วันอังคารที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2553

สาเหตุและความตกต่ำ และการล่มสลายของอาณาจักรอับบาซียะฮ

7. สาเหตุแห่งความตกต่ำ และการล่มสลายของราชอาณาจักรอับบาสียะฮฺ
         ตลอดระยะเวลาแห่งสงครามครูเสดนั้น นายทัพและทหารมุสลิมได้แสดงความเมตตาเห็นอกเห็นใจ ความอดทนและมานะพยายาม ความอ่อนโยนและการให้อภัยอย่างมากมาย และเหนือสิ่งอื่นใดก็คือจิตใจที่กล้าหาญ ในระหว่างเวลานี้บรรดาเคาะลีฟะฮฺแห่งนครบัฆดาดก็มัวยุ่งอยู่กับการต่อสู้ภายในราชอาณาจักร มิได้สนใจใยดีต่อประเทศชาติ ถูกพวกครูเสดรุกราน ต่างก็ใช้ชีวิตกันอย่างสำราญ และเกียจคร้านจนกระทั่งบัฆดาดถูกฮูลากู ( Hulagu ) เข้ายึดได้ ฮูลากูผู้นี้เป็บหลานปู่ของเจงกิสข่าน ได้ทำลายเมืองจนพินาศและปลงพระชนม์เคาะลีฟะฮฺ อัลมุสตะซิม(Al-Mustasim)เสียจึงนับว่าอัลมุสตะซิมเป็นเคาะลีฟะฮฺท่านสุดท้ายแห่งราชวงศ์อับบาสียะฮฺสิ้นชีพในปี คศ. 1258 ดังนั้นราชวงศือับบาสียะฮฺ ซึ่งสืบสันติวงศ์มาป็นเวลาช้านานจึงถึงที่สิ้นสุดลง

7.1 ผู้นำและสมาชิกราชวงศ์
           การที่จะกล่าวถึงสาเหตุของการโค่นล้มของรชวงศ์อับบสียะฮฺนั้นเห็นจะต้องบรรยายถึงการกระทำต่างๆ ของเคาะลีฟะฮฺท่ายท้ายๆ ของราชวงศ์นี้ ส่วนใหญ่ใช้ชีวิตอย่างหรูหราฟุ่มเฟือย ไม่สนใจต่อกิจการของรัฐ แทนที่จะอุทิศเวลาไปในการปรับปรุงสภาพของประชาชน พลเมือง และบริหารประเทศให้ดีขึ้น พวกเขากลับหมกมุ่นอยู่กับสุรานารีและการร้องรำทำเพลงยิ่งกว่านั้นพวกเขาได้สูญสิ้นความกระตือรือร้นที่จะทำตนเป็นผู้นำประเทศเสียแล้ว เพราะเลือดของพวกเขาเจือจางลงเนื่องจากการผสมกับเลือดของผู้ถูกพิชิต( อนุสรณ์เมาลิดกลาง 1414 ,139-140)
สาเหตุสำคัญที่ทำให้ราชอาณาจักรต้องโค่นล้มไม่มีอื่นใดนอกจากการเสียทางด้นคุณธรรม จริยธรรมและการเสื่อมโทรมของบรรดาเคาะลีฟะฮฺราชวงศ์อับบาสียะฮฺยุคหลัง เช่น เคาะลีฟะฮฺอัลมุอฺตัส เคาะลีฟะฮิอัลมุอฺตามิด อาลัลลอฮฺ และเคาะลีฟะฮฺท่านอื่นๆ ซึ่งทำให้พวกเขาเหล่านั้นทางก็อ่อนแอในการบริหารกิจการต่างๆ ของราชอาณาจักร สาเหตุดังกล่าวทำให้อำนาจเตอร์ก[1] เข้ามีบทบาทในราชอาณาจักรอับบาสียะฮฺ( หะซัน นิมาตุลลอฮฺ , 182)

7.2 ความขัดแย้งทางด้านเชื้อชาติ ลักธิชาตินิยม และ เกิดรัฐเล็กๆ ในยุคอับบาสียะฮฺ
             การที่พวกเตอร์กีมีอำนาจสูงสุดขึ้มาในระยะหลังๆ ก็ป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ราชวงศ์ต้องโค่นล้ม หลังจากมุตะวักกิลสิ้นชีพแล้วอำนาจของพวกเตอร์กีก็เพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็วและผู้สืบสันติวงศ์ต่อๆ มาจากมุตะวักกิลก็ไม่สามารถต่อต้านได้ชาวอาหรับและเปอร์เซียต่างก็นึกรังเกียจนโยบายยกตตนข่มท่านของพวกเตอร์กจึงตีตัวออกห่างนี้ก็คือได้เกิดการแตกแยกออกเป็นรัฐอิสระมากมายซึ่งเป็นอันตรายต่อราชอาณาจักรเดป็นอย่างยิ่งความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับรัฐบาลกลางก็เป็นไปอย่างไม่ใคร่เป็นมิตรนัก มีอยู่หลายแคว้นที่ผู้ปกครองแคว้นพยายามท้าทายอำนาจของรัฐบาลกลางและประกาศเป็นอิสระ ก่อความเดือดร้อนในราชอาณาจักรอยู่เนืองๆ ความเป็นปรปักษ์ระหว่างเชื้อชาติที่แตกต่างกันก็เป็นสาเหตูที่สำคัญอันหนึ่งที่ทำให้ราชวงศ์อับบาสียะหฮฺต้องโค่นล้ม การต่อสู้ระหว่างชาวอาหรับกับผู้ที่ไม่ใช่อาหรับ ระหว่างชาวมุสลิมกับผู้ไม่ใช่มุสลิมดำเนินไปอย่างรุนแรง ในระยะนี้ชาวอิหร่านซึ่งราชวงศ์อับบาสียะฮฺชอบพอนั้นรังเกียจชาวอาหรับ และชาวอาหรับก็รังเกียจชาวอิหร่านและอื่นๆ พวกที่ไม่ใช่อาหรับต่างก็มาห้อมล้อมพวกอิหร่านและกีดกันความเจริญก้าวหน้าในทุกๆด้าน ทางที่เป็นไปได้และเคาะลีฟะฮฺก็ไม่สามารถที่จะรวมชนชาติต่างๆ เหล่านี้เข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ ผลที่ตามมาก็คือมุสลิมได้แตกแยกออกเป็นหลายนิกายและราชอาณาจักรก็ถูกแบ่งแยกออกไปอย่างช้าๆ แต่ทว่าแน่นอนในบรรดาองค์ประกอบหลายๆอย่างที่นำไปสู่การโค่นล้มของราชวงศ์นั้นเหตุผลทางด้านเศรฐกิจก็เป็นองค์ประกอบอันหนึ่งที่สำคัญยิ่ง การเรียกเก็บภาษีจากราษฎรเพื่อเป็นประโยชน์ของชนชั้นปกครองนั้นทำให้เกษตกรและผู้ทำงานอุตสาหกรรมท้อใจและการสู้รบอย่างนองเลือดอย่างไม่หยุดหย่อนก็ทำให้ที่ดินเพาะปลูกหลายแห่งต้องถูกทอดทิ้งให้รกร้าง
( อนุสรณ์เมาลิดกลาง 1414 ,139-140)
ความหลากหลายของเชื้อชาติและแตกต่างนิกายในสังคมอิสลานั้นไม่ใช่สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความแตกแยกของประชาชาติอิสลาม นอกจากจะมีความญะฮีลียะฮฺ(ความไม่รู้ศาสนาและไม่มีความรู้ทางวิชาการ) ในจิตใจของพวกเขาเหล่านั้น ( หะซัน นิมาตุลลอฮฺ , 183 )

7.3 เคาะลีฟะฮฺทอดทิ้งกิจการทหาร
          การที่เคาะลีฟะฮฺในสมันหลังๆ ทอดทิ้งกิจการทหารก็นับเป็นสาเหตุอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้ราชวงศ์โค่นล้มเพราะความมั่นคงของราชอาณาจักรขึ้นอยู่กำลังทางทหาร แต่เนื่องจากในระยะหลังๆ นี้ไม่มีการขยายเขตดินแดนออกไปบรรดาเคาะลีฟะฮฺจึงได้ละเลยกิจการด้านนี้เสีย ผลก็คือว่าบรรดาทหารต่งก็สูญสิ้นจิตใจที่กล้าหาญไปและเมื่อชาวต่างชาติมาโจมตีประเทศ พวกเขาก็ไม่สามารถจะทำอะไรได้ ( อนุสรณ์เมาลิดกลาง 1414 ,139-140)

7.4 การรุกรางของมองโกล
             ในขณะที่โลกอิสลามกำลังแตกแยกออกเป็นรัฐต่าง ๆ ( Caliphates ) ในศตวรรษที่ 12 นั้น พวกมองโกลทางตะวันออกได้เริ่มแสดงบทบาทแผ่อำนาจรุกราน พวกมองโกลเป็นพวกที่มีจิตใจอำมหิตบึกบึน แบ่งออกเป็นหลายเผ่า ชาวจีนเรียกว่าคนป่าหรือฮั่น ( Huns ) ชาวโรมันเรียกว่า ตาตาร์ ( Tatarus = Hell ) พวกนี้ทั้งในยุโรปและอาเซียมีภาษาคล้ายคลึงกัน นับญาติกันโดยทางสายเลือดแบ่งออกเป็นตระกูล ( Clans ) หลาย ๆตระกูล รวมกันเป็นเผ่าแต่ละเผ่าหากนับกันโดยทางสายเลือดแล้วเป็นญาติทั้งสิ้น เผ่าหนึ่ง ๆ จะมีตระกูลใดตระกูลหนึ่งเป็นหัวหน้า ( Ruling Chief ) ทุกคนในเผ่าขี่ม้าได้ทำหน้าที่เลี้ยงและไล่ต้อนสัตว์ ปล้นสะดม และทำการ รบ อาวุธ ที่ถนัดคือธนู หอกและแหลน พวกนี้มีนิสัยพเนจร ชอบเปลี่ยนที่อยู่ ถิ่นเดิมนั้นอยู่ในมองโกเลียตอนเหนือ พวกมองดกลเป็นนักรบบนหลังม้าที่ช่ำชอง มีชีวิตส่วนใหญ่บนหลังม้า กินเนื้อม้าและนมม้า มีการฝึกหัดใช้อาวุธอยู่เป็นเนื่องนิจ พวกนี้จึงเป็นทหารม้าที่เก่งกล้า ย้ายที่อยู่ได้ง่ายเพราะสร้างเต้นท์เป็นอยู่ (Tuur - gatan =Tent ) ไม่ชอบสร้างเมืองถาวร
ในปี ค.ศ. 1120 นั้น พวกมองโกลมีหัวหน้าชื่อคาบุล ซึ่งเป็นต้นตระกูลของคุบไลขาน คารบุลได้นำทหารม้าของเขาไปรับจ้างจีนในสมัยราชวงศ์ซ้อง ทำการรบกับพวกสตาร์ขื่น ( Chin, Kin = Golden ) เพราะพวกนี้กำลังเป็นอันตรายต่อจีนเมื่อเยซูไก Yessugei ซึ่งเป็นหลานของคาบุลได้ขึ้นเป็นหัวหน้ามองโกลนั้น ปรากฎว่ามีคนอยู่ในบังคับบัญชาถึงสองแสนคน เวลาออกทำการรบ มีกองทัพม้าที่ยิ่งใหญ่ เป็นที่หวาดเกรงแก่ชนชาติต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงเมืองเยซูไกได้ถูกพวกตาร์ดนูชิน (Nu - chin ) ฆ่าตัวตายด้วยการวางยาพิษบุตรคนหัวปีของเขาคือ เตมูจิน ( Temujin) ซึ่งภายหลังเรียกว่า เจงกิส ( ค.ศ. 1162 -1227 ) ได้รับตำแหน่งหัวหน้าแทนบิดาขณะเข้ารับตำแหน่งหัวหน้าแทนจนอายุได้ 17 ปี เจงกิสได้แสดงความสามารถในด้านการทหารและการปกครองได้ผูกมิตรกับพวกมองโกลเผ่าต่าง ๆ ด้วยการสาบานเป็นน้องพี่ กัน ในที่สุดได้รวมพวกมองโกลเผ่าต่าง ๆ เข้าเป็นสหพันธ์ แล้วคัดเลือกหัวหน้าใหญ่ขึ้นคนหนึ่ง (Great Khan ) เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองปรากฎว่าที่ประชุมได้เลือกเจงกิสขึ้นเป็นผู้รับตำแหน่ง เจงกีสข่านได้ย้ายเมืองหลาวงไปตั้งที่คาราคอรัม (Karakorum ) ทางใจกลางของทวีปอาเซีย เมื่อเห็นว่ามองโกลของเขาอยู่ในสภาพรักพร้อมทุก ๆ ด้านแล้ว เจงกีสข่านก็เริ่มตีประเทศใกล้เคียง ตีได้จีนตอนเหนือรวมทั้งกรุงปักกิ่งในปี ค.ศ. 1215 เจงกีสข่านเป็นทั้งนักรบที่เก่งกล้าและเป็นนักการเมืองที่ฉลาด เขารู้ดีว่ายังไม่ถึงเวลา ที่จะตีเอา ประเทศทั้งหมด เพราะมองโกลของเขายังไม่มีความช่ำชองในการบริหารและการปกครอง และจำเป็นต้องระมัดระวังภัยจากความแตกแยกของชนเผ่าเร่ร่อนด้วยกัน ซึ่งเป็นสิ่งปันทอนอำนาจของมองดกลและชนเผ่าเร่รอนอื่น ๆ มาทุกยุกทุกสมัย เจงกีสข่านรู้ดีว่าฐานอำนาจที่แท้จริงของเขานั้นคือท้องทุ่งสเตปป์ (Steppes ) อันกว้างใหญ่ไพศาล กองทัพของเขาจะทรงพลังอยู่เสมอตราบใด ที่มีท้องทุ่ง นี้ไว้ในครอบครอง ทุ่งสเตปป์เป็นที่หลบภัยในยามคบขัน เป็นทีพักฟื้นเมืองมองโกลอ่อนแอลง เป็นที่สะสมกำลังเป็นที่ ๆ ไม่มีใครเข้าถึงได้ และที่สุดทุ่งกว้างนี่คือชีวิตจิตใจของมองโกล ด้วยเหตุนี้เจงกีสข่านก็หยุดอยู่เช่นนั้นปล่อยให้แผ่นดินจีนทางใต้ของราชวงศ์ซ้องปกครองอยู่ต่อมาอีกเกือบ 100 ปี
กองทัพมองโกลกลับไปสู่ทุ่งสเตปป์ทางตะวันตกหลังจากตีได้ไปภาคเหนือของจีน ทัศนะของเจงกีสข่านต่อการแผ่อำนาจของมองโกลนั้นพิจารณาได้จากข้อความภาษามองโกลซึ่งแปลได้ดังนี้
The people of felt – walled tents
Should remain in the steppes
And continue their ancient warrior way of life ,
Drawing tribute front the world of farms,
Cities, and caravan trade

เมื่อละจากจีน เจงกีสข่านก็มุ่งไปทางตะวันตก ได้ตียุโรปตะวันออกไปถึงลุ่มแม่น้ำดอน (Don ) และแม่น้ำดนีปเปอร์ Dnieper และได้หยุดอยู่เพียงแค่นั้น เพราะพื้นที่นอกนั้นของยุโรปเป็นป่าและภูเขาซึ่งไม่เหมาะกับการรบของกองทัพม้าของมองโกล คราวนี้ เจงกีสข่านมุ่งลงทางตอนใต้ ทูตการค้าคณะหนึ่งของเจงกีสข่านได้ถูกปล้นเอาทรัพย์และได้ถูกฆ่าหมู่ในแคว้นคาวาริซม์ใกล้ ๆ เมืองอุตราร์ (Utrar ) กองทัพมองโกลมุ่งเข้าทำลายเมืองอุตราร์ และเจงกีสข่านได้ส่งคณะทูตของตนอีกคณะหนึ่งไปยังศุลต่านอาลายัต – ดิน มูฮัมหมัด ( Ala ad – Din Muhammad ) แห่งคาวาริซม์ ปรากฎว่าคณะทูตได้ถูกฆ่าตายหมู่อีกครั้งหนึ่ง ในปี ค.ศ. 1221 กองทัพมองมองโกลโดยอาศัยชาวอิสลามนำทาง ได้เข้าทำลายเมืองแทบทุกเมืองในแคว้นคาวาริซม์ และทรานสโอชาเนียดังได้กล่าวมาแล้วแต่ต้น แต่ไม่กีปีต่อมาเจงกีสข่านก็ตายลง (ค.ศ. 1227 ) การรุกรานของมองโกลจึ่งได้ชงักไประยะหนึ่งโอกาได ( Ogadai) บุตรคนหนึ่งของเจงกิสข่านได้รับเลือกเป็นข่านผู้ใหญ่ (Great Khan ) โอกาได ได้สร้างวังและอาคารมีกำแพงล้อมรอบที่คาราคอรัม การก่อสร้างนี้ใช้สถาปนิกและกรรมกรจีน โอกาไดเป็นนักรบเช่นเดียวกับเจงกิสข่าน รัสเซียเกือบทั้งหมด ตกอยู่ในอำนาจของมองโกลในสมัยโอกาไดข่าน นครเคียบ ( Kiev) ของรัสเซีย ได้ถูกปล้นสดมภ์และทำลายในปี ค.ศ. 1240 ทางใต้ของยุโรปพวกมองโกลรุกเข้าสู่ประเทศฮังการี โอกาไดข่านตายในปี ค.ศ. 1242 กองทัพที่รุกรานประเทศต่าง ๆ ทางชายแดนยุโรปและอาเซียกลางได้รีบยกกลับคาราคอรัมเพื่อเลือกข่าน กูยุค (Guyuk ) ได้เป็นข่านผู้ใหญ่ (Great Khan ) ต่อจากโอกาได สันตะปาปา อันโนเซนต์ ที่ 4 (Innocent IV ) แห่งโรมซึ่งกำลังทำสงครามครูเสดกับอิสลามวิตกว่าพวกมองโกลจะเข้าตียุโรป จึงแต่งตั้งบาทหลวงจอห์นปลาโนคาปินี (John Plano Capini ) เป็นผู้แทนไปเจรจากับกูยุคข่านที่คาราคอรัม ให้ระงับแผนการโจมตียุโรป และเข้าใจว่าคงได้ขอร้องหรือยุยงให้มองโกลเข้าตีอาหรับ แต่กูยุคข่านไม่ยอมให้คำมั่นใด ๆ หลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศษซึ่งได้ทรงนำทัพครูเสดมาสู่อียิปต์ เป็นสงครามครูเสดครั้งที่ 7 นั้น ก็ทรงขอความช่วยเหลือไปยังพวกมองโกลช่วยรบกับพวกเตอรก์ แต่แมงกูข่านไม่ยอมให้ความร่วมมือ ใด ๆ ซึ่งนับว่าเป็นโชคดีของโลกอิสลามในขณะนั้นเพราะกำลังอยู่ภาวะอ่อนแอ ระส่ำระสายรวมไม่ติด กูยุคข่านตายในปี ค.ศ. 1248 แมงกูข่านได้รับเลือก1251 แมงกูข่านได้ส่งน้องชายคือ ฮูเลกู (Hulegu ) เขาตีดินแดนเปอร์เซียและอีรัคในปี ค.ศ. 1253 เดือนมกราคม ปี คศ. 1258 กองทัพฮูเลกูเข้าถึงกำแพงเมืองแบกแดด วันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1258 ก็เข้าเมืองได้หลังจากล้อมเมืองอยู่ประมาณ 7 สัปดาห์ กาหลิบอัล มูตาซิม ( al - Mutasim) และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่รวมทั้งญาติของกาหลิบประมาณ 300 คน ได้เข้ามอบตัวต่อฮูเลกู เพื่อยอมแพ้ 10 วันต่อมา ทั้งกาหลิบและบริวารทั้ง 300 คน ได้ถูกมองโกลประหารชีวิตหมดกรุงแบกแดดได้ถูกเผ่าและทำลาย โดยเจตนาที่จะทำลายอารยธรรมของอิสลามให้หมดสิ้นไป ประชาชนได้ถูกปล้นฆ่า กล่าวกันว่ากลิ่นศพทำให้กองทัพมองโกลไม่สามารถตั้งอยู่ในกรุงแบกแดดได้ ต้อถอยออกจากเมืองไปชั่วระยะเวลาหลายวันแต่อย่างไรก็ตาม ฮูเลกูต้องการยึดแบกแดดไว้เป็นศูนย์การปกครองอิรัค เมืองนี้ จึงไม่ถูกทำลายเสียทั้งหมด
ในปี ค.ศ. 1259 ฮูเลกูเข้าตีซีเรีย ตีได้เมืองฮามาห์ (Hamah ) และฮาริมส์ (Harims ) ซึ่งมองโกลได้ฆ่าคนในเมืองทั้งสองนี้ถึงประมาณ 50,000 คน ขณะที่เข้าล้อมเมืองดามัสคัสและกำลังเข้าตีเมืองอาเลปโป (Aleppo ) ข่าวการตายของแมงกูข่าน ในสนามรบในจีนก็ไปถึงฮูเลกู ได้รีบกลับคาราคอรัมเมืองหลวงของมองโกลทิ้งกองทัพไว้ในซีเรีย กองทัพที่ทิ้งไว้ได้ถูกทำลายลงโดยกองทัพอิสลามจากอียิปต์ ใกล้เมืองนาซาเรธในจอร์แดน โดยแม่ทัพเบบาร์ส (Baybars ) ซึ่งภายหลังได้ตั้งตนเป็นศุลต่านแห่งอียิปต์ คือวงศ์ศุลต่านแมมลัค(mamluks)ดังได้กล่าวแล้วข้างต้น

[1] คือ บะนียฺบูไวฮฺ(ชาวเปอร์เซีย) และบะนียฺซัลจูก(ชาวตุรกี)

อ้างจากเอกสารประกอบการสอนรายวิชาหลักการบริหารในอิสลาม 3 สาขารัฐประศาสนศาสตร์มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา เรียบเรียงโดย อาจารย์อับดุลเลาะห์ อูมา

3 ความคิดเห็น:

  1. มะข้อของนาย ขอให้เป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับมุสลิมของเรา
    (คอลัฟ บินลา)

    ตอบลบ
  2. อินชาอัลลอฮ หวังไว้ว่าจะเป้นแบบนั้น อินชาอัลลอฮ

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ15 สิงหาคม 2554 เวลา 22:41

    มีอีกไหม รูสึกว่ายังไม่สมบูรณ์พอ....สัยรี

    ตอบลบ