วันอังคารที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2553

การเมืองการปกครองของราชวงศ์อับบาสียะฮฺ

การเมืองการปกครองของราชวงศ์อับบาสียะฮฺ
หลังจากการปกครองของราชวงศ์อุมัยยะฮฺในชาม
[1]ได้สิ้นสุดลงและราชวงศ์อับบาสิยะฮฺได้เข้ามามีบทบาทด้านการปกครองอาณาจักรอิสลามสืบต่อมาเป็นเวลานานถึง 5 ศตวรรษ ถือได้ว่าบรรดาเคาะลีฟะฮฺในยุคแรก[2] ซึ่งเริ่มตั้งแต่อะบูอัลอับบาส อัสสะฟาฮฺ ไปจนกระทั่งถึงอัลวาษิก[3]เป็นเคาะลีฟะฮฺที่มีความสามารถในด้านการปกครอง และมีนโยบายการปกครองที่ชัดเจน และเคร่งครัดที่สุด
ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่าการปกครองของราชวงศ์อับบาสียะฮฺในยุคแรกนี้มีความเจริญก้าวหน้ามาก โดยเฉพาะในยุคของเคาะลีฟะฮฺฮารูน อัรรอชีด ซึ่งเป็นยุคทองแห่งประวัติศาสตร์ของราชวงศ์อับบาสิยะฮฺยุคแรก และเป็นยุคที่เข้มแข็งและเจริญรุ่งเรืองมากที่สุด
ในระบบการปกครองของเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด ใช้อำนาจระบบคิลาฟะฮฺ 2 ปัจจัยด้วยกันที่ทำให้ระบบนี้ขึ้นมามีบทบาทอีกครั้งได้แก่ 1. สิทธิหรืออำนาจของรัชทายาท 2. สิทธิหรืออำนาจความเข้มแข็งที่มีอยู่ต่อราชวงศ์อับบาสียะฮฺ
ความหมาย 2 ปัจจัยดังกล่าวเคาะลีฟะฮฺ อัลมันศูร ได้เขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษรดังที่มีระบุในหนังสือ “อัลอับบาสียูน อัลอาวาอีล” ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้
1. ราชวงศ์อับบาสียะฮฺได้ใช้สิทธิหรืออำนาจการปกครองโดยใช้ระบบสืบสายตระกูลซึ่งมีความแตกต่างระหว่างราชวงศ์อับบาสียะฮฺกับราชวงศ์อุมัยยะฮฺ เพราะราชวงศ์อับบาสิยะฮฺอ้างว่าพวกเขาเป็นทายาทของท่านรสูล(r)จากสายตระกูลอาของเขาคือ อัลอับบาส อิบนฺ อัลดุลมุฎฎอลีบ ลักษณะดังกล่าวราชวงศ์อับบาสียะฮฺได้ใช้รูปแบบและวัฒนธรรมยุคก่อนอย่างเข้มแข็ง ด้วยเหตุนี้อะบูอับบาสอัสสะฟาฮฺ
[4] กล่าวคำปราศัยในพิธีเปิดมัสยิดแห่งหนึ่งที่เมืองกูฟะฮฺ ว่า : “คุณลักษณะเฉพาะที่พระองค์อัลลอฮฺ ให้ต่อสายตระกูลของเรา คือ มาจากสายตระกูลของท่านรสูล (r ) ซึ่งเป็นสายตระกูลที่พระองค์อัลลอฮฺทรงประทานคัมภีร์อัลกุรอานให้แก่ท่าน” หลังจากนั้นท่านเคาะลีฟะฮฺอะบูอับบาส อัสสะฟาฮฺ ได้อ่านโองการอัลกุรอานดังนี้
ความว่า : จงกล่าวเถิด (มุฮัมหมัด) ฉันมิได้ขอร้องค่าตอบแทนใดๆเพื่อการนี้ เว้นแต่เพื่อความรักใคร่ในเครือญาติ ( อัลซูร, 42 : 23)
2. บรรดาเคาะลีฟะฮฺของราชวงศ์อับบาสิยะฮฺ สวมใส่มงกุฎราชบัลลังค์ หลังจากได้รับตำแหน่งเป็นเคาะลีฟะฮฺ ในการปกครองบ้านเมือง และในช่วงขึ้นในชั้นศาล ในวันประชุมใหญ่ และในวันสำคัญของรัฐบาล บรรดาเคาะลีฟะฮฺเปรียบเสมือนตัวแทนตำแหน่งรสูล (r)ในการปกครองประชาชาติมุสลิม
3. บรรดาเคาะลีฟะฮฺของราชวงศ์อับบาสิยะฮฺถูกเรียกฉายาว่า “ อิมาม
[5] ” ในการนี้เพื่อเน้นถึงเรื่องศาสนาที่ราชวงศ์อับบาสิยะฮฺรับผิดชอบอยู่ในการปกครองประชาชาติ
4. บรรดาเคาะลีฟะฮฺของราชวงศ์อับบาสิยะฮฺยึดหลักในปกครองตามบทบัญญัติของพระองค์อัลลอฮฺและของท่านนบีมุฮัมหมัด(r)ซึ่งเป็นศาสนทูตของพระองค์อัลลอฮฺ จากความหมายนี้เคาะลีฟะฮฺ อัลมันศูร เคยกล่าวไว้ว่า :
ความว่า : แท้จริงฉันเป็นสุลต่านของพระองค์อัลลอฮฺบนพื้นแผ่นดินนี้โดยใช้หลักการจากพระองค์อัลลอฮฺ และท่านรสูล (r)
5. การปกครองด้วยระบบคิลาฟะฮฺ ของราชวงศ์อับบาสียะฮฺแพร่ขยายสู่ประชาชาติทั้งปวงจนประชาชาติกล่าวพูดกันว่า การปกครองระบบคิลาฟะฮฺจะตกอยู่เฉพาะสายตระกูลอับบาสิยะฮฺเท่านั้นจนถึงวันสิ้นโลก ดาวูด อิบนฺ อะลี
[6] ได้กล่าวต่อหน้าชาวกูฟะฮฺว่า ท่านจงรู้เถิด ว่า หน้าที่อันนี้จะอยู่กับพวกเราและจะไม่จากพวกเราจนกว่า อีชา อิบนฺ มัรยัมจะมาถึง[7]
6. การแต่งตั้งรัชทายาทเพื่อสืบทอดตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺนั้น จะแต่งตั้งได้มากกว่าหนึ่งท่านขึ้นไป สำหรับผู้ควบคุมเคาะลีฟะฮฺไม่แตกตางจากราชวงศ์อุมัยยะฮฺ นั้นคือ การควบคุมอำนาจทางด้านการเมือง การปกครองของราชวงศ์อับบาสียะฮฺ ด้วยเหตุนี้เคาะลีฟะฮฺอะบูอับบาสได้แต่งตั้งวะลีย์เป็น
ตัวแทน คือ น้องชายของท่านเอง อะบีญะอฺฟัร อัลมันศูร ต่อมา อีชา อิบนฺ มูชา และอะบูอับบาสเคยทำสัญญากับอับดุลลอฮฺ อิบนฺ อะลี เพื่อส่งเป็นข้าหลวงเป็นตัวแทนเคาะลีฟะฮฺที่เมืองชาม ในช่วงการ
ปกครองของเคาะลีฟะฮฺ อะบูญะอฺฟัร อัลมันศูร ท่านได้ปลด อีชา อิบนฺ มูชาออกจากตำแหน่ง และแต่งตั้งลูกชาย มุฮัมหมัด อัลมะห์ดี เป็นรัชทายาทสืบทอดตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺคนต่อไป
สำหรับ อีชา อิบนฺ มูชานั้น จะได้รับตำแหน่งนี้ หลังจาก มุฮัมหมัด อัลมะห์ดี แต่หลังจากอัลมะห์ดีขึ้นครองราชย์ท่านก็พยายามปลด อีชา อิบนฺ มูชา และแต่งตั้งลูกชายทั้งสอง คืออัลฮาดี และ ฮารูน อัรรอชีด หลังจากอัลฮาดีขึ้นครองราชย์เป็นเคาะลีฟะฮฺของราชวงศ์อับบาสิยะฮฺท่านก็ได้พยายามที่จะปลดน้องชายของท่าน คือ ฮารูน อัรรอชีด ออกจากตำแหน่งรัชทายาท และจะแต่งตั้งลูกชายของท่าน
ญะอฺฟัร แต่ไม่ประสบความสำเร็จเพราะจุดยืนและบทบาทของคอยซูรอนผู้เป็นมารดาเข้าข้างฝ่าย ฮารูน อัรรอชีด แต่เป็นที่เสียใจอัลฮาดีเสียชีวิตอย่างกะทันหันโดยไม่ได้ดำเนินการตามความฝันของท่าน หลังจากนั้นเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด ขึ้นครองราชย์เป็นเคาะลีฟะฮฺ ท่านได้แต่งตั้งรัชทายาทสืบทอดตำแหน่งจากท่าน คือ อัลอะมีน อัลมะมูน และ อัลมุตามีน ท่านได้แบ่งเขตการปกครองที่แตกต่างกัน สุดท้ายเกิดสงครามภายในระหว่าง อัลอะมีน กับ อัลมะมูน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการล่มสลายอาณาจักรอับบาสียะฮฺในด้านการบริหาร การเมือง และการปกครอง เพราะเกิดความขัดแย้งกันระหว่าง อัลอะมีน กับ อัลมะมูน ในการช่วงชิงอำนาจการบริหาร การปกครองของราชวงศ์อับบาสิยะฮฺ (Faruq ‘Umar Fawzi,1989 : 87 )
รูปแบบการปกครองราชวงศ์อับบาสิยะฮฺนั้นได้ใช้แบบดั้งเดิมจากอุมัยยะฮฺ แต่ก็มีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสมกับสภาพของประชาชาติ อาจจะกล่าวได้ว่ารูปแบบการปกครองของราชวงศ์
อับบาสิยะฮฺก็คือ ระบบการปกครองตามรูปแบบอิสลามโดยใช้อัลกุรอานเป็นธรรมนูญและนโยบายในการบริหารราชอาณาจักรและยังได้ยึดแนวทางของท่านนบีมุฮัมหมัด(r)มาดำเนินงานในการบริหารงานทุกอย่างอีกด้วย แต่อำนาจของเคาะลีฟะฮฺไม่จำกัดขอบเขต เคาะลีฟะฮฺ ทรงเป็นประมุขของราชอาณาจักร ทรงเป็นประมุขทางศาสนา(อิมาม)ด้วย ทรงเป็นผู้บัญชาการสุงสุดของกองทัพ ทรงเป็นผู้แต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งต่างๆ และทรงมีอำนาจกับผู้สืบทอดต่อตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺในอนาคตได้โดยไม่ต้องทำตามกฎใดๆ สำหรับตำแหน่งรองลงมาจากเคาะลีฟะฮฺก็คือ ตำแหน่งวะซีร (เอกอัครเสนาบดี) ซึ่งตำแหน่งนี้มีต้นตอมาจากเปอร์เซีย
เคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด ได้พัฒนาระบบการปกครองโดยระบบศูนย์กลาง และได้แต่งตั้งตำแหน่งวะลีย์ตามแคว้นต่างๆเช่น ฮีมาด อัลบัรบารียฺ เป็นวะลีย์ที่เยเมน มูชา อิบนฺ อีชาอัลฮาซีมียฺ เป็น
วะลีย์ที่อียิปต์ และ อะลี อิบนฺ อีชา อิบนฺ มาฮาน เป็นวะลีย์ที่แคว้นคูรอซาน และอื่นๆ (Faruq ‘Umar Fawzi, 1989 : 87 )







3.1. อัลคิลาฟะฮฺ
[8]
การเคลื่อนไหวของราชวงศ์อับบาสียะฮฺได้เปิดเผยอย่างชัดเจนในยุคเคาะลีฟะฮฺ มัรวาน อิบนฺ มุฮัมหมัด[9] หลังจากท่านเคาะลีฟะฮฺมัรวานได้รับทราบถึงการเคลื่อนไหวของราชวงศ์อับบาสียะฮฺแล้ว ท่านจึงได้สั่งให้จับตัวผู้นำคือ อิบรอฮีม อิบนฺ มุฮัมมัด อิบนฺ อะลี อัลอับบาสียฺ ไว้ และได้ลงโทษประหารชีวิตในเวลาต่อมา แต่ก่อนที่ผู้นำขบวนการนี้จะถูกจับตัวมาท่านได้สั่งเสียแก่พรรคพวกในขบวนการว่า “ หากมีเหตุการณ์อันใดที่ทำให้ข้าพเจ้าต้องจบชีวิตลง ก็ขอให้ขบวนการนี้ดำเนินต่อไปภายใต้การดูแลของผู้นำคนใหม่ซึ่งก็คือน้องชายของข้าพเจ้าเอง” (Muhammad Husain, 2001 : 70)
ขบวนการของราชวงศ์อับบาสียะฮฺได้เผยแพร่แนวคิดอย่างต่อเนื่องและได้ดำเนินการทุกวิถีทาง
[10] จนประสบผลสำเร็จทำให้ราชวงศ์อุมัยยะฮฺต้องล่มสลายไป และได้สถาปนาราชวงศ์ใหม่ขึ้นมา คือราชวงศ์อับบาสียะฮฺภายใต้การนำของอะบูอับบาส อัสสะฟะฮฺ ซึ่งเป็นเคาะลีฟะฮฺท่านแรกในปี ฮ.ศ.132 (Muhammad Husain, 2001 : 71) ต่อมาอะบูญะฟัร อัลมันศูร ขึ้นครองราชย์เป็นเคาะลีฟะฮฺคนที่ 2 เมื่อปี ฮ.ศ.132–157 ท่านพยายามจัดตั้งระบบการเมืองการปกครองของราชอาณาจักรตามแนวทางของชาวเปอร์เซีย เนื่องจากราชวงศ์อับบาสียะฮฺในยุคแรกนี้ได้รับอิทธิพลจากเปอร์เซีย ดังนั้นระบบการเมืองการปกครองของท่านจนถึงเคาะลีฟะฮฺฮารูน อัรรอชีด จึงเป็นแบบเปอร์เซีย
การสถาปนาราชวงศ์อับบาสียะฮฺทำให้ระบบคิลาฟะฮฺ โดยมีเคาะลิฟะฮฺเป็นประมุขสูงสุดนั้น มีความเจริญรุ่งเรืองเนื่องจากราชวงศ์นี้ได้รับความช่วยเหลือในการบริหารบ้านเมืองจากชาวเปอร์เซีย ซึ่งชาวเปอร์เซียไม่พอใจต่อราชวงศ์อุมัยยะฮฺ เพราะในทัศนะของพวกเขา(ชาวเปอร์เซีย)การปกครองของ
อุมัยยะฮฺไม่ได้ให้ความยุติธรรมเท่าเทียมกันระหว่างชาวอาหรับกับชาวเปอร์เซียในสิทธิทางด้านการเมืองสังคมและอื่นๆ ชาวเปอร์เซียกล่าวว่า พวกเขา(ราชวงศ์อุมัยยะฮฺ)ได้ปฏิเสธความเท่าเทียมกันระหว่างมนุษย์ด้วยกันซึ่งอัลกุรอานและอัลหะดีษได้เน้นถึงความเท่าเทียมกันระหว่างมนุษย์ด้วยกัน
(Hasan Ibrahim Hasan,1983 : 253)
แต่อย่างไรก็ตามราชวงศ์อับบาสียะฮฺ ได้วางแนวทางการดำรงตำแหน่งของเคาะลีฟะฮฺ เหมือนกับราชวงศ์อุมัยยะฮฺ ด้วยเหตุนี้ชาวเปอร์เซียจึงกล่าวว่า “ แนวคิดนี้เป็นสิทธิหรืออำนาจของระบบคิลาฟะฮฺหรือกษัตริย์ ” ซึ่งมีความหมายว่าใครๆ ที่ไม่ใช่เชื้อสายเคาะลีฟะฮฺขึ้นมาดำรงตำแหน่งนี้ เสมือนเขาได้ยึดอำนาจของคนอื่น ดังนั้นบรรดาเคาะลีฟะฮฺราชวงศ์อับบาสียะห์ ในทัศนะของพวกเขาคือ อำนาจการปกครองดังกล่าว ได้รับมอบจากพระองค์อัลลอฮ ไม่ใช่จากประชาชาติ ดังคำกล่าวของอะบีญะฟัร
อัลมันศูรว่า “ แท้จริงฉันเป็นเคาะลีฟะฮฺของอัลลอฮฺบนผืนแผ่นดินนี้ ” แนวคิดนี้มีความขัดแย้งกับระบบ
คิลาฟะฮฺในยุคของคูลาฟะฮฺ อัรรอซีดูน ซึ่งอำนาจของพวกเขามาจากประชาชาติ หลักฐานดังกล่าวมาจากคำกล่าวของเคาะลีฟะฮฺอะบูบักร์ หลังจากได้รับตำแหน่งเป็นเคาะลีฟะฮฺว่า :
ความว่า “ หากฉันปกครองด้วยดี ท่านจงให้การสนับสนุนฉัน แต่ถ้าฉันปกครองไม่ดี ท่านจงตักเตือนแก่ฉัน ”
และคำกล่าวของเคาะลีฟะฮฺอูมัร อิบนฺ อับดุลอะซิซ
ความว่า “ ฉันไม่ได้ดีกว่าท่าน แต่ฉันมีหน้าที่ที่ต้องแบกมากกว่าท่าน ” (Hasan Ibrahim Hasan, 1983 : 253)
ราชวงศ์อับบาสียะฮฺได้ดำเนินการตามสิทธิการเป็นเคาะลีฟะฮฺอยู่บนพื้นฐานที่ว่าพวกเขาเน้นทายาทสายตระกูลที่ได้รับมรดกจากรสูล(r) ในการปกครองราชอาณาจักรและการดำเนินการเช่นนี้ ได้มีมาจนถึงยุคเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด
อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงอำนาจการปกครองจากราชวงศ์อุมัยยะฮฺสู่ราชวงศ์อับบาสียะฮฺนั้นก็ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองแบบเคาะลีฟะฮฺอย่างมากมายตามทัศนะนักประวัติศาสตร์ท่านหนึ่งกล่าวว่าการปกครองของราชวงศ์อับบาสียะห์โดยเฉพาะยุคเคาะลีฟะฮฺ ฮารูนอัรรอชีด นั้นเป็นไปตามรูปแบบและระบบอิสลาม โดยใช้อัลกุรอานเป็นธรรมนูญหรือ นโยบายในการปกครองพร้อมกับใช้
อัลหะดีษมาเป็นแนวทางในการดำเนินงาน และยังมีที่ปรึกษาที่เรียกกันว่า (Ahl al-Hal wa al-‘Aqd)
[11] อำนาจสูงสุดอยู่ที่ประมุข โดยมีคณะที่ปรึกษาคอยให้คำปรึกษา ตักเตือน และช่วยเหลือเคาะลีฟะฮฺ ๆ จะมีบทบาทและมีอำนาจหน้าที่เป็นผู้นำ เคาะลีฟะฮฺเป็นผู้ที่มีอำนาจในการแต่งตั้งผู้สืบทอดตำแหน่ง
เคาะลีฟะฮฺจากสายตระกูลของตนโดยผ่านการเห็นชอบของคณะที่ปึกษาโดยส่วนใหญ่ แต่ถึงอย่างไรก็ตามระบบการเมืองการปกครองในยุคนี้จะมีการกระจายอำนาจ ซึ่งมีผู้นำจากสายตระกูลของเคาะลีฟะฮฺและสมาชิกครอบครัวเคาะลีฟะฮฺที่มีความไว้วางใจต่อพวกเขา(Ahmad Zaki Hj. Abd Latiff,1997:215)

3.2 อัล-วะซาเราะห์ (al-Wazarah)
[12]
หลังจาก อะบู อับบาส แห่งราชวงศ์อับบาสียะฮฺได้ขึ้นครองราชย์ ระบบการบริหารการปกครองแบบเปอร์เซียจึงถูกนำมาประยุกต์ใช้เป็นครั้งแรก ซึ่งส่วนหนึ่งก็คือการมีวะซีร โดยวะซีรคนแรก คืออะบู อะสะละมาฮฺ แต่อย่างไรก็ตามอำนาจของวะซีรไม่ได้กำหนดรูปแบบหรือหน้าที่ที่ชัดเจนในยุคแรก ต่อมาได้มีการปรับปรุงและพัฒนาสู่ความเจริญเรื่อยๆ จนถึงยุคเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด ท่านจึงได้กำหนดอำนาจหน้าที่หลักของวะซีร ดังนี้
1. วะซีรมีหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือของเคาะลีฟะฮฺ
2. วะซีรมีหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแทนเคาะลีฟะฮฺในด้านการบริหารการปกครอง
3. วะซีรมีหน้าที่เป็นผู้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ต่างๆ เพื่อดูแลในการเก็บภาษี
4. วะซีรมีหน้าที่ดูแล กำกับในสองอำนาจ คือ อำนาจด้านการบริหารรัฐ และอำนาจด้านการสงคราม
นอกเหนือจากหน้าที่หลักดังกล่าว จะเป็นงานที่ได้รับคำสั่งโดยตรงจากเคาะลีฟะฮฺ และคอยให้ความช่วยเหลือเคาะลีฟะฮฺอย่างสม่ำเสมอ ( Hasan Ibrahim Hasan, 1983 : 257)
ด้วยอำนาจหน้าที่และตำแหน่งที่ใหญ่โตดังกล่าวทำให้บรรดาวะซีรของราชวงศ์อับบาสียะฮฺในยุคแรก รู้สึกไม่ค่อยสบายใจกับตำแหน่งและอำนาจหน้าที่ของตัวเอง จึงไม่ชอบให้เรียกชื่อตังเองว่า วะซีร
วะซีรคนแรกในราชวงศ์อับบาสียะฮฺที่ปฏิเสธการเรียกชื่อว่าเป็นวะซีร คือ คอลิด อิบนฺ บัรมัก ถึงกระนั้นการแต่งตั้งวะซีรก็ยังคงดำเนินมาเรื่อยๆ จนถึงยุคเคาะลีฟะฮฺฮารูน ท่านได้แต่งตั้ง ยะห์ยา อิบนฺ คอลิด อัลบัรมากีย์ เป็นวะซีรผู้ดำรงตำแหน่งวะซีรตัฟวีด (Ibn Khaldun, 1992 : 207 , Hasan Ibrahim Hasan, 1983 : 260)
อัลมาวัรดี ได้กล่าวในตำราของท่าน Ahkam al-Sultaniyah ว่า “ความแตกต่างระหว่าง
วะซาเราะห์ตัฟวีด( Wazarah Tafwid ) กับวะซาเราะห์ตันฟีส( Wazarah Tanfiz ) นั้นมี 4 ประการด้วยกัน คือ
1.วะซีรตัฟวีดมีอำนาจโดยตรงในการบริหารการปกครองราชอาณาจักรโดยไม่ต้องรอคำสั่งจากเคาะลีฟะฮฺ แต่ในทางกลับกันวะซีรตันฟีสต้องรอคำสั่งจากเคาะลีฟะฮฺเสียก่อน
2.วะซีรตัฟวีดมีอำนาจโดยตรงในการแต่งตั้งวะลีย์ตามแคว้นต่างๆ แต่วะซีรตันฟีสไม่มีอำนาจในการแต่งตั้งวะลีย์

3.วะซีรตัฟวีดมีอำนาจในการกำหนดเงินเดือนของทหารและค่าใช้จ่ายในการทำสงคราม
แต่วะซีรตันฟีสไม่มีอำนาจดังกล่าว
4.วะซีรตัฟวีดมีอำนาจในการกำหนดงบประมาณจากทรัพย์สินคลัง(บัยตุลมาล)ให้กับผู้บริหารราชการแผ่นดิน และให้จัดสรรต่อผู้ที่จำเป็นให้ความช่วยเหลือ (al-Mawardi, 1985 : 31)
ส่วนความแตกต่างทางด้านคุณสมบัติของผู้ที่จะรับตำแหน่งวะซีรตัฟวีดกับวะซีรตันฟีส มี 4 ประการด้วยกัน คือ
1.ผู้จะมาดำรงตำแหน่งวะซีรตัฟวีดต้องบรรลุนิติภาวะหรือเป็นผู้ที่มีอิสระภาพ แต่วะซีรตันฟีสไม่จำเป็นต้องบรรลุนิติภาวะหรือเป็นผู้มีอิสรภาพ
2.ผู้จะมาดำรงตำแหน่งวะซีรตัฟวีดต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในหลักการศาสนา แต่วะซีรตันฟีสไม่จำเป็นดังกล่าว
3.ผู้จะมาดำรงตำแหน่งวะซีรตัฟวีดต้องเป็นผู้มีประสบการณ์ในวิธีการสงคราม และการเก็บภาษี แต่วะซีรตันฟีสไม่จำเป็นดังกล่าว
4.ผู้จะมาดำรงตำแหน่งวะซีรตัฟวีดต้องนับถือศาสนาอิสลาม แต่วะซีรตันฟีสไม่จำเป็นดังกล่าว (Hasan Ibrahim Hasan, 1983 : 260)
วะซีรตัฟวีด ที่เป็นที่รู้จักและโด่งดังในยุคแรกของราชวงศ์อับบาสียะฮฺ คือ สายตระกูลบัรมัก ตลอดจนยุคเคาะลีฟะฮฺฮารูน อัรรอชีด ท่านได้แต่งตั้งยะห์ยา อิบนู คอลิด อัลบัรมัก เป็นวะซีรตัฟวีด และท่านกล่าวว่า “ ฉันได้มอบอำนาจดูแลปกครองประชาชาติให้แก่ท่าน เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระของฉันให้แก่ท่าน จงให้การตัดสินตามความเห็นของท่านที่ถูกต้อง ท่านจงดำเนินการและปฏิบัติหน้าที่อะไรที่ท่านเห็นว่าดี และจงห้ามในสิ่งที่ท่านเห็นว่าเลวร้าย และอธรรมต่อพระองศ์อัลลอฮฺ และท่านจงดำเนินการต่อไปตามที่ท่านคิดว่ามีประโยชน์ต่อประชาชาติทั้งปวง ” (al-tabari, 1987 : 619) และท่านได้มอบตราเคาะลีฟะฮฺต่อวะซีร ซึ่งแสดงว่าอำนาจหน้าที่เป็นของวะซีรในการดำเนินกิจการต่างๆทั่วราชอาณาจักร (Hasan Ibrahim Hasan, 1983 : 60) จากหลักฐานดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าระบบการปกครองของเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีดนั้น เป็นระบบการปกครองแบบกระจายอำนาจโดยใช้วะซาเราะห์ตัฟวีด( WazarahTafwid ) ในการบริหาร
สำหรับอำนาจหน้าที่ของวะซีรทั้งสอง คือ
1. วะซีรตัฟวีด
มีอำนาจหน้าที่โดยตรงในการบริหารการปกครองราชอาณาจักรหลังจากได้รับมอบหมายเป็น
วะซีร และวะซีรต้องมีบุคลิกลักษณะที่ดี เช่น เป็นผู้ที่มีความรู้ในวิชาการ มีความยุติธรรม กล้าหาญ สมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ เป็นมุสลิมที่มีอิสรภาพ เป็นสุภาพบุรุษ เป็นผู้ที่มีความสามารถด้านการคลัง และมีประสบการณ์ในการทำสงคราม

วะซีรตัฟวีด มีหน้าที่รับผิดชอบดังนี้ คือ
กำหนดหรือแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ และถอดถอน
เก็บรวบรวมภาษีต่างๆ และกำหนดงบประมาณการใช้จ่ายต่างๆ
ให้ความสะดวกต่อทหารในการรบ
รับฟังข้อเรียกร้องต่างๆ
2. วะซีรตันฟีส
สำหรับวะซีรตันฟีสนั้นไม่มีอำนาจสั่งการ พวกเขาต้องได้รับคำสั่งและปฏิบัติตามคำสั่งของ
เคาะลีฟะฮฺ เพราะฉะนั้นวะซีรตันฟีสนั้นจะเป็นคนกลางระหว่างเคาะลีฟะฮฺกับประชาชาติ บางครั้งวะซีรตันฟีสสามารถแต่งตั้งวะลีย์ตามแคว้นต่างๆ และจัดเตรียมทหารเมื่อมีคำสั่งจากเคาะลีฟะฮฺ และคอยดูแลแก้ไขปัญหาความทุกข์สุขของประชาชาติ นอกจากหน้าที่ดังกล่าวแล้วขึ้นอยู่กับเคาะลีฟะฮฺโดยตรง( Muhammad Husain, 2001 : 83) ทั้งสองวะซีรดังกล่าวเปรียบเสมือนการบริหารราชการแผ่นดินในยุคปัจจุบัน ว่า วะซีรตัฟวีด คือ วะซีรมีอำนาจในการหนดนโยบาย และวะซีรตันฟีส คิอ ปลัดกระทรวงต่างๆมีหน้าที่ปฏิบัติตามนโยบายที่กำหนดไว้

การแต่งตั้งวะซีร
วะซีรแบ่งได้เป็น 2 ประเภท นั่นคือ วะซีรตัฟวีด (wazir peyerahan) และวะซีรตันฟีส (wazir perlaksanaan)
อะไรที่มีความหมายว่าวะซีร ตัฟวีดนั่นคือ ผู้นำประเทศแต่งตั้งวะซีรหนึ่งคนและมอบหมายหน้าที่ในทุกการงานที่เกี่ยวข้องกับ การบริหารต่างๆ โดยใช้หลักการสังเกตพร้อมกับวินิจฉัยซึ่งไม่เป็นการห้ามสำหรับวะซีรประเภทนี้ อัลลอฮฺได้กล่าวถึงเรื่องราวเกี่ยวกับนบีมูซาอลัยฮิสลาม
ความว่า
“ และทรงโปรดให้คนในครอบครัวของข้าพระองค์ เป็นผู้ช่วยแก่ข้าพระองค์ ได้โปรดให้เขาเพิ่มความเข้มแข็งแก่ข้าพระองค์ด้วย และให้เขามีส่วนร่วมในกิจการของข้าพระองค์ด้วย ” (ฎอฮา : 29-32)
ถ้าหากสิ่งนั้นทำได้แก่นบี ดังนั้น ผู้นำประเทศก็สามารถทำได้ยิ่งกว่าอีก ระหว่างนั้นทุกหน้าที่ความรับผิดชอบที่มอบหมายให้แก่ผู้นำประเทศเกี่ยวกับประชาชน แน่นอนยิ่งไม่สามารถทำได้ทั้งหมด ถ้าหากปราศจากผู้ช่วย ดังนั้นจึงเกิดวะซีรพร้อมๆกันในการบริหารซึ่งเป็นสิ่งที่ดียิ่งกว่าการทำงานคนเดียวและด้วยสิ่งนั้นสามารถที่จะหลีกเลี่ยงจากความผิดพลาดพร้อมกับความเกินเลย
เงื่อนไขที่ควรมีในการเลือกตั้งวะซีรก็เหมือนกับเงื่อนไขการเลือกผู้นำประเทศ ยกเว้นเงื่อนไขการสืบเชื้อสันติวงศ์ ก็เพราะว่าความคิดเห็นได้เกิดขึ้นพร้อมกับการวินิจฉัยถูกนำใช้ ด้วยเหตุดังกล่าวจำเป็นต้องมีคุณลักษณะผู้ที่ขยัน นอกจากนั้น ต้องมีเงื่อนไขเพิ่มเติมจากเงื่อนไขการเป็นผู้นำประเทศ นั้นก็คือ ต้องมาจากผู้ที่มีความสามารถเพื่อแก้ปัญหาที่ได้รับมอบหมายแก่เขา เกี่ยวกับสงครามและภาษีและ มากด้วยประสบการณ์พร้อมความรู้ที่กว้างขวางเกี่ยวกับทั้งสองด้าน เพราะว่าบางครั้ง เขาเองจะต้องรู้ลึกเกี่ยวกับ หน้าที่ดังกล่าว และบางครั้งต้องถูกทำหน้าที่แทน ด้วยเหตุดังกล่าวมันจะไม่ถูกเข้าจากหมู่คนที่มีความสามารถยกเว้นถ้ามีที่มาจากเขา และเหมือนกันเขาคงไม่ได้รู้ลึก จนกว่าเขาถูกทิ้งท้ายจากพวกเขา ด้วยการมีเงื่อนไขนี้ ดังนั้นหน้าที่วะซีรคงจะปฏิบัติและบริหารที่มีระเบียบมากขึ้น
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ได้กล่าวกันว่า เคาะลีฟะฮฺอัลมะมูน ได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับ การเลือกวะซีร, เขากล่าวว่า “ฉันอยากให้ผู้ที่ทำหน้าที่หรือทำภารกิจแทนฉันนั้นเป็น ผู้ชายหนึ่งคนที่เต็มไปด้วยคุณลักษณะที่ดี มีมารยาทที่บริสุทธิ์ และทำงานอย่างเที่ยงตรง เขาได้ถูกรับการอบรมที่ดีและมีประสบการณ์ ถ้าได้รับหน้าที่ความรับผิดชอบที่เป็นความลับ เขาก็จะทำมัน และถ้าหน้าที่ที่เขาได้รับนั้นยิ่งใหญ่เขาก็สามารถดำเนินการนั้นได้ ความอดทนของเขาทำให้เขาเงียบ ความรู้จะสอนเขา สำหรับเขาเพียงพอแล้วในระยะเวลาที่สั้น ไม่ต้องการความหรูหราฟุ่มเฟือย มีอำนาจการปกครอง แต่ควรให้ความเป็นอิสระแก่ผู้พิพากษา ให้เกียรติอูลามาฮฺ พร้อมกับเข้าใจนักฟิกฮฺ ถ้าเขาได้ความดี เขาก็ชูโกร ถ้าเขาถูกทดสอบด้วยความเลวร้ายเขาก็อดทน เขาไม่ขายโชคชะตาวันนี้ เพื่อความทุกข์ในวันพรุ่งนี้ เขาสามารถที่จะทำให้หัวใจผู้ชายอ่อนนุ่มได้ด้วยลิ้นของเขาที่เขาได้กล่าวและพูดออกมาและเป็นคำพูดที่น่าสนใจ”
คุณลักษณะที่กล่าวมานั้น เคยมีการรวบรวมโดยนักประพันธ์ในบทประพันธ์ของพวกเขา ได้บรรยายถึงคุณลักษณะต่างๆที่พึงมีของบรรดาวะซีร,บางส่วนของรัฐบาลอับบาซียะฮฺ
ความว่า
การสังเกตหรือการมองเพียงพริบตาเดียวและความคิดเหมือนกัน ทั้งที่คนอื่นคิดไม่ออก เขาเข็มแข็งและผ่อนคลาย ถึงแม้ว่าคนอื่นๆอ่อนแอ ที่จะเผชิญกับมัน อกของเขาผ่ายผ่อนคลายที่จะเผชิญกับทุกสิ่งที่เลวร้าย ในขณะที่อกคนอื่นนั้นอ่อนแอเกินกว่าที่จะเผชิญกับความเลวร้ายดังกล่าวได้
คุณลักษณะเช่นนี้ ถ้ามีอยู่ในตัวผู้ปกครอง และแน่นอนว่าส่วนน้อยเท่านั้นที่จะมีสิ่งนี้ ดังนั้น การมองในแง่ดี จะสัมผัสได้อย่างทั่วถึงและสิ่งที่มอบหมายเพื่อดูแลพร้อมกับหน้าที่การงานก็จะสมบูรณ์ ถ้าคุณลักษณะเช่นนี้ไม่เกิดขึ้น แน่นอนการบริหารก็จะไม่สมกับที่ปรารถนา ถ้าหากสิ่งนี้ไม่เป็นเงื่อนไขการบริหารที่ผสมกับหลักการศาสนา เพราะความสำคัญของประชาชาติอิสลามพร้อมกับความสมดุลของศาสนาได้แขวนไว้กับเงื่อนไขดังกล่าว
เมื่อไหร่ที่เงื่อนไขดังกล่าวสมบูรณ์หรือได้ผู้ที่สมควรจะดำรงต่ำแหน่งนั้นแล้ว ดังนั้นเพื่อความแน่นอนจะต้องมีการกล่าวคำสัญญา(อากัต)ที่มาจากผู้นำประเทศเป็นคนกล่าวแต่งตั้งการเป็นวะซีร เพราะเสมือนเป็นส่วนหนึ่งในการแต่งตั้งที่ต้องมีการกล่าวคำสัญญา(อากัต) และการอากัตจะไม่สมบูรณ์ถ้าปราศจากคำกล่าวที่ชัดเจน ถ้าสิ่งนั้นได้เกิดด้วยความคิดเห็นและได้ถูกอนุญาตแก่เขา ดังนั้นการแต่งตั้งนั้นจะไม่สมบูรณ์ถ้ามองในแง่กฎหมาย ถึงแม้จะเป็นแบบลายลักษณ์อักษร(ส่วนใหญ่)นับว่าได้เกิดขึ้นโดยฝ่ายที่แต่งตั้งมัน การแต่งตั้งจะไม่นับว่าสมบูรณ์จนกว่าจะถูกกล่าวโดยคำพูดด้วย 2 เงื่อนไข คือ
A. ความคิดเห็น (การปฏิบัติ)โดย วิธีที่คลอบคลุม
B. ผู้แทน (ที่แทนเขา)
ถ้าหากว่าการแต่งตั้งที่กล่าวออกมานั้นอยู่ในขอบเขต โดยส่วนใหญ่เท่านั้น ปราศจากผู้แทน ฉะนั้นแน่นอนด้านความสามารถก็จะจำกัด และเขาจะไม่ถูกเลือกเป็นวะซีร ถ้าเขาคิดว่าจะละเมิดสิ่งนั้นในการเป็น “ผู้แทน” ฉะนั้นมันก็จะเกิดความเท่าเทียมกันเกี่ยวกับอะไรก็ตามที่ผู้นำประเทศต้องการ คนที่จะแต่งตั้งนั้นเพื่อ เป็นการแทนเขา ทั้งในหน้าที่ทั่วไปหรือหน้าที่เฉพาะหรือแม้กระทั่งรูปแบบ “การมอบหมาย” ด้วยเหตุนี้การแต่งตั้งวะซีรก็จะไม่เกิดขึ้นอีกด้วยถ้านำมารวมกันระหว่างทั้งสองนั้น ดังนั้น ก็จะเกิดการแต่งตั้งพร้อมกับความสมบูรณ์ในตัวของมัน
สรุปว่า ระหว่างทั้งสองนี้ เกิดขึ้นได้ใน 2 รูปแบบ อันดับแรก ด้วยกฎระเบียบการกล่าวแต่งตั้งที่เฉพาะเจาะจง ดังเช่นที่เขากล่าวว่า “ฉันเลือกคุณด้วยอะไรที่มีในตัวฉันเพื่อเป็นตัวแทนฉัน” ด้วยเหตุนี้จึงได้เกิดการแต่งตั้งวะซีรเพราะมันได้รวมกันระหว่างการกระทำ โดยวิธีการส่วนใหญ่และผู้แทนเพื่อ bertindak ถ้าเขากล่าวว่า “จงแทนฉันด้วยอะไรที่มีในตัวฉัน” ดังนั้นด้วยการกล่าวนี้ มีความเป็นไปได้ว่ามันได้ถูกเลือกเป็นวะซีรแล้ว เพราะมันได้สรุปแล้วในคำกล่าวที่ถูกกล่าว 2 ประเภท นั้นคือpelaksananโดยวิธีที่ครอบคลุมและผู้แทน แต่เป็นไปได้อีกเหมือนกันว่าคำดังกล่าวจะไม่เกิดการแต่งตั้งวะซีร เพราะคำกล่าวนั้นคล้ายเป็นการอนุญาตที่ต้องเริ่มก่อน โดย “การกล่าวแต่งตั้งและอนุญาตในกฎหมายแล้วการกล่าวแต่งตั้งใช้ไม่ได้ถ้าการกล่าวแต่งตั้ง นั้นมุ่งที่จะอนุญาตอย่างเดียว แต่ถ้าเขากล่าวว่า “ฉันเลือกคุณเป็นผู้แทนฉันในทุกเรื่องที่ฉันมีต่อฉัน” ดังนั้นเขาได้ถูกเลือกเป็นวะซีรแล้ว เพราะเขาได้หลีกเลี่ยงจากการที่เขาจะอนุญาตเพียงอย่างเดียว เมื่อกล่าวอย่างเป็นรูปธรรมการกล่าวแต่งตั้ง ถ้าเขากล่าว “จงทำหน้าที่ที่ฉันมี” ดังนั้น คำกล่าวนี้ก็จะไม่เป็นการเลือกวะซีรเพราะคำกล่าวนั้นประกอบด้วยความเป็นไปได้ว่า เพื่อความคลอบคลุมหรือทำหน้าที่ที่ได้กล่าวมาในเรื่องนี้การกล่าวแต่งตั้งไม่เกิดขึ้นด้วยคำกล่าวที่ประกอบด้วยความเป็นไปได้ด้วยสิ่งที่สามารถปฏิเสธความเป็นไปได้นั้น
ในประการนี้ สิ่งที่ได้กระทำโดยเคาะลีฟะฮฺและผู้บริหารมีหลายเชื้อชาติในการเลือกตั้งทั่วไป ไม่สามารถนำมาคิดได้ ในการเลือกตั้งเฉพาะ ที่มีเงื่อนเงื่อนไขที่กดดันนี้ เพราะสาเหตุ 2 ประการ ก็คือ
a. เพราะความเคยชินที่พวกเขามี ด้วยความที่เขาคิดว่าเพียงพอแล้วกับคำพูดที่สั้นและนี้ก็เป็นเหมือนความเคยชินของพวกเขาและเป็นไปได้เช่นกันที่พวกเขาให้ความสำคัญเพื่อกล่าวมันออกไป เพียงพอสำหรับเขาด้วยการใช้เงื่อนไข อย่างไรก็ตามในทางกฎหมาย เขาไม่ถูกใช้กับคนที่มี ลีลาการพูดที่สมบูรณ์แบบ ดังนั้นอูรุฟ (ความเคยชิน)ของพวกเขาถูกออก หรือ ขัดแย้งกับกฎหมาย
b. เนื่องจากพวกเขาไม่ค่อยกระทำการอากัตมากนัก การแต่งตั้งจนกระทั่งได้กล่าวเป็นสัญลักษณ์การเตรียมพร้อมของพวกเขาเพื่อแบกรับภาระดังกล่าวเพียงพอแล้วด้วยคำกล่าวที่สั้นๆ เพื่อชี้เป้าหมายที่ได้วางไว้ ปราศจากการชี้นำเพียงอย่างเดียวดังเช่นสิ่งหนึ่งที่เป็นไปได้นี้เป็นอีกหนึ่งคำอธิบาย
คำอธิบายที่สอง คือ เนื่องจากเขารู้ตำแหน่ง ดังนั้นดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั่นคือเสมือนดั่งที่ เขาได้กล่าว “ฉันเลือกคุณเป็นวะซีร ด้วยการรวมเพื่อผู้แทนคุณ” ดังนั้นเขาได้ถูกเลือกเป็นวะซีร เพราะมันได้รวมมือกันระหว่างการให้ความสำคัญที่ครอบคลุมที่มีในตัวเขา นั่นคือ เมื่อไรที่เขากล่าวว่า “ฉันเลือกคุณเป็นวะซีร” เพราะความสำคัญของวะซีรนั้นมีความครอบคลุม เช่นเดียวกันเขาได้รวมผู้แทน เมื่อไรที่เขากล่าวว่า ด้วยการรวมแก่ผู้แทนคุณ ด้วยเหตุนั้นเขาได้ถูกกล่าวออกจากปากวะซีร ตันฟีส(วะซีรperlaksanaan ) แก่วะซีรตัฟวีด(วะซีร ตัฟวีด)
ถ้าเขากล่าวว่า “ฉันมอบหมายหน้าที่วะซีรของฉันแก่คุณ” เมื่อมีความเป็นไปได้ถูกแต่งตั้งเขาเป็นวะซีรหรือเขากล่าวว่า “การมอบหมาย” ในนั้นเมื่อเขาถูกปลดออกจากวะซีรตันฟืส (วะซีร perlaksanaan) และได้เป็นวะซีรตัฟวีด(วะซีร ตัฟวีด) มีความเป็นไปได้เหมือนกันว่าคำที่ได้กล่าวนั้นไม่เกิดการเลือกตั้งเป็นวะซีรแก่เขา เพราะ การมอบหมายแทนคล้ายกันระหว่างกฎระเบียบวะซีรแบบดังกล่าว ดังนั้นจำเป็นแก่เขาที่ต้องกล่าวคำแต่งตั้งที่ต้องมาก่อนนั้น
ในเรื่องนี้ ความเป็นไปได้อันดับแรกนั้นสำคัญที่สุด บนพื้นฐานที่ว่านั้น ถ้าหากว่าเขาได้กล่าวว่า “พวกเรามอบหมายแก่ท่านทำหน้าที่เป็นวะซีร” ดังนั้นก็ย่อมเป็นการสมบูรณ์แล้ว เพราะบรรดาผู้ปกครองปกติแล้วให้คำนิยามตัวของพวกเขาด้วยคำรวม และพวกเขาได้ทำให้มันเป็นเรื่องใหญ่บางสิ่งบางอย่างแก่พวกเขา ด้วยเหตุดังกล่าว คำกล่าวที่ว่า “ พวกเราได้มอบอำนาจแก่ท่าน มีความหมายว่า “ฉันได้มอบอำนาจแก่ท่าน” ในระหว่างคำพูดนั้น “หน้าที่วะซีร” เป็นการกล่าวทดแทน “หน้าที่วะซีรของฉัน” มันเป็นเหมือนกับคำพูดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและสั้นที่สุด ที่บรรยายถึงการแต่งตั้งเป็นวะซีรตัฟวีด (วะซีร ตัฟวีด) ถ้าคิดว่าคนที่ไม่ใช่ผู้บริหารให้คำนิยามตนเองของพวกเขาด้วยคำพูดรวมๆพวกเราพร้อมกับหลีกเลี่ยงคำพาดพิง (หน้าที่วะซีรของฉัน) ดังนั้นไม่มีการเกิดฮูกุ่ม คำพูดเดียว และคำพูดที่พาดพิงเพราะมันไม่เท่าเทียมกันด้วยความเคยชิน ที่ดำเนินไป
แต่ว่า ถ้ากล่าวว่า “ฉันได้แต่งตั้งคุณ(ทำหน้าที่เป็นวะซีรแทนฉันหรือ พวกเราได้แต่งตั้งคุณเป็นวะซีร ดังนั้นคำพูด ดังกล่าวไม่ได้ถูกแต่งตั้งเขาเป็นวะซีรตัฟวีด นอกเสียจากได้ชี้แจงสิทธิที่มอบหมายแก่เขา นี้ก็เหมือนกับที่อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ ขณะที่เล่าเรื่องเกี่ยวกับท่านนบีมูซาอาลัยฮิสลาม
“และทรงโปรดให้คนในครอบครัวของข้าพระองค์ เป็นผู้ช่วยแก่ข้าพระองค์ ได้โปรดให้เขาเพิ่มความเข้มแข็งแก่ข้าพระองค์ด้วย และให้เขามีส่วนร่วมในกิจการของข้าพระองค์ด้วย”( ฏอฮา 29-31)ในอายะหฺดังกล่าว มันไม่ได้จำกัดหน้าที่แก่วะซีร แต่ว่าจะเชื่อมโยงด้วยกับการสร้างอำนาจที่ที่เข้มแข็งพร้อมกับเป็นปฏิปักษ์ในหน้าที่การงานนั้น เพราะในเรื่องนี้แน่นอนบางครั้งอาจจะมีความขัดแย้งกันในเรื่องที่มาของคำว่า วะซีรนั้น
มีที่กล่าวกันว่าวะซีรมีที่มาจากคำว่า Al-wizr ที่มีความหมายว่า ภาระหน้าที่ เพราะว่ามันทำให้ภาระหน้าที่ผู้ปกครองนั้นเบาลง มีอีกเช่นกันที่ว่ามาจากคำว่าAl-wizr ที่มีความหมายว่า ที่หลบหลีก ยกตัวอย่างคำตรัสของอัลลอฮฺ
كلا لاوزر
ความว่า “เปล่าเลย ไม่มีที่พึ่งพิงดอก” (ซูเราะฮฺ กียามะฮฺ :11)
เขาได้พูดถึงเรื่องดังกล่าวเพราะบรรดาผู้ปกครอง ,การหลบหลีกต่อความคิดเห็นพร้อมกับการช่วยเหลือของเขา มีอีกเช่นกันที่ว่า มันได้ถูกเอามาจากคำว่า al-wazr มีความหมายว่า “หลัง” เพราะบรรดาผู้บริหารปกครองได้รับพลังอำนาจจากวะซีรดังกล่าว ก็เหมือนกันกับร่างกายได้รับพลังงานจาก หลัง ไม่ว่าคำดังกล่าวนั้นจะมาจากที่ใดก็ตาม ดังนั้นไม่มีคำใดเลยที่มาจากคำดังกล่าวที่ให้ความชัดเจนเกี่ยวกับ อำนาจ



Fasal/ Ceraian
เมื่อไรที่มีการแต่งตั้งวะซีร ตัฟวีด (วะซีรpeyerahan) ดังนั้นควรที่จะมองดูถึงการแต่งตั้งถ้าคิดว่ามันเป็นวิธีที่ครอบคลุม, ฉะนั้นควรที่จะนำเอามาคิด 2 เงื่อนไข และด้วยความแตกต่างในการแต่งตั้งผู้นำประเทศจากการแต่งตั้งวะซีร
เงื่อนไขที่ 1 เกี่ยวกับการแต่งตั้งวะซีร นั้นก็คือ สมควรอย่างยิ่งที่จะต้องมีการบอกกล่าวแก่ผู้นำประเทศ ทุกอย่างที่ทำและการทำการแต่งตั้ง เพื่อว่ามันจะไม่memonopoliอำนาจ เหมือนกับผู้นำประเทศ
เงื่อนไขที่ 2 เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับผู้นำประเทศ นั้นก็คือ เขาควรที่จะควบคุมการกระทำของวะซีรพร้อมกับตรวจสอบการบริหารการปกครองของเขา ด้วยจุดประสงค์เพื่อการยอมรับในสิ่งใดที่ถูกต้อง พร้อมกับการแก้ไขปรับปรุงในสิ่งที่ผิดพลาด เพราะ pegngelolaan ประชาชนอยู่ภายใต้การปกครองของเขา
ด้วยความสัมพันธ์ดังกล่าวนี้ วะซีรนั้นเสมือนได้ เป็นดั่งผู้พิพากษาและสามารถแต่งตั้งผู้พิพากษา เช่นเดียวกับผู้นำประเทศที่สามารถแต่งตั้งผู้พิพากษาได้ นี่ก็เป็นเพราะว่าเงื่อนไขการบริหารการปกครองของเขาเป็นที่ยอมรับ เช่นเดียวกันเขาสามารถทำการรับฟ้อง การทารุณกรรมและเขายังสามารถแต่งตั้งผู้ช่วยเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวอีกด้วย เพราะเงื่อนไข การฟ้อง การทารุณกรรมแก่เขานั้นเป็นที่ยอมรับ เช่นเดียวกันเขาสามารถเป็นหัวหน้าการทำสงคราม(ญีฮาด) และเช่นเดียวกันเขาสามารถทำการตัดสินใจ และสามารถแต่งตั้งผู้ช่วยเพื่อดำเนินการในเรื่องนั้น เพราะเงื่อนไขการคิด การบริหารที่มีแก่เขาเป็นที่ยอมรับ
ทุกอย่างที่ใช้ได้และสามารถทำได้โดยผู้นำประเทศ แน่นอนวะซีรก็สามารถทำได้เช่นกันยกเว้น 3 ประการนั้นคือ
1. ผู้นำประเทศสามารถทำการกำหนดว่าที่ผู้นำประเทศหลังจากเขา ในขณะที่วะซีรไม่สามารถทำได้
2. ผู้นำประเทศสามารถmeniadakanคนจำนวนมากจากตำแหน่งผู้นำประเทศในขณะที่วะซีรไม่สามารถทำได้
3. ผู้นำประเทศสามารถปลดตำแหน่งของพวกเขาที่ได้รับเลือกโดยวะซีร ในขณะที่วะซีรไม่สามารถทำการปลดตำแหน่งพวกเขาที่ได้รับการตางตั้งโดยผู้นำประเทศ
นอกจากทั้ง 3 ประการนี้แล้ว ดังนั้นบนพื้นฐานของการมอบหมายที่ได้ให้แก่เขา วะซีรสามารถทำได้และอำนาจนั้นก็ใช้ได้
ถ้าหากคิดว่าอะไรที่ผ่านโดยวะซีรนั้นได้ถูกตีกลับ หรือถูกปฏิเสธโดยผู้นำประเทศ และถ้าคิดว่ามันไปกระทบต่อกฎระเบียบที่ชี้ขาดตามความคิดเห็นของเขาหรือเกี่ยวข้องกับงานด้านการเงินที่ชี้ขาดในที่ถูกต้อง ดังนั้นไม่อนุญาตให้ยกเลิกกฎหมายที่ได้ใช้ไปแล้ว บนพื้นฐานคำวินิจฉัยนั้น และไม่ควรทีจะกลับคำตัดสินเกี่ยวกับการเงินที่ตัดสินชี้ขาดไปแล้วได้ บนพื้นฐานความคิดเห็นนี้ แต่ถ้าคิดว่ามันเกี่ยวกับการเลือกตั้งผู้บริหารที่ได้ถูกแต่งตั้ง พร้อมกับสามารถเปลี่ยนที่ที่ต้องการฝากทหารตามความเห็นของเขา พร้อมกับการตรวจสอบการทำสงคราม โดยวิธีที่ lebih wajarนี่ก็เป็นเพราะว่าผู้นำประเทศสามารถหลีกห่างจากประการดังกล่าวจากตัวของเขาเอง ฉะนั้นแน่นอนมัน. lebih wajarสามารถหลบหลีกอะไรที่ชี้ขาดโดยวะซีร
คิดดูแล้วผู้นำประเทศเลือกเจ้าหน้าที่มาดำรงตำแหน่ง ส่วนวะซีรแต่งตั้งอีกคนหนึ่งในหน้าที่เดียวกันดังนั้นในกรณีนี้ ก็ลองดูว่าใครเป็นคนเลือกก่อน ซึ่งก็คือผู้นำประเทศที่เป็นผู้แต่งตั้งก่อน ดังนั้นการแต่งตั้งดังกล่าวนั้นก็ย่อมใช้ได้และให้ยกเลิกคนที่เลือกโดยวะซีร ถ้าหากว่าการเลือกที่ทำโดยวะซีรนั้นเกิดขึ้นก่อนและผู้นำประเทศก็มีส่วนรับรู้ในเรื่องดังกล่าว ดังนั้นการเลือกนั้นจะได้คนอื่น หมายความว่าปลดคนแรกออกพร้อมกับเอาคนที่ 2 ดังนั้นการเลือกตั้งคนที่ 2 ขึ้นมาแสดงว่าใช้ได้ ในขณะที่การเลือกคนแระนั้นเป็นโมฆะ แต่ถ้าผู้นำประเทศไม่ทราบถึงการเลือกที่กระทำโดยวะซีร ดังนั้นการเลือกที่กระทำโดยวะซีรนั้นยังคงเดิมและถือว่าใช้ได้ อย่างไรก็ตามอันที่ 2 ใช้ไม่ได้ เพราะการเลือกคนที่ 2 นั้นคนแรก ไม่รู้ถึงการเลือกดังกล่าว ไม่มีความหมายถึงการหลุดออกจากคนแรก
ในเรื่องนี้ ตามความคิดเห็นในบางส่วนของบรรดาซอฮาบะฮฺ อิหม่านชาฟีอี รอดิยัลลอฮูอัลฮู ถึงการเลือกตั้งคนแรกนั้นไม่เป็นการหลุดออกจากตำแหน่งนั้น ถึงแม้ว่าผู้นำประเทศรู้ถึงการเลือกตั้งนั้น ถ้าเขาเลือกคนอื่น นอกเสียว่าเขาหลุดออกจากตำแหน่งด้วยคำกล่าว (คำสั่ง) ผู้นำประเทศและไม่ใช่ด้วยการที่เขาเลือกอื่น บนพื้นฐานนั้นคิดว่าหน้าที่ที่ถูกเลือกนั้นสามารถร่วมมือกันได้ ดังนั้นการเลือกของทั้งสองนั้นก็ย่อมใช้ได้ และพวกเขาร่วมมือกันทำหน้าที่ในการงานที่พวกเขาทำ ถ้าคิดว่าการทำหน้าที่ร่วมกันใช้ไม่ได้ ดังนั้นการเลือกตั้งทั้งสองนั้น ก็ต้องขึ้นอยู่กับว่าการปลดคนใดคนหนึ่งออกจากพวกเขา พร้อมกับแต่งตั้งตำแหน่งที่มั่นคงให้แก่คนอื่น ถ้าสิ่งนั้นได้ตัดสินโดยผู้นำประเทศดังนั้นเขาสามารถที่จะปลดตำแหน่งใครก็ได้ที่เขาต้องการแต่ถ้าเป็นความต้องการของวะซีรดังนั้นเขาสามารถทำได้แค่ปลดตำแหน่งคนที่ถูกเลือกดังกล่าวปลดตำแหน่งคนที่ถูกเลือกโดยผู้นำประเทศ
Fasal/ Ceraian
เกี่ยวกับวะซีรตันฟีสนั้น กฎมีอยู่ว่าเบากว่าและเงื่อนไขก็น้อยกว่า เพราะหน้าที่ดังกล่าวมีขอบเขตแก่อะไรก็ตามที่มีการชี้ขาดโดยผู้นำประเทศพร้อมด้วยผู้บริหารปกครอง วะซีรนั้นเป็นดั่งperantaranระหว่างผู้นำประเทศกับประชาชน และนำไปใช้ในสิ่งที่ชี้ขาดพร้อมกับทำการตัดสินใจที่ได้เอามาระหว่างการแต่งตั้งที่ทำการเคลื่อนไหวทหารที่พร้อมสมบูรณ์ แก่ผู้นำประเทศในประการที่สำคัญพร้อมกับเหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นเพื่อรอคำสั่งจากเขา เป็นเสมือนว่าวะซีรนี้ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยในการปฏิบัติหน้าที่และไม่ใช่มีอำนาจแก่เขาและเช่นกันไม่ได้ถูกเลือกเพื่อmenjawatnya ถ้าเขาถูกขอความคิดเห็นดังนั้นจำเป็นที่เขาจะต้องให้แก่วะซีร ถ้าเขาไม่ได้ถูกขอให้ตามความพร้อมให้ความคิดเห็นดังนั้นเขาเป็นเหมือนคนperantaran atau utusan
วะซีรลักษณะนี้ ไม่จำเป็นต้องเลือกอย่างเป็นทางการ ซึ่งสามารถทำได้เพียงการอนุญาตจากผู้นำประเทศ ด้วยเหตุดังกล่าวผู้ที่จะทำหน้าที่ดังกล่าวไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ที่มีอิสรภาพ หรือเป็นผู้ที่มีความรู้ เพราะเขาไม่สามารถทำการบริหารเพียงลำพังและเช่นกันเขาไม่สามารถทำการแต่งตั้งใครก็ตามที่ต้องการแก่เงื่อนไขอิสรภาพ เช่นเดียวกัน ไม่อนุญาตให้แก่เขาในการปกครอง ที่มีความเหมาะสม “วิชาความรู้” ขอบข่ายหน้าที่ของเขามีเพียง 2 ประการ คือ
1.เพื่อเป็นสื่อกลางแก่ผู้นำประเทศ
2.เพื่อช่วยผู้นำประเทศในการดำเนินงาน ดังนั้นมันเพียงพอแล้วกับ 7 เงื่อนไข นั้นคือ
2.1 มีอามานะฮฺ เพื่อว่าเขาจะไม่ทำลายอามานะฮฺที่ได้ให้แก่เขาและไม่โกหกในสิ่งที่เขาขอให้ตักเตือนเกี่ยวกับสิ่งนั้น
2.2 คำพูดของเขาจริง จนกระทั่งมีความน่าเชื่อถือในสิ่งที่เขาบอกและในสิ่งที่เขาห้ามคนอื่นก็จะทำตาม
2.3ไม่มีคุณลักษณะโลภ จนกระทั่งเขาไม่กล้าที่จะคอรัปชั่น ในช่วงเวลาที่เขาปฏิบัติหน้าที่และเขาไม่ถูกหลอก
2.4 ไม่เป็นศัตรูกับคนหมู่มาก เพราะการทะเลาะจะขัดขวางความยุติธรรมและทำลายความรู้สึกเห็นด้วย
2.5 ผู้ชาย เพราะหน้าที่นั้นเป็นพยานแก่ผู้นำประเทศและพยานแก่เขาเช่นกัน
2.6 เก่งและ ฉลาด จนกระทั่งเขาไม่หลงผิดง่ายและเกิดความสับสน เพราะความสับสนเทียบไม่ได้กับความมั่นคงเกี่ยวกับเรื่องนี้ มูฮัมมัด บิน ยัสดัด วะซีรแก่เคาะลีฟะฮฺ มะฮฺมุนได้อธิบายถึงองค์ความรู้ดังกล่าวโดยชัดเจนในบทประพันธ์ของเขา เขาได้กล่าวว่า
ความว่า ความรู้ที่ถูกต้องคือ วิญญาณและหัวใจของคำพูดคนๆหนึ่ง ความรู้ที่ผิดๆจะนำพาแต่ความเสียหาย ถ้าหัวใจของคนๆหนึ่งนั้นลืมที่จะคิดถึงคำพูดของเขานั้น ดังนั้นหน้าที่ความรับผิดชอบ ประชาชนก็จะถูกละเลยไม่สนใจ
2.7ไม่ใช่จากกลุ่มผู้ที่ตามนัฟซูของตัวเองที่เป็นสาเหตุให้เขาkesamaranจากความถูกต้องเพราะการที่ตามอารมณ์ใฝ่ต่ำนำพาสู่ความหลอกลวงและเป็นสาเหตุแก่เขาระหว่างความจริงกับความเท็จเพราะการตามนัฟซู เป็นสาเหตุให้เกิดความรู้สึกคนๆถูกหลอกพร้อมกับถูกปิดบังจากความเป็นจริง
รอซูลุลอฮฺซอลลัลอฮฺฮูอาลัยฮิวัสซัลลัมแคยกล่าวไว้ว่า
ความว่า
“ ความรักท่านต่อสิ่งๆหนึ่งสิ่งใด จะทำให้ท่านหูหนวกและตาบอด” บอกโดย อาบูดาวูด
ด้วยโอกาสนี้ มีนักกวีคนหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า
ความว่า พวกเรา เมื่อไหร่ที่ทางนำ ความต้องการลดลงหรือขาดไป และคนพร้อมที่จะฟังคำพูดของคนอื่น เมื่อไหร่ที่พวกเขานั้นสามารถควบคุมด้วยหัวใจของพวกเขา ดั้งนั้นพวกเราจงตัดด้วยความยุติธรรม พวกเราไม่ได้เปลี่ยนสิ่งที่เป็นเท็จให้เป็นสิ่งที่ถูกต้องและพวกเราไม่ได้ห้ามสิทธิด้วยความเท็จ พวกเราเป็นห่วงว่าความคิดของเราจะถูกครอบงำด้วยนัฟซู ด้วยเหตุนั้นพวกเราแบกรับภาระเหมือนกับที่คนอื่นเคยแบกรับมัน
Sekiranyaวะซีรนั้นถูกชวนตามความพร้อมกับการให้ความคิดเห็น ดังนั้นเขาจำเป็นในเงื่อนไขที่ 8 นั่นคือ เขาต้องการคนๆหนึ่งที่มีประสบการณ์ที่เขาสามารถให้ความคิดเห็นที่ jitu พร้อมทั้งเป็นผู้จัดการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง เพราะคนที่มีประสบการณ์ สามารถมองเห็นถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้น แต่คิดว่าเขาไม่ถูกขอให้ตามพร้อมในการให้ความคิดเห็น ดังนั้นมันไม่จำเป็นแก่เงื่อนไขดังกล่าว ถึงแม้ว่าคุณลักษณะดังกล่าวจะมีส่วนเกี่ยวข้องกันมาก
ตำแหน่งนี้ไม่ควรที่จะให้ผู้หญิง ถึงแม้ว่าผู้หญิงเหล่านั้นได้รับการยอมรับเป็นผู้ที่มีในการความรู้ด้านการบริหารการปกครองก็ตาม บนพื้นฐาน หะดีษของท่านรอซูลุลอฮฺซอลลัลอฮฺฮูอาลัยฮิวัสซัลลัม
ความว่า “ ไม่ประสบความสำเร็จแก่ชนกลุ่มหนึ่ง ถ้าหากหน้าที่การงานของเขาถูกมอบหมายแก่ผู้หญิง ”
เช่นเดียวกัน มันต้องใช้ความคิดพร้อมกับแนวคิดที่มั่นคง ที่ไม่สามารถหาดูได้จากผู้หญิง ตำแหน่งนี้เป็นสาเหตุให้พวกเขาถูกบังคับให้กระทำสิ่งที่ได้ห้ามแก่ผู้หญิงดำเนินการปฏิบัติหน้าที่นั้น
วะซีรนั้นมาจากคนกาฟิรได้ ถึงแม้ว่าวะซีร ตัฟวีด ห้ามคนกาเฟรรับตำแหน่งนั้น
มีความแตกต่างกันระหว่างทั้งสองวะซีร(ตัฟวีดและตันฟีซ) มีพื้นฐานความแตกต่างระหว่างด้านอำนาจของทั้งสอง นั่นก็มีพื้นอยู่ 4 ประการด้วยกัน
1.วะซีรตัฟวีด สามารถทำการบริหารการปกครองและสามารถรับคำฟ้องเกี่ยวกับการทารุณกรรม ในขณะที่ วะซีรตันฟีสไม่มีอำนาจในการกระทำดังกล่าว
2.วะซีรตัฟวีด สามารถแต่งตั้งรัฐบาล บนพื้นฐานความคิดเห็นของเขาเอง และนี้ไม่สามารถกระทำได้โดยวะซีรตันฟีส
3.วะซีรตัฟวีด สามารถตรวจสอบ การส่งทหาร บนพื้นฐานความคิดเห็นของเขาเองพร้อมกับ สามารถออกคำสั่งในการสงคราม แต่วะซีรตันฟีสไม่สามารถกระทำการใดได้
4.วะซีรตัฟวีดสามารถกำหนดกิจการการเงิน บัยตุลมาล พร้อมกับมอบหมายอะไรที่จำเป็นที่ต้องสนองแก่ประชาชน แต่วะซีรตันฟีสไม่สามารถกระทำการใดได้
จากความแตกต่างระหว่างทั้งสองวะซีร ใน 4 ประการข้างต้นมีความแตกต่างอีกจาก 4 เงื่อนไขจากวะซีรทั้ง 2 ชนิด นั่นคือ
1.เงื่อนไขเป็นผู้ที่มอิสรภาพที่ถูกใช้แก่วะซีรตัฟวีดและเงื่อนไขนี้ไม่ถูกใช้แก่วะซีรตันฟีส
2.เงื่อนไข อิสลามที่ถูกใช้แก่วะซีรตัฟวีดและไม่ถูกใช้แก่วะซีรตันฟีส
3.มีความรู้ในกฎหมายชารีอะฮฺ ซึ่งเป็นเงื่อนไขแก่วะซีรตัฟวีดและไม่ได้เป็นเงื่อนไขแก่วะซีรตันฟีส
4. รู้เกี่ยวกับอิสลามและภาษี(การเงิน) ซึ่งจำเป็นแก่วะซีรตัฟวีดและไม่จำเป็นแก่วะซีรตันฟีส
จากพื้นฐานนั้นเงื่อนไขการแต่งตั้งทั้ง 2 นี้มีความแตกต่างกันใน 4 ประการ เช่นเดียวกับหน้าที่ของพวกเขา มีความแตกต่างใน 4 ประการ นอกจากนี้แล้ว พวกเขามีสิทธิและเงื่อนไขที่เหมือนกัน





Fasal/ Ceraian
ผู้นำประเทศหนึ่งคนสามารถที่จะแต่งตั้งวะซีรตันฟีสได้ 2 วิธีพร้อมกัน หรือแบบแยกแต่ไม่อนุญาตแก่เขาแต่งตั้งวะซีรตัฟวีด 2 คน โดยวิธีแบบพร้อมกันเพราะพวกเขามีอำนาจหน้าที่ครอบคลุมเช่นเดียวกันไม่อนุญาตแต่งตั้งผู้นำประเทศ 2 คน เพราะเป็นไปได้ เพราะว่าพวกเขาอาจมีการการสวนทางหรือขัดแย้งในการให้สัญญาในการแต่งตั้งพร้อมกับการปลดตำแหน่ง อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
ความว่า “ หากในชั้นฟ้าและแผ่นดินมีพระเจ้าหลายองค์ นอกจากอัลลอฮฺแล้ว ก็จะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างแน่นอน อัลลอฮฺพระเจ้าแห่งบัลลังก์ทรงบริสุทธ์ จากสิ่งที่พวกเขาเสกสรรปั้นแต่ง ” ( ซูเราะฮิอัล-อัมบียาต : 22)
ถ้าแต่งตั้งวะซีรตัฟวีด 2 คนดังนั้นในสถานการณ์นี้ การแต่งตั้งอาจเป็นไปได้ที่จะเอาอย่างใดอย่างหนึ่งจาก 3 รูปแบบนี้
1. มอบหมายแก่แต่ละคน ในด้านอำนาจที่ครอบคลุมทั้งนี้ใช้ไม่ได้จากพื้นฐานที่พวกเขาได้กล่าวก่อนหน้านี้ถ้านับว่าการแต่งตั้งทั้งสองนี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาพร้อมกัน ดังนั้นการแต่งตั้งของพวกเขาเป็นโมฆะ ถ้าหาดกอำนาจการแต่งตั้งคนใดคนหนึ่งจากพวกเขาเริ่มก่อนสิ่งอื่น ดังนั้นการแต่งตั้งคนที่ก่อนหน้านั้นเป็นอันใช้ได้ และการแต่งตั้งคนหลังจากนั้นเป็นอันใช้ไม่ได้ ถือว่าเป็นโมฆะ มีความแตกต่างในระหว่างการแต่งตั้งที่ใช้ไม่ได้กับการปลดตำแหน่งเพราะการแต่งตั้งที่โมฆะ เป็นการขัดขวางการทำงานที่ตัดสินก่อนหน้านี้ ในขณะที่คนที่ถูกปลดตำแหน่งไม่ขัดขวางการดำเนินการที่ได้ชี้ขาดก่อนหน้านี้
2.พวกเขาทั้งสองถูกแต่งตั้งโดยวิธีร่วมกันและไม่อนุญาตคนใดคนหนึ่งจากพวกเขาดำเนินงานเพียงคนเดียวตามลำพัง ดังนั้นเกี่ยวกับเรื่องนี้ การแต่งตั้งทั้งสองนั้นใช้ได้ตำแหน่งวะซีรนั้น.พร้อมกันและพวกเขาสามารถทำการใดๆตามที่พวกเขาเห็นชอบด้วยกันและพวกเขาไม่สามารถทำการใดที่สวนทางกันระหว่างทั้งสอง ดังนั้นในเรื่องนี้ การทำงานถูกยุติโดยความคิดเห็นของทั้งสองด้วย
ตำแหน่งนี้ถูกจำกัดแก่วะซีรตัฟวีดเพียงผู้เดียว ซึ่งมองจาก 2 แง่มุม คือ
1. พวกเขาร่วมกันดำเนินงานในสิ่งที่พวกเขาทั้งสองเห็นพ้องต้องกัน
2. มุมมองของพวกเขาต่อประการที่พวกเขาสวนทางหรือมีความขัดแย้งกัน
ถ้าหากคิดว่าพวกเขามีความสามัคคีและแท้จริงหลังจากพวกเขาสวนทางเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ดังนั้นมันก็เข้าในความคิดเห็นของพวกเขาและสามารถกระทำได้โดนทั้งสอง เพราะความคิดเห็นต่างกันก่อน ไม่ได้ขัดจากการกระทำที่เห็นด้วย แต่ว่าถ้าพวกเขาตามความคิดของคนใดคนหนึ่งจากเพื่อนเขา ขณะที่เขายังถือความคิดเห็นที่ขัดย่างกัน ดังนั้นมันก็จะถูกออกจากความคิดเห็นของพวกเขาทั้งสอง เพราะใช้ไม่ได้แก่วะซีรความคิดเห็นนั้นไม่เป็นความจริง
3.นั่นก็คือ พวกเขาทั้งสองไม่ได้มีความคิดเห็นร่วมกันระหว่างทั้งสอง และทุกครั้งที่พวกเขา .....สิ่งใดที่ไม่แน่นอนแก่สิ่งอื่น ดังนั้นในเรื่องนี้ได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ
1.เหมือนกัน คนใดคนหนึ่งจากพวกเขา.....ด้วยหน้าที่หนึ่งที่เขามีความคิดเห็นที่ครอบคลุมเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่หน้าที่นั้นมีขอบเขตจำกัด เหมือนดั่งคนใดคนหนึ่งจากพวกเขาได้ถูกมอบหมายการบริหารการปกครองเขตตะวันออกและอีกคนถูกมอบหมายการบริหารการปกครองทิศ...
2. หรือทุกคนจากพวกเขา ได้เจาะจงด้วยความเห็นที่หน้าที่เขาครอบคลุม แต่ความคิดเห็นถูกจำกัด(เฉพาะ) เหมือนดั่งคนใดคนหนึ่งจากพวกเขาถูกแต่งตั้งเจาะลึกถึงหน้าที่ด้านสงครามและกับอีกคนที่ลงลึกด้านภาษี ดังนั้นทั้งสองรูปแบบนี้ การแต่งตั้งพวกเขานั้น ถือว่าใช้ได้ ....พวกเขาไม่ใช่วะซีรตัฟวีดเพียงแต่พวกเขาเป็นผู้ทำหน้าที่บนทั้งสองหน้าที่ที่ต่างกัน เพราะนี้คือด้านอำนาจของ วะซีรตัฟวีดนั้นครอบคลุม และคำสั่งทั้งสองนั้นได้ถูกกระทำทุกหน้าที่และทุกความเห็น การแต่งตั้งทั้งสองนั้นมีขอบเขตในหน้าที่เฉพาะที่แน่นอนแก่เขา และเขาไม่สามารถที่จะคัดค้านความคิดเห็นพร้อมกับหน้าที่ของเพื่อนคนอื่น
ผู้นำประเทศสามารถแต่งตั้งวะซีรทั้ง 2 คน นั่นคือ วะซีรตัฟวีด วะซีรตันฟีส ในเรื่องนี้ วะซีรตัฟวีดมีความเป็นอิสระในรูปแบบการปฏิบัติในขณะที่วะซีรตันฟีส ถูกจำกัดสิทธิในการที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ถูกมอบหมาย โดยผู้นำประเทศ ไม่อนุญาติแก่วะซีรตันฟีส แต่งตั้งคนที่ถูกปลด และเขาไม่สามารถทำการปลดคนที่ถูกแต่งตั้ง ในขณะนั้นวะซีรตัฟวีดสามารถแต่งตั้งคนที่ถูกปลดพร้อมกับทำการปลดคนที่ถูกแต่งตั้ง ถึงกระนั้นเขาไม่สามารถทำการปลดคนที่ถูกแต่งตั้งโดยผู้นำประเทศ วะซีรตันฟีส ไม่สามารถนำมาซึ่งฝ่ายเขาให้ฝ่ายผู้นำประเทศ ยกเว้น ผู้นำประเทศจะอนุญาต แต่วะซีรตัฟวีดนำมาให้ฝ่ายตนแก่เจ้าหน้าที่ของเขาทุกคนและเช่นเดียวกันกับเจ้าหน้าที่ของผู้นำประเทศทุกคน และพวกเขาจำเป็นต้องได้รับลายเซ็น แต่ว่าไม่อนุญาตเซ็นให้ฝ่ายผู้นำประเทศยกเว้นด้วยการอนุญาตไม่ว่าจะเป็นประเทศทั่วไปหรือเฉพาะถ้าผู้นำประเทศปลดวะซีรตันฟีส ดังนั้นการปลดนั้นไม่ใช่สาเหตุที่จะทำการปลดรัฐบาล(วาลี) ตามใจชอบ
เมื่อไหร่ที่ผู้นำประเทศปลดวะซีรตัฟวีดออก ดังนั้นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติทุกคนจะถูกปลดออกเช่นกันจากนั้นเจ้าหน้าที่ตัฟวีดไม่ถูกปลดออก นี่ก็เป็นเพราะว่าเจ้าหน้าที่ตันฟีสคือผู้ช่วย niyabเจ้าหน้าที่ ตัฟวีด คือรัฐบาล(วาลี)
วะซีรตัฟวีดสามารถแต่งตั้งtimbalanวะซีรตันฟีสไม่สามารถแต่งตั้งผู้ช่วยเขาได้ นี้ก็เป็นเพราะว่า การแต่งตั้งผู้ช่วยคล้ายกับการแต่งตั้งดังนั้นจึงสมควรทำโดย วะซีรตัฟวีด ในขณะที่วะซีรตันฟีสไม่สามารถกระทำได้ Sekiranyaผู้นำประเทศห้ามวะซีรตัฟวีดทำการแต่งตั้ง ดังนั้นจึงไม่ควรกระทำมัน และถ้าผู้นำประเทศอนุญาตแก่วะซีรตันฟีสเพื่อแต่งตั้ง เพื่อแต่งตั้งดังนั้นก็ควรทำมัน ก็เพราะว่า วะซีรทุกคนต้องทำตามคำสั่งพร้อมกับคำสั่งห้ามของผู้นำประเทศ ถึงแม้ว่ากฎของมันจะมีความแตกต่างกับการแต่งตั้งที่mutlaq Sekiranyaผู้นำประเทศได้มอบหมายการบริหารจังหวัดต่างๆแก่ผู้ว่าทุกคน พร้อมกับปฏิบัติการแทน แก่ฝ่ายที่มีหน้าที่รับผิดชอบ เหมือนกับที่ได้กระทำในสมัยของเรานั้น ทุกอย่างมีความเกี่ยวข้องกับวะซีร คือ เหมือนกันกับตำแหน่งวะซีรผู้นำประเทศกับผู้นำประเทศ นั้นคือ ด้านอำนาจและที่เกี่ยวข้องกับความคิดเห็นของทั้งสอง

3.3 อัลกีตาบะห์ (al-Kitabah )
สืบเนื่องจากความเจริญก้าวหน้าด้านต่างๆ ของราชวงศ์อับบาสียะฮฺยุคแรก โดยเฉพาะยุคของเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัลรอชีด ทำให้การปฏิบัติงานของวะซีรเพิ่มมากขึ้น พร้อมกับการขยายดีวาน (Diwan)
[13] และงานทางด้านเอกสาร การบันทึกมีความจำเป็นมากในยุคนี้ จึงได้แต่งตั้งผู้ช่วยวะซีรซึ่งเรียกว่า กาติบ (Katib)[14] มาดูแล ดีวานต่างๆ และช่วยงานบริหารอื่นๆ กาติบที่สำคัญในยุคเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัลรอชีดมีดังนี้ คือ
1. กาติบอัลรอซาอิล( Katibal-Rasa‘il ) คือเลขานุการด้านเอกสารต่างๆ มีหน้าที่รับผิดชอบดังนี้
1.1 คอยบันทึกหนังสือเข้า-ออก และแยกประเภทหนังสือต่างๆ โดยเฉพาะหนังสือที่เกี่ยวกับการเมือง กาติบจะประทับตราเคาะลีฟะฮฺหลังจากดูแล้วว่าเป็นหนังสือเคาะลีฟะฮฺ และคอยติดตามอย่างเป็นทางการและจัดสรรให้ถูกต้องตามงานต่างๆ
1.2 คอยจัดทำหนังสือและประกาศคำสั่งต่างๆของเคาะลีฟะฮฺ
1.3 คอยจัดทำหนังสือแสดงถึงความบริสุทธิ์ของผู้เรียกร้อง
2. กาติบอัลคอรอจญ์ (Katib al-Kharaj) คือ เลขานุการด้านการเก็บภาษี
3. กาติบอัลยุนด์และอัลชุรเฏาะห์ (Katib al-Judn , al-Shurtah) คือ กรมตำรวจ
4. กาติบอัลกฺอฎี (Katib al-Qadi)คือ ตุลาการ
3.4 ระบบอัล-ฮิญาบะฮฺ (al- Hijabah)
[15]
ในประวัติสาสตร์อิสลาม โดยเฉพาะยุคเคาะลีฟะฮฺทั้งสี่ (คูลาฟะฮฺ อัรรอซีดูน) มิได้มีผู้อารักขาคอยสกัดและห้ามใครๆ ที่จะเข้าพบกับเคาะลีฟะฮฺทั้งสี่ และในทางกลับกันเคาะลีฟะฮฺทั้งสี่ได้เชิญชวนประชาชาติทุกระดับชั้นเข้ามาพบท่าน โดยไม่ต้องมีตำแหน่งอัล-ฮิญาบะฮฺ หรือผู้ควบคุมใดๆ ทั้งสิ้น แต่ในยุคราชวงศ์อุมัยยะห์ หลังจากเกิดเหตุการณ์ชาวเคาะวารีจย์ลอบสังหารผู้นำหลายต่อครั้ง อาทิ เช่น อุมัร อัลคอฎฎอบ และอะลี อิบนฺ อะบีฏอลิบ เป็นต้น เคาะลีฟะฮฺ มูอาวียะห์จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของผู้คอยควบคุมดูแลความปลอดภัยและคอยอารักขา ดังนั้นท่านเป็นเคาะลีฟะฮฺท่านแรกที่ได้ริเริ่มแต่งตั้งตำแหน่งอัลฮิญาบะฮฺนี้ขึ้นมา จากสาเหตุดังกล่าวทำให้เกิดตำแหน่งอัล-ฮิญาบะฮฺในระบบการปกครองอิสลาม และผู้ที่ดำรงตำแหน่งอัลฮิญาบะฮฺ จะเรียกว่า “ ฮาญิบ ” ซึ่งตำแหน่งนี้มีไว้เพื่อป้องกันเหตุร้ายที่จะเกิดขึ้นจากประชาชาติที่เลวร้าย และเพื่อไม่ให้เกิดความชุลมุนวุ่นวายหน้าประตูเคาะลีฟะฮฺ ตำแหน่งนี้เปรียบเสมือนหัวหน้ารักษาความปลอดภัยในยุคปัจจุบัน (Hasan Ibrahim Hasan, 1983 : 264)
ในยุคของราชวงศ์อับบาสียะห์ก็ยังคงใช้ระบบนี้อยู่ และไม่อนุญาตให้ประชาชาติเข้าพบเคาะลีฟะฮฺ เว้นแต่ผ่านฮาญิบเท่านั้น นอกจากจะมีเรื่องที่สำคัญจริงๆเท่านั้น ด้วยเหตุนี้กลายเป็นว่า การพบปะระหว่างประชาชนทั่วไปกับเคาะลีฟะฮฺนั้นได้ถูกกำหนดสถานที่และวางกฎเกณฑ์โดยฮาญิบ ซึ่งเคาะลีฟะฮฺพร้อมที่จะพบปะประชาชนตามสถานการณ์ที่อำนวยความสะดวก และผู้ที่ได้รับตำแหน่งอัลฮิญาบะฮฺในยุคเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด คือ อัลฟัดส์ อิบนฺ อัลรอบิอ์ (Hasan Ibrahim Hasan , 1983 : 264 - 265)

5.3 ระบบฮิสบะฮฺ (Al-hisbah) (หน่วยงานเรียกร้องสู่การทำความดีและห้ามปรามความชั่ว)
1
1. ความหมายของอัลฮีสบะฮ์
ตามทัศนะของอูลามะฮฺ ฮิสบะฮฺ หมายถึง การปกครองเพื่อส่งเสริมให้กระทำดี หากว่าเขาได้ละเว้น และได้ปกครอง สู่หนทางมุงกัร (ผิดหลักการอิสลาม) จำเป็นต้องหันหลัง นี่คือ ความหมายฮิสบะฮฺ ครอบคลุมในการตอบคำถาม “ส่งเสริม ให้กระทำ ความดีและห้ามปรามความชั่ว ( มุงกัร) บรรดาอูลามะฮฺด้านฟิกฮฺให้ความหมายที่เหมือนกันระหว่างส่งเสริมให้กระทำดี และห้ามปรามกระทำความชั่ว กับฮิสบะฮฺสอดคล้องในด้านวัตถุประสงค์ เพื่อหาความโปรดปรานและผลตอบแทนจากอัลลอฮฺ (ซบ.)

. 1.1 หลักฐาน
หลักฐานฮิสบะฮฺ คือ เป็นสิ่งจำเป็น เมื่อดูหลักฐานจากอัลกุรอ่านและสุนนะฮฺของท่านนบี (ซ.ล.) อายัตอัลกุรอ่านที่ได้ กล่าวถึง ส่งเสริมให้กระทำความดีและห้ามปรามความชั่ว เป็นรูปแบบหนึ่งที่สามารถกล่าวได้ ถึงความจำเป็น แท้จริงแล้วอัลกุรอ่านได้กล่าวถึง ฮิสบะฮฺในรูปแบบต่าง ๆ บางครั้งได้กล่าวถึงในรูปแบบคำสั่ง และบางครั้งเป็นรูปแบบวาญิบ (واجب) สำหรับมุอฺมิน เพื่อนำมาอุมมะฮฺสู่ความดี อิสลามได้วางสถานะเพื่อปกครองบนหน้าแผ่นดิน เขาเหล่านี้เพื่อดำเนินการส่งเสริมให้กระทำความดีและห้ามปรามความชั่ว (มุรกัร) หากละเว้นจะเป็นสาเหตุแห่งการ (สาปแช่ง ) จากอัลลอฮ์ เช่น









ความว่า และจงให้มีขึ้นจากพวกเจ้า ซึ่งขณะหนึ่งที่เชิญชวนไปสู่ความดี และใช้ให้กระทำสิ่งที่ชอบและห้ามปรามทำในสิ่งที่มิชอบ และชนเหล่านี้แหละพวกเขาคือผู้ที่ได้รับความสำเร็จ
2










ความว่า และบรรดามุอฺมิน ชายและบรรดามุอฺมินหญิงนั้น บางส่วนของพวกเขา ต่างเป็นผู้ช่วยเหลืออีกบางส่วนซึ่งพวกเขาจะใช้ให้ปฏิบัติในสิ่งที่ชอบและห้ามปรามในสิ่งที่ไม่ชอบ(ซูเราะห์:อัล-เตาบัด/อายัตที่71)
3





ความว่า พวกเจ้านั้นเป็นประชาชาติที่ดียิ่ง ซึ่งถูกให้อุบัติขึ้นสำหรับมนุษยชาติโดยที่พวกเจ้าใช้ให้ปฏิบัติที่ชอบ
4








ความว่า บรรดาผู้เราให้พวกเขามีอำนาจใน แผ่นดิน คือบรรดาผู้ดำรงการละหมาด และบริจาคซากาด และใช้กันให้กระทำความดี และห้ามปราบกันในละเว้นความชั่ว และบั้นปลายของกิจกรรมทั้งหลายย่อมกลับไปหาอัลลอฮฺ
5









ความว่า บรรดาผู้ที่ปฏิเสธศรัทธาในหมู่วงศ์วาน อิสรออีลนั้นได้ถูกสาปโดยถ้อยคำของดาวูด และอีซาบุตรของมัรยัม นั้นก็เนื่องจากการที่พวกเขาฝ่าฝืนและที่พวกเขาเคยละเมิดกัน
6





ความว่า ปรากฏว่าพวกเขาต่างไม่ห้ามปราบในสิ่งที่ไม่ชอบที่พวกเขาได้กระทำมันขึ้น ช่างเลวร้ายจริง ๆ สิ่งที่พวกเขากระทำ
7

จากสุนนะฮฺท่านนบีมูฮัมมัด ( ص ) ได้มาหลักฐานอย่างชัดเจนหลักฐานจาก
อัลหะดีษ ที่บ่งบอกเป็นสิ่งจำเป็น เช่น ท่านนบีได้กล่าวได้ว่า








ความว่า การญิฮาดที่ประเสริฐในบรรดาอูลามะฮฺคือ การพูดความจริงกับผู้ปกครอง
ฮิสบะฮ หรือ ส่งเสริมการกระทำดี และห้ามปรามความชั่ว , สามารถเห็นได้จากการพูด และปฏิบัติ อิสบะฮฺได้มีฮูกุม
8
فرض كفاية หากว่ามีกลุ่มหนึ่งที่ดำเนินการแล้ว ซึ่งหมายถึง อุมมะฮุอิสลามอื่นจะหมดความรับผิดชอบ فرص عين หากว่าไม่มีสักคนเดียวที่ทำเป็นการก็จะได้รับผลบาปทั่วหน้า อย่างไรก็ตามฮิสบะฮฺได้เป็น แก่บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้ง หรือดำเนินการดังกล่าว สำหรับคนอื่น ๆ นั้นสุนัต ในขณะเดียวกันบางครั้งฮิสบะฮฺก็จะหะรอม

ด้านการปฏิบัติ ฮิสบะฮฺบางทัศนะของอุลามะฮฺนั้นวาญิบหรือสุนัต นั้น อยู่บน พื้นฐานที่เกี่ยวข้อง หากเกี่ยวข้องกันเกี่ยวกับสิ่งวาญิบหรือว่าหะรอม การฮิสบะฮฺก็วาญิบสำหรับผู้พบเห็น หากว่าเกี่ยวข้องกับสุนัต ฮิสบะฮฺก็หุกมสุนัต และบางทัศนะของอุลามะฮฺได้กล่าวว่าฮิสบะ ฮฺวาญิบกับทุก ๆ มติ

1.2 ฮิสบะฮฺในทัศนะอิสลาม
อิสบะฮฺเป็นสิ่งที่มีความสำคัญและยิ่งใหญ่ ในอิสลาม เนื่องจาก การมุ่งสู่สำหรับให้มวลมนุษย์ ประพฤติดีในขณะเดียวกันห้ามปรามมนุษย์จากมุงกัร (ความชั่ว) สิ่งเหล่านี้เป็นหน้าที่ของท่าน รอซูล (ฮล.) ดังอัลลอฮฺได้กล่าวว่า




ความว่า
โดยที่ให้กระทำในสิ่งที่ชอบและและห้ามพวกเขามิให้กระทำในสิ่งที่ไม่ชอบ
9
อัลลอฮฺได้กล่าวถึงคุณลักษณะของอุมมะฮฺอิสลาม เสมือนกับหน้าของท่านนบี (รอซูล) (ซ.ล) หรือให้อุมมะฮฺได้ปฏิบัติหน้าที่นี้หลังจากการเสียชีวิตของรอซูล (ซล) อัลลอฮได้ประทานอัลกุรอานว่า10







การส่งเสริมให้มนุษย์ประพฤติดี และห้ามปรามความชั่ว เปรียบเสมือนสิ่งต้น ๆ ในอิสลาม เหตุดังกล่าว ฮิสบะฮฺได้รับความสนใจจากบรรดาอูลามะฮฺ อุลามะฮฺที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่ง Ibnu al – Ikhwah ได้กล่าวว่า ฮิสบะฮฺเป็นส่วนหนึ่งของอิสลาม ในยุคต้นๆ ของอิสลามนั้นผู้ปกครองเองก็ทำหน้าที่ดังกล่าว
เนื่องจาก ผลประโยชน์ที่ได้รับนั้น เยอะมาก ๆ อีกทั้งได้รับผลบุญ ฮิสบะฮฺในความหมายของ อุมมะฮฺท่านหนึ่ง สำหรับให้กระทำความดี และห้ามปราบความชั่ว หากได้รับการปฏิบัติ ก็จะเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จ

ตามทัศนะของอิบนุ คอลดุล ในหนังสือของท่าน อิสบะฮุคือหน้าที่ในอิสลามครอบคลุมการสำหรับให้กระทำความดี และห้ามปราบการทำทำความชั่ว เป็นหน้าที่สำหรับผู้มีหน้าที่ของผู้ปกครองอุมมะฮฺ หรือแต่งตั้งบุคคลที่เหมาะสม เพื่อดำเนินการหน้าที่นี้

2. ผู้ดูแลกฎระเบียบ
ใครคือ ผู้ดูแลกฎระเบียบ คือ ผู้ที่ดำเนินการในการส่งเสริมให้กระทำ ความดี และห้ามปราบความชั่ว ( ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจาก ผู้ปกครอง บุคคลเหล่านี้จะเรียกว่า
ในขณะเดียวกัน ก็มีกลุ่มบุคคลที่ดำเนินการโดยอาสาสมัคร

ความแตกต่างระหว่างผู้ทำหน้าที่ตามการแต่งตั้ง และอาสาสมัคร

A ผู้ที่ทำหน้าที่โดย ได้รับการแต่งตั้ง เป็น فرص عين
สำหรับผู้อาสาสมัครนั้น فرض كفاية
*ด้วยเหตุดังกล่าวผู้ที่ได้รับการแต่งตั้ง จำเป็นต้องดำเนินการอย่างเต็มความสามารถ

B ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้ง มีสิทธิ ที่จะได้รับการฟ้องร้อง รับเรื่องร้องทุกข์

C. ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้ง จำเป็นต้องเสาะแสดงหามุงกัร (ศาสนบัญญัติห้าม) ที่กำลังปฏิวัติ/ เกิดขึ้นอยู่ เพื่อ เปลี่ยนแปลงสู่ทางที่ดีส่วน อาสาสมัครนั้น ไม่จำเป็นต้องกระทำในสิ่งดังกล่าว

D ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้ง มีสิทธิ์ในการแต่งตั้ง ผู้ช่วยในการดำเนินการ แต่อาสาสมัครนั้นไม่มีสิทธิ์เหล่านี้

E ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งมีสิทธิที่จะลงโทษได้ แต่อาสาสมัครไม่สามารถกระทำได้

F ผู้ได้รับการแต่งตั้งมีสิทธิ์ได้รับเว้นเตือน แต่ผู้อาสาสมัคร ไม่มีสิทธิเหล่านี้

G ผู้ได้รับการแต่งตั้งมีสิทธิออกกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับประเพณีในการยอมรับ หรือไม่ยอมรับแต่ อาสาสมัครไม่มีสิทธิเหล่านี้




3. สิ่งที่ผู้มีอำนาจหน้าต้องทำ
มุสลิมทุกคนมีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการฮิสบะฮฺ เมื่อความชั่วร้าย ยังไม่หมัดสิ้น หน้าที่ความรับผิดชอบยังคงอยู่เพราะฉะนั้น แล้วหลักการปกครองเหล่านี้ จะมีอำนาจให้ใครก็ตามที่มีความเหมาะสม เพื่อดำเนินการฮิสบะฮฺ

( จุดประสงค์ของอำนาจหน้าที่ )
อำนาจหน้าที่ ที่ได้มอบหมายให้ผู้ปกครอง ทั้งที่มากจากการแต่งตั้ง หรือไม่ใช่บุคคลเหล่านี้เป็นผู้ดำเนินการบทบัญญัติ ของ อัลลอฮฺ ลบล้างสิ่งชั่วร้าย (มุรกัร) หรือ เชิดชูอัลอัสลามและให้ช่องไกลจากสิ่งกุฟุร

ฝ่ายปกครองและฝ่ายตุลาการ
บรรดาอุลามะฮได้วิพากวิจารณ์ อำนาจหน้าที่ของทั้งสองฝ่ายดังนี้
A ความเหมือนในด้านอำนาจหน้าที่
ทั้งสองสามารถรับเรื่องร้องทุกข์ ในแต่ละเฉพาะด้าน เช่น การคดโกงกันในการค้าขาย คดีความล่าช้าในการจ่ายหนี้ ทั้งที่มีความสามารถ ฝ่ายปกครองมีอำนาจในการดำเนินการให้เกิดความยุติธรรม ตามหลักฟุกุฮาฮ. “ทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมุงกัรอย่างชัดเจนเขาได้รับการแต่งตั้ง เพื่อห้ามปราบมุงกัร
( ความชั่ว) นั้น และทุกสิ่งที่เกี่ยวกับการกระทำดีที่ชัดเจนเขาได้รับการแต่งตั้งในการส่งเสริมในการกระทำ”
เช่น เดียวกับ ฮากิม มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการสิ่งดังกล่าว

B. ความแตกต่างในด้านอำนาจหน้าที่ แยกได้ดังนี้
ด้านที่ 1 ฝ่ายตุลาการมีอำนาจกว่าฝ่ายปกครอง

A ฝ่ายปกครองที่มีหน้าที่ แค่สั่งตามที่เห็นอย่างชัดเจนเท่านั้น ส่วนฝ่ายตุลาการมีอำนาจมากกว่านั้น
B ฝ่ายปกครองมีอำนาจเพียงทำให้สิ่งที่จำเป็นแก่เจ้าของเท่านั้น
* สำหรับบางเรื่อง เช่น เกี่ยวกับมีการฟ้องร้องซึ่งกันและกันสามารถดำเนินการโดยศาลเท่านั้น

ด้านที่ 2 ฝ่ายปกครองมีอำนาจมากกว่าฝ่ายตุลาการ

A ฝ่ายปกครองมีอำนาจห้ามปราบสิ่งชั่วร้าย (มุงกัร) แม้จะไม่ได้รับการฟ้องร้องก็ตามขณะที่ฝ่ายตุลาการมีอำนาจในคดีดังกล่าวที่ถูกฟ้องร้อง
B ฝ่ายปกครองสามารถใช้อำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ในขณะที่ฝ่ายตุลาการไม่มีอำนาจหน้าที่เหล่านั้น

ตามที่อุลามะฮุได้กล่าวมาข้างต้นผู้เขียนเห็นควรส่งเสริมหรือให้เกิดความเข้าใจยิ่งขึ้น ความแตกต่างลำดับที่ 3

อำนาจหน้าที่ของฝ่ายปกครองนั้นมีมากกว่า ฝ่ายตุลาการ ครอบคลุมถึงในด้านการห้ามปราบความชั่ว และส่งเสริมความดี สิ่งเหล่านี้ไม่เกี่ยวข้องกับฝ่ายตุลาการ เช่น ฝ่ายปกครองมีอำนาจในการสั่งใช้ให้เสาะลาฮุในขณะที่ฝ่ายตุลาการไม่มีอำนาจ

(ความเหมาะสม)
บรรดาอุลามาฮได้ตั้งกฎเกณฑ์ที่ชัดเจน ว่า ใครก็ตามทั้งผ่ายปกครองมีความเหมาะสม เพื่อดำเนินตามหน้าที่ฮิสบะฮฺ กฏต่างๆ หรือ (ผู้สามารถฮิสบะฮฺมีหลักเกณฑ์ ดังนี้)
ข้อที่ 1 ต้องมุกัลลัฟ ซึ่งบรรลุศาสนภาวะ พร้องทั้งมีสติปัญญาทางสมองที่สมบูรณ์ (ไม่บ้า) ไม่ประสาท เนื่องจากผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติศาสนภาวะ ทุกการกระทำไม่มีการมีคับสำหรับเขา

ข้อที่ 2 จำเป็นต้องเป็นมุสลิม ปละมีความรอบรู้ในหลักการฮิสบะฮฺ

ข้อที่ 3 ต้องห้ามปรามอย่างถูกต้องจากฝ่ายปกครอง
หากแม้ว่าผู้กระมุงกัรเป็นใครก็ตามจำเป็นต้องมีการห้ามปราม แม้จะเป็นผู้มีอำนาจ ดังที่ปรากฏบางสาลาฟูซอและฮฺนั้น จะดำเนินการ ฮิสบะฮฺ ทุกเวลา

หากว่าการดำเนินการ(มัสบาฮ) นั้นไม่ถูกต้องตามหลักศาสนาบัญญัติแน่นอน จะนำมาซึ่งความวุ่นวาย ผู้มัสบะร์ต้องมี ตลาละฮ์

ข้อที่ 4 ต้อง (ยุติธรรม) กฎข้อนี้บางอุลามะฮฺได้นำเสนอ เป็นส่วนหนึ่งของกฎฮิสบะฮฺ ต้องมาจากบุคคลที่มีความยุติธรรมไม่ใช้ว่าเป็นบุคคลฟาสิก (บาปมาก) ซึ่งอาจมาจากโองการของอัลลอฮที่ว่า
11

أتأمرون الناس بالبرو تنسون انفسكم

(البقرة 44)

บางทัศนะ ของอุลามาอฺ มีความเห็นว่า ความยุติธรรมนั้น ไม่ใช้กฎของมัสบาฮ เนื่องจากคน ๆ หนึ่งของมุสลิมน้อยคนมาก ที่ไม่มีบาป และจากบาปนี้แหละ อาจทำให้อาดิล (ยุติธรรม) นั้นมีความบกพร่อง จึงมีความคิดว่าทำไม่ต้องตั้งกฎเกณฑ์ที่ว่าไม่สามารถจะกระทำได้ หากว่าการทำงานฮิสบะฮฺ สามารถดำเนินได้แก่คนที่ไม่กระทำผิด ทำบาป อะไรก็ตามแล้ว แท้จริงไม่มีใครเลยที่สามารถจะทำงานฮิสบะฮฺได้
แนวความคิดที่มีความเข็มแข็ง(ถูกต้อง)ตามหลักแล้วนั้นผู้ทีทำหน้าที่ ฮิสบะฮฺนั้น ไม่จำเป็นต้องมีคุณสมบัติ อะดิล (ปราศจากบาป) ความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ได้รับการตักเตือนนำไปคิดทบทวนแม้ว่าผู้ตักเตือนนั้น จะคาดคุณสมบัติ(อะดิล ก็ตาม ซึ่งเป็นการคิดถึงอัลลอฮฺ)

อย่างไรก็ตามตามทัศนะของผู้เขียน เห็นด้วยกับทัศนะที่ว่าผู้ทำหน้าที่อิสมะนั้นไม่จำเป็นต้องอะดิล(ไม่ทำบาป) แต่ถึงกระนั้น หากว่าผู้ฮิสบะฮฺนั้นมีความรู้ มีความนอบน้อมถ่อมตน ย่อมเป็นการดีที่จะนาสีฮัต (ตักเตือน)คนอื่น และผู้ได้รับการตักเตือนนั้นยอมนับถือและยอมรับได้

ในทางกลับกันความกระจางนี้ สามรถปฏิเสธว่าเสริมให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับฮิสบะฮฺ ควรพยายามอย่างสุดความสามารถ เพื่อให้คุณลักษณะ อะดิล (ไม่ทำงาน) และพยายามห่างไกล จากสิ่งที่ทำให้คุณลักษณะอะดิลนั้นพกพร่อง

ข้อที่ 5 ต้องมีความรู้ ผู้ที่ทำหน้าทีฮิสบะฮฺจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับสิ่งดังกล่าว อะไรที่เขาควรห้ามปรามและอะไรที่เขาควรให้การสนับสนุน ผู้ที่มีหน้าที่ฮิสบะฮฺ นั้นจำเป็นต้องรู้ทุกสิ่ง เกี่ยวข้องกับฮิสบะฮฺ ที่เขากำลังดำเนินการอยู่การ กระทำเหล่านี้สามารถขอทุนสนับสนุนในการดำเนินการได้

ข้อที่ 6 (ต้องมีความสามารถ) ผู้ที่ดำเนินการฮิสบะฮฺ จำเป็นต้องมีความสามารถ เนื่องจากหลักการในอิสลามนั้น ไม่มีการบังคับใด ๆ ในสิ่งที่ผู้กระทำไม่มีความสามารถหรือตามแต่ความสามารถแต่หากพบเห็นสิ่งมุงกัร เขาจำเป็นต้องตักเตือน แม้จะด้วยใจก็ตาม (ด้วยความรู้สึกที่ไม่ดี)

บรรดาอุลามาอฺมีการพูดถึง คุณสมบัติต่าง ๆ ที่สำคัญสำหรับผู้ดำเนินการฮิสบะฮฺให้เกิดประโยชย์สูงสุดและมีความสบายใจ ผู้ที่ดำเนินฮิสบะฮฺควรตั้งจิต เพื่อได้รับความโปรดปรานจากอัลลอฮ์ไม่ใช้เนื่องมนุษย์หรือญิฮาต (ทำหรือให้ได้รับการจับเขยจากมนุษย์)

ตามทัศนะของอุลามาฮฺอีกนั้น ผู้ดำเนินการควรมีความอดทน รวมถึงคุณสมบัติที่จริงใจเนื่องจากผู้ดำเนินต้งอมีความอดทน อาจจะต้องพบการข่มขู่หรืออภัยอันตรายต่าง ๆ เพราะถ้าไม่อดทนแล้วการดำเนินงานอาจไม่บรรลุวัตถุประสงค์

ผู้ที่ดำเนินการอิสมะฮ ต้องมีความอ่อนโยน (berlemah rerbat) จำเป็นต้องห่างไกลจากคุณลักษณะหยาบกระด้างในการดำเนินการบทปัญญัติของอัลอลฮฺ

ผู้มีหน้าที่ในการฮิสบะฮนั้นไม่ควรคลุกคลีกับคนส่วนใหญ่มากเกินไป เนื่องจากอาจมีความเครงใจ เมือคนเหล่านั้นดำเนินมุงกัร (สิ่งชั่วร้าย) และผู้ดำเนินการอิสบะฮ์ ไม่สามารถรางวัลจากบุคล/บุคคลโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การรับจ้างสินบน


4. ผู้กระทำผิด
ความหมายผู้กระทำผิด
ผู้กระทำผิด หมายถึงใครก็ตามที่กระทำความผิด ซึ่งเป็นสาเหตุที่เราได้รับการลงโทษ และอาจเรียก อีกอย่างหนึ่ง Mahtasab Ma ah

การกระทำอะไรก็ตาม ที่ผิดกฎระเบียบผิดกฎหมายแม้ว่าสิ่งเหล่านี้ ไม่ถือว่าบาปในทัศนะของอิสลามก็ตาม ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ที่บรรลุศาสนาภาวะ และสมองที่ดีไม่บ้าสิ่งที่เกี่ยวข้อง แม้ว่าคนบ้าทำการผิดประเวณี(ทำการห้ามปราม จำเป็นต้องห้ามปรามเช่นเดียวกัน เมื่อกระทำผิด ต้องมีการห้ามปราม

ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องกับภายใต้อิสบะฮฺ
ผู้ซึ่งเกี่ยวข้อกับภายใต้ฮิสบะฮฺ คือทุนคน กลุ่มบุคคลที่อยู่ภายใต้สังคม คือ
(กลุ่มที่ 1) สมาชิกในครองครัว ผู้นำครอบครัว จำเป็นต้องดูแลครอบครัวให้ห่างไกลจากไปนรก ดังโองการของอัลลอฮฺได้กล่าวว่า นั้นคือส่งเสริมให้กระทำความดี อยู่ในกรอบของอิสลาม และห้ามปรามความประพฤติชั่ว
ส่วนผู้ที่ (ต่างศาสนิก) คนต่างศาสนิก จำเป็นต้องดำเนินฮิสบะฮฺ เช่นกัน อยู่ภายใต้รัฐอิสลามอาจจะเป็นประชาชนทั่วไป (ชาวรัฐนั้น) หรือผู้ท่องเที่ยว เยี่ยมเยียน

(กลุ่มที่ 2) ผู้ปกครอง
ผู้ปกครองหรือตัวแทนของประชาชน เช่น ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ก็จำเป็นสำหรับอิสมะฮ
เพราะการกระมุงกัร เสมือนคนทั่วไป

(กลุ่มที่ 3) ผู้พิพากษา
ฮิสบะฮฺก็ต้องดำเนินการแก่ผู้พิพากษาตามทัศนะของอุลามะฮฺ “ผู้ทำหน้าที่ฮิสบะฮฺ” จำเป็นพยายามให้เกียรติศาลยุติธรรม และฝ่ายปกครอง เมื่อฮิสบะฮฺนั้นเห็นความลำเอียงในการดำเนินคดีไม่ยุติธรรม แม้จะเป็นผู้อิสมะเองก็ตามเมื่อเกิดการทำความผิด ก็จำเป็นต้องได้รับ บทลงโทษเช่นเดียวกัน

(สิ่งชั่วตามศาสนปัญญัติ)
ตามที่กล่าว แล้วว่าฮิสบะฮฺ การส่งเสริม ให้กระทำความดี และห้ามปรามความชั่ว ซึ่งประพฤติชั่ว
ในสิ่งที่ศาสนบัญญัติห้ามนั้นหากเกิดในสังคม จำเป็นต้องมีการห้ามปราม ซึ่งความชั่วนั้นมีสองรูปแบบ

(สิ่งแรก) 1 สิ่งที่ศาสนบัญญัติห้าม (ความชั่ว)
2. สิ่งที่บทกฎหมายห้าม

* ดังนั้นการทำหน้าที่ฮิสบะฮฺ จำเป็นต้องห้ามปรามทั้งสองลักษณะดังกล่าว


ความหมายของความชั่ว
ในด้านผู้มีอำนาจนั้น ทุกอย่างเป็นความผิด ทั้งบทบัญญัติ และทั้งกฎหมาย แท้ที่จริงความชั่วจะมีความเกี่ยวข้องกับบาป และบาปนั้นจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับละเมิดในบทบัญญัติของอัลลอฮฺ กระทำหรือละเว้นการกระทำ ทั้งบาปเล็กและบาปใหญ่ ทั้งที่เกี่ยวกับอัลลอฮฺ หรือเพื่อนมนุษย์

สำหรับความชั่ว ในความหมายของฮิสบะฮฺ มีความหมายกว้างครอบคลุ่มทั้งความคิดที่เกิดจากการกระทำหรือละเว้น ทั้งบทบัญญัติของอัลลอฮฺ และหลักกฎหมายของบ้านเมือง

ในทางสานผู้มีอำนาจ นั้น ทุกอย่างที่เป็นความผิด ทั้งบทบัญญัติ ห้ามและทั้งกฎหมายห้าม แท้ที่จริงความชั่ว จะมีความเกี่ยวข้องกับบาป และบาปนั้นจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการละเมิดในบทบัญญัติของอัลลอฮโดยกระทำหรือเป็นบทบัญญัติ ทั้งบาปเล็กและบาปใหญ่ ทั้งที่เกี่ยวกับ อัลลอฮหรือเพื่อนมนุษย์

สำหรับความชั่ว ในความหมายของฮิสบะฮฺ มีความหมายกว้างครอบคลุมทั้งความคิดที่เกิดจากการ กระทำหรือละเว้น ทั้งบทบัญญัติของอัลลอฮฺ และหลักกฎหมายของบานเมือง

(ความกว้างในด้านอำนาจ)
ฐานในการคิดแรก บทบัญญัติ ที่กำหนดไว้ในอิสลามเนื่องจาก อิสลามเป็นศาสนาที่ครอบคลุมทุก ๆ ด้าน ดั้งนั้น ในอำนาจหน้าที่ของอิสลามย่อมมีกำหนดไว้แล้ว สำหรับสิ่งทีปลีกย่อยนั้นสามารกกำหนดมีขอบเขตให้สอดคล้องกับบท บัญญัติ ซึ่งมีด้านต่าง ๆ ดั้นนี้

(ตัวอย่างของการดำเนินการ) ซึ่งมีขอบเขตที่มีความสอดคล้องกับบทบัญญัติดังนี้ 5 ข้อ
1. ด้านที่ 1 อะกีดะฮ
ผู้มีหน้าที่จำเป็นต้องเสาะแสวงหา ผู้ที่มีอะกีดะฮฺ ที่ไม่ถูกต้องสู่อะกีดะฮฺที่ถูกต้อง เนื่องจากอะกีดะฮฺเป็นรากฐานของทุกอย่างในหลักการอิสลาม

2. ด้านที่2 อิบาดะฮฺ
ในด้านอิบาดะฮฺเช่นเดียวกัน จำเป็นต้องห้ามปรามหากว่า การปฏิบัติอิบาดะฮฺเหล่านั้นขัดแย้งกับหลักการอิสลามหรือการอุตริ ในการอิบาดะฮฺ

3. การปฏิสัมพันธ์ในสังคม
การปฏิสัมพันธ์ในสังคมหากเกิดมุงกัร ก็ทำเป็นต้องดำเนินการเช่นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยของท่านนบี ได้การโกงกันในการค้าขาย ท่านนบีได้ห้ามปราม ท่านได้กล่าวว่า


“ใครก็ตามที่คดโกงพวกเราคนเหล่านั้นไม่ใช่พวกเรา”

4. กฎจราจร (บนท้องถนน)
เช่นมีการทำร้านค้าบนท้องถนน ปลูกต้นไม้บนท้องถนน สิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องมีการห้ามปราม
(ความพยายามในการทำหน้าที่ )
A ด้านสถานที : ต้องไม่สร้างความลำบากให้คนอื่น หรือละเมิดสิทธิผู้อื่น
B ด้านอุปกรณ์ : ต้องไม่สร้างความรำคาญแก่ผู้อื่นโดยอุปกรณ์นั้นต้องมีความเหมาะสมกับงาน

(ผู้มีสิทธิชี้ขาดความผิด )ของอิสมะฮฺ
ฝ่ายที่มีอำนาจในการกำหนดว่าสิ่งไหนชั่วหรือไม่ดีนั้นเป็นบทบัญญัติในอิสลามและผู้ที่กำหนดคืออัลลออฺ ดังโอการที่ว่า อีนิลหามอิลามละฮ แท้จริงแล้วอัลลอฮเท่านั้นที่มีสิ่ทธิบัญญัติ (หุกุม)
ส่วนหนึ่งของอุลามะฮฺเพียงให้ความกระจ่ายในบทบัญญัติของอัลลอฮ์ หากว่าอุลามะฮฺมีการผิดพลาดในการดำเนินบทบัญญัติ ประชาชาติไม่เป็นต้องตาม ซึ่งในอิสลามได้คำนึ่งถึงประเพณีวัฒนาธรรม
หากว่าทั้งสองสิ่งข้าต้นไม่ขัดกับบทบัญญัติ ก็เป็นที่อนุมัติในอิสลามเช่นความเชื่อ

(ขอบเขต)
ขอบเขตในการห้ามปรามมุงกัร มีขอบเขตดังนี้ 2 ประการ คือ
1. การกระทำนั้นอย่างเปิดเผย
การกระทำ อย่างเปิดเผยนั้นหมายถึงกระทำที่ผู้มีอำนาจรับรู้ทราบ อาจด้วยการได้นั้น เห็น หากว่าการกระทำเหล่านั้นไม่สามารถมองเห็น หรืออย่างปกปิดเลย ผู้มีอำนาจฮิสบะฮฺ ไม่มรสิทธิในการขุกรุก เช่ยบูดรุกบ้าน หรือการตรวจคัน ยกวัน เป็นความผิดซึ่งหน้า สามารถห้ามปรามได้
ซึ่งหมายถึงหากได้ร่วม มีการกระทำผิดนั้น มีหน้าที่จำเป็นต้องไป ณ ที่เกิดเหตุ และดำเนินการตามหน้าที่

2. การห้ามปรามขณะเกิดเหตุ
ซึ่งหมายถึงว่า ขณะที่กำลังเกิดเหตุผู้มีหน้าที่จำเป็นต้องห้ามปราม หรือมีเหตุต้องสงสัยว่ากำลังจะกระทำความผิด เช่น มีเครื่องมือต่าง ๆ ที่แสดงอาวุธว่าดีของผิดกฎหมาย ผู้มีหน้าที่ก็สามารถดำเนินคดีได้เลย

(ความเห็นฟ้องของอูลามะอฺ)
สิ่งที่เป็น มุงกังนั้น ต้องเป็นสิ่งที่อุลามาอูเห็นฟ้องว่าเป็นสิ่ง “มุงกัร” หรือ หลีกเลี่ยงเหตุผลเมื่อเกิดเหตุการณ์แล้ว อาจจะอ้างว่า สิ่งดังกล่าว อุลามาฮฺให้กระทำได้
ในด้านนี้ มีทัศนะที่แตกต่าง 2 ทัศนะ ด้วยกัน คือ

1. บางทัศนะ มีความเห็นว่าไม่สามารถดำเนินคดีได้และบางทัศนะมีความเห็นว่าได้โดยใช้หลัก
การ อิจตีฮาด

2. ความคิดเห็นที่ไม่สอดคล้องกับหลักการหรือขัดแย้งกับ อัลกุรอาน ฟิกฮฺ นั้นความคิดเห็นต้องไม่นำมาคิดคำนวณ หากว่าอุปกรณ์เหล่านั้นเกิดการชำรุด จำเป็นต้องซ้อมแซมให้สมบูรณ์

3. ผลิตภัณฑ์ หรือของที่ข่ายนั้นต้องสะอาด บริสุทธิ์ จากการคดโกง

4. ผู้มีหน้าที่ จำเป็นต้องให้ความสำคัญ กับผู้ประกอบการ อีกทั้งต้องรักษา อะมานะฮฺและซื่อสัตว์ 5 ด้านบุคลิกและนิสัย
บุคลิกภาพและนิสัย นี้เป็นสิ่งจำเป็นผู้มีหน้าที่ต้องห้ามรานิสัยที่ไม่พึ่งปรารถนา ตามหลักอิสลาม และ ส่งเสริมคุณลักษณะที่ดีในอิสลาม

5. ผู้มีอำนาจหน้าที่ในการฮิสบะฮฺ
ผู้มีอำนาจหน้าที่ในการอิสมะฮฺนั้น บางครั้งมรความจำเป็นต้องดำเนินการเปลี่ยนแปลด้วยวิธีเข็มแข็งบางครั้ง ต้องอาศัยความอ่อนโยน ตามแต่คุณลักษณะผู้กระทำ และทางจิตวิทยา (อาหรับ ) วิทยปัญญา
ซึ่งหลักในการห้ามปรามในอิสลานั้นมีสามารุใช้ระดับที่สูงที่สุด การเปลี่ยนแปลงด้วยมือด้วยอำนาจขอบเขต เมื่อมี่ความสามารถก็ห้ามปรามด้วยลิ้น และการห้ามปรามที่ อีหมาน ออนแอที่สุดคือ การห้ามปรามด้วยใจ


การดำเนินของมีอำนาจหน้าที่ในการฮิสบะฮฺ
เป้าหมาย ของฮิสบะฮฺคือ การลบล้างความชั่วต่าง ๆ ที่เต็มบนหน้าแผ่นดิน ขณะเดียวกันนั้นส่งเสริมการปฏิบัติอามาซอและ และจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้กระบวนการต่างๆเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ขณะเดียวกันการศึกษาประวัติการดำเนินการ ดะอฺวะฮฺ และผลการประเมิน ผลการดำเนินการ เพื่อความเข้าใจการในดำเนินงาน อย่างท้องแท้ จำเป็นที่เราต้องศึกษา วิธีการดังนี้ ซึ่งมีวิธีการ 3 ประการคือ

วิธีการที่ 1
ห้ามปรามด้วยจิตใจ ด้วยเต็มความสามารถด้วยจิตใจซึ่งรู้สึกรังเกียจทุกอย่าง ที่เป็นมุงกัร ด้วยเหตุดังกล่าวทำให้จิตใจมีความกลับมุงกัร และพยายามให้ตัวเองห่างไกลจากสิ่งมุงกัร

วิธีการที่ 2
ผู้มีอำนาจหน้าที่ จำเป็นต้องส่งเสริมให้กระทำความและลบล้างความสี่ง เนื่องจากหน้าที่ของผู้ฮิสบะฮฺ เพื่อให้มวลมนุษย์สู่อิสลาม ไม่ใช้การให้ฮีดายะห์ เนื่องจากการให้อีดายะห์เป็นเอกสิทสของอัลลอฮฺ

ตามหลักการดังกล่าวข้าต้น บรรดาอุลามาฮฺ ได้มีความเห็นว่า”ไม่เป็นการตามที่ ส่งเสริมให้กระทำความดีด้วยวิธีการแข็งกระด้านหรือด้วยอาวุธ ถึงแม้ว่าเขากระทำมุงกัร”

วิธีการที่ 3
พยายามอย่างเต็มความสามารถด้วยวิธีการที่อ่อนโยน/นุ่มนวล ตามหลักการดำเนินการดำเนินการของท่านนบีโดยอาศัยเหตุและผล
เมื่อไรจำเป็นต้องใช้อำนาจ ?
การห้ามปรามโดยจิตใจนั้น วาญิบสำหรับมุสลิมทุกคน ทุกครั้งหรือทุกเมือเห็นมุงกัร การห้ามปรามด้วยมือและด้วยลิ้น วาญิบเช่นกันเมื่อเขามีความสามารถที่จะใช้วิธีการนี้ ด้วยสม่ำเสมอไม่ใช้เพียงห้ามปรามครั้งเดียว

อะไรคือสิ่งที่บ่งบอกว่าวาญิบหรือไม่?
เมื่อผู้ห้ามปรามมีความสามารถและเชื่อว่าตัวเองจะมีความปลอดภัยหากเตือนเราและจะไม่นำมาความเสียหายแก่ตัวเอง ดังนั้น วาญิบสำหรับเขาต้องดำเนินอิสบะฮ์ ?

เรื่องนี้มีสองความคิดเห็น ?
1. ไม่วาญิบแต่ส่งเสริมให้เข้ากระทำเมื่อการกระทำของเขาไม่นำซึ่งความดีแก่ตัวเขา แต่หากว่าเขาตัดเตือนจะนำมาซึ่งความดีก็วาญิบสำหรับเขา
2 . การฮิสบะนั้นวาญิบไม่ว่าจะทำมาซึ่งประโยชน์หรือไม่ โดยไม่ต้องคำนึงถึงผล ซึ่งวาญิบสำหรับมุสลิมทุกคน

อะไรคือเหตุผลที่ว่า ฮิบะฮฺ วาญิบหรือไม่ ?
หากว่าผู้มีอำนาจหน้าที่มีความมั่นใจ สามารถดำเนินการได้ โดยไม่ทำความเดือดร้อนและหุกุมจึงวาญิบ ? เรื่องนี้มีทัศนะ 2 ทัศนะด้วยกัน คือ

ทัศนะที่ 1
ไม่วาญิบแต่สนับสนุน (ส่งเสริม) เพื่อดำเนินการคาดว่าสิ่งกรำทำดังกล่าวสามารถให้ผลทางที่ดี หาและหากว่าดำเนินการแล้วนำมาซึ่งความดี ดังนั้นวาญิบต้องดำเนินการที่ดี

ทัศนะที่ 2
ฮิสบะฮฺมีหุกุมวาญิบ ไม่ว่าผลจะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ เพราะว่าสิ่งดังกล่าววาญิบไม่เกี่ยวกับผลที่จะเกิดขึ้นเป็นหน้าที่ของมุสลิมทุกคน

สุนัต ในการดำเนินการฮิสบะฮฺ
-การตักเตือนด้วยนั้น คาดว่าคำกล่าวดังกล่าวไม่เกิดผลใด ๆ ทั้งสิ้น การกระทำดังกล่าวไม่นำมาซึ่งความเดือดร้อน หากเขาไม่ดำเนินการ นี้เป็นส่วนหน้าของพัฒนะอุลามาฮฺ ตามทัศนะของผู้เขียนได้ว่าหลักเกณฑ์แล้วเมื่อสุนัต

ผู้มีอำนาจหน้าที่ก็สุนัตเช่นเดียวกัน เมื่อเขาคิดว่าการดำเนินการจะเกิดผลแต่คาดว่าอันตรายจะเกิดกับตัวเขา สุนัตในที่นี้ เนื่องความพยายามเพื่อดำเนินการแม้นว่า จะเกิดอันตรายต่อตัวเอง ผู้ดำเนินการ(ผู้ซึ่งมีอำนาจ) การดำเนินไม่นำมาซึ่งผลดี และผู้ทำมุงกัร ไม่หยุดพฤติกรรม หรือคาดว่าอาจเกิดผลแม้เพียงเล็กน้อย เช่นว่า การดำเนินการดังกล่าวจะเพิ่มกำลังใจแก่อุมมะฮฺในการดำเนินการ และจะลด (ไม่มีกำลังใจ )สำหรับผู้กระทำมุงกัร หรือคาดว่าเป็นหนทางเมื่อลบล้างมุงกัร ในเหตุการณ์ เหล่าผู้ดำเนินการมีหุกุมสุนัต ตามแต่ความสามารถในการเผชิญหน้าและไม่นำผลเสียแก่คนอื่น

เมื่อไรการดำเนินการฮิสบะฮฺหะรอม
หากว่าการดำเนินการนี้ นำมาซึ่งเดือดร้อน /อันตรายแก่บุคคลอื่น ไม่ว่าบรรดาเพื่อน ๆ ครอบครัวหรืออุบัติอิสรภาพทั่วไป แม้ว่าการดำเนินการฮิสบะฮฺ สามารถลบล้างมุงกัรได้ก็ตาม หลักการและเหตุผลว่าการกระทำคนเขาไม่เกิดผลเสียหายต่อคนอื่น


สรุป
ฮิสบะฮฺในสมัยปัจจุบัน
ผู้นำอิสลามจำเป็นอย่างยิ่งต้องดำเนินการฮิสบะฮฺโดยยึดหลัก และเป้าหมาย กระบวนและวิธีการโดยการจัดตั้งองค์กร เพื่อฝึกอบรม พัฒนาสักยภาพ และสามารถดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการ ฮิสบะฮฺ เช่น เพื่อดำเนินการ ณ สถานที่ต่างๆ เช่น มัสยิด แหล่งเศรษฐกิจ เป็นตัน และผู้นำสามารถให้ผู้มีหน้าที่ฮิสบะฮฺ ไปยังชุมชนเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับอิสลาม

หากว่าผู้นำอิสลามดำเนินการดังที่กล่าวมาข้างต้น อุมมะอฺวาญิบต้องดำเนินการหน้าที่นี้ อุมมุอฺสามารถจัดฝึกอบรม เผยแพร่ อิสลามสู่ชุมชน และดำเนินการฮิสบะฮฺโดยการตักเตือน วิธีการที่นุ่นวล และดำเนินการด้วยวิธีการที่นุ่นนวลและสามารถดำเนินการด้วยวิธีการแข็งกร้าว ก็ต่อเมื่อมีความจำเป็น และที่สำคัญที่สุดต้องเรียนรู้กระบวนการฮิสบะฮฺที่ถูกต้องตามหลักอิสลาม


[1] ปัจจุบัน แคว้นชามครอบคลุมพื้นที่ของประเทศ ซีเรีย จอร์แดน ปาเลสไตน์ อิสราแอล และเลบานอน
[2] ดูเชิงอรรถหมายเลข 5 หน้า 1
[3] เป็นเคาะลีฟะฮฺ ท่านที่ 10 ของราชวงศ์อับบสิยะฮฺ ซึ่งปกครองราชอาณาจักรระหว่างปี ฮ.ศ.227-232 (ค.ศ.842-847)
[4] เคาะลีฟะฮฺ ท่านแรกของราชวงศ์อับบาสียะฮฺได้ปกครองราชอาณาจักรระหว่างปี ฮ.ศ. 132-136 (ค.ศ. 750-754)
[5] อิมาม เป็นชื่อที่มุสลิมเรียกแทนผู้นำ และยังเรียกใช้ผู้นำการละหมาดอีกด้วย
[6] ดาวูด อิบนฺ อะลี เป็นน้าของเคาะลีฟะฮฺ อะบู อับบาส อัสสะฟาฮฺ
[7] นี้เป็นหลักการศรัทธาอย่างหนึ่งที่มุสลิมทุกคนต้องเชื่อนับถือ ว่า อีชา อิบนฺ มัรยัม จะลงมาบนโลกนี้อีกครั้งหนึ่งก่อนวันสิ้นโลก และการลงมาของท่าน เป็นสัญญาณวันสิ้นโลกที่ยิ่งใหญ่อย่างหนึ่ง
[8] อัลคิลาฟะฮฺ แปลว่า การสืบแทน เป็นระบบการปกครองที่พึ่งเกิดขึ้นใหม่ในอิสลามหลังจากการเสียชีวิตของท่านรสูล(r ) โดยที่ท่านไม่ได้ระบุอย่างชัดเจนว่าผู้ใดจะดำรงตำแหน่งผู้นำต่อจากท่าน ดังนั้นจึงเรียกผู้ที่สืบต่อเจตนารมณ์ของท่านในการบริหารบัญญัติอิสลาม ปกครองอาณาราษฎร์ และดูแลทุกข์สุขในเรืองทางโลกของพวกเขา เรียกว่า “ เคาะลีฟะฮฺ “ อันหมายถึง ผู้สืบแทน ( al-Shami, Fatimah, 1997 : 151 )
[9] เคาะลีฟะฮฺของราชวงศ์อุมัยยะฮฺคนสุดท้าย เมื่อปี ฮ.ศ. 127 – 132 ( ค.ศ. 744 – 750 )
[10] ในบทที่ 2 ได้กล่าวอย่างละเอียดแล้ว
[11] Ahl al- hal wa al-‘Aqd หมายถึง คณะที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุติทีมีอำนาจในการแต่งตั้ง และถอดถอนผู้นำประเทศ
[12] al-Wazarah เป็นคำพหูพจน์ จากคำเอกพจน์ al-Wizru แปลว่า ภาระหน้าที่ที่หนัก ผู้ที่ได้รับตำแหน่งนี้เรียกว่า “ วะซีร (Wazir) ” หมายถึง ผู้ช่วยเคาะลีฟะฮฺ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายหน้ารับผิดชอบที่หนักในการดำเนินกิจการต่างๆของราชอาณาจักรแทนเคาะลีฟะฮฺ ( Muhammad Husain, 2001:80)
[13] ดูในหน้า . 71
[14] กาติบ เป็นคำที่มาจากภาษาอาหรับ คือ katib แปลเป็นภาษาไทยว่า เลขานุการ
[15] อัลฮิยาบะฮฺ คือ การห้ามประชาชาติเพื่อไม่ให้เข้าพบเคาะลีฟะฮฺ หรือ การจัดระเบียบการเข้าออกของประชาชาติกับเคาะลีฟะฮฺ ท่านอิบนฺคอลดูน ได้กล่าวตำราของท่านว่า : อัลฮิยาบะฮฺในราชอาณาจักรอุมัยยะห์ และอับบาสียะฮฺนั้น คือ ผู้ทีรักษาความปลอดภัยของเคาะลีฟะฮฺโดยทั่วไป และเป็นผู้เปิด ปิดประตูในเวลาที่กำหนดไว้ ( Muhammad Husin, 2001 : 84 )
1 Ust Solehan bin Aywb. 2002. Islan and da’wah,Pustaka SALAM SDM. BHD : Kula Lamper.
2 อัลกุรอาน. ซูเราะห์ : อัลฮัมรอน, อายัตที่ 104
3 อัลกุรอาน.ซูเราะห์ : เตาบัด, อายัตที่ 71.
4 อัลกรุอาน. ซูเราะห์ : อัลอิมรอน, อายัตที่ 110.
5 อัลกุรอาน. ซูเราะห์ : อัลฮัจญ์, อายัติที่ 41.
6 อัลกุรอาน . ซูเราะห์ : อัลมาอีดะห์ , อายัตที่ 78
7 อัลกุรอาน . ซูเราะห์ : อัลมาอีดะห์ , อายัตที่ 79.
8 สุนนะฮ์ท่านนบีมูฮัมหมัด (ซล.) เรื่อง อัลฮิสบะฮฺ
9 อัลกุรอาน. سورة لأعراق/اية 157
10 อ้างแล้ว. ซูเราะห์ : อัลฮัมรอน, อายัตที่ 10
11 อัลกุรอาน.ซูเราะห์ : อัลบากอเราะห์, อายัตที่ 44.


อ้างจากเอกสารประกอบการสอนรายวิชาหลักการบริหารในอิสลาม 3 สาขารัฐประศาสนศาสตร์มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา เรียบเรียงโดย อาจารย์อับดุลเลาะห์ อูมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น