วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2554

มุมมองของความเจริญของอาณาจักรอุษมานียะห์หรือออตโตมาน ในด้านต่างๆ


                   รัฐอิสลามของบานีย์อุษมาน (อาณาจักรอุษมานียะห์) ได้ครอบครองจนถึงสุดยอดของความเจริญในศตวรรษที่ 10  ฮิจเราะห์  ซึ่งได้ครอบคลุมอาณาเขตถึง  3  ทวีปได้แก่  ทวีปเอเชีย  ทวีปยุโรป  และทวีปแอฟริกาจากการปกครองของอาณาจักรอุษมานียะห์ที่กว้างนั้นทำให้ประชาชาติมุสลิมมีหลายเชื้อชาติและต่างกันในเรื่องบุคลิกลักษณะ  เช่น  ตุรกี  อาหรับ  กุรดี  ตุรกมาน  บาร์บาร์ (Berber)  บัลคอรียา  บอสเนีย  ฮังการี  ออสเตรเลีย  และอื่นๆ
                นอกจากมุสลิมที่นับถือศาสนาอิสลามแล้ว  ก็ยังมีคริสเตียนที่มีนิกายออโธด๊อก (Orthodox) และในส่วนหนึ่งพวกก็เป็นยิวที่มาจากยุโรป พวกเขาได้รับความเท่าเทียมกันในการอยู่อาศัยความยุติธรรมในปกครองของอาณาจักรอุษมานียะห์
                ประชาชาติในสมัยนั้นมีจำนวนประมาณ  50 ล้าน ซึ่งจำนวนนี้เป็นจำนวนที่ยิ่งใหญ่ หากจะเปรียบกับยุโรป ส่วนใหญ่เป็นประชาชาติยุโรปซึ่งมีทั้งหมดหนึ่งล้าน และอังกฤษมีประชาชาติไม่เกิน 5 ล้านคน
1. ด้านการปกครอง
                การปกครองอาณาจักรอุษมานียะห์  ซึ่งควบคุมด้วยดังนี้
1.             สุลต่าน
2.             ครอบครัวของสุลต่าน
3.             หัวหน้าทหาร (แม่ทัพ)
4.             หัวหน้ารัฐบาล (นายกฯ)
5.             ทหารทางการ  จากทหารม้า
6.             ทหารมัรยัม
7.             ทหารเทคนิคการสงคราม
8.             ทหารบกและทหารม้า (เรือ)
นอกจากนี้ยังมีสำนักอื่นๆ เช่น  อาจารย์-ครู (ฆูรู) คณะกรรมการมัสยิด และองค์กรช่วยเหลือ และผู้พิพากษาและอื่นๆ

2. ด้านการศึกษา
                อาณาจักรอุษมานียะห์เน้นในเรื่องของการศึกษาเป็นอย่างมาก  เหมือนกับอาณาจักรอิสลามในอดีตที่ผ่านมา  ซึ่งสถาบันการศึกษาเกิดขึ้นมากมายในอาณาจักรอุษมานียะห์ในเอเชียและยุโรป  รัฐบาลอุษมานียะห์ได้แบ่งการศึกษาให้เสมอภาคโดยไม่แบ่งชั้น สถานศึกษาที่สำคัญ คือ มัดราวะห์   มักต้าบ        ตำนักในสถานพยาบาล   มัสยิด    ตลอดจนบรรดาอูลามาอ  ซึ่งจะมีบทบาทอย่างมากในการพัฒนาการศึกษาของอาณาจักรอุษมานียะห์

3. ด้านสังคม
                สังคมอุษมานียะห์ได้แบ่งชนชั้น  เช่น
1.             ชนชั้นปกครอง 
2.             และชนชั้นถูกปกครอง 
ชนชั้นปกครอง ได้แก่  สุลต่าน  ข้าราชการในพระราชวัง  ทหารต่างๆ กอฎี  มุฟตี  อูลามาอ  รวมทั้งเจ้าหน้าที่ต่างๆ ในสำนักการคลัง  ส่วนชนชั้นภายใต้การปกครอง ได้แก่  ประชาชนผู้อยู่อาศัยในเมือง  ในชนบท  และอื่นๆ ประชาชน  ผู้ถูกปกครองมีทั้งศาสนาอิสลาม  คริสต์  ยิว  และอื่นๆ
                อาณาจักรอุษมานียะห์ได้เน้นในเรื่องของเกษตรกรรม  การค้าขาย  และเศรษฐกิจ
             ประมุขสูงสุดของอาณาจักรอุษมานียะห์  เรียกว่า  ปะดีชะห์  หรือ  สุลต่าน   ผู้มีอำนาจรองลงมา คือ  ไซคุลอิสลาม ราชบัลลังก์ ส่วนใหญ่จะเป็นการสืบทายาทบุคคลที่จะเป็นรัชทายาทต้องเป็นบุคคลในราชวงศ์อุษมานียะห์นั้น  อาจจะเป็นโอรสหรือนุชาของสุลต่านก็ได้  มีการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์  พระราชวังเป็นศูนย์กลางการปกครอง  และในการบริหารราชการแผ่นดิน  มีสภาสูงสุด (Divan-I-Humayan หรือ Imperial Council) ทำหน้าที่ดูแลกิจการของราชอาณาจักรโดยมีปะดีชะห์ หรือ สุลต่านเป็นประธาน
                ในสมัยของสุลต่านสิบองค์แรกอาณาจักรอุษมานียะห์ซึ่งเป็นยุคที่เรียว่า  ยุคที่มีความเจริญรุ่งเรือง  ความก้าวหน้าในทุกๆ ด้านอย่างมาก  บทบาทของแต่ละสุลต่านนั้นจะมีความแตกต่างกันซึ่งไม่อาจกล่าวได้    ที่นี้

4. ลักษณะสังคมของอาณาจักรออตโตมาน
                ลักษณะสังคมของอาณาจักรออตโตมาน  แบ่งชนชั้นออกเป็น  2  กลุ่มใหญ่ๆ  คือ
8.3.3.1 ชนชั้นปกครอง  (the ruling class)
8.3.3.2 ชนชั้นถูกปกครอง  (the subject class-rayas)

            4.1.  ชนชั้นปกครอง (the ruling class)
                ชนชั้นปกครองเป็นที่รู้จักในนามของครอบครัวอุษมาน  (osmanlilar)  เพราะผู้รับใช้สุลต่านราชวงศ์ล้วนแล้วเป็นบุคคลในครอบครัวอุษมาน  เช่น  ทหาร  (askar)  มีหน้าที่สำคัญจะต้องปกป้องราชบัลลังก์สุลต่านและดินแดนของราชอาณาจักร  สมาชิกของชนชั้นปกครองต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1)            ต้องยอมรับนับถือศาสนาอิสลามและปฏิบัติตามหลักการอิสลามอย่างเคร่งครัด
2)            ต้องจงรักภักดีต่อสุลต่านและราชวงศ์
3)            ต้องรู้และปฏิบัติตามวัฒนธรรม  ภาษาตามแบบของออตโตมานสมาชิกของชนชั้นปกครองแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม  ตามหน้าที่  คือ
1)            สถาบันราชวัง
2)            สถาบันทหาร
3)            สถาบันทางวัฒนธรรมและศาสนา
4)            สถาบันอาลักษณ์  (kalamiye)  

4.2 ชนชั้นใต้การปกครอง  (ประชาชนทั่วไป)
                ประชาชนทั้งหมดที่อาศัยอยู่ในราชอาณาจักรออตโตมานที่มิได้เป็นชนชั้นปกครอง  (ruling class)  ได้จัดเป็น  กลุ่มชนที่ได้รับการปกป้อง สุลต่านผู้ปกครองอาณาจักรจะเป็นผู้ให้การดูแลด้านความเป็นอยู่ การทำมาหากิน  ประชาชนจะตั้งองค์กรขึ้นมาเองตามความประสงค์และเป้าหมายได้  ซึ่งมีอยู่มากมายหลายองค์กร  ในสังคมออตโตมานกฎหมายต่างๆ และสิทธิการปกป้องตนเองของชนชั้นได้การปกครองได้รับความร่วมมือจากชนชั้นปกครองตลอดจนสุลต่านอีกด้วย
                ประชาชนในอาณาจักรออตโตมานสามารถแบ่งโดยอาศัยเกณฑ์ต่างๆ ดังต่อไปนี้
3.1  แบ่งประชาชนตามประเภทที่อยู่อาศัย
3.2  แบ่งประชาชนตามการนับถือศาสนา
3.3  แบ่งประชาชนตามลักษณะอาชีพ
3.4 แบ่งประชาชนตามที่อยู่อาศัย
                หากจะแบ่งประชาชนได้การปกครองตามประเภทที่อยู่อาศัย  สามารถแบ่งได้เป็น  2  ประเภท  คือ
                3.1.1  ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเมืองและชนบท
                3.1.2  ประชาชนที่เร่ร่อน

                4.2.1  ผู้ที่อาศัยอยู่ในเมืองและชนบท
ผู้ที่อาศัยอยู่ในเมืองมักได้รับสิทธิพิเศษต่างๆ จากสุลต่าน  เช่น  ได้รับยกเว้นการจ่ายภาษีหลายประเภท  ยกเว้นจากการใช้แรงงาน  ซึ่งคนในชนบทถูกบังคับให้ใช้แรงงาน  การที่ชาวเมืองมีสิทธิพิเศษนี้ทำให้ชาวชนบทปรารถนาที่จะย้ายเข้ามาอยู่ในเมืองกันมาก  โดยเฉพาะเมืองใหญ่ๆ การอพยพเข้ามาอยู่ในเมืองจึงถูกชนชั้นปกครองขัดขวาง  และชั้นปกครองก็ได้จำกัดสิทธิพิเศษมากขึ้น  เพื่อป้องกันการอพยพของชาวชนบท  เกษตรกรในชนบทพยายามที่จะเข้าไปตั้งหลักแหล่งในเมืองก็ถูกบังคับให้เดินทางกลับไปอยู่ในชนบทดังเดิม  แต่ถ้าใครอยู่ในเมืองถึง 10 ปี  และมีอาชีพประจำก็สามารถเป็นชาวเมืองได้  ที่อยู่อาศัยของชาวเมืองแต่ละคนจะถูกบันทึกไว้ในทะเบียน  CADASTRAL ของพระคลัง ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการตรวจสอบการเรียกเก็บภาษี และจะได้รู้ถึงสถานภาพของประชาชนแต่ละคนในราชอาณาจักรอีกด้วย
                3.1.2 ประชาชนที่เร่ร่อน
                นอกจากสังคมชนชั้นสูงในวัง  สังคมเมืองและชนบทแล้วยังมีประชาชนที่เร่ร่อนอีกจำนวนมาก  พวกนี้จะอาศัยอยู่ตามภูเขา  ทุ่งหญ้ากว้าง  และในทะเลทราย  บุคคลเหล่านี้จะปลอดพ้นจากกฎเกณฑ์และระเบียบต่างๆ  ของรัฐบาลกลาง  ส่วนมากมักอยู่ในโดบรูคา (DOBRUCA)  บางส่วนของอัลบาเนีย  (ALBANIA)  บริเวณภูเขาในบอลข่าน  ยุโรปตะวันออกและอนาโตเลียตะวันออก  รวมทั้งทางตอนใต้ของคอเคซัส  พวกเขาเหล่านี้จะมีการรวมตัวเป็นกลุ่มเรียกว่า ชนเผ่าเร่ร่อน (ULUS)  หัวหน้าของกลุ่มแต่ละกลุ่มหรือเผ่าแต่ละเผ่าจะสืบทอดทายาทกันโดยคนในตระกูลเดียวกัน  เรียกว่า เบย์ (BEY)  ในหมู่ชาวเติร์กจะเรียกว่า “SEYH”  ในกลุ่มชาวอาหรับจะมีผู้ช่วยหัวหน้าเผ่าเรียกว่า “KETHUDAS”  ทำหน้าที่ดูแล  แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในหมู่พวกเผ่าชนของตน  และเป็นผู้ประสานงานกับฝ่ายเจ้าหน้าที่ของรัฐ  รายได้ถูกๆรวบรวมเป็น “TIMARI”  หรือ HASS”  และครอบครัวสุลต่านหรือเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสุลต่านจะเป็นผู้จัดการเรื่องรายได้  เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ประสานงานกับกลุ่มชนหรือเผ่าต่างๆ นี้เรียกว่า “TURKMEN AGAS”  ซึ่งเป็นผู้รับรองหัวหน้าเผ่าคนใหม่  หากมีการเปลี่ยนแปลงหัวหน้า  รวบรวมภาษีต่างๆ  และนำกฎข้อบังคับของรัฐมาประกาศใช้ในยามที่จำเป็นซึ่งต้องใช้กอฎีทหาร  มีการแต่งตั้งเป็นการเฉพาะให้มาดุแลพวกเผ่าชนเหล่านั้น  พวกกลุ่มชนเหล่านี้ส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์  ล่าสัตว์  และทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์  พวกเขาจะเป็นผู้อำนวยความสะดวกแก่ชาวเมืองเป็นอย่างมาก  เช่น  พวกเขาสามารถหาเนื้อสัตว์ต่างๆ  และนำมันไปหาชาวเมือง  พวกนี้จะรับใช้ชาติโดยการเป็นทหาร  พวกเขาคอยควบคุมดูแลเส้นทางตามสามแยกหรือสี่แยกต่างๆ  และทางผ่านภูเขา  พวกเขาจะเป็นผู้ตัดถนนหนทาง  สร้างสะพาน  สร้างกำแพงเมือง  และดูแลขบวนคาราวาน  พวกเหล่านี้ยังถูกเกณฑ์ให้ขุดคูระบายน้ำแก่ผู้ที่อยู่อาศัยใกล้แม่น้ำ  และยังเป็นผู้ต่อเรือแก่กองทัพเรืออีกด้วย
                    4.2  แบ่งประชาชนตามการนับถือศาสนา
                ประชาชนส่วนใหญ่ของราชอาณาจักรออตโตมานนับถือศาสนาอิสลามจึงใช้กฎหมายอิสลาม  แต่ชนชั้นใต้การปกครองมิใช่มีแต่มุสลิมเท่านั้น  สุลต่านไม่สามารถที่จะใช้กฎหมายอิสลามเพียงประการเดียวได้  เพราะจะต้องใช้กฎหมายกับศาสนิกชนอื่นๆ ด้วย  จึงทำให้เกิดระบบมิลเล็ต (MILLET) ขึ้นคือ ระบบสังคมที่มีลักษณะชุมชนหลายชุมชน โดยมีกรอบของ ศาสนา เป็นหลัก แต่ละคนแต่ละกลุ่มจะอาศัยอยู่ในมิลเล็ตใดก็ได้ตามศาสนาที่ตนนับถือ ประชาชนมีสถานภาพและตำแหน่งทางสังคมตามมิลเล็ตที่ตนสังกัดอยู่เท่านั้น โดยทั่วไปแล้วชนชั้นปกครองจะได้เป็นผู้นำมิลเล็ต เพื่อทำหน้าที่ประสานงานติดต่อกับสุลต่านหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ
                ชาวออตโตมานจัดระบบสังคมเป็นมิลเล็ต  ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15  มิลเล็ตที่ใหญ่ที่สุดคือ  มิลเล็ตของคริสเตียนนิกายออร์ธิด็อกซ์  ซึ่งมีพวกสลาฟรวมทั้งประชาชนที่อาศัยอยู่ในกรีกและโรมันในอดีต  นิการออร์ธอด็อกซ์ในอาณาจักรออตโตมานสามารถแบ่งออกเป็น  3  กลุ่มใหญ่  คือ
                1)  กลุ่มที่ผู้นำศาสนาคริสต์ที่มีอิสระก่อนที่ออตโตมานจะพิชิตคอนสแตนติโนเปิล
                2)  กลุ่มที่ผู้นำศาสนาคริสต์ที่บัลแกเรียก่อตั้งเมือง OHRID  และ  TIRNOVO
                3)  กลุ่มชาวเซร์บที่อาศัยอยู่ในIPEK โดยยึดตามนิกายกรีกออร์ธอด็อกซ์ในกรุงคอนสแตนติโนเปิล
                ผู้นำศาสนาคริสต์ได้รับการยอมรับจากสุลต่านอีกทั้งมีการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการพิธีการต่างๆ  ทางศาสนาคริสต์ก็สามารถให้มีได้  โดยสุลต่านจะไม่ก้าวก่าย
                ในสมัยสุลต่านเมห์เมดที่ 2  ชาวยิวก็ได้สิทธิ์ให้มีมิลเล็ตเช่นเดียวกัน  มีรับไบ (RABBI)  แห่งกรุงอิสตันบูลเป็นผู้นำได้รับสิทธิ์ต่างๆ ในการจัดการกลุ่มของตนเช่นเดียวกับผู้นำศาสนาคริสต์
                กลุ่มชาวคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกอีกกลุ่มหนึ่งรวมตัวในราชอาณาจักรในเวลานั้นคือ กลุ่มมารอไนท์แห่งเลบานอน  นอกจากนั้นก็มีกลุ่มคาทอลิกละตินในฮังการีโครเอเชีย อัลบาเนีย ซึ่งต่อมาเพิ่มจำนวนมากขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 16
                สำหรับมิลเล็ตของมุสลิมเป็นมุสลิมนิกายซุนนี แต่ก็ยังมีมิลเล็ตซูฟี ( Sufi) ซึ่งมีแนวคิดเกี่ยวกับสิ่งเร้นลับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวคิดเกี่ยวกับพระเจ้า แนวคิดซูฟีเข้าสู่อนาโตเลียพร้อมๆกับการเข้ามาของชาวเติร์ก
                นอกจากนั้นก็มีลัทธิอื่นๆ ของหลายลัทธิที่เผยแพร่แนวคิดของตนเอง ลัทธิที่สำคัญคือ กลุ่ม Mevlevisคำสอนมักใช้เสียงร้องเพลงและการเต้นรำเป็นสื่อในการเข้าใกล้พระเจ้า ผู้ริเริ่มของลัทธินี้คือ Mevlana Celaluddin Rumiในคริสต์ ศตวรรษที่ 13 คำสอนของเขาดึงดูดชนชั้นปกครองจำนวนมาก
                4.3 แบ่งประชาชนตามลักษณะอาชีพ
                การแบ่งประชาชนตามลักษณะอาชีพในสังคมออตโตมานสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มเกษตรกร  กลุ่มช่างฝีมือ และกลุ่มพ่อค้าวานิช
                               4.3.1. กลุ่มเกษตรกร
                ตั้งแต่ยุคแรกๆ ของการสถาปนาอาณาจักรออตโตมานจึงถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ผู้ครอบครองที่ดินเกษตรกรรมก็คือ  พระเจ้าแผ่นดินหรือสุลต่านนั่นเอง  ซึ่งถือเป็นลักษณะของเจ้าผู้ครองที่ดินและผู้จัดการเกี่ยวกับที่ดินทั้งหมดตามกฎหมายของสุลต่าน(Kanun)สิทธิในการทำมาหากินในที่ดินที่จะให้เช่าแก่เกษตรกรเป็นหน่วย ( Unit เรียกว่า ‘Cieflik’ )เกษตรกรจะได้รับการแบ่งตามลักษณะตามขอบเขตของที่ดิน โดยปกติแล้วหน่วยที่ดิน Ciflik จะมีขนาดตั้งแต่ 60 -150 donum ( 1 donumเท่ากับ1000ตารางเมตร) ผู้ที่สามารถถือครองที่ดินทำกินคือ เกษตรกรทั้งมุสลิมและมิใช่มุสลิมจะได้ส่วนแบ่งที่เหมือนกันและจะมีการจดบันทึกสำหรับผู้ถือครองให้เป็นเหมือนถือครองทรัพย์สินของตนเองจริงๆ ถึงแม้ว่าความจริงแล้ว ที่ดินทั้งหมดจะเป็นทรัพย์สินของสุลต่าน ทุกๆปีเกษตรกรจะต้องจ่ายเงิน 22 akceไม่ว่าเกษตรกรจะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เท่าไร ซึ่งน่าเป็นภาษีที่ดินมากกว่าภาษีรายได้ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 เมื่อสุลต่านและชนชั้นปกครองต้องการเงินส่วนนี้มากขึ้นทำให้ต้องจ่ายภาษีเพิ่มขึ้นเป็นเงิน 33akceและ 50 akceในเวลาต่อมาทั้งในอนาโตเลียและซีเรีย ส่วนในยุโรปยังคงเป็น 22 akce ผลที่ตามมาก็คือ ค่าของเงิน akce ลดลง ทำให้รัฐจะต้องเก็บภาษีพิเศษขึ้น  ซึ่งต่อมากลายเป็นภาษีที่ต้องจ่ายตามปกติ หลีกเลี่ยงมิได้โดยเก็บจากผลผลิตของเกษตรกร
                เกษตรกรทุกคนได้รับอนุญาตให้แบ่งที่ดินที่ถือครองอยู่ย่อยลงไปอีกแต่ต้องอยู่ในข้อจำกัดตามที่ทางการกำหนด และไม่สามารถโอนที่ดินให้ผู้อื่นได้หากที่ดินดังกล่าวถูกปล่อยไว้ ไม่ทำประโยชน์ติดต่อกันเป็นเวลานาน3 ปีก็อาจจะโอนแก่เกษตรกรคนอื่นได้
                                  4.3.2. กลุ่มช่างฝีมือ
                กลุ่มช่างฝีมือได้จัดตั้งเป็นสมาคมขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาและพัฒนาคุณภาพของช่างฝีมือ และจำกัดการรับสมาชิกใหม่เพื่อรักษาราคาสินค้าและผลกำไร ป้องกันการผูกขาด การเป็นสมาชิกของสมาคมมีอยู่หลายประเภท  ทางสมาคมเป็นมุสลิมทั้งหมด บางสมาคมเป็นคริสต์เตียน  บางสมาคมเป็นยิว สมาคมอื่นๆ นอกจากสมาคมทั้งทั้งสามที่กล่าวมาแล้วก็รวมตัวกัน  จากบุคคลที่นับถือศาสนาแตกต่างกัน และชนชั้นที่ต่างกัน สมาคมแต่ละสมาคมประกอบด้วยช่างฝีมือชั้นเยี่ยมจำนวนหนึ่งเรียกว่า  ‘VATA’หรือ‘USTA’องค์กรบริหารโดยผู้นำสมาคมเรียกว่า ‘SEYH’   เป็นผู้นำทั้งด้านศีลธรรมและผู้นำด้านจิตใจ นอกจากนั้นยังมีเจ้าหน้าที่บริหารในแต่ละวันและมีเจ้าหน้าที่ที่มีความรับรับผิดชอบใน การใช้กฎเกณฑ์ของสมาคม ซึ่งเรียกว่า ‘YIYIT BASI’ ส่วน ISCI BASI ก็ทำหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพของงาน ผู้ที่มีประสบการณ์ทำหน้าที่ในการคัดเลือกและฝึกฝนสมาชิกใหม่ที่จะเข้ามาในสมาคม
                                    3.3.3 กลุ่มพ่อค้าวาณิช
ในขณะที่เกษตรกรและช่างฝีมือต้องจ่ายภาษีจากกำไรให้แก่รัฐ แต่กลุ่มพ่อค้าวาณิชได้รับการยกเว้น  พวกนี้ไม่ต้องจ่ายค่าเช่าในการดำเนินกิจการ  ทำให้สมาคมรวมเงินทุนและยิ่งเพิ่มกำไรให้พวกเขา   กฎหมายอิสลามได้กำหนดกฎเกณฑ์เท่าที่จะกำหนดได้เพื่อกิจการรวมหุ้นกันหรือความร่วมมือทางธุรกิจอื่นๆ   ดังนั้นเงินทุนและกิจการต่างๆจะนำมารวมกันเพื่อหาผลกำไร  การดอกเบี้ยถือว่าเป็นสิ่งผิดกฎหมาย  แต่ก็ยังมีการเรียกเก็บในรูปแบบต่างๆ อยู่ตามประเพณีนิยมของชาวตุรกี  จะชื่นชมบรรดาพ่อค้าในสังคม  พ่อค้ามีเงินมากจะเป็นผู้ให้ยืมเงิน
             พ่อค้าวาณิชชาวออตโตมานโดยแท้จะทำการค้าขายระดับนานาชาติอีกด้วย  ในคริสต์ศตวรรษที่15 และ 16 เมืองบุรซา  อิสตันบูล ไคโร แอดิรแน (เอ็ดเดรียโนเปิล) และซาโลนิกา  เป็นเมืองศูนย์กลางทางการค้า  บุรซาเป็นเมืองท่าที่สำคัญและเป็นที่แลกเปลี่ยนสินค้ากับเอเชียกลาง  พ่อค้าในแอดิรแนทำการค้าขายกับยุโรป ส่งสินค้าประเภทเครื่องทอจากกรุงอิสตันบูล  อนาโตเลีย  ไคโร  และอเล็กซานเดรีย  เป็นศูนย์กลางการค้าทาส  ทองและยา
            นอกจากนั้น นักธุรกิจออตโตมานยังติดต่อกับปารีส  ฟลอเรนซ์  และลอนดอน  เพื่อแลกเปลี่ยนสินค้ากับเสื้อผ้ายุโรป  ซึ่งเป็นที่นิยมในราชอาณาจักรออตโตมาน  พ่อค้าฝ้าย  นำฝ้ายจากอนาโตเลียตะวันตก อียิปต์ เยเมนไปขายในยุโรปตะวันออก  กรุงอิสตันบูลจึงเป็นทั้งเมืองหลวงและศูนย์กลางทางธุรกิจของออตโตมาน

 อ้างจาก หนังสือหลักการบริหารในอิสลาม 3 สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น