วันอังคารที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2556

กรมตำรวจในประวัติศาสตร์อิสลาม


ระบบอัชชุรเฏาะฮฺ (กรมตำรวจ)ในประวัติศาสตร์อิสลาม

โดย  :นส.ฮามีดะ  สาแม.
นักศึกษาปริญญาโท
สาขาวิชาประวัติศาสตร์และอารยธรรมอิสลาม
 มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา
บทนำ
إن الحمد لله نحمده ونستعينه ونستغفره ، ونعوذ بالله من شرورأنفسنا وسيئات أعمالنا ، من يهده الله فلا مضل له ، ومن يضلل فلا هادي له ، ولن تجد له من دون الله وليا مرشدا .                                                                                   

จากการศึกษาประวัติศาสตร์ นับตั้งแต่อดีตนกระทั่งปัจจุบัน  จะเห็นได้ว่ามนุษย์เราไม่สามารถที่จะใช้ชีวิตอย่างสันโดษได้ จำเป็นต้องอยู่เป็นกลุ่มเป็นพวก  ตราบใดก็ตามที่มนุษย์ จำเป็นต้องอยู่เป็นกลุ่มเป็นพวกที่มีความหลากหลายด้วยอารมณ์  ความรู้สึก และความต้องการ  แน่นอนที่สุดต้องมีการขัดแย้ง ละเมิดสิทธิซึ่งกันและกัน อันนำไปสู่ความไม่สงบในสังคมได้
 ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีทหารตำรวจคอยควบคุมดูแลและลงโทษผู้กระทำผิดในสังคม  เพื่อให้สังคมอยู่อย่างสงบสุขตลอดไป


نظام الشرطة  (กรมตำรวจ)

ความหมายตามหลักภาษา

الشرطة          .ในทางภาษาศาสตร์ มาจากคำว่า الشرطي    และ الشرطي   แตกแขนงมาจาก الشرطة หมายถึง สัญญาลักษณ์  เพราะด้วยสัญญาลักษณ์ต่างที่มีอยู่กับตัวของเขาทำให้ผู้คนรู้จักและ الشرطة  ก็มีความหมายผู้ที่รักษาความปลอดภัย.[1]

ความหมายตามหลักนิรุกติศาสตร์

الشرطة  คือ ตำรวจที่มีผู้บังคับบัญชาอยู่ เพื่อสร้างความสงบสุข  รักษากฎเกณฑ์ต่างๆ รวมทั้งจับผู้ร้าย ซึ่งเป็นงานทางราชการที่มีขึ้นเพื่อก่อให้เกิดความสงบสุขและตำรวจยังเป็นหน่วยงานหนึ่งที่เป็นที่ต้องการของสังคมสมัยก่อน เช่นกัน มีไว้เพื่อขู่เข็ญต่อผู้กระทำผิด หรือจับกุมผู้ร้าย อบรมสั่งสอน  และใช้ในศัพท์ที่ใกล้เคียงกันได้[2]

ประวัติความเป็นมาของ  الشرطة

กรมตำรวจนั้นได้เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายแล้วในหมู่ของคนชนรุ่นก่อนๆไม่จะเป็นชนคนอาหรับ และชนชาติอื่น นอกจากอาหรับ  ดังเช่น  กษัตริย์ฮักเลอย์แห่งกรุงโรมก็ได้เรียกหัวหน้าทหารของท่านเพื่อที่จะบัญชาให้ไปสู้รบกับประเทศอื่นๆ.[3]
แต่ในสมัยของของท่านรอซูล (ศ็อลฯนั้นไม่พบหลักฐานที่แน่ชัดเกี่ยวกับการเกิดขึ้นของตำรวจในอิสลาม แต่โดยทั่วไปแล้วคิดว่าไม่มีในสมัยของท่านรอซูล (ศ็อลฯเพราะสังคมอิสลามนั้นเป็นสังคมแบบทหารหรือตำรวจออยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องมีตำรวจ ทหาร และถือว่ามุสลิมทุกคนนั้น คือ ตำรวจ ทหาร
ต่อมาในสมัยของอาบูบักร์ก็เริ่มที่จะมีระบบ الشرطة ขึ้นแต่สมัยนั้นยังไม่เรียกว่า الشرطة  จะเรียกว่า العسعس  หมายถึง  สายลับที่คอยตรวจสอบและสืบสวนผู้ที่ละเมิดกฎของอัลลออฮ์  และในสมัยของอาบูบักร์นั้นอับดุลลอฮ์ บินมัสอุด เป็นหัวหน้าของ العسعس

ในสมัยของอุมัร อิบนุ ค็อฏฏอบ  ท่านได้ก่อตั้งกรมตำรวจขึ้น กรมตำรวจในเวลานั้นเป็นที่รู้จักในนาม  อะฮ์ดัษ (الأحداث) และเจ้าหน้าที่ตำรวจเรียกว่าซอฮิบุลอะฮ์ดัษ(صاحب الأحداث) และท่านเองเป็นหัวหน้าของ اอะฮ์ดัษ ท่านจะทำการดูแลสอดส่องในเวลากลางคืน[4]  และท่านเองเป็นผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลประชาชาติของท่านในเวลากลางวันและกลางคืน ในทุก คืนท่านจะทำการละหมาดในเวลากลางคืนและทำภารกิจตอนกลางคืน
ในคืนหนึ่งก็มีตัวแทนจากชาวอีรักคนหนึ่งก็ได้มาที่มัสยิดอันนาบาวีย์  ท่านอุมัรกำลังทำการละหมาดอยู่  หลังจากเสร็จสิ้นการละหมาดท่านอุมัรอิบนุค็อตตอบก็ได้เข้าหาแขกและก็ได้ถามข่าวคราวทุกข์สุขของแขกดังกล่าว  และท่านอุมัรอิบนุค็อตตอบก็ได้ถามถึงเจตนาและความต้องการของแขกที่เดินทางมาจากแดนไกลว่ามีจุดประสงค์อะไร? แขกก็ได้ตอบว่า เพื่อมาพบและมีเรื่องสำคัญที่ต้องการบอกให้กับอามีรุลมุมีนีน  ท่านอุมัรก็ตอบว่าทำไมท่านจึงไม่บอกเรื่องที่ท่านต้องการบอกให้กับอามีรุลมุมีนีนของท่าน ชายคนนั้นก็ตอบว่า จะให้ฉันไปพบกับท่านในเวลาค่ำคืนอย่างนี้ได้อย่างไร? อุมัรก็ตอบว่า ฉันนี้แหละ คือ อุมัร (อามีรรุลมุมีนีน)
                เมื่อได้ยินคำตอบดังกล่าว ชายคนนั้นก็งง เพราะเวลาค่ำคืนอย่างนี้ท่านยังคงปฏิบัติภารกิจดูแลสอดส่องประชาชาติของเขาอยู่ ท่านอุมัรก็ได้กล่าวต่อว่า ถ้าฉันนอนในเวลากลางคืนแสดงว่าฉันได้เสียเวลาอันมีค่าต่อตัวฉันเอง และถ้าฉันนอนในเวลากลางวันแสดงว่าฉันได้เมินเฉยและละเลยหน้าที่ของฉันของประชาชาติของฉัน
                และบ่อยครั้งที่ท่านอุมัร อิบนุ ค็อตตอบได้ออกไปสอดส่องดูแลตรวจตราข่าวคราวเกี่ยวกับชัยชนะของอิสลามที่เมืองอิรักในคืนหนึ่งขณะที่ท่านอุมัร อิบนุ คอตตอบได้ออกตระเวนตรวจตราในเวลากลางคืนที่เมืองมาดีนะห์ ท่านก็ได้พบหญิงชรานางหนึ่ง บ้านก็อยู่ห่างไกลจากชุมชน เมื่อได้เห็นสภาพครอบครัวนี้แล้ว  ท่านอุมัรอิบนุค็อตตอบ ก็รู้สึกสงสารและท่านก็ได้ถามข่าวคราวทุกข์สุข สุดท้ายท่านก็ได้แจกเงินเป็นจำนวน  10  ดีนาร ต่อครอบครัวนี้และท่านก็ได้รับครอบครัวนี้มาอยู่ภายใต้การดูแลของท่านและท่านยังได้ส่งเสียให้อับดุลเลาะ บุตรของท่านรับครอบครัวนี้มาดูแลต่อไปหลังจากที่ท่านได้เสียชีวิตไป[5]
และอีกเหตุการณ์หนึ่ง    บนถนนสายหนึ่งที่แคบและเปรี่ยวมากในเมืองมาดีนะห์ ในยามกลางคืนที่มืดสนิท  ท่านก็ได้ยินเสียงมารดา และลูก กำลังร้องอยู่ ท่านอุมัร อิบนุค็อตตอบก็ได้เดินเข้าไปใกล้กับบ้างหลังดังกล่าว ก็ได้พบว่ามีแม่และรอบ แม่นั้นก็มีลูกเล็กๆ  นั่งร้องอยู่ และแม่ก็นั่งใกล้กับเตาไฟ และบนเตาไฟก็มีหม้อต้มน้ำอยู่ ในเหตุการณ์เช่นนี้อุมัรก็ได้ถามข่าวคราวและทุกข์สุขและถามต่อว่าทำไมท่านทำเช่นนี้ หญิงคนนั้นตอบว่า ที่ทำเช่นนี้เพราะอยากให้ลูกเคลิ้มหลับไปในที่สุดทั้ง ที่ลูก คิดว่าอาหารใกล้จะสุกแล้ว  เมื่อท่านได้ยินคำตอบเช่นนั้น ท่านก็ไม่รีรออีกต่อไปท่านก็กลับไปเอาแป้งสาลี (ซึ่งเป็นอาหารหลังของคนอาหรับ) มาให้ด้วยตัวของท่านเองและก็ได้เฝ้าอยู่จนกระทั่งอาหารสุข  ท่านจึงได้จากไป

และอีกเหตุการณ์หนึ่งในคืนหนึ่งขณะที่ท่านอุมัร อิบนุ ค็อตตอบได้ออกไปตรวจตราดูแลความสงบสุขของประชาชาติของท่าน ท่านก็ได้ยินมารดานางหนึ่งได้กล่าวกับบุตรสาวของตนว่า โอ้บุตรสาว จงรีบตื่นเถอะ  และจงเอาน้ำไปเติมกับนมที่มีอยู่นั้นด้วย  ในขณะนั้นท่านอุมัรอิบนุค็อตตอบกำลังยืนอยู่ใกล้กับประตูบ้านดังกล่าว จึงได้ยินเสียงบุตรสาวของนางตอบกับมารดาว่า ฉันคงปฏิบัติตามที่แม่ต้องการไม่ได้หรอกคะคุณแม่ แม่ของเธอก็ได้ตอบสวนทันทีว่า ทำไมไม่ยอมปฏิบัติตามแม่ละ  บุตรสาวของนางก็รีบตอบ แม่ลืมคำสั่งสอนของท่านอามีรุลมุมีนีนแล้วหรือที่ท่านห้ามมิให้เอาน้ำไปปนกับนม ถ้าฉันทำอย่างนั้นก็แสดงว่า ฉันไม่ภักดีต่ออัลลอฮฺ และไม่ภักดีต่ออามีรุลมุมีนีน และเป็นผู้ทำลายสังคม และเป็นผู้ที่ละเมิดกฎของอัลลอฮฺ
                เมื่อได้ยินคำตอบอย่างมั่นใจของบุตรสาวดังกล่าวท่าน อุมัร อิบนุ ค็อตตอบก็ได้ทำสัญลักษณ์บางอย่างไว้ บ้างหลังนั้น  แล้วท่านก็ออกไปปฏิบัติภารกิจดังกล่าวต่อไป และในวันรุ่งขึ้นท่านอุมัร อิบนุ คอตตอบก็ได้สั่งบุตรชายของท่าน คือ อาซิม ไปหมั้นบุตรสาวของบ้านดังกล่าว[6]

                ในสมัยของท่านอาลีบินอาบีฏอเล็บก็เช่นเดียวกัน ท่านจะนำระบบหรือกฎของการดูแลตรวจตราประชาชาติของท่านในเวลากลางคืน  และท่านเป็นคนแรกที่ตั้งระบบทหาร และแต่งตั้งผู้นำให้ซึ่งจะเรียกผู้นำนั้นว่า ผู้กำกับกรมทหาร (صاحب الشرطة)   ซึ่งท่านจะเลือกหนุ่มหรือบุรุษที่มี ความสามารถและมีความเหมาะสม   และทหารนั้นต้องปฏิบัติตามคำสั่งเป็นสำคัญและต้องเสนอเหตุผลที่ชัดแจ้ง

                ต่อมาในสมัยของอับบาซียะฮฺนั้นเริ่มมีรูปแบบ การปฏิบัติหน้าที่ในการทหารอย่างสมบูรณ์ หัวหน้ากองทหารจะมีอำนาจในการลงโทษผู้กระทำผิด อีกทั้งยังเป็นผู้วางขอบเขตว่าผู้กระทำความผิดอย่างนี้จะมีโทษขั้นใดและอย่างไร[7]

                เหตุผลแรกที่แต่งตั้งทหารขึ้นมานั้นก็เพื่อที่คอยช่วยเหลือผู้พิพากษาคดีหรือดาโต๊ะ قاضي  ในการตัดสินคดีต่าง และจับผู้กระทำผิด และคอยช่วยเหลือหน่วยงานราชการต่าง และคอบสอดส่องดูแลให้ปฏิบัติตามกฏต่าง ที่หน่วยงานราชการได้ตั้งไว้[8]

                ต่อมาในสมัยฮีซาม บิน อับดุลมาลิกนั้นได้แยกการทำงานของตำรวจออกเป็น  2  พวก คือ
                1.  ตำรวจซึ่งมีหน้าที่รักษาความปลอดภัย
                2.  ตำรวจมีหน้าที่ในการออกสนามรบ
ซึ่งทั้งสองพวกนั้นเป็นกฎแบบกลาง มีชื่อว่า  نظام الأحداث
                จะเห็นได้ว่าทหารนั้นจะอยู่ในหน่วยงานที่สูงส่ง โดยเฉพาะในสมัยบนีอุมัยยะห์ในอันดาลุส ซึ่งได้แบ่งทหารออกเป็น  2  พวก  เช่นกัน คือ
                1.  ตำรวจใหญ่  (شرطة كبرى)   ดูแลควบคุมผู้หลักผู้ใหญ่ นักการเมือง การปกครองตลอดจนเครือญาติของคอลีฟะฮฺ
                2.  ตำรวจเล็ก  (شرطة صغرى)   ดูแลควบคุมประชาชนทั่วไป[9]
                บรรดานักการปกครองในสมัยนั้นจะตั้งชื่อผู้บังคับบัญชาทหารว่า ผู้ดูแลกลางคืน (เจ้าของความมืดหรือเจ้าของเมือง  เพราะเขาจะเป็นผู้ดูแลความเรียบร้อยและคอยช่วยเหลือกษัตริย์หรือคอลีฟะฮฺ[10]

คุณลัษณะที่พึงประสงค์ของตำรวจ

1.    ต้องเป็นผู้พิพากษาที่ดี
2.    มีความคิดที่แหลมคมและมีทักษะในการคิด
3.    เป็นแบบอย่างที่ดี
4.    ยึดมั่นในกฏที่ได้ตั้งไว้
5.    หมั่นดูแลรักษาผู้ที่อยู่ในกรงขังอย่างดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องตรวจตรา
6.    ต้องห้ามปรามผู้ที่ละเมิดกฏต่างๆ
7.    ต้องปกครองจุดยุธทศาตร์ของเมืองให้อย่างดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งประตูเข้าสู่เมือง
8.    ต้องตรวจสอบทั้งตอนกลางวันและกลางคืน
9.    ต้องสอดส่องและให้ความปกครองผู้ที่อยู่ภายใต้ความดูแลทั้งหมดมิใช่เลือกที่จะปกป้องดูแล.[11]

รูปแบบการปฏิบัติงานของทหาร
1.    มีความเสมอภาค ไม่เลือกปฏิบัติระหว่างคนกับคนรวย
2.    ต้องปกป้องมิให้เกิด มุซียัต ต่างๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน
3.    ปกป้องผู้ที่ถูกละเมิด และลงโทษผู้ที่ละเมิดในขอบเขตที่อิสลามกำหนด[12]
4.    ต้องรักษาอย่าให้ผู้คนชั่งตวงอยางผิดๆ
5.    ต้องรักษาอย่าให้ผู้คนสร้างอาคารบ้านเรือนบนถนนขวางทางจรจร
6.    จะต้องไม่ให้สัตว์บรรทุกน้ำหนักเกิน
7.    จะต้องไม่อนุญาตให้ขายหรือสุรา[13]

บทสรุป

กรมตำรวจเป็นหน่วยงานหนึ่งที่สำคัญที่สุดที่ทำหน้าที่รักษาดูแลความสงบสุขให้กับผู้คนในสังคม   จากการศึกษาเรื่อง  الشرطة (กรมตำรวจ) แล้วจะเห็นได้ว่ามุสลิมทุกคนต้องมีหน้าที่เป็นตำรวจทหาร  สังคมจะเจริญก็ต่อเมื่อผู้คนในสังคมร่วมกันเป็นทหาร
 ดังนั้นจึงไม่เป็นสิ่งแปลกสำหรับคนรุ่นใหม่ว่าเหตุใดในสมัยของท่านนบีนั้นผู้คนสามารถอยู่อย่างสงบสุข รักใคร่ปรองดองซึ่งกันเพราะสังคมสมัยนั้นเป็นสังคมตำรวจ  ใครก็ตามที่เห็นผู้คนกระทำผิดก็ต้องรีบเปลิ่ยนแปลงทันทีดังฮาดีษบทหนึ่งได้กล่าวไว้

ความว่า  ผู้ใดก็ตามที่เห็นในหมู่ของพวกเจ้ากระทำสิ่งมูนกัร(สิ่งไม่ดี)จงรีบเปลี่ยนแปลงหรือห้ามปรามเขาด้วยมือ(อำนาจ)ของท่าน  หากท่านไม่มีความสามารถพอจงรีบเปลี่ยนแปลงหรือห้ามปรามเขาด้วยปากของท่าน(กล่าวตักเตือนด้วยคำพูด)ของท่าน  หากท่านไม่มีความสามารถพอจงรีบเปลี่ยนแปลงหรือห้ามปรามเขาด้วยใจของท่าน(จงเกลียดการกระทำของเขาด้วยความจริงใจ)และการที่ท่าน เปลี่ยนแปลงหรือห้ามปรามเขาด้วยใจของท่าน(เกลียดการกระทำของเขาด้วยความจริงใจ)นั้นถือว่าเป็นคนที่มีอีม่านที่ด้อยที่สุด.

แต่ปัจจุบันจะห็นว่ากรมตำรวจนั้นมีระบบและมีอำนาจในการปกครองมีความพร้อมในทุกๆด้านแต่ผู้คนในสังคมก็ยิ่งมีผูที่กระทำผิด ละเมิดสิทธิซึ่งกันและกัน  ดังนั้นเราในฐานะมุสลิมคนหนึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทำหน้าที่เป็นตำรวจ
  
บรรณานุกรม

Majlis Ilmi Pattani Tuan Mat Bin Tuan Soh Terjemah Sepuluh Sahabat Ahli Syurga.Jabatan Hal Ehwal Ugama Islam NeGeri Kelantan 
.
เซากี อาบู คอลีล  1987 อัลฮาฎอเราะฮ์อัลอารอบียะห์อัลอิสลามมียะห์ กุลลียะห์อัดดะห์วะฮ์อัลอิสลามียะฮฺ

เซากี อาบู คอลีล  1987 อัลฮาฎอเราะฮ์อัลอารอบียะห์อัลอิสลามมียะห์ กุลลียะห์อัดดะห์วะฮ์อัลอิสลามียะห์   

ดร.มาญีด อาลี  คาน เขียน บรรจง บินกาซัน แปล ฮ.ศ.1425 เคาะลีฟะฮ์ อุมัรร อัลฟารุก ศูนย์หนังสืออิลาม


มูรอด มูฮัมหมัด อาลี (มปป) อัล อาซาลีบ อัล อีดารียะฮฺ ฟิล อิสลาม ดารุล อิอตีซอม.

อัซซอลิฮฺ ซุบฮี  อันนูซุม อัลอิสลามียะฮฺ นัชอาตูฮา วาตาเตาวีรูฮา บีรูต : ดารุล อิลมี 2001.

อัลกอซีมีย์  ซอฟีร  1992  นีซอมมุลฮูกมูฟีซารีอาตีวาตารีคอิสลามีย์  พิมพ์ครั้งที่  4   บีรูต : ดารุลนาฟาอิซ

อิบนุคอลดูน  1920  มูกอดดีมะฮ์อิบนุคอลดูน  กอฮีเราะ : สำนักพิมพ์อัซฮารียะฮฺ. 

ฮาซัน อิบรอฮัม ฮาซัน และ อาลี อิบรอฮีม ฮาซัน อันนูซุม 2002 อัล อิสลามียะฮฺ มักตาบะฮฺ อันนะฮฺเฎาะอัลมิซรียะฮฺ  อัล กอฮีเราะฮฺ.



[1] เซากี อาบู คอลีล  อัลฮาฎอเราะฮ์อัลอารอบียะห์อัลอิสลามมียะห์  กุลลียะห์อัดดะห์วะฮ์อัลอิสลามียะห์  1987  หน้า189
[2] ฮาซัน อิบรอฮีม ฮาซัน และ อาลี อิบรอฮีม ฮาซัน.อ้างแล้ว. หน้า 188
[3] อัลกอซีมีย์  ซอฟีร  นีซอมมุลฮูกมูฟีซารีอาตีวาตารีคอิสลามีย์  ดารุลนาฟีอีส บีรุต  พิมพ์ครั้งที่  4  1992  หน้า  632-633.
[4]ดร.มาญีด อาลี  คาน เขียน บรรจง บินกาสัง แปลเคาะลีฟะฮ์ อุมัรร อัลฟารุก  ศูนย์หนังสืออิลาม.ฮ.ศ.1425หน้า 55
[5] Majlis Ilmi Pattani Tuan Mat Bin Tuan Soh Terjemah Sepuluh Sahabat Ahli Syurga.Jabatan Hal Ehwal Ugama Islam NeGeri Kelantan  Muka  40.
[6] . Majlis Ilmi Pattani Tuan Mat Bin Tuan Soh Terjemah.Buku  Sama  Muka 40
[7] มูรอดมูฮัมหมัดอาลี  อ้างแล้ว  หน้า  33-34.
[8] ฮาซันอิบรอฮีมฮาซัน อ้างแล้ว หน้า  190.
[9] อิบนุคอลดูน  มูกอดดีมะฮ์อิบนุคอลดูน  สำนักพิมพ์อัซฮารียะฮฺ  กอฮีเราะ  1920  หน้า  29.
[10] ซอลีฮ  ซุบฮีย์  อ้างแล้ว  หน้า  223.
[11] เซากี อาบู คอลีล  อ้างแล้ว.หน้า189
[12] เล่มเดียวกัน  หน้า 189
[13] ดร.มาญีด อาลี  คาน เขียน บรรจง บินกาสัง แปล หน้า 55

ขอขอบคุณ นส.ฮามีดะ  สาแม.
นักศึกษาปริญญาโท
สาขาวิชาประวัติศาสตร์และอารยธรรมอิสลาม
 มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น