2. การปกครองรัฐและสังคมในสมัยอับบาสียะฮฺ
สภาพทางสังคมทั่วไป
จะเป็นเรื่องน่าสนใจอย่างยิ่งที่เราจะมองย้อนไปดูประวัติศาสตร์ในอดีตของราชวงศ์อับบาสียะฮฺแล้วจากนั้นก็รวบรวมประมวลความคิดเกี่ยวกับสภาพสังคมทางเศรษฐกิจของประชาชน
เคาะลีฟะฮฺเป็นประมุขของสังคมได้รับความเคารพนับถือสูงสุดจากประชาชน
ถัดจากเคาะลีฟะฮฺไปก็เป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐ สตรีได้รับสถานะภาพทางสังคมเช่นเดียวกับในสมัยราชวงศ์อุมัยยะฮ์ แต่ในตอนปลายๆ ศตวรรษที่ 10 ได้มีระบบแยกผู้หญิงจากผู้ชายอย่างเข้มงวดเกิดขึ้น ในระยะเวลานี้มีสตรีในราชวงศ์อับบาซียะฮ์หลายคนที่เป็นผู้บริหารรัฐและมีส่วนในการเมืองอย่างสำคัญ เช่น ค็อยซุรอน อุลัยยะฮฺ ซุบัยดะฮ์ และบูรัน เป็นต้น และมีสตรีจำนวนมากอีกด้วยที่มีความสนใจในงานวรรณกรรม จักรพรรดินีวูบัยดะฮ์ นั้นเป็นสตรีที่มีความสามารถ และเป็นกวีด้วย ฟัฎล์ ก็เป็นกวีหญิงที่มีชื่อเสียง อยู่ในรัชสมัยของเคาะลีฟะฮฺมุตะวักกิล ชัยคอชุฮาดะฮ์ ก็เป็นสตรีที่มีความสามารถอีกผู้หนึ่ง ซึ่งสอนประวัติศาสตร์และวรรณกรรมอยู่ในกรุงบัฆดาด ซัยนับ อุมมุลเมาวัยยิด เป็นนักกฎหมายที่มีชื่อเสียง ตาเกีย ก็เป็นกวีหญิงที่เด่นดัง กล่าวได้ว่าสตรีมุสลิมในสมัยอับบาซียะฮ์เป็นผู้มีความรู้ความสามารถและวัฒนธรรม
ในสังคมสมัยอับบาซียะฮ์นั้นมีการอุปถัมภ์การดนตรี อุลัยยะฮ์ เป็นนักดนตรีที่มีชื่อเสียงที่สุดในสมัยของเธอ พวกเจ้าหญิงและสตรีผู้สูงศักดิ์มักไปชมการแสดงดนตรีอยู่บ่อยๆ และบางทีก็หานักดนตรีมาแสดงที่ในบ้าน การเต้นรำก็เป็นที่นิยมในสังคม การดื่มสุรา เล่นโปโล หมากรุก ยิงธนู แข่งม้า ล่าสัตว์เหล่านี้เป็นสิ่งที่นิยมกันในสมัยอับบาซียะฮ์
ในบ้านของขุนนางผู้ดีและคนใหญ่คนโตมักจะจัดให้มีการอภิปรายเรื่องอักษรศาสตร์และวรรณกรรม ซึ่งจะมีผู้คนมาชุมนุมกันฟังวัตถุประสงค์ของการชุมนุมกันนี้ก็เพื่อจะค้นหาสัจจะสำหรับผู้คน ในสภาพสังคมเช่นนี้ได้มีการรวบรวมหนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ วรรณกรรม ปรัชญาและวิทยาศาสตร์ คนขายหนังสือนับว่ามีสถานะดีอยู่ในสังคมเช่นนี้ ร้านของพวกเขากลายเป็นศูนย์กลางที่ดึงดูดจิตใจของนักศึกษาและนักวิชาการ
ระบบการมีทาสเป็นที่นิยมกันในสมัยอับบาซียะฮ์ คนที่ร่ำรวยทุกคนจะมีทาสไว้ใช้สอยในบ้าน ทาสมาจากพวกผู้คนที่มิใช่มุสลิมซึ่งถูกจับมาโดยกำลังหรือเป็นเชลยศึกหรือซื้อหามาในยามปกติ มีทั้งชาวนิโกรชาวเติร์ก และคนผิวขาว ส่วนใหญ่เป็นคนกรีกหรือสลาฟ อาร์เมเนียหรือเบอร์เบอร์ ทาสที่อยู่ในฮาเร็มจะถูกตอนให้เป็นขันที ทาสหญิงถูกใช้ให้เป็นนักร้อง นักเต้นรำและนางบำเรอ บางคนก็มีอิทธิพลเหนือเคาะลีฟะฮฺนายของเธอเป็นอย่างมาก
เครื่องแต่งกายของชนชั้นผู้ดี มักจะเอาตามอย่างพวกเจ้านายผู้ครองรัฐ หมวกที่สวมอยู่เป็นปกติก็คือหมวกสีดำทรงสูงที่เรียกว่า กอลันสุวะฮฺ ทำด้วยผ้าขนสัตว์หรือผ้าสำลี ซึ่งอัล-มันซูร เป็นผู้นำมาใช้เป็นครั้งแรก กางเกงตัวกว้างๆ แบบเปอร์เซีย เสื้อเชิ้ต เสื้อกั๊กและเสื้อนอก และเสื้อคลุมไม่มีแขนสวมข้างนอก พวกนักศาสนาสวมผ้าโพกศีรษะสีดำและเสื้อคลุมตัวยาว ส่วนเครื่องแต่งกายของสตรีนั้นแตกต่างกันไปนามยศศักดิ์และตำแหน่งของเธอ หมวกที่นิยมสวมกันในหมู่สตรีสูงศักดิ์ซึ่งอุลัยยะฮ์ผู้เป็นน้องสาวร่วมบิดาของฮารูน-อัรรอชีด เป็นผู้นำมาได้แก่ หมวกลมรูปโดม ตกแต่งด้วยเพชรนิลจินดารอบๆ นอกจากนั้นเครื่องประดับยังมีกำไลมือและกำไลเท้าในหมู่สตรีชั้นกลางสวมเครื่องประดับแบนๆ ทำด้วยทองที่ศีรษะคล้ายๆ ริบบิ้นมักประดับด้วยไข่มุกและมรกต
1) ด้านเศรษฐกิจ
ในสมัยอับบาซียะฮ์ผู้คนมีอาชีพต่างๆ กัน พวกนักอุตสาหกรรม ช่างฝีมือ นักอักษรศาสตร์ และช่างเทคนิคนับเป็นชนชั้นกลางระดับสูง ส่วนชนชั้นกลางระดับต่ำประกอบไปด้วยเกษตรกร และคนเลี้ยงสัตว์ คนเหล่านี้เป็นอิสระจากความกังวลในชีวิตเศรษฐกิจสมัยใหม่
สมัยอับบาซียะฮ์เป็นสมัยที่รุ่งเรืองในด้านการค้าพาณิชย์ เมืองบัฆดาด บัศเราะฮ์ และอเล็กซานเดรียเป็นศูนย์กลางธุรกิจในสมัยนั้น จากเมืองเหล่านี้เองที่ประเทศอื่นๆ ที่เจริญแล้วในโลกได้รู้จักกับโลกมุสลิม ผู้คนนำเอาธุรกิจของพวกเขาไปยังโลกภายนอกและนำเอาความมั่งคั่งกลับมาสู่เมืองหลวง
การอุตสาหกรรมเจริญก้าวหน้ามากในสมัยอับบาซียะฮ์ อุตสาหกรรมในบ้านก็เจริญรุ่งเรืองในส่วนต่างๆ ของราชอาณาจักรในเอเชียตะวันตกมีการทอพรม ไหม ผ้าฝ้าย ผ้าขนสัตว์ ผ้าแพร ผ้ายกดอก ผ้าหุ้มเก้าอี้โซฟาและหมอนอิง รวมทั้งเครื่องเรียนและเครื่องใช้สอยในครัวอื่นๆ อีกมาก การเกษตรก็ได้รับการทำนุบำรุงเป็นอย่างดี บรรดาคอลีฟะฮ์มีความสนใจในเกษตรกรรมเป็นพิเศษ เพราะทราบดีว่ามันเป็นแหล่งใหญ่ของรายได้ของรัฐ ทรงทำนุเนื้อดินให้ดีขึ้นโดยสร้างระบบการทดน้ำ และเลื่อนฐานะของผู้ทำการเกษตรให้สูงขึ้น
2) ด้านการศึกษาและวิชาการ
ในสมัยอับบาซียะฮ์การศึกษาขึ้นถึงความเจริญระดับสูงสุด เคาะลีฟะฮฺเป็นองค์อุปถัมภ์การศึกษาและนักปราชญ์ต่างๆ ในตอนปลายสมัยอุมัยยะฮ์นั้น ราษฎรทั่วโลกมุสลิมได้รับการศึกษาได้อย่างทั่วถึง มุสลิมส่วนใหญ่ทั้งชายและหญิงสามารถอ่านและเข้าใจพระมหาคัมภีร์กุรอานได้ โรงเรียนชั้นประถมมักจะอยู่ติดกับมัสยิด ใช้คัมภีร์อัลกุรอานเป็นหนังสือแบบเรียน เด็กผู้หญิงอายุน้อยๆ ก็เข้าเรียนที่โรงเรียนเหล่านี้เหมือนกัน บางครั้งก็ตั้งโรงเรียนขึ้นในบ้านในร้านหรือในมัสยิด ตามเมืองต่างๆ มีโรงเรียนมัสยิดเป็นจำนวนมากมาย
นักประวัติศาสตร์คนหนึ่งกล่าวว่า ในกรุงบัฆดาด มีมัสยิดถึงสามหมื่นมัสยิด นอกจากมัสยิดแล้วก็ยังมี “มักตับ” ซึ่งใช้เป็นโรงเรียนประถมศึกษา การศึกษาในสมัยอับบาซียะฮ์ มิได้จำกัดอยู่แค่ชั้นประถมศึกษาเท่านั้น อัล-มะมูน ได้ทรงสร้างบัยตุล-ฮิกมะฮฺ อันเป็นที่ประสิทธิประสาทความรู้ระดับสูงขึ้นไปด้วย โรงเรียนนิซอมียะฮ์ ซึ่งสร้างขึ้นใน ค.ศ.1065-67 โดยนิซอมุลมุล ผู้เป็นวะซีรของสุลฎอนซิลญูกมาลิกชาฮฺนั้นเป็นสถาบันการศึกษาทางด้านศาสนาที่ใหญ่ที่สุดในสมัยอับบาซียะฮ์
พัฒนาการทางการศึกษาของชาวอาหรับมีสองขั้น ขั้นแรกคือ ความเจริญที่เป็นไป เองโดยธรรมชาติ เกิดขึ้นตั้งแต่เสี้ยวแรกของศตวรรษที่ 7 แห่งคริสต์ศักราชไปถึงศตวรรษที่ 9 และ 10 ส่วนขั้นที่สองนั้นเริ่มตั้งแต่ศตวรรษที่ 11 เมื่อโรงเรียนต่างๆ กลายเป็นสถาบันของรัฐและการศึกษาเป็นหน้าที่ภาคบังคับของรัฐบาล ขั้นแรกอาจเรียกได้ว่าเป็นแบบอาหรับอย่างแท้จริง ส่วนขั้นที่สองเกิดขึ้นเพราะอิทธิพลจากมุสลิมที่มิใช่อาหรับ
หลักสูตรของโรงเรียนประถมศึกษา ประกอบด้วยการอ่านเขียน ไวยากรณ์ สุนนะฮ์ของท่านศาสดา หลักคณิตศาสตร์เบื้องต้น และบทกวีทางศาสนา ส่วนนักศึกษาชั้นสูงเรียนสุนนะฮื นิติศาสตร์ ศษสนศาสตร์ คำศัพท์ ศิลปการพูด และวรรณกรรมนักศึกษาชั้นสูงศึกษาดาราศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ปรัชญา เรขาคณิต ดนตรี และการแพทย์
กิจกรรมด้านวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ในสมัยอับบาสียะฮฺ
เมื่อราชวงศ์อับบาซียะฮ์มีอำนาจขึ้นในโลกมุสลิม อาณาจักรมุสลิมก็ได้เปิดศักราชใหม่ในด้านวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ รุ่งอรุณของสมัยแห่งความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์ของมุสลิมได้เริ่มขึ้นพร้อมๆ กับการเริ่มขึ้นของสมัยอับบาซียะฮ์ ซึ่งเป็นพลเมืองที่มาจากอิทธิพลของวัฒนธรรมหลายๆ ด้าน อัล-มะมูน ทรงเปิดแผนกแปลเพื่อรักษาผลงานด้านวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมของต่างชาติไว้ หนังสือและเอกสารต่างๆ ทีมีอยู่นั้นมาจากต่างประเทศกล่าวกันว่า ฮารูนได้ทรงขอจักรพรรดิไบแซนไตน์ให้ส่งนักปราชญ์ลีโอมายังกรุงบัฆดาดโดยแลกเปลี่ยนกับทองคำหนักห้าตัน
ในด้านการแพทย์ ปรัชญาการเล่นแร่แปรธาตุ ดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ เคมี ภูมิศาสตร์ กฎหมาย ศาสนวิทยาและภาษาศาสตร์นั้น มุสลิมก็ได้ประโยชน์ให้แก่โลกเป็นอย่างมาก ยุโรปเป็นหนี้มุสลิมในเรื่องความรู้ทางเคมีการแพทย์และคณิตศาสตร์เป็นอย่างมาก มุสลิมยังได้ทำการคิดค้น และวิจัยในสาขาต่างๆ เหล่านี้ต่อไปอีก พวกเขาได้แปลตำรับตำราของต่างชาติจำนวนมากมายออกเป็นภาษาอาหรับและงานแปลเหล่านั้นก็ได้ตกทอดไปยังยุโรปโดยผ่านซีเรีย สเปนและซิซีลี งานแปลนี้ย่อมมีความสำคัญในประวัติศาสตร์ของวัฒนธรรมอย่างไม่ต้องสงสัย ผลงานของอริสโตเติล กาเลน และปโตเลมีคงจะหายสาบสูญไปถ้าหากมุสลิมไม่ได้เก็บรักษามันไว้ด้วยการแปลเป็นภาษาอาหรับ
เคาะลีฟะฮฺในราชวงศ์อับบาซียะฮ์ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์วิทยาการอย่างใหญ่หลวง ทรงทำนุบำรุงเลี้ยงดูนักปราชญ์และนักวิทยาศาสตร์ที่มีความสามารถซึ่งได้สร้างประโยชน์อันมีค่าให้แก่วัฒนธรรมของโลก ผู้เขียนตำราแพทย์ที่มีชื่อเสียงที่สุดในสมัยนี้ก็คืออะลี อัต-ตะบารีอัล-รอซี อะลีอิบนุ-อับบาส อะลี อัต-ตะบารี ซึ่งมีชื่อเสียงอยู่ในตอนกลางศตวรรษที่ 9 เป็นแพทย์ประจำตัวของเคาะลีฟะฮฺอัลมุตะวักกิล
อัล-รอซีและอิบนุซีนาก็เป็นนายแพทย์ที่ยิ่งใหญ่ที่โลกเคยรู้จักมา ตำราที่ชื่อ “กอนูน” ของอินุซีนาได้ใช้เป็นตำราทางการแพทย์มาหลายร้อยปี
ชาวมุสลิมได้ปลูกฝังความรักด้านปรัชญาอย่างกระตือรือร้นเท่าๆ กัน ทางด้านวิทยาศาสตร์ อัล-ฆอซาลี อัล-คินตี อัล-ฟารอบี และอิบนุซินาเป็นนักปรัชญาที่มีชื่อเสียงของมุสลิม อัล-คินดีนั้นเป็นยิ่งกว่านักปรัชญาคือเป็น นักเล่นแร่แปรธาตุ นักประดิษบ์กล้องและนักทฤษฎีด้านดนตรีอีกด้วย ท่านได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับความรู้ด้านต่างๆ ไว้กว่า 200 เล่ม ชาวอาหรับเรียกอัลฟารอบีว่าอริสโตเติลคนที่สอง ท่านได้เขียนตำราทางด้นจิตวิทยาการเมืองและอภิปรัชญาไว้มากมาย งานเขียนชิ้นอื่นๆ ของท่านแสดงให้เห็นว่าท่านมีความรู้ทางการแพทย์และคณิตศาสตร์พอใช้ทีเดียว ส่วนอิบนุซินานั้นเป็นทั้งนักปรัชญา นักฟิสิกส์ นักภาษาศาสตร์และกวี ท่านได้จัดระบบให้แก่นักปรัชญาที่มีมาก่อนท่านทั้งชาวกรีกและมุสลิม เมื่อท่านสิ้นชีวิตไปยุคสมัยอันยิ่งใหญ่แห่งปรัชญาอาหรับก็สิ้นสุดลงด้วย
เคาะลีฟะฮฺต้นๆ ของราชวงศ์อับบาสียะฮฺได้สร้างโรงพยาบาลขึ้นซึ่งเรียกว่า “บิมาริสตาน” โรงพยาบาลแห่งแรกถูกสร้างขึ้นโดยฮารูน อัร-รอชีดในกรุงบัฆดาด ต่อมาก็ได้มีโรงพยาบาลแห่งแรกถูกสร้างขึ้นโดยฮารูน อัร-รอชีดในกรุงบัฆดาด ต่อมาก็ได้มีโรงพยาบาลเกิดขึ้นอีก 34 แห่ง ในส่วนต่างๆ ของโลกมุสลิม สาขาอื่นๆ อาทิเช่น ศัลยกรรม เภสัชกรรม วิชาเกี่ยวกับสายตา ฯลฯ ก็เจริญก้าวหน้ามากในสมัยอับบาซียะฮ์
ชาวอาหรับได้ทำประโยชน์อันยิ่งใหญ่ในด้านดาราศาสตร์การศึกษาเรื่องดาราศาสตร์ได้เริ่มขึ้นภายใต้อิทธิพลของงานชิ้นหนึ่งซึ่งเขียนโดยชาวอินเดียอันมีชื่อว่าสิทธันตะ งานชิ้นนี้มุฮัมมัด อิบรอฮีม อัล-ฟาซารี ได้แปลเป็นภาษาอาหรับโดยคำบัญชาของเคาะลีฟะฮฺอัล-มะมูน ในระหว่างครึ่งแรกของศตวรรษที่ 9 ได้มีการสร้างหอดูดาวแห่งแรกขึ้นที่เมืองจันดีซาปุร ในเปอร์เซียตะวันตกเฉียงใต้
อัล-มะมูนได้สร้างหอดูดาวขึ้นอีกแห่งหนึ่ง ที่กรุงบัฆดาดภายใต้การอำนายการของชาวยิวคนหนึ่งที่มาเข้ารับอิสลาม ซินด์ อิบนุ อะลี อัล-อับบาส ฟัรฆอนี บุตรชายสามคนของมูซาอิบนุซัยร์ อัล-บัฏฏอนี อบูฮะซัน และนักดาราศาสตร์เด่นๆ อีกหลายคนมีชีวิตอยู่ในสมัยนี้ พวกเขาได้ทำการศึกษาพิเศษในเรื่องดาราศาสตร์ พวกเขายืนยันเรื่องขนาดของโลกการอ้อมของสุริยะคราสและจันทรคราสความเปลี่ยนแปลงของเส้นรุ้งของดวงจันทร์ การเคลื่อนช้าๆ ไปทางทิศตะวันตกของจุดที่มีกลางวันกลางคืนเท่านั้น ฯลฯ
ในบรรดานักคณิตศาสตร์ทางดาราศาสตร์ คนที่สำคัญก็คืออัลเคาะวาริชมี ผู้เขียนหนังสือชื่อกิตาบซูเราะห์ตุลอัรฎ อธฮบายแผนที่เป็นเล่มแรกในศตวรรษที่ 9 อิบรอฮีมอัล-ฟะซารีได้สร้างห้องทดลองดาราศาสตร์ขึ้น
มุสลิมได้ทำประโยชน์ไว้มากมายในวิชาพีชคณิต การสร้างเลขคณิตแบบใช้ทศนิยม การค้นพบเรขาคณิตแบบราบและวงกลม ตัวเลขอาหรับและการใช้เลขศูนย์เหล่านี้เป็นการประดิษฐ์และค้นพบบางอย่างของชาวมุสลิม
ในบรรดานักคณิตศาสตร์ ผู้ที่มีชื่อก็คือ ฮัล-บัยรูนี และอุมัรอัล-ค็อยยาม อัล-บัยรูนีนั้นเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของทุกสมัย
นอกจากนั้นท่านยังเป็นนักประวัติศาสตร์คนสำคัญด้วย หนังสือชื่อกิตาบุล-ฮินด์ ของท่านเป็นหนังสือที่ใช้ในการศึกษาอินเดียได้เป็นอย่างดีส่วนอัล-ค็อยยามซึ่งรู้จักกันดีว่าเป็นกวีนั้นก็เป็นนักคณิตศาสตร์และนักดาราศาสตร์ที่มีชื่อเสียงด้วย
นอกจากนั้นชาวอาหรับยังทำประโยชน์ทางความรู้วิทยาศาสตร์ด้านเคมีซึ่งพวกเขาเรียกว่าอัลคีมียะฮ์อีกด้วย ญาบีรบินฮัยยาน แห่งเมืองคูฟะฮฺ นับว่าเป็นบิดาแห่งวิชาเคมีสมัยใหม่ ท่านได้สร้างห้องทดลองขึ้นที่เมืองคูฟะฮฺ ได้ค้นพบสารประกอบทางเคมีมากมายและได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับวิชาเคมีไว้หลายเล่ม
มุสลิมชาวอาหรับได้ประดิษฐ์เข็มทิศ สำหรับใช้ในการเดินเรือขึ้น และได้เดินทางไปยังส่วนต่างๆ ของโลกเพื่อแสวงหาความรู้หรือเพื่อการค้าพาณิชย์ พวกเขาได้สร้างอาณานิคมขึ้นในส่วนต่างๆ ของโลก และเชื่อกันว่าพวกเขาได้เดินทางทะลุทะลวงไปไกลจนถึงการเดินทางไปแสวงบุญที่ปลุกให้พวกเขาเกิดความสนใจในเรื่องภูมิศาสตร์ญุยฮานี อัล-มัสอูดี อัล-อิสตัฆรี อิบนุเฮากอล ยากูต อัล-บักร์ อัล-มุก็อดะซี และอิดริซี ได้ชื่อว่าเป็นนักภูมิศาสตร์ชาวอาหรับที่มีชื่อเสียงที่สุด
ทางด้านประวัติศาสตร์นั้นเล่ามุสลิมก็เจริญก้าวหน้าไม่น้อยเลย บะลาดูรี ฮามาดัน มัสอูดี ตะบารี และอิบนุอะษีร เป็นนักประวัติศาสตร์ที่เด่นอยู่ในสมัยอับบาซียะฮ์ หนังสือชื่อ ฟุตูหุลบุลดาน ของบาลาดูรี ก็ได้เขียนขึ้นด้วยลีลาที่น่าชื่นชมและเป็นสิ่งชี้ให้เห็นถึง ด้านประวัติศาสตร์และเป็นนักเขียนที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งแห่งศตวรรษที่ 14
ท่านได้เดินทางไปยังประเทศมุสลิมต่างๆ หนังสือของท่านชื่อ มุรูญุซซะฮับวะมะดารุลญะวาฮิร นั้นเป็นบันทึกประสบการณ์และสังเกตการณ์ในการเดินทางของท่าน
นักวรรณกรรมภาษาอาหรับและเปอร์เซียที่มีชื่อเสียงก็มีอิสฟะฮานี อิบนุค็อลลิกอน อบูนุวาส อัล-บุฮตารี มุตันนะบี ดากิกี ฟิรเดาซี อันซูรี ญะลาลุดดีน และอบุลฟะร็อจญ์ มุฮัมมัด บินอิสฮาก ในสมัยนี้เช่นกันที่มุสลิมได้สร้างนิติศาสตร์ขึ้นโดยนิติศาสตร์มุสลิมนั้นได้นำเอาแบบอย่างจากโรมัน มาสร้างระบบอิสระของตนเองขึ้น ในระบบนิติศาสตร์ทางมุสลิมนั้น ฟิกฮหรือความรู้ต้องอาศัยกุรอานและหะดีษเป็นสิ่งแรก แต่เมื่อมันไม่สามารถแก้ปัญหาที่ยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้นได้ ก็อนุญาตให้ใช้การตีความส่วนบุคคลเข้าช่วยได้ การอนุญาตให้มีการตีความทำให้เกิดสำนัก (มัซฮับ) ขึ้น 4 สำนักซึ่งมีอบูหะนีฟะฮฺ มาลิก ชาฟิอี และฮัมบัล เป็นผู้นำของแต่ละสำนัก จึงกล่าวได้ว่านักปราชญ์และผู้รู้ของมุสลิมในสมัยอับบาสิดมีอยู่ในทุกสาขาวิชาการ
3) ด้านการบริหาร
รูปแบบการปกครองของรัฐบาลอับบาซียะฮ์ก็คือสมบูรณาญาสิทธิราช อำนาจของเคาะลีฟะฮฺกว้างขวางไม่มีที่จำกัด เคาะลีฟะฮฺทรงเป็นประมุขของรัฐและเป็นประมุขทางศาสนาด้วยเป็นผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพและเป็นผู้แต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งต่างๆ ทรงมีอำนาจแต่งตั้งผู้สืบต่อตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺในอนาคตได้โดยไม่ต้องทำตามกฏใดๆ วัตถุประสงค์ของราชวงศ์อับบาซียะฮ์ระยะต้นก็คือการสร้างอาณาจักรอิสลาม ด้วยเหตุนี้จึงได้ละทิ้งการพิชิตดินแดนต่างประเทศเสีย
ผู้ที่มีตำแหน่งไปจากเคาะลีฟะฮฺก็คือวะซีร (นายกรัฐมนตรี) ตำแหน่งวะซีรนี้มีต้นตอมาจากเปอร์เซีย วะซีรมี 2 ประเภท คือผู้ที่มีอำนาจจำกัดและผู้ที่มีอำนาจไม่จำกัด วะซีรที่มีอำนาจไม่จำกัดเรียกว่า แกรนด์วะซีร (นายกรัฐมนตรี) หรือวะซีรใหญ่เป็นผู้ใช้อำนาจและสิทธิพิเศษของเคาะลีฟะฮฺ เพียงแต่ต้องให้เคาะลีฟะฮฺทราบเท่านั้นว่าตนได้ทำอะไรไปบ้าง เขาสามารถจะจัดการอะไรทุกอย่างที่เห็นว่าจำเป็นได้โดยไม่ต้องขออนุมัติก่อน เว้นแต่ไม่สามารถจะจัดการอะไรทุกอย่างที่เห็นว่าจำเป็นได้โดยไม่ต้องขออนุมัติก่อน แต่ไม่สามารถถอดถอนข้าราชการที่เคาะลีฟะฮฺเป็นผู้แต่งตั้งเท่านั้น แต่เขาก็มีอำนาจที่จะแต่งตั้งข้าราชการในนามของเคาะลีฟะฮฺ และมีอำนาจเข้าไปนั่งเป็นประธานในศาลอุทธรณ์ขั้นสูงสุดได้ อำนาจของวะซีรเพิ่มขึ้นมากมายในขณะที่เคาะลีฟะฮฺสมัยหลังๆ มัวหมกมุ่นอยู่แต่ในฮาเร็ม(ในพระราชวัง) แต่อำนาจของวะซีรชนิดที่มีอำนาจจำกัดนั้นไม่กว้างขวางนัก ไม่มีสิทธิที่จะทำอะไรตามใจชอบได้ แต่ทำตามคำสั่งของเคาะลีฟะฮฺเท่านั้น เป็นเพียงตัวกลางระหว่างผู้ปกครองกับผู้อยู่ใต้ปกครอง วะซีรต้องมีความรู้อย่างแตกฉานเกี่ยวกับการบริหารและเข้าใจ สภาพท้องถิ่นของแคว้นนั้นๆ ด้วย
รัฐบาลของเคาะลีฟะฮฺเรียกว่า อัด-ดิวาน-อะซีซ (Ad-Diwan-Aziz) ซึ่งมีวะซีรใหญ่เป็นประธานแผนกต่างๆ ที่สำคัญก็มีแผนกการเงิน สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ สำนักงานบัญชี สำนักงานสงคราม สำนักงานพิทักษ์คนต่างชาติและทาส สำนักงานจัดการรายจ่ายภายในประเทศ องค์การติดต่อหรือสำนักงานอัครมหาเสนาบดี องค์การไต่สวนเรื่องร้องทุกข์ และสำนักงานทหารและตำรวจ นอกจากนั้นก็ยังมีสำนักงานเล็กๆ อย่างอื่นอีก
ได้มีการจัดตั้งสำนักงานตำรวจขึ้นเพื่อรักษาความสงบภายในประเทศ หัวหน้าสำนักงานนี้เรียกว่าชะบีฮฺอัชชูตะฮฺ ในสมัยหลังชะบีฮฺอัชชูตะฮฺดำรงตำแหน่งวะซีร
ผู้พิพากษา (Qazi) และหัวหน้าผู้พิพากษาเป็นผู้บริหารความยุติธรรม หัวหน้าผู้พิพากษาซึ่งเรียกว่ากอฎี-กุฎอฎ (Qazi-Quzat) เป็นเจ้าหน้าที่สูงสุดด้านกฎหมายเพื่อช่วยผู้พิพากษาบริหารความยุติธรรม ได้จัดตั้งเจ้าหน้าที่อีกชั้นหนึ่งที่เรียกว่าอาฎิลในกรณีที่เกี่ยวกับสิทธิของพลเมืองในบรรดาผู้ที่มิใช่มุสลิมนั้นปัญหาทั้งหมดจะตกเป็นหน้าที่ของหัวหน้าทางศาสนาของพวกเขา
4) ด้านการปกครองแคว้นต่างๆ
เพื่อความสะดวกในการปกครองได้แบ่งอาณาจักรทั้งหมดออกเป็นหลายแคว้นด้วยกันแต่ละแคว้นมีเจ้าหน้าที่ปกครองที่เรียกว่าอมีร (Ameer) ซึ่งเคาะลีฟะฮฺเป็นผู้แต่งตั้งและขึ้นตรงต่อเคาะลีฟะฮฺอมีรมีอำนาจสูงสุดในแคว้นของเขาเอง แต่ตำแหน่งของเขาไม่ได้สืบทอดตามสายเลือด เขาจะถูกย้ายหรือถูกถอดถอนได้ทุกขณะที่เคาะลีฟะฮฺต้องการ
ชูตะฮฺซึ่งอยู่ใต้บังคับบัญชาของชะบีฮฺ อัชชูตะฮฺนั้นทำหน้าที่ดูแลตำรวจนครบาลส่วนตำรวจภูธรนั้นอยู่ภายใต้เจ้าหน้าที่พิเศษที่เรียกว่ามุฮฺตะซิบ (Muhtasib)
ในแต่ละเมืองมีผู้พิพากษาประจำในเมืองใหญ่ๆ มีผู้พิพากษาหลายๆ คน ในระยะต้นๆ ของราชวงศ์อับบาซียะฮ์นั้นผู้พิพากษาประจำจังหวัดได้รับการแต่งตั้งโดยผู้ครองเมืองนั้นๆ แต่ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นหัวหน้าผู้พิพากษาแห่งบัฆดาดเป็นผู้แต่งตั้งแผนกที่สำคัญแผนกหนึ่งในรัฐบาลอับบาซียะฮ์ก็คือแผนกไปรษณีย์ ในแต่ละแคว้นนายไปรษณีย์ซึ่งเรียกว่าซอฮิบุลบาริด เป็นผู้ควบคุมดูแลกิจการด้านไปรษณีย์ เขาไม่ใช่แต่เพียงดูแลงานในแผนกไปรษณีย์เท่านั้น แต่ยังต้องคอยรายงานเคาะลีฟะฮฺถึงเรื่องราวสำคัญๆ ในแคว้นนั้นๆ ด้วยนับว่าเป็นสายลับของรัฐบาลกลางและต้องรายงานสภาพของแคว้นอย่างลับๆ เป็นระยะๆ ไป
รายได้ของรัฐ
รายได้ของราชอาณาจักรอับบาสียะฮฺนั้นมาจากภาษีที่ดินซึ่งเป็นรายได้สำคัญที่ได้มาจากผู้ที่มีผู้ที่มิใช่มุสลิม นอกนั้นก็มีภาษีรายได้สิบชัหนึ่ง ภาษีหนึ่งในห้าของผลผลิตจากเหมืองแร่และทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ภาษีที่เรียกจากผู้ที่มิใช่มุสลิม (แทนการต้องเป็นทหาร) ภาษีศุลกากร ภาษีเกลือและการประมง ภาษีที่เจ้าของร้านค้าต้องเสียในการใช้สถานที่สาธารณะ ภาษีโรงงาน ภาษีของฟุ่มเฟือยและภาษีสินค่าเช่า ภาษีชนิดหลังสุดนี้ได้ถูกยกเลิกไปโดยเคาะลีฟะฮฺวาษิก (Wathiq)
กิจการทหาร
ในระหว่างสมัยของเคาะลีฟะฮฺท่านแรกๆ สองสามท่านนั้นการจัดการด้านทหารของราชวงศ์อับบาสียะฮฺ นับเป็นสิ่งที่น่าทึ่งอย่างยิ่ง แต่ในสมัยเคาะลีฟะฮฺท่านหลังๆ ได้ทอดทิ้งการทหารเสีย ในสมัยเคาะลีฟะฮฺท่านแรกๆ นั้นมีจำนวนทหารมากมายสำหรับใช้ในสนามรบ เคาะลีฟะฮฺฮารูน-อัล-รอชีด มีทหารอยู่ใต้บังคับบัญชา 135,000 นาย ซึ่งเป็นทหารที่ได้รับเงินเดือน นอกนั้นยังมีทหารอาสาสมัครอีกจำนวนมากมาย ในสมัยที่ท่านยกทัพไปต่อสู้กับจักรพรรดินิซฟอรัส ในสงครามกลางเมืองระหว่างอัล-อมีนกับอัล-มะมูน กำลังทหารของอัลมะมูนซึ่งครองอิรักมีถึง 125,000 คนและฝ่าย อัล-อมีน ซึ่งเป็นเคาะลีฟะฮฺก็คงต้องมีจำนวนมากมายเช่นเดียวกัน นอกจากนั้นทั้งสองฝ่ายก็คงต้องทิ้งทหารจำนวนหนึ่งไว้คอยรักษาเมืองทางแคว้นตะวันออกและตามเมืองแนวหน้าอีกด้วย เมื่อปี ค.ศ.917 ในรัชสมัย ของเคาะลีฟะฮฺอัลมุกตะติรได้มีการเดินขบวนของทหารต่อหน้าทูตของไบแซนไตน์ปรากฏว่ามี ทหารม้าจำนวน 160,000 นาย
ในสมัยอับบาสียะฮฺตำแหน่งสูงๆ ทางด้านการทหาร เปิดให้แก่คนทุกชาติและจ่ายเงินเดือนให้แก่ทหารชาติต่างๆ เท่าเทียมกัน การปฏิบติต่อทหารเช่นนี้ได้ดึงดูดคนจำนวนมากให้มารับอิสลามและมาเข้าเป็นทหารในกองทัพของเคาะลีฟะฮฺ มุสลิมที่เพิ่งรับศษสนาใหม่ๆ ในซีเรีย อียิปต์ แอฟริกา อิรัก เปอร์เซีย และทรานโซเซียนา มักเลือกเข้าเป็นทหารในสมัยอับบาซียะฮ์
เคาะลีฟะฮฺอัล-มันซูร ได้ทรงจัดทหารเป็นหน่วย 3 หน่วยด้วยกันคือ หน่วยอารเบียเหนือพวกมุฎอรีย์ หน่วยอารเบียใต้ และหน่วยคูราซาน เคาะลีฟะฮฺอัลมุตะซิมได้เพิ่มอีกสองหน่วย
หน่วยหนึ่งประกอบด้วยชาวเติร์ก และอีกหน่วยหนึ่งประกอบด้วยชาวแอฟริกา การแบ่งกำลังทหารออกเป็นหน่วยตามชาตินี้เป็นการทำลายความรักหมู่คณะของกองทัพมุสลิมและก่อให้เกิดความรู้สึกเป็นปรปักษ์กันขึ้นรวมทั้งความอิจฉาริษยาและแก่งแย่งอำนาจกัน ซึ่งในที่สุดก็เป็นอันตรายร้ายแรงแก่อาณาจักรอิสลาม
กองทัพประกอบด้วยกองทหารราบ ทหารม้า ทหารธนู ทหารปืนและทหารช่าง ในการออกรบจริง มีทหารสองประเภทคือทหารประจำการกับทหารอาสาสมัคร ทหารอาสาสมัครได้รับเงินเฉพาะในตอนออกรบเท่านั้น
ส่วนทหารประจำนั้นได้รับเงินเดือนประจำ เงินเดือนทหารสมัยอับบาซียะฮ์น้อยกว่าในสมัยอุมัยยะฮ์ ในระหว่างที่ทหารต้องออกไปทำงานไม่อยู่บ้าน ภรรยาและลูกๆ ของเขาจะได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล
ทหารราบใช้แหลน ธนู หอก ซัด ดาบและขวานเป็นอาวุธ ส่วนทหารม้าใช้แหลน ธนู และดาบยาว ซึ่งกว้างและตรง ในสมัยอับบาซียะฮ์การยิงธนูได้รับการปรับปรุงดีขึ้นมาก กองทัพมีคณะวิศวกรติดตามไปทุกแห่งและเจ้าหน้าที่เหล่านี้จะอยู่ประจำในป้อมปราการทุกแห่งและในเมืองทุกเมืองด้วย ชาวอาหรับมีแพทย์และศัลยแพทย์ประจำกองทัพมาตั้งแต่ต้นแล้ว แต่ละกองทัพมีผู้พิพากษาคนหนึ่งซึ่งมีหน้าที่คอยดูแลและแบ่งทรัพย์สินที่ยึดได้จากสงครามตามกฎหมายอิสลาม
ในสมัยอับบาซียะฮ์ ชาวอาหรับมีระบบสายลับที่มีประสิทธิภาพมาก แต่ขวัญของทหารต่ำกว่าในสมัยแรกๆ
ในสมัยราชวงศ์อับบาซียะฮ์ กรุงบัฆดาดเป็นเมืองที่เจริญที่สุด และไม่ใช่เป็นแต่เมืองหลวงในสมัยอับบาซียะฮ์เท่านั้น แต่ยังใช้ในการทหารอีกด้วย เคาะลีฟะฮฺอัลมันซูรได้สร้างป้อมปราการการปกป้องกรุงบัฆดาดอย่างแข็งแรง นอกจากนั้นยังทรงสร้างป้อมที่แข็งแรงแห่งหนึ่งไว้ที่ใกล้เมืองอัร-รอฟีเกาะฮ์ทางฝั่งแม่น้ำยูเฟรติสและวางทหารชาวคูราซานไว้ประจำที่นั่นด้วย ป้อมนี้มีชื่อว่า อัร-รอฟีเกาะฮ์
เคาะลีฟะฮฺอัล-มันซูรและเคาะลีฟะฮฺที่สืบต่อจากท่านได้ทรงบูรณะตามเขตเมืองแนวหน้าเสียใหม่ ได้สร้างป้อมปราการไว้ปกป้องเมืองเหล่านั้นและสร้างเขตชาวมุสลิมขึ้นในนั้น เคาะลีฟะฮฺฮารูน-อัรรอชิด ได้ทรงสร้างแคว้นพิเศษให้ชื่อว่าอัล-อะวาซิม จากเมืองชนบทต่างๆ ตามชายแดนเอเชียไมเนอร์ อัล-มันซูรทรงสร้างกำลังทหารไว้ในเมืองที่สร้างขึ้นใหม่คือมารัช มะลัดยะฮฺ จากเมืองชนบทต่างๆ ตามชายแดนอีกหลายเมือง ได้ทรงวางทหารจำนวน 4,000 คนไว้ในเมืองมาลาเตียฮ์ โดยให้เงินและสิ่งอำนวยความสะดวกเป็นพิเศษแก่พวกเขาอัร-รอชีด ได้ทรงสร้างเชิงเทินล้อมเมืองมัสสิชาฮ์ ทรงวางทหารรักษาการณ์ไว้ในเมืองเตารุส และเปลี่ยนมันให้เป็นค่ายใหญ่ ทรงสร้างป้อมปราการที่เมืองอดานา และวางทหารไว้ที่นั่น ทรงตั้งเขตทหารไว้อีกแห่งหนึ่ง ที่เมืองอนาซัรบะฮฺ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของมัสสิชาฮฺ ทรงสร้างป้อมอัลฮารูนิยะฮฺ ไว้ที่เมืองมารัช ส่วนจักรพรรดินีซุบัยดะฮ์ ก็ทรงบูรณะเมืองอิสกับดารุน หรืออเล็กซานเดรียขึ้นใหม่โดยเงินโดยเงินของท่าน อัล-มุอตะซิม ทรงสร้างป้อมปราการที่เมืองมัสสิชาฮฺจนสำเร็จและเอาทหารไปอยู่ในเมืองเก่าที่ชื่อเตียนา ได้มีการสร้างป้อมปราการตามชายแดนขึ้นที่เมืองอื่นอีกหลายแห่ง
กองทัพเรือ
ในสมัยอับบาซียะฮ์ พ่อค้าพาณิชย์ชาวอาหรับได้เดินทางไปอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก ชาวอาหรับมีอำนาจสูงอยู่ตามแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แม่น้ำไทกริส ยูเฟรติส และชาวเปอร์เซียอยู่ใกล้กับเมืองหลวงจึงทำให้สะดวกแก่การค้าและการคมนาคมทางเรือ
ในแถบตะวันออก เมื่อเคาะลีฟะฮฺมันซูรทรงสร้างกรุงบัฆดาดไว้บนฝั่งแม่น้ำไทกริสนั้น สถานที่แต่ละแห่งในเมืองก็ถูกเปลี่ยนเป็นทางน้ำไป สถานที่ตั้งเมืองหลวงนี้ถูกเลือกโดยตั้งใจจะให้สะดวกต่อการคมนาคมเพื่อการค้าขายเป็นส่วนใหญ่กับส่วนอื่นๆ ของโลกโดยผ่านแม่น้ำไทกริสและยูเฟรติส
ในสมัยอับบาซียะฮ์ ได้มีการทำนุบำรุงการค้าทางเรือ เมืองอะดาวน์ เป็นศูนย์กลางใหญ่ของการค้าขายระหว่างอฟริกาและอารเบียและเป็นจุดพบกันของการค้าระหว่างอินเดียกับจีนด้านหนึ่งกับอียิปต์อีกด้านหนึ่ง ซีรอฟเป็นเมืองท่าของโลกที่ตั้งอยู่ที่อ่าวเปอร์เซีย เป็นที่ซึ่งสินค้าเข้าสินค้าออกทั้งหมดของเปอร์เซียต้องผ่านเมืองบัศเราะฮ์ ฮัรนิซ และดัยบุล เป็นเมืองท่าที่สำคัญชาวอาหรับมุสลิมมีศูนย์การค้าอยู่ในเมืองสำคัญๆ ทุกแห่งของตะวันออกไกล
ราชวงศ์อับบาซียะฮ์ครอบครองแคว้นสินธ์ ในอินเดีย โดยรับช่วงมาจากราชวงศ์อุมัยยะฮ์ ในปี ฮ.ศ. 159 หรือ ค.ศ.775 ในรัชสมัยของเคาะลีฟะฮฺราชวงศ์อับบาซียะฮ์ที่ชื่อมะฮดี ชาวอาหรับได้ยกทัพเรือไปตีแคว้นกุจญ์ราตของอินเดีย อิฟริกียะฮ์ ซึ่งตั้งตัวเป็นอิสระ ในสมัยอัร-รอชีดดีได้เกาะโรดส์ เป็นครั้งที่สอง และนอกนั้นยังไปโจมตีอิตาลีทางใต้ นับเป็นกองทัพเรือที่เก่งกาจสามารถที่สุดในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในรัชสมัยเคาะลีฟะฮฺวาษิก กองทัพเรือของมุสลิมได้ไปปรากฏตัวถึงกำแพงเมืองโรม ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่ากองทัพเรือของมุสลิมเจริญถึงระดับสูงสุด ในสมัยราชวงศ์อับบาซียะฮ์
อ้างจากเอกสารประกอบการสอนรายวิชาหลักการบริหารในอิสลาม 3 สาขารัฐประศาสนศาสตร์มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา เรียบเรียงโดย อาจารย์อับดุลเลาะห์ อูมา
สภาพทางสังคมทั่วไป
จะเป็นเรื่องน่าสนใจอย่างยิ่งที่เราจะมองย้อนไปดูประวัติศาสตร์ในอดีตของราชวงศ์อับบาสียะฮฺแล้วจากนั้นก็รวบรวมประมวลความคิดเกี่ยวกับสภาพสังคมทางเศรษฐกิจของประชาชน
เคาะลีฟะฮฺเป็นประมุขของสังคมได้รับความเคารพนับถือสูงสุดจากประชาชน
ถัดจากเคาะลีฟะฮฺไปก็เป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐ สตรีได้รับสถานะภาพทางสังคมเช่นเดียวกับในสมัยราชวงศ์อุมัยยะฮ์ แต่ในตอนปลายๆ ศตวรรษที่ 10 ได้มีระบบแยกผู้หญิงจากผู้ชายอย่างเข้มงวดเกิดขึ้น ในระยะเวลานี้มีสตรีในราชวงศ์อับบาซียะฮ์หลายคนที่เป็นผู้บริหารรัฐและมีส่วนในการเมืองอย่างสำคัญ เช่น ค็อยซุรอน อุลัยยะฮฺ ซุบัยดะฮ์ และบูรัน เป็นต้น และมีสตรีจำนวนมากอีกด้วยที่มีความสนใจในงานวรรณกรรม จักรพรรดินีวูบัยดะฮ์ นั้นเป็นสตรีที่มีความสามารถ และเป็นกวีด้วย ฟัฎล์ ก็เป็นกวีหญิงที่มีชื่อเสียง อยู่ในรัชสมัยของเคาะลีฟะฮฺมุตะวักกิล ชัยคอชุฮาดะฮ์ ก็เป็นสตรีที่มีความสามารถอีกผู้หนึ่ง ซึ่งสอนประวัติศาสตร์และวรรณกรรมอยู่ในกรุงบัฆดาด ซัยนับ อุมมุลเมาวัยยิด เป็นนักกฎหมายที่มีชื่อเสียง ตาเกีย ก็เป็นกวีหญิงที่เด่นดัง กล่าวได้ว่าสตรีมุสลิมในสมัยอับบาซียะฮ์เป็นผู้มีความรู้ความสามารถและวัฒนธรรม
ในสังคมสมัยอับบาซียะฮ์นั้นมีการอุปถัมภ์การดนตรี อุลัยยะฮ์ เป็นนักดนตรีที่มีชื่อเสียงที่สุดในสมัยของเธอ พวกเจ้าหญิงและสตรีผู้สูงศักดิ์มักไปชมการแสดงดนตรีอยู่บ่อยๆ และบางทีก็หานักดนตรีมาแสดงที่ในบ้าน การเต้นรำก็เป็นที่นิยมในสังคม การดื่มสุรา เล่นโปโล หมากรุก ยิงธนู แข่งม้า ล่าสัตว์เหล่านี้เป็นสิ่งที่นิยมกันในสมัยอับบาซียะฮ์
ในบ้านของขุนนางผู้ดีและคนใหญ่คนโตมักจะจัดให้มีการอภิปรายเรื่องอักษรศาสตร์และวรรณกรรม ซึ่งจะมีผู้คนมาชุมนุมกันฟังวัตถุประสงค์ของการชุมนุมกันนี้ก็เพื่อจะค้นหาสัจจะสำหรับผู้คน ในสภาพสังคมเช่นนี้ได้มีการรวบรวมหนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ วรรณกรรม ปรัชญาและวิทยาศาสตร์ คนขายหนังสือนับว่ามีสถานะดีอยู่ในสังคมเช่นนี้ ร้านของพวกเขากลายเป็นศูนย์กลางที่ดึงดูดจิตใจของนักศึกษาและนักวิชาการ
ระบบการมีทาสเป็นที่นิยมกันในสมัยอับบาซียะฮ์ คนที่ร่ำรวยทุกคนจะมีทาสไว้ใช้สอยในบ้าน ทาสมาจากพวกผู้คนที่มิใช่มุสลิมซึ่งถูกจับมาโดยกำลังหรือเป็นเชลยศึกหรือซื้อหามาในยามปกติ มีทั้งชาวนิโกรชาวเติร์ก และคนผิวขาว ส่วนใหญ่เป็นคนกรีกหรือสลาฟ อาร์เมเนียหรือเบอร์เบอร์ ทาสที่อยู่ในฮาเร็มจะถูกตอนให้เป็นขันที ทาสหญิงถูกใช้ให้เป็นนักร้อง นักเต้นรำและนางบำเรอ บางคนก็มีอิทธิพลเหนือเคาะลีฟะฮฺนายของเธอเป็นอย่างมาก
เครื่องแต่งกายของชนชั้นผู้ดี มักจะเอาตามอย่างพวกเจ้านายผู้ครองรัฐ หมวกที่สวมอยู่เป็นปกติก็คือหมวกสีดำทรงสูงที่เรียกว่า กอลันสุวะฮฺ ทำด้วยผ้าขนสัตว์หรือผ้าสำลี ซึ่งอัล-มันซูร เป็นผู้นำมาใช้เป็นครั้งแรก กางเกงตัวกว้างๆ แบบเปอร์เซีย เสื้อเชิ้ต เสื้อกั๊กและเสื้อนอก และเสื้อคลุมไม่มีแขนสวมข้างนอก พวกนักศาสนาสวมผ้าโพกศีรษะสีดำและเสื้อคลุมตัวยาว ส่วนเครื่องแต่งกายของสตรีนั้นแตกต่างกันไปนามยศศักดิ์และตำแหน่งของเธอ หมวกที่นิยมสวมกันในหมู่สตรีสูงศักดิ์ซึ่งอุลัยยะฮ์ผู้เป็นน้องสาวร่วมบิดาของฮารูน-อัรรอชีด เป็นผู้นำมาได้แก่ หมวกลมรูปโดม ตกแต่งด้วยเพชรนิลจินดารอบๆ นอกจากนั้นเครื่องประดับยังมีกำไลมือและกำไลเท้าในหมู่สตรีชั้นกลางสวมเครื่องประดับแบนๆ ทำด้วยทองที่ศีรษะคล้ายๆ ริบบิ้นมักประดับด้วยไข่มุกและมรกต
1) ด้านเศรษฐกิจ
ในสมัยอับบาซียะฮ์ผู้คนมีอาชีพต่างๆ กัน พวกนักอุตสาหกรรม ช่างฝีมือ นักอักษรศาสตร์ และช่างเทคนิคนับเป็นชนชั้นกลางระดับสูง ส่วนชนชั้นกลางระดับต่ำประกอบไปด้วยเกษตรกร และคนเลี้ยงสัตว์ คนเหล่านี้เป็นอิสระจากความกังวลในชีวิตเศรษฐกิจสมัยใหม่
สมัยอับบาซียะฮ์เป็นสมัยที่รุ่งเรืองในด้านการค้าพาณิชย์ เมืองบัฆดาด บัศเราะฮ์ และอเล็กซานเดรียเป็นศูนย์กลางธุรกิจในสมัยนั้น จากเมืองเหล่านี้เองที่ประเทศอื่นๆ ที่เจริญแล้วในโลกได้รู้จักกับโลกมุสลิม ผู้คนนำเอาธุรกิจของพวกเขาไปยังโลกภายนอกและนำเอาความมั่งคั่งกลับมาสู่เมืองหลวง
การอุตสาหกรรมเจริญก้าวหน้ามากในสมัยอับบาซียะฮ์ อุตสาหกรรมในบ้านก็เจริญรุ่งเรืองในส่วนต่างๆ ของราชอาณาจักรในเอเชียตะวันตกมีการทอพรม ไหม ผ้าฝ้าย ผ้าขนสัตว์ ผ้าแพร ผ้ายกดอก ผ้าหุ้มเก้าอี้โซฟาและหมอนอิง รวมทั้งเครื่องเรียนและเครื่องใช้สอยในครัวอื่นๆ อีกมาก การเกษตรก็ได้รับการทำนุบำรุงเป็นอย่างดี บรรดาคอลีฟะฮ์มีความสนใจในเกษตรกรรมเป็นพิเศษ เพราะทราบดีว่ามันเป็นแหล่งใหญ่ของรายได้ของรัฐ ทรงทำนุเนื้อดินให้ดีขึ้นโดยสร้างระบบการทดน้ำ และเลื่อนฐานะของผู้ทำการเกษตรให้สูงขึ้น
2) ด้านการศึกษาและวิชาการ
ในสมัยอับบาซียะฮ์การศึกษาขึ้นถึงความเจริญระดับสูงสุด เคาะลีฟะฮฺเป็นองค์อุปถัมภ์การศึกษาและนักปราชญ์ต่างๆ ในตอนปลายสมัยอุมัยยะฮ์นั้น ราษฎรทั่วโลกมุสลิมได้รับการศึกษาได้อย่างทั่วถึง มุสลิมส่วนใหญ่ทั้งชายและหญิงสามารถอ่านและเข้าใจพระมหาคัมภีร์กุรอานได้ โรงเรียนชั้นประถมมักจะอยู่ติดกับมัสยิด ใช้คัมภีร์อัลกุรอานเป็นหนังสือแบบเรียน เด็กผู้หญิงอายุน้อยๆ ก็เข้าเรียนที่โรงเรียนเหล่านี้เหมือนกัน บางครั้งก็ตั้งโรงเรียนขึ้นในบ้านในร้านหรือในมัสยิด ตามเมืองต่างๆ มีโรงเรียนมัสยิดเป็นจำนวนมากมาย
นักประวัติศาสตร์คนหนึ่งกล่าวว่า ในกรุงบัฆดาด มีมัสยิดถึงสามหมื่นมัสยิด นอกจากมัสยิดแล้วก็ยังมี “มักตับ” ซึ่งใช้เป็นโรงเรียนประถมศึกษา การศึกษาในสมัยอับบาซียะฮ์ มิได้จำกัดอยู่แค่ชั้นประถมศึกษาเท่านั้น อัล-มะมูน ได้ทรงสร้างบัยตุล-ฮิกมะฮฺ อันเป็นที่ประสิทธิประสาทความรู้ระดับสูงขึ้นไปด้วย โรงเรียนนิซอมียะฮ์ ซึ่งสร้างขึ้นใน ค.ศ.1065-67 โดยนิซอมุลมุล ผู้เป็นวะซีรของสุลฎอนซิลญูกมาลิกชาฮฺนั้นเป็นสถาบันการศึกษาทางด้านศาสนาที่ใหญ่ที่สุดในสมัยอับบาซียะฮ์
พัฒนาการทางการศึกษาของชาวอาหรับมีสองขั้น ขั้นแรกคือ ความเจริญที่เป็นไป เองโดยธรรมชาติ เกิดขึ้นตั้งแต่เสี้ยวแรกของศตวรรษที่ 7 แห่งคริสต์ศักราชไปถึงศตวรรษที่ 9 และ 10 ส่วนขั้นที่สองนั้นเริ่มตั้งแต่ศตวรรษที่ 11 เมื่อโรงเรียนต่างๆ กลายเป็นสถาบันของรัฐและการศึกษาเป็นหน้าที่ภาคบังคับของรัฐบาล ขั้นแรกอาจเรียกได้ว่าเป็นแบบอาหรับอย่างแท้จริง ส่วนขั้นที่สองเกิดขึ้นเพราะอิทธิพลจากมุสลิมที่มิใช่อาหรับ
หลักสูตรของโรงเรียนประถมศึกษา ประกอบด้วยการอ่านเขียน ไวยากรณ์ สุนนะฮ์ของท่านศาสดา หลักคณิตศาสตร์เบื้องต้น และบทกวีทางศาสนา ส่วนนักศึกษาชั้นสูงเรียนสุนนะฮื นิติศาสตร์ ศษสนศาสตร์ คำศัพท์ ศิลปการพูด และวรรณกรรมนักศึกษาชั้นสูงศึกษาดาราศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ปรัชญา เรขาคณิต ดนตรี และการแพทย์
กิจกรรมด้านวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ในสมัยอับบาสียะฮฺ
เมื่อราชวงศ์อับบาซียะฮ์มีอำนาจขึ้นในโลกมุสลิม อาณาจักรมุสลิมก็ได้เปิดศักราชใหม่ในด้านวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ รุ่งอรุณของสมัยแห่งความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์ของมุสลิมได้เริ่มขึ้นพร้อมๆ กับการเริ่มขึ้นของสมัยอับบาซียะฮ์ ซึ่งเป็นพลเมืองที่มาจากอิทธิพลของวัฒนธรรมหลายๆ ด้าน อัล-มะมูน ทรงเปิดแผนกแปลเพื่อรักษาผลงานด้านวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมของต่างชาติไว้ หนังสือและเอกสารต่างๆ ทีมีอยู่นั้นมาจากต่างประเทศกล่าวกันว่า ฮารูนได้ทรงขอจักรพรรดิไบแซนไตน์ให้ส่งนักปราชญ์ลีโอมายังกรุงบัฆดาดโดยแลกเปลี่ยนกับทองคำหนักห้าตัน
ในด้านการแพทย์ ปรัชญาการเล่นแร่แปรธาตุ ดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ เคมี ภูมิศาสตร์ กฎหมาย ศาสนวิทยาและภาษาศาสตร์นั้น มุสลิมก็ได้ประโยชน์ให้แก่โลกเป็นอย่างมาก ยุโรปเป็นหนี้มุสลิมในเรื่องความรู้ทางเคมีการแพทย์และคณิตศาสตร์เป็นอย่างมาก มุสลิมยังได้ทำการคิดค้น และวิจัยในสาขาต่างๆ เหล่านี้ต่อไปอีก พวกเขาได้แปลตำรับตำราของต่างชาติจำนวนมากมายออกเป็นภาษาอาหรับและงานแปลเหล่านั้นก็ได้ตกทอดไปยังยุโรปโดยผ่านซีเรีย สเปนและซิซีลี งานแปลนี้ย่อมมีความสำคัญในประวัติศาสตร์ของวัฒนธรรมอย่างไม่ต้องสงสัย ผลงานของอริสโตเติล กาเลน และปโตเลมีคงจะหายสาบสูญไปถ้าหากมุสลิมไม่ได้เก็บรักษามันไว้ด้วยการแปลเป็นภาษาอาหรับ
เคาะลีฟะฮฺในราชวงศ์อับบาซียะฮ์ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์วิทยาการอย่างใหญ่หลวง ทรงทำนุบำรุงเลี้ยงดูนักปราชญ์และนักวิทยาศาสตร์ที่มีความสามารถซึ่งได้สร้างประโยชน์อันมีค่าให้แก่วัฒนธรรมของโลก ผู้เขียนตำราแพทย์ที่มีชื่อเสียงที่สุดในสมัยนี้ก็คืออะลี อัต-ตะบารีอัล-รอซี อะลีอิบนุ-อับบาส อะลี อัต-ตะบารี ซึ่งมีชื่อเสียงอยู่ในตอนกลางศตวรรษที่ 9 เป็นแพทย์ประจำตัวของเคาะลีฟะฮฺอัลมุตะวักกิล
อัล-รอซีและอิบนุซีนาก็เป็นนายแพทย์ที่ยิ่งใหญ่ที่โลกเคยรู้จักมา ตำราที่ชื่อ “กอนูน” ของอินุซีนาได้ใช้เป็นตำราทางการแพทย์มาหลายร้อยปี
ชาวมุสลิมได้ปลูกฝังความรักด้านปรัชญาอย่างกระตือรือร้นเท่าๆ กัน ทางด้านวิทยาศาสตร์ อัล-ฆอซาลี อัล-คินตี อัล-ฟารอบี และอิบนุซินาเป็นนักปรัชญาที่มีชื่อเสียงของมุสลิม อัล-คินดีนั้นเป็นยิ่งกว่านักปรัชญาคือเป็น นักเล่นแร่แปรธาตุ นักประดิษบ์กล้องและนักทฤษฎีด้านดนตรีอีกด้วย ท่านได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับความรู้ด้านต่างๆ ไว้กว่า 200 เล่ม ชาวอาหรับเรียกอัลฟารอบีว่าอริสโตเติลคนที่สอง ท่านได้เขียนตำราทางด้นจิตวิทยาการเมืองและอภิปรัชญาไว้มากมาย งานเขียนชิ้นอื่นๆ ของท่านแสดงให้เห็นว่าท่านมีความรู้ทางการแพทย์และคณิตศาสตร์พอใช้ทีเดียว ส่วนอิบนุซินานั้นเป็นทั้งนักปรัชญา นักฟิสิกส์ นักภาษาศาสตร์และกวี ท่านได้จัดระบบให้แก่นักปรัชญาที่มีมาก่อนท่านทั้งชาวกรีกและมุสลิม เมื่อท่านสิ้นชีวิตไปยุคสมัยอันยิ่งใหญ่แห่งปรัชญาอาหรับก็สิ้นสุดลงด้วย
เคาะลีฟะฮฺต้นๆ ของราชวงศ์อับบาสียะฮฺได้สร้างโรงพยาบาลขึ้นซึ่งเรียกว่า “บิมาริสตาน” โรงพยาบาลแห่งแรกถูกสร้างขึ้นโดยฮารูน อัร-รอชีดในกรุงบัฆดาด ต่อมาก็ได้มีโรงพยาบาลแห่งแรกถูกสร้างขึ้นโดยฮารูน อัร-รอชีดในกรุงบัฆดาด ต่อมาก็ได้มีโรงพยาบาลเกิดขึ้นอีก 34 แห่ง ในส่วนต่างๆ ของโลกมุสลิม สาขาอื่นๆ อาทิเช่น ศัลยกรรม เภสัชกรรม วิชาเกี่ยวกับสายตา ฯลฯ ก็เจริญก้าวหน้ามากในสมัยอับบาซียะฮ์
ชาวอาหรับได้ทำประโยชน์อันยิ่งใหญ่ในด้านดาราศาสตร์การศึกษาเรื่องดาราศาสตร์ได้เริ่มขึ้นภายใต้อิทธิพลของงานชิ้นหนึ่งซึ่งเขียนโดยชาวอินเดียอันมีชื่อว่าสิทธันตะ งานชิ้นนี้มุฮัมมัด อิบรอฮีม อัล-ฟาซารี ได้แปลเป็นภาษาอาหรับโดยคำบัญชาของเคาะลีฟะฮฺอัล-มะมูน ในระหว่างครึ่งแรกของศตวรรษที่ 9 ได้มีการสร้างหอดูดาวแห่งแรกขึ้นที่เมืองจันดีซาปุร ในเปอร์เซียตะวันตกเฉียงใต้
อัล-มะมูนได้สร้างหอดูดาวขึ้นอีกแห่งหนึ่ง ที่กรุงบัฆดาดภายใต้การอำนายการของชาวยิวคนหนึ่งที่มาเข้ารับอิสลาม ซินด์ อิบนุ อะลี อัล-อับบาส ฟัรฆอนี บุตรชายสามคนของมูซาอิบนุซัยร์ อัล-บัฏฏอนี อบูฮะซัน และนักดาราศาสตร์เด่นๆ อีกหลายคนมีชีวิตอยู่ในสมัยนี้ พวกเขาได้ทำการศึกษาพิเศษในเรื่องดาราศาสตร์ พวกเขายืนยันเรื่องขนาดของโลกการอ้อมของสุริยะคราสและจันทรคราสความเปลี่ยนแปลงของเส้นรุ้งของดวงจันทร์ การเคลื่อนช้าๆ ไปทางทิศตะวันตกของจุดที่มีกลางวันกลางคืนเท่านั้น ฯลฯ
ในบรรดานักคณิตศาสตร์ทางดาราศาสตร์ คนที่สำคัญก็คืออัลเคาะวาริชมี ผู้เขียนหนังสือชื่อกิตาบซูเราะห์ตุลอัรฎ อธฮบายแผนที่เป็นเล่มแรกในศตวรรษที่ 9 อิบรอฮีมอัล-ฟะซารีได้สร้างห้องทดลองดาราศาสตร์ขึ้น
มุสลิมได้ทำประโยชน์ไว้มากมายในวิชาพีชคณิต การสร้างเลขคณิตแบบใช้ทศนิยม การค้นพบเรขาคณิตแบบราบและวงกลม ตัวเลขอาหรับและการใช้เลขศูนย์เหล่านี้เป็นการประดิษฐ์และค้นพบบางอย่างของชาวมุสลิม
ในบรรดานักคณิตศาสตร์ ผู้ที่มีชื่อก็คือ ฮัล-บัยรูนี และอุมัรอัล-ค็อยยาม อัล-บัยรูนีนั้นเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของทุกสมัย
นอกจากนั้นท่านยังเป็นนักประวัติศาสตร์คนสำคัญด้วย หนังสือชื่อกิตาบุล-ฮินด์ ของท่านเป็นหนังสือที่ใช้ในการศึกษาอินเดียได้เป็นอย่างดีส่วนอัล-ค็อยยามซึ่งรู้จักกันดีว่าเป็นกวีนั้นก็เป็นนักคณิตศาสตร์และนักดาราศาสตร์ที่มีชื่อเสียงด้วย
นอกจากนั้นชาวอาหรับยังทำประโยชน์ทางความรู้วิทยาศาสตร์ด้านเคมีซึ่งพวกเขาเรียกว่าอัลคีมียะฮ์อีกด้วย ญาบีรบินฮัยยาน แห่งเมืองคูฟะฮฺ นับว่าเป็นบิดาแห่งวิชาเคมีสมัยใหม่ ท่านได้สร้างห้องทดลองขึ้นที่เมืองคูฟะฮฺ ได้ค้นพบสารประกอบทางเคมีมากมายและได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับวิชาเคมีไว้หลายเล่ม
มุสลิมชาวอาหรับได้ประดิษฐ์เข็มทิศ สำหรับใช้ในการเดินเรือขึ้น และได้เดินทางไปยังส่วนต่างๆ ของโลกเพื่อแสวงหาความรู้หรือเพื่อการค้าพาณิชย์ พวกเขาได้สร้างอาณานิคมขึ้นในส่วนต่างๆ ของโลก และเชื่อกันว่าพวกเขาได้เดินทางทะลุทะลวงไปไกลจนถึงการเดินทางไปแสวงบุญที่ปลุกให้พวกเขาเกิดความสนใจในเรื่องภูมิศาสตร์ญุยฮานี อัล-มัสอูดี อัล-อิสตัฆรี อิบนุเฮากอล ยากูต อัล-บักร์ อัล-มุก็อดะซี และอิดริซี ได้ชื่อว่าเป็นนักภูมิศาสตร์ชาวอาหรับที่มีชื่อเสียงที่สุด
ทางด้านประวัติศาสตร์นั้นเล่ามุสลิมก็เจริญก้าวหน้าไม่น้อยเลย บะลาดูรี ฮามาดัน มัสอูดี ตะบารี และอิบนุอะษีร เป็นนักประวัติศาสตร์ที่เด่นอยู่ในสมัยอับบาซียะฮ์ หนังสือชื่อ ฟุตูหุลบุลดาน ของบาลาดูรี ก็ได้เขียนขึ้นด้วยลีลาที่น่าชื่นชมและเป็นสิ่งชี้ให้เห็นถึง ด้านประวัติศาสตร์และเป็นนักเขียนที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งแห่งศตวรรษที่ 14
ท่านได้เดินทางไปยังประเทศมุสลิมต่างๆ หนังสือของท่านชื่อ มุรูญุซซะฮับวะมะดารุลญะวาฮิร นั้นเป็นบันทึกประสบการณ์และสังเกตการณ์ในการเดินทางของท่าน
นักวรรณกรรมภาษาอาหรับและเปอร์เซียที่มีชื่อเสียงก็มีอิสฟะฮานี อิบนุค็อลลิกอน อบูนุวาส อัล-บุฮตารี มุตันนะบี ดากิกี ฟิรเดาซี อันซูรี ญะลาลุดดีน และอบุลฟะร็อจญ์ มุฮัมมัด บินอิสฮาก ในสมัยนี้เช่นกันที่มุสลิมได้สร้างนิติศาสตร์ขึ้นโดยนิติศาสตร์มุสลิมนั้นได้นำเอาแบบอย่างจากโรมัน มาสร้างระบบอิสระของตนเองขึ้น ในระบบนิติศาสตร์ทางมุสลิมนั้น ฟิกฮหรือความรู้ต้องอาศัยกุรอานและหะดีษเป็นสิ่งแรก แต่เมื่อมันไม่สามารถแก้ปัญหาที่ยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้นได้ ก็อนุญาตให้ใช้การตีความส่วนบุคคลเข้าช่วยได้ การอนุญาตให้มีการตีความทำให้เกิดสำนัก (มัซฮับ) ขึ้น 4 สำนักซึ่งมีอบูหะนีฟะฮฺ มาลิก ชาฟิอี และฮัมบัล เป็นผู้นำของแต่ละสำนัก จึงกล่าวได้ว่านักปราชญ์และผู้รู้ของมุสลิมในสมัยอับบาสิดมีอยู่ในทุกสาขาวิชาการ
3) ด้านการบริหาร
รูปแบบการปกครองของรัฐบาลอับบาซียะฮ์ก็คือสมบูรณาญาสิทธิราช อำนาจของเคาะลีฟะฮฺกว้างขวางไม่มีที่จำกัด เคาะลีฟะฮฺทรงเป็นประมุขของรัฐและเป็นประมุขทางศาสนาด้วยเป็นผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพและเป็นผู้แต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งต่างๆ ทรงมีอำนาจแต่งตั้งผู้สืบต่อตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺในอนาคตได้โดยไม่ต้องทำตามกฏใดๆ วัตถุประสงค์ของราชวงศ์อับบาซียะฮ์ระยะต้นก็คือการสร้างอาณาจักรอิสลาม ด้วยเหตุนี้จึงได้ละทิ้งการพิชิตดินแดนต่างประเทศเสีย
ผู้ที่มีตำแหน่งไปจากเคาะลีฟะฮฺก็คือวะซีร (นายกรัฐมนตรี) ตำแหน่งวะซีรนี้มีต้นตอมาจากเปอร์เซีย วะซีรมี 2 ประเภท คือผู้ที่มีอำนาจจำกัดและผู้ที่มีอำนาจไม่จำกัด วะซีรที่มีอำนาจไม่จำกัดเรียกว่า แกรนด์วะซีร (นายกรัฐมนตรี) หรือวะซีรใหญ่เป็นผู้ใช้อำนาจและสิทธิพิเศษของเคาะลีฟะฮฺ เพียงแต่ต้องให้เคาะลีฟะฮฺทราบเท่านั้นว่าตนได้ทำอะไรไปบ้าง เขาสามารถจะจัดการอะไรทุกอย่างที่เห็นว่าจำเป็นได้โดยไม่ต้องขออนุมัติก่อน เว้นแต่ไม่สามารถจะจัดการอะไรทุกอย่างที่เห็นว่าจำเป็นได้โดยไม่ต้องขออนุมัติก่อน แต่ไม่สามารถถอดถอนข้าราชการที่เคาะลีฟะฮฺเป็นผู้แต่งตั้งเท่านั้น แต่เขาก็มีอำนาจที่จะแต่งตั้งข้าราชการในนามของเคาะลีฟะฮฺ และมีอำนาจเข้าไปนั่งเป็นประธานในศาลอุทธรณ์ขั้นสูงสุดได้ อำนาจของวะซีรเพิ่มขึ้นมากมายในขณะที่เคาะลีฟะฮฺสมัยหลังๆ มัวหมกมุ่นอยู่แต่ในฮาเร็ม(ในพระราชวัง) แต่อำนาจของวะซีรชนิดที่มีอำนาจจำกัดนั้นไม่กว้างขวางนัก ไม่มีสิทธิที่จะทำอะไรตามใจชอบได้ แต่ทำตามคำสั่งของเคาะลีฟะฮฺเท่านั้น เป็นเพียงตัวกลางระหว่างผู้ปกครองกับผู้อยู่ใต้ปกครอง วะซีรต้องมีความรู้อย่างแตกฉานเกี่ยวกับการบริหารและเข้าใจ สภาพท้องถิ่นของแคว้นนั้นๆ ด้วย
รัฐบาลของเคาะลีฟะฮฺเรียกว่า อัด-ดิวาน-อะซีซ (Ad-Diwan-Aziz) ซึ่งมีวะซีรใหญ่เป็นประธานแผนกต่างๆ ที่สำคัญก็มีแผนกการเงิน สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ สำนักงานบัญชี สำนักงานสงคราม สำนักงานพิทักษ์คนต่างชาติและทาส สำนักงานจัดการรายจ่ายภายในประเทศ องค์การติดต่อหรือสำนักงานอัครมหาเสนาบดี องค์การไต่สวนเรื่องร้องทุกข์ และสำนักงานทหารและตำรวจ นอกจากนั้นก็ยังมีสำนักงานเล็กๆ อย่างอื่นอีก
ได้มีการจัดตั้งสำนักงานตำรวจขึ้นเพื่อรักษาความสงบภายในประเทศ หัวหน้าสำนักงานนี้เรียกว่าชะบีฮฺอัชชูตะฮฺ ในสมัยหลังชะบีฮฺอัชชูตะฮฺดำรงตำแหน่งวะซีร
ผู้พิพากษา (Qazi) และหัวหน้าผู้พิพากษาเป็นผู้บริหารความยุติธรรม หัวหน้าผู้พิพากษาซึ่งเรียกว่ากอฎี-กุฎอฎ (Qazi-Quzat) เป็นเจ้าหน้าที่สูงสุดด้านกฎหมายเพื่อช่วยผู้พิพากษาบริหารความยุติธรรม ได้จัดตั้งเจ้าหน้าที่อีกชั้นหนึ่งที่เรียกว่าอาฎิลในกรณีที่เกี่ยวกับสิทธิของพลเมืองในบรรดาผู้ที่มิใช่มุสลิมนั้นปัญหาทั้งหมดจะตกเป็นหน้าที่ของหัวหน้าทางศาสนาของพวกเขา
4) ด้านการปกครองแคว้นต่างๆ
เพื่อความสะดวกในการปกครองได้แบ่งอาณาจักรทั้งหมดออกเป็นหลายแคว้นด้วยกันแต่ละแคว้นมีเจ้าหน้าที่ปกครองที่เรียกว่าอมีร (Ameer) ซึ่งเคาะลีฟะฮฺเป็นผู้แต่งตั้งและขึ้นตรงต่อเคาะลีฟะฮฺอมีรมีอำนาจสูงสุดในแคว้นของเขาเอง แต่ตำแหน่งของเขาไม่ได้สืบทอดตามสายเลือด เขาจะถูกย้ายหรือถูกถอดถอนได้ทุกขณะที่เคาะลีฟะฮฺต้องการ
ชูตะฮฺซึ่งอยู่ใต้บังคับบัญชาของชะบีฮฺ อัชชูตะฮฺนั้นทำหน้าที่ดูแลตำรวจนครบาลส่วนตำรวจภูธรนั้นอยู่ภายใต้เจ้าหน้าที่พิเศษที่เรียกว่ามุฮฺตะซิบ (Muhtasib)
ในแต่ละเมืองมีผู้พิพากษาประจำในเมืองใหญ่ๆ มีผู้พิพากษาหลายๆ คน ในระยะต้นๆ ของราชวงศ์อับบาซียะฮ์นั้นผู้พิพากษาประจำจังหวัดได้รับการแต่งตั้งโดยผู้ครองเมืองนั้นๆ แต่ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นหัวหน้าผู้พิพากษาแห่งบัฆดาดเป็นผู้แต่งตั้งแผนกที่สำคัญแผนกหนึ่งในรัฐบาลอับบาซียะฮ์ก็คือแผนกไปรษณีย์ ในแต่ละแคว้นนายไปรษณีย์ซึ่งเรียกว่าซอฮิบุลบาริด เป็นผู้ควบคุมดูแลกิจการด้านไปรษณีย์ เขาไม่ใช่แต่เพียงดูแลงานในแผนกไปรษณีย์เท่านั้น แต่ยังต้องคอยรายงานเคาะลีฟะฮฺถึงเรื่องราวสำคัญๆ ในแคว้นนั้นๆ ด้วยนับว่าเป็นสายลับของรัฐบาลกลางและต้องรายงานสภาพของแคว้นอย่างลับๆ เป็นระยะๆ ไป
รายได้ของรัฐ
รายได้ของราชอาณาจักรอับบาสียะฮฺนั้นมาจากภาษีที่ดินซึ่งเป็นรายได้สำคัญที่ได้มาจากผู้ที่มีผู้ที่มิใช่มุสลิม นอกนั้นก็มีภาษีรายได้สิบชัหนึ่ง ภาษีหนึ่งในห้าของผลผลิตจากเหมืองแร่และทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ภาษีที่เรียกจากผู้ที่มิใช่มุสลิม (แทนการต้องเป็นทหาร) ภาษีศุลกากร ภาษีเกลือและการประมง ภาษีที่เจ้าของร้านค้าต้องเสียในการใช้สถานที่สาธารณะ ภาษีโรงงาน ภาษีของฟุ่มเฟือยและภาษีสินค่าเช่า ภาษีชนิดหลังสุดนี้ได้ถูกยกเลิกไปโดยเคาะลีฟะฮฺวาษิก (Wathiq)
กิจการทหาร
ในระหว่างสมัยของเคาะลีฟะฮฺท่านแรกๆ สองสามท่านนั้นการจัดการด้านทหารของราชวงศ์อับบาสียะฮฺ นับเป็นสิ่งที่น่าทึ่งอย่างยิ่ง แต่ในสมัยเคาะลีฟะฮฺท่านหลังๆ ได้ทอดทิ้งการทหารเสีย ในสมัยเคาะลีฟะฮฺท่านแรกๆ นั้นมีจำนวนทหารมากมายสำหรับใช้ในสนามรบ เคาะลีฟะฮฺฮารูน-อัล-รอชีด มีทหารอยู่ใต้บังคับบัญชา 135,000 นาย ซึ่งเป็นทหารที่ได้รับเงินเดือน นอกนั้นยังมีทหารอาสาสมัครอีกจำนวนมากมาย ในสมัยที่ท่านยกทัพไปต่อสู้กับจักรพรรดินิซฟอรัส ในสงครามกลางเมืองระหว่างอัล-อมีนกับอัล-มะมูน กำลังทหารของอัลมะมูนซึ่งครองอิรักมีถึง 125,000 คนและฝ่าย อัล-อมีน ซึ่งเป็นเคาะลีฟะฮฺก็คงต้องมีจำนวนมากมายเช่นเดียวกัน นอกจากนั้นทั้งสองฝ่ายก็คงต้องทิ้งทหารจำนวนหนึ่งไว้คอยรักษาเมืองทางแคว้นตะวันออกและตามเมืองแนวหน้าอีกด้วย เมื่อปี ค.ศ.917 ในรัชสมัย ของเคาะลีฟะฮฺอัลมุกตะติรได้มีการเดินขบวนของทหารต่อหน้าทูตของไบแซนไตน์ปรากฏว่ามี ทหารม้าจำนวน 160,000 นาย
ในสมัยอับบาสียะฮฺตำแหน่งสูงๆ ทางด้านการทหาร เปิดให้แก่คนทุกชาติและจ่ายเงินเดือนให้แก่ทหารชาติต่างๆ เท่าเทียมกัน การปฏิบติต่อทหารเช่นนี้ได้ดึงดูดคนจำนวนมากให้มารับอิสลามและมาเข้าเป็นทหารในกองทัพของเคาะลีฟะฮฺ มุสลิมที่เพิ่งรับศษสนาใหม่ๆ ในซีเรีย อียิปต์ แอฟริกา อิรัก เปอร์เซีย และทรานโซเซียนา มักเลือกเข้าเป็นทหารในสมัยอับบาซียะฮ์
เคาะลีฟะฮฺอัล-มันซูร ได้ทรงจัดทหารเป็นหน่วย 3 หน่วยด้วยกันคือ หน่วยอารเบียเหนือพวกมุฎอรีย์ หน่วยอารเบียใต้ และหน่วยคูราซาน เคาะลีฟะฮฺอัลมุตะซิมได้เพิ่มอีกสองหน่วย
หน่วยหนึ่งประกอบด้วยชาวเติร์ก และอีกหน่วยหนึ่งประกอบด้วยชาวแอฟริกา การแบ่งกำลังทหารออกเป็นหน่วยตามชาตินี้เป็นการทำลายความรักหมู่คณะของกองทัพมุสลิมและก่อให้เกิดความรู้สึกเป็นปรปักษ์กันขึ้นรวมทั้งความอิจฉาริษยาและแก่งแย่งอำนาจกัน ซึ่งในที่สุดก็เป็นอันตรายร้ายแรงแก่อาณาจักรอิสลาม
กองทัพประกอบด้วยกองทหารราบ ทหารม้า ทหารธนู ทหารปืนและทหารช่าง ในการออกรบจริง มีทหารสองประเภทคือทหารประจำการกับทหารอาสาสมัคร ทหารอาสาสมัครได้รับเงินเฉพาะในตอนออกรบเท่านั้น
ส่วนทหารประจำนั้นได้รับเงินเดือนประจำ เงินเดือนทหารสมัยอับบาซียะฮ์น้อยกว่าในสมัยอุมัยยะฮ์ ในระหว่างที่ทหารต้องออกไปทำงานไม่อยู่บ้าน ภรรยาและลูกๆ ของเขาจะได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล
ทหารราบใช้แหลน ธนู หอก ซัด ดาบและขวานเป็นอาวุธ ส่วนทหารม้าใช้แหลน ธนู และดาบยาว ซึ่งกว้างและตรง ในสมัยอับบาซียะฮ์การยิงธนูได้รับการปรับปรุงดีขึ้นมาก กองทัพมีคณะวิศวกรติดตามไปทุกแห่งและเจ้าหน้าที่เหล่านี้จะอยู่ประจำในป้อมปราการทุกแห่งและในเมืองทุกเมืองด้วย ชาวอาหรับมีแพทย์และศัลยแพทย์ประจำกองทัพมาตั้งแต่ต้นแล้ว แต่ละกองทัพมีผู้พิพากษาคนหนึ่งซึ่งมีหน้าที่คอยดูแลและแบ่งทรัพย์สินที่ยึดได้จากสงครามตามกฎหมายอิสลาม
ในสมัยอับบาซียะฮ์ ชาวอาหรับมีระบบสายลับที่มีประสิทธิภาพมาก แต่ขวัญของทหารต่ำกว่าในสมัยแรกๆ
ในสมัยราชวงศ์อับบาซียะฮ์ กรุงบัฆดาดเป็นเมืองที่เจริญที่สุด และไม่ใช่เป็นแต่เมืองหลวงในสมัยอับบาซียะฮ์เท่านั้น แต่ยังใช้ในการทหารอีกด้วย เคาะลีฟะฮฺอัลมันซูรได้สร้างป้อมปราการการปกป้องกรุงบัฆดาดอย่างแข็งแรง นอกจากนั้นยังทรงสร้างป้อมที่แข็งแรงแห่งหนึ่งไว้ที่ใกล้เมืองอัร-รอฟีเกาะฮ์ทางฝั่งแม่น้ำยูเฟรติสและวางทหารชาวคูราซานไว้ประจำที่นั่นด้วย ป้อมนี้มีชื่อว่า อัร-รอฟีเกาะฮ์
เคาะลีฟะฮฺอัล-มันซูรและเคาะลีฟะฮฺที่สืบต่อจากท่านได้ทรงบูรณะตามเขตเมืองแนวหน้าเสียใหม่ ได้สร้างป้อมปราการไว้ปกป้องเมืองเหล่านั้นและสร้างเขตชาวมุสลิมขึ้นในนั้น เคาะลีฟะฮฺฮารูน-อัรรอชิด ได้ทรงสร้างแคว้นพิเศษให้ชื่อว่าอัล-อะวาซิม จากเมืองชนบทต่างๆ ตามชายแดนเอเชียไมเนอร์ อัล-มันซูรทรงสร้างกำลังทหารไว้ในเมืองที่สร้างขึ้นใหม่คือมารัช มะลัดยะฮฺ จากเมืองชนบทต่างๆ ตามชายแดนอีกหลายเมือง ได้ทรงวางทหารจำนวน 4,000 คนไว้ในเมืองมาลาเตียฮ์ โดยให้เงินและสิ่งอำนวยความสะดวกเป็นพิเศษแก่พวกเขาอัร-รอชีด ได้ทรงสร้างเชิงเทินล้อมเมืองมัสสิชาฮ์ ทรงวางทหารรักษาการณ์ไว้ในเมืองเตารุส และเปลี่ยนมันให้เป็นค่ายใหญ่ ทรงสร้างป้อมปราการที่เมืองอดานา และวางทหารไว้ที่นั่น ทรงตั้งเขตทหารไว้อีกแห่งหนึ่ง ที่เมืองอนาซัรบะฮฺ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของมัสสิชาฮฺ ทรงสร้างป้อมอัลฮารูนิยะฮฺ ไว้ที่เมืองมารัช ส่วนจักรพรรดินีซุบัยดะฮ์ ก็ทรงบูรณะเมืองอิสกับดารุน หรืออเล็กซานเดรียขึ้นใหม่โดยเงินโดยเงินของท่าน อัล-มุอตะซิม ทรงสร้างป้อมปราการที่เมืองมัสสิชาฮฺจนสำเร็จและเอาทหารไปอยู่ในเมืองเก่าที่ชื่อเตียนา ได้มีการสร้างป้อมปราการตามชายแดนขึ้นที่เมืองอื่นอีกหลายแห่ง
กองทัพเรือ
ในสมัยอับบาซียะฮ์ พ่อค้าพาณิชย์ชาวอาหรับได้เดินทางไปอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก ชาวอาหรับมีอำนาจสูงอยู่ตามแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แม่น้ำไทกริส ยูเฟรติส และชาวเปอร์เซียอยู่ใกล้กับเมืองหลวงจึงทำให้สะดวกแก่การค้าและการคมนาคมทางเรือ
ในแถบตะวันออก เมื่อเคาะลีฟะฮฺมันซูรทรงสร้างกรุงบัฆดาดไว้บนฝั่งแม่น้ำไทกริสนั้น สถานที่แต่ละแห่งในเมืองก็ถูกเปลี่ยนเป็นทางน้ำไป สถานที่ตั้งเมืองหลวงนี้ถูกเลือกโดยตั้งใจจะให้สะดวกต่อการคมนาคมเพื่อการค้าขายเป็นส่วนใหญ่กับส่วนอื่นๆ ของโลกโดยผ่านแม่น้ำไทกริสและยูเฟรติส
ในสมัยอับบาซียะฮ์ ได้มีการทำนุบำรุงการค้าทางเรือ เมืองอะดาวน์ เป็นศูนย์กลางใหญ่ของการค้าขายระหว่างอฟริกาและอารเบียและเป็นจุดพบกันของการค้าระหว่างอินเดียกับจีนด้านหนึ่งกับอียิปต์อีกด้านหนึ่ง ซีรอฟเป็นเมืองท่าของโลกที่ตั้งอยู่ที่อ่าวเปอร์เซีย เป็นที่ซึ่งสินค้าเข้าสินค้าออกทั้งหมดของเปอร์เซียต้องผ่านเมืองบัศเราะฮ์ ฮัรนิซ และดัยบุล เป็นเมืองท่าที่สำคัญชาวอาหรับมุสลิมมีศูนย์การค้าอยู่ในเมืองสำคัญๆ ทุกแห่งของตะวันออกไกล
ราชวงศ์อับบาซียะฮ์ครอบครองแคว้นสินธ์ ในอินเดีย โดยรับช่วงมาจากราชวงศ์อุมัยยะฮ์ ในปี ฮ.ศ. 159 หรือ ค.ศ.775 ในรัชสมัยของเคาะลีฟะฮฺราชวงศ์อับบาซียะฮ์ที่ชื่อมะฮดี ชาวอาหรับได้ยกทัพเรือไปตีแคว้นกุจญ์ราตของอินเดีย อิฟริกียะฮ์ ซึ่งตั้งตัวเป็นอิสระ ในสมัยอัร-รอชีดดีได้เกาะโรดส์ เป็นครั้งที่สอง และนอกนั้นยังไปโจมตีอิตาลีทางใต้ นับเป็นกองทัพเรือที่เก่งกาจสามารถที่สุดในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในรัชสมัยเคาะลีฟะฮฺวาษิก กองทัพเรือของมุสลิมได้ไปปรากฏตัวถึงกำแพงเมืองโรม ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่ากองทัพเรือของมุสลิมเจริญถึงระดับสูงสุด ในสมัยราชวงศ์อับบาซียะฮ์
อ้างจากเอกสารประกอบการสอนรายวิชาหลักการบริหารในอิสลาม 3 สาขารัฐประศาสนศาสตร์มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา เรียบเรียงโดย อาจารย์อับดุลเลาะห์ อูมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น