23 – เคาะลีฟะห์ต่อ ๆ มาของราชวงศ์อับบาซียะห์
อัล – มุอ์ตาซิม ( AlMu’ta – sim ) ( คศ. 833 – 845 )
ด้วยความปราถนาที่จะได้เป็นเคาะลีฟะห์มาช้านาน อัล – มุอ์ตาซิมจึงได้ทรงพยายามเกลี้ยกล่อม อัล – มะมูน ซึ่งขณะนั้นกำลังล้มป่วยได้แต่งตั้งตนเป็นเคาะลีฟะห์ ตอนแรกการได้ตำแหน่งของอัล – มุอ์ตาซิมได้รับการคัดค้านอย่างแข็งขันในกองทัพซึ่งต้องการให้อับบาสเป็นผู้สืบต่อบิดา แต่เมื่ออัล – มะมูน ได้ทรงแต่งตั้งอัล – มุอ์ตาซิม ทหารทั้งกองทัพก็ยอมรับว่าเขาจะเป็นเคาะลีฟะห์ในเวลาต่อมา อัล – มุอ์ตาซิม จึงรีบกลับมายังกรุงบัฆดาดและได้เข้าทำพิธีรับตำแหน่งเมื่อวันที่ 20 กันยายน คศ. 833 เมื่อดำรงตำแหน่งแทนเคาะลีฟะห์แล้ว อัล – มุอ์ตาซิมก็ต้องการจะมีทหารราชองค์รักษ์ไว้รักษาความปลอดภัยให้ตนเอง ได้พวกทาสชาวเตอรกีมาตั้งให้เป็นทหารทั้งกองทัพ กองทัพนั้นจึงประกอบด้วยชาวเตรอกีและชาวต่างประเทศ อื่น ๆ ซึ่งต่อมาจะได้กลายเป็นอันตรายอย่างสาหัสใหญ่หลวงต่อตำแหน่งเคาะลีฟะห์ ความประพฤติอันไม่สมควรของทหารเตอรกีเหล่านี้ในที่สุดก็เป็นผลให้ต้องย้ายเมืองหลวง ทหารเตอรกีเหล่านี้มักฉุดผู้หญิงและเด็ก ๆ ไปทำการข่มเหง และทะเลาะเบาะแว้งฆ่าฟันกันเองอยู่เสมอ เพื่อความปลอดภัยของประชาชน เคาะลีฟะห์จึงสั่งให้ยกเลิกเมืองหลวงเก่าคือ กรุงบัฆดาดและทรงสร้างเมืองหลวงใหม่ คือเมืองสะมัรรอ ( Samarra ) ขึ้นใน คศ. 836 นโยบายเช่นนี้ของอัล – มุอ์ตาซิม นำสู่ความหายนะของราชวง์อับบาซียะห์เพราะทำให้ผู้เป็นเคาะลีฟะห์ ต้องตกอยู่ในกำมือของพวกทหารองครักษ์ชาวต่างชาติคือชาวเตอรกี
กบฎชาวแซตต์ ( zatt ) ทำการรุกราน
ในระหว่างนี้ชาวแจต ( Jat ) ในอินเดียนักประวัติศาสตร์ชาวอาหรับเรียกว่าชาวแซตต์ได้ปรากฎตัวขึ้นตามฝั่งแม่น้ำไทกริส อัล – มะมูนได้เคยพยายามที่จะปราบปรามคนเหล่านี้ไม่สำเร็จ เมื่อ อัล – มุอ์ตาซิมกลับมายังเมืองบัฆดาดก็ได้พบว่าผู้คนพลเมืองกำลังประสบความเดือดร้อนอย่างใหญ่หลวงเพราะพวกแจตเหล่านั้นได้ตัดเส้นทางที่จะนำอินผลัมมาจากเมืองบัศเราะห์เสียหมด ท่านจึงพยายามที่จะปราบพวกนี้ให้ได้ หลังจากได้ต่อสู่อย่างดุเดือดอยู่เป็นเวลา 7 ปี คนเหล่านั้นจึงยอมแพ้โดยที่เคาะลีฟะห์ ต้องสัญญาว่าจะไว้ชีวิตและไม่ยึดสินทรัพย์ของพวกเขา คนเหล่านี้ได้รับอนุญาตให้ไปอาศัยอยู่ตามชายแดน
เมืองสิซิเลีย ( Sicilia )
งานที่ยากลำบากอีกอย่างหนึ่งที่ตกเป็นหน้าที่ของอัล – มุอ์ตะซิมคือการปราบปรามกบฎ บาเบค ( Babek ) กบฎผู้ก่อให้เกิดความเดือดร้อนเป็นอย่างมากที่แคว้นอเซอร์ไบยาน เคาะลีฟะห์ได้ส่งกองทัพใหญ่โดยมีอัฟซิน นายทัพผู้สามารถชาวเตอรกีไปปราบหลังจากสู้รบกันได้ 3 ปี บาเบคก็ถูกจับตัวเป็นนักโทษ ถูกนำตัวมาประหารชีวิตที่เมืองสะมัรรอ
สงครามไบแซนไตน์
พระมหาจักพรรดดิ์ธีโอฟีลุสได้ฉวยโอกาสที่กองทัพมุสลิมกำลังยุ่งอยู่กับการปราบบาเบคซึ่งชาวกรีกก็มีส่วนร่วมอยู่ด้วยนี้เข้ามาโจมตีเขตแดนมุสลิม และฆ่ามุสลิมตายไปหลายร้อย เมืองซีบาตรา ( Sibatra ) ก็ถูกเผาเป็นเถ้าถ่าน เคาะลีฟะห์จึงส่งกองทัพมาปราบ จนจักรพรรดิ์ธีโอฟีลุสพ่ายแพ้ยับเยิน พระองค์ให้ยกทัพต่อไปยังเมืองอมอเรียม ( Amorium ) และยึดเมืองได้ทรัพย์มากจากเมืองนั้น แต่เมื่อทรงได้ข่าวว่า ได้มีผู้วางแผนการที่จะฆ่าท่านในกองทัพจึงทรงยุติการยกทัพต่อไปนั้นเสีย
การแข็งข้อ ที่ตาบาริสถาน ( Tabaristan )
เมื่อเคาะลีฟะห์เพิ่งกลับมาถึงเมืองก็เกิดการกบฎ อย่างหนักขึ้นที่ตาบาริสถานโดยมี มาเซีย ( Mazier ) เป็นหัวหน้า การกบฎนี้ถูกปราบปรามลงได้อย่างยากลำบาก มาเซียถูกฆ่าตายในขณะเดียวกันก็ได้พบว่าอัฟซินผู้ซึ่งเคาะลีฟะห์ทรงโปรดปรานเป็นอย่างมาก เป็นผู้ยุยงให้เกิดการกบฎครั้งนี้เพื่อจะสร้างอาณาจักรอิสระขึ้นทางภาคตะวันออก เขาจึงถูกจับตัวไปกักขังและในที่สุดก็สิ้นชีพลง อัล – มุอ์ตาซิม สิ้นชีพในเดือนมกราคม คศ. 842
วาษิก ( Wathiq ) ( ฮศ. 223 – 228 หรือ คศ. 842 - 847 )
วาษิกขึ้นเป็นเคาะลีฟะห์ต่อจากพระราชบิดา ท่านทรงเป็นนักปกครองที่ดี เป็นผู้อุปถัมภ์วรรณกรรม ทรงทำนุบำรุงการค้าและอุตสาหกรรม ถึงแม้ว่าจะทรงโปรดความสนุกสนาน แต่ชีวิตก็ไม่มีด่างพร้อย ตอนปลายรัชสมัยของท่านได้มีการแลกเปลี่ยนเชลยศึกระหว่างเคาะลีฟะฮ์กับจักรพรรดิ์กรีก แต่ท่านก็ยังคงโปรดปรานทหารเตอรกีมากกว่าทหารอาหรับ และเปอร์เซียอันเป็นนโบายที่บิดาทรงดำเนินไว้
วาษิกสิ้นชีพแต่ยังเยาว์หลังจากครองราชย์ได้ 6 ปี ทรงเป็นกษัตยริ์ที่มีพระทัยโอบอ้อมอารีและเมตตาโดยเฉพาะต่อคนยากจน ในเมืองมักกะฮ์และมะดีนะฮ์
อัล-มุตะวักกิล (Al-Mutawakkil) (คศ.233-297 - คศ.847-911)
เนื่องจากวาษิกสิ้นชีพลงโดยมิได้ทรงแต่งตั้งผู้ใดสืบต่อแทน พวกขุนนางอำมาตย์ ของท่านจึงต้องการให้มุฮัมมัด โอรสซึ่งยังเยาว์วัยของท่านได้เป็นเคาะลีฟฮ์สืบแทน แต่ วัสซีฟ (Wessif) และอิตาก (ltakh) ผู้เป็นหัวหน้าชาวเตอรกีกลับต้องการให้ตำแหน่งนี้ได้แก่ ญะอ์ฟัร (Jafar) ผู้เป็นอนุชาของวาษิก ญะอ์ฟัรจึงได้รับตำแหน่งโดย ใช้นามว่าอัล-มุตะวักกิล สิ่งแรกที่ทรงทำก็คือสังหารเสนาบดีชื่ออิบนุลซัยยาด (lbn al Zayyad) ศัตรูเก่าซึ่งเคยคัดค้านการแต่งตั้งท่านเสีย ทรัพย์สินของเขาและของคนอื่น ๆ ที่เป็นฝ่ายตรงข้ามกับท่านก็ถูกยึดหมดสิ้น นายทหารเตอรกีที่เคยสนับสนุนให้ท่านได้รับตำแหน่งเคาะลีฟฮ์ ก็ถูกสังหารเหมือนกัน ผู้มีเหตุไล่ออกจากตำแหน่งงาน และผู้ที่ไม่ใช่มุสลิม ก็ต้องระกำลำบากเพราะไร้งาน อัล-มุตะวักกิลมีความเกลียดชังพวกชีอะฮ์ (Shi’itis) จึงทรงสั่งให้ล้อมอนุสรณ์ที่สร้างไว้เหนือที่ฝังศพท่านหุสัยน์ที่เมืองกัรบาลา (Karbala) พร้อมด้วยอาคารอื่น ๆ รอบ ๆ นั้นเสียและสั่งห้ามให้ผู้ใดไปเยี่ยมเยียนสถานที่นั้น
ในปีคศ. 237 หรือ ค.ศ. 851 ได้มีการกบฏเกิดขึ้นที่อาร์มีเนีย ในปีต่อมานายทัพชาวเตอรกีชื่อโบกา (Bogha) ก็ปราบปรามกบฏได้สำเร็จ ในปีเดียวกันนั้นชาวไบแซนไตน์ได้เข้ามารุกรานฝั่งทะเลอียิปต์ทำลายป้อมปราการทั้งหลาย ที่ปากแม่น้ำไนล์ใกล้เมืองตูนิสและนำตัวเชลยศึกและทรัพย์สินกลับไป
ส่วนมุสลิมกับกรีกผลัดกันรุกผลัดกันถอยอยู่ระยะหนึ่ง กรีกรุกเข้ามาได้ถึงเมือง อนิด (Anid) และนำตัวเชลยศึกไปถึงหมื่นคน แต่ในปี ค.ศ . 245 หรือ ค.ศ. 859 มุสลิมก็ได้โจมตีกองทัพกรีกแหลกลานและกองทัพเรือของมุสลิมเข้ายึด แอตาเลีย(Antalia) ได้
ในปี คศ. 241 หรือ ค.ศ.855 ได้มีการกบฏเกิดขึ้นที่เมืองอิมส์ (Hims) แต่ก็ถูกปราบปรามลงได้
ในปี ฮศ. 244 หรือ คศ.858 หลังจากทำการปกครองจากเมืองหลวง สะมัรรอ มาเป็นเวลา 12 ปีแล้วเคาะลีฟะฮ์ก็ได้ย้ายเมืองหลวงกลับมาที่กรุงบัฆดาด แต่ไม่ทรงเป็นสุข ณ ที่นั้นจึงทรงกลับไปที่สะมัรรออีกและทรงสร้างพระราชวังใหญ่ห่างจากตัวเมืองออกไป 3 ไมล์โดยให้ชื่อตามพระนามของท่านว่า กาฟาริยะฮ์ (gafariya)
ความประพฤติในตอนหลัง ๆ ของท่าน เป็นเหตุให้มีผู้คิดล้างชีวิตท่าน กล่าวกันว่าในขณะที่ท่านบรรทมอยู่ในพระราชวัง ทหารองค์รักษ์ชาวเตอรกีที่ท่านโปรดปรานพร้อมทั้งอัล – มุนตะซิร (Al-Muntasir) โอรสของท่านผู้ซึ่งไม่พอใจในความประพฤติของราชบิดาก็ได้ลอบเข้าไปสังหารท่าน รัชสมัยอันมีระยะยาว 15 ปี ของท่านเต็มไปด้วยการแบ่งแยกของราชอาณาจักร ความโหดร้ายทารุณ และไม่สนพระทัยของท่านทำให้ท่านนำราชอาณาจักรไปสู่ความพินาศในที่สุด
หลังจากอัล – มุตะวักกิลสิ้นชีพแล้ว อาณาจักรมุสลิมตกต่ำลงอย่างรวดเร็ว เคาะลีฟะฮ์ท่านต่อ ๆ มาของราชวงศ์นี้ล้วนแต่ไม่มีความสามารถ ยิ่งกว่านั้นการที่พวกเตอรกี เข้ามามีอิทธิพลอยู่ยิ่งทำให้ราชอาณาจักรโค่นล้มลงอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ได้มีรัฐอิสระตั้งตัวเองขึ้นมากมายในระหว่างปีต่อ ๆ มา
ผู้สืบต่ออัล – มุตะวักกิล
ในคืนที่บิดาสิ้นชีพนั้นเอง อัล – มุตะซิร ก็ได้ขึ้นครองตำแหน่งเคาะลีฟะห์ ท่านทรงเป็นคนที่มีนิสัยดี แต่ต้องกลายเป็นหุ่นเชิดอยู่ในกำมือของเอกอัครเสนาบดีชื่อ อะห์มัด บิน ฆอชิบ ( Ahnad bin Ghazib ) หลังจากครองราชย์ได้เพียง 6 เดือนก็สิ้นชีพลง มุสตะอิน ( Mustain ) หลานปู่อีกคนหนึ่งของอัล – มุตะซิม ขึ้นเป็นเคาะลีฟะห์ แต่เคาะลีฟะห์ท่านใหม่นี้ไม่มีทรงมีอำนาจแต่อย่างใด ในรัชสมัยของท่านพวกกรีกได้มาโจมตีเอาดินแดนมุสลิมในเขตเอเซียไมเนอร์ไปมากมาย
เคาะลีฟะห์ทรงเห็นว่าชีวิตของท่านไม่ปลอดภัยในกำมือของพวกเตอรกี จึงทรงหนีไปยังกรุงบัฆดาด พวกเตอร์กีจึงประกาศให้โอรสท่านที่สองของอัลมะตะวักกิลเป็นเคาะลีฟะห์ในนามว่า อัล – มุสตาซ ( Al - Mustaz ) แต่ต่อมาไม่นาน อัลมสุตาซก็ถูกบังคับให้สละราชบัลลังก์ อัล – มุฮ์ตะดี ( Al – Muhtadi ) ถูกยกให้เป็นเคาะลีฟะห์ ท่านทรงเป็นคนที่ฉลาดและยุติธรรมและเป็นนักปกครองที่สามารถ ทรงขัดแย้งกับพวกเตอรกี จนในที่สุดต้องทรงสละราชบัลลังก์
โอรสซึ่งโตสุดของอัล – มุตะวักกิล จึงได้รับตำแหน่งเคาะลีฟะห์ ในนามว่า อัล – มุตะซิด ( Al – Mutahid ) ท่านเป็นกษัตริย์ที่อ่อนแอ โปรดปรานแต่ความสนุนสนาน ในระหว่างรัชสมัยของท่าน อำนาจมากมายของพวกเตอรกีได้สิ้นสุดอำนาจของยะอ์กูบ
( Yakub ) อันเป็นพวกศ็อฟฟันต์ ( Saffarid ) ได้เพิ่มขึ้นอย่างมากมาย จนกระทั่งยกทัพมารุกรานที่อิรักแต่พ่ายแพ้กลับไป จึงยกดินแดนให้ อัมร์ ( Amr ) น้องชายของเขาครอบครอง เจ้าชายอัมร์มีอำนาจอยู่จนกระทั่งปี ฮศ. 287 หรือ คศ. 900 จึงถูกอิสมาอีล บินอะห์มัด ( lsmail bin Ahnad ) จับเป็นนักโทษ พวกตระกูลซามานียะห์ ( Samanid ) ได้เป็นผู้ปกครองแคว้นทรานโซเซียนามาตั้งแต่รัชสมัยของอัล – มะมูน และเมื่อพวกตอฮีรสิ้นอำนาจลงก็ได้ครองตำแหน่งนี้มาตลอดหลังจาก ฮศ. 900 พวกเขาก็กลายเป็นเจ้าชายที่เป็นอิสระไม่ขึ้นแก่ใคร ดินแดนของพวกเขาก็ประสบความเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก
ทางด้านตะวันตก อะห์มัด บิน ตูลูน ( Ahmad bin Tulun) ก็กลายเป็นเจ้าชายที่มีอำนาจขยายดินแดนไปเหนือซีเรีย และส่วนหนึ่งของเมโสโปเตเมีย เมื่อสิ้นชีพลง โอรสซึ่งมีชื่อว่า คุมัรวัยห์ (Khumarwiah) ก็ขึ้นแทนในปี ฮศ. 271 หรือ คศ. 884
เมื่ออัล – มุตะฮิดสิ้นพระชนม์ลง มุตะซิด ( Mutazid) ซึ่งเป็นบุตรของอนุชาของท่านคือ มุวัฟฟิก (Muwaffiq) ก็ได้รับตำแหน่งแทน ท่านทรงเป็นนักปกครองที่ดี มีความสามารถ ได้รับขนานนามว่า อัล – สัฟฟาห์ ที่สองเพราะเป็นผู้บูรณะอำนาจอันทรุดโทรมลงไปของพวกอับบาซียะห์ ขึ้นมาใหม่ทรงสนใจพระทัยเป็นอย่างมากในเรื่องการเงิน ทรงปฏิรูปการบริหารประเทศ เป็นแม่ทัพที่แข้มแข็ง และรักษาระเบียบวินัย ในประเทศเป็นอย่างดี ท่านทรงตีเอาอียิปต์กลับคืนมาเป็นอาณาจักรของมุสลิม และทรงแก้ไขกฎหมาย มรดกเสียใหม่
เกือบจะในเวลาเดียวกับที่พวกทาสนิโกร แข็งข้อขึ้นที่เมืองบัศเราะห์ ในแคว้นคูฟะห์ก็ได้เกิดนิกายของพวกกอรอมิเฏาะฮ์ ( Camathina) ขึ้น ซึ่งเรียกว่าพวก ฟาฏิมียะห์
( Fatimid ) นิกายมีพลังนี้แสดงตนเงียบอยู่ในระหว่างรัชสมัยของมุตะฮิด แต่ในสมัยของมุตะซิดรัฐบาลเริ่มรู้ถึงอำนาจของพวกนี้ อบูสะอัด อัล – ญันนาบี(Abu Sad al – Jannabi) ซึ่งเป็นผู้ตั้งรัฐกอรกมิเฏาะฮ์ขึ้นได้ตีทัพหลวงที่เคาะลีฟะห์ส่งมาปราบพ่ายไป ในปี ฮศ. 288 หรือ คศ. 900 ในปีเดียวกันนั้น หัวหน้าตัวจริงของนิกายนี้ได้หนีไปจากสะลามียะห์ ในซีเรีย ไปยังแอฟริกา และซ่อนตัวอยู่ในเมืองซิจิลมาลา ( Sijilmasa) ในภาคตะวันออก ต่อมาอีก 10 ปี เขาก็ได้ปรากฎขึ้นที่เมืองก็อยราวานในนาม มะฮ์ดี (Mahdi) เคาะลีฟะห์ของพวกฟาฎิมียะห์มุตะซิดสิ้นชีพในปี คศ. 902 และโอรสของท่านคือ อัล – มุกตะฟิ ( Al – Muktafi) ได้ขึ้นครองตำแหน่งแทน ท่านทรงเป็นกษัตริย์ที่โอบอ้อมอารีและยุติธรรม แต่รัชสมัยของท่านซึ่งสั้นเพียง 6 ปี นั้นเต็มไปด้วยการต่อสู้พวกกอรอมิเฏาะฮ์ ในซีเรียอยู่ตลอดมา ท่านได้ทรงขับไล่พวกไบแซนไตน์จากอียิปต์ และนำเอาอียิปต์มาอยู่ในราชอาณาจักรของท่านได้สำเร็จ เมื่อเคาะลีฟะห์ท่านนี้สิ้นพระชนม์ลงอนุชาของท่านซึ่งมีนามชื่อว่า อัล – มุคตะดีร ซึ่งยังเยาวัยอยู่ได้รับตำแหน่งแทน การบริหารประเทศทั้งหมดตกอยู่ในมือของมารดา พวกคนสำคัญ ๆ ในกรุง บัฆดาดหลายคนได้ฉวยโอกาสนี้ แข็งข้อขึ้น รัชสมัยของท่านซี่งยาวนานถึง 24 ปี ได้ทรุดโทรมอย่างรวดเร็ว เหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดในรัชสมัยนี้ก็คือการจัดตั้งราชวงศ์ฟาฏิมียะห์ ซึ่งตอนแรกก็ปกครองดินแดนทางภาคตะวันตกและต่อมาก็มีอำนาจเหนืออียิปต์มาเกือบสามร้อยปี หลังจาก อัล – มุคตะดิร อัล – กอฮิร ( Al – Qahir) ซึ่งเป็นโอรสของมุตะซิดก็ขึ้นครองราชย์แต่แล้วอัร – ริซี ( Al – Rizi ) ซึ่งเป็นโอรสของ มุคตะดีร ก็สามารถดำรงตำแหน่งแทน มีการตั้งตำแหน่งอมีรุลอุมะรอฮ์ ( Amur al – Umara ) หรือมกุฎราชกุมาร ขึ้น
หลังจาก อัร – ริซี สิ้นชีพลงโอรสอีกท่านหนึ่งของมุคตะดิรก็ขึ้นเป็นเคาะลีฟะห์ในนามว่า อัล – มุตตะกี ( Al – Muttaqi ) ท่านทรงเป็นเพียงหุ่นเชิดในกำมือบัจญ์ ( Bajkam ) ผู้เป็นอมีร อัล – อุมะรอฮ์แต่หลังจากบัจญ์คอมสิ้นชีวิตลงได้ไม่นานบุคคลผู้หนึ่งซึ่งนามว่า บะริดี ( Bauidi ) ได้มาล้อมเมืองบัฆดาด มุตตะกีได้หนีไปที่เมืองนัศรุดเดาละฮ์ ( Nasruddindawlah ) มุตตะกีจึงตกอยู่ในกำมือของกบฏ อีกคนหนึ่งคือฎูซาน ( Tuzan ) ผู้เป็นนายทัพเตอร์กี ฎูซานได้บังคับให้มุตตะกีออกจากตำแหน่งเคาะลีฟะห์ และแต่งตั้งอัล – มุสตักฟี ( Al – Mustakfi ) ให้เป็นแทน ส่วนฎูซานนั้นต่อมาไม่นาน ก็สิ้นชีพลงและเลขานุการของเขาคือ ฆอฟัร บินซิรซาด ( gafar bin shirzad ) ได้ดำรงตำแหน่งแทน
ราชวงศ์ บุวัยห์ ( Buwaihid )
เมื่อขึ้นครองราชย์แล้ว อัล – มุสตักฟีก็ถูกบีบคั้นอย่างหนักโดยพวกเตอร์กซึ่งหลั่งไหลเข้ามาในประเทศตั้งแต่สมัยของมุตะวักกิล เพื่อให้หลุดพ้นจากอิสระจากพวกเตอร์กท่านได้ขอความช่วยเหลือจากพวกบุวัยห์ ซึ่งในตอนนั้นกำลังเริ่ม บุกอิรัก เคาะลีฟะห์ มุสตักฟีได้แต่งตั้งให้อะห์มัด บินอุวัยห์ ( Ahmad bin Buwaih ) เป็นอบีรุลอุมะรอฮ์ ของท่านและต่อมาได้เลื่อนตำแหน่งให้เป็นมูอิซ อัดเดาละฮ์ ( Muijud – Dawlah ) หรือผู้มีอำนาจในรัฐ อบูขูซา เดาละฮ์ บิดาของอะห์มัดสืบเชื้อสายมาจากครอบครัวเปอร์เซียสมัยก่อน เขาเป็นหัวหน้ากลุ่มชน และเคยทำงานอยู่กับพวกซามานียะห์อยู่ระยะหนึ่ง บุตรชายสามคนของเขาตีได้หัวเมืองทางภาคใต้ไปทีละน้อย จนเข้าครองอิสฟาฮาน ( lsfahan ) แล้วก็ชีราช ( Shiraz ) ต่อมาก็ตีได้แคว้นอาฮ์วาซ ( Ahwaz ) และคิรมาน ( Cirman ) ชีราชได้รับเลือกให้เป็นเมืองหลวงของราชวงศ์ใหม่นี้ เมื่ออะห์มัดยกทัพเข้าบัฆดาดพวกทหารเตอรกีก็หนีไป แต่ชีวิตของอัลมุสตักฟีก็มิได้ขึ้นภายใต้ความคุ้มครองนายใหม่ชาวเปอร์เซียชีอะห์นี้เลย ภายในเวลาไม่นานอะห์มัดก็มีอำนาจขึ้นมาเป็นอย่างมาก จนได้รับตำแหน่งสุลฎอน ชื่อของเขาได้รับการสลักลงในเหรียญตรา
ในไม่ช้ามุสตักฟีก็เบื่อหน้านายใหม่ซึ่งเป็นผู้ปกครองราชอาณาจักรตัวจริงนี้ ท่านจึงวางแผนฆ่าเขาเสีย แต่เมื่อข่าวนี้รู้ถึงหูอะห์มัดเข้า เขาก็เอาเคาะลีฟะห์ออกจากตำแหน่งและทำร้ายจนตาบอด และได้แต่งตั้ง อัล – มุฏีอ์ ( Al – Muti ) ขึ้นเป็นเคาะลีฟะห์แทนในปี ฮศ. 335 หรือ คศ. 946 เนื่องจากอะห์มัดเป็นชีอะห์ เขาจึงได้กำหนดเอาวันที่ 10 เดือนมุฮัรรอม ( Muharram ) ขึ้นเป็นวันที่แสดงความโศกเศร้ารำลึกถึงการสังหารหมู่ที่กัรบาลา เมื่อเขาสิ้นชีวิตลงบัคติยาร ( Bakhtyar ) บุตรชายของเขา ได้รับตำแหน่งอิซซุดเดาละห์ ( lzz – ud – Dawlah ) สืบต่อจากเขา แต่ในไม่ช้าก็ถูกปลดจากตำแหน่งและอะซาดุดเดาละห์ ( Azad – ud – Dawlah ) ได้รับตำแหน่งแทน
อะซาดุดละห์ ( คศ. 949 – 983 )
อะซาดุดเดาละห์เกิดที่เมืองอิสฟาฮานเมื่อครั้งที่บิดาของเขายังมีชีวิตอยู่ เขาได้ยกทัพไปช่วย บัคติยาร ลูกพี่ลูกน้องของเขาที่อิรักกำลังตกอยู่ในที่ลำบากเนื่องจากความไม่เชื่อฟังของทหารรับจ้างชาวเตอร์กเขาช่วยบัคติยารออกจากอันตรายได้ แต่ก็กลับเอาบัคติยารไปจำขังไว้และยึดเอาดินแดนของเขาไปครอง บิดาของเขาได้รบเร้าให้ปล่อยตัว บัคติยารเสียและคืนดินแดนให้บัคติยาร การถกเถียงถึงเรื่องนี้ยังดำเนินอยู่ จนกระทั่งบัคติยารถูกถอดออกจากตำแหน่ง และถูกฆ่าตาย ดังนั้นเขาจึงกลายเป็นเจ้าของอิรัก และเป็นเหนือเคาะลีฟะห์ผู้อ่อนแอในกรุงบัฆดาด
อะซาดุดเดาละห์เป็นนักปกครองที่เด่นอยู่ในสมัยของเขา ในปี คศ. 977 เขาได้รวมเอาราชอาณาจักรเล็ก ๆ หลายอาณาจักรซึ่งเกิดขึ้นภายใต้การปกครองของราชวงศนี้ บุวัยห์ในอิรักและเปอร์เซีย เข้าด้วยกันและกลายเป็นราชอาณาจักรใหญ่เกือบเท่ากษัตริย์ฮารูน อัร – รอซีด
อะซาดุดเดาละห์มีอำนาจมากขึ้นจนกระทั่งเคาะลีฟะห์ต้องแต่งตั้งให้เขาเป็นสุลฏอนเนื่องจากกลัวเกรงเขา ในรัชสมัยของอะซาดุดเดาละห์ อำนาจของราชวงศ์บุวัยห์ ได้ขึ้นถึงระดับสูงสุด
ก่อนที่จะสิ้นชีวิตลงในปี คศ. 983 นั้น เขาได้ครอบครองดินแดนทั้งทะเลสาบแคสเปียนมาจนถึงอ่าวเปอร์เซียและจากเมืองอิสฟาฮานไปจนถึงชายแดนซีเรีย เป็นผู้รักความจริงและความยุติธรรมเป็นอย่างยิ่ง เขาเป็นนักวิชาการและนักคณิตสาสตร์ และเป็นผู้อุปถัมภ์กวีและนักปราชญ์ทั้งหลายด้วย เขาเชื้อเชิญนักปราชญ์จากส่วนต่าง ๆ ของโลกมายังวังของเขาและเข้าร่วมในการถกเถียงด้านวิชาการด้วย ในขณะที่ราชสำนักอยู่ที่เมืองชีราช ท่านยังทรงทนุบำรุงเมืองบัฆดาดให้งดงาม ซ่อมแซมคลองและสร้างมัสยิดขึ้นหลายแห่งรวมทั้งโรงพยาบาลและสถานสาธารณะประโยชน์ต่าง ๆ ในกรุงบัฆดาด ท่านได้สร้างโรงพยาบาลที่มีชื่อเสียงที่สุด มีชื่อว่า อัล – บิมาริสตาน อัล – อาซาดี ( Al – Bimaristan al Azadi ) ขึ้นมีแพทย์ประจำอยู่ 24 คน
เมื่อท่านสิ้นชีพลง โอรสของท่านคือ ซัมซัม อัดเดาละห์ได้สืบตำแหน่งต่อมาแต่ในไม่ช้าก็ถูกสิริญุด – เดาละห์ ( Sharaf ad – Dawlah ) ผู้เป็นอนุชาถอดตำแหน่งซาราฟัด อัดเดา ละห์ เป็นผู้อุปถัมภ์การศึกษา ได้ทรงสร้างหอดูดาวตามแบบอัลมะมูน ผู้สืบตำแหน่งต่อจากท่านก็คือ บาฮาดุลเดาละห์อนุชาของท่าน
การสิ้นสุดของราชวงศ์บุวัยห์
ราชวงศ์นี้มีอำนาจเหนือเคาะลีฟะห์อยู่กว่าร้อยปี ( คศ. 945 – 1055 ) แต่สงครามระหว่างพี่น้องทำให้ราชอาณาจักรอ่อนแอลง ในที่สุดก็ถูกโค่นล้มโดย ตุฆริล เบฆ ( Tughril Beg ) ผู้รุกเข้ามาในกรุงบัฆดาด ขับไล่พวกบุวัยห์ออกไป จึงทำให้ราชวงศ์บุวัยห์สิ้นลง ไม่ต้องสงสัยเลยว่าบางคนในราชวงศ์นี้เป็นคนโหดร้ายทารุณแต่โดยส่วนใหญ่และเป็นผู้เอาใจใส่ในความเจริญรุ่งเรืองของประชาชน และเป็นผู้ทำนุบำรุงวรรณกรรมและวิทยาการเป็นอย่างดี สุลฏอนหลายคนในราชวงศ์นี้เป็นผู้อุปถัมภ์ นักวิทยาศาสตร์ และนักอักษรศาสตร์ ในบรรดานักดาราศาสตร์ซึ่งเจริญรุ่งเรืองอยู่ในสมัยของราชวงศ์บุวัยห์นี้ ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังกว่าใคร ๆ ก็คือ อัล – กาฮี ( Al – kahi ) และอบุลวะฟา อัล – กาฮีเป็นผู้เขียนตำราเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของดาว พระเคราะห์ การค้นพบของเขาเกี่ยวข้องถึงวันที่ดวงอาทิตย์อยู่ใกล้ที่สุดของเส้นศูนย์สูตรของโลกในฤดูร้อนและในวันฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งมีเวลากลางวัน และกลางคืนเท่านั้น เป็นการเพิ่มพูนความรู้ให้แก่มนุษย์เป็นอย่างมาก ส่วนอะบุลวะฟาอ์นั้นได้นำเอาการใช้เส้นตรงที่ติดวงกลมมาใช้ในวิชาตรีโกณมิติ และในการสังเกตทางดาราศาสตร์ งานชิ้นสำคัญของเขาชื่อ อซีรอุช – ชะมิลเป็นอนุสรณ์ แห่งการสังเกตการณ์ที่เอาจริงเอาจังและถูกต้อง
ราชวงศ์ชิงญูก ( Seljug )
อำนาจของราชวงศ์ซิลญูกรุ่งเรืองขึ้นบนความเสื่อมโทรมของราชวงศ์ ก็อซนะวี( Ghazhauid ) ชาวเตอร์กมาจากทุ่งหญ้ากิรฆิช ( Kirghiz ) ของเตอรกีสถาน (Turkistan) มาตั้งหลักแหล่งอยู่ในเขตบุคอรอ ( Bukhara ) และนับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนนี ( Sunnite ) และเริ่มหาทางไปสู่อินเดีย ที่ละน้อยหลังจากโค่นล้มมัสอูด ( Masud ) โอรสของสุลฏอนมะห์มูด ( Mahmud ) แล้วตุฆริล เบฆก็ได้สร้างราชวงศ์ซิลญูกขึ้น
ตุฆริล เบฆ ( คศ. 1037 – 63 )
ตุฆริล เบฆได้รับการยกย่องว่าเป็นนักปกครองที่ฉลาดสุขุม เป็นคนง่าย ๆ โอบอ้อมอารีและอุทิศเวลาให้แก่การแสวงหาความรู้ นำเอาอิรักของเปอร์เซีย คอวาริสม์ ( Khawarim ) และแว่นแคว้นสำคัญ ๆ อื่น ๆ ในภาคตะวันตกมาอยู่ภายใต้การปกครองและขับไล่กษัตริย์ สุดท้ายแห่ง ราชวงศ์บุวัยห์ ออกไปจากบัฆดาด เมื่อ คศ. 1055 กออิม ( Qaim ) เคาะลีฟะห์ราชวงศ์อับบาซียะห์ได้ขอความช่วยเหลือจากตุฆริล เมื่อราชบัลลังก์ของท่านตกอยู่ในอันตราย ตุฆริลก็ทำตามคำขอร้องทันที เคาะลีฟะห์จึงทรงประทานตำแหน่งสุลฏอนให้เขาด้วยความรัก และขอบคุณ
อัลป์อัสสะลาน ( Assalan ) ( ฮศ. 1063 – 72 )
ภายใต้การปกครองของตุฆริลเบฆ พวกซิลญูกได้กลายเป็นชาติที่เด่นขึ้นมาในทวีปเอเชีย อัลป์อัสสะลานผู้สืบตำแหน่งต่อจากเขาในปีต่อมา อัลป์อัสสะลานก็ยึดเมืองหลวงของอาร์เมเนียได้ ในเวลาเดียวกันเขาได้ข่าวว่าพวกโรมัน ยกกองทัพใหญ่บุกเข้ามาในเอเซียไมเนอร์ กองทัพมุสลิมได้ชัยชนะแก่กองทัพโรมันในการต่อสู้ที่ มาลัซการ์ด ( Malaz Gard ) ได้มีการทำสนธิสัญติภาพ ระหว่างอัลป์อัสสะลานกับโรมานุส ( Romanus ) โดยที่โรมานุสตกลงจะยอมให้ธิดาของตนวิวาห์กับโอรสของอัลป์อัสสะลานแต่โรมานถูกฆ่าตายในระหว่างทางกลับไปยังเมืองคอนสแตนติโนเปิล แคว้นที่เพิ่งตีได้ไหม่จึงถูกมอบให้อยู่ในความปกครองของสุลัยมาน ( Sulayman ) ซึ่งปกครองในนามของสุลฏอน อัลป์อัสสะลานได้ชื่อว่าเป็นนักปกครองที่ดีมีใจเมตตาเป็นผู้ฉลาดสุขุม และยุติธรรม เขาสิ้นชีวิตในปี ฮศ. 466 หรือ คศ. 1073
มาลิกชาอ์ ( Malik Shah) (ฮศ. 466 – 485 หรือ คศ. 1072 – 1092 )
มาลิกชาอ์โอรสของอัลป์ อัสสะลานได้รับตำแหน่งสืบต่อมา ในระหว่างนั้นเคาะลีฟะห์กออิมสิ้นชีพลงและหลานปู่ของท่านคือ อัล – มุกตะดี ( Al – Muktadi) ได้รับตำแหน่งแทน รัชสมัยของมาลิก ชาฮ์เป็นการเปิดศักราชใหม่ในประวัติศาสตร์ของราชวงศ์ซิลญูก ระยะต้น ๆ ของรัชสมัยได้มีการแข็งข้อขึ้นในบางเมืองตลอดรัชสมัยของมาลิกชาฮ์ ผู้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการปกครองรัฐก็คือ นิซอมุล – มุลก์ ( Nigam al – Mulk)ในขณะที่สุลฏอนเองไม่ได้ทำอะไรเลย แผ่นดินมีแต่ความสุข ตลอดรัชสมัยของสุลฏอนท่านนี้ ดินแดนของมาลิกชาฮ์ขยายจากชายแดนจีนไปยังทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางภาคตะวันตกและจากเมืองจอร์เจีย ทางเหนือไปยังทางทิศใต้ นิซอมุลลุลก์ชอบท่องเที่ยวไปในที่ต่าง ๆ เพื่อดูและทุกข์สุขของประชาราษฎร์ เขาได้สร้างสถานที่พักขึ้นเพื่อให้ความคุ้มครองแก่พ่อค้าพาณิชย์ และผู้เดินทาง สร้างถนนหนทางมัสยิดและโรงพยาบาลเพื่อราษฎร นักประวัติศาสตร์กล่าวว่า เป็นสมัยที่ดีที่สุดของโรมันหรืออาหรับทีเดียวได้มีการทำนุบำรุงการค้าและอุตสาหกรรม อุปถัมภ์ ศิลป และวรรณกรรม นิซอมุลมุลก์เองเป็นนักวิชาการเขาได้เขียนตำราอันมีชื่อเสียงเกี่ยวกับ ศิลปะ การปกครองขึ้นชื่อว่าสิยาซัด นามะฮ์ ( Suyusat Namah ) โรงเรียนนิซอมียะฮ์ ( Nizamiyah ) ที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลกเป็นประจักษ์พยานได้เป็นอย่างดีในเรื่องการอุปถัมภ์ค้ำชูการศึกษาและนักปราชญ์ของเขา
อัล – ฆอซาลีนักปราชญ์ผู้มีชื่อเสียงก็เป็นครูอยู่ในโรงเรียนราชสำนักของมาลิกซาฮ์เต็มไปด้วยนักปราชญ์ผู้รู้ทั้งหลายซึ่งมีอุมัรค็อยยาม ( Omar Khayyam ) เป็นผู้หนึ่งอยู่ในจำนวนนั้น มาลิกซาฮ์ ทรงเปิดการประชุมนักดาราศาสตร์ขึ้นในปี ฮศ. 468 หรือ คศ. 1075 เพื่อทำการปฏิรูปปฏิทินเปอร์เซียตามความดำริของนิซอมุล – มุลก์ ขึ้นที่หอดูดาวของเขาซึ่งสร้างขึ้นใหม่ ผลจากการประชุม ครั้งนี้คือ ได้ปฏิทินแบบ “ ญะลาลี ”
( Jalali ) ขึ้นมาซึ่งได้ชื่อตามพระนามของสุลฏอน
ในตอนปลายรัชสมัยของมาลิกซาฮ์ ได้เกิดนิกาย อแสซัสซิน ( Assasin ) หรือฆาตกรขึ้นที่เมืองมาซันเดอราน ( Masandran ) ผู้จัดตั้งนิกายนี้ขึ้นมาก็คือ ฮะซันอิบนุสะบา( Hasan bin Sabbah ) ซึ่งนักประวัติศาสตร์เรียกว่า “ผู้เฒ่าแห่งภูเขา ” หรือประมุขของพวกแอสซัสซิน
เขาอ้างตนว่าสืบเชื้อสายมาจากบรรดากษัตริย์ฮิมยะรีย์แห่งอารเบียใต้ เขาเริ่มชีวิตด้วยการเป็นผู้ถือคทาให้สุลฏอน อัลป์อัสสะลาน กษัตริย์ของชาวซิลญูก แต่เนื่องจากได้มีการทะเลาะเบาะแว้งกันขึ้น เขาจึงกลับไปยังเมืองอัร – เรย์ซึ่งเป็นบ้านเกิดของเขาแล้วก็ผ่านเข้าไปในซีเรีย ซึ่งที่นั่นเขาได้เข้าทำงานให้แก่ประมุขของพวกอิสมาอีลียะฮ์
( lsmailte ) ในที่สุดก็ได้รับเอาหลักการของอิสมาอีลียะฮ์มาใช้และได้กลายเป็นผู้เผยแพร่นิกายอิสมาอีลียะฮ์ในภาคตะวันออกไป
ในปี คศ.1090 เขาตีได้ปราสาททอลามูต ( Alamut ) ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองกาซวิน ( Qazwin ) และแล้วเขาก็ได้สถาปนาปราสาทนี้เป็นเมืองหลวงของตน จากอลามูตฮะซันและพรรคพวกได้ทำการปล้นสดมภ์ในที่ต่าง ๆ โดนใช้กริชเป็นอาวุธ ฮะซันได้สร้างการปกครองเจ็ดระดับ ซึ่งแพร่ไปทั่วเอเซีย ทำงานเผยแพร่ลัทธิศาสนา หนึ่งในเจ็ดระดับก็คือระดับผู้อุทิศตนซึ่งเรียกว่า “ผู้ลอบฆ่า ” พวกนี้เป็นคนหนุ่มซึ่งได้รับคัดเลือกมาเพราะมีร่างกายแข็งแรงและกล้าหาญ การฝึกฝน ทั้งหมดมีเพื่อทำให้คนเหล่านี้มีจิตใจเสียสละอุทิศตนแก่นายใหญ่ซึ่งก็คือฮะซัน อิบนุสะบานั่น เอง เมื่อใดที่ได้กลิ่นศัตรู เขาได้กริซแทงทะลุหัวใจศัตรูอย่างชำนิชำนาญ ต่อมาภายหลังฮะซันได้กลับเป็นมุสลิมผู้เคร่งครัดไป
เมื่อฮะซันอิบนุสะบาสิ้นชีวิตลง บุตรชายของเขาคือ บุซูกอุมัยด์ ( Buzug Umaid ) ก็รับตำแหน่งแทนและปกครองอยู่ถึง 24 ปี เมื่อเขาสิ้นชีพลง กอยา มุฮัมมัด ( Gaya Muhammad ) บุตรของเขาก็รับตำแหน่งแทนและอยู่ในตำแหน่งถึง 25 ปี ผู้นำคนสุดท้ายของพวกนี้ก็คือ รุกนุดดีน ( Ruknuddin ) ซึ่งรู้จักกันในนามของกอฮีชาฮ์ ( Qahi Shah ) ผู้ถูกฮูลากูกษัตริย์ ชาว ตาร์ตาร์ ( Hulagu the Tartar ) จับตัวเป็นเชลยเคาะลีฟะห์ได้พยายามอย่างหนักที่จะบดขนี้อำนาจของพวกแอสซัสซินเสียก็ไม่สำเร็จ จนกระทั่งฮูลากูเข้ามารุกรานทำลายเคาะลีฟะห์ ยึดเอาป้อมปราการได้ในปี คศ. 1256 รวมทั้งปราสาทต่างๆในเปอร์เซียด้วย ดังนั้นนิกายแอสซัสซินจึงได้หายไปจากประวัติศาสตร์
เมื่อมาลิกสิ้นชีพลงอำนาจของพวกซิลญูก ก็เริ่มเสื่อมลงผู้สืบต่อมาลิกชาฮ์มีอำนาจขึ้นก็จริงแต่มัวยุ่งอยู่กับสงครามกลางเมืองเสียซึ่งในที่สุดก็เป็นเครื่องทำลายพวกเขาลง
ในระยะนี้เองที่สงครามครูเสดได้แผ่ขยายไปทั่วเอเชียตะวันตกอย่างรวดเร็ว แต่ทั้งพวกซิลญูกและราชวงศ์อับบาซียะฮ์มิได้เอาใจใส่ ต่อการสงครามนี้เลย
http://www.muslimchonburi.com/index.php?page=show&id=725
อัล – มุอ์ตาซิม ( AlMu’ta – sim ) ( คศ. 833 – 845 )
ด้วยความปราถนาที่จะได้เป็นเคาะลีฟะห์มาช้านาน อัล – มุอ์ตาซิมจึงได้ทรงพยายามเกลี้ยกล่อม อัล – มะมูน ซึ่งขณะนั้นกำลังล้มป่วยได้แต่งตั้งตนเป็นเคาะลีฟะห์ ตอนแรกการได้ตำแหน่งของอัล – มุอ์ตาซิมได้รับการคัดค้านอย่างแข็งขันในกองทัพซึ่งต้องการให้อับบาสเป็นผู้สืบต่อบิดา แต่เมื่ออัล – มะมูน ได้ทรงแต่งตั้งอัล – มุอ์ตาซิม ทหารทั้งกองทัพก็ยอมรับว่าเขาจะเป็นเคาะลีฟะห์ในเวลาต่อมา อัล – มุอ์ตาซิม จึงรีบกลับมายังกรุงบัฆดาดและได้เข้าทำพิธีรับตำแหน่งเมื่อวันที่ 20 กันยายน คศ. 833 เมื่อดำรงตำแหน่งแทนเคาะลีฟะห์แล้ว อัล – มุอ์ตาซิมก็ต้องการจะมีทหารราชองค์รักษ์ไว้รักษาความปลอดภัยให้ตนเอง ได้พวกทาสชาวเตอรกีมาตั้งให้เป็นทหารทั้งกองทัพ กองทัพนั้นจึงประกอบด้วยชาวเตรอกีและชาวต่างประเทศ อื่น ๆ ซึ่งต่อมาจะได้กลายเป็นอันตรายอย่างสาหัสใหญ่หลวงต่อตำแหน่งเคาะลีฟะห์ ความประพฤติอันไม่สมควรของทหารเตอรกีเหล่านี้ในที่สุดก็เป็นผลให้ต้องย้ายเมืองหลวง ทหารเตอรกีเหล่านี้มักฉุดผู้หญิงและเด็ก ๆ ไปทำการข่มเหง และทะเลาะเบาะแว้งฆ่าฟันกันเองอยู่เสมอ เพื่อความปลอดภัยของประชาชน เคาะลีฟะห์จึงสั่งให้ยกเลิกเมืองหลวงเก่าคือ กรุงบัฆดาดและทรงสร้างเมืองหลวงใหม่ คือเมืองสะมัรรอ ( Samarra ) ขึ้นใน คศ. 836 นโยบายเช่นนี้ของอัล – มุอ์ตาซิม นำสู่ความหายนะของราชวง์อับบาซียะห์เพราะทำให้ผู้เป็นเคาะลีฟะห์ ต้องตกอยู่ในกำมือของพวกทหารองครักษ์ชาวต่างชาติคือชาวเตอรกี
กบฎชาวแซตต์ ( zatt ) ทำการรุกราน
ในระหว่างนี้ชาวแจต ( Jat ) ในอินเดียนักประวัติศาสตร์ชาวอาหรับเรียกว่าชาวแซตต์ได้ปรากฎตัวขึ้นตามฝั่งแม่น้ำไทกริส อัล – มะมูนได้เคยพยายามที่จะปราบปรามคนเหล่านี้ไม่สำเร็จ เมื่อ อัล – มุอ์ตาซิมกลับมายังเมืองบัฆดาดก็ได้พบว่าผู้คนพลเมืองกำลังประสบความเดือดร้อนอย่างใหญ่หลวงเพราะพวกแจตเหล่านั้นได้ตัดเส้นทางที่จะนำอินผลัมมาจากเมืองบัศเราะห์เสียหมด ท่านจึงพยายามที่จะปราบพวกนี้ให้ได้ หลังจากได้ต่อสู่อย่างดุเดือดอยู่เป็นเวลา 7 ปี คนเหล่านั้นจึงยอมแพ้โดยที่เคาะลีฟะห์ ต้องสัญญาว่าจะไว้ชีวิตและไม่ยึดสินทรัพย์ของพวกเขา คนเหล่านี้ได้รับอนุญาตให้ไปอาศัยอยู่ตามชายแดน
เมืองสิซิเลีย ( Sicilia )
งานที่ยากลำบากอีกอย่างหนึ่งที่ตกเป็นหน้าที่ของอัล – มุอ์ตะซิมคือการปราบปรามกบฎ บาเบค ( Babek ) กบฎผู้ก่อให้เกิดความเดือดร้อนเป็นอย่างมากที่แคว้นอเซอร์ไบยาน เคาะลีฟะห์ได้ส่งกองทัพใหญ่โดยมีอัฟซิน นายทัพผู้สามารถชาวเตอรกีไปปราบหลังจากสู้รบกันได้ 3 ปี บาเบคก็ถูกจับตัวเป็นนักโทษ ถูกนำตัวมาประหารชีวิตที่เมืองสะมัรรอ
สงครามไบแซนไตน์
พระมหาจักพรรดดิ์ธีโอฟีลุสได้ฉวยโอกาสที่กองทัพมุสลิมกำลังยุ่งอยู่กับการปราบบาเบคซึ่งชาวกรีกก็มีส่วนร่วมอยู่ด้วยนี้เข้ามาโจมตีเขตแดนมุสลิม และฆ่ามุสลิมตายไปหลายร้อย เมืองซีบาตรา ( Sibatra ) ก็ถูกเผาเป็นเถ้าถ่าน เคาะลีฟะห์จึงส่งกองทัพมาปราบ จนจักรพรรดิ์ธีโอฟีลุสพ่ายแพ้ยับเยิน พระองค์ให้ยกทัพต่อไปยังเมืองอมอเรียม ( Amorium ) และยึดเมืองได้ทรัพย์มากจากเมืองนั้น แต่เมื่อทรงได้ข่าวว่า ได้มีผู้วางแผนการที่จะฆ่าท่านในกองทัพจึงทรงยุติการยกทัพต่อไปนั้นเสีย
การแข็งข้อ ที่ตาบาริสถาน ( Tabaristan )
เมื่อเคาะลีฟะห์เพิ่งกลับมาถึงเมืองก็เกิดการกบฎ อย่างหนักขึ้นที่ตาบาริสถานโดยมี มาเซีย ( Mazier ) เป็นหัวหน้า การกบฎนี้ถูกปราบปรามลงได้อย่างยากลำบาก มาเซียถูกฆ่าตายในขณะเดียวกันก็ได้พบว่าอัฟซินผู้ซึ่งเคาะลีฟะห์ทรงโปรดปรานเป็นอย่างมาก เป็นผู้ยุยงให้เกิดการกบฎครั้งนี้เพื่อจะสร้างอาณาจักรอิสระขึ้นทางภาคตะวันออก เขาจึงถูกจับตัวไปกักขังและในที่สุดก็สิ้นชีพลง อัล – มุอ์ตาซิม สิ้นชีพในเดือนมกราคม คศ. 842
วาษิก ( Wathiq ) ( ฮศ. 223 – 228 หรือ คศ. 842 - 847 )
วาษิกขึ้นเป็นเคาะลีฟะห์ต่อจากพระราชบิดา ท่านทรงเป็นนักปกครองที่ดี เป็นผู้อุปถัมภ์วรรณกรรม ทรงทำนุบำรุงการค้าและอุตสาหกรรม ถึงแม้ว่าจะทรงโปรดความสนุกสนาน แต่ชีวิตก็ไม่มีด่างพร้อย ตอนปลายรัชสมัยของท่านได้มีการแลกเปลี่ยนเชลยศึกระหว่างเคาะลีฟะฮ์กับจักรพรรดิ์กรีก แต่ท่านก็ยังคงโปรดปรานทหารเตอรกีมากกว่าทหารอาหรับ และเปอร์เซียอันเป็นนโบายที่บิดาทรงดำเนินไว้
วาษิกสิ้นชีพแต่ยังเยาว์หลังจากครองราชย์ได้ 6 ปี ทรงเป็นกษัตยริ์ที่มีพระทัยโอบอ้อมอารีและเมตตาโดยเฉพาะต่อคนยากจน ในเมืองมักกะฮ์และมะดีนะฮ์
อัล-มุตะวักกิล (Al-Mutawakkil) (คศ.233-297 - คศ.847-911)
เนื่องจากวาษิกสิ้นชีพลงโดยมิได้ทรงแต่งตั้งผู้ใดสืบต่อแทน พวกขุนนางอำมาตย์ ของท่านจึงต้องการให้มุฮัมมัด โอรสซึ่งยังเยาว์วัยของท่านได้เป็นเคาะลีฟฮ์สืบแทน แต่ วัสซีฟ (Wessif) และอิตาก (ltakh) ผู้เป็นหัวหน้าชาวเตอรกีกลับต้องการให้ตำแหน่งนี้ได้แก่ ญะอ์ฟัร (Jafar) ผู้เป็นอนุชาของวาษิก ญะอ์ฟัรจึงได้รับตำแหน่งโดย ใช้นามว่าอัล-มุตะวักกิล สิ่งแรกที่ทรงทำก็คือสังหารเสนาบดีชื่ออิบนุลซัยยาด (lbn al Zayyad) ศัตรูเก่าซึ่งเคยคัดค้านการแต่งตั้งท่านเสีย ทรัพย์สินของเขาและของคนอื่น ๆ ที่เป็นฝ่ายตรงข้ามกับท่านก็ถูกยึดหมดสิ้น นายทหารเตอรกีที่เคยสนับสนุนให้ท่านได้รับตำแหน่งเคาะลีฟฮ์ ก็ถูกสังหารเหมือนกัน ผู้มีเหตุไล่ออกจากตำแหน่งงาน และผู้ที่ไม่ใช่มุสลิม ก็ต้องระกำลำบากเพราะไร้งาน อัล-มุตะวักกิลมีความเกลียดชังพวกชีอะฮ์ (Shi’itis) จึงทรงสั่งให้ล้อมอนุสรณ์ที่สร้างไว้เหนือที่ฝังศพท่านหุสัยน์ที่เมืองกัรบาลา (Karbala) พร้อมด้วยอาคารอื่น ๆ รอบ ๆ นั้นเสียและสั่งห้ามให้ผู้ใดไปเยี่ยมเยียนสถานที่นั้น
ในปีคศ. 237 หรือ ค.ศ. 851 ได้มีการกบฏเกิดขึ้นที่อาร์มีเนีย ในปีต่อมานายทัพชาวเตอรกีชื่อโบกา (Bogha) ก็ปราบปรามกบฏได้สำเร็จ ในปีเดียวกันนั้นชาวไบแซนไตน์ได้เข้ามารุกรานฝั่งทะเลอียิปต์ทำลายป้อมปราการทั้งหลาย ที่ปากแม่น้ำไนล์ใกล้เมืองตูนิสและนำตัวเชลยศึกและทรัพย์สินกลับไป
ส่วนมุสลิมกับกรีกผลัดกันรุกผลัดกันถอยอยู่ระยะหนึ่ง กรีกรุกเข้ามาได้ถึงเมือง อนิด (Anid) และนำตัวเชลยศึกไปถึงหมื่นคน แต่ในปี ค.ศ . 245 หรือ ค.ศ. 859 มุสลิมก็ได้โจมตีกองทัพกรีกแหลกลานและกองทัพเรือของมุสลิมเข้ายึด แอตาเลีย(Antalia) ได้
ในปี คศ. 241 หรือ ค.ศ.855 ได้มีการกบฏเกิดขึ้นที่เมืองอิมส์ (Hims) แต่ก็ถูกปราบปรามลงได้
ในปี ฮศ. 244 หรือ คศ.858 หลังจากทำการปกครองจากเมืองหลวง สะมัรรอ มาเป็นเวลา 12 ปีแล้วเคาะลีฟะฮ์ก็ได้ย้ายเมืองหลวงกลับมาที่กรุงบัฆดาด แต่ไม่ทรงเป็นสุข ณ ที่นั้นจึงทรงกลับไปที่สะมัรรออีกและทรงสร้างพระราชวังใหญ่ห่างจากตัวเมืองออกไป 3 ไมล์โดยให้ชื่อตามพระนามของท่านว่า กาฟาริยะฮ์ (gafariya)
ความประพฤติในตอนหลัง ๆ ของท่าน เป็นเหตุให้มีผู้คิดล้างชีวิตท่าน กล่าวกันว่าในขณะที่ท่านบรรทมอยู่ในพระราชวัง ทหารองค์รักษ์ชาวเตอรกีที่ท่านโปรดปรานพร้อมทั้งอัล – มุนตะซิร (Al-Muntasir) โอรสของท่านผู้ซึ่งไม่พอใจในความประพฤติของราชบิดาก็ได้ลอบเข้าไปสังหารท่าน รัชสมัยอันมีระยะยาว 15 ปี ของท่านเต็มไปด้วยการแบ่งแยกของราชอาณาจักร ความโหดร้ายทารุณ และไม่สนพระทัยของท่านทำให้ท่านนำราชอาณาจักรไปสู่ความพินาศในที่สุด
หลังจากอัล – มุตะวักกิลสิ้นชีพแล้ว อาณาจักรมุสลิมตกต่ำลงอย่างรวดเร็ว เคาะลีฟะฮ์ท่านต่อ ๆ มาของราชวงศ์นี้ล้วนแต่ไม่มีความสามารถ ยิ่งกว่านั้นการที่พวกเตอรกี เข้ามามีอิทธิพลอยู่ยิ่งทำให้ราชอาณาจักรโค่นล้มลงอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ได้มีรัฐอิสระตั้งตัวเองขึ้นมากมายในระหว่างปีต่อ ๆ มา
ผู้สืบต่ออัล – มุตะวักกิล
ในคืนที่บิดาสิ้นชีพนั้นเอง อัล – มุตะซิร ก็ได้ขึ้นครองตำแหน่งเคาะลีฟะห์ ท่านทรงเป็นคนที่มีนิสัยดี แต่ต้องกลายเป็นหุ่นเชิดอยู่ในกำมือของเอกอัครเสนาบดีชื่อ อะห์มัด บิน ฆอชิบ ( Ahnad bin Ghazib ) หลังจากครองราชย์ได้เพียง 6 เดือนก็สิ้นชีพลง มุสตะอิน ( Mustain ) หลานปู่อีกคนหนึ่งของอัล – มุตะซิม ขึ้นเป็นเคาะลีฟะห์ แต่เคาะลีฟะห์ท่านใหม่นี้ไม่มีทรงมีอำนาจแต่อย่างใด ในรัชสมัยของท่านพวกกรีกได้มาโจมตีเอาดินแดนมุสลิมในเขตเอเซียไมเนอร์ไปมากมาย
เคาะลีฟะห์ทรงเห็นว่าชีวิตของท่านไม่ปลอดภัยในกำมือของพวกเตอรกี จึงทรงหนีไปยังกรุงบัฆดาด พวกเตอร์กีจึงประกาศให้โอรสท่านที่สองของอัลมะตะวักกิลเป็นเคาะลีฟะห์ในนามว่า อัล – มุสตาซ ( Al - Mustaz ) แต่ต่อมาไม่นาน อัลมสุตาซก็ถูกบังคับให้สละราชบัลลังก์ อัล – มุฮ์ตะดี ( Al – Muhtadi ) ถูกยกให้เป็นเคาะลีฟะห์ ท่านทรงเป็นคนที่ฉลาดและยุติธรรมและเป็นนักปกครองที่สามารถ ทรงขัดแย้งกับพวกเตอรกี จนในที่สุดต้องทรงสละราชบัลลังก์
โอรสซึ่งโตสุดของอัล – มุตะวักกิล จึงได้รับตำแหน่งเคาะลีฟะห์ ในนามว่า อัล – มุตะซิด ( Al – Mutahid ) ท่านเป็นกษัตริย์ที่อ่อนแอ โปรดปรานแต่ความสนุนสนาน ในระหว่างรัชสมัยของท่าน อำนาจมากมายของพวกเตอรกีได้สิ้นสุดอำนาจของยะอ์กูบ
( Yakub ) อันเป็นพวกศ็อฟฟันต์ ( Saffarid ) ได้เพิ่มขึ้นอย่างมากมาย จนกระทั่งยกทัพมารุกรานที่อิรักแต่พ่ายแพ้กลับไป จึงยกดินแดนให้ อัมร์ ( Amr ) น้องชายของเขาครอบครอง เจ้าชายอัมร์มีอำนาจอยู่จนกระทั่งปี ฮศ. 287 หรือ คศ. 900 จึงถูกอิสมาอีล บินอะห์มัด ( lsmail bin Ahnad ) จับเป็นนักโทษ พวกตระกูลซามานียะห์ ( Samanid ) ได้เป็นผู้ปกครองแคว้นทรานโซเซียนามาตั้งแต่รัชสมัยของอัล – มะมูน และเมื่อพวกตอฮีรสิ้นอำนาจลงก็ได้ครองตำแหน่งนี้มาตลอดหลังจาก ฮศ. 900 พวกเขาก็กลายเป็นเจ้าชายที่เป็นอิสระไม่ขึ้นแก่ใคร ดินแดนของพวกเขาก็ประสบความเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก
ทางด้านตะวันตก อะห์มัด บิน ตูลูน ( Ahmad bin Tulun) ก็กลายเป็นเจ้าชายที่มีอำนาจขยายดินแดนไปเหนือซีเรีย และส่วนหนึ่งของเมโสโปเตเมีย เมื่อสิ้นชีพลง โอรสซึ่งมีชื่อว่า คุมัรวัยห์ (Khumarwiah) ก็ขึ้นแทนในปี ฮศ. 271 หรือ คศ. 884
เมื่ออัล – มุตะฮิดสิ้นพระชนม์ลง มุตะซิด ( Mutazid) ซึ่งเป็นบุตรของอนุชาของท่านคือ มุวัฟฟิก (Muwaffiq) ก็ได้รับตำแหน่งแทน ท่านทรงเป็นนักปกครองที่ดี มีความสามารถ ได้รับขนานนามว่า อัล – สัฟฟาห์ ที่สองเพราะเป็นผู้บูรณะอำนาจอันทรุดโทรมลงไปของพวกอับบาซียะห์ ขึ้นมาใหม่ทรงสนใจพระทัยเป็นอย่างมากในเรื่องการเงิน ทรงปฏิรูปการบริหารประเทศ เป็นแม่ทัพที่แข้มแข็ง และรักษาระเบียบวินัย ในประเทศเป็นอย่างดี ท่านทรงตีเอาอียิปต์กลับคืนมาเป็นอาณาจักรของมุสลิม และทรงแก้ไขกฎหมาย มรดกเสียใหม่
เกือบจะในเวลาเดียวกับที่พวกทาสนิโกร แข็งข้อขึ้นที่เมืองบัศเราะห์ ในแคว้นคูฟะห์ก็ได้เกิดนิกายของพวกกอรอมิเฏาะฮ์ ( Camathina) ขึ้น ซึ่งเรียกว่าพวก ฟาฏิมียะห์
( Fatimid ) นิกายมีพลังนี้แสดงตนเงียบอยู่ในระหว่างรัชสมัยของมุตะฮิด แต่ในสมัยของมุตะซิดรัฐบาลเริ่มรู้ถึงอำนาจของพวกนี้ อบูสะอัด อัล – ญันนาบี(Abu Sad al – Jannabi) ซึ่งเป็นผู้ตั้งรัฐกอรกมิเฏาะฮ์ขึ้นได้ตีทัพหลวงที่เคาะลีฟะห์ส่งมาปราบพ่ายไป ในปี ฮศ. 288 หรือ คศ. 900 ในปีเดียวกันนั้น หัวหน้าตัวจริงของนิกายนี้ได้หนีไปจากสะลามียะห์ ในซีเรีย ไปยังแอฟริกา และซ่อนตัวอยู่ในเมืองซิจิลมาลา ( Sijilmasa) ในภาคตะวันออก ต่อมาอีก 10 ปี เขาก็ได้ปรากฎขึ้นที่เมืองก็อยราวานในนาม มะฮ์ดี (Mahdi) เคาะลีฟะห์ของพวกฟาฎิมียะห์มุตะซิดสิ้นชีพในปี คศ. 902 และโอรสของท่านคือ อัล – มุกตะฟิ ( Al – Muktafi) ได้ขึ้นครองตำแหน่งแทน ท่านทรงเป็นกษัตริย์ที่โอบอ้อมอารีและยุติธรรม แต่รัชสมัยของท่านซึ่งสั้นเพียง 6 ปี นั้นเต็มไปด้วยการต่อสู้พวกกอรอมิเฏาะฮ์ ในซีเรียอยู่ตลอดมา ท่านได้ทรงขับไล่พวกไบแซนไตน์จากอียิปต์ และนำเอาอียิปต์มาอยู่ในราชอาณาจักรของท่านได้สำเร็จ เมื่อเคาะลีฟะห์ท่านนี้สิ้นพระชนม์ลงอนุชาของท่านซึ่งมีนามชื่อว่า อัล – มุคตะดีร ซึ่งยังเยาวัยอยู่ได้รับตำแหน่งแทน การบริหารประเทศทั้งหมดตกอยู่ในมือของมารดา พวกคนสำคัญ ๆ ในกรุง บัฆดาดหลายคนได้ฉวยโอกาสนี้ แข็งข้อขึ้น รัชสมัยของท่านซี่งยาวนานถึง 24 ปี ได้ทรุดโทรมอย่างรวดเร็ว เหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดในรัชสมัยนี้ก็คือการจัดตั้งราชวงศ์ฟาฏิมียะห์ ซึ่งตอนแรกก็ปกครองดินแดนทางภาคตะวันตกและต่อมาก็มีอำนาจเหนืออียิปต์มาเกือบสามร้อยปี หลังจาก อัล – มุคตะดิร อัล – กอฮิร ( Al – Qahir) ซึ่งเป็นโอรสของมุตะซิดก็ขึ้นครองราชย์แต่แล้วอัร – ริซี ( Al – Rizi ) ซึ่งเป็นโอรสของ มุคตะดีร ก็สามารถดำรงตำแหน่งแทน มีการตั้งตำแหน่งอมีรุลอุมะรอฮ์ ( Amur al – Umara ) หรือมกุฎราชกุมาร ขึ้น
หลังจาก อัร – ริซี สิ้นชีพลงโอรสอีกท่านหนึ่งของมุคตะดิรก็ขึ้นเป็นเคาะลีฟะห์ในนามว่า อัล – มุตตะกี ( Al – Muttaqi ) ท่านทรงเป็นเพียงหุ่นเชิดในกำมือบัจญ์ ( Bajkam ) ผู้เป็นอมีร อัล – อุมะรอฮ์แต่หลังจากบัจญ์คอมสิ้นชีวิตลงได้ไม่นานบุคคลผู้หนึ่งซึ่งนามว่า บะริดี ( Bauidi ) ได้มาล้อมเมืองบัฆดาด มุตตะกีได้หนีไปที่เมืองนัศรุดเดาละฮ์ ( Nasruddindawlah ) มุตตะกีจึงตกอยู่ในกำมือของกบฏ อีกคนหนึ่งคือฎูซาน ( Tuzan ) ผู้เป็นนายทัพเตอร์กี ฎูซานได้บังคับให้มุตตะกีออกจากตำแหน่งเคาะลีฟะห์ และแต่งตั้งอัล – มุสตักฟี ( Al – Mustakfi ) ให้เป็นแทน ส่วนฎูซานนั้นต่อมาไม่นาน ก็สิ้นชีพลงและเลขานุการของเขาคือ ฆอฟัร บินซิรซาด ( gafar bin shirzad ) ได้ดำรงตำแหน่งแทน
ราชวงศ์ บุวัยห์ ( Buwaihid )
เมื่อขึ้นครองราชย์แล้ว อัล – มุสตักฟีก็ถูกบีบคั้นอย่างหนักโดยพวกเตอร์กซึ่งหลั่งไหลเข้ามาในประเทศตั้งแต่สมัยของมุตะวักกิล เพื่อให้หลุดพ้นจากอิสระจากพวกเตอร์กท่านได้ขอความช่วยเหลือจากพวกบุวัยห์ ซึ่งในตอนนั้นกำลังเริ่ม บุกอิรัก เคาะลีฟะห์ มุสตักฟีได้แต่งตั้งให้อะห์มัด บินอุวัยห์ ( Ahmad bin Buwaih ) เป็นอบีรุลอุมะรอฮ์ ของท่านและต่อมาได้เลื่อนตำแหน่งให้เป็นมูอิซ อัดเดาละฮ์ ( Muijud – Dawlah ) หรือผู้มีอำนาจในรัฐ อบูขูซา เดาละฮ์ บิดาของอะห์มัดสืบเชื้อสายมาจากครอบครัวเปอร์เซียสมัยก่อน เขาเป็นหัวหน้ากลุ่มชน และเคยทำงานอยู่กับพวกซามานียะห์อยู่ระยะหนึ่ง บุตรชายสามคนของเขาตีได้หัวเมืองทางภาคใต้ไปทีละน้อย จนเข้าครองอิสฟาฮาน ( lsfahan ) แล้วก็ชีราช ( Shiraz ) ต่อมาก็ตีได้แคว้นอาฮ์วาซ ( Ahwaz ) และคิรมาน ( Cirman ) ชีราชได้รับเลือกให้เป็นเมืองหลวงของราชวงศ์ใหม่นี้ เมื่ออะห์มัดยกทัพเข้าบัฆดาดพวกทหารเตอรกีก็หนีไป แต่ชีวิตของอัลมุสตักฟีก็มิได้ขึ้นภายใต้ความคุ้มครองนายใหม่ชาวเปอร์เซียชีอะห์นี้เลย ภายในเวลาไม่นานอะห์มัดก็มีอำนาจขึ้นมาเป็นอย่างมาก จนได้รับตำแหน่งสุลฎอน ชื่อของเขาได้รับการสลักลงในเหรียญตรา
ในไม่ช้ามุสตักฟีก็เบื่อหน้านายใหม่ซึ่งเป็นผู้ปกครองราชอาณาจักรตัวจริงนี้ ท่านจึงวางแผนฆ่าเขาเสีย แต่เมื่อข่าวนี้รู้ถึงหูอะห์มัดเข้า เขาก็เอาเคาะลีฟะห์ออกจากตำแหน่งและทำร้ายจนตาบอด และได้แต่งตั้ง อัล – มุฏีอ์ ( Al – Muti ) ขึ้นเป็นเคาะลีฟะห์แทนในปี ฮศ. 335 หรือ คศ. 946 เนื่องจากอะห์มัดเป็นชีอะห์ เขาจึงได้กำหนดเอาวันที่ 10 เดือนมุฮัรรอม ( Muharram ) ขึ้นเป็นวันที่แสดงความโศกเศร้ารำลึกถึงการสังหารหมู่ที่กัรบาลา เมื่อเขาสิ้นชีวิตลงบัคติยาร ( Bakhtyar ) บุตรชายของเขา ได้รับตำแหน่งอิซซุดเดาละห์ ( lzz – ud – Dawlah ) สืบต่อจากเขา แต่ในไม่ช้าก็ถูกปลดจากตำแหน่งและอะซาดุดเดาละห์ ( Azad – ud – Dawlah ) ได้รับตำแหน่งแทน
อะซาดุดละห์ ( คศ. 949 – 983 )
อะซาดุดเดาละห์เกิดที่เมืองอิสฟาฮานเมื่อครั้งที่บิดาของเขายังมีชีวิตอยู่ เขาได้ยกทัพไปช่วย บัคติยาร ลูกพี่ลูกน้องของเขาที่อิรักกำลังตกอยู่ในที่ลำบากเนื่องจากความไม่เชื่อฟังของทหารรับจ้างชาวเตอร์กเขาช่วยบัคติยารออกจากอันตรายได้ แต่ก็กลับเอาบัคติยารไปจำขังไว้และยึดเอาดินแดนของเขาไปครอง บิดาของเขาได้รบเร้าให้ปล่อยตัว บัคติยารเสียและคืนดินแดนให้บัคติยาร การถกเถียงถึงเรื่องนี้ยังดำเนินอยู่ จนกระทั่งบัคติยารถูกถอดออกจากตำแหน่ง และถูกฆ่าตาย ดังนั้นเขาจึงกลายเป็นเจ้าของอิรัก และเป็นเหนือเคาะลีฟะห์ผู้อ่อนแอในกรุงบัฆดาด
อะซาดุดเดาละห์เป็นนักปกครองที่เด่นอยู่ในสมัยของเขา ในปี คศ. 977 เขาได้รวมเอาราชอาณาจักรเล็ก ๆ หลายอาณาจักรซึ่งเกิดขึ้นภายใต้การปกครองของราชวงศนี้ บุวัยห์ในอิรักและเปอร์เซีย เข้าด้วยกันและกลายเป็นราชอาณาจักรใหญ่เกือบเท่ากษัตริย์ฮารูน อัร – รอซีด
อะซาดุดเดาละห์มีอำนาจมากขึ้นจนกระทั่งเคาะลีฟะห์ต้องแต่งตั้งให้เขาเป็นสุลฏอนเนื่องจากกลัวเกรงเขา ในรัชสมัยของอะซาดุดเดาละห์ อำนาจของราชวงศ์บุวัยห์ ได้ขึ้นถึงระดับสูงสุด
ก่อนที่จะสิ้นชีวิตลงในปี คศ. 983 นั้น เขาได้ครอบครองดินแดนทั้งทะเลสาบแคสเปียนมาจนถึงอ่าวเปอร์เซียและจากเมืองอิสฟาฮานไปจนถึงชายแดนซีเรีย เป็นผู้รักความจริงและความยุติธรรมเป็นอย่างยิ่ง เขาเป็นนักวิชาการและนักคณิตสาสตร์ และเป็นผู้อุปถัมภ์กวีและนักปราชญ์ทั้งหลายด้วย เขาเชื้อเชิญนักปราชญ์จากส่วนต่าง ๆ ของโลกมายังวังของเขาและเข้าร่วมในการถกเถียงด้านวิชาการด้วย ในขณะที่ราชสำนักอยู่ที่เมืองชีราช ท่านยังทรงทนุบำรุงเมืองบัฆดาดให้งดงาม ซ่อมแซมคลองและสร้างมัสยิดขึ้นหลายแห่งรวมทั้งโรงพยาบาลและสถานสาธารณะประโยชน์ต่าง ๆ ในกรุงบัฆดาด ท่านได้สร้างโรงพยาบาลที่มีชื่อเสียงที่สุด มีชื่อว่า อัล – บิมาริสตาน อัล – อาซาดี ( Al – Bimaristan al Azadi ) ขึ้นมีแพทย์ประจำอยู่ 24 คน
เมื่อท่านสิ้นชีพลง โอรสของท่านคือ ซัมซัม อัดเดาละห์ได้สืบตำแหน่งต่อมาแต่ในไม่ช้าก็ถูกสิริญุด – เดาละห์ ( Sharaf ad – Dawlah ) ผู้เป็นอนุชาถอดตำแหน่งซาราฟัด อัดเดา ละห์ เป็นผู้อุปถัมภ์การศึกษา ได้ทรงสร้างหอดูดาวตามแบบอัลมะมูน ผู้สืบตำแหน่งต่อจากท่านก็คือ บาฮาดุลเดาละห์อนุชาของท่าน
การสิ้นสุดของราชวงศ์บุวัยห์
ราชวงศ์นี้มีอำนาจเหนือเคาะลีฟะห์อยู่กว่าร้อยปี ( คศ. 945 – 1055 ) แต่สงครามระหว่างพี่น้องทำให้ราชอาณาจักรอ่อนแอลง ในที่สุดก็ถูกโค่นล้มโดย ตุฆริล เบฆ ( Tughril Beg ) ผู้รุกเข้ามาในกรุงบัฆดาด ขับไล่พวกบุวัยห์ออกไป จึงทำให้ราชวงศ์บุวัยห์สิ้นลง ไม่ต้องสงสัยเลยว่าบางคนในราชวงศ์นี้เป็นคนโหดร้ายทารุณแต่โดยส่วนใหญ่และเป็นผู้เอาใจใส่ในความเจริญรุ่งเรืองของประชาชน และเป็นผู้ทำนุบำรุงวรรณกรรมและวิทยาการเป็นอย่างดี สุลฏอนหลายคนในราชวงศ์นี้เป็นผู้อุปถัมภ์ นักวิทยาศาสตร์ และนักอักษรศาสตร์ ในบรรดานักดาราศาสตร์ซึ่งเจริญรุ่งเรืองอยู่ในสมัยของราชวงศ์บุวัยห์นี้ ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังกว่าใคร ๆ ก็คือ อัล – กาฮี ( Al – kahi ) และอบุลวะฟา อัล – กาฮีเป็นผู้เขียนตำราเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของดาว พระเคราะห์ การค้นพบของเขาเกี่ยวข้องถึงวันที่ดวงอาทิตย์อยู่ใกล้ที่สุดของเส้นศูนย์สูตรของโลกในฤดูร้อนและในวันฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งมีเวลากลางวัน และกลางคืนเท่านั้น เป็นการเพิ่มพูนความรู้ให้แก่มนุษย์เป็นอย่างมาก ส่วนอะบุลวะฟาอ์นั้นได้นำเอาการใช้เส้นตรงที่ติดวงกลมมาใช้ในวิชาตรีโกณมิติ และในการสังเกตทางดาราศาสตร์ งานชิ้นสำคัญของเขาชื่อ อซีรอุช – ชะมิลเป็นอนุสรณ์ แห่งการสังเกตการณ์ที่เอาจริงเอาจังและถูกต้อง
ราชวงศ์ชิงญูก ( Seljug )
อำนาจของราชวงศ์ซิลญูกรุ่งเรืองขึ้นบนความเสื่อมโทรมของราชวงศ์ ก็อซนะวี( Ghazhauid ) ชาวเตอร์กมาจากทุ่งหญ้ากิรฆิช ( Kirghiz ) ของเตอรกีสถาน (Turkistan) มาตั้งหลักแหล่งอยู่ในเขตบุคอรอ ( Bukhara ) และนับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนนี ( Sunnite ) และเริ่มหาทางไปสู่อินเดีย ที่ละน้อยหลังจากโค่นล้มมัสอูด ( Masud ) โอรสของสุลฏอนมะห์มูด ( Mahmud ) แล้วตุฆริล เบฆก็ได้สร้างราชวงศ์ซิลญูกขึ้น
ตุฆริล เบฆ ( คศ. 1037 – 63 )
ตุฆริล เบฆได้รับการยกย่องว่าเป็นนักปกครองที่ฉลาดสุขุม เป็นคนง่าย ๆ โอบอ้อมอารีและอุทิศเวลาให้แก่การแสวงหาความรู้ นำเอาอิรักของเปอร์เซีย คอวาริสม์ ( Khawarim ) และแว่นแคว้นสำคัญ ๆ อื่น ๆ ในภาคตะวันตกมาอยู่ภายใต้การปกครองและขับไล่กษัตริย์ สุดท้ายแห่ง ราชวงศ์บุวัยห์ ออกไปจากบัฆดาด เมื่อ คศ. 1055 กออิม ( Qaim ) เคาะลีฟะห์ราชวงศ์อับบาซียะห์ได้ขอความช่วยเหลือจากตุฆริล เมื่อราชบัลลังก์ของท่านตกอยู่ในอันตราย ตุฆริลก็ทำตามคำขอร้องทันที เคาะลีฟะห์จึงทรงประทานตำแหน่งสุลฏอนให้เขาด้วยความรัก และขอบคุณ
อัลป์อัสสะลาน ( Assalan ) ( ฮศ. 1063 – 72 )
ภายใต้การปกครองของตุฆริลเบฆ พวกซิลญูกได้กลายเป็นชาติที่เด่นขึ้นมาในทวีปเอเชีย อัลป์อัสสะลานผู้สืบตำแหน่งต่อจากเขาในปีต่อมา อัลป์อัสสะลานก็ยึดเมืองหลวงของอาร์เมเนียได้ ในเวลาเดียวกันเขาได้ข่าวว่าพวกโรมัน ยกกองทัพใหญ่บุกเข้ามาในเอเซียไมเนอร์ กองทัพมุสลิมได้ชัยชนะแก่กองทัพโรมันในการต่อสู้ที่ มาลัซการ์ด ( Malaz Gard ) ได้มีการทำสนธิสัญติภาพ ระหว่างอัลป์อัสสะลานกับโรมานุส ( Romanus ) โดยที่โรมานุสตกลงจะยอมให้ธิดาของตนวิวาห์กับโอรสของอัลป์อัสสะลานแต่โรมานถูกฆ่าตายในระหว่างทางกลับไปยังเมืองคอนสแตนติโนเปิล แคว้นที่เพิ่งตีได้ไหม่จึงถูกมอบให้อยู่ในความปกครองของสุลัยมาน ( Sulayman ) ซึ่งปกครองในนามของสุลฏอน อัลป์อัสสะลานได้ชื่อว่าเป็นนักปกครองที่ดีมีใจเมตตาเป็นผู้ฉลาดสุขุม และยุติธรรม เขาสิ้นชีวิตในปี ฮศ. 466 หรือ คศ. 1073
มาลิกชาอ์ ( Malik Shah) (ฮศ. 466 – 485 หรือ คศ. 1072 – 1092 )
มาลิกชาอ์โอรสของอัลป์ อัสสะลานได้รับตำแหน่งสืบต่อมา ในระหว่างนั้นเคาะลีฟะห์กออิมสิ้นชีพลงและหลานปู่ของท่านคือ อัล – มุกตะดี ( Al – Muktadi) ได้รับตำแหน่งแทน รัชสมัยของมาลิก ชาฮ์เป็นการเปิดศักราชใหม่ในประวัติศาสตร์ของราชวงศ์ซิลญูก ระยะต้น ๆ ของรัชสมัยได้มีการแข็งข้อขึ้นในบางเมืองตลอดรัชสมัยของมาลิกชาฮ์ ผู้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการปกครองรัฐก็คือ นิซอมุล – มุลก์ ( Nigam al – Mulk)ในขณะที่สุลฏอนเองไม่ได้ทำอะไรเลย แผ่นดินมีแต่ความสุข ตลอดรัชสมัยของสุลฏอนท่านนี้ ดินแดนของมาลิกชาฮ์ขยายจากชายแดนจีนไปยังทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางภาคตะวันตกและจากเมืองจอร์เจีย ทางเหนือไปยังทางทิศใต้ นิซอมุลลุลก์ชอบท่องเที่ยวไปในที่ต่าง ๆ เพื่อดูและทุกข์สุขของประชาราษฎร์ เขาได้สร้างสถานที่พักขึ้นเพื่อให้ความคุ้มครองแก่พ่อค้าพาณิชย์ และผู้เดินทาง สร้างถนนหนทางมัสยิดและโรงพยาบาลเพื่อราษฎร นักประวัติศาสตร์กล่าวว่า เป็นสมัยที่ดีที่สุดของโรมันหรืออาหรับทีเดียวได้มีการทำนุบำรุงการค้าและอุตสาหกรรม อุปถัมภ์ ศิลป และวรรณกรรม นิซอมุลมุลก์เองเป็นนักวิชาการเขาได้เขียนตำราอันมีชื่อเสียงเกี่ยวกับ ศิลปะ การปกครองขึ้นชื่อว่าสิยาซัด นามะฮ์ ( Suyusat Namah ) โรงเรียนนิซอมียะฮ์ ( Nizamiyah ) ที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลกเป็นประจักษ์พยานได้เป็นอย่างดีในเรื่องการอุปถัมภ์ค้ำชูการศึกษาและนักปราชญ์ของเขา
อัล – ฆอซาลีนักปราชญ์ผู้มีชื่อเสียงก็เป็นครูอยู่ในโรงเรียนราชสำนักของมาลิกซาฮ์เต็มไปด้วยนักปราชญ์ผู้รู้ทั้งหลายซึ่งมีอุมัรค็อยยาม ( Omar Khayyam ) เป็นผู้หนึ่งอยู่ในจำนวนนั้น มาลิกซาฮ์ ทรงเปิดการประชุมนักดาราศาสตร์ขึ้นในปี ฮศ. 468 หรือ คศ. 1075 เพื่อทำการปฏิรูปปฏิทินเปอร์เซียตามความดำริของนิซอมุล – มุลก์ ขึ้นที่หอดูดาวของเขาซึ่งสร้างขึ้นใหม่ ผลจากการประชุม ครั้งนี้คือ ได้ปฏิทินแบบ “ ญะลาลี ”
( Jalali ) ขึ้นมาซึ่งได้ชื่อตามพระนามของสุลฏอน
ในตอนปลายรัชสมัยของมาลิกซาฮ์ ได้เกิดนิกาย อแสซัสซิน ( Assasin ) หรือฆาตกรขึ้นที่เมืองมาซันเดอราน ( Masandran ) ผู้จัดตั้งนิกายนี้ขึ้นมาก็คือ ฮะซันอิบนุสะบา( Hasan bin Sabbah ) ซึ่งนักประวัติศาสตร์เรียกว่า “ผู้เฒ่าแห่งภูเขา ” หรือประมุขของพวกแอสซัสซิน
เขาอ้างตนว่าสืบเชื้อสายมาจากบรรดากษัตริย์ฮิมยะรีย์แห่งอารเบียใต้ เขาเริ่มชีวิตด้วยการเป็นผู้ถือคทาให้สุลฏอน อัลป์อัสสะลาน กษัตริย์ของชาวซิลญูก แต่เนื่องจากได้มีการทะเลาะเบาะแว้งกันขึ้น เขาจึงกลับไปยังเมืองอัร – เรย์ซึ่งเป็นบ้านเกิดของเขาแล้วก็ผ่านเข้าไปในซีเรีย ซึ่งที่นั่นเขาได้เข้าทำงานให้แก่ประมุขของพวกอิสมาอีลียะฮ์
( lsmailte ) ในที่สุดก็ได้รับเอาหลักการของอิสมาอีลียะฮ์มาใช้และได้กลายเป็นผู้เผยแพร่นิกายอิสมาอีลียะฮ์ในภาคตะวันออกไป
ในปี คศ.1090 เขาตีได้ปราสาททอลามูต ( Alamut ) ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองกาซวิน ( Qazwin ) และแล้วเขาก็ได้สถาปนาปราสาทนี้เป็นเมืองหลวงของตน จากอลามูตฮะซันและพรรคพวกได้ทำการปล้นสดมภ์ในที่ต่าง ๆ โดนใช้กริชเป็นอาวุธ ฮะซันได้สร้างการปกครองเจ็ดระดับ ซึ่งแพร่ไปทั่วเอเซีย ทำงานเผยแพร่ลัทธิศาสนา หนึ่งในเจ็ดระดับก็คือระดับผู้อุทิศตนซึ่งเรียกว่า “ผู้ลอบฆ่า ” พวกนี้เป็นคนหนุ่มซึ่งได้รับคัดเลือกมาเพราะมีร่างกายแข็งแรงและกล้าหาญ การฝึกฝน ทั้งหมดมีเพื่อทำให้คนเหล่านี้มีจิตใจเสียสละอุทิศตนแก่นายใหญ่ซึ่งก็คือฮะซัน อิบนุสะบานั่น เอง เมื่อใดที่ได้กลิ่นศัตรู เขาได้กริซแทงทะลุหัวใจศัตรูอย่างชำนิชำนาญ ต่อมาภายหลังฮะซันได้กลับเป็นมุสลิมผู้เคร่งครัดไป
เมื่อฮะซันอิบนุสะบาสิ้นชีวิตลง บุตรชายของเขาคือ บุซูกอุมัยด์ ( Buzug Umaid ) ก็รับตำแหน่งแทนและปกครองอยู่ถึง 24 ปี เมื่อเขาสิ้นชีพลง กอยา มุฮัมมัด ( Gaya Muhammad ) บุตรของเขาก็รับตำแหน่งแทนและอยู่ในตำแหน่งถึง 25 ปี ผู้นำคนสุดท้ายของพวกนี้ก็คือ รุกนุดดีน ( Ruknuddin ) ซึ่งรู้จักกันในนามของกอฮีชาฮ์ ( Qahi Shah ) ผู้ถูกฮูลากูกษัตริย์ ชาว ตาร์ตาร์ ( Hulagu the Tartar ) จับตัวเป็นเชลยเคาะลีฟะห์ได้พยายามอย่างหนักที่จะบดขนี้อำนาจของพวกแอสซัสซินเสียก็ไม่สำเร็จ จนกระทั่งฮูลากูเข้ามารุกรานทำลายเคาะลีฟะห์ ยึดเอาป้อมปราการได้ในปี คศ. 1256 รวมทั้งปราสาทต่างๆในเปอร์เซียด้วย ดังนั้นนิกายแอสซัสซินจึงได้หายไปจากประวัติศาสตร์
เมื่อมาลิกสิ้นชีพลงอำนาจของพวกซิลญูก ก็เริ่มเสื่อมลงผู้สืบต่อมาลิกชาฮ์มีอำนาจขึ้นก็จริงแต่มัวยุ่งอยู่กับสงครามกลางเมืองเสียซึ่งในที่สุดก็เป็นเครื่องทำลายพวกเขาลง
ในระยะนี้เองที่สงครามครูเสดได้แผ่ขยายไปทั่วเอเชียตะวันตกอย่างรวดเร็ว แต่ทั้งพวกซิลญูกและราชวงศ์อับบาซียะฮ์มิได้เอาใจใส่ ต่อการสงครามนี้เลย
http://www.muslimchonburi.com/index.php?page=show&id=725
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น