วันอังคารที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2553

การบริหารการปกครองแคว้นต่างๆในยุคอับบาซียะฮ

4. การบริหารการปกครองแค้วนต่างๆในยุคอับบาสียะฮฺ

4.1 การแต่งตั้งวะลีย์ตามแคว้นต่างๆ
ระบบการบริหารราชอาณาจักรในยุคเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด ท่านใช้ระบบมัรกาซีย์ คือ ระบบการกระจายอำนาจการปกครองแบบรวมศูนย์ เพราะฉะนั้นวะลีย์แคว้นต่างๆ จะเป็นผู้บริหาร ดำเนินกิจการตามคำสั่งจากศูนย์กลาง
เคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด ได้พยายามที่จะให้การปกครองของท่านอย่างมีระบบ มีความสะดวกท่านจึงแบ่งอาณาจักรทั้งหมดเป็นหลายแคว้นด้วย แต่ละแคว้นมีวะลีย์ซึงเคาะลีฟะฮฺเองเป็นผู้แต่งตั้ง และวะลีย์นั้นมีอำนาจสูงสุดในแคว้นของเขาเอง แต่ตำแหน่งนี้ไม่ได้สืบทอดตามสายเลือด ตำแหน่งวะลีย์จะถูกย้ายหรือถูกถอดถอนได้ทุกขณะเมื่อเคาะลีฟะฮฺต้องการ ในแต่ละเมืองจะมีกฺอฎีประจำในเมืองใหญ่ๆ มีกฺอฎีหลายคนในระยะต้นๆของราชวงศ์อับบาสิยะฮฺนั้น ซึ่งกฺอฎีประจำเมืองเหล่านั้นจะได้รับการแต่งตั้งโดยผู้ครองเมืองนั้นๆ แต่ต่อมาในยุคเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด ได้เปลี่ยนให้หัวหน้ากฺอฎีแห่งแบกแดดเป็นผู้แต่งตั้ง
สำหรับแคว้นที่อยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรในยุคเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีดนั้นอย่างกว้างๆแล้วมีสถานที่สำคัญๆดังนี้

1.แคว้นอัลยาซีเราะฮฺ อัลอาหรับ มีจังหวัดอยู่ภายใต้การปกครอง 4 เมือง คือ

จังหวัด เมือง
1.1
อัล ฮิยาซ มักกะฮฺ มะดีนะฮฺ ฏออิฟ
2.2
เยเมน ซอนอาอฺ ซะบีด
2.3
อูมาน ซอฮาร
2.4
อัลยามามะห์ ฮิยิร บะห์เรน ริยาดปัจจุบัน หรือเรียกว่ามะดีนะห์อัลอะห์ซาอฺ

2. แคว้นอิรัก มีเมืองอยู่ภายใต้ปกครอง 6 เมืองด้วยกัน

จังหวัด เมือง

2.1
อัลกูฟะฮฺ อัลกูฟะฮฺ เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในราชอาณาจักรอับบาสียะฮ์

2.2
อัลบัสเราะฮฺ อัลบัสเราะฮฺ เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในราชอาณาจักรอับบาสียะฮ์เช่นกัน
2.3
วาสีฎ วาสิฎ
2.4
แบกแดด แบกแดด
2.5
หีลวาน หีลวาน
2.6
สามะรออฺ สามะรออฺ

3.แคว้นอากูร ซึ่งเป็นที่รู้จักด้วยแคว้นอัลญาซีเราะฮฺ อาษูรอ และอาซูร ตั้งอยู่ระหว่างแม่นํ้าไทกรีสกับแม่นํ้ายูเพรติส ประกอบด้วย 3 แคว้นด้วยกัน

จังหวัด เมือง

3.1
อัลโมศูล รอบีอะฮฺ แคว้นนี้ชาวอาหรับได้พักอาศัยอยู่ตั้งแต่สมัยก่อนรับอิสลาม และได้พักอาศัยโดยเผ่าพันธุ์อัดนานียีน
3.2
อัลรูกอฮฺ มิฏร์
3.3
อามาดฺ บิกร์

4. แคว้นชาม มีเมืองอยู่ภายใต้การปกครอง 6 แคว้นด้วย

จังหวัด เมือง
4.1
หะลาบ กอนซูรีน
4.2
หัมศฺ หัมศฺ
4.3
ดามัสกัส ดามัสกัส
4.4
ฎีบรียะห์ อูรดูน
4.5
อัลรอมละห์ ปาเลสไตน์
4.6
ศูฆอร์ ชูรอตฺ


5. แคว้นมิศร์ อียิปต์ปัจจุบัน มีเมืองอยูภายใต้การปกครอง 7 แคว้นด้วยกัน

จังหวัด เมือง
5.1
อัล-ญูฟฟาร อัล-ฟารอมะห์
5.2
อัล-คอฟ บีลบีส
5.3
อัล-รีฟ อัล-อับบาสะห์
5.4
อัสกันดารียะฮฺ อัสกันดารียะฮฺ
5.5
อัล-มักดูนียะห์ อัล-ฟูสฎอฎ
5.6
อัล-ศออีด อัสวาน
5.7
อัล-วาหาต อัล-วาหาต

6. แคว้นตะวันออก ( แบ่งออก 2 ฝั่ง คือ
6.1 ทรานโซซาเนีย(Transoxania) มีเมืองอยู่ภายใต้การปกครอง 6 แคว้นด้วยกัน

จังหวัด เมือง
6.1.1
ฟัรฆอนะห์ อัคซีกาษ
6.1.2
อัษบีญาบ อัษบีญาบ
6.1.3
อัล-ซาซ บิกษฺ
6.1.4
อัชรูสนะห์ บินญากัส
6.1.5
อัล-ศอฆฺ สะมัรกานด์
6.1.6
บูคอรอ บูคอรอ

6.2 แคว้นคูรอซาน มีเมืองอยู่ภายใต้การปกครอง 9 แคว้นด้วยกัน

จังหวัด เมือง
6.2.1
บัลค์ บัลค์
6.2.2
ฆอซนีน ฆอซนีน
6.2.3
บัสตฺ บัสตฺ
6.2.4
สาญิสถาน ซัรนัจ
6.2.5
ฮารรอตฺ ฮารรอตฺ
6.2.6
ญูญาน อัล-ยาฮูดียะห์
6.2.7
มูรู ชาฮฺยาน มูรู ชาฮายาน
6.2.8
ไนชาบูร อิหราน ชาหฺ
6.2.9
กูหฺสถาน ฟัยญฺ

7. แคว้นตะวันตก มีเมืองอยู่ภายใต้การปกครอง 8 เมืองด้วย


จังหวัด เมือง
7.1
บูรกอตฺ บูรกอตฺ
7.2
อัฟริกา อัล-คอยรูวาน
7.3
ตาฮารต์ ตาฮารตฺ
7.4
สัญลามาสะห์ สัญลามาสะห์
7.5
ฟาส ฟาส
7.6
อัล-สูส ฎัรฟานะห์
7.7
อินดาลูส /สเปน กูรฏูบา / คอร์โดวา
7.8
ศอกลียะห์ บัลรอม


8. แคว้น อัลไดลัม มีเมืองอยู่ภายใต้การปกครอง 5 เมืองด้วยกัน


จังหวัด เมือง
8.1
กูมสฺ อัล-ดัมฆอน
8.2
ญัรญาน ชะห์รูสถาน
8.3
ฏอบรูสถาน อามัล
8.4
อัล-ไดละมาน บัรวาน
8.5
อัลคอซรฺ อะตาล



9. อัลรีหาบ มีเมืองอยู่ภายใต้ปกครอง 3 เมืองด้วยกัน


จังหวัด เมือง
9.1
อัล-วาน บัรษาอะห์
9.2
อัรมีเนีย อัรดีบีล
9.3
อาซัรไบยาน ตีบรีส

10. แคว้นอัลญะบาล (ภูเขา) มีเมืองอยู่ภายใต้การปกครอง 3 เมืองด้วยกัน


จังหวัด เมือง
10.1
อัลไรย์ อัลไรย์
10.2
ฮัมษาน ฮัมษาน
10.3
อัศฟะฮาน อัลยาฮูดียะห์

11. แคว้นคูสถาน มีเมืองอยู่ภายใต้การปกครอง 7 เมืองด้วยกัน


จังหวัด เมือง
11.1
อัลสูส
-
11.2
ตัสตัร ญูนดีสาบูร
11.3
ตัสตัร ตัรตัส
11.4
อัสกัร มักรอม อัสกัร มักรอม
11.5
อัลอะฮฺ วาซ อัลอะฮฺ วาซ
11.6
อัลดูรอกฺ อัลดูรอกฺ
11.7
รอมฮัรมัซ อัลดูรอกฺ


12. แคว้นเปอร์เชีย(อิหร่าน) ปัจจุบัน มีเมืองอยู่ภายใต้การปกครอง 6 เมืองด้วยกัน


จังหวัด เมือง
12.1
อูรญาน อูรญาน
12.2
อูรดีซีร คูรรอฮฺ สีราฟ
12.3
ดารฺ อับจ์รอดฺ ดารฺ อับจ์รอดฺ
12.4
ชีรอซ ชีรอซ
12.5
สาบูร ชะฮฺรูสถาน
12.6
อัศฏอคอร์ อัศฏอคอร์


13. แคว้นกัรฮาน มีเมืองอยู่ภายใต้การปกครอง 5 เมืองด้วยกัน

จังหวัด เมือง
13.1
บูรดีสีร บูรดีสีร
13.2
นีรมาสีร นีรมาสีร
13.3
สีรญาน สีรญาน
13.4
บีม บีม
13.5
ญีรฟะต์ ญีรฟะต์

14. แคว้นสันธุ มีเมืองอยู่ภายใต้การปกครอง 5 เมืองด้วยกัน


จังหวัด เมือง
14.1
มักรอน บังจญ์บูร
14.2
ฎูรอน กอซดาร์
14.3
อัลซีนด์ มันซูเราะห์
14.4
ไวฮีนด์ ไวฮีนด์
14.5
กอนูจญ์ กอนูจญ์



แคว้นที่กล่าวข้างต้นนั้น เป็นแคว้นที่อยู่ภายใต้การปกครองของราชอาณาจักรอิสลาม
อับบาสียะฮฺ การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะประชาชนมีความแตกต่างกัน ไม่ว่าเรื่องภาษา เผ่าพันธุ์ วัฒนธรรม และแนวคิด แต่อย่างไรก็ตามราชวงศ์อับบาสียะฮฺ ภายใต้การนำของเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด ท่านได้พยายามเพื่อจะทำให้ประชาชาติมีความเป็นเอกภาพอันเดียวกัน ซึ่งท่านใช้ระบบการปกครองแบบต่อเนื่องจากราชวงศ์อุมัยยะห์แต่จะมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
เคาะลีฟะฮฺจะเป็นผู้คัดเลือกวะลีย์แคว้นต่างๆ โดยผ่านวะซีรตัฟวีด ด้วยความละเอียดรอบคอบ โดยคัดเลือกผู้ที่เชื่อถือได้ หลังจากนั้นจะกำหนดขอบเขตหรืออำนาจหน้าที่ให้วะลีย์ ซึ่งอำนาจหน้าที่ที่สำคัญ ได้แก่ ด้านการเงิน และด้านศาลฎีกา ( Muhammad Husain, 2001 : 91)
นักปราชญ์ฟูกอฮาอฺได้กำหนดรูปแบบการแต่งตั้งวะลีย์ของราชอาณาจักรอิสลามมี 2 รูปแบบด้วยกัน
1. อัล-อีมาเราะห์ อัลคอเศาะห์ (al-Emarah al-Khasah)
2. อัล-อีมาเราะห์ อัลอามมะห์ (al-Emarah al-‘Ammah)
อัลอีมาเราะห์ อัลคอเศาะห์ คือ เคาะลีฟะฮฺทรงกำหนดงานของวะลีย์ในการปฏิบัติหน้าที่ไม่ว่าจะเป็นในด้านการฝึกอบรมทหาร ด้านการเมือง ที่มีความสงบสุขของประชาชนและการปฎิบัติศาสนกิจตรงตามกฎหมายอิสลาม และการจัดเก็บภาษี การรับบริจาค ตลอดจนการดูแลผู้ประกอบพิธีฮัจย์ รูปแบบนี้ได้ใช้ในยุคของราชวงศ์อุมัยยะฮฺและอับบาสียะฮฺ (Muhammad Husin, 2001 : 92)
อัลอีมาเราะห์ อัลอามมะห์ (al-‘Ammah) คือ อำนาจต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับแคว้นขึ้นอยู่กับวะลีย์ ซึ่งมี 2 รูปแบบดังนี้
2.1 อีมาเราะห์ อัลอิสติกฟาอฺ คือ เคาะลีฟะฮฺทรงคัดเลือกผู้ที่มีความสามารถและเชี่ยวชาญให้เป็นวะลีย์ตามแคว้นและทรงมอบอำนาจหน้าที่ดังนี้
1.1.1 ควบคุมดูแลการฝึกอบรมด้านการทหาร และดูพิจารณาเงินเดือนของทหารทั้ง
หมด
1.1.2 ควบคุมดูแลด้านหลักการศาสนา (al- Ahkam) และปฏิบัติตามการตัดสินของกฺอฎี
2.1.3 บริหารงานด้านการเก็บภาษีจากประชาชน และดูแลทรัพย์สินที่ได้รับจากการ
บริจาค พร้อมกับจัดสรรให้แก่ผู้ที่มีสิทธิ์
2.1.4 พิทักษ์รักษาศาสนา กำชับเรื่องความดี และห้ามปรามความชั่วราย
2.1.5 ดำเนินงานตามกรอบของศาสนา
2.1.6 ปฏิบัติหน้าที่เป็นอิมามในชุมชนต่างๆ หรือเป็นผู้นำในชุมชนต่างๆ
2.1.7 ให้ความสะดวกต่อผู้แสวงบุญ หรือผู้ที่ไปประกอบพิธีฮัจญ์ในนครมักกะฮฺ ในการเดินทางเพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
2.1.8 สร้างจิตสำนึกในการญิฮาด ในแนวทางของพระองค์อัลลอฮฺ ต่อผู้ต่อต้านศาสนา หรือสร้างความเสียหายต่ออิสลามและจัดแบ่งทรัพย์สินฆอนีมะห์
[1]
2.2 อีมาเราะห์ อัลอิสตีลาอ คือ การแต่งตั้งวะลีย์ โดยบัญชาให้ปกครองแคว้นต่างๆ และเคาะลีฟะฮฺทรงมอบหมายงานด้านการบริหาร และด้านการเมือง ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
2.2.1 มีอำนาจโดยตรงในการบริหารแคว้นหลังจากได้รับการยอมรับจากเคาะลีฟะฮฺ
ให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว
2.2.2 ต้องปฏิบัติตามเคาะลีฟะฮฺในเรื่องศาสนา
2.2.3 รวบรวมทรัพย์สินของประชาชาติที่บังคับเก็บตามข้อกำหนด

4.2 บรรดาวะลีย์ในยุคเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด ตามแคว้นต่างๆ มีดังนี้
4.2.1 แคว้นมะดีนะห์ มีบรรดาวะลีย์ คือ
2.1.1 อิสหากฺ อิบนฺ อีชา อิบนฺ อะลี
2.1.2 อับดุลมะลิก อิบนฺ ศอลีห์ อิบนฺ อะลี อิบนฺมุฮัมมัด อิบนฺ อับดุลลอฮฺ
2.1.3 มูชา อิบนฺ อีชา อิบนฺ มูชา
2.1.4 อิบรอฮีม อิบนฺ มุฮัมมัด อิบนฺ อิบรอฮีม
2.1.5 อับดุลลอฮฺ อิบนฺ มุศอับ
2.1.6 อะลี อิบนฺ อีชา อิบนฺ มูชา
2.1.7 มุฮัมัด อิบนฺ อิบรอฮีม
2.1.8 บะการ อิบนฺ อับดุลลอฮฺ อิบนฺ มุศอับ
2.1.9 มุฮัมมัด อิบนฺ อะลี
2.1.10 อะบู อัลบัคตารีย์
2.1.11 วะฮัม อิบนฺ มันบะห์

4.2..2 แคว้นมักกะห์ มีบรรดาวะลีย์ คือ
2.2.1 อัลอับบาส อิบนฺ มุฮัมมัด อิบนฺ อิบรอฮีม
2.2.2 สุไลมาน อิบนฺ ญะอฺฟัร อิบนฺ สุไลมาน
2.2.3 มูชา อิบนฺ อีชา อิบนฺ มูชา
2.2.4 อับดุลลอฮฺ อิบนฺ มุฮัมมัด อิบนฺ อิบรอฮีม
2.2.5 อับดุลลอฮฺ อิบนฺ คอสมฺ อิบนฺ อัลอับบาส
2.2.6 อับดุลลอฮฺ อิบนฺ มุฮัมมัด อิบนฺ อิมรอน
2.2.7 อุบัยดิลละฮฺ อิบนฺ มุฮัมมัด อิบนฺ อิบรอฮีม
2.2.8 อัลอับบาส อิบนฺ มูชา อิบนฺ อีชา
2.2.9 อะลี อิบนฺ มูชา อิบนฺ อีชา
2.2.10 มุฮัมมัด อิบนฺ อับดุลลอฮฺ อิบนฺ อัลอุษมานียฺ
2.2.11 ฮัมมาด อัลบับารีย์
2.2.12 สุไลมาน อิบนฺ ญะอฺฟัร อิบนฺ สุไลมาน
2.2.13 อัล ฟัดล์ อิบนฺ อัลอับบาส อิบนฺ มุฮัมมัด
2.2.14 อะหฺมั อิบนฺ อิสมาอีล อิบนฺ อะลี
4.2.3 แคว้น อัลกูฟะฮฺ มีบรรดาวะลีย์ คือ
2.3.1 มูชา อิบนฺ อีชา อิบนฺ มูชา
2.3.2 มุฮํมมัด อิบนฺ อิบรอฮีม
2.3.3 อับดุลลอฮฺ อิบนฺ มุฮํมมัด อิบนฺ อิบรอฮีม
2.3.4 ยะอฺกูบ อิบนฺ อะบี ญะอฺฟัร
2.3.5 มูชา อิบนฺ อีชา อิบนฺ มูชา
2.3.6 อัลบาส อิบนฺ อีชา อิบนฺ มูชา
2.3.7 อิสหาก อิบนฺ อัลศอบาห์ อัลกีนดียฺ
2.3.8 ญะอฺฟัร อิบนฺ อะบีญะอฺฟัร

4.2.4 แคว้นอัลบัสเราะฮฺ มีบรรดาวะลีย์ คือ
2.4.1 มุฮัมมัด อิบนฺ สุไลมาน อิบนฺ อะลี
2.4.2 สุไลมาน อิบนฺ อะบีญะอฺฟัร
2.4.3 อีชา อิบนฺ ญะอฺฟัร อิบนฺ อะบีญะอฺฟัร
2.4.4 คูไซมะฮฺ อิบนฺ คอซิน
2.4.5 อีชา อิบนฺ ญะอฺฟัร
2.4.6 ยะรีร อิบนฺ ยะซีด
2.4.7 ญะอฺฟัร อิบนฺ สุไลมาน
2.4.8 ญะอฺฟัร อิบนฺ ญะอฺฟัร
2.4.9 อับดุลซอมัด อิบนฺ อะลี
2.4.10 มาลิก อิบนฺ อะลี อัลคอซาอียฺ
2.4.11 อิสหาก อิบนฺ สุไลมาน อิบนฺ อะลี
2.4.12 สุไลมาน อิบนฺ อะบีญะอฺฟัร
2.4.13 อัลหะสัน อิบนฺ ยะมีล เม าลา อะมีร อัมุมินีน
2.4.14 ยะรีร อิบนฺ ยะซีด
2.4.15 อิสหาก อิบนฺ อีชา อะลี

4.2.5 แคว้นคูรอซาน มีบรรดาวะลีย์ ดังนี้
2.5.1 อะบู อัลอับบาส อัลตูซียฺ
2.5..2 ญะอฺฟัร อิบนฺ มุฮัมมัด อิบนฺ อัลอัซอัส
2.5.3 อัลอับบาส อิบนฺ ญะอฺฟัร
2.5.4 อัลคอตรีฟ อิบนฺ อะฎอบ
2.5.5 สุไลมาน อิบนฺ รอชีด
2.5.6 ฮัมซะฮฺ อิบนฺ มาลิก
2.5.7 อัลฟัดล์ อิบนฺ ยะห์ยา อิบนฺ คอลิด
2.5.8 มันศูร อิบนฺ ยะซีด อิบนฺ มันศูร
2.5.9 ญะอฺฟัร อิบนฺ ยะห์ยา
2.5.10 อะลี อิบนฺ อีชา อิบนฺ อะยูน
2.5.11 ฮัรชะมะหฺ อิบนฺ อะยูน
2.5.12 อัลอับบาส อิบนฺ ญะอฺฟัร
( Ibn al-Athir, 1987: 354-355)
4.2.6 แคว้นมัสร์(อียีอต์ปัจจุบัน) มีบรรดาวะลีย์ คือ
2.6.1. มูช อิบนฺ อีชา อิบนฺมูชา อิบนฺ อะห์มัด
2.6.2 มุสลีมะห์ อิบนฺ ยะห์ยา
2.6.3 มุฮัมมัด อิบนฺ ชูไหร์
2.6.4 ดาวูด อิบนฺ ยะซีด
2.6.5 อิบรออีม อิบนฺ ศอลีห์
2.6.6 อิบรอฮีม อิบนฺ มุฮัมมัด อิบนฺ อิบรอฮีม


4.2.7 แคว้นอัลยะมัน (แยแมน) มีบรรดาวะลีย์ คือ
2.7.1 อับดุลลอฮฺ อิบนฺ มุสอับ
2.7.2 อะห์มัด อิบนฺ อิสมาอีล อิบนฺ อะลี
2.7.3 ฮัมมาด อิบนฺ อัลบัรบารีย์
2.7.4 อับดุลลอฮิ อิบนฺ มาลิก

4.2.8 แคว้นดิมัส (ดามัสกัส) มีวะลีย์ คือ
2.8.1 อัลหะสัน อิบนฺ อิมรอน

4.2.9 แคว้นโมศูล มีวะลีย์ คือ
2.9.1 อับดุลมาลิก อิบนฺ ศอลีห์

4.2.10 แคว้นอัฟริกา มีวะลีย์ คือ
2.10.1. ยะซีด อิบนฺ ฮาตีม

4.3. สภาดีวานต่างๆ (al-Diwan)

ความเป็นมาของระบบดีวาน
อัล-ดีวาน(al-Diwan) เป็นคำในภาษาเปอร์เซีย ซึ่งได้แปลเป็นภาษาอาหรับ หมายถึงการบันทึกหรือสถานที่จัดเก็บเอกสารสำคัญต่างๆ ในการบริหารการปกครองราชการแผ่นดิน และการดูแลด้านการคลังของราชอาณาจักรเพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย เปรียบเสมือนกระทรวงต่างๆ ในยุคปัจจุบัน แต่อย่างไรก็ตามอัลดีวานในที่นี้ หมายถึง การจัดระบบเพื่อดูแลด้านเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการปกครองของราชอาณาจักร ไม่ว่าจะเป็นในด้านใดก็ตาม ( Muhammad Husain, 2001 : 94 , ‘Umar Hafiz, 1996 : 256)
ประวัติความเป็นมาของอัลดีวานนั้น เกิดขึ้นในสมัยของเคาะลีฟะฮฺ อุมัร อิบนฺ ค๊อฏฏอบ
[2] และได้พัฒนามาเรื่อยๆ โดยเคาะลีฟะฮฺของราชวงศ์อุมัยยะห์ เคาะลีฟะฮฺของราชวงศ์อับบาสียะห์ ตลอดจนยุคของเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด ท่านได้บริหารโดยใช้ระบบดีวานและได้แบ่งหน้าที่รับผิดชอบตามความสำคัญของดีวานต่างๆ สำหรับดีวานที่สำคัญๆ ในยุคของท่าน คือ

4. 3.1 ดีวาน อัลคอรอจ ( al-Kharaj )
4.3. 2 ดีวาน อัลบะรีด ( al-Barid )
4.3.3. ดีวาน นะฟะกอต ( al-Nafaqat )
4.3.4 ดีวาน อัลดิยัด ( al-Diyah )
4.3.5 ดีวาน อัลมะวาลีย์ และอัลฆูลามาน (al-mawaly , al-khulaman)
4.3.6 ดีวาน อัลรอซาอีล ( al-Rasa ‘il )
4.3.7 ดีวาน อัลฮะวาอิจ ( al-Hawa ‘ij )
4.3.8 ดีวาน อัลอะห์ชาม ( al-Ahsham )
4.3.9 ดีวาน อัลมินฮะ ( al-Minha )
4.3.10 ดีวาน อัลอัครอห์ ( al-Akrah )

4.3.1 ดีวาน อัลคอรอจญ์ ( al-Kharaj )
อัลคอรอจญ์ หมายถึง ภาษีที่ดินซึ่งมีผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ไม่ใช่อิสลาม
ดีวาน อัลคอรอจญ์ หมายถึง การควบคุมรายงานการเก็บภาษีและบันทึกการใช้จ่าย ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบรวบรวมภาษี พร้อมรายได้ต่างๆ ของทุกแคว้นไว้รวมกับการบันทึก การใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือผู้ยากจนหรือผู้ที่มีความจำเป็นและนำส่งส่วนที่เหลือไปยังศูนย์กลางของราชอาณาจักรต่อไป (Muhammad Husin, 2001 : 99)
ในยุคเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด มีดีวานอัลคอรอจที่ศูนย์กลาง เพื่อความสะดวกในการจัดวางแผนงบประมาณของราชอาณาจักรทั้งหมด และจัดเตรียมการติดต่อสื่อสาร การรับจ่ายจากแคว้นต่างๆ ( ‘Umar Hafiz Sharif, 1996 : 267)

4.3.2 ดีวาน อัลบะรีด ( al-Barid)
อัลบะรีด เป็นที่มาจากภาษาอาหรับ ซึ่งแปลว่า การสื่อสารทางด้านไปรษณีย์ และอัลบะรีดยังหมายถึง การให้บริการการสื่อสารข่าวต่างๆ จากสถานที่หนึ่งไปยังสถานที่หนึ่ง และมีหน้าที่คอยส่งข่าวทางการจากศูนย์กลางการปกครองไปยังแคว้นต่างๆ โดยรับข่าวของเคาะลีฟะฮฺส่งไปยังวะลีย์แคว้นนั้นๆ และนำข่าวของวะลีย์ไปยังเคาะลีฟะฮฺหรืออาจจะกล่าวได้ว่า ซอฮิบู อัลบะรีด นั้นเป็นสายสืบของ
เคาะลีฟะฮฺ เพื่อควบคุมดูแลการบริหารการปกครองของวะลีย์ เพื่อควบคุมดูแลการบริหารการปกครองของวะลีย์ตามแคว้นต่างๆ ผู้ที่ดำรงตำแหน่งนี้ เรียกว่า “ซอฮีบ อัล-บะรีด” (Sahib al-Barid) (Muhammad Husain, 2001 : 105 - 106)
การให้บริการเช่นนี้ได้เกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์อุมัยยะห์ ซึ่งเป็นยุคของเคาะลีฟะฮฺมุอาวียะห์ อิบนฺ อะบีซูฟยาน หลังจากนั้นได้พัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ จนถึงยุคอับดุลมาลิก อิบนฺ มัรวาน และยุคราชวงศ์อับบาสียะฮฺ ได้จัดตั้งดีวานอัลบะรีดที่ศูนย์กลางการปกครองที่เมืองบัฆดาด (แบกแดด) การดำเนินการดังกล่าวยังคงดำเนินต่อไปจนถึงยุคเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด(Muhammad Husain, 2001 : 105-107)
การให้บริการโดยใช้ระบบดีวานอัลบะรีด ในยุคเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อให้การบริการในส่วนของการปกครองราชอาณาจักรเท่านั้น ไม่ได้ให้บริการต่อชุมชนทั่วไป หน้าที่รับผิดชอบของ ซอฮิบู อัลบะรีด นั้นคือ ติดตามและให้ความสำคัญในเรื่องการดูแลและให้ความช่วยเหลือต่อเคาะลีฟะฮฺและผู้บริหารอื่นๆ ในการปกครองราชอาณาจักร เช่น การควบคุมความปลอดภัยจากศัตรู สำนักงานดีวานอัลบะรีดเปรียบเสมือนสำนักงานข่าวกรองดูแลความปลอดภัยในปัจจุบัน และในขณะเดียวกันหน้าที่หลักของ ซอฮิบู อัลบะรีด คือ ส่งข่าวที่ได้รับจากตัวแทน(วะลีย์)แคว้นต่างๆ ให้กับเคาะลีฟะฮฺ (Hasan Ibrahim Hasan, 1983 : 269 - 270)

4.3.3 ดีวาน นะฟะกอต ( al-Nafaqat )
เป็นดีวานที่คอยควบคุมความต้องการใช้จ่ายของเคาะลีฟะฮฺในราชวังและการใช้จ่ายของราชอาณาจักรในทุกๆด้าน เช่น การใช้จ่ายด้านอาวุธสงคราม เสื้อผ้าชุดทหาร ตำรวจ และเงินเดือนทหาร ตำรวจ ซึ่งดีวานนี้ถือได้ว่ามีความสำคัญมากในยุคเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด (Muhammad Husain, 2001 : 100)

4.3.4 ดีวาน อัลยุนด์ ( al-Jund
เป็นดีวานที่คอยปฏิบัติหน้าที่ดูแลความปลอดภัยและความเรียบร้อยเพื่อให้มีความสงบสุขจากผู้กระทำผิดและผู้ไม่หวังดีต่อราชอาณาจักร ดีวานนี้จะมีการบันทึกรายชื่อทหารและตำรวจ และกำหนดเงินเดือนของทหารอีกด้วย
การเพิ่มจำนวนประชาชาติของราชวงศ์อับบาสิยะฮฺ ทำให้เพิ่มจำนวนทหารมากยิ่งขึ้นซึ่งนับได้ว่าจำนวนทหารของราชวงศ์อับบสิยะฮฺในยุคนั้น มีจำนวนมาก เฉพาะแคว้นอิรักอย่างเดียวนั้นถึง 125,000 นาย ที่ได้รับเงินเดือนประจำจากรัฐบาล ในช่วงราชวงศ์อับบาสิยะฮฺเข้าสู่ความเจริญรุ่งเรืองทางด้านการปกครองทหารในยุคนั้นได้รับเงินเดือนถึง 20 ดัรฮัมในขณะเดียวกันก็มีทหารอาสาสมัครจากประชาชนทั่วไปที่พยายามเข้าทำสงครามด้วยความศรัทธา ราชวงศ์อับบาสิยะฮฺ ได้แบ่งการทหารออกเป็นหลายๆ ฝ่าย เช่น ฝ่ายทหารม้า ซึ่งใช้ดาบเป็นอาวุธ ส่วนใหญ่จะเป็นชาวอาหรับ ฝ่ายทหารเดินเท้า ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นชาวเปอร์เซีย
ในยุคการปกครองของเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด ท่านได้กำหนดสถานที่เฉพาะในการบริหารด้านการทหาร ทหารที่อาศัยในสถานที่ดังกล่าวทางรัฐบาลได้ให้ที่ดินเพื่อทำการเพาะปลูกเป็นสถานที่ปลูกต้นไม้นานาพรรณ หลากหลายชนิดที่มีความสมบูรณ์และร่มรื่นมาก และยังเป็นสถานที่พบปะบรรดานักวิชาการในยุคนั้นอีกด้วย ในขณะเดียวกันเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจพร้อมกับใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ในการแสวงหาวิชาความรู้ (Khai al-din hj Muhammad, 1979 : 165)

4.3.5 ดีวาน อัลดิยัด ( al-Diyah )
คือคอยดูแลทรัพย์สินที่ฝ่ายผู้ฆ่าจ่ายให้แก่ทายาทผู้ถูกฆ่า อัลดิยัตในที่นี้หมายถึง ทรัพย์สินที่ฝ่ายผู้ฆ่าจ่ายให้แก่ทายาทผู้ถูกฆ่า(สินใหมทดแทน) โดยการจ่ายอูฐ 100 ตัว หรือแพะ 1000 ตัว หรือทองคำ 1000 ดีนาร์ (4,250 กรัม) ( Muhammad Yusuf Musa, 2545 : 11)

4.3.6 ดีวานอัลมะวาลีย์ และอัลฆิลมาน (al-Mawaly , al-Ghilaman)
เป็นดีวานที่ดูแลและติดตามและบันทึกรายชื่อของอัลมะวาลีย์
[3] และควบคุมดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด

4.3.7 ดีวานอัลรอซาอีล ( al-Rasa‘il )
เป็นดีวานที่คอยบันทึกเอกสาร หนังสือเข้า-ออกจากราชอาณาจักร

4.3.8 ดีวานอัลฮาวาอิจ ( al-Hawa‘ij )
เป็นดีวานที่คอยติดตามดูความต้องการของประชาชาติที่จำเป็นในการให้ความช่วยเหลือ

4.3.9 ดีวานอัลอะห์ชาม (al-Ahsham)
เป็นดีวานที่คอยติดตามดูแลพนักงาน เจ้าหน้าที่ในพระราชวัง

4.3.10 ดีวานอัลมินฮะ (al-Minha)
เป็นดีวานที่คอยควบคุมติดตามให้ทุนการช่วยเหลือต่อผู้ลำบาก

4.3.11 ดีวานอัลอัครอห์ (al-Akrah)
เป็นดีวานที่ควบคุมดูแลติดตามในการพัฒนา ซ่อมแซมถนนหนทาง คูระบาน้ำ สะพาน และอื่นๆ
ดีวานต่างๆเหล่านี้มีอำนาจโดยตรงในหน้าที่รับผิดชอบ และจะบริหารงานเป็นแคว้นต่างๆ ซึ่งอำนาจส่วนกลางจะไม่มายุ่งเกี่ยว นอกจากจะเกิดปัญหาเลวร้าย และปัญหาผู้ที่ต่อต้านภาษีต่างๆ (Hasan Ibrahim Hasan, 1983 : 268 - 269)




[1] คือทรัพย์สินที่ได้รับจากสงครามต่อสู้กับศัตรู
[2] อุมัร อิบนฺ ค๊อฏฏอบ ท่านเป็นเคาะลีฟะฮฺฟะฮฺคนที่ 2
[3] “ อัลมะวาลีย์ ” เป็นคำพหูพจน์จากว่า “ เมาลา ” ซึ่งหมายถึง บรรดาเชลยศึกที่ถูกจับเป็นทาสและได้รับการปล่อยเป็นไทอีกครั้งหนึ่ง


อ้างจากเอกสารประกอบการสอนรายวิชาหลักการบริหารในอิสลาม 3 สาขารัฐประศาสนศาสตร์มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา เรียบเรียงโดย อาจารย์อับดุลเลาะห์ อูมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น