัลอันดะลุส,

ต่อมาค่อลีฟะฮฺอัลมันซู๊รได้สืบอำนาจต่อจากอัซซัฟฟาฮฺ และปราบปรามการจลาจลวุ่นวายจนสามารถสร้างเสถียรภาพให้แก่ราชวงศ์อัลอับบาซียะฮฺ, ในเวลาต่อมา, ค่อลีฟะฮฺอัลมันซุ๊รได้สร้างนครแบกแดดขึ้นเป็นราชธานี
นครแบกแดดได้กลายเป็นนครแห่งอารยธรรมอันเจริญรุ่งเรืองทั้งในด้านวรรณกรรมและสรรพวิทยาตลอดช่วงระยะเวลาหลายศตวรรษในยุคกลาง, มีบรรดาค่อลีฟะฮฺที่เลื่องลือหลายท่าน อาทิเช่น ฮารูน อัรร่อชีดฺ ซึ่งต่างก็อุปถัมภ์บรรดานักปราชญ์ นักกวีเป็นจำนวนมาก
ต่อมาค่อลีฟะฮฺอัลมุอฺตะซิม บิลลาฮฺ ได้สร้างนครซามัรรออฺขึ้นเป็นราชธานีแห่งใหม่ในระหว่างปี คศ.836-892 จนกระทั่งคอลีฟะฮฺอัลมุอฺตะมิด บิลลาฮฺ ได้ย้ายราชธานีกลับมายังนครแบกแดดอีกครั้ง, ภายหลังการลอบสังหารค่อลีฟะฮฺอัลมุตะวักกิล บิลลาฮฺ ในปี ฮ.ศ.247 / คศ.861

พวกเติร์กที่เป็นแม่ทัพก็เข้ามามีอิทธิพลเหนือบรรดาค่อลีฟะฮฺตลอดช่วงเวลาราว 1 ศตวรรษ ทำให้อาณาจักรอัลอับบาซียะฮฺอ่อนแอลง และเป็นผลทำให้มีรัฐอิสระเกิดขึ้นเป็นอันมาก อาทิเช่น พวกฏูลูนียะฮฺ, พวกอัลอิคฺชีดียะฮฺ และพวกอัลฟาฏีมียะฮฺ ซึ่งซ่อลาฮุดดีน อัลอัยยูบีย์ได้ยุบเลิกราชวงศ์ของพวกเขาลง, และพวกอัลฮัมดานียะฮฺในนครฮะลับ (อเล็ปโป),
ต่อมาในปี ฮ.ศ.334 / คศ.945 พวกอัลบุวัยฺฮียูนฺได้เข้ามายึดครองนครแบกแดดเอาไว้ ทำให้บรรดาค่อลีฟะฮฺในราชวงศ์อัลอับบาซียะฮฺกลายเป็นเครื่องเล่นของพวกเขา, ในปี ฮ.ศ.447 / คศ.1055 ตุฆรุ้ล เบก อัซซัลฺจูกีย์ได้เข้ายึดครองนครแบกแดดและประกาศการสิ้นสุดอำนาจของพวกอัลบูวัยฮียูน, พวกมองโกลได้รุกรานและเข้าทำลายนครแบกแดด โดยฮูลากูได้สังหารค่อลีฟะฮฺ อัลมุซตะอฺซิม บิลลาฮฺ ซึ่งทำให้ราชวงศ์อัลอับบาซียะฮฺสิ้นสุดลง
บรรดาค่อลีฟะฮฺในราชวงศ์อัลอับบาซียะฮฺ
1. อัซฺซัฟฺฟาฮฺ (ฮ.ศ.132/คศ.750)
2. อัลมันซูร (ฮ.ศ.136/คศ.754)
3. อัลมะฮฺดีย์ (ฮ.ศ.158/คศ.775)
4. อัลฮาดีย์ (ฮ.ศ.169/คศ.785)
5. ฮารูน อัรร่อชีด (ฮ.ศ.170/คศ.786)
6. อัลอะมีน (ฮ.ศ.193/คศ.809)
7. อัลมะอฺมูน (ฮ.ศ.198/คศ.813)
8. อัลมุอฺตะซิม (ฮ.ศ.218/คศ.833)
9. อัลฺวาซิก (ฮ.ศ.227/คศ.842)
10. อัลมุตะวักกิล (ฮ.ศ.232/คศ.847)
11. อัลมุนตะซิรฺ (ฮ.ศ.247/คศ.861)
12. อัลมุสตะอีน (ฮ.ศ.248/คศ.862)
13. อัลมุอฺตัซฺซุ (ฮ.ศ.252/คศ.866)
14. อัลมุฮฺตะดีย์ (ฮ.ศ.255/คศ.869)
15. อัลมุอฺตะมิด (ฮ.ศ.256/คศ.870)
16. อัลมุอฺตะฎิด (ฮ.ศ.279/คศ.892)
17. อัลมุกตะฟีย์ (ฮ.ศ.289/คศ.902)
18. อัลมุกตะดิรฺ (ฮ.ศ.295/คศ.908)
19. อัลกอฮิรฺ (ฮ.ศ.320/คศ.932)
20. อัรรอฎีย์ (ฮ.ศ.322/คศ.934)
21. อัลมุตตะกีย์ (ฮ.ศ.329/คศ.940)
22. อัลมุสตักฟีย์ (ฮ.ศ.333/คศ.944)
23. อัลมุฏีอฺ (ฮ.ศ.334/คศ.946)
24. อัฏฏออิอฺ (ฮ.ศ.363/คศ.974)
25. อัลกอดิรฺ (ฮ.ศ.381/คศ.991)
26. อัลกออิมฺ (ฮ.ศ.422/คศ.1031)
27. อัลมุกตะดีย์ (ฮ.ศ.467/คศ.1075)
28. อัลมุสตัซฮิรฺ (ฮ.ศ.487/คศ.1094)
29. อัลมุซตัรฺชิดฺ (ฮ.ศ.512/คศ.1118)
30. อัรรอชิดฺ (ฮ.ศ.529/คศ.1135)
31. อัลมุกตะฟีย์ (ฮ.ศ.530/คศ.1136)
32. อัลมุสตันญิด (ฮ.ศ.555/คศ.1160)
33. อัลมุซตะฎีอฺ (ฮ.ศ.566/คศ.1170)
34. อันนาซิรฺ (ฮ.ศ.575/คศ.1180)
35. อัซซอฮิรฺ (ฮ.ศ.622/คศ.1225)
36. อัลมุสตันซิรฺ (ฮ.ศ.623/คศ.1226)
37. อัลมุสตะอฺซิม (ฮ.ศ.640-656/คศ.1242-1258)

3.ราชวงศ์อัรฺรุสตุมียูน (اَلرُّسْتُمِيُّوْنَ)

(ปีฮ.ศ.144-296/คศ.761-908) อาณาจักรของพวกค่อวาริจญ์กลุ่มอัลอิบาฎียะฮฺ, สถาปนาโดยอับดุรเราะฮฺมาน อิบนุ รุสตุม ในแอฟริกาเหนือ, มีเมืองตาฮัรฺต์เป็นราชธานี

* เมืองตาฮัรฺต์ เป็นเมืองโบราณในแอลจีเรียและเคยเป็นราชธานีของพวกอัรรุสฺตุมียูน (คศ.761-908) ถูกพวกอัลฟาฏีมียะฮฺทำลายลงในปี คศ.911,ซากปรักหักพังของนครแห่งนี้อยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองติยาร็อต
* พวกค่อวาริจญ์ (اَلْخَوَارِجُ ) กลุ่มลัทธิในอิสลามที่เก่าแก่ที่สุดกลุ่มหนึ่ง พวกนี้ได้ก่อการกบฏต่อท่านค่อลีฟะฮฺอะลี อิบนุ อบีตอลิบ (ร.ฎ.) เนื่องจากท่านค่อลีฟะฮฺอะลี (ร.ฎ.) ได้ยอมรับการตัดสินภายหลังสมรภูมิซิฟฟีนฺ, พวกค่อวาริจญ์ได้ตั้งค่ายชุมนุมในตำบลฮะเรารออฺ ใกล้ ๆ กับนครอัลกูฟะฮฺ, ท่านค่อลีฟะฮฺอะลี (ร.ฎ.) ได้ปราบปรามพวกค่อวาริจญ์ในเขตอันนะฮฺร่อวานฺ ใกล้กับนครแบกแดดจนพวกค่อวาริจญ์แตกพ่าย ต่อมาอิบนุ มัลญัมฺ หนึ่งจากพวกค่อวาริจญ์ก็ลอบสังหารท่านค่อลีฟะฮฺอะลี (ร.ฎ.),
ส่วนหนึ่งจากผู้นำที่โด่งดังของพวกค่อวาริจญ์คือ อัฎเฎาะฮฺฮ๊าก อิบนุ ก็อยฺซ อัชฺชัยฺบานีย์ และกอฏ่อรีย์ อิบนุ ฟุญาอะฮฺ พวกค่อวาริจญ์ได้แตกออกเป็นกลุ่มต่างๆ มากมาย ที่สำคัญได้แก่ พวกอัลอิบาฎียะฮฺ, อัลอะซาริเกาะฮฺ และอัซซุฟรียะฮฺ การเรียกร้องเชิญชวนของพวกค่อวาริจญ์ได้รับการตอบรับอย่างแพร่หลายในหมู่ชนชาติเบอร์เบอร์ในแอฟริกา ส่วนหนึ่งมีอำนาจปกครองในเขตตะวันตกของโลกอิสลาม (แอฟริกาเหนือ) คือ พวกอัรรุสตุมี่ยูน ซึ่งเป็นกลุ่มอัล-อิบาฎียะฮฺ
* อัลอิบาฎียะฮฺ (اَلإِبَاضِيَّةُ ) เป็นกลุ่มหนึ่งจากพวกค่อวาริจญ์สืบถึงอับดุลลอฮฺ อิบนุ อิบ๊าฎ, พวกอัลอิบาฎียะฮฺได้ก่อการลุกฮือและกบฏต่อบรรดาค่อลีฟะฮฺอยู่หลายครั้ง ที่สำคัญคือ การลุกฮือของอับดุลลอฮฺ อิบนุ ยะฮฺยา ในปีฮ.ศ.129 / คศ.747,
พวกอัลอิบาฎียะฮฺได้แผ่อิทธิพลของพวกตนเหนือยะมันและแคว้นฮัฎร่อเมาวฺต์ และก่อการกบฏต่อพวกอับบาซียะฮฺในโอมาน ค่อลีฟะฮฺ อัซฺซัฟฟาฮฺได้ปราบปรามพวกนี้แต่ก็ไม่สามารถกำจัดขบวนการทางความคิดและจิตวิญญาณของพวกนี้ลงได้อย่างสิ้นซาก แนวความคิดของพวกอัลอิบาฎียะฮฺได้แพร่หลายในโอมาน, ซินซิบาร์ และแอฟริกาเหนือ ซึ่งกลายเป็นลัทธิหรือนิกายของชนชาติเบอร์เบอร์และสถาปนาอาณาจักรอัรรุสตุมียะฮฺขึ้นในเวลาต่อมา

4.อัลฺอิดฺรีซียะฮฺ (اَلإِدْرِيْسِيَّةُ)
อาณาจักรอิสลามของพวกชีอะฮฺในมอรอคโค, สถาปนาโดยอิดรีส อิบนุ อับดิลลาฮฺ, ได้แยกเป็นรัฐอิสระจากระบอบคิลาฟะฮฺแห่งราชวงศ์อับบาซียะฮฺและมีอำนาจปกครองดินแดนตะวันตกไกล (อัลมัฆริบ อัลอักศอ) และติลมีซานฺ ในปี ฮ.ศ.172-363 / คศ.788-974) มีนครว่าลีลีย์เป็นราชธานี ต่อมาย้ายมายังนครฟ๊าสฺ พวกอับบาซียะฮฺและอะฆอลิบะฮฺได้ต่อสู้ขับเคี่ยวกับอาณาจักรอัลอิดฺรีซียะฮฺอยู่เนือง ๆ,
การแตกแยกภายในได้ทำให้อาณาจักรอัลอิดฺรีซียะฮฺอ่อนแอลงและตกอยู่ภายใต้อำนาจของพวกฟาฏีมียะฮฺ รัฐของพวกบะนู ฮัมมูดในอัลอันดะลุสก็สืบเชื้อสายมาจากอาณาจักรนี้และผลงานสำคัญของพวกอิดรีซียะฮฺก็คือ นครฟ๊าสฺ ซึ่งมีอาคารบ้านเรือนสวยงามโดยเฉพาะมัสญิดญามิอฺ อัลก่อร่อวียีน
* อิดรีส อิบนุ อับดิลลาฮฺ (เสียชีวิต ฮ.ศ.177/คศ.793) อิหม่ามในสายชีอะฮฺ, ผู้ก่อตั้งอาณาจักรอัลอิดรีซียะฮฺในมอรอคโค เคยก่อการกบฏต่อพวกอับบาซียะฮฺและหลบหนีออกจากแคว้นอัลฮิญาซฺพร้อมกับรอชิด บ่าวผู้รับใช้ภายหลังสมรภูมิฟัคฺคฺ (คศ.786) เดินทางผ่านอิยิปต์และไปถึงเขตตะวันตกไกล และลงพำนักในเมืองว่าลีลีย์ พวกชนเผ่าเบอร์เบอร์โดยเฉพาะก๊กเอาร่อบะฮฺได้ให้สัตยาบันแก่เขาและประกาศตั้งอาณาจักรอัลอิดรีซียะฮฺในปีคศ.788
กษัตริย์แห่งอาณาจักรอัลอิดรีซียะฮฺ
1. อิดรีส อิบนุ อับดิลลาฮฺ (คศ.788-793)
2. อิดรีสที่ 2 (คศ.802-828)
3. มุฮำมัด อิบนุ อิดรีสที่ 2 (คศ.828-835)
4. อะลีที่ 1 (คศ.835-849)
5. ยะฮฺยาที่ 1 (คศ.849-864)
6. ยะฮฺยาที่ 2 (คศ.864-874)
7. อะลีที่ 2 (คศ.874-883)
8. ยะฮฺยาที่ 3 (คศ.883-905)
9. ยะฮฺยาที่ 4 (คศ.905-922)
10. อัลหะซัน อัลหะญาม (คศ.922-925)
11. อัลกอซิม กันนูนฺ (คศ.937-948)
12. อบู อัลอัยฺช์ อิบนุ กันนูนฺ (คศ.948-959)
13. อัลหะซัน อิบนุ กันนูนฺ (คศ.959-985)

5.ราชวงศ์อัลอะฆอลิบะฮฺ (اَلأَغَالِبَةُ )
อัลอะฆอลิบะฮฺหรือบะนู อัลอัฆฺลับฺ (بَنُوْاَلأَغْلَبِ ) เป็นตระกูลของขุนนางที่มีอำนาจในแอฟริกาเหนือ ระหว่างปี ฮ.ศ.184-296 / คศ.800-909, มีนครอัลกอยฺร่อวาน เป็นราชธานี, สถาปนาโดยอิบรอฮีมที่ 1 อิบนุ อัลอัฆฺลับ ซึ่งเป็นข้าหลวงของค่อลีฟะฮฺฮารูน อัรร่อชีด, ส่วนหนึ่งจากกษัตริย์ในราชวงศ์นี้ คือ อิบรอฮีมที่ 2 ซึ่งเข้ายึดครองซิซิลี (ซิกิลฺลียะฮฺ), มีซิยาดะตุลลอฮฺที่ 3 เป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายในราชวงศ์, พวกอะฆอลิบะฮฺถูกอบู อับดิลลาฮฺ อัชชีอีย์ (เป็นชาวชีอะฮฺ) ผู้เรียกร้องเชิญชวนของพวกฟาฏีมียะฮฺปราบปราม, พวกอะฆอลิบะฮฺมีกองเรือรบขนาดใหญ่ในยุคที่พวกเขาเรืองอำนาจ
* อิบรอฮีมที่ 1 อิบนุ อัลอัฆลับฺ (เสียชีวิต ฮ.ศ.196-คศ.812) ผู้สถาปนาอาณาจักรอัลอัฆละบียะฮฺในแอฟริกาเหนือ, ค่อลีฟะฮฺฮารูน อัรร่อชีด ได้เคยแต่งตั้งให้อิบรอฮีมปกครองแคว้นแอฟริกาในปีคศ.800, อิบรอฮีมได้รับชัยชนะเหนือคู่แข่งของตน และพวกเบอร์เบอร์ได้ยอมสวามิภักดิ์ต่ออิบรอฮีม, เป็นผู้สร้างเมืองอัลอับบาซียะฮฺและเมืองอัลก็อซฺร์ขึ้นใกล้ ๆ กับนครกอยร่อวาน

* อิบรอฮีมที่ 2 อิบนุ อัลอัฆลับฺ (เสียชีวิตฮ.ศ.289/คศ.902) เป็นกษัตริย์ที่เลื่องลือที่สุดในวงศ์อัลอัฆลับในแอฟริกาเหนือ, สืบทอดอำนาจต่อจากอบุลฆ่อรอฟีกฺ พี่ชายของเขาในปี คศ.875, มีอาการทางประสาทเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้ายจนกระทั่งลุแก่อำนาจและสังหารผู้คนเป็นผักปลา, ค่อลีฟะฮฺ อัลมุอฺตะฎิด แห่งราชวงศ์อับบาซียะฮฺจึงปลดอิบรอฮีมที่ 2 ออกจากอำนาจ, อิบรอฮีมที่ 2 จึงออกเดินทางไปยังเกาะซิซิลี (ทางตอนใต้ของอิตาลี) เพราะทำศึกและญิฮาด, เขาเสียชีวิตลงภายหลังการยึดครองเมืองซัรกูเซาะฮฺ (ซาราโกซ่า) ผลงานสำคัญของเขาคือ นครร็อกกอดะฮฺ ซึ่งเป็นราชธานีของอาณาจักร
* เกาะซิซิลี (ซิกิลลียะฮฺ) ตกอยู่ภายใต้การปกครองของชาวอาหรับเป็นเวลา 263 ปี จนกระทั่งพ่ายแพ้ต่อพวกนอร์แมนด์ในปี คศ.1091
6.อาณาจักรอัฏฏอฮิรี่ยะฮฺ (اَلدَّوْلَةُ الطَّاهِرِيَّةُ )

อาณาจักรของวงศ์กษัตริย์ที่มีอำนาจปกครองในแคว้นคุรอซานในระหว่างปี ฮ.ศ.205-259/คศ.820-872, สถาปนาโดยตอฮิรฺ อิบนุ อัลฮุซัยน์ ซึ่งเป็นแม่ทัพคนหนึ่งของค่อลีฟะฮฺ อัลมะอฺมูนแห่งราชวงศ์อับบาซียะฮฺ, ตอฮิร ผู้นี้ได้นำทัพเข้าปราบปรามการลุกฮือของพวกค่อวาริจญ์และแยกตนเป็นอิสระในการปกครองคุรอซานและถูกลอบสังหารในปี คศ.822 , ตอลฮะฮฺและอับดุลลอฮฺ บุตรชายทั้งสองของเขาได้สืบอำนาจต่อมา, อาณาจักรอัฏฏอฮิรียะฮฺถูกพวกอัซซอฟฟารียะฮฺ ปราปปรามลงในเวลาต่อมา

7. อาณาจักรอัซซอฟฟารียะฮฺ (اَلدَّوْلَةُ الصَّفَّارِيَّةُ )

อาณาจักรของวงศ์กษัตริย์ที่มีอำนาจปกครองในแคว้นคุรอซานในระหว่างปีฮ.ศ.254-289/คศ.868-902, ถูกสถาปนาขึ้นบนความล่มสลายของอาณาจักรอัฏฏอฮีรียะฮฺ โดยยะอฺกู๊บ อิบนุ อัลลัยซ์ อัซซ็อฟฟ๊าร, ในปี ฮ.ศ.262/คศ.876
ยะอฺกู๊บได้นำทัพบุกโจมตีนครแบกแดด แต่ถูกกองทัพของค่อลีฟะฮฺ อัลมุอฺตะมิดแห่งราชวงศ์อับบาซียะฮฺ ภายใต้การนำของอัลมุวัฟฟัก พระอนุชาของค่อลีฟะฮฺสร้างความปราชัยในสมรภูมิดีรฺ อัลอากูล, ต่อมาอัมรฺ อิบนุ อัลลัยซ์ น้องชายของยะอฺกู๊บได้สืบทอดอำนาจต่อมาในปีคศ.879 และได้รับความโปรดปรานจากค่อลีฟะฮฺอัลมุอฺตะมิด และ อัลมุอฺตะฎิด แห่งราชวงศ์อับบาซียะฮฺ, ต่อมาถูกอิสมาอีล อิบนุ อะฮฺมัด อัซซะมานีย์จับกุมและส่งมอบแก่ค่อลีฟะฮฺอัลมุอฺตะฎิด ซึ่งทรงสั่งให้ประหารชีวิตอัมรฺผู้นี้ เป็นอันสิ้นสุดอำนาจของพวกอัซซอฟฟารียะฮฺ

8.วงศ์อัซซามานี่ยูน (السَّامَانِيُّوْنَ )

วงศ์กษัตริย์เชื้อสายอิหร่านที่มีอำนาจปกครองในแคว้นคุรอซานและดินแดนเบื้องหลังแม่น้ำ (เอเชียกลาง) ในระหว่างปี ฮ.ศ.261-390/คศ.874-999 มีเชื้อสายสืบถึงซามาน คุดาฮฺ (เจ้าชายอิหร่านเป็นผู้นำในตระกูลซามาน เข้ารับอิสลามและได้รับการคุ้มครองจากอะสัด อิบนุ อับดิลลาฮฺ ผู้ครองแคว้นคุรอซานในรัชสมัยฮิชาม อิบนุ อับดิลม่าลิก ค่อลีฟะฮฺแห่งราชวงศ์อัลอุม่าวียะฮฺ)
หลานชายสี่คนของซามานคุดาฮฺ คือ นัวฮฺ, อะฮฺหมัด, ยะฮฺยาและอิลยาซได้กลายเป็นข้าหลวงของค่อลีฟะฮฺอัลมะอฺมูนแห่งอับบาซียะฮฺในการปกครองนครซะมัรกอนด์, ฟัรฆอนะฮฺ, ช๊าชและฮะรอต ตามลำดับ, ต่อมาอิสมาอีล อิบนุ อะฮฺมัดได้สร้างฐานอำนาจของวงศ์ซามานในระหว่างปีคศ.892-907 และสามารถปรามปรามพวกวงศ์อัซซอฟฟารียะฮฺลงได้, มีกษัตริย์ปกครองทั้งหมด 9 องค์, มีอำนาจแผ่ครอบคลุมจดเขตแดนของอินเดียและตุรกีสถาน
กษัตริย์ที่เลื่องลือ คือ นัซรฺที่ 2, นัวฮฺที่ 1 และ 2, ในรัชสมัยของกษัตริย์ดังกล่าวมีความรุ่งเรืองทางอารยธรรม, นครบุคอรอ และซามัรกอนด์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งจากศูนย์กลางทางวิทยาการอิสลามที่เคียงคู่กับนครแบกแดด, วรรณกรรมของอิหร่านมีความตื่นตัวและได้รับการฟื้นฟูจนปรากฏชื่อของอัรรูดกีย์, อัลฟิรเดาซีย์ และ อิบนุ ซีนา,
พวกซามานียูนได้ใช้ทาสพวกเติร์กในการรับราชการจนพวกเติร์กมีอำนาจมากขึ้นและการบริหารราชการได้ตกไปอยู่ในกำมือของพวกเติร์กจวบจนอัลบฺ ตะกีน อัลฆอซนะวีย์ ได้แยกตนเป็นอิสระในการปกครองและปราบปรามพวกซามานียูนจนสิ้นอำนาจไปในที่สุด

9.พวกอัลฆอซฺนะวียูน (اَلْغَزْنَوِيُّوْنَ )

วงศ์กษัตริย์จากพวกทาสชาวเติร์กที่มีอำนาจปกครองเขตภาคตะวันออกของอิหร่าน และ อัฟกานิสถาน รวมถึงแคว้นปัญจาบในระหว่างปี ฮ.ศ.351-582/คศ.962-1187, สถาปนาโดยอัลบ์ ตะกีน ซึ่งเป็นข้าราชการในวงศ์ซามานียีน และสุบุกตะกีน บุตรเขยของอัลบ์ ตะกีน ได้สร้างฐานอำนาจอย่างมั่นคงต่อมา,
กษัตริย์ที่เลืองนามจากวงศ์กษัตริย์ คือ มะฮฺมูด อิบนุ สุบุกตะกีน (ยะมีน อัดเดาละฮฺ : คศ.970-1030 ; กษัตริย์องค์ที่ 3 ในวงศ์อัลฆอซฺนะวียีน (คศ.998) พิชิตนครบุคอรอและยึดครองอาณาเขตของพวกซามีนียีนในดินแดนเบื้องหลังแม่น้ำ (เอเชียกลาง) มีอำนาจแผ่ครอบคลุมถึงแคว้นปัญจาบและกุชราตฺ, อุปถัมภ์และฟื้นฟูวรรณกรรมและศิลปะวิทยาการ ในรัชสมัยของพระองค์ นักกวี อัลฟิรเดาซี่ได้ประพันธ์ชาฮฺนาเม่ฮฺ) มีนครฆอซนะฮฺเป็นราชธานี และพวกอัลฆอซฺนะวียูนได้สร้างเมืองลาฮอร์ ขึ้นเป็นเมืองเอกของแคว้นปัญจาบ, ต่อมาพวกอัลฆูรียูนได้ปราบปรามพวกอัลฆอซฺนะวียีนจนหมดอำนาจ

10.วงศ์อัลฆูรียูน (اَلْغُوْرِيُّوْنَ )

วงศ์กษัตริย์มุสลิมที่มีอำนาจปกครองในอัฟกานิสถานระหว่างปี ฮ.ศ.543-612/คศ.1148-1215, สืบทอดอำนาจต่อจากพวกอัลฆอซฺนะวียีนในอินเดีย, อาณาจักรอิสระของพวกอัลฆูรียูนถือกำเนิดขึ้นในเขตฆูรฺ ซึ่งเต็มไปด้วยขุนเขาระหว่างเมืองฮะรอตและฆอซฺนะฮฺ, มีนครฟัยรู๊ซฺกูฮฺ เป็นราชธานี, สถาปนาโดยซัยฟุดเดาละฮฺ และยึดครองนครฆอซนะฮฺได้สำเร็จ, ในปีคศ.1149
ซัยฟุดเดาละฮฺถูกบะฮฺรอมชาฮฺแห่งวงศ์ฆอซฺนะวีย์สังหารอะลาลุดดีน อัลฆูรีย์ จึงแก้แค้นด้วยการเผานครฆอซฺนะฮฺ, กษัตริย์องค์สุดท้ายของวงศ์ฆูรีย์ คือ มุอิซซุดดีน มุฮำมัด ซึ่งถูกคุวาริซฺม์ ชาฮฺ ปราบปราม, ต่อมากุตุบุดดีน อัยบัก อดีตทาสของวงศ์ฆูรีย์ได้สถาปนาวงศ์ทาส (ม่ามาลีก) เชื้อสายเติร์กขึ้นในนครเดลฮีของอินเดีย
11.อัลอิคฺชิดียูน (اَلإِخْشِيْدِيُّوْنَ)
อาณาจักรอิสระที่สืบทอดพวกอัตตลูนียูนในการปกครองอียิปต์และซีเรีย ระหว่างปี ฮ.ศ.323-358/คศ. 935-969, สถาปนาโดยมุฮำหมัด อิบนุ ฏุฆจฺญ์ อัลอิคชีดฺ (เสียชีวิตฮ.ศ.334/คศ.946) ซึ่งเคยเป็นข้าหลวงปกครองนครอเล็กซานเดรีย, ปาเลสไตน์และซีเรีย, ค่อลีฟะฮฺแห่งราชวงศ์อัลอับบาซียะฮฺทรงพระราชทานฉายานามแก่เขาว่า “อัลอิคฺชีด”
ต่อมาได้สละตำแหน่งแก่โอรสของตนที่ชื่อ อนูญุรฺ (คศ.946-960) ซึ่งยังทรงเยาว์วัย โดยมีอบุลมิสก์ กาฟู๊ร อัลอิคชีดีย์ (เสียชีวิตฮ.ศ.357/คศ.967) เป็นผู้สำเร็จราชการ ต่อมาในปี คศ.965 กาฟู๊รได้ขึ้นดำรงตำแหน่งซุลตอนแห่งอียิปต์และซีเรีย ในรัชสมัยของพระองค์มีความเจริญทางวรรณกรรมเป็นอันมาก พวกวงศ์อัลฟาฏิมียะฮฺได้ปราบปรามพวกอัลอิคชีดียะฮฺในเวลาต่อมา
12.อัตตูลูนียะฮฺ (اَلطُّوْلُوْنِيَّةُ)
อาณาจักรอิสระที่แยกตนจากอาณาจักรอับบาซียะฮฺ, มีอำนาจปกครองในอียิปต์และซีเรีย ระหว่างปีฮ.ศ.254-292/คศ.868-905, สถาปนาโดยอะฮฺหมัด อิบนุ ตูลูน (เสียชีวิตฮ.ศ.270/คศ.884) ซึ่งเป็นคนใกล้ชิดของค่อลีฟะฮฺ อัลมุสตะอีน บิลลาฮฺแห่งวงศ์อับบาซียะฮฺ ดำรงตำแหน่งข้าหลวงแห่งอียิปต์ในปีคศ.868 ต่อมาแยกตนเป็นอิสระและสร้างนครอัลก่อฏออิอฺเป็นราชธานีแห่งใหม่ของอาณาจักร, อิบนุตูลูนได้แผ่อำนาจของตนเหนืออียิปต์, ซีเรีย และโมซุล, เขาได้สร้างมัสญิดอันงดงามขึ้นในนครอัลกอฏออิอฺ (ใกล้กับฟุสฏ๊อฏ ไคโร),

ต่อมาคุมาร่อวัยฮฺ โอรสของอิบนุตูลูนได้ปกครองต่อมาในปีคศ.884 ธิดาของคุมาร่อวัยฮฺนามว่า ก็อฏรุนนะดาได้อภิเษกกับค่อลีฟะฮฺอัลมุอฺตะฎิดแห่งวงศ์อับบาซียะฮฺ คุมาร่อวัยฮฺถูกสังหารในนครดามัสกัส ภายหลังการถูกสังหารของคุมาร่อวัยฮฺความขัดแย้งภายในได้ทำให้อาณาจักรตูลูนียะฮฺอ่อนแอลง และถูกวงศ์อับบาซียะฮฺปราบปรามในที่สุด ในสมัยที่อาณาจักรนี้รุ่งเรืองสถาปัตยกรรมอิสลามมีความตื่นตัวเป็นอันมาก ที่สำคัญคือมัสญิดญามิอฺ อิบนิ ตูลูนในกรุงไคโร


13.อะตาบัก (أَتَابَك)
เป็นฉายานามในภาษาเติร์กิชที่พวกเซลจูกเติร์กใช้เรียกขานเหล่าขุนนางในราชสำนักบางส่วนตลอดจนบรรดาเสนาบดีและแม่ทัพซึ่งบางคนเป็นผู้อบรมเหล่ายุว กษัตริย์ในศาสตร์แขนงต่าง ๆ ผู้มีราชทินนามว่า อะตาบัก (มีพหูพจน์ว่า อะตาบิกะฮฺ) บางคนสามารถเข้ากุมอำนาจการปกครองจนเริ่มมีรัฐอิสระที่ปกครองด้วยอะตาบักนับแต่คริสต์ศตวรรษที่ 12 ในดินแดนเปอร์เซีย, แคว้นชาม (ซีเรีย) ที่เลื่องลือที่สุดได้แก่ อะตาบิกะฮฺแห่งอาเซอร์ไบจาน, เปอร์เซีย และวงศ์บูรีย์ อิบนิ ตุฆตะกีน, ในดามัสกัสและตระกูลซังกีย์ในโมซุลอัลญะซีเราะฮฺและแคว้นชาม

14.อัลอัรฺตุกียูน (اَلأَرْتُقِيُّوْنَ)
ตระกูลเติร์กะเมน มีอำนาจปกครองในดิย๊าร บักร์ ในศตวรรษที่ 6-9 แห่งฮิจเราะฮฺศักราช/คริสต์ศตวรรษที่ 12-15, มีอัรตุก บุตร อักซับเป็นต้นตระกูล บุคคลผู้นี้เคยรับใช้มาลิกชาฮฺแห่งเซลจูกเติร์กและตุตุชฺ น้องชายของมาลิกชาฮฺ, ซึ่งบุคคลหลังนี้ได้มอบปาเลสไตน์ให้อัรตุกปกครองในปีคศ.1086, ต่อมาบุตรชายของเขาสองคนคือ ซุกมานและเอลฆอซีย์ได้สืบอำนาจต่อมา ลูกหลานของซุกมานได้ปกครองป้อมปราการแห่งเมืองกัยฟ่า และมาร์ดีน ส่วนลูกหลานของเอลฆอซีย์ ได้ปกครองในเขตมาร์ดีน, มัยยาฟาริกีนและอเล็บโป (ฮะลับ)

15.อัลอุรเฏาะฮฺ อัซซะฮะบียะฮฺ (اَلأُرْطَةُ الذَّهَبِيَّةُ)
อาณาจักรของพวกมองโกล สถาปนาโดยบาตู ข่าน (คศ.1204-1255) หลานชายของเจงกีสข่านในเขตลุ่มน้ำวอลก้า (คศ.1242) มีดินแดนครอบคลุมไซบีเรีย, ภาคใต้ของรัสเซีย และลุ่มแม่น้ำวอลก้า มีนครซ่อรอยฺ เป็นราชธานี, ในรัชสมัยบาตู ข่านนั้นพวกมองโกลได้รุกรานโปแลนด์ ฮังการี และข้ามแม่น้ำดานูบไปยังบุลแกเรีย อาณาจักรนี้เริ่มเสื่อมลงในปีคศ.1502

16.อัรฆุน (أَرْغُوْن)
วงศ์ของมองโกลที่มีอำนาจปกครองแคว้นสินธุและบัลลูชิสตาน ระหว่างปีคศ.1479-1559 สถาปนาโดยซุนนูนฺ อัรฆุน ต่อมาพวกวงศ์อัรฆุนตัรข่านได้สืบอำนาจต่อมา และถูกจักรพรรดิอักบัร มหาราช แห่งราชวงศ์โมกุลปราบปรามในปีคศ.1591

17.อัลอะซาริเกาะฮฺ (أَلأَزَارِقَة)
กลุ่มหนึ่งจากพวกค่อวาริจญ์อ้างถึงนาฟิอฺ อิบนุ อัลอัซฺร็อกฺ (เสียชีวิตปีฮ.ศ.65/คศ.685) ซึ่งถูกสังหารในสมรภูมิดูล๊าบ รัชสมัยค่อลีฟะฮฺอับดุลลอฮฺ อิบนุ อัซซุบัยร์ พวกอะซาริเกาะฮฺได้ยึดครองเขตอัลอะฮฺว๊าซฺ (เมืองทางตะวันตกเฉียงใต้ของอิหร่าน) มีผู้นำคนสำคัญ คือ กอฏ่อรี่ย์ อิบนุ อัลฟุญาอะฮฺ (เสียชีวิตปีฮ.ศ.78/คศ.697) ซึ่งเป็นนักกวี เขาใช้ชีวิตไปในการต่อสู้ถึง 13 ปี และสามารถต้านทานการโจมตีของอัลฮัจฺญ๊าจฺ อิบนุ ยูซุฟ ก่อฏ่อรี่ย์ถูกสังหารในสมรภูมิแห่งเมืองฏ่อบะริสตาน ต่อมาพวกอะซาริเกาะฮฺได้ถูกแม่ทัพอัลมุฮัลลับ อิบนุ อบี ซุฟเราะฮฺปราบปราม

18.อัลอิสมาอิลี่ยูน (اَلإِسْمَاعِيْلِيُّوْنَ)
คือ กลุ่มชนที่กล่าวถึงการเป็นอิหม่ามของอิสมาอีล อิบนุ ญะอฺฟัร อัซซอดิก หลังจากบิดาของเขา กลุ่มหนึ่งจากพวกอิสมาอีลียะฮฺภายใต้การนำของอัลฮะซัน อิบนุ อัซซอบฺบาฮฺได้แยกจากค่อลีฟะฮฺ อัลมุสตะอฺลีย์แห่งราชวงศ์ฟาฏิมี่ยะฮฺ และให้สัตยาบันแก่นิซารฺ พระอนุชาของค่อลีฟะฮฺ

การลุกฮือของพวกอิสมาอิลียะฮฺประสบความล้มเหลวในนครอเล็กซานเดรีย อัลฮะซัน อิบนุ อัซซอบฺบาฮฺจึงย้ายไปยังป้อมปราการแห่งอะลาโมตในอิหร่าน (ปีคศ.1090) และสถาปนาการปกครองของพวกอันนิซารี่ยีนหรืออัลฮัชชาชีน ส่วนหนึ่งจากพวกนี้คือกลุ่มชีอะฮฺอิสมาอีลี่ยะฮฺที่ปฏิบัติตามอากา ข่านในปัจจุบัน ส่วนพวกที่ปฏิบัติตาม อัลมุสตะอฺลีย์รู้จักกันในทุกวันนี้ว่าพวกโบฮฺร่าหรืออัซซับอี่ยะฮฺ
19. อัลมุ่รอบิฏูน (اَلْمُرَابِطُوْنَ)
ชนชาติเบอร์เบอร์จากเผ่าลัมตูนะฮฺ ซึ่งเป็นเผ่าหนึ่งจากก๊กซอนฮาญะฮฺ, สถาปนารัฐอิสลามขึ้นในมอรอคโคและแผ่อำนาจปกครองมอรอคโค, เอ็นดะลูเซีย (สเปน) และแอฟริกาเหนือระหว่างปีฮ.ศ.448-541/คศ.1056-1147, รู้จักกันในนามอัลมุลัซฺซิมีนฺ (บรรดาผู้ปิดใบหน้า) และอัลมุรอบิฏูน เนื่องจากพวกนี้จะประกอบศาสนกิจอยู่ในริบาฏ (ซึ่งเป็นทั้งป้อมทหารรักษาการณ์และสถานที่ประกอบศาสนกิจ)
สุลตอนของพวกอัลมุรอบิฏูนที่เลื่องลือที่สุดคือ สุลตอนยูซุฟ อิบนุ ต๊าชฟีนฺ (อบูยะอฺกู๊บ อัลลัมตูนีย์) เสียชีวิตปีฮ.ศ.500/ค.ศ.1106 ผู้เป็นปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์และสร้างนครมัรรอกิชฺ (ในมอรอคโค) เพื่อเป็นศูนย์กลางในการปกครองและยึดครองเมืองฟ๊าส ตลอดจนแผ่อำนาจเหนืออาณาเขตของมอรอคโคทั้งหมด, ต่อมายูซุฟ อิบนุ ต๊าชฟีนฺได้นำทัพอัลมุรอบิฏูนเข้ายึดครองเอ็นดะลูเซียและปราบปรามเจ้าครองนครรัฐอิสระต่าง ๆ (อัฏฏ่อวาอิฟฺ) และได้สร้างความปราชัยแก่กองทัพของอัลฟองโซที่ 6 ในสมรภูมิอัซฺซัลลาเกาะฮฺ (ค.ศ.1086)

20. อัลมุวะฮฺฮิดูน (اَلْمُوَحِّدُوْنَ)
ชนชาติมอรอคโคสายชีอะฮฺ, มีอัลมะฮฺดีย์ อิบนุ ตูมัรฺต์เป็นผู้สถาปนาอาณาจักรภายหลังการล่มสลายของพวกอัลมุรอบิฏูน มีอำนาจปกครองในมอรอคโคและแผ่อำนาจเข้าสู่เอ็นดะลูเซีย (สเปน) ฮ.ศ.515-667/ค.ศ.1121-1269 เรียกกันว่า อัลมุอฺมินียะฮฺ ซึ่งอ้างถึงอับดุลมุอฺมิน อิบนุ อะลีซึ่งเป็นผู้สืบทอดต่อจากอิบนุ ตูมัรฺต์ และสามารถยึดครองนครมัรรอกิชฺ จากพวกอัลมุรอบิฏูนได้ในเวลาต่อมา
ส่วนหนึ่งจากบรรดาสุลตอนของพวกอัลมุวะฮฺฮิดูนคือ อบูยะอฺกู๊บ ยูซุฟและอบูยูซุฟ ยะอฺกู๊บ และเมื่อบุคคลหลังได้สิ้นชีวิตลงอำนาจของพวกอัลมุวะฮฺฮิดูนก็เริ่มเสื่อมลงและสูญเสียอำนาจในเอ็นดะลูเซียภายหลังสมรภูมิอัลอุก๊อบ (ฮ.ศ.609/ค.ศ.1212) และพวกฮัฟซียูนก็แยกตนเป็นอิสระในตูนิเซีย (ฮ.ศ.626/ค.ศ.1228) บะนู อับดิลว๊าด ในนครติลมิซาน (ฮ.ศ.633/ค.ศ.1235) และถูกพวกบะนูมีรีนปราบปรามในที่สุด

21. บรรดาเจ้าครองนครรัฐอิสระ (مُلُوْكُ الطَّوَاﺋﻒ) (ฮ.ศ.422-484/ค.ศ.1023-1091)
บรรดารัฐอิสระขนาดเล็กที่ตั้งขึ้นบนความล่มสลายของอาณาจักรอัลอุมะวียะฮฺในเอ็นดะลูเซีย (สเปน) ภายหลังยกเลิกการปกครองในระบอบคิลาฟะฮฺแห่งวงศ์อัลอุม่าวียะฮฺ บรรดาเสนาบดี, บรรดาเจ้าเมือง, เหล่าผู้นำชาวอาหรับและเบอร์เบอร์ได้แยกกันปกครองในอาณาเขตของตน รัฐอิสระที่มีอิทธิพลมากที่สุดคือ บะนู อับบ๊าด ในนครอิชบิลียะฮฺ (ซิวิลญ่า)
และส่วนหนึ่งจากบรรดาเจ้าครองนครรัฐอิสระ ได้แก่ บะนูญะฮฺวัรฺในนครโคโดบาฮฺ (กุรฏุบะฮฺ), บะนู ฮัมมู๊ดในอัลญะซีราซฺ (อัลญะซีเราะฮฺ อัลค็อฎรออฺ) และมะละกา (มาลิเกาะฮฺ), บะนู ซีรีย์ ในแกรนาดา (ฆอรฺนาเฏาะฮฺ), บะนู บิรฺซ๊าลในก็อรมูนะฮฺ, บะนู มุซัยน์ในเมืองชะลิบ, บะนู มุญาฮิดในเมืองดานิยะฮฺ, บะนู ตุญัยบ์ในซ่าร่าโกซ่า (ซัรกุสเฏาะฮฺ) และบะนู ซุมาดิฮฺในอัลมาเรีย (อัลมะรียะฮฺ), บะนู ซุนนูนฺ ในนครโทเลโด (ตุลัยตุละฮฺ) บะนู อัลอัฟฏ๊อซฺ ในบัฎลิอูซฺ, บะนู อามิรฺในบะลันซียะฮฺ (วาเลนเซีย) บะนู ฮูดในซัรกุสเฏาะฮฺ (ซ่าร่าโกซ่า)
ต่อมาพวกบะนู อับบ๊าดฺได้ขอความช่วยเหลือไปยังพวกอัลมุรอบิฏูนเพื่อต่อต้านการรุกรานของอัลฟองโซที่ 6 กษัตริย์คริสเตียนแห่งคาสทิลล่า (กิชตาละฮฺ) สุลตอนยูซุฟ อิบนุ ต๊าชฟีนฺจึงส่งกองทัพอัลมุรอบิฏูนจากแอฟริกาเหนือเข้าสู่เอ็นดะลูเซียและได้รับชัยชนะต่อกองทัพคริสเตียนในสมรภูมิอัซซัลลาเกาะฮฺ (ฮ.ศ.479/ค.ศ.1086) ในภายหลังยูซุฟ อิบนุ ต๊าชฟีนก็ได้ปราบปรามรัฐอิสระและแผ่อำนาจเข้าปกครองเอ็นดะลูเซียซึ่งเป็นการเริ่มต้นยุคอัลมุรอบิฏูนในเอ็นดะลูเซียในเวลาต่อมา

22. อัซซ่อฟะวียูน (اَلصَّفَوِيُّوْنَ)
ราชวงศ์ที่มีอำนาจปกครองในอิหร่าน (ค.ศ.1501-1731) เดิมเป็นแนวทางฏ่อรีเกาะฮฺซูฟีย์ที่กำเนิดขึ้นในเมืองอัรดะบีล (เมืองหนึ่งทางตอนเหนือของอิหร่าน) ซึ่งอ้างถึง ซ่อฟียุดดีน อัลอัรดะบีลีย์ (เสียชีวิตปีค.ศ.1334) นักซูฟีย์ชาวอิหร่าน, ราชวงศ์นี้มีชาฮฺอิสมาอีลที่ 1 เป็นผู้สถาปนาโดยปราบปรามอักก์ กินฺนูลู หรือชนเผ่าเติรกะเมนที่ถูกเรียกว่า “เผ่าแกะขาว” ที่แผ่อำนาจในอาณาเขตของดิยารบักร์จนถึงแม่น้ำยูเฟรติส,
หลังจากที่พวกมองโกลเริ่มรุกรานอาณาเขตดังกล่าวในปีค.ศ.1466 อุซูน ฮะซัน จึงย้ายเมืองหลวงไปยังนครตับรีซฺ ซึ่งต่อมาชาฮฺอิสมาอีลที่ 1 ก็ปราบปรามชนเผ่านี้และยึดเอานครตับรีซฺเป็นราชธานี พระองค์ใช้พระนามว่า ชาฮฺและประกาศให้นิกายชีอะฮฺเป็นนิกายหลักของอาณาจักรอัซซ่อฟะวียูน, ชาฮฺอิสมาอีลได้ปราชัยแก่อุษมานียะฮฺ (ออตโตมาน) ในสมรภูมิญัลดะรอน (ค.ศ.1514)
ต่อมาชาฮฺ ฏอฮฺมาซิบที่ 1 ได้ย้ายราชธานีไปยังนครก็อซฺวัยน์ (ค.ศ.1555) หลังจากนครตับรีซฺตกอยู่ในกำมือของอุษมานียะฮฺ (ออตโตมาน) และในปีค.ศ.1593 ชาฮฺอับบาส มหาราชที่ (ที่ 1) -ค.ศ.1571-1629- ได้ย้ายราชธานีไปยังนครอิสฟาฮานฺ, ในรัชสมัยของชาฮฺอับบาส มหาราชนั้นพระองค์ได้ผนวกแบกแดด, กัรบะลาอฺ, อันนะญัฟฺ, โมซุลและดิย๊ารบักร์เข้าไว้ในอำนาจและทำสนธิสัญญาประนีประนอมกับพวกอุษมานียะฮฺ, อาณาจักรอัซซ่อฟะวียะฮฺในรัชสมัยของพระองค์มีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอันมากในปีค.ศ.1722 พวกอัฟกันได้ยึดครองอิสฟาฮาน, แม่ทัพนาดิร ชาฮฺของอัซซ่อฟะวียะฮฺจึงขับไล่พวกอัฟกันออกไปและประกาศตั้งตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์ในปีค.ศ.1736, และราชวงศ์นี้ได้สิ้นสุดลงด้วยการสิ้นพระชนม์ของชาฮฺอับบาสที่ 3 (ค.ศ.1731-1736)

23. รัฐสุลตอนแห่งเดลฮี (سُلْطَنَةُدِهْلِىْ)
อาณาจักรที่บรรดาสุลตอนชาวมุสลิมได้ปกครองอินเดียเหนือในนามของบรรดาค่อลีฟะฮฺแห่งราชวงศ์อับบาซียะฮฺ, สถาปนาโดยอิลฺติมิชฺ (ชัมซุดดีน) ประกอบด้วยราชวงศ์ทาสชาวเติร์ก (ม่ามาลีก) คอลญี่ย์, ตัฆลุก, อัซซัยยิด และราชวงศ์ลูดีย์






บรรณานุกรม
จากhttp://www.alisuasaming.com/Word/wordmain_royal.html (สืบค้นวันที่ 29-12-2553)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น