วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แนวความคิดและทฤษฏีการบริหารจัดการมัสยิด


แนวความคิดและทฤษฏีการบริหารจัดการมัสยิด
1. ประวัติความเป็นมาของมัสยิดในอิสลาม
ประวัติความเป็นมามัสยิดในอิสลามนั้น จะแบ่งออกเป็นสองช่วงด้วยกัน
ช่วงแรก เป็นช่วงสมัยก่อนท่านนบีมูฮัมหมัด
มีฮาดีษบทหนึ่งเล่าโดยอะบูษัรริน เล่าว่า ฉันได้ถามว่า ความว่า โอ้ท่านรอซูลของอัลลอฮ มัสยิดใด ถูกตั้งขึ้นบนพื้นโลกนี้เป็นหลังแรก? ท่านตอบว่า มัสยิดอัลฮารอม ฉันถามอีกว่าแล้วอะไรอีก? ท่านตอบว่า ต่อไปมัสยิดอัลอักศอ ฉันถามอีกว่า ช่วงระหว่างทั้งสองมัสยิดนั้นกี่ปี? ท่านตอบว่า 40 ปี หลังจากนั้น ท่านกล่าวว่า ณ ที่ใดการละหมาดได้ประสบกับท่าน ท่านก็จงละหมาดเถิด เพราะนั้นเป็นที่สูญูด ในอีกรายงานหนึ่งว่า พื้นดินทั้งหมดนั้นเป็นที่สูญูด บันทึกโดยกลุ่มผู้บันทึกหะดีษ (สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ, 2545: 325).

ช่วงที่สอง เป็นช่วงในสมัยของท่านนบีมูฮัมหมัด
มัสยิดหลังแรกที่เกิดขึ้นในสมัยของท่านนบี คือตอนที่ท่านนบีมูฮัมหมัดได้ไปพักอยู่ที่กูบาอ์ แล้วท่าน นบีมูฮัมหมัดได้สร้างมัสยิดอิสลามขึ้นเป็นครั้งแรก คัมภีร์กุรอานได้กล่าวว่า มัสยิดแห่งนี้เป็นมัสยิดแรกเพราะว่ามันได้ถูกสร้างขึ้นบนรากฐานของความยำเกรงพระเจ้า (ซะกะรียา บะชีร2545 :46)
มัสยิดหลังที่สอง เมื่อท่านท่านนบีมูฮัมหมัดถึงที่นครยัษริบ ท่านได้กระทำอย่างแรกคือการก่อสร้างมัสยิด เพราะมัสยิดเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับชีวิตความเป็นอยู่ของบรรดามุสลิม ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม ดังนั้นท่านนะบี  จึงทำการสร้างมัสยิดตรงที่อูฐของท่านได้คุกเข่าลง ท่านได้ซื้อที่ดินจากเจ้าของ การก่อสร้างมัสยิดจึงเริ่มขึ้นด้วยเจตนารมณ์อันแน่วแน่ การทุ่มเทในหนทางของชัยชนะและผลบุญอันยิ่งใหญ่ ท่านนบีมูฮัมหมัด  ได้ร่วมมือก่อสร้างมัสยิด พร้อมกับบรรดาซอฮาบะฮ์  ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มความมุ่งมั่นและกำลังใจอันเข้มแข็ง อาคารมัสยิดได้สร้างขึ้นอย่างเรียบง่าย ผนังทำจากดิน และเสาทำจากต้นอินทผลัม หลังคาทำจากก้านอินทผลัม อาคารมัสยิดได้มีบทบาทที่สำคัญ ดังเช่นที่ อิมาดุดดีน ค่อลีล ได้บอกไว้ว่า:  “เป็นต้นแบบตามที่อิสลามได้วางเอาไว้ อย่างครอบคลุมและสมบูรณ์แบบ  กลายเป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจในการปฏิบัติพิธีกรรม การทำอิบาดะห์ ตลอดจนระบอบการปกครองด้านการทหาร เพื่อเป็นการกระชับความสัมพันธ์ของชาติทั้งด้านภายในประเทศและต่างประเทศ และเป็นสถาบันแห่งวิชาการพร้อมกับการวางบัญญัติศาสนา ซึ่งบรรดาซอฮาบะฮ์จะมาชุมนุมกันที่นั่น อีกทั้งยังเป็นที่สำหรับการคลี่คลายปัญหาต่างๆและเป็นที่ใช้อบรมสั่งสอนด้วยถ้อยคำต่าง ๆ เป็นศูนย์รวมของสังคมที่บรรดามุสลิมจะได้เรียนรู้กฎระเบียบ ความเสมอภาคและความเท่าเทียมกัน และได้สัมผัสการเป็นเอกภาพ ความเป็นพี่เป็นน้องกัน ความเป็นระเบียบเรียบร้อย มีการก่อสร้างบ้านเรือนอย่างเรียบง่ายรอบ ๆ บริเวณมัสยิดสำหรับเป็นที่พักอาศัยของท่านเราะซูลลุลลอฮ์  พร้อมกับบรรดาภรรยาของท่าน ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุนนะ(http://www. islammore.com/main/content.php?page=sub&category=10&id=1763 สืบค้นวันที่ 3-2-2553.)

2. ความสำคัญและบทบาทของมัสยิด
                                2.1 ความสำคัญของมัสยิด
มัสยิด คือ บ้านของอัลลอฮฺบนพื้นพิภพแห่งนี้ เป็นสถานที่ซึ่งความเมตตาของพระองค์ถูกประทานลงมาอีกทั้งเป็นสถานที่พบปะของบรรดาผู้ศรัทธา และเป็นที่รวมจิตใจของบรรดาผู้ยำเกรง และเป็นสถานที่อันดีเยี่ยมที่ถูกส่องประกายด้วยรัศมีและความสุกใส และทำให้ความหมายที่แท้จริงของความรักและความเป็นพี่น้องประทุขึ้นในใจทั้งหลาย (http://www .bnia bdullah.com/vb/sho w thread.php?p=28472 สืบค้นวันที่ 3-03-2554)
อิสลามคือศาสนาสากลอันเป็นนิรันดร์ ที่องค์อภิบาลทรงยินดีให้เป็นแนวทางชีวิตสำหรับมนุษยชาติ เป็นหลักธรรมแห่งความเป็นอยู่ ในอิสลามไม่ยินดีให้ผู้ที่นับถือปฏิบัติละหมาดของพวกเขาโดยโดดเดี่ยวออกจากสังคมที่พวกเขาใช้ชีวิตอยู่ ทว่าอิสลามเรียกร้องพวกเขาอย่างหนักแน่นที่สุด ให้ปฏิบัติมันในลักษณะของญะมาอะฮฺ และต้องปฏิบัติในมัสยิดด้วยจนกระทั่งถูกแสดงออกมาซึ่งภาพแห่งเกียรติยศ ภูมิฐานและน่าเคารพนับถือ ทำให้พวกเขาอยู่ภายใต้ร่มเงาแห่งความรักและสนิทสนมต่อกันเกาะเกี่ยวเหนี่ยวยึดต่อกันประดุจตัวอาคารอันมั่นคง
การละหมาดวันศุกร์ตามกฎเกณฑ์แล้ว จะต้องปฏิบัติในมัสยิดของชุมชน มันจึงจะนำมาซึ่งความเป็นปึกแผ่นอันหนึ่งอันเดียวกันของสังคมมุสลิม ในรูปแบบที่ชัดเจนสั่นสะเทือนจิตใจที่ถูกควบคุมด้วยความสำนึกและความรูสึก ณ ที่นั้น ย่อมส่งผลให้เกิดเป็นคุณค่าที่งดงามและศักดิ์สิทธิ์อย่างแท้จริง  นักปรัชญาชาวชาวฝรั่งเศสผู้หนึ่งชื่อ "เรนาน" ได้กล่าวอธิบายถึงความปลาบปลื้มตื้นตันใจกับสิ่งที่เขาได้พบและรู้สึก ขณะได้ยืนอยู่ท่ามกลางบรรดามุสลิมที่พวกเขากำลังดูดดื่มอยู่ในการละหมาดว่า "ไม่มีครั้งใดเลยที่ฉันได้เข้าไปในมัสยิดหนึ่งๆ ของมุสลิม ครั้นได้พบเห็นพวกเขารวมกันอยู่ในท่าทางของการละหมาดนอกจากมันทำให้ฉันต้องรู้สึกกับความเศร้าใจอย่างยิ่งที่ฉันเอง ไม่ได้เกิดมาเป็นมุสลิมด้วย" การละหมาดญุมอะฮฺ (วันศุกร์) เป็นสิ่งฟัรฎูในรอบสัปดาห์เป็นวันอีดรอบสัปดาห์ และที่อัลลอฮฺทรงกำหนดให้ทำญามะอะฮฺในวันนั้น ล้วนแสดงถึงความจำเป็นอย่างยิ่ง (วาญิบ มุอักกัด) ที่ละทิ้งไม่ได้
2.2 บทบาทของมัสยิด
บทบาทมัสยิดที่แท้จริงจะแฝงไปด้วยวิทยปัญญาและความศักดิ์สิทธิ์ ที่รวมเข้าด้วยกันระหว่างศาสนาและโลกดุนยา เป็นที่จัดการประชุมและสัมมนาทางวิชาการ เป็นสถานที่รับรองแขก เป็นศูนย์บัญชาการกองทัพ เป็นที่จัดเตรียมกองทัพทหารสู่สมรภูมิ เป็นจุดศูนย์กลางแห่งการให้เนื้อหาวิชาการอิสลาม เป็นที่ๆ ผู้คนทั้งหลายมาพบปะกันเพื่อการอิบาดะฮฺ และบทบาทในชีวิตความเป็นอยู่ของสังคมในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าด้านความนึกคิด ด้านการเมือง หรือด้านสังคม มันเป็นเสมือนป้อมปราการอันมั่นคง สำหรับการเปลี่ยนทัศนะคติ เป็นสภาอิสระที่เปิดกว้างเพื่อความคิดที่หลากหลายและสร้างสรรค์ อันเป็นดั่งพลังที่กระตุ้นสังคมนี้ให้ไปยังทิศทางที่ถูกต้องยิ่งกว่านั้น ยังเป็นสภาที่เหมือนเช่นสภาอื่นๆ ทั่วไป หากสมาชิกของมันนั้นไม่เหมือนสมาชิกอื่นๆ ที่เคลื่อนไหวตามกระแสของการเมือง หรือตามผลประโยชน์ของพวกพ้อง ชาตินิยม สภาเช่นนั้นเปรียบดังโอ่งที่ว่างเปล่าที่มันมีแต่การทำลายซึ่งสิทธิของผู้อื่น ซ้ำยังทำให้ความอธรรมและสิ่งมดเท็จทั้งหลายบังเกิดขึ้นมา ดั่งละครตบตาที่ถูกแสดงออกมาโดยองค์การนานาชาติบางองค์การในปัจจุบัน ที่มีแต่การริดรอนและการทำลายสิทธิ เกียรติยศ แผ่หว่านความอธรรมอยู่เบื้องหลังการหลั่งเลือด การสังหารเด็ก สตรี การขับไล่ประชาชนออกจากประเทศของตนเอง การทารุณกรรม เช่น ทาส และความเลวร้ายอื่นๆ อย่างที่มนุษย์ไม่เคยพบมาในหน้าประวัติศาสตร์เราขอกล่าวว่า แท้จริงมัสยิดในอิสลามนั้น คือ สภาอันบริสุทธิ์เป็นที่รับการเสนอความคิดเห็นอันหลากหลาย โต้แย้งในเรื่องราวกิจกรรมต่างๆ ด้วยความคลาศ (บริสุทธิ์ใจ) เสียสละ และด้วยความรักต่ออัลลอฮฺและเราะซูลของพระองค์ เนื่องจากสมาชิกสัปบุรุษของมัสยิดที่มาร่วมพบปะกันนั้น (http://www.bniabdullah.co m /vb/showthread.php?p=28472 สืบค้นวันที่ 3-03-2554)
อ้างจาก การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการมัสยิดของคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด กรณีศึกษา ตำบลปากบาง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา,ฆอซาฟี มะดอหะ,มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น