วันอังคารที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2553

การบริหารด้านการศาลในสมัยอาณาจักรอับบาซียะฮ


6. การบริหารด้านการศาล
           ระบบการศาลการตัดสินในยุคของเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด ได้เจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นบรรดาอูลามาอฺ มุจญตะฮิด[1] เริ่มลดน้อยลง ซึ่งสาเหตุจากการกำเนิดของมัซฮับทั้ง 4 จากจุดนี้บรรดากฺอฎี[2] ได้ฟัตวา[3] หรือออกหลักการตามทัศนะมัซฮับของมัซฮับทั้ง 4 ที่อิรักได้ฟัตวาและดำเนินการตัดสินตามทัศนะของมัซฮับฮะนาฟียฺ ที่ชามตามมัซฮับมะลีกียฺ ที่อียิปต์ตามมัซฮับซาฟีอียฺ (Hasan Ibrahim Hasan, 1983 : 291)

6.1 ด้านศาล
         ระบบศาลการตัดสินในยุคของเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด ได้เจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นบรรดาอูลามาอฺ มุจตาฮีด[4] เริ่มลดน้อยลง ซึ่งสาเหตุจากการกำเนิดของมัสฮับทั้ง 4 จากจุดนี้บรรดาผู้พิพากษา(กฺอฏี)[5] ได้ฟัตวา[6] หรือออกหลักการตามทัศนะมัสฮับของมัสฮับทั้ง 4 ที่อิรักได้ฟัตวาและดำเนินการตัดสินตามทัศนะของมัสฮับ ฮานาฟีย์ ที่ชามตามมัสฮับมาลีกีย์ ที่อียิปต์ตามมัสฮับซาฟีอีย์ ในยุคการปกครองของเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด ได้มีการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ โดยมีตำแหน่ง ผู้พิพากษา(กฺอฏี)และผู้ที่รับตำแหน่งนี้ท่านแรก คือ อบู ยูซูฟ ยะกูบ อิบนฺ อิบรอฮีม และท่านได้แต่งตั้งผู้พิพากษา(กฺอฏี)ตามจังหวัดต่างๆ ซึ่งในยุคนั้นตำแหน่งหน้าที่ผู้พิพากษา(กฺอฏี)ขยายอย่างกว้างขวาง

6.2 การตัดสินในยุคของราชวงศ์อับบาสียะห์          หลังจากการล่มสลายของราชวงศ์อุมัยยะห์ ในปี 132 ฮิจเราะห์ อำนาจการปกครองตกอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์อับบาสียะห์ นักประวัติศาสตร์ด้านกฎหมายอิสลาม ได้แบ่งการปกครองของราชวงศ์อับบาสียะห์ เป็น 2 ยุค ด้วยกัน
1. ยุคแรก คือ ยุคที่มีความเจริญทางด้านวิชาการ และแพร่หลายสู่ความก้าวหน้าของอับบาสียะห์
2. ยุคนี้เป็นที่รู้จักกันว่าเป็นยุคมุจตาฮีดีน[7] (mujtahidin) ซึ่งสาเหตุนี้ที่เรียกว่าเป็นยุคมุจตาฮีดีนนั้น เพราะมีบรรดานักมุจตาฮีดมากมายและบรรดาอิหม่ามทั้ง 4 มัสฮับ ยุคแรก เริ่มจากปี ฮ.ค.132-350 และในช่วงระยะเวลานี้เป็นที่รู้จักเช่นกัน คือ ยุคแรกของการปกครอง ของราชวงศ์อับบาสียะห์ 2 ยุคที่สองนี้ คือยุคอ่อนแอของวิชาการอิสลาม และยุคนี้ เช่นกัน บทบาทของราชวงศ์อับบาสียะห์ลดลง ทีละนิดๆ สุดท้ายการล่มสลายของราชวงศ์อับบาสียะห์ถูกโค่นล้มโดยอำนาจภายนอก ยุคที่สองเริ่มตั้งแต่ปี ฮ.ศ.351-560 เป็นยุคที่มีบรรดาอูลามาอฺอิสลาม ได้ยึดติดกับมัสฮับ ที่มีบทบาท ในยุคของการปกครองอับบาสียะห์ที่มีความเจริญก้าวหน้าได้เกิดขึ้นผู้ก่อตั้งมัสฮับ มีอูลามาฮ์ที่มีบทบาทและนักปราชญ์ (มุจตาฮีด) ที่มีสติปัญญา ได้สร้างความเจริญทางด้านวิชาการเกิดขึ้นมัสอับวิชาฟิกฮ์ ที่มีบทบาท ได้มีการเขียนวิชาการที่กว้างขวาง พร้อมกับมีแนวคิด ของบรรดาอูลามาฮ์ที่สูงส่งการใช้ในเรื่อง ijtihad[8] ยิ่งวันยิ่งเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและการวินิจฉัย ในยุคนั้นเป็นยุคอารยธรรมวิชาการ.ปัญหาต่างๆ ในศาสนา ที่เกิดขึ้นของประชาชาติ ได้แก่ ปัญหาอย่างดี คำตอบ ในหลักการต่างๆ ได้ให้ความชัดเจนการเปรียบเทียบระหว่าง หลักฐานจากอัลกุรอานและอัลฮาดีษ กับสติปัญญาได้เข้าใจอย่างชัดเจน การตัดสินหรือ ศาลซารีอะห์ ในอิสลาม เป็นสถาบันที่สำคัญในการปกครองทางด้านความยุติธรรม และกฎหมายได้รับบทบาท ที่ดี ผู้พิพากษามีบทบาท ในการตัดสินคดีที่สำคัญในการแก้ปัญหาตามหลักการอิสลาม บรรดาอุละมาอฺใช้ความสามารถในการวินิจฉัยมีบทบาทที่สำคัญในสถาบันศาลการตัดสิน ในยุคแรกของการปกครองของราชวงศ์อับบาสียะห์ ในยุคแรกของราชวงศ์อับบาสียะห์ บรรดาผู้พิพากษาแต่งตั้งให้มาดำรงตำแหน่งซึ่งส่วนใหญ่มาจากบรรดาอูลามาฮ์ที่มีสติปัญญา และมีความสามารถในการตัดสินและแก้ปัญหาโดยใช้หลักการดังกล่าว ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะมีบทบาทอย่างมากในยุคนี้ เป็นที่น่าเสียดายบทบาทดังกล่าวได้สูญหายไปอย่างสิ้นเชิง ต่อมาอิทธิพลของมัสฮับฟิกฮ์ มีบทบาทขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ทำให้การใช้ ijtihad ในการตัดสินคดีต่างๆ นั้นลดน้อยลง สุดท้ายผู้พิพากษาพอใจที่จะใช้การตัดสินตามหลักการหรือแนวคิดของมัสฮับ

6.3 วัตถุประสงค์ของศาลการตัดสินหรือผู้พิพากษาในยุคนี้ มี 2 ประเด็น ดังนี้
1. ช่วยแก้ปัญหาการทะเลาะระหว่างสองฝ่าย ทั้งนี้จะปฏิบัติไม่ได้นอกจากนี้อำนาจ ซึ่งอำนาจดังกล่าวเป็นของราชอาณาจักรอิสลาม
2.ปฏิบัติบทบัญญัติของพระองค์อิสลามที่ประทานลงมาจากอัลกุรอาน และซุนนะห์ ด้วยหลักฐานและการอิจตีฮาด ที่มีหลักฐานจากพระองค์อัลลอฮฺที่เป็นความพยายามในการปฏิบัติบทบัญญัติเพื่อพัฒนาผู้คนและสังคม พระองค์อัลลอฮฺได้เน้นถึงความหมายข้างต้น ในโองการดังนี้

وأن احكم بينكم بما أنزل الله ولا تتبع أهواءهم...

ความว่า : และเจ้าจงตัดสินระหว่างพวกเขา[9] ด้วยสิ่งที่อัลลอฮฺ ได้ทรงประทานลงมาเถิด และจงอย่าปฏิบัติตามความใคร่ใฝ่ต่ำของพวกเขาและจงระวังพวกเขา (อัลมาอิดะฮฺ,5 :49)
ความว่า : มิใช่เช่นนั้นดอก ข้าขอสาบานด้วยพระเจ้าของเจ้าว่า เขาเหล่านั้นจะยังไม่ศรัทธาจนกว่าพวกเขาจะให้เจ้าตัดสินในสิ่งที่ขัดแย้งกันระหว่างพวกเขา แล้วพวกเขาไม่พบความคับใจใดๆ ในจิตใจของพวกเขาจากสิ่งที่เจ้าได้ตัดสินไป และพวกเขายอมจำนนด้วยดี (อัล นิซาอฺ,4 : 65)
ความว่า : และผู้ที่มิได้ตัดสินด้อยสิ่งที่อัลลอฮฺได้ทรงประทานลงมาแล้วเหล่านี้แหละ คือ ผู้ปฏิเสธการศรัทธา ( อัลมาาอีดะห์,5 :44 )
ความว่า : และผู้ที่มิได้ตัดสินด้อยสิ่งที่อัลลอฮฺได้ทรงประทานลงมาแล้วเหล่านี้แหละ คือ ผู้อธรรม (อัลมาอิดะฮฺ,5 :45)

6.4 ความสำคัญของผู้พิพากษาในยุคนี้
            การตัดสินนั้นเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายอิสลามและการดำเนินตามบทบัญญัติ ที่มาจากคุณลักษณะและความสำคัญพิเศษ และการตัดสินนั้นเป็นบทหนึ่งจากหลายๆ บทในวิชาฟิกฮฺ อัลอิสลามีย์ที่บรรดาฟูฆอฮาอฺ และบรรดานักปราชญ์ได้เขียนในตำราต่างๆ ในวัตถุประสงค์ของการตัดสินนั้น คือ
1. เพื่อให้เกิดความยุติธรรม
2. ได้ดำเนินคดีการตัดสินด้วยความยุติธรรมอีกด้วย
3. เพื่อให้การรับประกันต่อทรัพย์สินและอื่นๆ
4. ปฏิบัติบทบัญญัติตามกฏหมายอิสลาม(ซัรอีย์)และวิธีการ
5. ดำเนินการขอบเขตของพระองค์อัลลอฮฺ
6. เพื่อรักษากิริยามารยาท
7. เพื่อไม่ให้ผู้อธรรมต่ออัลลอฮฺ เกิดขึ้นบนพื้นแผ่นดินแห่งนี้
อิบนฺ คอยยิมได้กล่าวว่า : แท้จริงพระองค์อัลลอฮฺได้ทรงประทานตัวแทนของท่าน คือ รอซูล และทรงประทานคัมภีร์เพื่อมนุษย์จะได้ดำรงอยู่บนตามเที่ยงธรรม ดังโองการอัลลอฮฺได้ตรัสไว้ว่า :
ความว่า : โดยแน่นอน เราได้ส่งบรรดารอซูล ของเราพร้อมด้วยหลักฐานทั้งหลายอันชัดแจ้งและเราประทานคัมภีร์และความยุติธรรมลงมาพร้อมกับพวกเขา เพื่อมนุษย์จะได้ดำรงอยู่บความเที่ยงธรรม[10] (อัลฮะดีด,57 :25 )
6.5 หลักฐานให้มีการตัดสินในอิสลาม
           การตัดสินเป็นส่วนสำคัญในกฎหมาย ซึ่งผู้มีอำนาจในราชอาณาจักรใดๆ ต้องนำมาปฏิบัติด้วยความยุติธรรม ดังปรากฎหลักฐานให้มีการตัดสินในอัลกุรอาน,อัลหะดีษ,ความเห็นตรงกันของบรรดานักปราชญ์มุสลิม เช่น เดียวกันทางปัญญาของมนุษย์ของคนเราก็เห็นกับความยุติธรรมอันนี้ซึ่งพอจะเขียนได้ดังนี้
1. ในโองการอัลกุรอานมากมายพูดถึงการตัดสินซึ่งพระองค์อัลลอฮฺได้บังคับ บรรดานะบีทั่วไปและบรรดารอซูลโดยเฉพาะ ก็เพื่อให้แก้ปัญหาและตัดสินระหว่างมนุษย์ด้วยกันในความขัดแย้งซึ่งกันและกันในการนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของงานสำหรับบรรดานะบีและรอซูลและในโองการได้เน้นถึงการตัดสินจากผู้พิพากษาข้อบทบัญญัติของพระองค์พร้อมกับออกคำสั่งบังคับ ให้ปฏิบัติอีกด้วย
ความว่า : แท้จริงเราได้ให้คัมภีร์ลงมาแก่เจ้า เป็นความจริงเพื่อเจ้าจะได้ตัดสินระหว่างผู้คนด้วยสิ่งที่อัลลอฮฺได้ทรงให้เจ้ารู้เห็น แล้วเจ้าจงอย่าเป็นผู้เถียงแก้ให้แก่ผู้ผิดพริ้วทั้งหลาย (อัลนิซาอฺ ,4 :105)
การตัดสินระหว่างมนุษย์นั้นเป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์อัลกุรอานและแท้จริงรอซูล
(r) ถูกบังคับให้ปฏิบัติการตัดสินระหว่างผู้คนความยุติธรรมและนำสิทธิสู่ผู้บริสุทธิ์ตามตามคุณลักษณะความจริงที่มีอยู่ จากโองการดังกล่าวสาเหตุการประทานโองการนี้ดังนี้
ความว่า : โอ้ดาวู๊ดเอ๋ย เราได้แต่งตั้งเจ้าให้เป็นตัวแทนในแผ่นดินนี้ ดังนั้นเจ้าจงตัดสินคดีต่างๆ ระหว่างมนุษย์ด้วยความยุติธรรม[11] และอย่าปฏิบัติตามอารมณ์ใฝ่ต่ำ มันจะทำให้เจ้าหลงไปจากทางของอัลลอฮฺ[12]( ศอด,38 : 26 )
จากโองการดังกล่าวเข้าใจว่าการตัดสินระหว่างมนุษย์ด้วยกันนั้นและแก้ปัญหาการทะเลาะนั้นเป็นงานที่สำคัญของบรรดานะบี และหน้าที่รับผิดชอบที่จำเป็นของเคาะลีฟะฮฺบนพื้นแผ่นดินนี้
ความว่า : โดยแน่นอน เราได้ส่งบรรดารอซูลของเราพร้อมด้วยหลักฐานทั้งหลายอันชัดแจ้ง และเราได้ประทานคัมภีร์และความยุติธรรมลงมาพร้อมกับพวกเขา เพื่อมนุษย์จะได้ดำรงอยู่บนความเที่ยงธรรม[13]( อัลฮะดีด,57 : 25 )
จากโองการดังกล่าวหลักฐานที่ให้ความหมายว่า : พระองค์ทรงประทานลงหลักฐาน(อัลกุรอาน) และความชัดแจ้งต่อรอซูล ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ตัดสินด้วยความยุติธรรม
ความว่า : มิใช่เช่นนั้นดอก ข้าขอสาบานด้วยพระเจ้าของเจ้าว่า เขาเหล่านั้นจะยังไม่ศรัทธาจนกว่าพวกเขาจะให้เจ้าตัดสินในสิ่งที่ขัดแย้งกันระหว่างพวกเขา แล้วพวกเขาไม่พบความคับใจใดๆ ในจิตใจของพวกเขาจากสิ่งที่เจ้าได้ตัดสินไปและพวกเขายอมจำนนด้วยดี(อัล นิซาอฺ ,4: 65)
ความว่า : แท้จริงคำกล่าวของบรรดาผู้ศรัทธา เมื่อพวกเราถูกเรียกร้องไปสู่อัลลอฮฺและรอซูลของพระองค์เพื่อให้ตัดสินระหว่างพวกเขา พวกเขาจะกล่าวว่า เราได้ยินแล้ว และเราเชื่อฟังปฏิบัติตามและชนเหล่านี้พวกเขาเป็นผู้ประสบความสำเร็จ (อัล นูร,24 : 51)
จากโองการดังกล่าวให้ความหมายว่า การศรัทธาจากบรรดามุมีนในเมื่อขอในศาสนาของพระองค์อัลลอฮฺและบทบัญญัติของพระองค์ และใช้หลักการของรอซูลในการตัดสิน และตัดสินคดีระหว่างสองคนที่ทะเลาะกันและสร้างความยุติธรรมระหว่างสองฝ่าย พร้อมกับให้ตักเตือนเพื่อห่างไกล จากการทะเลาะวิวาทและหันกลับมาฟังบทบัญญัติอันเที่ยงตรง และจงตออัตต่อพระองค์อัลลอฮฺ แท้จริงการตัดสินคดีนั้นเป็นชิ้นงานหนึ่งของท่านรอซูล (r) ต่อมาเปลี่ยนสู่บรรดาเคาะลีฟะฮฺ และบรรดาผู้พิพากษาของราชอาณาจักรนั้นๆ
ความว่า : และเราได้ให้คัมภีร์ลงมาแก่เจ้าความจริงในฐานะเป็นที่ยืนยันคัมภีร์ที่อยู่เบื้องหน้ามันและเป็นที่ควบคุมคัมภีร์(เบื้องหน้า)นั้น ดังนั้น เจ้าจงตัดสินระหว่างพวกเขา ด้วยสิ่งที่อัลลอฮฺทรงประทานลงมาเถิด และจงอย่าปฏิบัติตามความใคร่ใฝ่ต่ำของพวกเขาโดยเขาออกมาจากความจริงที่ได้มายังเจ้า...(อัลมาฮิดะฮฺ ,5 : 48) และพระองค์อัลลอฮฺได้ตรัสโองการหลังจากนี้ว่า
ความว่า : และเจ้า20 จงตัดสินระหว่างพวกเขา21 ด้วยสิ่งที่อัลลอฮฺ ได้ทรงประทานลงมาเถิด และจงอย่าปฏิบัติตามความใคร่ใฝ่ต่ำของพวกเขาและจงระวังพวกเขา ในการที่พวกเขาจะจูงใจเจ้าให้เขวออกจากบางสิ่ง3ที่อัลลอฮฺได้ทรงประทานลงมาแก่เจ้า (อัลมาอีดะห์, 5 : 49)
สองโองการดังกล่าวพระองค์ทรงสั่งให้มนุษย์ผู้อำนาจในการตัดสิน จงตัดสินระหว่างมนุษย์โดยเน้นหลักฐานที่มาจากอัลกุรอานที่พระองค์บัญญัติไว้ และจงระวังการตัดสินด้วยอารมณ์ใฝ่ต่ำ และระบบของมนุษย์ด้วยกันซึ่งผิดกับหลักการของพระองค์
ความว่า : และผู้ที่มิได้ตัดสินด้อยสิ่งที่อัลลอฮฺได้ทรงประทานลงมาแล้วเหล่านี้แหละ คือ ผู้ปฏิเสธการศรัทธา (อัลมาอีดะห์, 5 : 44)
ความว่า : และผู้ที่มิได้ตัดสินด้อยสิ่งที่อัลลอฮฺได้ทรงประทานลงมาแล้วเหล่านี้แหละ คือ ผู้อธรรม(อัลมาอีดะห์, 5 : 45)
ความว่า : และผู้ที่มิได้ตัดสินด้วยสิ่งที่อัลลอฮฺได้ทรงประทานลงมาแล้วเหล่านี้แหละ คือ ผู้ที่ละเมิด(อัลมาอีดะห์, 5 : 47)

6.6 สภาพการตัดสินในยุคอับบาสียะฮ์
         สภาพศาลการตัดสินในยุคอับบาสียะฮ์ โดยเฉพาะยุคของเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด นั้นก็ยังดำเนินการตามรูปแบบ และระบบอิสลาม (Nizam al-Islam) เป็นที่ทราบกันว่า ในยุคนี้ ความเจริญในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในด้านการเมือง การปกครอง และอื่นๆ ตามกลางบรรยากาศสภาพแวดล้อมด้านสังคมก็มีความเจริญมาเรื่อยๆ และเป็นยุคทองของความเจริญในราชวงศ์อับบาสียะฮ์ ถึงอย่างไรก็ตามการตัดสินคดี ยังยึดหลักการอิสลามซึ่ง
เสมอภาพและสมดุลกับวิถีชีวิตอิสลาม แต่บางครั้งการตัดสินต้องยึดตามสภาพแวดล้อมของสังคมและตามสำนักมัสฮับ

6.7 ความสัมพันธ์ระหว่างการตัดสินยุคอับบาสียะฮ์กับยุคอุมัยยะฮ์
        หลังจากราชวงศ์อับบาสียะฮ์ได้ยึดครอง และได้โค่นล้มพร้อมกับปฏิวัติราชวงศ์อุมัยยะห์ ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบและแนวทางการปกครองจากอุมัยยะห์ มาเป็นของอับบาสียะฮ์ และพยายามลบล้างระบบต่างๆที่เป็นของราชวงศ์อุมัยยะห์ และได้มีการย้ายเมืองหลวงจากชามไปยังเมืองอิรักและแบกแดดวัฒนธรรมอาหรับสูญหายในวิถีชีวิตการเมืองของพวกเขา ซึ่งเนื่องจากระบบการเมืองการปกครองของเปอร์เซียมามีบทบาทสำหรับในด้านวิชาการและการตัดสินนั้นราชวงศ์อับบาสียะห์ ไม่ได้ยึดตามแนวทางหรือระบบของราชวงศ์อุมัยยะห์ อย่างเต็มรูปแบบแต่จะยึดตามสภาพและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นปัจจุบันซึ่งจะค่อยเป็นค่อยไป และตามหลักการศาลการตัดสินในรูปแบบอิสลามจากยุคเคาะลีฟะฮฺ อัรรอชีดีน และยุคท่านนบี(r) ราชวงศ์อับบาสียะฮ์ได้ดำเนินตามรอยยุคก่อนไปด้วย ซึ่งจะเห็นได้ชัดว่าบรรดาผู้พิพากษายุคอุมัยยะห์ยังคงมอบหรือรับตำแหน่งให้ดำเนินงานต่อ ในยุคของอับบาสียะฮ์ เช่นเดียวกันบรรดาอุละามาอฺ และบรรดาฟูกอฮาอฺ ซึ่งพวกเขาได้อยู่สองสมัยด้วยกัน เช่น อะบูฮะนีฟะห์, อัลเอาซาอีย์, ยะห์ยา อิบนฺ ซูอีด อัลอันศอรีย์ , มุฮัมหมัด อิบนฺ อิมรอน บรรดาผู้พิพากษาเหล่านั้นเคยเป็นผู้พิพากษาในยุคอับบาสียะฮ์ ราชวงศ์อับบาสียะฮ์ ได้รับประโยชน์ในการบริหารและระบบการจัดการด้านศาลการตัดสินจากราชวงศ์อุมัยยะห์ที่ได้ดำเนินการมาแล้ว พร้อมกับสร้างความเจริญตามยุคมาเรื่อยๆ แต่ถึงอย่างไรก็ตามราชวงศ์อับบาสียะฮ์ มีความรู้สึกลำบากใจในดำเนินงานซึ่งเนื่องจากการรับช่วงของอุมัยยะห์กำลังล้มสลายอยู่ เมือราชวงศ์อับบาสียะฮ์มีอำจาจต้องปรับเปลี่ยนบางสิ่งบางอย่างในด้านศาลการตัดสิน การจัดระบบบริหารด้านศาลการตัดสินของราชวงศ์อับบาสียะฮ์นั้นได้เน้นถึงวิสัยทัศน์ที่ไกล ซึ่งระบบการบริหารเกิดขึ้นตามสภาพความสมควรกับความเจริญด้านสังคม การเมืองและแนวคิด มัสฮับ ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นต้องจัดระบบ ศาลการตัดสินให้สมบูรณ์แบบและพยายามปรับปรุงพัฒนาระบบต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินตามรูปแบบอัลอิสลาม ท่านได้ยายามพถึงยุคสุดยอด ซึ่งเป็นยุคของราชวงศ์อับบาสียะฮ์ และเป็นยุคแรกราชวงศ์นี้

6.8 การแต่งตั้งผู้พิพากษาในยุคเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด
             ความสำคัญของผู้พิพากษานั้นไม่อาจจะปฏิเสธได้และเป็นส่วนหนึ่งของการปกครองในราชอาณาจักรอิสลาม ด้วยเหตุนี้ การแต่งตั้งผู้พิพากษา จำเป็นต้องคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสม ในยุคเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด ได้เสนอบรรดาผู้พิพากษาหลายๆ ท่าน เพื่อคัดเลือกเป็นผู้พิพากษาของเมืองหลวงอิรักและแคว้นต่างๆ สำหรับเมืองหลวงอิรักได้แต่งตั้งอะบูยูซูฟ และได้มอบหมายหน้าที่รับผิดชอบของผู้พิพากษาตามความเหมาะสมต่อบรรดาอุละมาอฺ และได้เลือกจากนักวิชาการท่านอื่นๆ เพื่อเป็นผู้พิพากษาตามแคว้นต่างๆ เช่น อิรัก คูรอซาน, ซาม, มิสร์ และแคว้นอื่นๆ จากนั้นเคาะลีฟะฮฺได้มอบอำนาจต่อผู้พิพากษา เพื่อแต่งตั้งผู้พิพากษาเมืองอื่นๆ

6.9การแต่งตั้งผู้พิพากษาและข้าหลวงของแคว้นต่างๆในยุคการปกครองของราชวงศ์
              อับบาสียะฮ์ช่วงแรก โดยเฉพาะเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด ท่านจะคัดเลือกผู้ที่เหมาะสม มีความเชื่อถือในบรรดาอุละมาอฺและฟูฆอฮาอฺจากสายตระกูลที่ดี ในการนี้เพื่อยกระดับระหว่างประชาชนเพื่อให้เกิดความยุติธรรมในสังคม บรรดาผู้พิพากษาเหล่านั้น จะให้การตัดสินระหว่างประชาชน ซึ่งพวกเขาส่วนใหญ่เชี่ยวชาญวิชาความรู้ในด้านการชี้ขาด วิชาฟิกฮฺ และกฎหมายอิสลาม การคัดเลือกผู้พิพากษาของเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชิดท่านจะมีการซักถาม และปรึกษาประชาชนในแคว้นนั้นๆ เพื่อแต่งตั้งเป็นผู้พิพากษาต่อไป หลังจากเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด ได้แต่งตั้งผู้พิพากษาประจำเมืองหลวงแบกแดด และแคว้นต่างๆ ท่านทรงมอบหมายอำนาจหน้าที่ให้เป็นเอกเทศน์ในการปฏิบัติเพื่อดำเนินอย่างเต็มที่และสมบูรณ์แบบกับการบริหารบ้านเมือง และเมื่อผู้พิพากษาอยู่ในศาลแล้วจะได้ทำหน้าที่โดยนำกฎหมายอิสลาม (กฎหมายชารีอะฮฺ) มาบังคับใช้ ผู้พิพากษาเมืองหลวงประกาศให้ผู้พิพากษาแคว้นต่างบังคับใช้กฎหมายอิสลาม เช่นกัน โดยที่เคาะลีฟะฮฺและข้าหลวงให้ของแคว้นต่างๆ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการตัดสินของผู้พิพากษา ในคดีการฟ้องร้องต่างๆ ด้วยเหตุนี้ทำให้ ผู้พิพากษาจะได้ตัดสินคดีในศาลด้วยความยุติธรรมแก่ประชาชนทุกคนได้ และการฟ้องร้องคดีนั้นได้ดำเนินการอย่างรวดเร็วโดยไม่แยกชนชั้นวรรณะและไม่มีการแทรกแซงจากผู้ใดทั้งสิ้น การมอบมายอำนาจหน้าที่ดังนี้ ผู้พิพากษาได้บรรลุถึงการเอกเทศน์และอิสระจากเคาะลีฟะฮฺ และข้าหลวงใหญ่ในการตัดสินคดีต่างๆ

6.10 การถอดถอนผู้พิพากษาออกจากตำแหน่ง
          หากเราพลิกดูประวัติศาสตร์สมัยอุมัยยะห์พบว่าส่วนใหญ่ผู้พิพากษานั้นถูกถอดถอนจากตำแหน่งไปพร้อมๆกับการเปลี่ยนแปลงข้าหลวงใหญ่ของแคว้นโดยอัตโนมัตผู้พิพากษาก็ตกตำแหน่งโดยปริยายแต่ในสมัยราชวงศ์อับบาสียะฮ์จะมีน้อยมากผู้พิพากษาที่ถูกถอดถอน ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในตำแนหน่งตลอดกาล เป็นหน้าที่ของเคาะลีฟะฮฺและผู้พิพากษาศูนย์กลางในการเลือกผู้พิพากษามาพิจารณารับเอาผู้ที่มีความรู้ความสามารถทุกๆ ด้านโดยเฉพาะด้านวิชาการฟิกฮ์ด้านกฎหมายอิสลามผู้ที่ถูกคัดเลือกเป็นผู้พิพากษาในยุคนี้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่มีความรู้ในด้านฟิกฮ์อยู่แล้ว เป็นผู้นำในศาสนา เป็นอุละมาอฺที่รู้จักกัน เพราะบรรดาอุละมาอฺและผู้รู้ในศาสนานั้นพวกเขาเป็นผู้เพียรพยายามที่จะให้เกิดความยุติธรรมในราชอาณาจักรนี้ และเพื่อจะให้คุ้มครองสิทธิและทรัพท์สินของประชาชนที่ใหญ่ที่สุดพวกเขาพยายามจะให้ประชาชนทั้งหลายมีความใกล้ชิดกับบรรดอุละมาอฺ และลำเอียงต่อพวกเขา และเพื่อช่วยเหลือกกิจการของราชอาณาจักร ในการแบ่งเบาภาระของเคาะลีฟะฮฺ อย่างไรก็ตามบรรดาอุลมาอฺและนักปราชณ์ฟูกอฮาอฺที่เชี่ยวชาญของกฏหมายอิสลามก็ไม่ตอบรับกับตำแหน่งผู้พิพากษา ท่านแรกที่ไม่รับตำแหน่งนี้ คือ อิบนฺ อูมัร ในยุคคูลาฟาอฺ อัรรอชีด และในยุคอุมัยยะห์ก็บรรดาอุละมาอฺมากยิ่งขึ้นที่ไม่ตอบรับตำแหน่งนี้เช่นกัน ต่อมายุคอับบาสียะฮ์โดยเฉพาะในยุคเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีดก็เช่นกันทำให้ลำบากในการแต่งตั้งผู้พิพากษา สาเหตุที่บุคคลดังกล่าวไม่รับตำแหน่งนี้ ดังนี้
1. ความนอบน้อมถ่อมตนของบรรดาอุละมาอฺในการรับตำแหน่งเพราะมีรายงานจากหาดีษถึงการตัรฮีบ[14]ในตำแหน่งผู้พิพากษาในอิสลามและจะถูกซักถามกับตำแหน่งผู้พิพากษา อย่างมากมายในโลกนี้และโลกหน้าและต้องรับภาระหน้าที่รับผิดชอบดูและประชาชน ด้วยเหตุนี้ทำให้บรรดาอุละมาอฺไม่ยอมรับและกลัวกับตำแหน่งนี้ กลัวกับการตัดสินที่ผิดพลาดระหว่างประชาชน
2. นอบน้อมกับโลกดุนยาหากมีตำแหน่งหน้าที่การงานเป็นผู้พิพากษาแล้วกลัวจะไม่มีเวลากระทำอีบาดะห์ต่อพระองค์อัลลอฮฺ
3. ต้องใช้เวลากับวิชาความรู้กระทำการวินิจฉัยอิจตีฮาด พร้อมกับทำหน้าที่เผยแพร่และสอนวิชาความให้ผู้อื่น ซึ่งบรรดาอุละมาอฺ คิดว่าเป็นงานที่จำเป็นมากกว่าผู้พิพากษา
4. กลัวการลำเอียงของเคาะลีฟะฮฺและข้าหลวงในสำนักมัสฮับที่แตกต่างกัน
5. กลัวการเข้ามามีอำนาจของเคาะลีฟะฮฺ และข้าหลวงในศาลการตัดสิน และขอกับผู้พิพากษาให้ลำเอียงในบางคดี ด้วยเหตุดังกล่าวบรรดาอุละมาอฺจึงมีกฎเกณฑ์กับเคาะลีฟะฮฺ และข้าหลวง คือ
1. การตัดสินคดีต่างๆ เป็นอำนาจของผู้พิพากษาเพียงผู้เดียว
2. เคาะลีฟะฮฺ ไม่ก้าวก่ายกับกิจการศาลการตัดสิน
3. มีการสัญญาระหว่างเคาะลีฟะฮฺ[15]ในการปฏิบัติการตัดสินคดีต่างๆ ถึงแม้ว่าจะเป็นญาติและบรรดาผู้นำในราชวัง
4. การตัดสินคดีต่างๆ ต้องมีความยุติธรรมกับประชาชนทุกระดับชั้น
5. เคาะลีฟะฮฺต้องทรงห้ามผู้อื่นไม่ให้ก้าวก่ายกับการตัดสินของผู้พิพากษา
นี่คือประเด็นที่บรรดาอุละมาอฺไม่รับตำแหน่งผู้พิพากษาซึ่งจะเห็นได้ในประวัติศาสตร์บรรดาอุละมาอฺ ที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้พิพากษา คือ
1. อีหม่ามมูฮัมหมัดอิบนฺ อิดรีส อัลซาฟีอีย์
ท่านเป็นผู้หนึ่งที่ไม่รับกับตำแหน่งผู้พิพากษา (กอฎี) ที่เสนอจากเคาะลีฟะฮฺ
2. อัลอีหม่าม มาลีก อิบนฺ อานัส
ท่านผู้เป็นหนึ่งที่ไม่รับตำแหน่งผู้พิพากษาในยุคอับบาสียะห์
3. อัลมูฆีรอฮฺ อิบนฺ อับดุลรอฮฺมาน อัลมัฆซูมีย์
เคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด ได้เสนอให้กับท่านเพื่อแต่งตั้งเป็นผู้พิพากษาเมืองอัลมะดีนะห์ และจะให้ค่าตอบแทนเงินเดือนจำนวน 4,000 ดีนาร์ ท่านก็ไม่รับตำแหน่งนี้
4. อับดุลลอฮฺ อิบนฺ ฟารูค อัลฟารีสีย์
ท่านเป็นนักปราชณ์ฟูกอฮาอฺในยคุเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด ท่านๆ ถูกเสนอเพื่อแต่งตั้งเป็นผู้พิพากษาท่านไม่รับกับตำแหน่งนี้ และท่านผู้ที่เกลียดมากๆ กับตำแหน่งนี้ด้วย
และยังมีอีกหลายๆท่านในบรรดาอุละมาอฺและนักปราชณ์ฟูอกฮาอฺที่ไม่รับกับการเสนอในตำแหน่งผู้พิพากาษา
           เคาะลีฟะฮฺฮารูน อัรรอชีด ทรงมอบมายต่อผู้พิพากษา เป็นผู้แต่งตั้งผู้พิพากษาแคว้นต่างๆ และยังเป็นผู้ดูและติดตาม พิจารณาถึงการตัดสินคดีของบรรดาผู้พิพากษาแคว้นต่างๆ
ตำแหน่งผู้พิพากษาในยุคเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด เปรียบเสมือนกระทรวงยุติธรรมในยุคปัจจุบันซึ่งตำแหน่งที่เป็นเอกเทศน์ ผู้พิพากษาเป็นผู้ใกล้ชิดกับเคาะลีฟะฮฺ ซึ่งบางครั้งจะเรียกว่า “ผู้พิพากษาเคาะลีฟะฮฺ” อยู่บริวารเคาะลีฟะฮฺตลอดเวลา และเคาะลีฟะฮฺเองจะกำหนดเอาแนวคิดของผู้พิพากษาในเรื่องที่สำคัญและอื่นๆ บางครั้งเคาะลีฟะฮฺเดินทางพร้อมกับผู้พิพากษา เพื่อไปทำหน้าที่รับผิดชอบ


6.11 กฺอฎี อัลกูฎอฎ (Qadi al-Quudah)
             ในยุคการปกครองของเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด ได้มีการปรับปรุงพัฒนาระบบใหม่ โดยมีตำแหน่งใหม่ในด้านศาลการตัดสิน คือ ตำแหน่ง “ กฺอฎี อัลกูฎอฎ (Qadi al-Qudah)” [16] ผู้ที่ได้รับตำแหน่งนี้ คืออะบูยูซูฟ ยะกูบ อิบนฺ อิบรอฮีม เป็นผู้เขียนตำรา “ อัลคอรอจญ์” ท่านอยู่ตำแหน่งนี้จนเสียในปีฮ.ศ. 182 ซึ่งตำแหน่งนี้จะอยู่ที่ศูนย์กลางการปกครองที่เมืองบัฆดาด(แบกแดด) และได้ดำเนินการบริหารด้านการศาลของราชอาณาจักรโดยมีหน้าที่รับผิดชอบคอยควบคุมดูแลกิจการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินคดีที่ศูนย์กลางและแคว้นต่างๆ และคอยทำหน้าที่เป็นตัวแทนของเคาะลีฟะฮฺในการตัดสินคดีต่างๆของประชาชาติ ( Faruq ‘Umar Fawzi, 1989 : 32) เคาะลีฟะฮฺทรงมอบหมายให้ กฺอฎีอัลกูฎอฎ แต่งตั้งกฺอฎีประจำแคว้นและให้ติดตาม กำกับดูแลการปฏิบัติงานของกฺอฎีอีกด้วย และให้สิทธิแก่กฺอฎี อัลกูฎอฎ มีอำนาจในการถอดถอนกฺอฎีประจำแคว้น เมื่อกฺอฎีนั้นๆไม่สมควรอยู่ในตำแหน่งต่อไป ( Muhammad al-Zuhaili, 1665 : 228)

6.12 การแต่งตั้งกฺอฎีในยุคเคาะลีฟะฮฺ อารูน อัรรอชีด
                    ความสำคัญของกฺอฎีนั้นไม่อาจจะปฏิเสธได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารการปกครอง
ในราชอาณาจักรอิสลาม ด้วยเหตุนี้การแต่งตั้งกฺอฎีจึงจำเป็นต้องคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสม เคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด กำหนดให้กฺอฎี อัลกูฏอฏ อะบูยูซูฟ ยะกูบ อิบนฺ อิบรอฮีม เป็นผู้คัดเลือกและเสนอให้กับเคาะลีฟะฮฺเพื่อเป็นกฺอฎีของเมืองหลวงอิรักและกฺอฎีแคว้นต่างๆ สำหรับเมืองหลวงอิรักได้แต่งตั้งอะบูยูซูฟเป็นกฺอฎีเอง หน้าที่รับผิดชอบดังกล่าวเป็นของกฺอฎีอัลกูฎอฎที่จะเสนอบุคคลที่เหมาะสมจากบรรดาอุละมาอฺ และได้เลือกจากนักวิชาการท่านอื่นๆ เพื่อเสนอเป็นกฺอฎีตามแคว้นต่างๆ เช่น อิรัก คูรอซาน, ซาม, อียิปต์ และแคว้นอื่นๆ จากนั้นเคาะลีฟะฮฺได้มอบอำนาจต่อกฺอฎี อัลฏูฎอฎ เพื่อแต่งตั้งกฺอฎีแคว้นอื่นๆ การแต่งตั้งกฺอฎีและวะลีย์ของแคว้นต่างๆในยุคการปกครองของราชวงศ์อับบาสิยะฮฺช่วงแรก โดยเฉพาะเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด ท่านจะคัดเลือกผู้ที่เหมาะสม มีความน่าเชื่อถือในบรรดาอุละมาอฺและนักปราชญ์ฟิกฮฺจากสายตระกูลที่ดี ในการนี้เพื่อยกระดับระหว่างประชาชนเพื่อให้เกิดความยุติธรรมในสังคม บรรดากฺอฎีเหล่านั้น จะให้การตัดสินระหว่างประชาชน ซึ่งพวกเขาส่วนใหญ่เชี่ยวชาญวิชาความรู้ในด้านการชี้ขาดวิชาฟิกฮฺและกฎหมายอิสลาม(Muhammad al-Zuhaili, 1995:228) การคัดเลือกกฺอฎีของเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชิด ท่านจะขอความช่วยเหลือ และปรึกษาประชาชนในแคว้นนั้นๆ เพื่อแต่งตั้งเป็นกฺฮฎีต่อไป และท่านจะไม่แต่งตั้งกฺอฎี นอกจากจะได้รับข้อเสนอแนะและเห็นชอบจากกฺอฎี อัลกูฎอฎ
หลังจากเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด ได้แต่งตั้งกฺอฎีประจำเมืองหลวงแบกแดด และแคว้นต่างๆ ท่านทรงมอบหมายอำนาจหน้าที่ให้เป็นเอกเทศในการปฏิบัติเพื่อดำเนินอย่างเต็มที่และสมบูรณ์แบบกับการบริหารบ้านเมือง และเมื่อกฺอฎีอยู่ในศาลแล้วจะได้ทำหน้าที่โดยนำกฎหมายอิสลาม ( กฎหมาย
ชะรีอะฮฺ) มาบังคับใช้ กฺอฎี อัลกูฎอฎ ประกาศให้กฺอฎีแคว้นต่างๆ บังคับใช้กฎหมายอิสลาม เช่นกัน โดยที่เคาะลีฟะฮฺและวะลีย์ของแคว้นต่างๆ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการตัดสินของกฺอฎี ในคดีการฟ้องร้องต่างๆ ด้วยเหตุนี้ทำให้กฺอฎีจะได้ตัดสินคดีในศาลด้วยความยุติธรรมแก่ประชาชนทุกคนได้ และการฟ้องร้องคดีนั้นได้ดำเนินการอย่างรวดเร็วโดยไม่แยกชนชั้นวรรณะและไม่มีการแทรกแซงจากผู้ใดทั้งสิ้น การมอบหมายอำนาจหน้าที่ดังนี้ กฺอฎีได้บรรลุถึงการเอกเทศและอิสระจากเคาะลีฟะฮฺและวะลีย์ในการตัดสินคดีต่าง(Muhammad al-Zuhaili, 1995 : 231)
6.13 การถอดถอนกฺอฎีออกจากตำแหน่ง
         หากเราศึกษาดูประวัติศาสตร์สมัยอุมัยยะฮฺพบว่าบรรดากฺอฎีส่วนใหญ่นั้นถูกถอดถอนจากตำแหน่งไปพร้อมๆกับการเปลี่ยนแปลงวะลีย์ของแคว้นโดยปริยายกฺอฎีก็ออกจากตำแหน่งโดยปริยายแต่ในสมัยราชวงศ์อับบาสียะฮฺผู้พิพากษาที่ถูกถอดถอนจำนวนน้อย เพราะส่วนใหญ่จะอยู่ในตำแหน่งตลอดกาล ( Muhammad al-Zuhaili, 1995 : 234 ) การเลือกกฺอฎีแคว้นต่างๆจะพิจารณาผู้ที่มีความรู้ความสามารถทุกๆด้านโดยเฉพาะด้านวิชาการฟิกฮฺ ด้านกฎหมายอิสลาม ซึ่งผู้ที่ถูกคัดเลือกเป็นกฺอฎีในยุคนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่มีความรู้ในด้านฟิกฮฺอยู่แล้ว เป็นผู้นำในศาสนา เป็นอุละมาอฺที่รู้จักกัน เพราะบรรดาอุละมาอฺและผู้รู้ในศาสนานั้นพวกเขาเป็นผู้เพียรพยายามที่จะให้เกิดความยุติธรรมในราชอาณาจักรนี้ เพื่อจะใด้คุ้มครองสิทธิและทรัพย์สินของประชาชนที่ใหญ่ที่สุด พวกเขาพยายามจะให้ประชาชนทั้งหลายมีความใกล้ชิดกับบรรดาอุละมาอฺ และเพื่อช่วยเหลือกิจการของราชอาณาจักรในการแบ่งเบาภาระของเคาะลีฟะฮฺ (Muhammad al-Zuhaili, 1995 : 235) อย่างไรก็ตามบรรดาอุลมาอฺและนักปราชญ์ฟูกฺอฮาอฺที่เชี่ยวชาญด้านกฏหมายอิสลามก็ไม่ตอบรับตำแหน่งกฺอฎี ซึ่งท่านแรกที่ปฏิเสธตำแหน่งนี้ คือ อิบนฺ อูมัร ในยุคคูลาฟาอฺ อัรรอชีดูน และในยุคอุมัยยะฮฺก็มีบรรดาอุละมาอฺจำนวนมากที่ไม่ตอบรับตำแหน่งนี้เช่นกัน ต่อมายุคอับบาสียะฮฺโดยเฉพาะในยุคเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด การแต่งตั้งผู้พิพากษาเป็นไปด้วยความยากลำบาก ซึ่งเกิดจากสาเหตุดังนี้
1. ความนอบน้อมถ่อมตนของบรรดาอุละมาอฺในการรับตำแหน่งเพราะมีรายงานจากหะดีษถึงการตัรฮีบ[17]ในตำแหน่งกฺอฎีในอิสลามเพราะจะถูกตรวจสอบกับตำแหน่งกฺอฎีในโลกนี้และโลกหน้าและต้องรับภาระหน้าที่รับผิดชอบดูแลประชาชน ด้วยเหตุนี้ทำให้บรรดาอุละมาอฺไม่ตอบรับและกลัวกับตำแหน่งนี้กลัวกับการตัดสินที่ผิดพลาดระหว่างประชาชน
2.การนอบน้อมกับโลกดุนยานั้น หากมีตำแหน่งหน้าที่การงานเป็นกฺอฎีแล้วกลัวจะไม่มีเวลาในการประกอบอีบาดะฮฺต่อพระองค์อัลลอฮฺ
3.ต้องใช้เวลากับวิชาความรู้กระทำการวินิจฉัย(อิจญติฮาด) พร้อมกับทำหน้าที่เผยแผ่และสอนวิชาความรู้ให้ผู้อื่น ซึ่งบรรดาอุละมาอฺ คิดว่าเป็นงานที่จำเป็นมากกว่ากฺอฎี
4.กลัวการลำเอียงของเคาะลีฟะฮฺและวะลีย์ในสำนักมัซฮับที่แตกต่างกัน
5.กลัวการเข้ามามีอำนาจของเคาะลีฟะฮฺและวะลีย์ในศาลการตัดสินและขอกับกฺอฎีให้ลำเอียงในบางคดี (Muhammad al-Zuhaili, 1995 : 236)
ด้วยเหตุดังกล่าวบรรดาอุละมาอฺจึงมีกฎเกณฑ์กับเคาะลีฟะฮฺ และวะลีย์ คือ
1.การตัดสินคดีต่างๆ เป็นอำนาจของกฺอฎีผู้เดียว
2.เคาะลีฟะฮฺ ไม่มีสิทธิก้าวก่ายกับกระบวนการพิจารณาคดีของศาล
3.มีข้อตกลงระหว่างเคาะลีฟะฮฺ[18]กับกฺอฎีในการดำเนินกระบวนการพิจารณาในขั้นศาล ถึงแม้ว่าจะเป็นญาติและบรรดาผู้นำในราชวังก็ตาม
4. การตัดสินคดีต่างๆ ต้องให้ความยุติธรรมกับประชาชนทุกระดับชั้น
5.เคาะลีฟะฮฺต้องวางข้อกำหนดมิให้ผู้อื่นล่วงละเมิดอำนาจศาลในการตัดสินคดี
นี่คือสาเหตุที่บรรดาอุละมาอฺปฏิเสธตำแหน่งผู้พิพากษาซึ่งจะเห็นได้ในประวัติศาสตร์บรรดาอุละมาอฺที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้พิพากษาแต่ปฏิเสธไม่ยอมรับได้แก่
1.อิมามมูฮัมหมัดอิบนฺ อิดรีส อัลซาฟีอียฺ ท่านเป็นผู้หนึ่งที่ไม่รับตำแหน่งผู้พิพากษา (กอฎี) ที่ได้รับการเสนอจากเคาะลีฟะฮฺ
2. อัลอิมาม มาลีก อิบนฺ อานัส ท่านเป็นผู้หนึ่งที่ไม่รับตำแหน่งผู้พิพากษาในยุคอับบาสียะฮฺ
3. อัลมุฆีรอฮฺ อิบนฺ อับดุลรอฮฺมาน อัลมัฆซูมียฺ
เคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด ได้เสนอท่านเพื่อแต่งตั้งท่านเป็นผู้พิพากษาเมืองอัลมะดีนะฮฺ โดยจะให้ค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนจำนวน 4,000 ดีนาร์ ท่านก็ไม่รับตำแหน่งนี้
4. อับดุลลอฮฺ อิบนฺ ฟารูค อัลฟารีสียฺ
ท่านเป็นนักปราชญ์ฟูกอฮาอฺในยุคเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด และถูกเสนอเพื่อแต่งตั้งเป็นกฺอฎี แต่ท่านไม่รับตำแหน่งนี้ เพราะท่านไม่ชอบกับตำแหน่งนี้มาก และยังมีอีกหลายๆท่านในบรรดาอุละมาอฺและนักปราชญ์ฟูกฺอฮาอฺที่ไม่ตอบรับกับการเสนอตำแหน่งกฺอฎี
(Muhammad al-Zuhaili, 1995 : 236) นับว่าเป็นสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นในยุคเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด คือ ตำแหน่ง “กฺอฎีอัลกูฎอฎ[19]” ซึ่งมีสาเหตุอันเนืองมาจากการขยายอาณาเขตของราชอาณาจักรอิสลามอย่างกว้างขวางทำให้หน้าที่รับผิดชอบของเคาะลีฟะฮฺเพิ่มมากยิ่งขึ้น ฉะนั้นเพื่อลดภาระหน้าที่ของ
เคาะลีฟะฮฺ จึงจำเป็นต้องมีตัวแทนในการตัดสินคดีต่างๆเพื่อให้สะดวกกับการตัดสินอีกด้วย ตำแหน่งนี้เปรียบเสมือนวะซีรกระทรวงยุติธรรมในยุคปัจจุบัน ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เป็นเอกเทศระหว่างเคาะลีฟะฮฺและวะลีย์ สำหรับกฺอฏี อัลกูฏอฏ เป็นผู้ใกล้ชิดกับเคาะลีฟะฮฺตลอดเวลาซึ่งบางครั้งจะเรียกว่า “ กฺอฏี
เคาะลีฟะฮฺ” เป็นผู้กำหนดงานสำคัญๆและบางครั้งออกเดินทางพร้อมๆ เคาะลีฟะฮฺในการทำหน้าที่อื่นๆหลังจาอะบูยูซูฟได้รับตำแหน่งนี้ท่านพยายามปรับเปลี่ยนให้มีชุดการแต่งกายเฉพาะของกฺอฏี เพื่อไม่ให้เหมือนประชาชนทั่วไปและเพื่อให้เป็นที่รู้จักระหว่างประชาชนทั่วไปกับกฺอฏี
สำหรับ กฺอฏี อัลกูฏอฏ ที่เมืองบัฆดาด(แบกแดด) นั้น จะมีดีวานเฉพาะเป็นที่รู้จักในนาม
” ดีวานกฺอฎี อัลกูฎอฎ “ ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ดีวานที่สำคัญๆ ดังนี้
1.อัลฮาญิบ (ผู้ควบคุมดูแล)
2.อัลกาติบ (ผู้บันทึกคดีต่างๆ )
3.อาริด อัลอะห์กาม (ผู้เสนอคดีฟ้องร้อง)
4.ผู้ดูแลสำนักงานดีวาน คือ ควบคุมระบบศาล และเป็นผู้กำหนดงานกฺอฎีเมืองหลวง
(ศูนย์กลาง) และแคว้นต่างๆในช่วงแรกเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด ได้แต่งตั้งตำแหน่ง กฺอฎี อัลกูฎอฎ เฉพาะที่เมืองบัฆดาด ( แบกแดด) เท่านั้น ต่อมาได้แต่งตั้ง กฺอฎี อัลกูฎอฎ ตามแคว้นใหญ่ๆ เช่น ดามัสกัส มัสร์ (อียีปต์ปัจจุบัน) มะดีนะฮฺ คูรอซาน และอื่นๆ (Muhammad al-Zuhaili, 1995 : 244–245) หลังจากได้พัฒนาตำแหน่งกฺอฎียุคราชวงศ์อับบาสียะฮฺโดยเฉพาะยุคของเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด ซึ่งได้เพิ่มตำแหน่งผู้ช่วยกฺอฎีในการดำเนินงานเพื่อให้งานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยมีประสิทธิภาพสมบูรณ์และบรรลุถึงเป้าหมาย จึงได้กำหนดผู้ช่วยในโครงสร้างการบริหารงานด้านศาลการตัดสิน ดังนี้

1. รองกฺอฎี (รองผู้พิพากษา)
รองผู้พิพากษาจะทำหน้าที่แทนกฺอฎีในช่วงกฺอฎีไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้หรืองานที่กฺอฎีได้มอบหมายให้ดำเนินการตัดสินคดีต่างๆ ตามแคว้นต่างๆ รองกฺอฎีไม่มีสิทธิที่จะดำเนินงานใดๆ นอกจากจะได้รับมอบหมายจากกฺอฎี

2. กาติบ อัลกฺอฎี หรือ กาติบ อัลมะห์กามะห์(Katib al-Qadi)[20]
ตำแหน่งนี้เคยมีมาก่อนในยุคของคูลาฟาอฺ อัรรอซีดูนและยุคอุมัยยะฮฺแต่ต่อมาในยุค
อับบาสิยะฮฺได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงปรับปรุงเพิ่มเติมถึงความสำคัญต่างๆ บรรดาอุละมาอฺหลายท่านได้เขียนถึง คุณลักษณะที่สำคัญของกฺอฎีในตำราต่างๆ ซึ่งหน้าที่รับผิดชอบของเลขานุการมีดังนี้
1. เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างสองฝ่ายที่ฟ้องร้อง
2. เก็บรวบรวมข้อมูลจากพยานทั้งสองฝ่าย
3. ติดตามปัญหาระหว่างสองฝ่าย
4. เสนอคดีต่างๆ ต่อผู้พิพากษาอย่างเป็นระบบเรียบร้อย
5.ไม่ลำเอียงต่อผู้ใดผู้หนึ่งในการเก็บข้อมูลหรือเสนอข้อมูล(Muhammad al-Zuhayli, 1995 : 247)

3. ผู้อ่านความ/คดีฟ้องร้องทุกฝ่าย
ตำแหน่งนี้คอยรายงานความชัดเจนของทุกฝ่ายให้กับกฺอฎี ซึ่งตำแหน่งนี้เคยมีมาก่อนในยุคราชวงศ์อุมัยยะฮฺ ต่อมายุคราชวงศ์อับบาสียะฮฺ ได้ปรับปรุงพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ


4. ผู้ควบคุมดูแล ความปลอดภัย
เจ้าหน้าที่ในตำแหน่งนี้มาจาก ตำรวจ, ทหาร, ยาม มีหน้าที่รับผิดชอบ ดังนี้
1. คอยให้ความช่วยเหลือต่อผู้พิพากษาในการดำเนินงานต่างๆ
2. ควบคุมดูแลระบบต่างๆ ให้เรียบร้อย
3. คอยจัดผู้พิพาท เพื่อนั่งอย่างเป็นระบบในศาลระหว่าง ชาย-หญิง
4. คอยดูแลการเข้า-ออกให้เรียบร้อยและห้ามผู้อื่นเข้าก่อนผู้พิพากษาจะเข้าเสียก่อน
5. พยายามควบคุมมารยาทผู้เข้าในศาลการตัดสิน
6. ดูแลความพร้อมภายในและภายนอกศาล
7.ควบคุมดูแลความสูงส่งความมีเกียรติ ของผู้พิพากษา

5. เจ้าหน้าที่คดี/ปัญหาต่างๆ
ตำแหน่งนี้เกิดขึ้นใหม่ในยุคอับบาสียะฮฺสมัยเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด ซึ่งตำแหน่งนี้ได้แต่งตั้งขึ้นเพื่อดูความละเอียด ของคดี ต่างๆ

6. ผู้ควบคุมความปลอดภัย
ตำแหน่งนี้กฺอฎีได้แต่งตั้งเพื่อดูแลงานที่สำคัญๆ และควบคุมความปลอดภัย เช่น การดูแล ทรัพย์สินเด็กกำพร้า มรดกของผู้เสียชีวิต จนกว่าจะมีการแบ่งทรัพย์สินนั้นต่อญาติผู้เสียชีวิต

7. เสมียนประจำสำนักงานศาลการตัดสิน
มีหน้าที่คอยควบคุมดูแลเอกสารต่างๆของกฺอฎีในสำนักงานศาล

6.14 กระบวนการพิจารณาคดี
6.4.1 เรียบเรียงตามลำดับการฟ้องร้องคดีต่างๆ
เมื่อทั้งสองฝ่ายได้เสนอคำฟ้องร้องต่อศาลแล้ว คำฟ้อง(คดี)นั้นมี ชื่อผู้ฟ้องกับชื่อผู้ถูกฟ้อง เสมือนว่า การบันทึกคำฟ้องประจำวัน ต่อไปได้มอบต่อกาติบของศาล และได้เสนอตามลำดับการฟ้องร้อง ในเมื่อกฺอฎีเข้ามาในศาล กาติบก็เสนอต่อกฺอฎี จากนั้นได้เรียกทั้งสองฝ่าย และทำการตัดสินตามขั้นตอนการฟ้องร้องว่าใครก่อนใครหลังหรือ คดีใหนก่อน คดีไหนหลัง นอกจากคดีที่มีผู้ฟ้องร้องต้องกลับด่วน จึงจำเป็นอนุญาตดำเนินการก่อน แต่ถ้าหากคดีนั้นไม่จบสิ้นต้องดำเนินการในวันพรุ่งนี้ต่อ

6.15 เช็คตรวจสอบพยาน
ความเจริญก้าวหน้าทางด้านศาลการตัดสิน การเพิ่มงานต่างๆมากยิ่งขึ้น พยานเท็จเริ่มเกิดขึ้น ด้วยเหตุดังกล่าวบรรดากฺอฎีจึงตรวจสอบและซักถามพฤติกรรมพยานให้ชัดเจน หากพยานนั้นเป็นผู้ที่รู้จักในความยุติธรรม ทางฝ่ายกฺอฎีก็จะรับความเป็นพยานของเขาทันที แต่ถ้าหากไม่รู้ในความยุติธรรม ก็จะไม่รับการเป็นพยาน และหากไม่รู้ข้อมูลใดๆจากพยานก็จะซักถามพี่น้องเพื่อนบ้านหรือผู้ที่ใกล้ชิด

6.16 บันทึกคดีการฟ้องร้องและจัดเรียบเรียงแฟ้มคดีต่างๆ
การบันทึกคดีต่างๆ เริ่มตั้งแต่สมัยอุมัยยะห์แต่ในขอบเขตของบางคดีเท่านั้นเอง ต่อมาในยุคราชวงศ์อับบาสียะฮฺโดยเฉพาะยุคเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด ได้มีการบันทึกทุกๆคดีที่ฟ้องร้อง และจัดเก็บตามคดีต่างๆเป็นอย่างดี ที่กระทำเช่นนั้นก็เพื่อควบคุมดูแลความสำคัญ หรือสิทธิของประชาชาติ

6.17 เงินเดือน/รายได้ของกฺอฎี
เป็นที่ทราบกันว่าในยุคของเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีดปกครองบ้านเมืองนั้นทุกอย่างก็ได้มีการพัฒนาปรับปรุงสู่ความเจริญต่างๆ ท่านได้ยกระดับของเงินเดือนผู้พิพากษาตามแคว้นต่างๆ ซึ่งในยุคของท่านมีเงินเดือนไม่น้อยกว่าหนึ่งพันดีนาร์ต่อปี ( Muhammad al-Zuhayli, 1995 : 258)

6.18 ศาลหรือสถานที่ตัดสินคดีในยุคเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด
ในยุคแรกของราชวงศ์อับบาสียะฮฺนั้นไม่มีศาลหรือสถานที่ตัดสินเป็นที่แน่นอน กฺอฎีบางท่านได้ใช้บ้านบางส่วนมาเป็นสถานที่เพื่อตัดสินคดีต่างๆ ซึ่งยุคนั้นศาลหรือสถานที่ตัดสินนั้นจะอยู่ในวงจำกัดจะมีเฉพาะเมืองหลวงและแคว้นใหญ่ๆเท่านั้นเอง โดยไม่ได้มีทุกๆ เขตของแคว้นนั้นๆ ด้วยเหตุนี้การตัดสินจะใช้ตามความเหมาะสมหรือแล้วแต่ความสะดวกของกฺอฎีซึ่งส่วนใหญ่แล้วกฺอฎีจะนั่งอยู่ในมัสยิดหรือหน้าประตูมัสยิด

6.19 ลักษณะที่โดดเด่นของระบบศาลในยุคเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด
ลักษณะที่โดดเด่นของระบบศาลในยุคเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีดมีดังต่อไปนี้
6.7.1 กระบวนการพิจารณาคดีในอิสลามนั้นมีรูปแบบ ขั้นตอนที่สมบูรณ์ และชัดเจน
6.7.2 มีการแพร่ขยายการอิจญ์ติฮาด[21] ในยุคเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด บรรดากฺอฎีมีความจริงจังและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย มีบรรดาอุละมาอฺที่ดังๆในยุคของท่าน เกิดสำนักวิชาการ
ฟิกฮฺ มีการบันทึกหลักการ(ฮูกุม) มีการเขียนตำรับตำราวิชาฟิกฮฺโดยเฉพาะตำราที่เกี่ยวกับศาล
6.7.3 มีกฺอฎีหลายๆคนในหนึ่งแคว้น
6.7.4 มีการปรับปรุงตำแหน่งใหม่เพื่อควบคุมดูแลด้านศาล คือ กฺอฎี อัลกูฎอฎ ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบด้านศาล และบรรดากฺอฎีตามแคว้นต่างๆ บรรดากฺอฎีสวมใส่ชุดเฉพาะซึ่งจะแตกต่างกับบุคคลทั่วไป และบรรดากฺอฎีมีอำนาจโดยตรงในการตัดสินคดีต่างๆ
6.7.5 ระบบหิสบะห์(Hisbah)[22] ได้พัฒนาอย่างมีระบบ ซึ่งเป็นแผนกที่เอกเทศที่ได้ดำเนินทางสังคม
6.7.6 มีศาลของทหารเฉพาะ โดยมีศาลที่เป็นเอกเทศทำให้การตัดสินเป็นของตนเอง
6.7.7 เคาะลีฟะฮฺนั่งในศาลเพื่อรับฟังคดีต่างๆ
6.7.8 อำนาจกฺอฎีได้ขยายขอบเขตในด้านอื่นๆนอกเหนืออำนาจการตัดสินคดีต่างๆในศาล
6.7.9 แต่งตั้งผู้ช่วยกฺอฎีเพื่อเป็นตัวแทนในการดำเนินงา
6.7.10 บรรดากฺอฎีได้พยายามปรับปรุงพัฒนาแนวทาง ขั้นตอนใหม่ในการตัดสิน
6.7.11 มีความพยายามเพื่อแต่งตั้งบรรดาอุละมาอฺ ฟูกฺอฮาอฺให้ดำรงตำแหน่งกฺอฎีถึงแม้พวกเขาส่วนใหญ่ ปฎิเสธที่จะรับตำแหน่งก็ตาม
6.7.12 บรรดากฺอฎีมีคุณลักษณะเป็นที่น่าเกรงขาม และเป็นที่เคารพนับถือของคนทั่วไป ทั้งยังมีพิธีการบางประการตามประเพณี ซึ่งเป็นขั้นตอนพอสมควรในการที่บรรดาผู้ปกครองท้องถิ่นจะเข้าไปพบปะเพื่อปรึกษาหารือในกิจการต่างๆ
6.7.13 ในข้อคดีการตัดสินเดียวกัน ก็มีหลากหลายแนวคิดที่แตกต่างกัน ซึ่งต่างก็ให้เกียรติซึ่งกันและกัน(ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งแต่ประการใด)
6.7.14 ในยุคเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด มีบรรดากฺอฎีมากมายซึ่งต่างก็เขียนตำรับ ตำราเผยแพร่แนวคิดของตัวเองมากมาย โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับเรื่องศาลและการตัดสินคดี

6.20 ด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
          ในสมัยการปกครองของเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด แห่งราชวงศ์อับบาสิยะฮฺนั้น ท่านได้มีการเปิดความสัมพันธ์กับต่างประเทศ ซึ่งความสัมพันธ์ดังกล่าวไม่ค่อยราบรื่นเท่าที่ควรขอสรุปพอสังเขปดังนี้
6.8.1 ความสัมพันธ์ กับอาณาจักรไบแซนทีนโรมันตะวันออก
6.8.2 ความสัมพันธ์ กับชาร์ลมันกษัตริย์แห่งฝรั่งเศส
6.8.3 ความสัมพันธ์ กับอินเดียและจีน
6.8.4 ความสัมพันธ์ กับอาณาจักรอุมัยยะฮฺในแอนดาลูเซีย (สเปน)

6.21 ความสัมพันธ์กับอาณาจักรไบแซนทีนโรมันตะวันออก
         อาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ในยุคนี้คือ อาณาจักรโรมันไบแซนทีนและอาณาจักรชาร์ลมันแห่งฝรั่งเศส ความสัมพันธ์ดังกล่าวเริ่มตั้งแต่สมัยการปกครองของเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด ซึ่งท่านได้กระชับความสัมพันธ์เพื่อเป็นการเสริมสร้างความมั่นคงของอาณาจักรทั้งสองฝ่ายในตำราประวัติศาสตร์พบว่าความสัมพันธ์ของเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีดกับโรมันตะวันออกไบแซนทีนนั้นเป็นความสัมพันธ์ที่เป็นศัตรูกันตั้งแต่อายุยังน้อย ในปีฮ.ศ. 163 เคาะลีฟะฮฺ อัลมะห์ดีได้จัดเตรียมทหารที่เข้มแข็ง และมีกองกำลังพิเศษ และแต่งตั้งเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด เป็นแม่ทัพเพื่อคุมกองทัพไปรบกับผู้รุกรานชาวโรมันไบแซนติน เมื่อท่านเดินทางเข้าสู่อาณาเขตโรมัน สงครามระหว่างสองฝ่ายก็เกิดขึ้นและสุดท้ายเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด ได้รับชัยชนะและท่านเดินทางกลับสู่เมืองแบกแดดด้วยความปลอดภัยพร้อมกับทรัพย์สินฆอณีมะห์[23]มากมาย ((Muhammadzin,Ahmad al-Qattan, 1989 : 115)
             อย่างไรก็ตาม เคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด ไม่ได้หยุดนิ่งกับชัยชนะในครั้งนี้ ต่อมาในปี ฮ.ศ. 165 ท่านได้รับแต่งตั้งจากบิดาเพื่อเป็นแม่ทัพ ไปโจมตีโรมันไบแซนทีน อีกครั้งหนึ่ง การมาโจมตีในครั้งนี้ท่านออกเดินทางพร้อมกับทหารเป็นจำนวนมากเข้าสู่เมืองโรมันจนเกือบจะถึงกรุงคอนแสตนติโนเปิล ทำให้เจ้าหญิงไอรีนจักรพรรดิ์แห่งโรมันต้องขอทำสัญญาสงบศึกโดยยินยอมส่งส่วยให้อาณาจักรอิสลามถึง 90,000 ดีนาร์ และท่านเดินทางกลับสู่เมืองแบกแดดด้วยความปิติยินดี จากชัยชนะที่ได้รับในครั้งนี้ นี่คือความสัมพันธ์ระหว่างเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด กับโรมันก่อนที่ท่านได้ขึ้นครองราชย์(Muhammadzin,Ahmad al-Qattan, 1989 : 115 - 116) หลังจากท่านเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด ขึ้นครองราชย์แล้วท่านก็ได้ดำเนินการต่อจากที่ผ่านมา ในปี ฮ.ศ. 172 เคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด ส่งกองทัพไปตีอาณาจักรไบแซนตินโรมันตะวันออกโดยมีแม่ทัพชื่อ อิสฮาก อิบนฺ สุไลมาน อิบนฺสอและห์ ท่านได้คุมกองทัพไปรบกับกองทัพโรมันตามชายแดน และเข้าสู่เมืองโรมันตะวันออกอีกด้วย สงครามเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยใช้เวลายาวนานพอสมควรและท่านได้รับชัยชนะและได้เปิดเมืองต่างๆ หลายเมืองด้วยกัน ต่อมาลูกของท่านอับดุลรอมัน ได้ทำสงครามกับโรมันอีกในปีต่อมา และในปี ฮ.ศ. 181 เคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด ได้บุกเข้าโจมตีโรมันด้วยตนเองและท่านได้เปิดป้อมปราการ “อัลซอฟซอฟ”(al-Sapsap) และในปีเดียวกันอับดุลมาลิก อิบนฺซอและห์ได้บุกโจมตีโรมันจนถึงเมืองอังการาสุดท้ายได้ยึดครองและเปิดเมืองมัตมูเราะห์ ( Muhammadzin,Ahmad al-Qattan, 1989 : 116 -117)ในปี ฮ.ศ. 182 อับดุลเราะห์มาน อิบนฺ อับดุลมาลิก อิบนฺ ซอและฮฺ นำกองทัพไปโจมตีโรมันอีกครั้งหนึ่ง การโจมตีในครั้งนี้ก็ได้เข้าไปยังเมืองอัฟซุส ซึ่งเป็นเมืองของชาวถ้ำ การโจมตีเกิดขึ้นจนถึงวินาทีสุดท้าย นิกเฟอร์แม่ทัพโรมันไบแซนตินตกเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ทำให้เจ้าหญิงไอรีนต้องทำสัญญาสงบศึกและยังต้องส่งเครื่องบรรณาการให้เคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด แห่งอาณาจักรอิสลามอับบาสียะฮฺ ในปีต่อมาเมื่อนิกเฟอร์ได้ขึ้นเป็นจักพรรดิ์ได้ฉีกสนธิสัญญาดังกล่าวทิ้งเสีย ต่อมาในปี ฮ.ศ. 187 นิกเฟอร์ยืนคำขาดให้เคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด และขอคืนเครื่องบรรณาการที่เจ้าหญิงไอรีนเคยส่งมา เมื่อเคาะลีฟะฮฺฮารูน อัรรอชีด ได้รับสารจากจักพรรดิ์โรมันไบแซนตินทวงเครื่องบรรณาการคืนท่านโกรธมากและส่งสารตอบไปว่า ความว่า : ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงกรุณาปรานีผู้ทรงเมตตาเสมอ จากฮารูน อัรรอชีด ผู้นำมุสลิม ถึงนิกเฟอร์สุนัขโรมัน ข้าพเจ้าได้อ่านสารของท่านแล้วคำตอบก็คือท่านจะได้เห็นโดยไม่ต้องฟัง( Ibn Kathir, 1987: 333 – 334 , Muhammadzin,Ahmad al-Qattan, 1989 : 117-118 ) หลังจากเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด ได้ส่งสารไปแล้วในวันเดียวกันท่านก็ได้ยกกองทัพไปด้วยตนเองโดยเดินทางผ่านมุ่งสู่เมืองฮารอกละฮฺ(Haroklah)และได้เข้าคอยกำลังที่ทางอาณาจักรโรมัน ส่งออกมาต่อต้านแตกพ่ายไปทำให้จักรพรรดิ์นิกเฟอร์ต้องยอมจำนนทำสนธิสัญญาและยอมส่งเครื่องบรรณาการให้กับอาณาจักรอิสลามตามเดิม แต่เมื่อเดินทางกลับจากสงครามแล้วอาณาจักรโรมันก็ผิดสัญญาอีกเช่นเคย โดยได้ยกทัพเข้ามาโจมตีชายแดนของอาณาจักรอับบาสียะฮ์ในปีต่อมา และฉวยโอกาสขณะที่ท่านเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด กำลังปราบปรามพวกกบฎที่ก่อความวุ่นวายขึ้นในราชอาณาจักรแต่ถึงกระนั้นท่านก็ได้จัดส่งกำลังทหารไปยึดเมืองต่างๆตามชายแดนกลับคืนมาอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรอิสลามได้อีกครั้งหนึ่ง และจับเชลยชาวโรมันได้ประมาณ 1 หมื่นคนซึ่งจัดการเรียกเก็บภาษีค่าหัวได้ประมาณ 2 หมื่นเหรียญทองคำ อาณาบริเวณของสงครามครั้งนี้ได้แพร่ขยายออกไปจนกระทั่งจรดทะเลเมดิเตอเรนียน กองทัพอิสลามได้พิชิตไปจนถึงเกาะไซปรัส จับเชลยมาได้ ประมาณ 1 หมื่นคน จำนวนนั้นมีสังฆราชที่ ปกครองเกาะไซปรัส รวมอยู่ด้วย

6.22 ความสัมพันธ์กับชาร์ลมันกษัตรย์แห่งฝรั่งเศส
           เคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด เป็นเคาะลีฟะฮฺที่มีชื่อเสียงมากทั้งในด้านการปกครองการทหารและการทูต สมัยของท่านเป็นสมัยที่โลกอิสลามได้ประสบความเจริญรุ่งเรืองทางศิลปวิทยาการเป็นที่รู้จักกันทั่วโลกสมัยนั้นว่าเป็นผู้ครองมหาอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ที่สุด รุ่งเรืองทางวิชาการที่สุดและร่ำรวยที่สุด ท่านได้มีความสัมพันธ์อันดีงามกับอาณาจักรแฟรงค์ของชาร์ลมัน(Charlamagne) กษัตริย์แห่งฝรั่งเศส ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่รักกันและเป็นมิตรสหายที่ดีระหว่างกันความสัมพันธ์ทั้งสองฝ่ายเกิดขึ้นราวปี ค.ศ. 797-806 และได้มีการแลกเปลี่ยนทางการทูตความสัมพันธ์ดังกล่าวส่งผลดีทางด้านการเมืองทั้งสองฝ่าย

6.23 วัตถุประสงค์ของความสัมพันธ์ทั้งสองฝ่ายมีดังนี้
           วัตถุประสงค์ของ ชาร์ลมันแห่งฝรั่งเศสมีดังนี้
1.วางขอบเขตอำนาจการแข่งขันของจักรพรรดิ์ไบแซนติน(นิกเฟอร์) ด้านตะวันตก
2.เพื่อเจรจาหาทางเพื่อให้อาณาจักรอับบาสิยะฮฺอำนวยความสะดวกให้แก่ชาวคริสต์ที่จะเดินทางมาประกอบศาสนกิจทีนครเยรูซาเล็ม
3.เปิดสัมพันธ์ทางด้านการค้าระหว่างทั้งสองฝ่าย
4.ชาร์ลมันพยายามจะรับวิชาการอิสลามเพื่อกลับพัฒนาสู่ยุโรป
วัตถุประสงค์ของเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด
1.สร้างความเข้มแข็งและความเป็นปึกแผ่นของทั้งสองฝ่ายเพื่อเป็นพลังการเผชิญหน้ากับอาณาจักรอุมัยยะฮฺแห่งสเปน
2.สร้างความสัมพันธ์ดังกล่าวเพื่อต่อสู้กับอาณาจักรโรมันไบแซนตินให้อ่อนแอลง (al-Majalah al-Arabiah, 1419 : 58 - 59)
         ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำทั้งสองดีวันดีคืนจนกระทั่งได้มีการส่งฑูตไปเจริญสัมพันธ์ไมตรีและแลกเปลี่ยนของขวัญซึ่งกันและกัน เหตุที่เคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด มีความสนิทสนมกับกษัตริย์ชาร์ลมันแห่งฝรั่งเศสนั้นก็เพื่อผลประโยชน์ของราชอาณาจักรและจุดมุ่งหมายของฝรั่งเศสก็เช่นเดียวกันในการนี้ทางฝรั่งเศสได้จัดส่งคณะทูตมาเจริญสัมพันธ์ไมตรีทูตคณะนี้ประกอบด้วยชาวคริสเตียน 2 คน ชาวยิว 1 คน ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองอาณาจักรได้เจริญรุดหน้าไปด้วยดี เคาะลีฟะฮฺ ฮารูนอัรรอชีด ได้ส่งของขวัญไปให้ กษัตริย์ชาร์ลมันสองอย่างคือ ช้างเชือกชื่ออะบูอับบาส และนาฬิกาน้ำที่มีความเที่ยงตรงและสวยงามมาก ของขวัญทั้งสองอย่างนั้นเป็นที่ชื่นชอบของชาวฝรั่งเศสมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งนาฬิกาน้ำ ซึ่งเป็นที่กล่าวขวัญกันมากในทวีปยุโรป เพราะเป็นของแปลกใหม่สำหรับชาวยุโรปในสมัยนั้น ชาร์ลมันกษัตริย์แห่งฝรั่งเศสได้พยายามแก้ไขและปรับปรุงกฎหมายของเคาะลีฟะฮฺ ฮารูนอัรรอชีด เพื่อเป็นเอกภาพและกระชับมิตรด้านความสัมพันธ์ระหว่างกัน ในตำราประวัติศาสตร์มีหลายทัศนะเกี่ยวกับการทูตระหว่างสองอาณาจักร นักประวัติศาสตร์ท่านหนึ่งชื่ออามีนะห์ อัลบัยตอร กล่าว่า : แท้จริงชาร์ลมันได้ส่งตัวแทนทางการในปีฮ.ศ. 182 ( ค.ศ.797 ) ต่อเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด จากนั้นเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีดส่งตัวแทนไปเช่นกันใน ฮ.ศ. 186 มุฮัมหมัด อัลกูดรีย์บิก ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ทางด้านการฑูตว่า ชาร์ลมัน ได้พยายามในการพัฒนาสถานการณ์เป็นอยู่ของอาณาจักรให้เหมือนกับสภาพการเป็นอยู่ของอาณาจักรอับบาสียะห์ในยุคเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด และชาร์ลมันได้ส่งตัวแทนชื่ออิสฮากไปเรียนรู้วิชาการแพทย์เพื่อกลับมาพัฒนายุโรป อิสลามได้แพร่ขยายสู่อินเดียและจีนเมื่อปี ฮ.ศ. 93 และได้มีความสัมพันธ์ด้านการค้าระหว่างประชาชาติมุสลิมกับอินเดียและจีนเริ่มตั้งแต่สมัยราชอาณาจักรอุมัยยะฮฺซึ่งภายใต้การปกครองโดยเคาะลีฟะฮฺ อัลวาลีด จากจุดนี้เองทำให้มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ระหว่างโลกอิสลามขึ้นมาเรื่อยๆ พ่อค้าชาวมุสลิมได้เดินทางเข้าอินเดียและจีนยังไม่ขาดสาย
ในตำราประวัติศาสตร์จีนโบราณมีอยู่ว่า : ได้มีการแลกเปลี่ยนคณะฑูตระหว่าง ราชวัง
อับบาสียะฮ์กับราชวงศ์จีนในศตวรรษที่ 7 และ 8 ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ทางด้านการค้าและด้านวิชาการ (Muhammadzin,Ahmad al-Qattan, 1989 : 125)

6.24 ความสัมพันธ์กับอาณาจักรอุมัยยะฮฺในแอดาลูเซีย(สเปน)
           อาณาจักรอับบาสิยะฮฺในยุคเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด ไม่สามารถที่จะสานต่อความสัมพันธ์กับอาณาจักรอุมัยยะฮฺที่สเปนซึ่งเคยมีความสัมพันธ์ในยุคเคาะลีฟะฮฺ อัลมันศูร และอัลมะห์ดี ท่านได้พยายามเจรจาเพื่อให้แอนดาลูเซีย( สเปน) ที่อยู่ในปกครองอุมัยยะฮฺกลับมาอยู่ในการปกครองของ
อับบาสิยะฮฺ ความพยายามที่อัลมะห์ดีได้ทุ่มเทนั้นท่านได้เน้นถึงจำนวนนักการเมืองหลายๆท่านเพื่อล่มสลายแอนดาลูเซีย (สเปน) อับดุลเราะห์มานอิบนฺ ฮะบีบ อัลฟะห์รีย์อัลซัดลาบีย์ ท่านได้พยายามสร้างขบวนการเพื่อโจมตีใน ฮ.ศ. 162 แต่ไม่สำเร็จ ต่อมา สุไลมาน อิบนฺ ยัดซอน อัลอะรอบีย์ สุดท้าย
อัลรอมาฮีซ อิบนฺ อับดุลอาซิว อัลกานาอีย์ ซึ่งเป็นผู้นำเมืองอัลยาซีเราะห์อัลคูดรออฺ ท่านได้ก่อจลาจลในปี ฮ.ศ.164 อย่างไรก็ตามความพยายามดังกล่าวไม่สำเร็จจึงจำเป็นต้องหนีกลับไปยังอับบาสียะฮฺ(Faruk‘UmarFawzi,1989:72)ต่อมาในยุคเคาะลีฟะฮฺฮารูนอัรรอชีดความสัมพันธ์ระหว่างราชอาณาจักรอับบาสียะฮฺกับอาณาจักรอุมัยยะฮฺในแอนคาลูเซีย(สเปน) ทั้งสองอาณาจักรนี้ถึงแม้ว่าจะมีความสัมพันธ์อยู่ในวงแคบลงก็จริง แต่ก็ไม่ได้ประกาศความเป็นศัตรูกันอย่างโจ่งแจ้ง

[1] นักปราชญ์ที่ให้คำชี้ขาดในปัญหาต่างๆ
[2] ผู้พิพากษา
[3] ให้คำชี้ขาด
[4] นักปราชญ์ที่ให้คำชี้ขาดในปัญหาต่างๆ
[5] ผู้พิพากษา
[6] ให้คำชี้ขาด
[7] ยุคที่มีการชี้ขาดทางด้านหลักการอิสลามหรือยุคที่มีการฟัตวาฮูกูมต่างๆในอิสลาม
[8] การวินิจฉัยหรือตีความของปัญหานั้นๆ
[9] คือระหว่างชาวยิว
[10] เราได้ส่งบรรดารอซูลของเรามาพร้อมด้วยหลักฐานอันชัดแจ้งและสิ่งปฏิหาริย์ที่ชัดเจนและเราได้ประทานคัมภีร์ลงมาพร้อมกับพวกเขา ซึ่งในคัมภีร์นั้นๆ นำความสุขมนุษยชาติ และเราได้ประทานความยุติธรรมหรือตราชูมาพร้อมกับพวกเขาเพื่อให้มนุษย์ดำรงอยู่บนความเที่ยงธรรมในการปฏิบัติซึ่งกันและกัน
[11] คือตัดสินด้วยความยุติธรรมที่ตรงกับบทบัญญัติของอัลลอฮฺและตามโปรดปรานของพระองค์
[12] เพราะการตัดสินคดีต่างๆ นั้น หากสอดคล้องกับบทบัญญัติของพระเจ้าแล้วผลประโยชน์ของมนุษย์ก็จะดำเนินไปอย่างเป็นระเบียบและอำนวยประโยชน์ให้แก่บุคคลทุกระดับชั้น หากว่าการตัดสินคดีนั้นเป็นไปตามความใคร่และอารมณ์ ตลอดจนเป็นไปตามความมุ่งหมายของนักปกครองแล้วก็นำไปสู่ตามหายนะทั้งนักปกครองและประชาชน
[13] เราได้ส่งบรรดารอซูลของเรามาพร้อมด้วยหลักฐานอันชัดเจนและเราได้ประทานคัมภีร์ลงมาพร้อมกับพวกเขา ซึ่งในคัมภีร์นั้นๆ นำความสุขมาสู่มนุษยชาติ และเราได้ประทานความยุติธรรมหรือตราชูมาพร้อมกับพวกเขาเพื่อให้มนุษย์ดำรงอยู่บนความเที่ยงธรรมในการปฏิบัติซึ่งกันและกัน
20 หมายถึงนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม
21 คือระหว่างชาวยิว

[14] การระมัดระวังกับโทษที่จะเกิดขึ้นต่อผู้กระทำผิด
[15] คือสัญญาด้วยความยุติธรรมต่อการตัดสินไม่ว่จะเป็นญาติพี่น้องหรือผู้ลักผู้ใหญ่ในราชวังก็ตาม
[16] กฺอฏี อัลกูฏอฏ คือ หัวหน้าผู้พิพากษา ซึ่งเป็นผู้บริหารความยุติธรรม และ เป็นหัวหน้าสูงสุดด้านกฎหมายของราชอาณาจักรอิสลาม
[17] การระมัดระวังกับโทษที่จะเกิดขึ้นต่อผู้กระทำผิด
[18] คือสัญญาด้วยความยุติธรรมต่อการตัดสินไม่ว่จะเป็นญาติพี่น้องหรือผู้หลักผู้ใหญ่ในราชวังก็ตาม
[19] บางครั้งจะเรียนว่า “ กฺอฎี เคาะลีฟะฮฺ”
[20] เลขานุการผู้พิพากษาหรือเลขานุการสำนักงานศาล
[21] อิจญ์ติฮาด หมายถึง การวิเคราะห์วินิจฉัยในการดำเนินบทบัญญัติของปัญหาทางกฎหมายที่ยังไม่มีบทบัญญัติ
[22] ระบบหิสบะห์(Hisbah) ซึ่งเป็นหน้าที่ทางสังคมในสังคมก่อนซึ่งอาจตรงกับระบบเทศกิจในปัจจุบัน (มูฮัมมัด ยูซูฟ มูชา, 2545 : 88)
[23] ทรัพย์สินที่กองกำลังทหารยึดได้จากการทำสงครามกับศัตรู

อ้างจากเอกสารประกอบการสอนรายวิชาหลักการบริหารในอิสลาม 3 สาขารัฐประศาสนศาสตร์มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา เรียบเรียงโดย อาจารย์อับดุลเลาะห์ อูมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น