วันพฤหัสบดีที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2553

ราชวงค์ อุษมานียะฮ์ (The Ottoman Empire)


ราชวงค์ อุษมานียะฮ์ (The Ottoman Empire)
อาณาจักร์ออตโตมาน หรือ ราชวงค์ อุษมานียะฮ์ (The Ottoman Empire) ระหว่างปี ค.ศ. 1299-1922
อาณาจักรอุษมานียะฮ์หรือออตโตมานเติร์กเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1299 หลังจากอาณาจักรเซลจูกเติร์กแห่งอนาโตเลียถูกกองทัพมงโกลรุกรานและล่มสลายในที่สุด อาณาจักรอุษมานียะฮ์ถูกสถาปนาขึ้นโดย อุษมาน และท่านอุษมานได้ประกาศตนเป็นปาดีชะห์ปกครองอาณาจักรออตโตมานที่แคว้นโซมุตทางทิศตะวันตกของอนาโตเลีย จึงนับว่าท่านเป็นสุลต่านองค์แรกแห่งราชอาณาจักนออตโตมาน (อุษมานียะฮ์)
คำว่า อุษมานียะฮ์มาจากชื่อต้นตระกูล เป็นชื่อของสุลต่านองค์แรกของราชวงค์ ผู้สถาปนาราชอาณาจักรอุษมานียฮ์
ประมุขสุงสุดของอาณาจักรออตโตมาน เรียกว่า ปาดีชะห์ หรือ สุลต่าน ผู้มีอำนาจรองลงมา คือ วาซีร อะซัม (แกรนด์วิเซียร์)ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าดิวาน ซึ่งในปัจจุบันอาจหมายถึง รัฐบาล และมีอีกตำแหน่งหนึ่งเรียกว่า ไซคุลอิสลาม ทำหน้าที่ดูแลฝ่ายกิจกรรมศาสนาอิสลาม มีฐานะเท่าเทียมกับ แกรนด์วิเซียร์ ทั้งสามสถาบันถือเป็นสถาบันหลักของอาณาจักรออตโตมาน
อาณาจักรออตโตมานมีปาดีชะห์หรือสุลต่านปกครองทั้งหมด 36 พระองค์ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1299-1922 การปกครองในรัชสมัยของสุลต่านสิบพระองค์แรกนับว่าเป็นสุลต่านที่มีความสามารถเข้มแข็งในการรบ เพราะต้องรักษาดินแดนของตนพร้อมกับการขยายดินแดนออกไปให้กว้างขวางยิ่งขึ้น สุลต่านองค์ที่ 2 คือ อรฮันที่ 1 ได้จัดตั้งงกองทหารราบแจนิสซารีขึ้น เพื่อเป็นกองทหารกล้าตายพิทักษ์องค์สุลต่าน เป็นผู้มีความซื่อสัตย์และจงรักภัคดีต่อสุลต่านเป็นอย่างยิ่ง แต่ในภายหลังกองทหารแจนิสซารีเป็นผู้ก่อการจลาจลเสียเอง เพราะกลัวจะเสียผลประโยชน์ บางรัชสมัยกองทหารแจนิสซารีมีอิทธิพลถึงขั้นถอดถอนแต่งตั้งสุลต่านได้ จนในที่สุดรัชสมัยสุลต่านมะห์มูดที่ 2 พระองค์ได้ปราบปรามกองทหารแจนิสซารีอย่างเด็ดขาดและได้เลิกระบบกองทหารแจนิสซารี
ในรัชสมัยของสุลต่านสิบพระองค์แรกต้องทำศึกสงครามกับอาณาจักรไบแซนทีน กลุ่มประเทศในแหลมบอลข่าน เช่น เซอร์เบีย บัลกาเรีย วอเลคเชีย (โรมาเนีย) เฮงการี เป็นต้น ผลจากการสงครามในสมัยนี้ส่วนใหญ่ออตโตมานเป็นผู้ชนะ แต่ในสมัยสุลต่านคนที่ 4 คือ บายาซิดที่ 1 พบศึกหนักต้องทำสงครามกับตาร์ตาร์ภายใต้การนำของทาร์เมอเลน สุลต่านถูกจับและสิ้นประชนในที่สุด
ต่อมาสุลต่านคนที่ 7 เมร์เมดที่ 2 ได้รับสมญานามว่า ผู้พิชิต เพราะเป็นผู้พิชิตอาณาจักรไบแซนทีนได้สำเร็จ สามารถตีกรุงคอนสแตนติโนเปิลได้ในปี ค.ศ. 1453 และได้ทรงเปลี่ยนเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรออตโตมานตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยเปลี่ยนชื่อเป็น อิสตันบูล ในสมัยสุลต่านสุไลมานที่ 1 นับว่าอาณาจักรออตโตมานเจริญสูงสุดแต่ในขณะเดียวกันในช่วงปลายสมัยของสุลต่านสุไลมานที่ 1 นี้ก็เป็นการเริ่มของความเสื่อมของอาณาจักรออตโตมานสาเหตุของการเสื่อมเพราะ
1.ความอ่อนแอของสุลต่านเอง คือ ไม่มีความสามารถในการรบ หมกมุ่นอยู่กับสุรานารี
2.ปล่อยให้แกรนด์วิเซียร์เป็นผู้บริหารแทน เป็นเหตุให้เกิดการการคอรัปชั่น
3.ขาดอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัยส่วนในยุโรปนั้นมีการอาวุธที่ทันสมัยและมีศักยภาพมากกว่า
4.กษัตริย์ในยุโรปได้ร่วมมือกันเพื่อล้มล้างอาณาจักรออตโตมาน

หลังจากสิ้นยุคการปกครองของสุลต่านสุไลมานเป็นต้นมา อาณาจักรออตโตมานเข้าสู่ยุคแห่งความเสื่อม ภายในราชสำนักมีแต่ความฟุ้งเฟ้อ หรูหรา ฟุ่มเฟือย สุลต่านเอาแต่สนุกสนานอยู่ในฮาเร็ม มีการลอบปลงประชนแย่งชิงราชบัลลังก์ บรรดาข้าราชการแสวงหาความร่ำรวย ฉ้อราษฎร์บังหลวง สาเหตุดังกล่าวทำให้สุลต่านแห่งออตโตมานต้องปราชัยเป็นส่วนใหญ่และจากการรุกรานของชาติต่างๆในยุโรปทำให้ ไม่ สามารถขยายดินแดนได้อีก ต่อมาในสมัยมะห์มูดที่ 2 ก็ได้จัดกองทัพแบบยุโรป โดยมีฝรั่งเศสให้ความช่วยเหลือ หลังจากนั้นก็ได้ทำสงครามกับกลุ่มประเทศในแหลมบอลข่าน อิตาลีและกรีก แต่ออตโตมานก็พ่ายแพ้มาตลอด ในสมัยอับดุลฮามิดที่ 1 ได้เกิดกลุ่มยังเติร์กหรือเติร์กหนุ่มเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบสุลต่านเป็นระบบสาธารณรัฐและให้มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายในการปกครองประเทศ ในที่สุดเคมาล ปาชา ผู้นำกลุ่มยังเติร์กสามารถชนะกรีก และต่อมาประกาศเลิกระบบสุลต่าน เลิกระบบเคาะลีฟะฮ์ เป็นการสิ้นราชวงค์ออตโตมาน (อุษมานียะฮ์) เปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐประเทศตรุกีในปี ค . ศ. 1922 จนถึงปัจจุบัน
อาณาจักรออตโตมานให้ความสำคัญกับการศึกษาเหมือนกับอาณาจักรอิสลามอื่นๆ ในอดีตมีสถาบันการศึกษาเกิดขึ้นมากมายในดินแดนอาณาจักรออตโตมานทั้งในภูมิภาคเอเชียและยุโรป รัฐบาลออตโตมานไดจัดการศึกษาให้แก่ประชาชนอย่างเสมอภาคไม่แบ่งชนชั้นวรรณะ สถาบันการศึกษาที่สำคัญของอาณาจักรออตโตมานนอกจากสถาบันมัดรอซะห์แล้วยังมี มักตาบศิบยาน ตำหนักใน สถานพายบาล มัสญิด เตกแกและซาวียะห์ ตลอดจนจวนของบรรดาขุนนางและที่พำนักของบรรดาอุลามาอฺมีบทบาทต่อกิจกรรมการศึกษาของอาณาจักรออตโตมานป็นอย่างมาก
สังคมในสมัยออตโตมานได้แบ่งชนชั้นเป็นชนชั้นปกครองและชนชั้นถูกปกครอง ชั้นปกครองได้แก่ สุลต่าน ข้าราชบริพารในพระราชวัง ทหารต่างๆ กอฏี มุฟตี อุลามาอฺ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ต่างๆ ในสำนักงานการเงินการคลัง และสถาบันอาลักษณ์ และชนชั้นถูกปกครอง ไดแก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเมือง ชนบท รวมทั้งชนเร่ร่อน อาศัยอยู่ตามเชิงเขา ทะเลทราย ทุ่งหญ้า มีทั้งที่นับถือศาสนาอิสลาม คริสต์ ยิว และอื่นๆ



อาณาจักรออตโตมานมีการค้าทั้งภายในราชอาณาจักร และการค้าระหว่างประเทศ เมืองสำคัญด้านการค้าของอาณาจักรออตโตมานมีหลายเมือง เช่น บุรซา แอร์ซูรูม คอนยา ซีวาส อิสตันบูล เป็นต้น
มีการค้าขายกับซีเรีย อียิปต์ เอเชียน้อย เส้นทางการค้าในเขตทะเลดำก็เป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของออตโตมาน ทำการค้าข้าวสาลี ปลา น้ำมันพืช และเกลือ เมืองท่าในทะเล Azov ออตโตมานยังเป็นศูนย์กลางการค้าผ้าและทาส สำหรับการค้ากับต่างประเทศก็มี เวนิส เจนัว แฟลนเดอร์ ฟลอเรนซ์ จีน เปอร์เซีย อาหรับ อินเดีย อินโดนีเซีย เป็นต้น และต่อมาราชอาณาจักรออตโตมานก็มีความสัมพันธ์ทางการค้ากับ รัสเซีย อังกฤษ และฝรั่งเศสอีกด้วย
งานด้านสถาปัตยกรรมในยุคสมัยอาณาจักรออตโตมานปรากฏให้เห็นในรูปแบบของการก่อสร้างพระราชวัง มัสญิด สุสาน วิทยาลัยและอาคารต่างๆ ในสมัยสุลต่านแต่ละพระองค์ดังตัวอย่างต่อไปนี้

1. พระราชวังท็อปกาเปอ เป็นพระราชวังที่สร้างขึ้นในรัชสมัยของสุลต่านเมห์เมดที่ 2 ภายหลังจากที่พระองค์ตีคอนสแตนติโนเปิลได้แล้ว ใช้เวลาในการก่อสร้าง 6 ปี เป็นสถาปัตยกรรมแบบออตโตมาน ซึ่งจำลองแบบมาจากรพะราชวังเดิมที่เมืองแอดิร์เน ภายในพระราชวังประกอบด้วยตำหนักน้อยใหญ่ พลับพลา พระคลังมหาสมบัติ มัสยิด หอพัก โรงอาหาร ฮาเร็ม ท้องพระโรง ศาลาลูกขุน ห้องสมุด โรงครัว น้ำพุ อุทยาน ตลอดจนถนนหนทาง
2. มัสยิดอรฮันกาซี ซึ่งเป็นชื่ออมีรคนที่ 2 แห่งราชอาณาจักรออตโตมาน สร้างขึ้นในตอนต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 14 มัสยิดนี้มีโดมสูง 16-50 เมตร ตั้งอยู่ในกรุงบุรซา
3. มัสยิดสุลต่านอะห์เมด หรือมัสยิดสีฟ้า สร้างขึ้นในสมัยสุลต่านอะห์เมดที่ 1 ตัวมัสยิดประกอบนด้วยหน้าต่างประดับด้วยกระจกสี จำนวน 260 บาน ภายในมัสยิดประกอบด้วยกระเบื้องสีฟ้า
4. มัสยิดรุสตัมปาชา ซึ่งสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1561 ในรัชสมัยของสุลต่านสุไลมานที่ 1 รุสตัมปาชา เป็นแกรนด์วิเซียร์และเป็นลูกเขยของสุลต่านสุไลมานที่ 1 5. มัสยิดเก่าในกรุงแอดิร์แนเป็นมัสยิดที่สร้างขึ้นในตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15
6.มัสยิดเบเยซิดปาชา ที่กรุง อมาสยา
7. มัสยิดสุไลมานิเย สร้างขึ้นในรัชสมัยสุไลมานที่ 1 มียอดโดมสูง 53 เมตร มีหน้าต่าง 138 บานทำด้วยกระจกสีต่างๆดูระยิบระยับงามตาไปทั่วทั้งอาคาร
8.มัสยิดเขียว มัสยิดนี้สร้างขึ้นในกรุงบุรซา
9.มัสยิดขันธี อิบรอฮีม ปาชา สร้างในกรุงอิสตันบูล
นอกจากมัสยิดที่กล่าวมาแล้วยังมีมัสยิดอื่นๆอีกมาก ซึ่งไม่สามารถจะกล่าวในที่นี้ไดทั้งหมด นอกจากสร้างมัสยิดแล้วยังมีการสร้างสุสานอีกด้วย เช่น สุสานสุลต่านบายาซีดที่ 1 สุลต่านเมห์มัดที่ 1
นอกจากมัสยิด พระราชวัง สุสาน แล้ยังมีการสร้างอาคารอื่นๆ อีกมากมาย เช่น โรงพยาบาลที่กรุงเอดิร์เน วิทยาลัยสุไลมานปาชาที่อิซนิก วิทยาลัยบายาซิด ยิลดัมซึ่งเป็นอาคารฮาเร็ม สร้างขึ้นสำหรับพระนาง มเหสีของสุลต่านสุไลมานที่ 1

ที่มา : Islamic center of psu Fathoni

3 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ20 กันยายน 2553 เวลา 00:38

    ข้อมูลนี้ดีมากเลยครับ น่าจะเพิ่ม ref. ที่มาของข้อมูลหน่อยก็จะดี เผื่ออยากอ่านเพิ่มเติม

    แล้วมีประวัติอาณาจักรปัตตานีบ้างไหมครับ

    ตอบลบ
  2. จะพยายามไปหามานะครับ แต่ก็รู้สึกว่าสายรายงานประวัติศาสตร์ปัตตานีไม่ค่อยน่าเชื่อถือสักเท่าไหร่ครับผม แต่ก็จะพยายามครับผม อินชาอัลลอฮ

    ตอบลบ
  3. รู้สึกว่าจะมีงานวิจัย ของสาขาวิชาภาษามลายู มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา เกี่ยวกับ ฟาฏอนี ดารุสสาลาม ไม่แน่ใจว่าใช่หรือเปล่า ยังงัยก้จะชัดเจนอีกครั้งคับ

    ตอบลบ