วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การพัฒนาสังคมในมิติ “อัล-อิสลาม” ว่าด้วยหลัก 5 ประการ


การพัฒนาสังคมในมิติ “อัล-อิสลาม”
ว่าด้วยหลัก 5 ประการ
การพัฒนาในมุมมองของอิสลามนั้นมีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดต่อคำจำกัดความหรือ คำนิยามการพัฒนาในทฤษฎีของตะวันตก สิ่งที่แตกต่างมากที่สุดก็คือ เรื่องศีลธรรม ศาสนา จริยธรรมต่างๆ นั้นไม่ได้มีบทบาทแต่อย่างใดในความคิดของนักทฤษฎีตะวันตก แต่สำหรับอิสลามแล้ว ศีลธรรม  ไม่ได้ถูกแยกออกจากการปฏิบัติ ทั้งสองอย่างเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่ทำให้กิจกรรมการพัฒนานั้นมีความสมดุล ไม่ขึ้นอยู่กับอารมณ์แต่ฝ่ายเดียว โดยปราศจากการควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์หรือตัวกระตุ้นภายในของมนุษย์นั้นก็คือ ศีลธรรมอิสลาม นั่นเอง เพราะการพัฒนาที่มุ่งเน้นแต่ด้านวัตถุอย่างเดียว ในที่สุดแล้วจะเกิดปัญหาขึ้นมาภายหลัง ในทางตรงกันข้าม การมุ่งพัฒนาตนเองอย่างเดียวก็ไม่สามารถสร้างกิจกรรมการพัฒนาได้ ดังนั้นการพัฒนาในอิสลาม อาจหมายถึง การพัฒนาทางด้านวัตถุ จิตใจ ตลอดจนศีลธรรม ทั้งของแต่ละคนและของสังคมที่นำไปสู่การอยู่ดีกินดีทางเศรษฐกิจและสังคม ด้วยกับการสร้างระเบียบทางสังคมซึ่งผลลัพธ์ของมันจะทำให้มนุษย์เป็นคนดีและประสบความสำเร็จทั้งโลกนี้และโลกหน้า แต่ดูเหมือนว่าทฤษฎีกับการปฏิบัติจะอยู่ห่างกันเหลือเกิน ทำให้ความคิดและลักษณะเฉพาะในหลักการอิสลามไม่ได้แปรเปลี่ยนไปสู่การปฏิบัติได้เท่าที่ควร เพราะฉะนั้นเราจึงเห็นได้ว่าสังคมมุสลิมของเราจะมีความล้าหลัง ไม่พัฒนา เพราะเราขาดแรงกระตุ้นภายใน หรืออุดมการณ์ของอิสลามนั้นเอง[1]
อิสลามได้วางรากฐานในการดำเนินชีวิตของผู้ศรัทธาด้วยการกำหนดภารกิจหลักอยู่ 5 ประการ คือ
1. การกล่าวปฎิญาณตน ว่า "ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺมุหัมมัดรสูลลุลลอฮฺ" (แปลว่า "ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ และมุหัมมัดเป็นศาสนฑูตของอัลลอฮฺ") คำปฎิญาณนี้เป็นถ้อยคำที่ผู้ยอมรับอิสลามทุกคนจะต้องกล่าวออกมาเป็นการยืนยันด้วยวาจาว่าตัวเองมีความศรัทธาดังที่กล่าวมาข้างต้นและพร้อมที่จะปฎิบัติตามบทบัญญัติและเงื่อนไขต่างๆ ที่อัลลอฮฺได้ทรงกำหนดไว้ในคัมภีร์อัลกุรอานและคำสอนของท่านศาสดามุหัมมัดศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม เมื่อใครยอมรับ อัลลอฮฺว่าเป็นพระเจ้าของเขาแล้วเขาจะต้องยอมรับว่ามุหัมมัด เป็นรสูลหรือผู้นำสารของอัลลอฮฺ (อัลกุรอาน) มาประกาศยังมนุษย์ชาติและจะต้องเชื่อฟังคำสั่งสอนของท่าน นบีมุหัมมัดศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ด้วย[2]
สังคมอิสลามนอกจากจะนิยามว่าเกิดจากการรวมตัวของคนตั้งแต่สองคนขึ้นไปแล้ว คนในสังคมนั้นต้องปฏิญาณตนด้วยว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลลอฮและท่านนบีมูหัมมัดเป็นศาสนฑูตของอัลลอฮ เพราะการปฏิญาณตนเสมือนเป็นอุดมการณ์ของการรวมตัวกัน (เพื่อเป็นบ่าวของอัลลอฮ...) โดยจะนำแบบอย่างที่ได้รับคำสอนจากนบีมาใช้เพื่อการดำเนินชีวิต การปฏิญาณตนของมุสลิมจะเป็นข้อย้ำเตือนเขาตลอดเวลาว่าเขานั้นเป็นใคร เกิดมาเพื่ออะไร ดำเนินชีวิตในสังคมเพื่ออะไร สังคมใดที่คนในสังคมมีอุดมการณ์เหมือนกันนั้นก็หมายความว่า สังคมนั้นมีเป้าหมายที่ชัดเจนที่ก่อให้เกิดความสงบสุขในสังคมนั้น อิสลามได้วางหลักของการดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมร่วม ด้วยการมีอุดมการณ์ที่เหมือนกัน คือ การปฏิญาณตนว่าเขานั้นนับถือศาสนาอิสลามเป็นมุสลิมผู้ยอมจำนนต่ออัลลอฮอย่างสิ้นเชิง
2. การละหมาด 5 เวลา การละหมาดเป็นสิ่งยืนยันความศรัทธาที่ปรากฏให้เห็น ทางภายนอกได้ชัดเจนที่สุดเพราะเป็นการปฏิบัติที่มีรูปแบบและคนที่จะดำรงรักษาการละหมาดของตัวเองได้ครบ 5 เวลาต่อวันนั้น จะต้องเป็นคนที่มีความผูกพันต่ออัลลอฮฺและรำลึกถึงพระคุณของพระองค์อยู่ตลอดเวลา[3] อีกทั้งการละหมาดนั้นเสมือนเป็นเสาหลักของศาสนา การละหมาด คือ จุดยืนของมุสลิมในการดำเนินชีวิตในสังคมร่วมเพราะอยู่ ณ ที่ใดมุสลิมต้องละหมาด การละหมาดไม่เพียงแต่ปฏิบัติแล้วได้ผลบุญเท่านั้นแต่ยังมีบทเรียนมากมายที่มนุษย์สามารถนำมาใช้ในการดำเนินชีวิตได้ เช่น การละหมาดจะช่วยให้มนุษย์พ้นจากสิ่งชั่วร้ายได้ การละหมาดสอนเรื่องผู้นำและผู้ตาม การละหมาดสอนเรื่องการรวมตัวเพื่อการทำความดี และยังคงมีบทเรียนอีกมากมายที่เกิดจากผลของการละหมาดถ้าเข้าใจและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต หากเรามองการละหมาดในแง่สังคม ทุกครั้งที่มีการเรียกเพื่อเข้าเฝ้าพระเจ้าด้วยเสียงอาซานเรียกร้องให้คนในชุมชนมารวมตัวกันเพื่อทำการละหมาดและสอนให้มนุษย์ได้เข้าใจบทบาทของผู้นำและผู้ตาม ผู้ที่เป็นอีหมามและมะมูมโดยมีการตออัก (การเชื่อฟัง) เป็นสายใยแห่งความสัมพันธ์ นอกจากนั้นยังมีการตักเตือนซึงกันและกัน ได้พบปะและสร้างความสัมพันธ์ต่อกันระหว่างคนในชุมชนด้วยกันเอง ในแง่ของการพัฒนาสังคมนั้น การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนในชุมชนเป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่ง เพราะจะทำให้สังคมนั้น เกิดความสามัคคี รักและห่วงใยต่อกัน สิ่งเหล่านี้ยากนักที่จะพบเห็นในสังคมเราในยุคปัจจุบัน
3. การถือศิลอด การถือศีลอดมีวัตถุประสงค์ ก็เพื่อฝึกมุสลิมให้เกิดความยำเกรงต่อพระเจ้าก็เพราะในเวลาปกติ อัลลอฮฺ ทรงอนุมัติให้มุสลิมกินและดื่มได้อย่างเสรีแต่เมื่อถึงเดือน รอมฎอนเมื่ออัลลอฮฺทรงมีบัญชาให้ละเว้นจากการกินการดื่มมุสลิมก็ละเว้นทันทีนี่เป็นบทเรียนที่สอนมุสลิมให้มียำเกรงและเชื่อฟังอัลลอฮการถือศีลอดยังเป็นการฝึกให้ผู้ถือศีลอดซื่อสัตย์ต่อตัวเอง และพระเจ้า กล่าวคือขณะที่ถือศีลอดเขาอาจจะแอบกินอาหารและดื่มน้ำ ในระหว่างการถือศีลอดก็ได้ โดยไม่มีใครรู้แต่ด้วยความเชื่อในพระเจ้าว่า พระองค์ทรงเห็น และทรงรู้การกระทำของเขา ทั้งในที่ลับและที่แจ้ง[4] นอกจากนั้นแล้ว การถือศีลอดเป็นการฝึกให้มุสลิมรู้จักการอดทนในการอดอาหารตั้งแต่เช้าถึงเย็น เพื่อสื่อให้เห็นว่าแม้มุสลิมจะอยู่ในสถานการณ์ใดก็แล้วแต่ เขาก็สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ การอดทนโดยการงด ไม่เพียงแต่เขาต้องอดทนต่อการอดอาหารเท่านั้น แต่เขาต้องต่อสู้กับอารมณ์ (นัฟซู) เขาอีกด้วย ชัยชนะความสำเร็จจะคู่ควรกับผู้ศรัทธาที่มีความอดทนเท่านั้น และการถือศิลอดนั้นยังเป็นการแสดงออกถึงความเสมอภาคกันในบรรดาผู้ศรัทธาด้วยเพราะในเดือนถือศีลอดมุสลิมผู้ศรัทธาไม่ว่าจะอยู่ในฐานะใดต่างก็ต้อง งด จากการกินการดื่มเหมือนกันหมด
4. การจ่ายซะกาต วัตถุประสงค์ ที่อิสลามกำหนดให้มุสลิมจ่ายซะกาตก็คือเพื่อเป็นการยืนยันถึงความศรัทธานอกจากนั้นแล้วการจ่ายซะกาตก็ยังมีวัตถุประสงค์ เพื่อซักฟอกทรัพย์สิน และ จิตใจของผู้จ่ายให้มีความสะอาดบริสุทธิ์ ขณะเดียวกันก็เพื่อเป็นการสร้างความเจริญให้แก่สังคมอีกด้วย[5]
หากเรามองหลักการจ่ายซะกาตในแง่สังคมเราจะเห็นว่า บรรดาผู้มีสิทธิได้รับซะกาตนั้น มักจะเป็นผู้ที่เป็นปัญหาในสังคม ดังนั้นการนำซะกาตไปให้แก่คนเหล่านี้จึงเป็นการแก้ปัญหาสังคมที่ถูกจุด ขณะเดียวกันถ้าเรามองด้านเศรษฐกิจเราจะเห็นว่า ซะกาตจะทำให้คนยากจน คนอนาถา ในสังคม มีอำนาจในการซื้อเพิ่มขึ้นเพราะมีการถ่ายเท ทรัพย์สินจากคนรวยไปสู่คนจน และเมื่อคนเหล่านี้มีอำนาจซื้อก็จะส่งผลให้มีการผลิต ตอบสนองความต้องการทำให้มีการจ้างงานและ มีการกระจายรายได้ทางเศรษฐกิจตามมา ดังนั้น จึงอาจพูดได้ว่า การจ่ายซะกาตนอกจากจะเป็นการแสดงออกถึงความศรัทธาแล้วยังเป็นการแสดงความเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺโดยผ่านการช่วยเหลือสังคมอีกด้วย
5. การประกอบพิธี ฮัจย์/ทำฮัจย์ เพื่อยืนยันถึงความศรัทธาต่ออัลลอฮฺที่ต้องอาศัยความเสียสละ ทั้ง ทรัพย์สิน และ เวลา ความอดทน ทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจการให้อภัยและความสำนึก ทางประวัติศาสตร์ ตลอดจน ความศรัทธามั่นต่อพระผู้เป็นเจ้าไปพร้อมๆกัน การทำหัจญ์ นอกจากจะเป็นการแสดงความเคารพภักดีและ ยืนยัน ในความศรัทธาต่ออัลลอฮฺแล้ว ยังสอนมนุษย์ทุกคนให้รู้สำนึกว่าในสายตาของอัลลอฮฺแล้วมนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกันเพราะในการทำฮัจญ์ผู้ทำฮัจย์ ทุกคนไม่ว่าจะมาจากชนชั้นเผ่าพันธุ์ภาษาหรือ จะมี ฐานะอย่างไรก็ตาม ทุกคนจะต้องห่อหุ้มร่างกายด้วยผ้าสีขาวเพียง 2 ชิ้นเหมือนกันหมด และทุกคนจะต้องปฏิบัติพิธีการต่างๆเหมือนกันหมดเพื่อประกาศความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺ[6]
จะเห็นได้ว่าจากหลัก 5 ประการ เราสามารถถอดบทเรียนจากวัตถุประสงค์ของแต่ละหลักการจะปรับใช้ในการพัฒนาสังคมเราได้ ซึ่งขอสรุปแนวทางการพัฒนาสังคมในมิติ “อัลอิสลาม” ว่าด้วยเรื่องหลัก 5 ประการดังนี้
1.จุดเริ่มต้นของการเกิดสังคมอิสลาม คือ การสร้างอุดมการณ์ร่วมกัน ภายใต้คำกล่าว “ลาอีลาฮาอิลลัลอฮ มูหัมมัดดุรรอซูลุลลอฮ” ดังจะเห็นจากการสร้างรัฐอิสลามของท่านนบี คือ การเผยแผ่อิสลามให้ผู้คนได้รับรู้สู่แนวทางที่เที่ยงตรง โดยใช้เวลา 13 ปี ที่ครั้งหนึ่งอิสลามเคยรุ่งเรือง
2.เมื่อคนที่มีอุดมการณ์เหมือนกันมารวมตัวกลายเป็นสังคมแล้ว กระบวนการต่อไปของการสร้างสังคมอิสลาม คือ การละหมาดวันละ 5 เวลา เพื่อสอนให้คนในสังคมรู้จักการศรัทธา เป็นผู้ศรัทธาที่เคารพเชื่อฟังกติกาของการอยู่ร่วมกันในสังคม
3.เมื่อสังคมเกิดขึ้น ความหลากหลายของผู้คนย่อมมีผลตามมา เช่น ความแตกต่างของโครงสร้างทางสังคม ซึ่งมีทั้งคนจนและคนรวย อยู่ในสังคมเดียวกัน เพื่อให้เกิดความเสมอภาคระหว่างกัน อิสลามได้สอนให้คนในสังคม ถือศิลอด เพื่อให้เขาได้เข้าใจว่าทุกคนที่อยู่ในสังคมมีความเสมอภาคต่อกัน ด้วยการฝึกให้มนุษย์อดทนต่อการ อด อาหาร ซึ่งแม้ว่าคนนั้นจะมีสถานะใดในสังคม ก็ย่อมต้องอดอาหารเหมือนกันทุกคน ทั้งนี้ก็เพื่อแสดงให้เห็นว่าการอยู่รวมกันในสังคมนั้นทุกคนเสมอภาคกัน และยังคงมีบทเรียนของการถือศิลอดอีกมากมายที่เราสามารถนำมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตร่วมในสังคม
4.ในการอยู่ร่วมกันในสังคมย่อมเกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนในสังคมด้วยกัน อันจะทำให้เกิดความสัมพันธ์เชิงการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน พึ่งพาอาศัยกัน แม้ว่าความแตกต่างทางสถานะทางสังคมจะถูกแบ่งให้เห็นภาพชัดก็ตาม แต่นั้นคือเหตุผลที่มาจากความประสงค์ของพระเจ้า ดังนั้นเพื่อให้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น อิสลามได้สอนให้มนุษย์รู้จักการเสียสละช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ด้วยการกำหนดภารกิจหลัก คือ การจ่ายซะกาต ที่นอกจากจะทำให้ผู้จ่ายซะกาตมีจิตใจที่สะอาดแล้ว ยังแสดงให้เห็นถึงการเสียสละ การช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเผยแผ่ต่อเพื่อนมนุษย์ด้วย และยังคิดว่าบทเรียนของการจ่ายซะกาตยังคงมีอีกมากมายที่เราสามารถถอดนำมาประยุกต์ในการดำเนินชีวิตร่วมในสังคม
5.เมื่อสังคมขยายตัวกลายเป็นสังคมใหญ่ย่อมทำให้เกิดผลของการขยายตัวของสังคม ความเจริญในทุกด้าน ความแตกต่างที่เพิ่มมากขึ้นและเข้มข้นมากยิ่งขึ้น บางครั้งก็ทำให้เกิดความเลื่อมล้ำในสังคม ความขัดแย้งในเรื่องของสิทธิความไม่เท่าเทียมกันในสังคมเกิดขึ้น อย่างที่เราได้เห็นในปัจจุบัน แต่ในแนวทางอิสลามเพื่อการพัฒนาในมิติดังกล่าว อิสลามได้กำหนดภารกิจหลักอีกประการหนึ่ง คือ การทำฮัจย์ เพื่อสอนให้มนุษย์ทุกคนให้รู้สำนึกว่าในสายตาของอัลลอฮฺแล้วมนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะมาจากชนชั้นเผ่าพันธุ์ภาษาหรือ จะมี ฐานะ อย่างไรก็ตามทุกคนต้องห่อหุ้มร่างกายด้วยผ้าสีขาวเพียง 2 ชิ้นเหมือนกันหมดทุกคน เช่นเดียวกันการอยู่ร่วมกันในสังคมแม้จะมีความแตกต่างที่เป็นตัวแบ่งแยกสถานภาพทางสังคม ในความจริงแล้วทุกคนมีความเท่าเทียมกันในการอยู่ร่วมกันในสังคมนั้นๆ
การพัฒนาสังคมในมิติ “อัลอิสลาม” ว่าด้วยหลัก 5 ประการ เป็นการถอดบทเรียนจากความหมาย เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ของหลักการมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาสังคม เพราะด้วยหลัก 5 ประการดังกล่าวสามารถที่ทำให้มนุษย์เข้าใจในวิถีการดำเนินชีวิตร่วมกัน การพัฒนาสังคมว่าด้วยหลัก 5 ประการ จะทำให้สังคมเกิดการพัฒนาได้หรือไม่นั้น คำตอบคงจะอยู่ในตัวท่าน เพราะเพียงแค่ท่านสามารถยืนหยัดรักษาการละหมาดวันละ 5 เวลา สังคมนั้นก็สามารถดีได้ด้วยตัวของท่านแล้ว หากสังคมสามารถนำหลัก 5 ประการทั้งหมดมาปรับใช้กับการดำเนินชีวิตด้วยการถอดมาประยุกต์ใช้แล้ว สันติสุข (อัสาลาม) คงจะเกิดขึ้นได้ในสังคมเรา ครับ


โดย : คอลัฟ บินลา


[1] ขอบคุณเว็บไซต์ (http://www.deepsouthwatch.org/jw/node/2477)
[2] ขอบคุณเว็บไซต์ (http://www.islamthailand.com/thai521/introduce/intro-12.php)
[3] ขอบคุณเว็บไซต์ (http://www.islamthailand.com/thai521/introduce/intro-12.php)
[4] ขอบคุณเว็บไซต์ (เดิม)
[5] ขอบคุณเว็บไซต์ (http://www.islamthailand.com/thai521/introduce/intro-12.php)
[6] ขอบคุณเว็บไซต์ (เดิม)

วันพุธที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2555

การเมืองภาคประชาชน


                   
             ระบอบประชาธิปไตยของไทยเป็นระบอบที่มีการเลียนแบบจากชาวตะวัน ด้วยเหตุผลที่ต้องการให้ประเทศชาติเจริญก้าวในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง เศรษฐกิจ การสังคม และอื่นๆ ให้เท่าทันกับประเทศที่พัฒนาแล้ว จากระบอบสมบูรณายาสิทธิราชสู่การปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ประเทศไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย ทั้งเหตุการณ์เล็กๆ และเหตุการณ์ใหญ่ครั้งสำคัญที่ทำให้ประชาชนล้มตายอย่างระเนระนาด เหตุผลเนื่องด้วยต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครอง โดยเปลี่ยนจากระบอบสมบูรณยาสิทธิราช เป็นระบอบประชาธิปไตยที่อำนาจสูงสุดต้องเป็นของประชาชน แต่ความจริงเป็นอย่างนั้นจริงหรือไม่คิดว่าทุกคนก็คงรู้
                จะเห็นได้ว่าทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครองประชาชนมีบทบาทมากต่อการเปลี่ยนแปลงทุกครั้ง เพราะจริงๆแล้ว เขากับการเมืองเป็นสิ่งที่แยกออกจากกันไม่ได้ ยิ่งเขามีการรวมตัวมากเท่าไรอำนาจก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น เขาว่ากันว่า "การเมืองภาคประชาชนนั้น มันมีความสำคัญ ถ้าไม่ช่วยกัน บ้านเมืองคงเสียหายแย่..."
                ความจริงแล้วการเมืองภาคประชาชนเกิดขึ้นมานานแล้ว เราจะเห็นได้ในสถานที่ทั่วๆไป เช่น ร้านน้ำชา ที่เรียกกันว่า "สภากาแฟ" หรือแม้กระทั้งในบ้านเรา ก็อาจจะเกิดการเมืองภาคประชาชนได้เหมือนกัน รวมทั้งการรวมตัวในพื้นที่ต่างๆ เพื่อเรียกร้องตามสิทธิที่พวกเขาควรได้รับและต้องการตามอำนาจระบอบประชาธิปไตย การเมืองภาคประชาชนจึงกลายเป็นองค์ประกอบหนึ่งของการเมืองที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นและให้เลวลง
                การเมืองภาคประชาชนจะไม่เว้นว่าเขาจะเป็นหญิงหรือชายทุกคนมีสิทธิที่จะทำได้ แต่วิธีการอาจจะแตกต่างกัน บนพื้นฐานหลักของความถูกต้อง ซึ่งเป็นสิ่งที่เราทุกคนต้องกระทำกันอยู่แล้ว สิ่งสำคัญอยู่ที่ว่าการรวมตัวกันเป็นกลุ่ม บนเป้าหมายที่มีคำว่า "เพื่อทุกคน" ได้อยู่อย่างมีความสุข... เพราะหากเรามองถึงปัญหาการเมืองในปัจจุบันยากที่จะแก้ แม้จะรู้ว่าต้นเหตุของปัญหานั้นมันเกิดจากอะไร มีคนเสนอวิธีแก้อยู่มากมาย แต่สุดท้ายก็ไม่มีอะไรดีขึ้น
                หากเราลองย้อนคิด ถึงประวัติศาสตร์การเมืองที่ผ่านมาการเปลี่ยนแปลงทุกครั้ง ใช่เป็นเพราะพลังของการรวมตัวของเราหรือไม่? ทุกคนคงจะตอบว่า "ใช่" ซึ่งแน่นอน ครับ คงไม่มีอำนาจอื่นใดของระบบการเมืองที่จะแก้ปัญหาเหล่านั้นได้ นอกจากการรวมพลังของภาคประชาชนต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งความต้องการที่ถูกต้อง เราในฐานะที่เป็นประชาชน เราสามารถพลิกชะตากรรมของตัวเองได้ สำหรับคนที่คิดจะสู้ แต่คนไม่คิดที่จะสู้ ขอให้จำคำพูดเชลยคนหนึ่งว่า "ไก่เชลย ยังไงก็เป็นไก่เชลย อยู่วันยังค่ำ หาใช่ว่าจะสู้ไม่ได้ แต่ไม่คิดที่จะสู้..." เหมือนกับชีวิตเราที่มีความสามารถ แต่ไม่คิดที่ใช้ความสามารถให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติแต่อย่างใด...

โดย : คอลัฟ บินลา

วันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ดวงไฟแห่งศรัทธา


“จงอย่าให้ดวงไฟแห่งศรัทธา ลดและดับลงก่อนที่คุณจะคืนสิ่งดีๆ ให้สังคม”

              เมื่อพูดถึง "ดวงไฟ" คงทำให้เรานึกถึงแสงสว่างเมื่อตอนที่เราอยู่ในที่มืด ดวงไฟ คือ ตัวที่จะส่องแสงให้เราสามารถเดินต่อไปได้ ไม่ว่าเราจะไปที่ไหน ตราบใดที่ดวงไฟยังให้ความสว่างแก่เรา ต่อให้ ณ ที่นั้นมืดมึนแค่ไหน เราก็สามารถเดินผ่านมันได้ และแม้เส้นทางเดินของเรานั้น อาจจะไม่ดีและเต็มไปด้วยอุปสรรคมากมาย มันก็ไม่สำคัญเท่ากับมีแสงสว่างที่ทำให้เราสามารถมองเห็นว่าเส้นทางเดินของเราจะไปถึงเป้าหมายได้

......"ศรัทธา" ในทุกศาสนาย่อมเกิดและมีในตัวของมนุษย์แต่ละคน เพียงแต่ว่าความศรัทธาของมนุษย์แต่ละคนมีมากน้อยย่อมมีความแตกต่างกัน ศรัทธาเกิดจากความเชื่อในสิ่งนั้น ที่สามารถทำให้ใจของมนุษย์ยอมรับมันได้  ความศรัทธาของมนุษย์จึงเป็นสิ่งที่อยู่ในใจ มิได้อยู่ที่คำพูด หรือการกระทำที่ไม่ได้ถูกสั่งมาจากหัวใจ และความศรัทธาย่อมมีมากมีน้อยภายในตัวมนุษย์ บางครั้งมีขึ้นมีลง โดยที่มนุษย์สามารถวัดระดับของมันได้ด้วยตัวของเขาเอง
จะมีสักกี่คนที่มองว่า ศรัทธา เสมือนเป็นดวงไฟชนิดหนึ่งอยู่ในร่างกายมนุษย์ ที่เรียกว่า "ดวงไฟแห่งศรัทธา" ซึ่งไม่มีใครจะสามารถอธิบายให้เขาเข้าใจมากกว่าตัวเขาจะเข้าใจเอง ดวงไฟดวงนี้จะอยู่ในร่างกายมนุษย์ตลอดเวลาหรือไม่ ผมเองก็ตอบให้คุณไม่ได้ และผมเชื่อว่าคุณเองก็ตอบให้ผมไม่ได้ด้วยเช่นกัน เพราะไม่มีใครจะเข้าใจตัวเรามากว่าตัวเราเอง เราลองนึกถึงตอนที่เราได้กระทำความดี อะไรที่ทำให้เราเกิดกริยากระทำสิ่งนั้นได้ ใช่เพราะ เรามี ศรัทธาหรืออิมาน ไหม? เราจะรู้ได้หากเราเคยกระทำความดี ผมเชื่อว่า ความดีจะไม่บังเกิดหากมนุษย์ไร้ศรัทธา......
มนุษย์จึงไม่ควรปล่อยให้ดวงไฟแห่งศรัทธา ของเขาต้องลดและดับลงก่อนที่เขาจะกระทำความดีเพื่อสังคม เพิ่งรู้เกิด ในตัวเขานั้นมีดวงไฟดวงหนึ่งที่ทรงพลังมหาศาล แม้ยามใดก็ตาม หากมนุษย์ยังคงรักษามันได้ และมันมีไว้เพื่ออยู่ในตัวของเขาเหมือนดังดวงไฟที่ส่องแสงสว่างให้กับชีวิต มนุษย์คนหนึ่งจะนับถือศาสนาใดสุดแล้วแต่เขา เพราะนั้นมันเป็นเรื่องของความเชื่อ แต่ที่สำคัญ“จงอย่าให้ดวงไฟแห่งศรัทธา ลดและดับลงก่อนจะคืนสิ่งดีๆ ให้สังคม”.......
โดย : คอลัฟ บิลา


                                                                                                    กลุ่มอิสระทางความคิดเพื่อการพัฒนา

ณ มุมกลางของฮารอมัย


         

           ค่ำคืนแรกกับการเอี๊ยะตีกาฟที่มัสยิดฮารอมัย ค่ำคืนที่นอนส่วนกลางชั้นล่างของฮารอมัย กับผู้คนมากมาย ที่เข้าร่วมเอี๊ยะตีกาฟซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยอิสลาม ยะลา ที่พร้อมทั้งกายและใจอย่างเต็มที่ ที่ล้นปรี่ด้วยความบริสุทธิใจที่จะทำอาม้าลอิบาดะฮฺ ในช่วง 10 วันสุดท้ายของเดือนรอมฏอน
            ท่ามกลางความสว่างเพียงน้อยนิดจากแสงไฟเพียงไม่กี่ดวงที่อยู่รอบนอกของมัสยิด ส่องผ่านเข้ามาทางกระจก และประตูใหญ่หน้ามัสยิด ทอดสายตาผ่านประตูบานใหญ่ออกไปนอกบริเวณมัสยิดเห็นแสงไฟสีส้มอ่อนๆ แล้วสะดุดตา เพราะดูโดดเด่นกว่าไฟดวงอื่นๆ เราจะอ่านหนังสือไหนเกี่ยวกับอะไร หากแต่หนังสือทุกเล่มที่เราอ่านจะไม่โดเด่นเท่าอัลกุรอานอย่างแนนอน แสงไฟส่องทางในยามมืดมิด ชีวิตถูกนำทางด้วยอัลกุรอาน
            หันกลับเข้ามาในมัสยิดอีกครั้ง แล้วกวาดสายตาขึ้นสู่ชั้นสอง ผ่านช่องว่างตรงกลางมัสยิด เห็นความมืดมิดของแสงไฟที่ถูกดับสนิด เห็นช่องโหว่ของโดมที่สูงตระหง่านมีกระจกเรียงเป็นรายรอบ แต่มิมอบแสงเข้ามาแม้เพียงน้อยนิด จึงมองไม่เห็นว่านอกกระจกนั้นเป็นเช่นไร หากปิดใจสนิดแล้วหันหลังให้ออัลกุรอาน ไฉนเล่าเราจะได้รับทางนำ ความมืดมิดแห่งหัวใจทำให้การดำเนินชีวิตหลงไปในทางที่ผิดได้
            โซ่เรียงร้อยลงมาจากกึ่งกลางของโดม เพือยึดและติดตรึงดวงไฟสุดแสนจะงามตา ห้อยหวนช่วงกล่างของมัสยิด โซ่เส้นนี้ไม่สามารถตรึงตราดวงไฟได้ หากมันยังคงอยู่เป็นชิ้นเป็นอันอย่างกระจัดกระจาย หากแต่จะคงทนได้ก็ต่อเมื่อนำมาร้อยเรียงให้เป็นเส้นเท่านั้น มุสลิมเราจะเข้มแข็งได้ก็ต่อเมื่ออยู่กันอย่างเป็นญามาอะฮฺ หากมุสลิมไม่จับกลุ่มเป็นญามาอะฮฺ แน่นอนความสั่นคลอนและความอ่อนแอของมุสลิมก็จะต้องเกิดขึ้น 
                                                                                                                 บทความโดย : Muta-ammik
                                                                                                    กลุ่มอิสระทางความคิดเพื่อการพัฒนา

วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แนวความคิดและทฤษฏีการบริหารจัดการมัสยิด


แนวความคิดและทฤษฏีการบริหารจัดการมัสยิด
1. ประวัติความเป็นมาของมัสยิดในอิสลาม
ประวัติความเป็นมามัสยิดในอิสลามนั้น จะแบ่งออกเป็นสองช่วงด้วยกัน
ช่วงแรก เป็นช่วงสมัยก่อนท่านนบีมูฮัมหมัด
มีฮาดีษบทหนึ่งเล่าโดยอะบูษัรริน เล่าว่า ฉันได้ถามว่า ความว่า โอ้ท่านรอซูลของอัลลอฮ มัสยิดใด ถูกตั้งขึ้นบนพื้นโลกนี้เป็นหลังแรก? ท่านตอบว่า มัสยิดอัลฮารอม ฉันถามอีกว่าแล้วอะไรอีก? ท่านตอบว่า ต่อไปมัสยิดอัลอักศอ ฉันถามอีกว่า ช่วงระหว่างทั้งสองมัสยิดนั้นกี่ปี? ท่านตอบว่า 40 ปี หลังจากนั้น ท่านกล่าวว่า ณ ที่ใดการละหมาดได้ประสบกับท่าน ท่านก็จงละหมาดเถิด เพราะนั้นเป็นที่สูญูด ในอีกรายงานหนึ่งว่า พื้นดินทั้งหมดนั้นเป็นที่สูญูด บันทึกโดยกลุ่มผู้บันทึกหะดีษ (สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ, 2545: 325).

ช่วงที่สอง เป็นช่วงในสมัยของท่านนบีมูฮัมหมัด
มัสยิดหลังแรกที่เกิดขึ้นในสมัยของท่านนบี คือตอนที่ท่านนบีมูฮัมหมัดได้ไปพักอยู่ที่กูบาอ์ แล้วท่าน นบีมูฮัมหมัดได้สร้างมัสยิดอิสลามขึ้นเป็นครั้งแรก คัมภีร์กุรอานได้กล่าวว่า มัสยิดแห่งนี้เป็นมัสยิดแรกเพราะว่ามันได้ถูกสร้างขึ้นบนรากฐานของความยำเกรงพระเจ้า (ซะกะรียา บะชีร2545 :46)
มัสยิดหลังที่สอง เมื่อท่านท่านนบีมูฮัมหมัดถึงที่นครยัษริบ ท่านได้กระทำอย่างแรกคือการก่อสร้างมัสยิด เพราะมัสยิดเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับชีวิตความเป็นอยู่ของบรรดามุสลิม ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม ดังนั้นท่านนะบี  จึงทำการสร้างมัสยิดตรงที่อูฐของท่านได้คุกเข่าลง ท่านได้ซื้อที่ดินจากเจ้าของ การก่อสร้างมัสยิดจึงเริ่มขึ้นด้วยเจตนารมณ์อันแน่วแน่ การทุ่มเทในหนทางของชัยชนะและผลบุญอันยิ่งใหญ่ ท่านนบีมูฮัมหมัด  ได้ร่วมมือก่อสร้างมัสยิด พร้อมกับบรรดาซอฮาบะฮ์  ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มความมุ่งมั่นและกำลังใจอันเข้มแข็ง อาคารมัสยิดได้สร้างขึ้นอย่างเรียบง่าย ผนังทำจากดิน และเสาทำจากต้นอินทผลัม หลังคาทำจากก้านอินทผลัม อาคารมัสยิดได้มีบทบาทที่สำคัญ ดังเช่นที่ อิมาดุดดีน ค่อลีล ได้บอกไว้ว่า:  “เป็นต้นแบบตามที่อิสลามได้วางเอาไว้ อย่างครอบคลุมและสมบูรณ์แบบ  กลายเป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจในการปฏิบัติพิธีกรรม การทำอิบาดะห์ ตลอดจนระบอบการปกครองด้านการทหาร เพื่อเป็นการกระชับความสัมพันธ์ของชาติทั้งด้านภายในประเทศและต่างประเทศ และเป็นสถาบันแห่งวิชาการพร้อมกับการวางบัญญัติศาสนา ซึ่งบรรดาซอฮาบะฮ์จะมาชุมนุมกันที่นั่น อีกทั้งยังเป็นที่สำหรับการคลี่คลายปัญหาต่างๆและเป็นที่ใช้อบรมสั่งสอนด้วยถ้อยคำต่าง ๆ เป็นศูนย์รวมของสังคมที่บรรดามุสลิมจะได้เรียนรู้กฎระเบียบ ความเสมอภาคและความเท่าเทียมกัน และได้สัมผัสการเป็นเอกภาพ ความเป็นพี่เป็นน้องกัน ความเป็นระเบียบเรียบร้อย มีการก่อสร้างบ้านเรือนอย่างเรียบง่ายรอบ ๆ บริเวณมัสยิดสำหรับเป็นที่พักอาศัยของท่านเราะซูลลุลลอฮ์  พร้อมกับบรรดาภรรยาของท่าน ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุนนะ(http://www. islammore.com/main/content.php?page=sub&category=10&id=1763 สืบค้นวันที่ 3-2-2553.)

2. ความสำคัญและบทบาทของมัสยิด
                                2.1 ความสำคัญของมัสยิด
มัสยิด คือ บ้านของอัลลอฮฺบนพื้นพิภพแห่งนี้ เป็นสถานที่ซึ่งความเมตตาของพระองค์ถูกประทานลงมาอีกทั้งเป็นสถานที่พบปะของบรรดาผู้ศรัทธา และเป็นที่รวมจิตใจของบรรดาผู้ยำเกรง และเป็นสถานที่อันดีเยี่ยมที่ถูกส่องประกายด้วยรัศมีและความสุกใส และทำให้ความหมายที่แท้จริงของความรักและความเป็นพี่น้องประทุขึ้นในใจทั้งหลาย (http://www .bnia bdullah.com/vb/sho w thread.php?p=28472 สืบค้นวันที่ 3-03-2554)
อิสลามคือศาสนาสากลอันเป็นนิรันดร์ ที่องค์อภิบาลทรงยินดีให้เป็นแนวทางชีวิตสำหรับมนุษยชาติ เป็นหลักธรรมแห่งความเป็นอยู่ ในอิสลามไม่ยินดีให้ผู้ที่นับถือปฏิบัติละหมาดของพวกเขาโดยโดดเดี่ยวออกจากสังคมที่พวกเขาใช้ชีวิตอยู่ ทว่าอิสลามเรียกร้องพวกเขาอย่างหนักแน่นที่สุด ให้ปฏิบัติมันในลักษณะของญะมาอะฮฺ และต้องปฏิบัติในมัสยิดด้วยจนกระทั่งถูกแสดงออกมาซึ่งภาพแห่งเกียรติยศ ภูมิฐานและน่าเคารพนับถือ ทำให้พวกเขาอยู่ภายใต้ร่มเงาแห่งความรักและสนิทสนมต่อกันเกาะเกี่ยวเหนี่ยวยึดต่อกันประดุจตัวอาคารอันมั่นคง
การละหมาดวันศุกร์ตามกฎเกณฑ์แล้ว จะต้องปฏิบัติในมัสยิดของชุมชน มันจึงจะนำมาซึ่งความเป็นปึกแผ่นอันหนึ่งอันเดียวกันของสังคมมุสลิม ในรูปแบบที่ชัดเจนสั่นสะเทือนจิตใจที่ถูกควบคุมด้วยความสำนึกและความรูสึก ณ ที่นั้น ย่อมส่งผลให้เกิดเป็นคุณค่าที่งดงามและศักดิ์สิทธิ์อย่างแท้จริง  นักปรัชญาชาวชาวฝรั่งเศสผู้หนึ่งชื่อ "เรนาน" ได้กล่าวอธิบายถึงความปลาบปลื้มตื้นตันใจกับสิ่งที่เขาได้พบและรู้สึก ขณะได้ยืนอยู่ท่ามกลางบรรดามุสลิมที่พวกเขากำลังดูดดื่มอยู่ในการละหมาดว่า "ไม่มีครั้งใดเลยที่ฉันได้เข้าไปในมัสยิดหนึ่งๆ ของมุสลิม ครั้นได้พบเห็นพวกเขารวมกันอยู่ในท่าทางของการละหมาดนอกจากมันทำให้ฉันต้องรู้สึกกับความเศร้าใจอย่างยิ่งที่ฉันเอง ไม่ได้เกิดมาเป็นมุสลิมด้วย" การละหมาดญุมอะฮฺ (วันศุกร์) เป็นสิ่งฟัรฎูในรอบสัปดาห์เป็นวันอีดรอบสัปดาห์ และที่อัลลอฮฺทรงกำหนดให้ทำญามะอะฮฺในวันนั้น ล้วนแสดงถึงความจำเป็นอย่างยิ่ง (วาญิบ มุอักกัด) ที่ละทิ้งไม่ได้
2.2 บทบาทของมัสยิด
บทบาทมัสยิดที่แท้จริงจะแฝงไปด้วยวิทยปัญญาและความศักดิ์สิทธิ์ ที่รวมเข้าด้วยกันระหว่างศาสนาและโลกดุนยา เป็นที่จัดการประชุมและสัมมนาทางวิชาการ เป็นสถานที่รับรองแขก เป็นศูนย์บัญชาการกองทัพ เป็นที่จัดเตรียมกองทัพทหารสู่สมรภูมิ เป็นจุดศูนย์กลางแห่งการให้เนื้อหาวิชาการอิสลาม เป็นที่ๆ ผู้คนทั้งหลายมาพบปะกันเพื่อการอิบาดะฮฺ และบทบาทในชีวิตความเป็นอยู่ของสังคมในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าด้านความนึกคิด ด้านการเมือง หรือด้านสังคม มันเป็นเสมือนป้อมปราการอันมั่นคง สำหรับการเปลี่ยนทัศนะคติ เป็นสภาอิสระที่เปิดกว้างเพื่อความคิดที่หลากหลายและสร้างสรรค์ อันเป็นดั่งพลังที่กระตุ้นสังคมนี้ให้ไปยังทิศทางที่ถูกต้องยิ่งกว่านั้น ยังเป็นสภาที่เหมือนเช่นสภาอื่นๆ ทั่วไป หากสมาชิกของมันนั้นไม่เหมือนสมาชิกอื่นๆ ที่เคลื่อนไหวตามกระแสของการเมือง หรือตามผลประโยชน์ของพวกพ้อง ชาตินิยม สภาเช่นนั้นเปรียบดังโอ่งที่ว่างเปล่าที่มันมีแต่การทำลายซึ่งสิทธิของผู้อื่น ซ้ำยังทำให้ความอธรรมและสิ่งมดเท็จทั้งหลายบังเกิดขึ้นมา ดั่งละครตบตาที่ถูกแสดงออกมาโดยองค์การนานาชาติบางองค์การในปัจจุบัน ที่มีแต่การริดรอนและการทำลายสิทธิ เกียรติยศ แผ่หว่านความอธรรมอยู่เบื้องหลังการหลั่งเลือด การสังหารเด็ก สตรี การขับไล่ประชาชนออกจากประเทศของตนเอง การทารุณกรรม เช่น ทาส และความเลวร้ายอื่นๆ อย่างที่มนุษย์ไม่เคยพบมาในหน้าประวัติศาสตร์เราขอกล่าวว่า แท้จริงมัสยิดในอิสลามนั้น คือ สภาอันบริสุทธิ์เป็นที่รับการเสนอความคิดเห็นอันหลากหลาย โต้แย้งในเรื่องราวกิจกรรมต่างๆ ด้วยความคลาศ (บริสุทธิ์ใจ) เสียสละ และด้วยความรักต่ออัลลอฮฺและเราะซูลของพระองค์ เนื่องจากสมาชิกสัปบุรุษของมัสยิดที่มาร่วมพบปะกันนั้น (http://www.bniabdullah.co m /vb/showthread.php?p=28472 สืบค้นวันที่ 3-03-2554)
อ้างจาก การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการมัสยิดของคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด กรณีศึกษา ตำบลปากบาง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา,ฆอซาฟี มะดอหะ,มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา

หลักการบริหารจัดการในอิสลาม


หลักการบริหารจัดการในอิสลาม
การบริหารจัดการในอิสลามมีลักษณะพิเศษหลายประการในทฤษฎี  ซึ่งการบริหารจัดการในอิสลามได้ให้ความสนใจที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการทุกๆด้าน  ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของปัจจัยภายในขององค์การหรือปัจจัยภายนอกองค์การ  ตลอดจนตัวแปรทางด้านจริยธรรมของคนงานและวิถีชีวิตของตนเองและสังคม
                ในอีกแง่หนึ่งคือ  ทฤษฎีการบริหารจัดการในอิสลามได้บรรจุคุณค่าของสังคมดังกล่าวถือเป็นความจำเป็นอย่างยิ่ง  และมีอิทธิพลต่อจริยธรรมการบริหารจัดการและการปกครองในอิสลามมีจริยธรรมนั้นก็หมายความว่าสังคมอิสลามมีจริยธรรมจากการเรื่องที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้น  ย่อมแสดงว่าทฤษฎีการบริหารจัดการในอิสลามประกอบด้วยคุณลักษณะเฉพาะได้แก่
1.       ทฤษฎีการบริหารจัดการในอิสลามเป็นทฤษฎีที่มีความผูกผันกับปรัชญาสังคมอย่างเน้นแฟ้น  ทฤษฎีนี้ยังมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับจริยธรรมและคุณค่าต่างๆของสังคม
2.       ทฤษฎีการบริหารจัดการในอิสลามจะมองถึงการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจรวมทั้งการให้บริการเพื่อตอบสนองความต้องการทางกายภาพของปัจเจกบุคคลทุกคน (การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและวัตถุ)
3.       ทฤษฎีบังคับให้ความสำคัญต่อการเป็นมนุษย์และจิตใจและให้เกียรติมนุษย์  ในฐานะเป็นเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ  ความสามารถที่ตนมีอยู่  ไม่ว่าความสามารถทางด้านสติปัญญา  ร่างการและจิตใจ (การเปลี่ยนแปลงของตัวบุคคล)
4.       นอกจากนั้นแล้วทฤษฎีการบริหารจัดการในอิสลามทฤษฎีการบริหารจัดการในอิสลาม  ให้ความสำคัญต่อระเบียบวินัยพร้อมทั้งได้กำหนดภาระหน้าที่และความรับผิดชอบของโครงสร้างการบริหารองค์การ  ขณะที่เรียกร้องเพื่อให้การดำเนินงานที่ดีทุกอย่างได้รับการปฏิบัติตาม (การเปลี่ยนแปลงทางด้านจริยธรรมและกฎระเบียบ)
คุณลักษณะเฉพาะทั้ง 4 ทีได้กล่าวมาสามารถกล่าวให้ละเอียดดังนี้
1.             การบริหารจัดการในอิสลามเป็นส่วนหนึ่งของระบบทางสังคม
ศาสนาอิสลามกำหนดเป้าหมายชีวิตของทุกคน  ขณะที่อิสลามได้เสนอรูปแบบดุลยสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับจักรวาล  และมนุษย์กับสังคมโดยคำนึงว่าองค์การที่ระบุถึงความสัมพันธ์ระว่างมนุษย์กับจักรวาล  พระองค์ทรงตรัสว่า  มนุษย์เป็นส่วนของจักรวาล

$tBur àMø)n=yz £`Ågø:$# }§RM}$#ur žwÎ) Èbrßç7÷èuÏ9 ÇÎÏÈ   !$tB ߃Íé& Nåk÷]ÏB `ÏiB 5-øÍh !$tBur ߃Íé& br& ÈbqßJÏèôÜムÇÎÐÈ  

                ความว่า “และข้าไม่ได้สร้างญินและมนุษย์เว้นแต่เพื่อภักดีต่อข้า ข้าไม่ประสงค์ริซกีย์ (ปัจจัยยังชีพ) จากพวกเขา  และไม่ประสงค์ให้อาหารแก่ข้า” (อัล-ซาริยาต 51: 56-57)

 ö@è% ¨bÎ) ÎAŸx|¹ Å5Ý¡èSur y$uøtxCur ÎA$yJtBur ¬! Éb>u tûüÏHs>»yèø9$# ÇÊÏËÈŸw y7ƒÎŽŸ° ¼çms9 ( y7Ï9ºxÎ/ur ßNöÏBé& O$tRr&ur ãA¨rr& tûüÏHÍ>ó¡çRùQ$# ÇÊÏÌÈ  

                ความว่า “จงกล่าวเถิดแท้จริงการละหมาดของฉัน การอีบาดะฮฺของฉัน  การมีชีวิตของฉันและการตายของฉันทั้งปวงนั้นเพื่ออัลลอฮ พระเจ้าแห่งสากลจักรวาลไม่มีสำหรับพระองค์การตั้งภาคีดังกล่าวนั้นถูกฉันใช้ และฉันเป็นคนแรกที่เป็นอิสลาม (การมีชีวิตของฉันและการตายของฉันทั้งปวงนั้นเพื่ออัลลอฮ พระเจ้าแห่งสากลจักรวาลไม่มีสำหรับพระองค์การตั้งภาคีดังกล่าวนั้นถูกฉันใช้ และฉันเป็นคนแรกที่เป็นอิสลาม (ภักดีต่ออัลลอฮ) (อัล-อันอาม 6 : 162-163)
          อัลลอฮได้กล่าวถึงกฎเกณฑ์และระเบียบการดำรงชีวิตในลักษณะที่เป็นสังคมส่วนรวมทั้งนี้ก็เพื่อกำหนดเป็นวิถีชีวิตของมนุษย์ในด้านการบริหารจัดการ  การเมือง สังคมและเศรษฐกิจซึ่งเป็นการบริหารจัดการที่มีความเหมาะสมที่สุดในฐานนะเป็นบ่าวของพระองค์การประกอบอีบาดะฮฺไม่ใช่เป็นการตัดขาดความสัมพันธ์กับโลกแห่งการทำงาน  การประกอบอิบาดะฮฺก็ไม่ใช่ว่าจะต้องให้ความสำคัญต่อภารกิจโลก  ช่วงเวลาเดียวกันทำให้สถานภาพของตนเองในฐานะเป็นมนุษย์ที่พระองค์ทรงส่งมายังโลกนี้เพื่อเป็นผู้พัฒนาและทำให้โลกนี้มีความอุดมสมบูรณ์และเป็นผู้เผยแพร่กฎเกณฑ์ของพระองค์ต้องหมดไป

$tBur àMø)n=yz £`Ågø:$# }§RM}$#ur žwÎ) Èbrßç7÷èuÏ9 ÇÎÏÈ

          ความว่า “และข้ามิได้สร้างญิน และมนุษย์เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อเคารพภักดีต่อข้า” (อัซซาริยาต 51 : 56)
                แท้จริงแล้วการประกอบอิบาดะฮนั้นจะครอบคลุมกิจการงานทุกอย่างที่นำมาซึ่งประโยชน์ในการดำเนินชีวิต การประกอบอิบาดะฮนั้นนับได้ว่า “เจ้าต้องการไหม หากฉันจะบอกถึงอิบาดะฮที่ง่ายที่สุด (ท่านจึงกล่าวต่อไปว่า) นั้นคือการเงียบและมีจริยธรรมที่ดีงาม  หะดิษบทนี้รายงานโดย อิบนู อบีดุนยา คัดจากซุฟวาน บินสุไลมฺ ส่วนอิบาดะฮฺที่สุดยอดที่สุดคือ การญิฮาดในแนวทางของอัลลอฮ และการญิฮาดของอัลลอฮไม่ได้หมายถึงการตัดคอศัตรูด้วยคมดาบ  แต่มันครอบคลุมกิจงานทุกอย่าง กระทั่งคนที่ออกจากบ้านไปทำงานเพื่อหาเลี้ยงชีพครอบครอบก็นับว่าเป็นการต่อสู้ในหนทางอัลลอฮ
                หน้าที่ประการแรกขององค์กรในสังคมอิสลามคือ การจัดเตรียมสภาพที่เหมาะสมกับความเป็นอยู่แก่ทุกปัจเจกบุคคล ในฐานะเป็นบ่าวของอัลลอฮบนหน้าแผ่นดินนี้ นอกจากนั้นแล้วยังต้องเปิดโอกาสให้แก่เขาในการปฏิบัติตามหลักการของอัลลอฮที่ระบุไว้ในกุรอานและซุนนะฮฺของท่านเราะซูล การประกอบอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮในความหมายที่กว้าง จะไม่เกิดขึ้นมาเว้นแต่มนุษย์จะต้องให้กิจการงานของการดำเนินชีวิต  ทุกคำพูดและการกระทำ กิจกรรมการงานและความสัมพันธ์กับคนหมู่มากจะสอดคล้องกับกฎเกณฑ์และหลักการที่พระองค์ทรงกำหนดไว้ในฐานะเป็นวินัยของการดำเนินชีวิตของมุสลิม
                การดำเนินการตามกฎเกณฑ์หรือหลักการของอัลลอฮฺดังกล่าวนั้นจะเริ่มจากสถาบันครอบครัวเป็นพื้นฐานของสังคมจากนั้นได้รับการสนับสนุนจากปัจจัยอื่นๆเช่นปัจจัยทางเศรษฐกิจ การเมืองและการจัดการ
                เมื่อวิถีชีวิตดังกล่าวได้รับการยึดถือโดยสังคมแล้ว จะทำให้เกิดองค์การทางการบริหารต่างๆที่มีสมาชิกองกรค์ อันประกอบไปด้วยผู้บริหารผู้ปกครองที่มีความศรัทธา การดำเนินงานของพวกเจ้ามีความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์สุจริต การปฏิบัติตามคำสั่งของอัลลอฮฺทุกประการและละเว้นสิ่งที่พระองค์ทรงห้าม ขณะนั้นกิจการงานทุกอย่างจะดำเนินไปด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อย ยุติธรรม สมดุล และสอดคล้องกับความต้องการสังคมอิสลามและหลักยึดมั่น(อะกีดะฮฺ)ตลอดจนคำสอนของพระองค์
2.  การจัดการในอิสลามมีความรับผิดชอบในการดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องตามวัตถุประสงค์ของคนงานตราบใดทีเขาทำงานเต็มที่ความรับผิดชอบ
                อะมานะฮฺและหน้าที่ความรับผิดชอบจะต้องได้รับการดำรงตำแหน่งโดยผู้ที่ความสามรถและความเหมาะสมที่สามารถเชื่อถือได้ ดังคำดำรัสของอัลลอฮฺ

( žcÎ) uŽöyz Ç`tB |Nöyfø«tGó$# Èqs)ø9$# ßûüÏBF{$# ÇËÏÈ

ความว่า  “แท้จริงคนดีที่ท่านควรจะจ้างเขาไว้คือผู้ที่แข็งแรง ผู้ที่ซื่อสัตย์(อัลเกาะศ็อด 28 : 26)
                ขณะเดียวกันกับบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญดังกล่าวนั้นจะต้องน้อมรับสิทธิต่างๆของอัลลอฮฺด้วนความเต็มใจและบริสุทธิ์ใจ โดยไม่มีความเห็นแก่ตัว ห่างไกลจากทุกสิ่งที่จะนำไปสู่การกระทำอธรรมและไม่ใช่อำนาจไปในทางที่ผิด เช่น คอรัปชั่น เป็นต้น คนงานทุกคนจะต้องได้รับความผิดชอบในงานที่ตนทำ โดยพิจารณาจากโลกดุนยานี้ ก่อนจะถูกพิจารณาจากอัลลอฮฺในวันอาคีเราะฮฺ
                เมื่อใดที่หน้าที่การงานได้รับการตอบสนองอย่างเต็มความรับผิดชอบและความริสุทธ์ใจแล้ว ทางฝ่ายผู้มีอำนาจไม่ว่าผู้นั้นจะอยู่ในฐานะผู้จัดการหน่วยงานที่เป็นของรัฐหรือหน่วยงานเอกชนก็ตาม เขาจะต้องจ่ายค่าตอบแทนอย่างคุ้มค่าที่สุดแก่คนงานหรือเจ้าหน้าที่ที่อยู่ภายใต้การบริหารงานของเขา ซึ่งอิสลามได้พูดถึงเรื่องนี้แล้ว โดยคนงานจะต้องได้รับรู้ว่าค่าตอบแทนของตนได้รับเท่าไร ท่านนบีมูฮัมหมัด (ศ็อล) กล่าวว่า
ความว่า “ผู้ที่ทำธุระกับคนใดคนหนึ่งเพื่อทำงานใดๆนั้น เขาต้องบอกจำนวนค่าตอบแทนของเขา”
                ทฤษฎีการบริหารจัดการในอิสลามยังได้เสนอผู้บริหารทุกคนดำเนินการบริหารอย่างนิ่มนวล โดยปราศจากการบังคับขู่เข็ญให้คนงานทำงานนอกเหนือความสามรถของเขา
                ศาสนาอิสลามไม่อนุมัติให้ผู้ปกครองหรือผู้จัดการหรือผู้ใช้แรงงานใช้อำนาจอิสระตามอำเภอใจ เช่นการออกคำสั่งให้คนงานทำงานนอกเหนือความสามารถที่ตนมีอยู่ และจ่ายค่าตอบแทนให้แก่เขาอย่างไม่เป็นธรรม อาศัยความเข้าใจเช่นนี้จึงเกิดความขัดแย้งระหว่างฝ่ายบริหารกับคนงาน
ผู้ปกครองอิสลามมีหน้าที่ในการปกครองสิทธิต่างๆของปัจเจกคนให้พ้นจากการล่วงละเมิดหรือถูกระทำอธรรม เรื่องนี้เป็นหน้าทีของรัฐอิสลามทีจะต้องมีความรับผิดชอบในการจัดเตรียมศาลสถิตยุติธรรมที่ทำหน้าที่ในการพิจารณาให้เป็นธรรมในกรณีแรงงานและคนงาน
3.  หลักการชูรอและการร่วมมือในการบริหารจัดการ รวมทั้งการให้เกียรติต่อคุณค่าการเป็นมนุษย์ (คนทำงาน)
ก.    ชูรอ
ชูรอถือเป็นกระบวนการที่มั่นใจได้ว่าสามารถสร้างความมั่นคงแข็งแรงและเกิดความสอดคล้องในการบริหารจัดการอิสลาม ขณะที่มีความร่วมมือถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นในการยึดถือปฏิบัติโดยตลอด สิ่งนี้เราเห็นได้จากคำดำรัสของอัลลอฮฺ ทรงตรัสว่า

öNèdöÍr$x©ur Îû ͐öDF{$#

ความว่า “และจงปรึกษาหารือกับพวกเขาในกิจการทั้งหลาย (อัลอิมรอน 3 : 159)
อัลลอฺทรงตรัสอีกว่า

öNèdãøBr&ur 3uqä© öNæhuZ÷t/

ความว่า “และกิจการของพวกเขามีการปรึกษาหารือระหว่างพวกเขา(อัลอาชูรอ 3 : 38)

ข.    ผู้นำแห่งมนุษย์ชาติ
ความเป็นผู้นำในการบริหารจัดการอิสลาม นำว่าเป็นปัจจัยสำคัญพื้นฐาน และจะต้องมีทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ในการบริหารซึ่งไม่ใช่เป็นผู้นำแบบเผด็จการ แต่ความเป็นผู้นำจะต้องให้ความสำคัญกับกลุ่มคนในทุกระดับชั้น และพร้อมที่จะปรับปรุงแก้ไขความบกพร่องหากปรากฏอยู่ในองค์การ ในเรื่องความเป็นผู้นำในอิสลามมีความใกล้ชิดกับการบริหารตามสถานการณ์ ซัยดินาอุมัร ได้อธิบายรูปแบบการบริหารรูปแบบดังกล่าวว่า “เรื่องนี้ไม่สามารดำเนินการได้ เว้นแต่ต้องอาศัยความอ่อนโยนกับผู้ที่แข็งแกร่งและต้องอาศัยความแข็งกร้าวกับผู้ที่อ่อนโยน” ความเป็นผู้นำในอิสลามไม่ได้อยู่ที่ผลผลิตเพียงอย่างเดียวเท่านั้น และไม่ใช่หวังประโยชน์ส่วนตัวเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่จะเป็นการสร้างความสมดุลระหว่างทั้งสองอย่างยุติธรรมต่างหาก(อะหมัด อิบรอฮีม อบูซิน, 2553: 46)
 อ้างจาก การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการมัสยิดของคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด กรณีศึกษา ตำบลปากบาง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา,ฆอซาฟี มะดอหะ,มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา