วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2554

มุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ

ชัยค์ มุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ
<!--[if !vml]--><!--[endif]-->
          เชคมุฮัมมัด เป็นบุตรของอับดุลวะฮ์ฮาบ บุตรของสุไลมาน บุตร ของอาลี บุตรของมุฮัมมัด บุตรของอะห์มัด บุตรของรอชิด บุตรของบุรอยด์ อัตตะมีมีย์ อันนัจดีย์
          ท่านเชคมุฮัมมัด สืบเชื้อสายมาจากเผ่าตะมีมแห่งแค้วนนัจด์ บรรดานักประวัติทางสายพันธ์ต่างลงความเห็นว่า ตระกูลตะมีมเป็นลูกหลานของอิสลาม บุตรมุฏ็อร ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เชื้อสายของท่านบรรจบลงกับเชื้อสายของท่านนะบีมุฮัมมัด <!--[if !vml]-->s<!--[endif]--> ที่ อิลยาส อิบนุมุฏ็อร ปู่ลำดับที่ 16 ของท่านนะบีมุฮัมมัด <!--[if !vml]-->s<!--[endif]-->
         เชคมุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ เกิดในปี ฮ.ศ.1115 / ค.ศ.1703 ณ เมืองอุยัยนะฮ์ ในหุบเขาฮะนีฟะฮ์ ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของแค้วนนัจด์ และทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอัรริยาฏ เมืองอุนัยยะฮ์ในสมัยนั้นมีสองตระกูล ตระกูลที่มีอำนาจในการปกครองได้แก่ตระกูลมุอัมมัร อีกตระกูลเป็นตระกูลทางด้านวิชาการและทางศาสนา คือ ตระกูลมุชัรรอฟ ซึ่งเป็นตระกูลที่  เชคมุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ สังกัดอยู่ บิดาของท่านเป็นตุลาการของเมืองอุยัยนะฮ์ และเป็นนักฟิกฮ์ ตามแนวทางของอิหม่ามอะห์มัด อิบนุ ฮัมบัล ขณะเดียวกันท่านเชคมุฮัมมัด ได้ทำการสอนวิชาฟิกฮ์และหะดิษให้แก่ผู้สนใจ ในเมืองอุนัยยะฮ์ ทั้งในมัสยิดและในบ้านของท่าน ซึ่งการศึกษาในสมัยนั้นยังไม่เป็นระบบเช่นปัจจุบัน
          เชคอับดุลวะฮ์ฮาบ มีบุตร 2 คน คือ มุฮัมมัด และ สุไลมาน อัลลอฮ์ทรงเปิดหัวใจให้มุฮัมมัด ได้มีความรู้แตกฉานจนได้รับฉายานามว่า "ชัยคุลอิสลาม" เป็นผู้ฟื้นฟูการเผยแพร่ศาสนาอิสลามที่ถูกต้อง และทำการปฏิรูปสังคมมุสลิมที่ยิ่งใหญ่ในแคว้นนัจด์ ซึ่งต่อมาได้แผ่ขยายออกไปยังทั่วคาบสมุทรอาหรับ และกลุ่มประเทศอิสลาม
          การเผยแพร่อิสลามของเชคมุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ เป็นการเผยแพร่ในแนวสลัฟ โดยยึดแนวทางมัซฮับ ฮัมบาลีย์ทางด้านฟิกซ์ และแนวทางอัลกุรอานและซุนนะฮ์ทางด้านอะกีดะฮ์ ส่วนสุไลมานเป็นนักวิชาการ ดำรงตำแหน่งคุลาการในเมืองหุรอยมิลาอ์


การเจริญวัย
          เชคมุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ เติบโตในบ้านแห่งวิชาการ และมีความเคร่งครัดทางด้านศาสนา บิดาของท่านได้ทำหน้าที่อบรมและเลี้ยงดู ทั้งยังได้สั่งสอนวิชาศาสนา และภาษาอาหรับให้กับท่าน รวมทั้งฟิกฮ์ในแนวทางของอิหม่ามอะห์มัด อิบนุ ฮัมบัล ท่านเป็นผู้ที่มีความเฉลียวฉลาด มีความจำเป็นเยี่ยม โดยที่ท่านท่องจำอัลกุรอานได้จบเล่มเมื่ออายุได้ 10 ปี
          ท่านอ่านหนังสือทุกชนิดที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือฟิกฮ์ ตัฟซีร หะดิษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตำราที่เขียนโดย เชคตะกียุดดีน อิบนุตัยมียะฮ์ และตำราของลูกศิษย์ของอิบนุตัยมียะฮ์ คือ อิบนุกอยยิม อัลเญาซียะฮ์ เตาฮีดที่ถูกต้อง และหลักการที่ตรงกันข้ามกับเตาฮีด จึงทำให้ท่านเป็นผู้หนึ่งที่ได้รับการจารึกชื่อ ร่วมกับอิหม่ามทั้งสามท่าน ซึ่งเรียกร้องให้ฟื้นฟู นามว่า "นาซิรุซซุนนะฮ์" (ผู้สนับสนุนซุนนะฮ์) อิหม่ามชัยคุอิสลาม อิบนุตัยมียะฮ์ และอิหม่ามอิบนุกอยยิม อัลเญาซียะฮ์ ซึ่งอยู่ในบรรดานักฏิรูป และนักเผยแพร่ในประวัติศาสตร์อิสลาม
การเดินทางแสวงหาความรู้
          เชคอับดุลวะฮ์ฮาบ ทราบดีถึงความต้องการของบุตรชาย คือเชคมุฮัมมัด ในการแสวงหาวิชาความรู้เพิ่มเติม ท่านจึงอนุญาตให้เชคมุฮัมมัดออกเดินทางไปเพื่อแสวงหาวิชาความรู้ โดยที่ท่านได้เดินทางไปยังมักกะฮ์เพื่อประกอบพิธีฮัจญ์ แล้วเดินทางต่อไปยังเมืองมะดีนะฮ์ และพำนักอยู่ที่นั่นเพื่อแสวงหาความรู้ อาจารย์คนสำคัญของท่านได้แก่ เชคมุฮัมมัด หะยาต์ อัซซินดีย์ อัลมะดะนีย์ ผู้เขียนคำอธิบายโดยสรุปในหนังสือซอเฮี๊ยะฮ์อิหม่ามอัลบุคคอรีย์
          ต่อมาท่านได้เดินทางกลับเมืองอุยัยนะฮ์ และเดินทางไปยังเมืองบัศเราะฮ์ โดยได้ติดต่อกับนักวิชาการในเมืองนั้น และได้มีการอภิปรายกันเกี่ยวกับรากฐานทางอะกีดะฮ์ และเตาฮีด ในที่สุดท่านก็ได้จากเมืองนั้น โดยเดินทางไปยังเมืองอะห์ซาอ์ ซึ่งเป็นแหล่งชุมนุมของนักวิชาการและนักปราชญ์ ซึ่งท่านได้รับความรู้อย่างมากมายจากบรรดานักวิชาการเหล่านั้น ต่อจากนั้นเดินทางต่อไปยังเมืองหุรอยมิลาอ์ ซึ่งบิดาของท่านได้อพยพไปอาศัยอยู่ในเมืองนี้
         ระหว่างที่ท่านอยู่ในเมืองหุรอยมิลาอ์ ท่านได้พบปะกับผู้คนและได้เห็นขนบธรรมเนียมทางด้านสังคม และหลักความเชื่อถือในศาสนาที่ผิดๆ ซึ่งไม่มีความแตกต่างกับเมืองอื่นๆ ในแคว้นนัจด์ ท่านจึงตั้งใจที่จะแก้ไขหลักการศรัทธาของชาวเมืองให้ถูกต้อง พร้อมกับให้ยึดมั่นในแนวทางคัมภีร์อัลกุรอานและซุนนะฮ์ของท่านเราะซูล <!--[if !vml]-->s<!--[endif]--> ท่านได้นำเสนอทัศนะ อภิปรายแลกเปลี่ยนความเห็นกับบรรดานักวิชาการ ท่านคัดค้านท่าทีของนักวิชาการที่นิ่งเฉย โดยไม่ต่อต้านการกระทำที่เป็นบิดอะฮ์ (อุตริกรรม) และการกระทำชิริก(ตั้งภาคี) แต่พวกเขาไม่ตอบสนองคำเรียกร้องของเชคมุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ เพราะเกรงกลัวการกลั่นแกล้งของบรรดาผู้ปกครองเมือง ซึ่งพวกเขาต้องการที่จะรักษาประเพณีเดิมๆเอาไว้ โดยไม่ยอมรับการพัฒนาและแก้ไข
จรรยามารยาทของท่าน
          เชคมุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ เป็นผู้ที่มีจรรยามารยาทที่ดีงาม มีความสนใจในการอ่านตำรา พูดจาฉะฉาน เป็นผู้ที่มีเหตุผลและมีหลักการในการหาหลักฐานมายืนยันเมื่อมีการอภิปรายและโต้แย้งกัน ท่านอุทิศชีวิตของท่านในการเผยแพร่ศาสนาอิสลามด้วยความบริสุทธิ์ใจ และด้วยความจริงจัง ท่านมีความมั่นใจในความรู้ของท่าน หลังจากที่ท่านได้ท่องจำอัลกุรอาน ท่านได้ให้ความสนใจในการศึกษาตำราของบรรดานักวิชาการผู้ปฏิรูปจำนวนมาก จึงทำให้ท่านมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาทางด้านความคิด ขจัดสิ่งที่เป็นอุตริกรรม และสิ่งไร้สาระออกจากคาบสมุทรอาหรับ
         ด้วยความกล้าหาญ มีความฉลาดและมีไหวพริบ ทำให้บรรดานักวิชาการและผู้นำในสำนักต่างๆ ไม่อาจจะเอาชนะท่านได้ในทุกครั้งที่มีการอภิปรายกัน ทำให้นักศึกษาและผู้แสวงหาความรู้ตามแนวทางสลัฟให้การสนับสนุนท่าน จึงทำให้ชื่อเสียงของท่านขจรขจายไปทั่วคาบสมุทรอาหรับและในโลกอิสลาม ในฐานะเป็นผู้ปฏิรูปและเรียกร้องเชิญชวนบรรดามุสลิมให้กลับมายึดมั่นในคำสอนของอิสลามที่ถูกต้องจากอัลกุรอานและซุนนะฮ์ของท่านเราะซูล <!--[if !vml]-->s<!--[endif]-->
 ขั้นตอนในการปฏิรูปของเชคมุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ
         ปัจจัยที่ทำให้เชคมุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ กลายเป็นนักเผยแพร่อิสลาม นักต่อสู้และนักปฏิรูป ได้แก่
1. ครอบครัว
         เป็นที่ทราบดีว่า เชคมุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ เติบโตภายในครอบครัวของนักวิชาการ นักการศาสนา และเป็นครอบครัวที่ดำรงธรรม บิดาของท่านเป็นตุลาการที่มีชื่อเสียง เป็นนักนิติบัญญัติอิสลามในแนวทางของอิหม่ามอะห์มัด อิบนุ ฮัมบัล และด้วยความเมตตาของอัลลอฮ์ <!--[if !vml]-->azzavayallaa<!--[endif]-->ที่ทรงประทานจิตสำนึกและสติปัญญาอันเฉียบแหลม ทำให้ท่านมีความศรัทธาอย่างแรงกล้า และหนักแน่น มีจิตใจที่แน่วแน่ในการเผยแพร่บัญญัติอิสลามที่ถูกต้อง และมีจิตใจมุ่งมั่นในการปฏิรูปสังคมมุสลิมสู่แนวทางที่เที่ยงตรง
2. สภาพแวดล้อม
          การที่เห็นหลักความเชื่อมั่นที่ไม่ถูกต้อง การปฏิบัติตามประเพณี และการกระทำที่เป็นอุตริกรรม การสาบานต่อสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮ์ <!--[if !vml]-->azzavayallaa<!--[endif]--> โดยที่บรรดาผู้ปกครองและนักวิชาการต่างๆละเลย ไม่ตักเตือนและชี้แนะสู่ความถูกต้อง ความเสียหายเช่นนี้ทำให้เชคมุฮัมมัด ตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะทำการปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้อง
3. การศึกษา
         เชคมุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ ได้เริ่มทำการศึกษาด้วยการอ่านตำราของเชคตะกียุดดีน อิบนุ ตัยมียะฮ์ จึงทำให้แนวคิดของท่านได้ซึมซับแนวทางปฏิรูปจาก อิบนุ ตัยมียะฮ์ แม้ว่ายุคของอิบนุ ตัยมียะฮ์ จะห่างไกลกันมากกับยุคของท่านก็ตาม แต่ทว่าสภาพทางสังคมของยุคของท่านมีความคล้ายคลึงกัน ขณะเดียวกัน ตำราและความเห็นของ อิบนุ กอยยิม ก็มีผลอย่างมากในการเผยแพร่ศาสนาอิสลามของ เชคมุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ
4. การเดินทางไปแสวงหาความรู้ตามหัวเมืองต่างๆ
        ซึ่งทำให้ท่านเก็บเกี่ยวความรู้และประสบการณ์ พร้อมกับได้เห็นสภาพสังคมมุสลิม ที่ยึดมั่นในบัญญัติอิสลาม และละเลยบัญญัติอิสลาม
การเริ่มเผยแพร่อิสลาม
         หลังจากที่  เชคมุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ ออกเดินทางจากเมือง"อัลอะห์ซาอ์"ไปยังเมือง"หุรอยมีลาอ์" ท่านก็เริ่มเผยแพร่อิสลามที่ถูกต้อง และได้สั่งสอนประชาชนถึงความหมายที่แท้จริงของคำว่า "เตาฮีด" อันเป็นความหมายที่ถูกต้อง สูงส่ง พร้อมกับเรียกร้องให้ละทิ้งจากการวิงวอนขอจากกุโบร ขจัดสิ่งที่เป็นอุตริกรรม (บิดอะฮ์) และสิ่งไร้สาระ พร้อมกับหลีกห่างจากการทำบาปใหญ่และการทำชิริก
          ณ ตำบลหุรอยมีลาอ์ บางคนก็ดำเนินตามคำเชิญชวนของท่าน บางคนก็คัดค้านการเผยแพร่ของท่าน ผู้ที่เป็นศัตรูได้วางแผนทำร้ายท่าน โดยให้พวกอันธพาลวางแผนฆ่า ท่านจึงหลบออกจากเมืองหุรอยมิลาอ์
การทำลายกุบูร(หลุมฝังศพ)
         เป็นที่ทราบกันดีว่า ที่เมือง อัลอุยัยนะฮ์ มีกุบูรอยู่มากมาย โดยที่บางแห่งมีการสร้างโดมครอบไว้ ขณะเดียวกันก็มีการเยี่ยมเยือนกุบูร เพื่อแสดงการให้เกียรติและเทิดทูนยกย่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกุบรูของบรรดาศอฮาบะฮ์และบรรดาคนวะลี  ในบรรดากุบูรเหล่านี้ได้แก่กุบูรของท่าน อิบนุ คอฏฏอบ ซึ่งเป็นศอฮาบะฮ์ท่านหนึงของท่านเราะซูล <!--[if !vml]-->s<!--[endif]--> เป็นน้องชายของคอลีฟะฮ์ อุมัร เสียชีวิตลงในสงครามริดดะฮ์ ฮ.ศ.12 กุบูรซึ่งอยู่ใกล้ตำบลอัลญุบัยละฮ์ ซึ่งอยู่ระหว่างเมืองอัดดริอียะฮ์ และเมืองอัลอุยัยนะฮ์
          ประชาชนได้มาเยี่ยมกุบูรของท่าน อิบนุ คอฏฏอบ มาบนบานและแก้บน ซึ่งเป็นการแสดงถึงการทำชิริก(ตั้งภาคี) อย่างเปิดเผย  ท่าน เชคมุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ จึงได้ออกไปที่กุบรูพร้อมทหารขอเจ้าชาย อุสมาน อิบนุ มุอัมมัร ผู้ปกครองเมือง อัลอุยัยนะฮ์ โดยได้ทำลายโดมที่ครอบกุบรู และทำลายกุบูร พร้อมกับปรับพื้นดินให้ราบเรียบ
         การกระทำของ เชคมุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ เป็นที่โจษจันท์กันอย่างกว้างขวางในแคว้นนัจด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มของผู้ที่ไม่มีความรู้ เพราะพวกเขาเชื่อว่าการทำลายโดมและกุบูรของท่านอิบนุ คอฏฏอบ จะต้องเกิดภัยพิบัติอย่างใหญ่หลวงแน่นอน และเชคมุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ จะต้องประสบกับความหายนะ
ครั้นเมื่อเวลาได้ผ่านพ้นไปหลายวัน หลายสัปดาห์ ก็ไม่ปรากฏว่ามีภัยพิบัติใดๆเกิดขึ้น และเชคมุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ ก็ยังคงปกติดีอยู่ จึงทำให้ผู้คนจำนวนมากมีความนิยมเลื่อใสในตัวท่าน และเชื่อว่าหลักการศาสนาที่ท่านได้นำมาเสนอนั้นมีความถูกต้อง

การเผยแพร่อิสลามของเชคมุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ
         ด้วยการที่อัลลอฮ์ <!--[if !vml]-->azzavayallaa<!--[endif]-->ทรงประทานให้ เชคมุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ เป็นผู้ที่มีบุคคลิก มีความสุขุม นอบน้อมถ่อมตน มีไหวพริบที่ชาญฉลาด มีความรู้แตกฉาน มีความเชี่ยวชาญ พูดจาฉะฉานและมีพลังศรัทธาที่แน่นแฟ้น ทำให้ท่านเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสมในการพูดให้ผู้อื่นเชื่อและศรัทธาในการเรียกร้องเชิญชวนของท่าน ซี่งเป็นการเรียกร้องไปสู่สัจธรรม ที่ตั้งอยู่บนการรู้จักอัลลอฮ์ <!--[if !vml]-->azzavayallaa<!--[endif]--> การรู้จักศาสนาของอัลลอฮ์ <!--[if !vml]-->azzavayallaa<!--[endif]--> การรู้จักท่านเราะซูล <!--[if !vml]-->s<!--[endif]--> อันเป็นไปตามดำรัสของอัลลอฮ์ <!--[if !vml]-->azzavayallaa<!--[endif]--> ความว่า
"จงเรียกร้องสู่แนวทางแห่งพระเจ้าของสูเจ้าโดยสุขุม และการตักเตือนที่ดี และจงโต้แย้งพวกเขาด้วยสิ่งที่ดีกว่า แท้จริงพระเจ้าของพระองค์และพระองค์ทรงรู้ดียิ่งถึงบรรดาผู้ที่อยู่ในทางที่ถูกต้อง" (อันนะห์ล / 125)
         ดังนั้น บ้านของ  เชคมุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ ในเมือง"อัดดิรอียะฮ์" จึงเป็นคล้ายกับคณะนิติบัญญัติอิสลามในปัจจุบัน โดยมีนักศึกษาจากหัวเมืองต่างๆ เดินทางมาเพื่อจะทำการศึกษากับท่าน นอกจากท่านจะให้การศึกษาแบบมีระบบแล้ว ท่านยังได้เปิดการบรรยาย สนทนาธรรมกับบรรดานักวิชาการ และผู้อาวุโส ท่านทำหน้าที่แสดงคุฏบะฮ์ ให้การสั่งสอนอบรมแด่คนทั่วไป ทางด้านอะกีดะฮ์ ฟิกฮ์ รัฐศาสตร์ การบริหาร และสภาพของสังคม
         ท่านได้ส่งหนังสือ และจดหมายไปยังนักวิชาการ และบรรดาผู้ปกครองตามหัวเมืองในคาบสมุทรอาระเบีย บางคนก็ตอบสนองด้วยความยินดี ในการที่จะปฏิรูปการเผยแพร่ศาสนา และอีกบางคนก็คัดค้าน ท่านได้สร้างมัสยิดขึ้นที่เมือง"อัดดิรอียะฮ์" โดยท่านจะนำละหมาดทุกเวลา
         เชคมุฮัมมัด มิได้จำกัดการศึกษาเฉพาะผู้ชายเท่านั้น ท่านยังได้ใช้ให้บรรดาสตรีและเด็ก ได้ร่วมรับฟังบรรยาย และทำการศึกษาวิชาการต่างๆด้วย
ความเจริญรุ่งเรืองของเมือง "อัดดิรอียะฮ์"
         เมือง "อัดดิรอียะฮ์"  ก่อนที่เชคมุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ จะเดินทางไปพำนักอยู่ที่นั่น เป็นเพียงเมืองเล็กๆ เครื่องอุปโภคบริโภคมีเพียงจำกัด และแหล่งรายได้มีเพียงเล็กน้อย แต่ทว่าหลังจากเชคมุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ ได้พำนักอยู่ที่นั่น ก็มีผู้คนจำนวนมากเดินทางไปเพื่อทำการศึกษาวิชาความรู้ หรือหนีภัยจากการกดขี่ข่มเหงของผู้ปกครอง เชคมุฮัมมัด ได้ให้ความช่วยเหลือทางด้านการจัดหาที่พัก และค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เพื่อให้พวกเขามุ่งทำการศึกษาหาความรู้ เพื่อจะได้เป็นกำลังในการเผยแพร่ศาสนาอิสลามที่ถูกต้องในหัวเมืองคาบสมุทรอาหรับ และหัวเมืองอื่นๆ เพื่อฟื้นฟูอิสลามที่ถูกต้อง ขจัดสิ่งที่เป็นชิริก และสิ่งเลวร้าย ทำการปรับปรุงสังคมอย่างมีระบบ โดยมีพื้นฐานมาจากความรู้ทางศาสนา หลักนิติบัญญัติอิสลาม
          ชาวดิรอียะฮ์ มีความอดทนในความลำเค็ญและทุกข์เข็ญ พวกเขาทำการศึกษาเล่าเรียนในตอนกลางวัน และประกอบอาชีพการงานในตอนกลางคืน พวกเขาปฏิบัติตามฮะดิษของท่านะบีมุฮัมมัด <!--[if !vml]-->s<!--[endif]--> ซึ่งท่านอิบนุอับบาส ได้รายงานว่า
"พึงรู้เถิด แท้จริง ชัยชนะจะมีมาพร้อมกับความอดทน ทางออกจะมีมาพร้อมกับความทุกข์ยาก และแท้จริงความสะดวกง่ายดาย จะมีมาพร้อมกับความยากลำบาก"
         เวลาได้ผ่านพ้นไป เมือง"อัดดิรอียะฮ์" ได้มีความเจริญและขยายขอบเขตออกไปอย่างกว้างขวาง มีความมั่นคง มีความสงบสุข และได้กลายเป็นศูนย์กลางแห่งวิชาความรู้ มีรากฐานที่มั่นคง จนเป็นฐานรากของเมืองที่ขยายตัวออกไปเป็นประเทศซาอุดิอาระเบียดังเช่นในปัจจุบัน

อุปสรรคการเผยแพร่ศาสนาอิสลามของเชคมุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ
          การเผยแพร่อิสลามของเชค มุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ ต้องประสบกับภัยการขัดขวางของผู้ทีทีความอิจฉาริษยา และการต่อต้านของผู้ที่ไม่รู้ในศาสนา และอันธพาลชน โดยมีเป้าหมายเพื่อขัดขวางการเผยแพร่ของท่านทุกวิถีทาง
          ความพยายามในการต่อต้านการเผยแพร่ของเชค มุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ จุดชนวนขึ้นจากบรรดาเจ้าเมืองต่างๆ ในแคว้นนัจด์ และบรรดานักวิชาการบางคน เนื่องจากลัวว่าจะสูญเสียอำนาจ อิทธิพล และผลประโยชน์ พวกเขาพยายามกล่าวหา เชค มุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ ว่าได้เรียกร้องไปสู่ความหลงผิด และลบล้างความเชื่อมั่นของบรรดาบรรพบุรุษ พวกเขาได้เรียบเรียงตำราเพื่อตอบโต้ เชค มุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ และประโคมการโฆษณาเพื่อบิดเบือนข้อเท็จจริงต่างๆ
          ด้วยเหตุนี้จึงทำให้คนที่ขาดความรู้ ในแคว้นนัจด์ต่างต่อต้านการเผยแพร่ของ เชค มุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ เพราะพวกเขาไม่ได้ศึกษาในศาสนาอิสลามที่ถูกต้อง และยึดมั่นหลักการศรัทธาที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง พวกเขาคิดว่าหลักศาสนาคือการปฏิบัติตามประเพณีที่บรรพบุรุษได้ปฏิบัติสืบทอดกันมา
         เมื่อ เชค มุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ ได้นำเอาบัญญัติอิสลามที่ถูกต้องมาเสนอจึงเกิดกระแสต่อต้านอย่างกว้างขวาง ขณะเดียวกันบรรดาอุละมาอ์ที่มีส่วนในการรับผลประโยชน์ ได้ออกมาเรียกร้องให้ต่อต้านการเผยแพร่ของ เชค มุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ เนื่องจากความอิจฉาริษยา และหวงแหนในผลประโยชน์ทางด้านวัตถุ เกียรติยศ ชื่อเสียง อำนาจ และบารมี ซึ่งได้จากการทำพิธีกรรม การบนบาน ค่าธรรมเนียมในการเยี่ยมเยือนกุบูร(หลุมฝังศพ) ของศอฮาบะฮ์ และคนวะลีทั้งหลาย
ประเด็นที่ เชค มุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ ถูกกล่าวหาได้แก่
     1. เชค มุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ ทำลายกุบูร(หลุมฝังศพ) ของบรรดาศอฮาบะฮ์ และบรรดาผู้ที่เสียชีวิตในสงครามริดดะฮ์ โดยกล่าวหาว่าท่านกระทำโดยปราศจากหลักฐานทางบัญญัติศาสนามาสนับสนุน
     2. เชค มุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ   ถูกกล่าวหาว่าผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการเผยแพร่ศาสนาอิสลามของตนเป็นกาฟิร
     3. เชค มุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ ปฏิเสธการชะฟาอะฮ์ ของนะบีมุฮัมมัด <!--[if !vml]-->s<!--[endif]-->
          ด้วยความศรัทธาอย่างแน่นแฟ้น และการมีหลักฐานอย่างครบถ้วน เชค มุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ ได้ตอบโต้ข้อกล่าวหาของพวกเขาทั้งหมดดังนี้ คือ
     1. การทำลายกุบูร(หลุมฝังศพ)ของบรรดาศอฮาบะฮ์ และผู้ที่ตายชะฮีด ก็เนื่องจากว่าประชาชนทั้งหลาย ต่างไปวิงวอนขอความช่วยเหลือจากเจ้าของกุบูร ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการทำชิริก
     2. เชค มุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ ไม่เคยยืนยันว่าผู้ใดเป็นชาวสวรรค์ หรือชาวนรก นอกจากผู้ที่ท่านเราะซูล <!--[if !vml]-->s<!--[endif]--> ได้ยืนยันไว้แล้วเท่านั้น ขณะเดียวกันท่านก็วิงวอนขอต่ออัลลอฮ์ <!--[if !vml]-->azzavayallaa<!--[endif]-->ให้ทรงตอบแทนผู้ประกอบความดีด้วยสรวงสวรรค์ และตักเตือนผู้ทำชั่วให้ยุติการทำชั่ว มิเช่นนั้นแล้วเขาจะต้องถูกลงโทษในนรก
     3. เชค มุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ มิได้ปฏิเสธการชะฟาอะฮ์(การขอบรรเทาโทษ) ของท่านนะบีมุฮัมมัด <!--[if !vml]-->s<!--[endif]--> ยิ่งไปกว่านั้น ท่านยังหวังที่จะได้รับการชะฟาอะฮ์จากท่านนะบีมุฮัมมัด <!--[if !vml]-->s<!--[endif]--> สิ่งที่ท่านกล่าวยืนยันก็คือ การชะฟาอะฮ์จะต้องได้รับการอนุญาตจากอัลลอฮ์ <!--[if !vml]-->azzavayallaa<!--[endif]-->เท่านั้น และพระองค์ทรงตรัสว่า
"(มุฮัมมัด) จงกล่าวเถิดว่า การชะฟาอะฮ์ทั้งหมดนั้นเป็นของอัลลอฮ์" (อัซซุมัย / 44)
          กล่าวคือ การชะฟาอะฮ์จะมีขึ้นได้ก็ด้วยการอนุญาตจากอัลลอฮ์ <!--[if !vml]-->azzavayallaa<!--[endif]--> ไม่ว่าจะเป็นนะบีมุฮัมมัด <!--[if !vml]-->s<!--[endif]--> หรือนะบีคนใดก็ตาม หรือบุคคลใดก็ไม่มีการขอชะฟาอะฮ์ นอกจากต้องได้รับการอนุมัติจากพระองค์อัลลอฮ์ <!--[if !vml]-->azzavayallaa<!--[endif]-->  และอัลลอฮ์ <!--[if !vml]-->azzavayallaa<!--[endif]--> จะทรงไม่อนุญาตให้แก่ใครนอกจากผู้ที่เป็นมุสลิมเท่านั้น
          เชค มุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ จะตอบโต้ผู้ที่กล่าวหาท่านโดยการหยิบยกเอาตัวบทจากอัลกุรอาน และซุนนะฮ์มายืนยัน ท่านได้แต่งหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ "กัชฟุชชุบุฮาต" เปิดเผยสิ่งที่คลุมเครือ เพื่อตอบโต้ข้อกล่าวหาดังกล่าว
เชค มุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ กับเจ้าเมืองอัดดิรอียะฮ์
          เป็นที่ทราบดีว่า เชค มุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับ เจ้าชายมุฮัมมัด อิบนุสะอูด เจ้าเมืองอัดดิรอียะฮ์ และเห็นด้วยกับการเผยแพร่หลักการอิสลามที่ถูกต้องของ เชค มุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ มาโดยตลอด ทำให้มีผู้ดำเนินตามท่านอย่างมากมาย ซึ่งเป็นผลทำให้ราชวงศ์ซาอุดิอาระเบีย สามารถรวบรวมดินแดนในคาบสมุทรอาหรับให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ ขณะเดียวกันการเผยแพร่อิสลามในแนวสลัฟ ซึ่งยึดถือตามแนวกิตาบุลลอฮ์ และซุนนะฮ์มีความเจริญรุ่งเรืองมากยิ่งขึ้น
แนวสลัฟแพร่หลายเข้าไปในโลกอิสลาม
          เพียงระยะเวลาไม่กี่ปี หลักอะกีดะฮ์ที่ถูกต้องได้แพร่กระจายไปยังหัวเมืองต่างๆ ของแคว้นนัจด์ เช่น เมืองอัลอาริฏ, สุดัยร, ฮาอิล, อัลวัชม, อัลคอรญ, อัลหะรีก, อัลอัฟลาจญ และยังแพร่กระจายไปยังแคว้นต่างๆ และประเทศใกล้เคียงอีกด้วย เช่น อัลอะห์ซาอ์, อุมาน, หิญาซ, เยเมน, ดินแดนทางตอนใต้ของอิรัค และนอกคาบสมุทรอาหรับ อันเป็นผลทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย ที่สำคัญคือ
     1. เกิดความตื่นตัวของมุสลิมในการพัฒนา และลุกขึ้นมาแสดงพลัง หลังจากที่ตกอยู่ในความอ่อนแอ ไร้เกียรติมาโดยตลอด
     2. เรียกร้องให้บรรดานักวิชาการหวนกลับมายึดรากฐานของศาสนาอิสลามที่ถูกต้ง ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการศรัทธา หรือหลักปฏิบัติ
     3. ขจัดความเชื่อถือและความคิดที่งมงายออกไปจากจิตใจของมุสลิม
     4. ปลุกเร้าให้มุสลิมมีความสนใจทางด้านการศึกษา เพื่อยกระดับฐานะให้ทัดเทียมกับอารยประเทศ
     5. ทำให้มีนักปฏิรูปที่สำคัญเกิดขึ้นในโลกอิสลาม เพื่อเรียกร้องบรรดามุสลิมให้มีความรัก ความหวงแหนศาสนาอิสลาม และมีความตระหนักว่ามุสลิมเป็นพี่น้องกัน

หลักการเผยแพร่ของเชคมุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ
         หลักการเผยแพร่ของเชคมุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ มีความง่ายดาย ชัดเจน ซึ่งมีหลักฐานมาจากอัลกุรอานและซุนนะฮ์ของท่านนะบีมุฮัมมัด <!--[if !vml]-->s<!--[endif]--> ท่านพยายามเน้นย้ำถึงความสำคัญของการยึดมั่นในเอกภาพของอัลลอฮ์ <!--[if !vml]-->azzavayallaa<!--[endif]--> และการปฏิบัติอิบาดะฮ์ต่อพระองค์องค์เดียว ขจัดการทำชิริก สิ่งที่เป็นอุตริกรรม(บิดอะฮ์) ความเชื่อที่ไร้สาระ(คุรอฟาต) และการใช้สื่อกลางต่ออัลลอฮ์ <!--[if !vml]-->azzavayallaa<!--[endif]-->(ตะวัชชุล) พร้อมกับการกำชับกันให้ประกอบการดี และห้ามปรามกันในการทำความชั่ว ละทิ้งทุกสิ่งที่เป็นกาฝากที่เกาะติดอยู่กับอิสลาม
          ความพยายามฟื้นฟูอิสลามที่ถูกต้องก็เพื่อสร้างรัฐอิสลาม โดยตั้งอยู่บนรากฐานแห่งอุดมการณ์ และการปฏิบัติในอันที่จะกอบกู้เกียรติภูมิ ความรุ่งโรจน์ ความเจริญก้าวหน้า การเป็นผู้นำในโลกให้กลับคืนมาอีกครั้งหนึ่ง
          เชคมุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ และผู้ดำเนินการตามแนวทางท่าน จากชาวอะฮลุลซุนนะฮ์ วัลญะมาอะฮ์ มิได้นำแนวคิดใหม่ที่ออกนอกแนวทางของอัลกุรอานและซุนนะฮ์มาเสนอ ความตั้งใจของท่านคือ การทำให้มุสลิมกลับมายึดมั่นในกิตาบุลลอฮ์ และซุนนะฮ์ของท่านเราะซูล <!--[if !vml]-->s<!--[endif]--> และแบบอย่างของชนรุ่นก่อนที่ดำรงความดีงาม(ชาวสลัฟซอและฮ์) ซึ่งเป็นรากฐานที่มุสลิมจะต้องปฏิบัติยึดถือ
         ส่วนหลักปลีกย่อย ท่านได้ยึดถือแนวทางของ อิหม่ามอะหมัด อิบนุ ฮัมบัล ท่านเป็นผู้ที่เคร่งครัดในการยึดถือแนวทางตามกิตาบุลลอฮ์และซุนนะฮ์ ท่านได้บันทึกฮะดิษของท่านนะบีมุฮัมมัด <!--[if !vml]-->s<!--[endif]--> ซึ่งมีชื่อว่า <!--[if !vml]-->s<!--[endif]--> อัลมุสนัต ซึ่งเป็นแนวทางของอิหม่ามอะหมัด ได้ชื่อว่า"สะละฟียูน"เนื่องจากการดำรงตนตามแบบอิสลามที่เคร่งครัด คัดค้านและรังเกียจในการปฏิบัติสิ่งที่เป็นอุตริกรรม จึงเรียกแนวทางเผยแพร่ของ  เชคมุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ ว่า"แนวทางสะละฟียะฮ์"
อุปสรรคขัดขวางการเผยแพร่อิสลามของเชคมุฮัมมัด
          เมื่อข่าวความพยายามของเชคมุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ ในการฟื้นฟูปฏิบัติตามบัญัติอิสลามที่ถูกต้อง และเรียกร้องให้ทิ้งสิ่งที่เป็นอุตริกรรม(บิดอะฮ์) และสิ่งที่ชั่ว สภาพเช่นนี้มิได้ซ่อนเร้นไปจากสายตาบรรดาผู้ปกครองและเจ้าเมืองทั้งหลาย พวกเขากลัวว่าบรรดาผู้สนับสนุนเชคมุฮัมมัดจะตั้งตนเป็นปฏิปักษ์กับพวกเขา พวกเขาจึงเตรียมการเพื่อกำจัดเชคมุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ และบรรดาผู้ให้การสนับสนุนท่าน ผู้ที่เป็นศัตรูคนสำคัญ คือ ดะฮาม อิบนุเดาวาส เจ้าเมืองริยาฏ อุรอยอิร อิบนุดุไญน์ ผู้ปกครองแคว้นอะห์ซาอ์ และผู้ปกครองเมืองกอฏีฟ และเมืองนัจรอน ตลอดจนคนอื่นๆ โดยมีนักวิชาการส่วนหนึ่งให้การสนับสนุนพวกนั้น เนื่องจากไม่ได้รับรู้ข้อเท็จจริง และมีความอิจฉาริษยาต่อท่าน
         เชคมุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ รู้ดีถึงแผนการร้ายของพวกเขา ท่านและเจ้าเมืองดิรอียะฮ์ คือ อิหม่ามมุฮัมมัด อิบนุ สะอูด ได้เตรียมพร้อมในการทำสงครามกับผู้ที่ต่อต้านท่านเชคมุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ อย่างรุนแรงจนถึงที่สุด ดะฮาม  อิบนุเดาวาส เจ้าเมืองริยาฏ เป็นคนเจ้าเล่ห์ ใจทรามไม่มีมารยาท เขาจ้องทำลายการเชิญชวนของ เชคมุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ มาเป็นเวลานาน บางครั้งก็แสดงให้เห็นถึงความกลับกลอก แต่หลังจากที่เขาเห็นว่าไม่มีประโยชน์ที่จะต่อต้านการเผยแพร่อิสลามของเชคมุฮัมมัด และผู้ดำเนินตามท่าน ซึ่งมีผู้ให้การสนับสนุนเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ดะฮาม จึงหลบหนีออกจากเมืองริยาฏ ทำให้เมืองริยาฏมีความสงบ การเผยแพร่อิสลามที่ถูกต้องจึงกระจายไปทั่วเมืองริยาฏ รวมทั้งในตำบล และหมู่บ้านต่างๆ
          อุรอยอิร ผู้ปกครองแคว้นอะห์ซาอ์ และหัวหน้าเผ่าต่างๆของตระกูลบะนีคอลิด ได้รับการถ่ายทอดความอิจฉาริษยาต่อเชคมุฮัมมัด และต่อต้านการเผยแพร่อิสลามของท่านจากบรรดาผู้ปกครองคนก่อนๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่สูญเสียอำนาจการปกครองเมืองอุยัยนะฮ์ พวกเขาได้เตรียมทำสงครามกับท่านเชคมุฮัมมัด และขอความช่วยเหลือไปยังเจ้าเมืองต่างๆของแคว้นนัจด์ เพื่อให้ร่วมทำสงครามกับเจ้าเมืองดิรอียะฮ์ แต่แล้วอัลลอฮ์ <!--[if !vml]-->azzavayallaa<!--[endif]--> ทรงให้เหตุการณ์ร้ายได้เกิดขึ้นกับพวกเขา ทำให้แผนการณ์ทำสงครามของผู้ปกครองแคว้นอะห์ซาอ์ประสบกับความล้มเหลว
          ขณะเดียวกัน เจ้าชายมุฮัมมัด อิบนุ สะอูด และพลพรรคของท่าน ได้ปกป้องการเผยแพร่อิสลามของ เชคมุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ ท่านได้ทำหน้าที่ให้กำลังใจแก่เหล่าทหารในการต่อสู้ กับบรรดาผู้ที่ต้องการทำลายล้างและขัดขวางการเผยแพร่อิสลาม ท่านได้รณรงค์ทางด้านการเขียน การพูด และทัศนะคติ เพื่อต่อต้านผู้ที่จ้องทำลายและขัดขวางการเผยแพร่ศาสนาอิสลาม ซึ่งทำให้บรรดาเหล่าทหารมีกำลังใจในการสู้รบ และมีความอดทนต่อความยากลำบากต่างๆ และเป็นเช่นเดียวกับท่าทีของ ชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมียะฮ์
         สำหรับศัตรูภายนอกที่ต่อต้านการเผยแพร่ของ เชคมุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ ได้แก่ ผู้ปกครองชาวตุรกี(อาณาจักรอุสมานี) ซึ่งได้หันเหออกจากแนวทางอิสลามที่ถูกต้อง พวกเขาได้ต่อต้านการเผยแพร่อิสลามของ เชคมุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ โดยคิดว่าแนวทางนี้ได้ยุยงให้เกิดขบวนการทำลายการปกครองอาณาจักรอุสมานี เพราะการเผยแพร่อิสลามของ เชคมุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ มุ่งเน้นการกวาดล้างสิ่งที่เป็นอุตริกรรมให้หมดไป ขณะเดียวกัน บรรดานักวิชาการที่มีจิตใจอคติ และพวกกลับกลอกต่างยุยงให้ สุลฏอนของอาณาจักรอุสมานี จัดการกับเชคมุฮัมมัด สุลฏอนจึงใช้ให้ผู้ปกครองอิรัค และอียิปต์ ไปปราบปรามและยับยั้งการเผยแพร่อิสลามของ  เชคมุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ ในนามของสุลฏอน     
การถึงแก่กรรม เชค มุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ
         สัจธรรมของสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลาย คือ เกิดและตาย เชคมุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ ก็เช่นเดียวกัน ท่านได้ถึงแก่กรรมในเมืองที่ท่านมีความรักมากที่สุด คือเมืองอัดดิรอียะฮ์ ในปี ฮ.ศ.1206 และถูกฝังในเมืองนี้เช่นเดียวกัน ซึ่งท่านมีอายุได้ 91 ปี โดยที่ท่านได้ทิ้งทายาทไว้ 4 คน คือ หุเซน, อับดุลลอฮ์, อาลี และ อิบรอฮีม พวกเขาได้ทำหน้าที่สืบทอดการเผยแพร่ตามหลักคำสอนของอิสลามที่ถูกต้องต่อไป
          ก่อนที่ท่านจะถึงแก่กรรม ท่านได้เห็นการเผยแพร่ตามหลักการที่ถูกต้องได้สัมฤทธิ์ผล โดยที่ได้แพร่กระจายออกไปทั่วคาบสมุทรอาหรับ และขยายออกไปยังประเทศอิสลามต่างๆ
ผลงานทางด้านการเขียน
           เชคมุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ ได้เขียนหนังสือไว้มากมาย หุเซน อิบนุ ฆอนนาม ได้รวบรวมไว้ในหนังสือของเขาที่มีชื่อว่า "ตารีคนัจด์" (ประวัติของแคว้นนัจด์) โดยประมวลถึงวิชาการศาสนาสาขาต่างๆ ทางด้านอะกีดะฮ์ ฟิกฮ์ อุซูลุลฟิกฮ์ ตัฟซีร ชีวประวัติ ฯลฯ ตำราสำคัญที่ เชคมุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ เรียบเรียงนั้นคือ
1. หนังสือ "อัตเตาฮีด" ซึ่งเกี่ยวกับสิทธิของอัลลอฮ์ <!--[if !vml]-->azzavayallaa<!--[endif]-->ที่มีเหนือบรรดาบ่าว ถือว่าเป็นหนังสือเล่มแรกของท่าน
2. หนังสือ"กัชฟุซชุบฮาต" (เปิดเผยสิ่งคลุมเครือ) เป็นหนังสือตอบโต้ข้อกล่าวหาต่างๆ ที่มียังท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการชะฟาอะฮ์
3. หนังสือเกี่ยวกับการอธิบายอัลกุรอาน โดยที่ท่านมีความละเอียดและพิถีพิถันในการอธิบายอัลกุรอานในทุกอายะฮ์ และยกประเด็นต่างๆ มากกว่า 100 ประเด็น จนถึงเรื่องราวของนะบีมูซา กับนะบีค่อฏีร ในซูเราะฮ์ อัลกะฮ์ฟี
4. หนังสืออัลกะกาเอ็ร (บาปใหญ่)
5. หนังสือ อัลอุซูลุซซาลาซะฮ์ (หลักมูลฐาน 3 ประการ)
6. สรุปชีวประวัติของ นะบีมุฮัมมัด <!--[if !vml]-->s<!--[endif]-->
7. มารยาทของการเดินไปละหมาด ฯลฯ
ความเห็นของนักวิชาการและนักเขียน เกี่ยวกับการเผยแพร่ของ  เชคมุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ
     1. อะหมัด อามีน ได้เขียนไว้ในหนังสือของท่านชื่อ "ผู้นำการปฏิรูป" ว่า เป็นที่ชัดเจนว่า มุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ รู้จัก อิบนุ ตัยมียะฮ์ โดยทางการศึกษาแนวอัสละฟียะฮ์ แล้วรู้สึกชอบ จึงได้ศึกษาตำราต่างๆที่ อิบนุ ตัยมียะฮ์ ได้เขียนไว้ ที่พิพิธภัณฑ์ในประเทศอังกฤษ มีตำราบางเล่มของ อิบนุ ตัยมียะฮ์ คัดลอกโดย มุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ
          มุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ ได้เรียกร้องเช่นเดียวกับ อิบนุ ตัยมียะฮ์ คือให้ละทิ้งสิ่งที่เป็นอุตริกรรม และสิ่งไร้สาระ พร้อมกับหันมาปฏิบัติอิบาดะฮ์ และขอดุอาร์ต่ออัลลอฮ์ <!--[if !vml]-->azzavayallaa<!--[endif]--> องค์เดียว ไม่ใช่วิงวินขอพรจากผู้ที่เป็นวะลีย์ หรือ กุบูร และไม่ต้องมีสื่อกลางขอต่ออัลลอฮ์ <!--[if !vml]-->azzavayallaa<!--[endif]-->หรือในการขออภัยโทษจากพระองค์
     2. ดร.ฏอฮา หุเซ็น  ได้เขียนบทวิจัยในปี ฮ.ศ.1345 เกี่ยวกับวรรณกรรมในคาบสมุทรอาหรับ ที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับ เชคมุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ ว่า
          ขบวนการของเชคมุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ มีทั้งเก่าและใหม่ร่วมกัน ที่ว่าใหม่นั้นคือ เป็นขบวนการที่เกิดขึ้นในยุคปัจจุบัน และที่ว่าเก่านั้น เนื่องจากว่าเป็นขบวนการที่เรียกร้องไปสู่อิสลามที่บริสุทธิ์ ปราศจากร่องรอยแห่งการตั้งภาคี และการเคารพบูชาเจว็ด เป็นการเชิญชวนไปสู่อิสลามตามที่นะบีมุฮัมมัด <!--[if !vml]-->s<!--[endif]-->นำมา โดยมีความบริสุทธิ์ใจต่ออัลลอฮ์ <!--[if !vml]-->azzavayallaa<!--[endif]-->องค์เดียว ยกเลิกผู้เป็นสื่อกลางระหว่างอัลลอฮ์ <!--[if !vml]-->azzavayallaa<!--[endif]-->กับมนุษย์ เป็นการฟื้นฟูอิสลามที่แท้จริง ซึ่งบริสุทธิ์จากความอวิชา และการปลอมปนกับแนวทางนอกเหนืออิสลาม
     3. เชคมุฮัมมัด อบูซะฮ์เราะฮ์ ได้เขียนไว้ในหนังสือชื่อ "แนวความคิดของอิสลาม" ว่า
          แนววะฮาบียะฮ์ เกิดขึ้นในทะเลทรายอาหรับ เป็นผลเนื่องมาจากความลุ่มหลงในการเทิดทูนบุคคล การขอบารอกัตจากพวกเขาและขอให้เขาเป็นสื่อกลางในการใกล้ชิดกับอัลลอฮ์ <!--[if !vml]-->azzavayallaa<!--[endif]-->ด้วยการไปเยี่ยมกุบูรของพวกเขา และเนื่องจากอุตริกรรมได้แพร่หลายอยู่ในสังคม เป็นไปในรูปของพิธีกรรมทางศาสนา และการงานในโลกดุนยา ขบวนการวะฮาบียะฮ์ เกิดมาเพื่อต่อต้านการกระทำที่ไม่ถูกต้องดังกล่าว และฟื้นฟูแนวความคิดของ อิบนุ ตัยมียะฮ์ ซึ่งนำเสนอจากรูปทฤษฏีไปสู่การปฏิบัติ
     4. นักเขียนชาวตะวันตก ชื่อ โลทรอบ สติวเวอรท ได้กล่าวไว้ในหนังสือของเขาชื่อ "โลกอิสลามปัจจุบัน" ว่า
          ในศตวรรษที่ 18 โลกอิสลามตกอยู่ในความตกต่ำอย่างมาก ในศาสนามีจุดดำมืด เนื่องจากเอกภาพที่นะบีมุฮัมมัด <!--[if !vml]-->s<!--[endif]-->ผู้สื่อศาสนาอิสลามได้สั่งสอนกับมนุษย์ไม่ให้เชื่อมั่นในสิ่งไร้สาระ และเปลือกของการขัดเกลาจิตใจ ในขณะที่โลกอิสลามกำลังตกอยู่ในความเสื่อมโทรม ก็มีเสียงเรียกร้องจากใจกลางทะเลทรายคาบสมุทรอาระเบีย ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของศาสนาอิสลาม ได้ปลุกบรรดาศรัทธาชนให้ตื่นขึ้น และเรียกร้องให้พวกเขาทำการปฏิรูปและกลับไปสู่หนทางที่เที่ยงตรง ผู้เป็นเจ้าของเสียงนี้คือ นักปฏิรูปผู้มีชื่อเสียง เชคมุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ ท่านได้เรียกร้องให้บรรดามุสลิมปรับปรุงจิตใจ และกอบกู้ความรุ่งโรจน์ของอิสลามกลับคืนมา
     5. นักประวัติศาสตร์ชาวฝรั่งเศส มังตัน ได้บันทึกไว้ในหนังสือชื่อ "ประวัติศาสตร์อียิปต์" บทเฉพาะเกี่ยวกับประวัติของเชคมุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ และขบวนการวะฮาบียะฮ์ว่า
         คำสอนนักปฏิรูป เป็นการเสริมสร้างหลักจริยธรรมที่ถูกต้อง เรียกร้องประชาชนให้ปฏิบัติอิบาดะฮ์ ต่ออัลลอฮ์องค์เดียว พร้อมกับมุ่งสู่พระองค์ด้วยการวิงวอนขอพร(ดุอา) ละหมาด 5 ครั้งในหนึ่งวัน ถือศีลอดในเดือนรอมาฏอน เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ ณ เมืองมักกะฮ์ และจ่ายซากาต ท่านห้ามมิให้กระทำความชั่ว และกระทำบาปใหญ่ พร้อมกับห้ามสร้างโดมหรือหลังคาคลุมหลุมศพ เนื่องจากเกรงว่าจะเป็นหนทางนำไปสู่การทำชิริก
          สิ่งที่เชคมุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ เรียกร้องมีรากฐานมาจากศาสนาอิสลามที่ถูกต้อง แต่หากว่าบรรดามุสลิมได้ลืม หรือแกล้งลืม และละเลยคำสอนของศาสนา ท่านเชคมุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ จึงได้ลุกขึ้นมาเตือนสติของพวกเขาให้กลับมาสู่แนวทางอิสลามที่บริสุทธิ์


อ้างอิงจาก เอกสารประกอบการสอนรายวิชา นักคิดและกลุ่มฟื้นฟูอิสลาม เรียบเรียงโดย อาจารย์อับดุลลาตีฟ การี อาจารย์ประจำคณะอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา


2 ความคิดเห็น: