วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2554

เมาลานา ซัยยิด อบุล ฮะซัน อลี อัน นัดวียฺ

                                            เมาลานา ซัยยิด  อบุล ฮะซัน อลี อัน นัดวียฺ
ผู้เป็นเสมือนศูนย์รวมจิตใจของคนทำงานอิสลามร่วมสมัย 
            ชื่อเต็ม (الندوي  السيد أبو الحسن على بن عبد الحي بن فخر الدين الحسني) เมาลานา ซัยยิด  อบุล ฮะซัน อลี บิน อับดุล-หัยยฺ บิน ฟัครุดดีน อัล ฮะซะนียฺ อัน นัดวียฺ เกิดในเดือน มุหัรรอม ปี ฮ.ศ.1332 ( อ.ศ.1914)  รัฐอุตรประเทศ ประเทศอินเดีย สืบเชื้อสายโดยตรงจากครอบครัวท่านนบีมุฮัมมัดฯ ทางสายของท่านฮะซัน บิน อะลี(รฎิยัลลอฮุ อันฮุ)  
            บิดาของท่านเป็นอุละมาอฺใหญ่ ชื่อว่าซัยยิด อับดุลหัยยฺ อัล ฮะซะนียฺ ซึ่งได้ประพันธ์หนังสือไว้หลายเล่ม ปู่ทวดของท่านคืออุลามาอฺนักญิฮาดที่โด่งดัง คือ ท่านซัยยิด อะหฺมัด ชะฮีด(มีชีวิตอยู่ในปี 1786-1831 ประวัติของท่านผู้นี้หาอ่านได้ในหนังสือขบวนการฟื้นฟูอิสลาม เขียนโดยมัรยัม ญะมีละฮฺ)
           เมาลานา อบุล ฮะซัน ได้รับการเลี้ยงดูจากพี่ชายของท่านคือ ดร.อับดุล อะลียฺ อัล ฮะซะนียฺ อดีตหัวหน้านัดวะตุล อุลามาอฺ ซึ่งเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลกับบุคลิกภาพของท่าน และให้การศึกษาท่านทั้งวิชาการศาสนาจากรั้วของนัดวะตุล อุละมาอ์ อันเป็นสถาบันทางวิชาการอิสลามที่มีเชื่อเสียงแห่งหนึ่งของโลกมุสลิม และเดินทางศึกษากับปราชญ์อิสลามสาขาต่างๆอีกหลายท่าน ท่านยังศึกษาแนวคิดสมัยใหม่จากรั้วมหาวิทยาลัย จนจบปริญญาโทด้านปรัชญาจากมหาวิทยาลัยลัคเนา
           ท่านมีความรู้แตกฉานในภาษาอาหรับ อูรดู เปอร์เซีย และอังกฤษ  พร้อมกับความรู้ความเข้าใจในศาสตร์อิสลามด้านต่างๆอย่างลึกซึ้ง
           เมาลานา อบุล ฮะซัน เคยมีครอบครัว แต่ภริยาของท่านเสียชีวิตไปหลายสิบปีแล้วโดยไม่มีบุตรด้วยกัน ชีวิตครอบครัวท่านจึงไม่มีใครกล่าวถึงมากนัก  
<!--[if !supportLineBreakNewLine]-->
<!--[endif]-->
บุคลิกภาพ
           ด้วยวัยยี่สิบเศษ เมาลานา อบุล ฮะซัน ก็กลายเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะนักวรรณกรรม และนักคิดที่แหลมคม เป็นผู้ที่ทุ่มเทในงานดะอฺวะฮฺและการสร้างแรงบันดาลใจให้ลุกโชติช่วงขึ้นในอุมมะฮฺอิสลามในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา ประกอบกันบุคลิกภาพที่สมถะ การมีชีวิตที่เรียบง่าย มีมารยาทที่งดงาม เป็นที่ดึงดูดใจแก่ผู้พบเห็น ความโดดเด่นด้วยจิตใจที่สูงส่ง เสมือนบุคลิคลักษณะของอุลามาอฺในยุคสลัฟ
           เชค ดร.มุสฏอฟา ซิบาอียฺ อุลามาอฺคนสำคัญและเป็นผู้ก่อตั้งขบวนการอิควาน มุสลิมูน สาขาซีเรีย นักต่อสู้เพื่อปลดปล่อยปาเลสไตน์ ได้กล่าวถึงเชค อบุล หะสัน อัน-นัดวียฺไว้ว่าในโลกอิสลามได้เกิดขบวนการที่เข็มแข็ง เพื่อนำอิสลามในฐานะชะรีอะฮฺที่เป็นระบอบแห่งชีวิตกลับมาอีกครั้ง และเพื่อสถาปนาบรรทัดฐานแห่งความยุติธรรมระหว่างมนุษย์  เพื่อให้มวลมุสลิมปลดปล่อยดินแดนต่างๆออกจากการยึดครอง เพื่อปลดปล่อยสติปัญญาออกจากความเขลาและเรื่องราวเหลวไหลไร้สาระ เพื่อปลดปล่อยสังคมให้พ้นจากการกดขี่ การขาดแคลน และความยุ่งเหยิง…..หนึ่งในบุคคลชั้นนำแห่งขบวนการอันสูงส่งนี้ คือ อุสตาซ อบุล หะสัน อัน-นัดวียฺท่านคืออะลีมนักฟื้นฟู นักดะอฺวะฮฺผู้จริงใจ...ท่านผู้นี้มีลักษณะส่วนตัวที่ดีเด่นในเรื่องของจิตวิญญานที่เจิดจรัส บุคลิคของท่านเป็นเช่นบุคลิคภาพแห่งศาสดาฯอันมีเกียรติ การดำเนินชีวิตของท่านทำให้เรานึกถึงกัลยาณชนยุคแรก(สะละฟุศศอลิหฺ) ไม่ว่าในเรื่องของความสมถะ เรียบง่าย การอิบาดะฮฺ และความเอื้อเฟื้อของท่าน”  

คณาจารย์ผู้ทรงอิธิพลต่ออะบุล ฮะซัน อันนัดวี

<!--[if !supportLists]-->๑-                <!--[endif]-->الشيخ خليل النعماني  ท่านเป็นผู้ที่มีอิธิพลต่อ อันนัดวี มากที่สุดคนหนึ่ง กระทั่งครั้งหนึ่ง ฮะซัน อันนัดวี ได้กล่าวชื่นชมแก่อาจารย์ท่านนี้ว่า “ท่าน(الشيخ خليل   )
เป็นครูคนหนึ่งที่หาผู้เปรียบเทียบไม่ได้โดยเฉพาะในด้านการถ่ายทอดความรู้แก่ศิษย์ และการปลูกฝังแนวคิดที่หยั่งลึกจนจิตใต้สำนึก” ท่านได้ศึกษาวิชาวรรณกรรมและภาษาอาหรับจากอาจารย์ท่านนี้
<!--[if !supportLists]-->๒-    <!--[endif]-->الدكتور تقي الدين الهلالي  ท่านเป็นนักวิชาการชาวอาหรับที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่งในยุคนั้น
<!--[if !supportLists]-->๓-    <!--[endif]-->العلامة المحدث الشيخ حيدر حسن خان الطونكي ท่านได้สอนอันนัดวีในสาขาวิชา หะดิษ ที่โรงเรียน ดารุ้ล อุลูม ท่านศึกษาทั้งหะดิษ บุคอรี มุสลิม สุนัน อะบีดาวู้ด สุนัน ตัรมีซี และยังเรียนตัฟซี้ร อัล-บัยฏอวีย์ กับอาจารย์ท่านนี้ด้วย
<!--[if !supportLists]-->๔-    <!--[endif]-->المفسر الكبير الشيخ أحمد اللاهوري อะบุลฮะซันอันนดวี ได้เรียนหนังสือตัฟซี้ร อัล-กุรอาน และหนังสือ (حجة الله البالغة) กับอาจารย์คนดังกล่าว
<!--[if !supportLists]-->๕-    <!--[endif]-->الشيخ المحدث حسن أحمد المدني المعروف بـ (شيخ الهند) ท่านได้วิชา หะดิษ แก่อะบุลฮะซัน อันนัดวี และเป็นอาจารย์ที่ อะบุล ฮะซัน ยกย่องว่าเป็นผู้ทำให้วิชาหะดิษกลับฟื้นขึ้นมาในศาสนาอีกครั้งหลังจากมันได้จืดจางไป
   
บรรดานักฟื้นฟูในสมัย ฮะซัน อัล-นัดวี
<!--[if !supportLists]-->๑-    <!--[endif]-->الشيخ محمد إلياس الكاندهلوي  เป็นที่รู้จักในนามผู้ก่อตั้งกลุ่ม ดะอฺวะฮฺตับลีฆ
<!--[if !supportLists]-->๒-    <!--[endif]-->الإمام الشهيد حسن البنا  ผู้ก่อตั้งขบวนการ อิควาน มุสลีมูน
<!--[if !supportLists]-->๓-    <!--[endif]-->الشيخ عبد القادر الرائيبوري เป็นผู้หนึ่งที่มีบทบาทในกลุ่มของ ซานูซีย์ ผู้ที่ให้ความสำคัญในด้านจิตวิญญาณในสมัยนั้น
<!--[if !supportLists]-->๔-    <!--[endif]-->الدكتور محمد إقبال นักกวีและปรัชญาที่ยิ่งใหญ่ของอินเดียในศัตวรรษที่ ๒๐

แนวความคิดอบุล ฮะซัน อัล-นัดวี
 
            ทัศนะทางศาสนาของเมาลานา อบุล ฮะซัน วางอยู่บนการอิสลาหฺหรือการสมานปรองดองระหว่างแนวคิดต่างๆ โดยวางอยู่บนพื้นฐานของหลักการอิสลาม เมาลานา อบุล ฮะซัน ได้ยกย่องอุลามาอฺนักฟื้นฟูในอดีตอย่าง อิบนุ ตัยมียะฮฺ ผู้ฟื้นฟูแนวทางของชาวสลัฟ เช่นเดียวกับที่ท่านยกย่องเชค อับดุลเกาะดีร อัล-ญิลานียฺ อุลามาอฺที่มีชื่อเสียงทางด้านตัซกียะฮฺ (การขัดเกลาจิตใจ)
             กระนั้น ในทัศนะของท่านนั้น การประสานปรองดองดังกล่าวต้องตั้งอยู่บนหลักการที่ถูกต้อง หากมีแนวคิดบิดเบือนที่เป็นอันตรายต่ออิสลาม ท่านจะเผชิญหน้าอย่างกล้าหาญอย่างไม่รีรอ โดยไม่เกรงกลัวผู้ใดทั้งสิ้น  ดังตัวอย่างที่ท่านได้เปิดโปงลัทธิกอดียานียะฮฺในหนังสืออัล-กอดียานียฺ วัล-กอดียานียะฮฺ : ดิรอสะฮฺ วะ ตะหฺลีล”(พวกกอดยานียฺ และลัทธิก็อดยานียฺ : การศึกษาและวิเคราะห์)

คำสั่งเสีย(วอสียัต)ของอบุล ฮะซัน อัล-นัดวี

            ท่านได้กล่าวเพื่อเป็นการสั่งเสียแก่มุสลิมโดยรวมและแก่ชนชาวอาหรับโดยเฉพาะ ในตอนหนึ่งว่า “โอ้ ชาวอาหรับจงฟังฉันให้ชัด แท้จริงเกียรติและศักด์ศรีของท่านนั้นมาจากอิสลามที่อัลลอฮทรงประทานให้ หากพวกท่านให้โอกาสแก่ฉันสักนิด ฉันอยากบอกพวกท่านว่า แท้จริงอิสลามที่นำมาโดยมุฮัมหมัดนั้นคือเป้าหมายของการมีชีวิตอยู่ของท่าน เพราะด้วยอิสลามท่านจะได้พบกับเพื่อนที่แท้จริง
แผ่นดินที่เคยแห้งแล้งและไร้ค่ากลับชื่นฉ่ำและทรงคุณค่าเพราะศาสนาที่นำมาโดยมูฮัมหมัด ดังนั้นหากวันนี้ต้องการให้ทรงคุณค่าอย่างเมื่อวาน พวกท่านต้องยืนหยัด และมั่นคงบนคำสอนของท่านศาสดาอย่างเคร่งครัด และพวกท่านจงหลีกห่าง และจงปลดปล่อยสิ่งอธรรมและชั่วร้ายจากการหลอกลวงของชาวตะวันตก ที่พวกเขาเหล่านั้นต้องการทำลายอิสลามด้วยการนำความทันสมัย ความเป็นสากลดั่งที่เขาอ้างมาทำลายมุสลิม จนลูกหลานเยาวชนมุสลิมกลายเป็นคนที่ไม่เอาศาสนา แล้วท่านในฐานะชนชาวอาหรับ ท่านจะตอบกับพระองค์อัลลอฮอย่างไร ?”

 วรรณกรรมและผลงานของอบุล ฮะซัน อัน นัดวียฺ

           เมาลานา อบุล ฮะซัน อัน นัดวียฺ ได้เขียนหนังสือมากมาย ทั้งภาษาอาหรับและอูรดู และได้รับการถ่ายทอดเป็นภาษาต่างๆนับสิบภาษา
           อุสตาซ อันวารฺ อัล-ญุนดียฺ นักเขียนที่มีชื่อเสียงในโลกอาหรับได้กล่าวถึง  อุสลูบหรือสไตล์การเขียนของเชคอบุล หะสัน ไว้ว่าวิธีการเขียนของเชคอบุล ฮะซัน มีความงดงามยิ่งนัก ท่านมีพลังอย่างสูงในการอธิบายเรื่องต่างๆ และมีความเข้าใจที่ลึกซึ้งต่ออิสลาม
           ดร.มุสฏอฟา อัซ ซิบาอียฺ ได้กล่าวถึงการเขียนหนังสือของเชคอบุล หะสัน ไว้ว่าหนังสือและงานเขียนของท่านมีลักษณะพิเศษในเรื่องความละเอียดอ่อนทางวิชาการ มีความล้ำลึก ในการสร้างความเข้าใจต่อหลักการอิสลาม และมีการวิเคราะห์อย่างแม่นยำต่อปัญหาต่างๆในโลกมุสลิม รวมไปถึงหาวิธีการเพื่อแก้ไขให้ด้วย

มาซา เคาะซิร็อล อาลัม บิ อินหิฏอฏิล มุสลิมีน  (ماذا خسر العالم بانحطاط المسلمين )
            หนังสือวิเคราะห์ประวัติศาสตร์โลกและอิทธิพลของอิสลามที่ปรากฏในฐานะการเปลี่ยนแปลงเพื่อการปลดปล่อย ชื่อว่า มาซา เคาะซิร็อล อาลัม บิ อินหิฏอฏิล มุสลิมีน(โลกสูญเสียอะไรจากความตกต่ำของมุสลิม) หนังสือเล่มนี้กลายเป็นหนังสือที่ขายดี มีการตีพิมพ์นับสิบครั้ง
ซัยยิด กุฏบฺ ได้กล่าวถึงหนังสือเล่มนี้ไว้ว่านี้เป็นหนังสือที่ดีเล่มหนึ่งจากหนังสือในแนวนี้ที่ข้าพเจ้าได้อ่านนับตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน หนังสือเล่มนี้ มีลักษณะพิเศษที่ยอดเยี่ยมคือการเข้าใจที่ลึกซึ้งต่อรายละเอียดทั้งหมดของสปิริตแห่งอิสลามในมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ หนังสือนี้ไม่เพียงมีความยอดเยี่ยมในรูปแบบการวิจัยทางศาสนาและสังคมเท่านั้น แต่รวมไปถึงรูปแบบทางประวัติศาสตร์ที่ถูกเขียนจากมุมมองของอิสลาม”   
อัล-อัรกานุล อัรบะอะฮฺ ( الأركان الأربعة  )      
          หนังสือของท่าน ชื่อว่า อัล-อัรกานุล อัรบะอะฮฺ(หลักการทั้งสี่) คือ นมาซ ถือศีลอด จ่ายซะกาต และฮัจญ์ ท่านได้กล่าวถึงความลึกซึ้งที่ซ่อนอยู่ในหลักการพื้นฐานของอิสลามทั้ง 4 ข้อของอิสลามนี้ ซึ่งนักเขียนสตรีมุสลิม อดีตชาวยิวอเมริกัน มัรญัม ญะมีละฮฺ ได้กล่าวถึงหนังสือเล่มนี้ไว้ว่าอัล-อัรกานุล อัรบะอะฮฺ(ฉบับภาษาอังกฤษ) เป็นหนังสือที่ดีมาก และเป็นหนังสือที่สมบูรณ์แบบ จนบัดนี้ข้าพเจ้าเชื่อว่า เป็นหนังสือเล่มนี้ดีที่สุดในหนังสือทั้งหมดที่ตีพิมพ์ออกมาในหัวข้อนี้
        นอกจากนี้หนังสืออื่นๆของท่านมีอีกจำนวนมาก ที่ปรากฏเป็นเล่มใหญ่มีมากกว่า 50 เล่ม เช่น
อัส-สีเราะฮฺ อัน-นะบะวียะฮฺ(ชีวิตของท่านนบีฯ)
อัฏ-ฏอรีก อิลัล มะดีนะฮฺ(ถนนสู่มะดีนะฮฺ)
อีลัล อิสลาม มิน ญะดีด(กลับสู่อิสลามอีกครั้ง)
อีซา ฮับบัต รีหุล อีมาน(เมื่อสายลมแห่งศรัทธาได้พัดผ่าน)
อัล-อะกีดะฮฺ วัล-อิบาดะฮฺ วัส-สุลูก(หลักยึดมั่น การเคารพภักดี และการประพฤติปฏิบัติ) เป็นต้น นอกจากนี้มีจุลสารเล่มเล็กๆของท่านนับร้อยชิ้น ที่ท่านได้เขียนขึ้นในงานวิชาการ และการประชุมต่างๆ
       หนังสือของท่านที่ถูกแปลมาเป็นภาษาไทยไม่กี่เล่ม เช่นหนังสือชื่อ อัศ-ศิรออฺ บัยนัล ฟิกเราะติล อิสลามียะฮฺ วะ ฟิกเราะติล ฆ็อรบียะฮฺ(การปะทะกันระหว่างแนวความคิดอิสลามและแนวความคิดตะวันตก) แปลเป็นภาษาไทยจากต้นฉบับภาษาอังกฤษในชื่ออารยธรรมตะวันตก อิสลามและมุสลิมโดย ดร.กิติมา อมรทัต ร่วมกับ ดร.อิมรอน มะลูลีม, และหนังสือเล่มเล็กๆ ชื่อ มุสลิมจำลอง แปลโดย ดร.อนัส อมาตยกุล, วิกฤติศรัทธาและจริยธรรม แปลโดย อุสตาซ อับดุศ เศาะมัดอันนัดวียฺ

กับขบวนการอิสลาม

          ไม่เพียงเป็นเลิศในเชิงวรรณกรรม การเขียน และวิชาการอิสลามต่างๆ เท่านั้น ท่านได้เป็นผู้นำคนสำคัญของขบวนการเคลื่อนไหวอิสลามระดับนำของโลก ท่านอยู่ในฐานะหัวหน้าของขบวนการปัญญาชนนัดวะตุล อุลามาอฺซึ่งมีศูนย์กลางการให้วิชาความรู้อยู่ที่เมืองลัคเนาว์ เมืองหลวงของรัฐอุตรประเทศ อินเดีย เรียกว่าดารุล อุลูม”(บ้านแห่งวิทยาการ) ซึ่งเป็นศูนย์กลางศึกษาอิสลามที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของโลกมุสลิม เป็นแหล่งผลิตนักวิชาการที่หวังจะสมานฉันท์ให้กับประชาคมมุสลิม  สถานภาพที่ท่านดำรงอยู่ เป็นสถานะภาพของผู้นำทางจิตวิญญานแก่คนมุสลิมในอินเดียและที่อื่นๆในโลกนับล้านคนที่ดำเนินตามท่าน 
          เมาลานา อบุล ฮะซัน มีความสนิทสนมเป็นพิเศษกับเมาลานา อิลยาสผู้ก่อตั้งญะมาอะฮฺ ตับลีฆ ผู้ซึ่งอาวุโสกว่าท่านกว่า 20 ปี ท่านได้เขียนประวัติของเมาลานาอิลยาสด้วยการความยกย่อง
          ขณะเดียวกันท่านก็ได้รับอิทธิพลเป็นอย่างมากจากอัช-ชะฮีด ฮะซัน อัล-บันนา ผู้ก่อตั้งญะมาอะฮฺ อิควาน มุสลิมูน ท่านได้ยกย่องอิหม่ามฮะซัน อัล-บันนาว่าเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่เป็นมุร็อบบียฺ(ผู้ทำหน้าที่อบรม-ตัรบียะฮฺผู้อื่น)ที่สูงส่ง” 
          เมาลานา อบุล ฮะซัน ได้ยกย่องซัยยิด เมาดูดีอย่างสูงในฐานะที่ท่านเผชิญหน้ากับวัฒนธรรมตะวันตกอย่างกล้าหาญ ท่านกล่าวไว้ว่า  “แม้ว่ามีความแตกต่างกันใน ทัศนะ ความเข้าใจ ในข้อเท็จจริงบางอย่างทางศาสนา รวมไปถึงวิธีการและการนำเสนอ….แต่ก็จำเป็นต้องยอมรับว่า ญะมาอัต อิสลามีและผู้ก่อตั้งท่านเมาลานา อบุล อะอฺลา อัล-เมาดูดี มีบทบาทที่ทรงคุณค่าในการการวิพากษ์แนวคิดตะวันตกและความไม่แท้จริงของมัน ในแง่มุมของวิชาการและศาสนา” 
         บุคคลในโลกอาหรับที่เมาลานา อบุล ฮะซัน เคารพและนับถือมาก คือ ซัยยิด กุฎบ ซึ่งอาวุโสกว่าท่าน 11 ปี แต่ก็คบหากันในฐานะทั้งมิตรและครู หนังสือหลายเล่มที่เมาลานา อบุล ฮะซัน เขียน ได้รับการเขียนคำนำโดยซัยยิด กุฏบฺ ความเหมือนของทั้งสองท่านนี้คือ ความสามารถพิเศษในวรรณกรรมอาหรับและความลึกซึ้งในคำสอนอิสลาม  เมาลานา อบุล ฮะซันได้พบกับซัยยิด กุฏบฺ ปี 1950 ณ หิญาซ คาบสมุทรอาหรับ  ที่นั่นท่านได้มีโอกาสพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และพักอยู่ร่วมกันเป็นเวลาสั้นๆ ซึ่งสร้างความประทับให้กับชีวิตของท่านเป็นอย่างมาก 
          เมาลานา อบุล ฮะซัน ถือว่าซัยยิด กุฏบฺ ไปไกลเกินกว่านักวรรณกรรม นักคิด นักเขียน หลังจากนั้นในปี 1966 สัยยิด กุฏบฺ ถูกประหารชีวิต เนื่องจากงานเขียนของเขาเอง ท่ามกลางความเศร้าเสียใจของเชคอบุล หะสันท่าน(สัยยิด กุฏบฺ)ได้จ่ายราคาของแนวความคิดของท่าน ด้วยเลือดของท่าน ลมหายใจของท่าน และวิญญานอันบริสุทธิ์ของท่าน ที่จริงแล้วท่านได้ขายชีวิตของท่านและทำให้สัญญาระหว่างท่านและอัลลอฮฺสมบูรณ์แล้ว” 
          เมาลานา อบุล ฮะซัน ถูกบันทึกไว้ในฐานะเป็นอุลามาอฺระดับนานาชาติ ท่านมีความผูกพันกับโลกมุสลิมอย่างแน่นเฟ้น ท่านเป็นผู้ให้ทั้งกำลังใจ และคำตักเตือนแก่กลุ่มเคลื่อนไหวต่างๆทั่วทุกมุมโลก เชคอบุล หะสัน มีส่วนร่วมที่สำคัญเช่นเดียวกับท่านเมาดูดี ในการร่วมก่อตั้งมหาวิทยาลัยอิสลามแห่งมะดีนะฮฺ  และร่วมอยู่ในองค์การเราะบิเฏาะฮฺ ด้วยเช่นกัน
          ดร. ยูซุฟ อัล กอรฎวียฺ ได้กล่าวถึง เมาลานา อบุล ฮะซัน ไว้ว่า   “ไม่แปลกใจเลยที่เราเห็นว่า ชัยคฺของเรา ท่านซัยยิด อบุล ฮะซัน เป็นตัวอย่างที่มีลักษณะพิเศษ ในแบบของอุลามาอฺที่ยอมจำนนต่ออัลลอฮฺโดยสิ้นเชิง เป็นนักดะอฺวะฮฺที่ฟื้นฟูอิสลามขึ้นมาใหม่  เป็นตัวอย่างระหว่างความประณีตละเอียดอ่อนของร็อบบานียีน(ผู้ที่มีชีวิตอยู่เพื่ออิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺและมีความรู้ที่สมบูรณ์แบบ)และการยึดมั่นในเอกภาพของอัลลอฮฺของสลาฟียีน(ผู้ที่ยึดมั่นในแนวทางสลัฟ-ชนรุ่นแรก) เป็นตัวอย่างการรักษาพันธะของซุนนียีน(ผู้ดำเนินตามสุนนะฮฺของท่านนบีฯ)และการมีการศึกษาตามแบบของมุอาศิรีน(คนในยุคร่วมสมัย)
ท่านเป็นแหล่งน้ำแห่งอัล-กุรอานและอัซ ซุนนะฮฺอันบริสุทธิ์ อย่างมีความรู้และความเข้าใจ ที่เต็มไปด้วยรสชาติและการปฏิบัติ จนใช้ดื่มกินและดับกระหายได้ ท่านเป็นตัวอย่างของความเชี่ยวชาญในวรรณกรรมอาหรับ วรรณกรรมเปอร์เซีย และวรรณกรรมอูรดู  ในตัวของท่านเต็มไปด้วยคลังแห่งมรดกอิสลามที่มั่งคั่ง ท่านเป็นบุคคลตัวอย่างที่ยึดมั่นในสิ่งที่ชัดเจนและละทิ้งในสิ่งคลุมเคลือ แบบอย่างที่ดีงามนี้เห็นได้ชัดเจนจากสโลแกนของขบวนการนัดวะตุล อุลามาอฺ ที่ว่า
เชื่อมระหว่างมรดกสิ่งสืบทอดจากอดีตที่ดีงามให้เข้ากับสิ่งใหม่ที่ให้คุณและประโยนช์ อีกทั้งต้องประสานระหว่างศรัทธาที่หนักแน่นเข้ากันความรู้ที่กว้างขวาง


อ้างอิงจาก เอกสารประกอบการสอนรายวิชา นักคิดและกลุ่มฟื้นฟูอิสลาม เรียบเรียงโดย อาจารย์อับดุลลาตีฟ การี อาจารย์ประจำคณะอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น