วันอังคารที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2554

ขบวนการฟื้นฟูอิสลามในปากีสถาน ญามาอะห์อิสลามียะห์


           สังคมอิสลามหรือที่เรียกกันว่าสังคมมุสลิมนั้น เกิดขึ้นเป็นเวลาประมาณ 1430 กว่าปี เริ่มต้นการเผยแผ่ศาสนาอิสลามในประเทศอาหรับ โดยมีจุดกำเนิดที่มักกะฮฺ  คนแรกนั้นคือท่านศาสดามุหัมมัด ( ซ.ล. ) ขณะเริ่มต้นนั้น ท่านได้ทำการเผยแผ่ศาสนาเพียงคนเดียว ต่อมาก็มีคนเข้ามานับถืออย่างมากมาย ท่านใช้เวลาในการเผยแผ่ที่มักกะฮฺและมาดีนะฮ์เป็นเวลา 23ปี ในขณะนั้นอิสลามได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่เป็นหนึ่ง หรือที่เรียกว่าศาสนาที่เป็นหนึ่งเดียว หลังจากท่านเสียชีวิตก็ทำให้อิสลามแบ่งพรรคแบ่งฝ่ายจนมาถึงปัจจุบัน
            ในสังคมปัจจุบันที่เต็มไปด้วยสิ่งแวดล้อมที่เป็นฉนวนสู่การกระทำในสิ่งที่ไม่ดี และในสิ่งเหล่านี้มันทำให้ศาสนาอิสลามต้องเต็มไปด้วยความอัปยศ จนทำให้ต้องมีผู้หรือกลุ่มที่จะมาดูแลรักษา หรือป้องกันสังคมอิสลามให้เป็นไปตามสังคมที่ท่านศาสดาอาศัยอยู่ในทุกๆด้านของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นทางด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและอื่นๆ ซึ่งผู้รับผิดชอบหรือกลุ่มที่จะเข้ามาช่วยดูแลและดำเนินตาม อัล-กุรอานและอัซ-ซุนนะฮฺ มีหลายต่อหลายกลุ่มด้วยกัน เช่น ญามาอะห์อิควาน อัล-มุสลิมีน ญามาอะห์ฮารอกะฮฺ อัน-นะฮฺเดาะห์ ญามาอะห์อันนูร ญามาอะห์ดะวะฮตับลีฆ และในที่นี้ขอกล่าวทางด้านของกลุ่มเคลื่อนไหวหรือพรรคการเมืองที่อยู่บนพื้นฐานของอัล-กุรอานและอัซ-ซุนนะฮฺ นั้นคือ ญะมาอัตอิสลามีย์ ปากีสถาน ซึ่งกลุ่มหรือพรรคการเมืองนี้ เป็นกลุ่มที่คอยให้การช่วยเหลือกลุ่มชนมุสลิมในอนุทวีปดินเดีย ให้ดำรงตามแบบท่านศาสดา
            จะเห็นได้ว่าทุกยุคทุกสมัยนั้นจะมีกลุ่มหรือผู้คนที่จะมาช่วยในการฟื้นฟูอิสลามให้กลับมาอยู่ในแนวทางที่เที่ยงตรง กลุ่มเหล่านี้เป็นกลุ่มที่สำคัญในการดูแลรักษาศาสนาให้มาถึงเรา และในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้นั้น เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากที่เราควรต้องรู้ทางด้านผู้ที่นำศาสนามาถึงเรา
ญามาอะห์ อิสลามีย์ ปากีสถาน


1                นิยามของคำว่าขบวนเคลื่อนไหวอิสลาม
       คำว่า ขบวนการเคลื่อนไหวอิสลาม ณ ที่นี้ ท่านยูสุฟ อัล-ก็อรฺฎอวีย์ ได้ให้ความหมายว่า งานที่ถูกจัดระเบียบและกระทำเป็นหมู่คณะโดยประชาชน เพื่อฟื้นฟูสภาพของอิสลามให้หวนคืนสู่สภาวะการเป็นผู้นำของสังคม และเป็นหางเสือของชีวิตอีกครั้งหนึ่ง
2         ญามาอะห์อิสลามีย์ปากีสถาน
       ขบวนการญามาอะห์อิสลามีย์ ปากีสถามเริ่มต้นขึ้น ในปี ค.ศ. ๑๙๓๓ อันเป็นปีที่ เมาลานา เมาดูดี เริ่มนำบทความเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินชีวิต ตามแบบอิสลามตีพิมพ์ลงใน วารสารรายเดือนภาษาอุรดูของเขา ที่ชื่อ ตัรญุมัน อัลกุรอาน วารสารฉบับนี้ได้ให้ความสนใน ทางด้านปัญหาผลกระทบของอารยธรรมสมัยใหม่ที่มีต่อคนมุสลิมในสมัยนั้น และท่านได้ใช้วารสารฉบับนี้ ในการคัดค้านปรัชญาวัตถุนิยมสมัยใหม่ที่กำลังแพร่หลายในหมู่เยาวชนมุสลิมที่ประเทศอินเดีย ก่อนที่เราจะพูดถึง ญะมาอัต อิสลามมี ปากีสถาน เราจำเป็นต้องรู้ก่อนว่า ทำไมถึงต้องมีญะมาอัต และประเทศปากีสถานนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร ทั้งๆที่ในอดีตนั้นไม่เคยปรากฏเลยว่า ประเทศปากีสถานนั้นมีอยู่ และใครเป็นผู้ร่วมขบวนการแบ่งแยกดินแดน และที่สำคัญคือ ในอดีตอินเดียเป็นประเทศ    หรือ อาณาจักรอิสลาม แต่ทำไมปัจจุบันเป็นประเทศพุทธ หรือการปกครองที่ไม่ใช่อิสลาม
3                          
                สัญลักษณ์ ญามาอะห์ อิสลามีย์ ปากีสถาน

4                หัวหน้าญามาอะห์อิสลามีย์ปากีสถาน

1 . อาบู อะลา อัลเมาดูดีย์  ดำรงตำแหน่งในปี ค.ศ. 1941-1972

2 . มีอาน ตูฟัย มุหัมมัด ดำรงตำแหน่งในปี ค.ศ. 1972-1897

3 . อัลกอดีย์ ฮุเซ็น อะหมัด ดำรงตำแหน่งในปี ค.ศ. 1987-2009

4 . ซัยยิด มุเนาวาร ฮาซัน ค.ศ. 2009 จนถึงปัจจุบัน


5 . นาย ลียากอต บาลูจญ (Liaquat Baloch) เลขาธิการ ญามาอัต อี อิสลามียฺ ของปากีสถาน   คนปัจจุบัน


5                ประวัติการก่อตั้งก่อตั้งญามาอะห์อิสลามีย์ ปากีสถาน
       หลังจากอังกฤษได้เข้ามาครอบครองอินเดีย และได้สร้างความเป็นวัตถุนิยม จนทำให้ประชาชนที่เคยอาศัยตามแบบอิสลามที่อินเดีย ที่เคยมีความเจริญในทุกๆด้านของชีวิต เช่น การค้าขาย การอยู่ร่วมในสังคม เปลี่ยนเป็นแบบอังกฤษ ที่อาศัยชีวิตโดยต้องพึ่งพาวัตถุ ต้องพึ่งพาผู้คนมากกว่าที่จะพึ่งพาพระเจ้า โดยมีปัจจัยหลักทำให้การเปลี่ยนแปลงในจุดนั้นเป็นจุดกำเนิดของกลุ่มญามาอะห์อิสลามีย์ ปากีสถานดังต่อไปนี้
1                  ปรัชญาวัตถุนิยมสมัยใหม่แพร่หลายในหมู่เยาวชนมุสลิม คือ หลังจากที่กลุ่มล่าอาณานิคมได้เริ่มการล่าอย่างเอาจริงเอาจังในศตวรรษที่ ๑๘ เช่น โปตุเกต ฝรั่งเศษ อิตาลี โดยเฉพาะอังกฤษ ที่ได้ครอบครองอย่างมากมายในทวีปเอชีเยตะวันออกเฉียงใต้  และประเทศอินเดียก็เป็นประเทศหนึ่งที่อยู่ภายใต้การครอบครองของอังกฤษ และอังกฤษก็ได้เริ่มแพร่หลายในคำว่าปรัชญาวัตถุนิยม ในทุกด้านการอาศัยชีวิต เช่น การแต่งกาย การเลี้ยงดูบุตร และอีกมากมาย จนทำให้อินเดียเป็นประเทศวัตถุนิยม ในจุดนี้เองที่ท่านอาบูอะลา อัลเมาดูดี้ เห็นจุดเปลี่ยนแปลง และท่านก็เริ่มคิดที่จะมาเปลี่ยนแปลงสภาพสังคมในอินเดีย
2                 เริ่มต้น ค.ศ. 1933 ( แนวทางการดำเนินชีวิตตามแบบอิสลามตีพิมพ์ลงใน วารสารรายเดือน ที่ชื่อ ตัรญุมัน อัลกุรอาน ) คือ หลังจากที่ประเทศอินเดียกลายเป็นประเทศวัตถุนิยม ที่ได้เปลี่ยนแปลงประชาชนอย่างมากมาย โดยเฉพาะเยาวชนมุสลิมที่เริ่มจะเอาความเป็นวัตถุนิยมมาเป็นตัวหลักในการดำเนินชีวิต ท่านอาบูอะลา อัลเมาดูดี้ ก็เริ่มที่จะเปลี่ยนแปลงโดยการตีพิมพ์ วารสารรายเดือนที่มีชื่อว่า ตัรญุมัน อัลกุรอาน โดยท่านได้เริ่มตีพิมพ์ในปี ค.ศ. ๑๙๓๓ และท่านก็ได้ใช้งานเขียนต่างต่างของท่านในการรณรงค์ให้มีการกลับมาอาศัยชีวิตแบบอิสลาม ท่านใช้เวลาก่อนการก่อตั้งญามาอะห์อิสลามีย์ 8  ปีด้วยกัน และสุดท้ายก็ประสบผลสำเร็จดั่งที่ท่านหวัง
3                 26 สิงหาคม ค.ศ. 1941 เชิญผู้ที่เห็นด้วยประมาณ 75 คน ( ลาโฮร์ ) เพื่อก่อตั้งญามาอะห์อิสลามีย์ ( สมาคมอิสลาม ) คือ หลังจากที่ท่านได้รณรงค์เป็นเวลา ๘ ปี ท่านก็ได้เชิญผู้ที่จะเข้าร่วมกับท่าน โดยมีการประชุมที่ ลาโฮร์ ในปี ค.ศ. ๑๙๔๑ มีผู้เข้าร่วมประมาณ ๗๕ คนด้วยกัน ในการประชุมครั้งนั้น ได้มีการพูดคุยหลายเรื่องด้วยกัน ส่วนใหญ่จะเป็นประเด็นที่เกี่ยวกับการดำรงชีวิตของประชาชนในอินเดีย และประเด็นหลักก็คือ การก่อตั้ง สมาคมญามาอะห์อิสลามีย์ปากีสถาน
4                 เชาดรี เราะฮฺมัต อะลี เสนอชื่อรัฐอิสลามว่า ปากีสถาน คือ ท่านผู้นี้ก็เป็นคนหนึ่งที่เข้าร่วมการประชุมครั้งนั้น และท่านก็เป็นผู้ที่เสนอชื่อกลุ่มหรือสมาคมที่จะมาดูแลประชาชนหลังจากการแบ่งแยกประเทศปากีสถานออกจากอินเดีย
5                 ใน ค.ศ.1947 ประกาศเกี่ยวกับการแบ่งแยกอินเดีย คือ ในปีนี้เองที่ประเทศปากีสถานได้รับเอกราชจากประเทศอินเดีย และได้ก่อตั้งปากีสถานเป็นประเทศโดยมีองค์กรดูแลโดยหลายกลุ่มด้วยกัน หนึ่งในนั้นก็เป็นกลุ่มญามาอะห์อิสลามีย์ ปากีสถาน
6                 ในวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 1947 ปากีสถานก็ปรากฏขึ้นบนแผนที่โลก คือ หลังจาการแบ่งแยกดินแดน ก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องลงทะเบียน การเกิดขึ้น หรือ การได้รับเอกราช จากการได้รับเอกราช ก็มีการตั้งชื่อทางราชการว่าสาธารณรัฐอิสลามแห่งปากีสถาน ประกอบด้วยปากีสถานตะวันตกและปากีสถานตะวันออก คือ ปากีสถานตะวันตกเป็นปากีสถานปัจจุบัน ส่วนปากีสถานตะวันออกเป็นประเทศ บังกลาเทศปัจจุบัน
7                 ลอร์ด เมาท์แบทเทน ข้าหลวงอังกฤษคนสุดท้าย ไม่ยอมให้แคชเมียร์ เป็นของปากีสถาน คือ ในการแบ่งแยกครั่งนั้นมีข้อตกลงว่า ในจังหวัดใดที่มีมุสลิมมากก็ให้เป็นปากีสถาน ส่วนจังหวัดใดมีมุสลิมน้อยกว่าผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมก็ให้เป็นอินเดีย และในจังหวัดแคชเมียร์นั้น มีมุสลิมมากแต่ข้าหลวงคนนี้ไม่ยอมให้เป็นประเทศปากีสถาน จนทำให้เกิดการขัดแย้งระหว่างมุสลิมปากีสถานกับฮินดูอินเดีย มีการสู้รบหลายต่อหลายครั้งด้วยกัน มีการฆ่าผู้คนอย่างมากมาย เนื่องจากการแบ่งแยกแล้วก็ได้มีการอพยพของประชาชนทั้งสอง กลับสู่แผ่นดินของตน  
8                 ในปี ค.ศ.1971 ปากีสถานตะวันออกก็แยกเป็นรัฐมุสลิมบังกลาเทศ  โดยมีชื่อทางราชการว่า สาธารณรัฐประชาชนแห่งบังคลาเทศ

6                สาเหตุที่ก่อตั้งญามาอะห์อิสลามีย์ ( ค.ศ. 1941 )
1                 จะทำอย่างไรที่จะช่วยเหลือคนมุสลิมไว้ถ้าหากว่าประเทศไม่ถูกแบ่งแยก คือ จาการเริ่มการปฏิวัติขอแยกประเทศในอินเดียนั้น ได้เกิดความคิดที่ว่าถ้าปากีสถานไม่สามารถแยกได้ ไม่สามารถเป็นประเทศเอกราช จะทำอย่างไรกับคนมุสลิมที่อยู่ในประเทศอินเดีย ซึ่งแน่นอนว่าคงจะเป็นเรื่องยากที่คนหรือกลุ่มที่ได้ชื่อว่าปฏิวัติ จะอาศัยอยู่ในอินเดียอย่างคนปกติได้อย่างไร
2                 จะทำอย่างไรสำหรับมุสลิมที่ต้องตกค้างอยู่ในอินเดีย ถ้าหากว่าประเทศถูกแบ่งแยก คือ จากการเสนอหรือปฏิวัติ คือ ในการต่อสู้เพื่อแบ่งแยกปากีสถานออกจากอินเดียได้รับผลสำเร็จแล้ว จะมีวิธีหรือมาตรการอย่างไร หรือจะช่วยเหลือผู้คนที่ต้องตกค้างอยู่ในประเทศอินเดียอย่างไร เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ครั้นในอดีตประเทศอินเดียนั้น มีผู้ปกครองที่เป็นมุสลิม หรือเรียกว่ารัฐมุสลิม ก็ต้องมีคนที่นับถืออิสลามเป็นอย่างมากและก็ต้องมีคนอิสลามอาศัยชีวิตอย่างกระจัดกระจายตามพื้นที่ต่างๆในอาณาจักรอินเดีย ทางญะมาอัตก็เลยต้องให้ความสำคัญกับผู้คนที่ต้องตกค้าง เมื่อมีการแบ่งแยกประเทศกัน
3                 จะทำอย่างไรที่จะป้องกันรัฐมุสลิมใหม่มิให้ต้องเป็นรัฐที่มิใช่อิสลามและสร้างมันขึ้นมาให้เป็นรัฐอิสลามแท้จริง คือ หลังจากที่ได้แบ่งแยกประเทศปากีสถานออกจากอินเดียแล้วก็ย่อมมีปัญหาใหม่เกิดขึ้นมา โดยจะหลีกเลี้ยงไม่ได้เลยนั้นคือ การที่จะรักษาหรือการดำเนินซึ่งการปกครองแบบอิสลาม ในประเทศที่มีประชาชนที่เป็นอิสลาม ญะมาอัตได้มีแผนการว่า จะต้องตั้งผู้ที่จะมาดูแลประเทศปากีสถาน ซึ่งในการดูแลครั้งนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีพรรคการเมือง ซึ่งญามาอะห์เองก็ได้ก่อตั้งญามาอะห์อิสลามีย์ ปากีสถานขึ้นมา ในนามหรือในคราบของพรรคการเมืองโดยมีเหตุผลว่าสามารถที่จะดูแลประเทศได้อย่างครบหรือเต็มรูปแบบ

7                วัตถุประสงค์ของญามาอะห์อิสลามีย์
        ต้องการทำให้พฤติกรรมของชีวิตมนุษย์ทุกขั้นตอนไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความศรัทธา อุดมการณ์ ศาสนา จริยธรรม ศีลธรรม การศึกษา สังคม วัฒนธรรม ระบบเศรษฐกิจ การเมือง กฎหมาย การพิจารณาคดี สงคราม ตลอดจนกิจการภายในประเทศและระหว่างประเทศวางอยู่บนหลักแห่งการเชื่อฟังกฎหมายของพระผู้เป็นเจ้า
1 . การศรัทธา คือ หลังจากที่อังกฤษได้เข้ามาครอบครองอินเดียและได้นำมาซึ่งวัตถุนิยมสมัยใหม่ จากการนำเข้ามานั้นมีหลายด้านด้วยกัน เช่นการศรัทธา คืออังกฤษได้นำวิชาปรัชญาเข้ามา และได้ใช้ปรัชญาในการปกครอง ซึ่งทำให้ผู้คนที่นับถือศาสนาอิสลามได้ออกหางจากศาสนาและใช้วิชาปรัชญาในการดำรงชีวิตและทำให้ศาสนาอิสลามตกต่ำอย่างมาก เลยต้องมีกลุ่มที่ช่วยดูแลศาสนาให้ดำรงไว้ซึ่งศาสนาที่เที่ยงตรง
2 . อุดมการณ์ คือ กลุ่มญะมาอัตได้รักษาอุดมการณ์ที่กลุ่มได้ตั้งไว้ในช่วงเริ่มแรกของการก่อตั้งกลุ่มญะมาอัต ที่มีใจความโดยกว้างๆว่า จะดำรงซึ่งคำว่าอิสลามให้คงอยู่ตลอดไป ซึ่งอิสลามในที่นี้ เป็นการดำรงชีวิตตามแบบซุนนะฮของท่านรอซูล
3 . การศึกษา คือ ทางกลุ่มญะมาอัตได้มีเป้าหมายว่าจะต้องเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษา แลสร้างระบบการศึกษาให้เป็นแบบอิสลามให้เกิดขึ้นในประเทศปากีสถาน และสร้างผู้ที่จะมาดูแลสืบต่อไป ซึ่งสามารถเรียกได้ว่า ผู้รู้หรืออุลามาอฺทางด้านศาสนาและทางด้านโลกหรือควบคู่กัน
4 . สร้างสังคมและเศรษฐกิจ คือ มีแนวความคิดที่จะสร้างสังคมและเศรษฐกิจให้เป็นแบบอิสลามทั้งที่อยู่ในประเทศและนอกประเทศ

8                แผนงานเริ่มต้นของญามาอะห์อิสลามีย์
1                     1                    เผยแพร่อุดมการณ์อิสลาม ในขั้นแรกของการดำเนินงานของญะมาอัติคือ เผยแพร่อุดมการณ์ของอิสลามให้แก่ประชาชนมุสลิม นั้นก็คือ แนวทางที่ตามอัล-กุรอานและอัซ-ซุนนะฮฺของท่านนบีมุหัมมัด
2                 ฝึกระเบียบวินัยให้แก่ชุมชนมุสลิม ในอนุทวีปเพื่อให้คนเหล่านั้นนำไปปฏิบัติ ได้มีการนำผู้ที่เป็นสมาชิกของญะมาอัต มาฝึกระเบียบวินัยต่างๆ ที่อิสลามได้สอนไว้ แล้วนำมาประยุกต์ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น

9                หน้าที่ของตำแหน่งผู้นำของญามาอะห์
1                 1                   จงรักภัคดีและเชื่อฟังพระผู้เป็นเจ้าและแบบอย่างของท่านศาสดามูฮัมมัดเหนืออื่นใด เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ทุกคนที่นับถือศาสนาอิสลามนั้น ต้องปฏิบัติตามในสิ่งที่พระองค์อัลลอฮฺสั่งและละเว้นในสิ่งที่พระองค์ห้าม ซึ่งข้อนี้เป็นข้อหนึ่งที่ผู้นำจะต้องปฏิบัติ
2                 คำนึงถึงสวัสดิการของญะมาอัตและรับผิดชอบในหน้าที่เหนือกว่าความสะดวกสบายส่วนตัว คือต้องเข้าใจว่าผู้ที่ดำเนินตามของการดะอฺวะฮฺหรือผู้ที่มาเพื่อการปฏิรูปสังคมมุสลิมนั้นต้องให้ความสำคัญต่อการรับผิดชอบและต่อกลุ่มมากกว่าส่วนตัว
3                 จัดระเบียบสมาชิกของญะมาอัตด้วยความยุติธรรม คือผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้นำแล้วต้องรู้ว่าการทำงานนั้นต้องอยู่บนพื้นฐานที่ว่าให้งานเหมาะกับผู้คน โดยที่ไม่เลือกว่าเป็นญาติหรือเพื่อน ต้องคำนึงถึงคำว่าหน้าที่เป็นหลักและผู้ที่จะมาทำนั้นต้องเป็นผู้ที่มีความชำนาญทางด้านงานที่มอบให้
4                 รักษาความไว้วางใจที่ญะมาอัตมอบหมายให้ คือความไว้วางใจหรือความซื่อสัจนั้นเป็นประการหลักที่จะอยู่ร่วมในสังคม ถ้าเราย้อนกลับไปดูท่านศาสดาของเราที่ได้ชื่อว่า อัล-อามีน ซึ่งในที่นี้ก็เช่นกันที่ผู้ที่เป็นผู้นำต้องมีเพื่อสร้างความมั่นใจแก่สมาชิก
5                 ยึดมั่นในธรรมนูญและพยายามทุกวิธีทางที่จะบริหารญะมาอัตให้เป็นไปตามนั้น คือผูนำทุกคนต้องมีธรรมนูญในการดำรงชีพ แต่ก็ไม่ใช่ว่าผู้นำคนเดียว ทุกคนที่นับถือศาสนาอิสลามต้องเอาธรรมูญมาเป็นแนวทางหลักในการอาศัยชีวิต (ธรรมนูญที่นี้ คือ อัล-กุรอานและอัซ-ซุนนะฮฺ

10        หน้าที่สภากลางญามาอะห์อิสลามีย์
1                     1                     กำหนดนโยบายของญะมาอัต
2                 ถอดถอนผู้นำออกจากญะมาอัต ถ้าหากสมาชิกสภากลางจำนวนสองในสามร้องขอ
3                 ตรวจสอบเรื่องการเงินและงบประมาณ
4                 เชื่อฟังต่อพระผู้เป็นเจ้าและศาสดาเหนือสิ่งอื่นใด
5                 ดูแลการทำงานของผู้นำของญะมาอัตและของตนเองอยู่เสมอ
6                 เข้าร่วมประชุมของสภาเป็นประจำ
7                 แสดงความคิดเห็นด้วยความซื่อตรงในนกิจการทุกด้านตามความรู้และความสำนึกของตัวเอง
8                 ละเว้นจากการสร้างพวกสร้างกลุ่มในญะมาอัต

11        ญามาอะห์ อิสลามีย์มีรายได้เป็นของตัวเอง
1                     1                  กำไรจากการขายหนังสือ
2                 ซะกาตของสมาชิก
3                 ของขวัญจากผู้ที่สนับสนุนญะมาอัต
4                 การขายหนังสัตว์จากการที่ถูกเชือดในวันตรุษอีดิลอัฎฮา

การมีประเทศปากีสถาน
            หลังจากการล่มสลายของอาณาจักรโมกุลที่อินเดีย ทำให้อิสลามได้สูญเสียสิ่งสำคัญมากมาย แต่ก็ต้องยอมรับว่าในช่วงท้ายของอาณาจักรโมกุลนั้นอ่อนแออย่างมาก จนทำให้เกิดช่องว่างที่ทำให้ศัตรูอย่างอังกฤษเข้ามาบุกรุก หลังจากการเข้ามาครอบครองของอังกฤษนั้น ทำให้สังคมในอินเดียเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย โดยเฉพาะทางด้านการดำรงชีวิต เพราะว่าอังกฤษได้นำความเป็นวัตถุนิยมเข้ามา จนทำให้คนอินเดียจมอยู่กับความเป็นสมัยใหม่ และจากการตกต่ำของศาสนาอิสลามที่อินเดีย เลยทำให้อาบูอะลาเกิดแนวความคิดที่จะแบ่งแยกปากีสถานออกจากอินเดีย จากความสามารถของท่านและผู้ร่วมขบวนการนั้น ทำให้ปากีสถานเกิดขึ้นมาในแผนที่โลกของปัจจุบัน วันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 1947 และจากการเกิดประเทศนั้นยังไม่เพียงพอกับการดูแลประชาชาติอิสลาม จนทำให้ท่านเกิดความคิดที่ว่าต้องมีผู้มาดูแลอิสลามในปากีสถาน ซึ่งผู้ที่จะมาดูแลปากีสถานนั้นคือกลุ่มญะมาอัตอิสลามีย์ ปากีสถาน


12        งานด้านต่างๆ ที่นักฟื้นฟูได้กระทำไปในการฟื้นฟูอิสลาม

1                       1              วินิฉัยความเจ็บไข้ของสังคม
2                 แผนการปฏิรูป
3                 ประมาณขีดจำกัดและทรัพยากร
4                 การปฏิวัติทางสติปัญญา
5                 การปฏิรูปทางการปฏิบัติ
6                 การใช้ดุลยพินิจ ( อิจญติฮาด )
7                 ปกป้องอิสลาม
8                 ฟื้นฟูระบบอิสลาม
9                 การปฏิวัติสากล 


                                                                                                             อ้างจาก 
1                 โดย : ดร. อับดุรฺ  รออุฟประวัติศาสตร์อิสลามและโลกมุสลิม.   แปลและเรียบเรียง : บรรจง  บินกาซัน.   พิมพ์ครั้งที่  2  : สำนักพิมพ์ อัล อะมีน
2                 โดย : มัรยัม  ญะมีละฮฺ.   ขบวนการฟื้นฟูอิสลาม.   แปล : บรรจง  บินกาซันพิมพ์ครั้งที่ 3  :   สำนักพิมพ์ อิสลามิค อะเคเดมิค
3                 ยูสุฟ อัลก็อรฺฏอวีย์  เขียนขบวนการเคลื่อนไหวอิสลามกับการท้าทายของยุคสมัย.   มุฮัมมัด  ศิรอญุดดีน  แปลพิมพ์ครั้งที่ 1 ธันวาคม 2547.  พิมพ์ที่  หจก. นัทชา พริ้นติ้ง : สำนักพิมพ์ อิสลามิค อะเคเดมิค
                      
เรียบเรียงโดย ฆอซาฟี มะดอหะ 

1 ความคิดเห็น: