นครแบกแดด (بَغْدَادُ )
นครหลวงของอิรักตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำไทกริส (دِجْلَة ) มีประชากรราว 3 ล้าน 2 แสน 5 พันคน, เป็นราชธานีของราชวงศ์อับบาซียะฮฺ และเป็นหนึ่งจากราชธานีของอิสลามในประวัติศาสตร์, ค่อลีฟะฮฺอัลมันซู๊ร แห่งราชวงศ์อับบาซียะฮฺได้สร้างนครแห่งนี้ขึ้นในปี ฮ.ศ.144/คศ. 762 และทรงเรียกขานว่า นครแห่งสันติภาพ (مَدْيَنةُ السَّلاَمِ )
นครแบกแดดในรัชสมัยค่อลีฟะฮฺแห่งราชวงศ์อับบาซียะฮฺมีความเจริญรุ่งเรืองสุดขีด โดยเฉพาะรัชสมัยค่อลีฟะฮฺ อัลมะฮฺดีย์, อัลฮาดีย์, และฮารูน อัรร่อชีดฺ ต่อมามีการย้ายราชธานีไปยังนครซามัรรออฺ (سَامَرَّاءُ ) ในระหว่างปี คศ.836-892 หลังจากนั้นนครแบกแดดก็กลับมาเป็นราชธานีของราชวงศ์อับบาซียะฮฺอีกครั้งและเจริญสุดขีดในศตวรรษต่อมา,
นครแบกแดดเคยเป็นที่พำนักของบรรดานักปราชญ์, นักกวี และเป็นศูนย์กลางของวรรณกรรมและศิลปะวิทยาการแขนงต่าง ๆ , นครแห่งนี้มีบ้านเรือน อาคาร มัสยิดและโรงเรียนมากมาย ตลอดจนมีโรงพยาบาลที่ถูกเรียกว่า บีมาริสตาน และห้องอาบน้ำสาธารณะเป็นอันมาก
ส่วนหนึ่งจากโรงเรียน (มัดร่อซะฮฺ) ที่โด่งดังของนครแบกแดดคือ อันนิซอมียะฮฺ และอัลมุสตันซิรียะฮฺ และหอสมุดดารุ้ลอิลฺมิ เป็นต้น, ในปีคศ.1258 ฮูลากู แม่ทัพมองโกลได้กรีฑาทัพเข้าตีนครแบกแดด ตามดัวยตัยมูร แลงก์ ในปีคศ.1392 และ 1401
ซามัรรออฺ เมืองหลวงคู่นครแบกแดด มหาวิทยาลัยอัลมุสตันซีรียะฮฺในแบกแดด
พวกซ่อฟาวียะฮฺและพวกอุษมานียะฮฺได้ผลัดกันเข้ายึดครองแบกแดดในช่วงคริสตศตวรรษที่ 16 และในปีคศ.1638 ซุลตอนมุร็อดที่ 4 แห่งอุษมานียะฮฺ (ออตโตมาน เติร์ก) สามารถเข้ายึดครองนครแบกแดดเอาไว้ได้
มัสญิดญามิอฺในนครแบกแดด
นครแบกแดดเป็นศูนย์กลางทางการพาณิชย์, อุตสาหกรรมและการศึกษา, มีพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมวัตถุโบราณในสมัยอิสลาม มีมหาวิทยาลัยอัลมุสตันซีรียะฮฺ และบรรดามัสยิดตลอดจนปราสาทและตลาดโบราณเป็นจำนวนมาก, เป็นชุมทางรถไฟที่เชื่อมต่อกับตุรกี และสนามบินนานาชาติ, มีโรงกลั่นน้ำมันดิบที่ถูกส่งมาจากเมืองกัรกูก (เคอร์คุก) มีเขตปกครองแบ่งออกเป็นบัฆด๊าด, อัล-อะอฺซ่อมียะฮฺ, อัลกาซิมียะฮฺ, อัลมะฮฺมูดียะฮฺ และอัลมะดาอิน
Suq al-Ghazel (The Yarn Bazaar) Minaret in Baghdad
alisuasaming.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น