วันพฤหัสบดีที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2553

สาเหตุแห่งความตกต่ำและการล่มสลายของสถาบันเคาะลีฟะฮฺอุษมานียะฮ

บทที่ 11
11.สาเหตุแห่งความตกต่ำและการล่มสลายของสถาบันเคาะลีฟะฮฺ
และอาณาจักรอุษมานียะห์
11.1 อาณาจักรอุษมานียะห์เป็นยุคอ่อนแอและยุคล่มสลาย
หลังจากสิ้นสุดยุคการปกครองของสุลต่านสุไลมานที่ 1 ซึ่งเป็นสุลต่านคนที่สิบของอาณาจักรอุษมานียะห์ (ราชวงศ์อุษมานียะห์) ก็เริ่มเข้าสู่ยุคแห่งความเสื่อมอย่างมาก ภายในราชสำนักมีแต่ความฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย สุลต่านมีความสนุกสนานอยู่ในฮารอม (Harom) บรรดาผู้ที่อยู่ในราชวัง บรรดาข้าราชการแสวงหาความร่ำรวยด้วยการกดขี่ข่มเหงประชาชน เศรษฐกิจเสื่อมโทรม การทหารเริ่มอ่อนแอในขณะที่บรรดาชาติต่างๆ ในยุโรปกลับอยู่ในยุคแห่งการล่าอาณานิคม
จากความอ่อนแอของอาณาจักรอุษมานียะห์ ทำให้กลุ่มน้อย กลุ่มประเทศราชต่างๆ ต่างตื่นตัวเรียกความเป็นเอกราช เช่น พวกเซอร์เบีย และกรีก เป็นต้น
เกือบตลอดเวลาที่อาณาจักรอุษมานียะห์กำลังเสื่อมอำนาจลงมานั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 18-19 บรรดาชาติยุโรปพากันเล่นงานอาณาจักรอุษมานียะห์อย่างไม่ปราณี อาณาจักรอุษมานียะห์ต้องถูกริดรอนเสียดินแดนไปไม่น้อย นอกจากอำนาจของรัสเซียและออสเตรียแล้ว ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 อังกฤษและฝรั่งเศสรวมอีกด้วย ทำให้อาณาจักรอุษมานียะห์กลายเป็นเวที่สำหรับการแข่งขันกันแผ่ขยายอำนาจอิทธิพล และเสาะแสวงหาผลประโยชน์ของชาติต่างๆ เช่น เซอร์เบีย โรมาเนีย บัลเกเรีย และกรีซ เป็นต้น
จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดกลุ่มชาตินิยมในอาณาจักรอุษมานียะห์ขึ้นขบานการชาตินิยมในอาณาจักรอุษมานียะห์ทวีความรุนแรงขึ้นหลังสงครามคาบสมุทรบอลข่าน ซึ่งอาณาจักรอุษมานียะห์เป็นฝ่ายพ่ายแพ้ และต้องสูญเสียดินแดนในแหลมบอลข่านไปเกือบทั้งหมด เหลือแต่คอนสแตนติโนเปิลและบริเวณรอบๆ ซึ่งเป็นบริเวณที่มีชาวเตอร์กอาศัยอยู่เป็นส่วนใหญ่และเหลือดินแดนในคาบสมุทรอนาโตเลียและอาร์มีเนียโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยที่อาณาจักรอุษมานียะห์มีมุสตอฟา เคมาลเป็นผู้นำสาธารณรัฐ ซึ่งมุสตอฟา เคมาล มีความเห็นว่าการที่จะรื้อฟื้นความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรอุษมานียะห์ในอดีตนั้น ไม่สามารถทำได้แล้ว แต่ลักษณะที่เป็นจุดร่วมแท้จริงของพลังชาตินิยมในอาณาจักรอุษมานียะห์ก็คือ การต่อต้านการแทรกแซงกิจการภายในอาณาจักรอุษมานียะห์หรืออุษมานียะห์นิยมสมัยใหม่ (New-Ottaomanism)
11.2 สาเหตุการล่มสลายของอาณาจักรอุษมานียะห์
สาเหตุการล่มสลายของอาณาจักรอุษมานียะห์ไม่มีอื่นใดนอกจากความเสื่อมเสียทางด้าน จริยธรรม วัฒนธรรม และความญาฮีลียะห์ ที่มีอยู่ในจิตใจของสุลต่าน และข้าราชการปกครองประเทศ พวกเขาเหล่านั้นได้กระทำทุกสิ่งทุกอย่างด้วยความญาฮีลียะห์ทำให้พวกเขาอ่อนแอและเสื่อมเสียในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อที่จะยกระดับในด้านศาสนาของประเทศ
จากสาเหตุดังกล่าวทำให้พวกเขาเหล่านั้นมีความอ่อนแอ สุดท้ายอาณาจักรอุษมานียะห์ที่ล่มสลายด้วยสาเหตุดังนี้

11.2.1 ความร่ำรวยของประเทศอาณาจักร
การเพิ่มรายได้ของอาณาจักรด้วยสาเหตุที่อาณาจักรอุษมานียะห์เปิดเสรีให้ประเทศอื่นเข้ามา
ลงทุนและทำค้าขายและทรัพย์สินที่ได้จากการสงครามซึ่งพวกเขาใช้ในปกครองประเทศเพื่อให้ประเทศเข้มแข็งต่อไป แต่ด้วยความญาฮีลียะห์และเสื่อมเสียด้านจรรยาที่มีอยู่ในจิตใจของสุลต่านและบรรดาข้าราชการ ทำให้สภาพการเปลี่ยนแปลงแล้วก็จะรับผลประโยชน์จากความร่ำรวยไม่ได้แต่กลับไปให้ผลอันตรายต่อรัฐบาลของเขา

11.2.2 มอบอิงกีซารีย์ (ทหารใหม่) เป็นผู้นำทหารในสนามสงครามรบ
ในยุคแรกๆ สุลต่านเองจะเป็นผู้นำ (แม่ทัพ) ในสนามรบ ต่อมาในยุคหลังสุลต่านสุไลมาน
ที่ 1 เปลี่ยนวิธีการนี้ โดยมอบผู้นำทหารให้กับแม่ทัพสายทหารจากอิงกีซารีย์ และสุลต่านเองก็อยู่ราชวัง พร้อมๆ คนรับใช้ ด้วยเหตุนี้ทหารจึงมีความเป็นอิสระและไม่มีจุดยืนเป็นของตนเอง สุดท้ายจึงทำให้เกิดความวุ่นวายที่นำพาความอ่อนแอและล่มสลายมาสู่อาณาจักรอุษมานียะห์

11.2.3 มอบหมายการงานของอาณาจักรให้กับวะซีร
ตามปกติแล้วการบริหารงานของอาณานจักรนั้นขึ้นอยู่กับสุลต่านเป็นผู้นำในการบริหาร
หลังจากได้มอบการบริหารงานรัฐบาลให้กับวะซีรโดยมีวะซีรที่แตกต่างกัน กลุ่มหนึ่งเป็นมุสลิมที่แท้จริง และอีกกลุ่มหนึ่งเป็นนัสรอนีย์ ที่ทำตัวเหมือนอิสลามด้วยเหตุนี้ทำให้เกิดการทะเลาะวิวาทกัน สุดท้ายทำให้เกิดความวุ่นวายและความอ่อนแอในรัฐบาลเอง

11.2.4 ยอมให้อิงกีซารีย์(ทหารใหม่)แต่งงานและไปพักอยู่นอกสถานที่
ในยุคแรกๆ ได้มีสถานที่โดยเฉพาะสำหรับอิงกีซารีย์ ซึ่งจะพักอยู่ในสถานที่ได้เตรียมไว้
พวกเขาจะออกไม่ได้นอกจากจะได้รับอนุญาตที่ทำดังกล่าวเพื่อให้อยู่ในความพร้อมที่ต่อสู้ (ญีฮาด) ในหนทางของอัลลอฮ ต่อมายุคหลังๆ อิงกีซารีย์ได้พักตามความต้องการซึ่งตามมุมต่างๆ และพวกเขาปะปนอยู่กับประชาชนทั่วไปเลยมีชีวิตความเป็นอยู่ที่สุขสบาย ทำให้ลืมและไม่มีพลังที่จะญีฮาดต่อไป
ด้วยสาเหตุดังกล่าว การล่มสลายของอาณาจักรอุษมานียะห์ นับว่าเป็นการสิ้นสุดของ
อาณาจักรอิสลามที่มีสภาพความเจริญอย่างชำนาญ
ตั้งแต่การสถานปนาอาณาจักรเซลจูกเป็นต้นมา รัฐเซลจูกได้แบ่งอำนาจการปกครองดินแดนภายใต้อาณาจักรออกเป็นหัวเมืองย่อย หรือจังหวัด โดยมีผู้ว่าการเรียกว่า ซะฮ (Syah) รับผิดชอบการบริหารทั้งหมด
อาณาจักรเซลจูกได้ปกครองโดยใช้ระบบการแบ่งอำนาจดังกล่าวตั้งแต่สมัยตุฆรูล เบย์ แต่ละหัวเมืองหรือจังหวัดมีอำนาจปกครองตนเองสูงมาก มีอำนาจที่จะขยายดินแดนในบริเวณใกล้เคียงได้ แต่อย่างไรก็ตามหัวเมืองหรือจังหวัดเหล่านั้นต้องเคารพ ในความยิ่งใหญ่ของรัฐบาลส่วนกลาง ตราบใดที่รัฐบาลกลางมีความเข้มแข็งหัวเมืองจะมีความสงบแต่ถ้รัฐบาลมีความอ่อนแอหัวเมืองจะแข็งข้อ ไม่เชื่อฟัง เป็นภาระที่รัฐบาลกลางจะต้องไปปราบเป็นเนือง ๆ (มูฮำหมัด ลาบิบอะห์หมัด, 1982 : 299)
ภายในจักวรรดิ ออตโตมานเป็นที่อาศัยของกลุ่มชนหลายเชื้อชาติหลายศาสนาเช่น พวกเตอร์ก ตาตาร์ อาหรับ เคอร์ด เตอร์กมัน เบอร์เบอร์ แมมลุก บอสเนียน อัลบาเนียน กรีก บุลกาเรียน ฮังกาเรียน สลาฟ รูเมเนียน อาร์มีเนียน คอร์ป จอร์เจียน และ ยิว การปกครองเหนือประชาชนหลาย ๆ พวกเหล่านี้จึงเป็นลักษณะเด่นของการปกครองจักรวรรดิหรือสถาบันการปกครอง
อำนาจสูงสุดของจักรวรรดิออตโตมานคือสุลต่าน พระองค์จะเป็นทั้งผู้นำในการปกครองของจักรวรรดิและสัญลักษณ์ทางศาสนา ดั้งเดิมแล้วสุลต่านเป็นเพียงหัวหน้านักรบเป็นเจ้าผู้มีอำนาจสูงสุด ผู้ได้นำพรรคพวกอพยพ รวบรวมพวกเร่ร่อนให้อยู่เป็นหลักแหล่งและเป็นผู้ลงโทษพวกที่รุนแรง การจัดระเบียบเป็นหมู่เหล่านั้น เข้มงวดมาก และมีสุลต่านได้แต่เรียกตนเองว่า อมีร์ (Amir) ซึ่งแปลว่าหัวหน้า มาจนถึงยุคบาญาชิดที่ 1 จึงใช้คำว่าสุลต่านกับตำแหน่งของตน (โลกอิสลาม : 248)
ศูนย์กลางของสถาบันการปกครอง คือพระราชวัง เป็นทั้งที่ฝึกหัดสำหรับวะซีรและข้าราชการ การปกครองของออโตมานเป็นการปกครองรวมอำนาจคือแกรนด์วิเซีย (Grand Vizir) เทียบเท่าตำแหน่งนายกวะซีร เนื่องจากบรรดาสุลต่านภายหลังสมัยสุไลมานชอบความสนุกสนานในฮาเรมมากกว่างานในการบริหารจักรวรรดิ จึงทำให้อำนาจในการปกครองส่วนใหญ่จะตกอยู่แก่แกรนด์วิเซีย นอกจากแกรนดิ์วิเซียแล้ว ก็ยังมีเจ้าหน้าที่ระดับสูงช่วยในคณะรัฐบาลอีกด้วย กล่าวคือ มีเหจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการเงิน 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งสำหรับเรื่องที่เกี่ยวข้องกับยุโรป อีกฝ่ายหนึ่งเกี่ยวข้องกับเอเชีย มีผู้พิพากษาสูงสุด 2 คน ซึ่งเป็นตัวแทนเรื่องที่เกี่ยวกับยุโรปและเอเชีย ข้าหลวงใหญ่ 2 คน บรรดาผู้บริหารงานในหน้าที่ต่าง ๆ ของสุลต่าน มักจะเกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัยภายใน การเก็บภาษี การแผ่ขยายจักวรรดิหรืออย่างน้อยก็การรักษาพรมแดนออตโตมาน และมีหน้าที่แต่งตั้งข้าหลวงประจำจังหวัด ข้าราชการเก็บภาษีและงานของกองทัพต่าง ๆ

11.3 อาณาจักรอุษมานียะฮฺยุคเสื่อมถอย
อาณาจักรอุษมานียะห์ได้ขยายดินแดนอย่างกว้างขวาง ตลอดระยะเวลาตั้งแต่การสถาปนาอาณาจักรโดยสุลต่านอุษมานที่ 1 ในปี ค.ศ. 1281 เป็นต้นมา จนถึงสมัยสุลต่านสุไลมานที่ 1 ปี ค.ศ. 1520 ซึ่งเป็นสมัยที่รุ่งเรืองที่สุด
นับตั้งแต่สุลต่านสุไลมานที่ 1 สิ้นพระชนม์ อาณาจักรรอตโตมานถึงจุดสุดยอด และหลังจากนั้นได้มีเหตุการณ์วุ่นวายมากมาย การก่อกบฏในจังหวัดต่าง ๆ เช่นอียิปต์ เป็นต้นและสุลต่านบางพระองค์มีความอ่อนแอไม่มีความสามารถในการแก้ปัญหา จึงทำให้อาณาจักรออตโตมานเริ่มเสื่อมลง สุลต่านต่าง ๆ ที่อยู่ในช่วงดังกล่าว คือตั้งแต่สุลต่านซาเลมที่ 2 ถึงสุลต่านองค์สุดท้าย
สุลต่านที่น่ากล่าวถึงพอแบ่งยุคได้ดังนี้
11.3.1 ยุคเสื่อมถอยตอนต้น ตั้งแต่สุลต่านที่ 11 – สุลต่านที่ 16
11.3.2 ยุคเสื่อมถอยตอนกลาง ตั้งแต่สุลต่านที่ 17 – สุลต่านที่ 30
11.3.3 ยุคเสื่อมถอยตอนปลาย ตั้งแต่สุลต่านที่ 31 – 36

11.3.1 ยุคสุลต่านเริ่มเสื่อมถอย
ในสมัยสุลต่านสุไลมานที่ 1 อาณาจักรออตโตมาน ได้เจริญสูงสุด พระองค์ได้รับสมญานาม
ว่า อัลกอนูนี เนื่องจากพระองค์เป็นผู้ร่าง และให้ความสำคัญกับกฎหมายของบ้านเมืองและพวกยุโรปเรียกท่านว่าผู้ยิ่งใหญ่ เพราะความสามารถในการปกครองประเทศที่กว้างใหญ่อย่างมาก พระองค์สามารถแก้ปัญหาการก่อการจลาจลที่ซาม รบชนะฮังการี ได้จัดสร้างระบบเรือรบ และสร้างมัสยิดอันสวยงามและใหญ่โตในใจกลางเมืองอิสตันบูล มีการเปิดสถานศึกษา สถานที่เลี้ยงเด็กยากจน โรงพยาบาล สวนสาธารณะและอื่น ๆ แต่หลังจากสุลต่านสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1566 สถานการณ์เริ่มเปลี่ยนโฉมหลังจากที่พระราชโอรสคือสุลต่านซาเลมที่ 2 ขึ้นครองราชย์แทน พระองค์ไม่สนใจการบริหารประเทศ หมกมุ่นอยู่กับสุรานารี เหตุการณ์ไม่สงบต่าง ๆ กลายเป็นหน้าที่ของแกรนด์วิเซียร์ คือมูฮำหมัดปาซา อัลซอกลี รับผิดชอบทั้งหมด
นักประวัติศาสตร์มีความเห็นว่านับตั้งแต่สุลต่านที่ 11 คือสุลต่านซาเลมที่ 2 เป็นต้นมาว่า
เป็นจุดเริ่มต้นของยุคถดถอยของอาณาจักรออตโตมาน เพราะสุลต่านที่ปกครองออตโตมานเริ่มแสดงถึงความไม่เอาใจใส่ต่อบ้านเมืองมีความอ่อนแอ เกิดความวุ่นวายในพระราชวัง เกิดการจลาจลตามเมืองต่าง ๆ มีการสู้รบกับกองทัพเรือคริสเตียนซึ่งประกอบด้วยกองทัพเรือสเปน กองทัพเรือบอนดาเกียกองทัพเรือสันตะปาปา ในทะเล Liponto(Yunani) ในการรบครั้งนี้ ออตโตมานเป็นฝ่ายแพ้ ผลของสงครามออตโตมานต้องเสียตูนีเซียให้แก่ศัตรู
ในสมัยต่อ ๆ มาก็เช่นเดียวกัน เมื่อสุลต่านมีความอ่อนแอการบังคับใช้กฎหมายก็ไร้ผล เช่น
ในสมัยสุลต่านมูร็อดที่ 3 รัฐบาลได้ออกกฎหมายห้ามดื่มสุรา ทำให้พวกแจนิสซารีไม่พอใจ และไม่เคารพ พร้อมทั้งได้ขู่ว่าหากไม่ยกเลิกกฎหมายดังกล่าวพวกตนไม่รับรองในความปลอดภัยของสุลต่านมูร็อด
สุลต่านในยุคนี้นอกจากไม่ได้แก้ปัญหา แล้วยังสร้างปัญหาให้กับพระราชวัง พระองค์มีพระ
มเหสีหลายองค์ แต่ละองค์มีพระโอรสหลายคน ย่อมเกิดความอิจฉาริษยาในพระราชสมบัติ เกิดการแก่งแย่งพระราชบัลลังก์ หวาดระแวงซึ่งกันและกันมีการประหัตประหาร เช่น ในสมัยมูร็อดที่ 3 พระองค์ได้ประหารพี่น้องของท่าน 5 คน เมห์เมดที่ 3 ก่อนขึ้นครองราชย์ได้สั่งประหารชีวิตพี่น้อง 19 คน และได้นำอดีตมเหสี 10 คนไปจมน้ำตาย สถานการณ์ที่เลวร้าย ออสเตรียได้โจมตีออตโตมาน
ในโครงสร้างการปกครองของอาณาจักรรอตโตมานนั้นสถาบันทหารมีความสำคัญมากโดยเฉพาะทหารรักษาพระองค์ของสุลต่านที่เรียกว่าแจนิสซารี เพราะพวกนี้ได้มาโดยสุลต่านได้สร้างระบบโรงเรียนอย่างหนึ่งขึ้นเพื่อรองรับเด็กชายชาวคริสเตียนอายะระหว่าง 8 – 18 ปี เด็กชายเหล่านี้ถูกคัดเลือกทั้งจากหมู่เชลยของดินแดนบอลข่านที่ออตโตมานมีชัยชนะหรืออาจโดยผ่านระบบการเหณฑ์ทหาร การคัดเลือกนี้อาจจะมีทุกปี หรือทุก ๆ 5 ปี แล้วแต่ความจำเป็น บรรดาข้าราชการออตโตมานจะไปท่องเที่ยวทั้งบอลข่านและเลือกเด็กชายคริสต์ที่ฉลาดและเข้มแข็งนำมาฝึกฝนในโรงเรียนดังกล่าว เพื่อเป็นทหารในกองทัพของจักวรรดิ (นันทนา เตชะวณิชย์, 2538 : 67)
พวกเจนิสซารีเป็นดาบสองคม ในยามสงครามแจนิสซารีจะทำหน้าที่ของตัวเองได้ดีเป็นประโยชน์ แต่ในยามสงบ และว่างงานพวกนี้อาจสร้างปัญหา เพราะพวกนี้รู้จักแต่ถืออาวุธเท่านั้น จึงก่อการจลาจลหรือโจมตีหัวเมืองอื่นด้วยเหตุผลอันน้อยนิด ในสมัยสุลต่านมูร็อดที่ 3 พวกแจนิสซารีโจมตีฮังการี ในปี ค.ศ. 1578 ด้วยเหตุผลเพียงเล็กน้อยในปลายสมัยเมห์เมดที่ 3 ทหารในอนาโตเลียก่อการจลาจลเสียเอง
การแก้ปัญหาของสุลต่านเมห์เมดที่ 3 เกี่ยวกับทหารที่ตกงาน โดยยกดิแดนให้แก่ปาชา เป็นระบบพิวดัล แต่ได้กลายเป็นปัญหาในภายหลัง กล่าวคือ ปาชา จะไม่เคารพต่อสุลต่าน เพราะถือว่าตัวเองก็เป็นผู้ปกครองดินแดนหรือเป็นกษัตริย์องค์หนึ่งเหมือนกัน
11.3.2 ยุคเสื่อมถอยตอนกลาง ตั้งแต่สมัยที่สุลต่านที่ 16 - 30
การขึ้นครองราชย์ของสุลต่านอุสมานที่ 2 ในปี ค.ศ. 1617 ด้วยอายุอย่างน้อย 14 ชันษา
พระองค์ยังไม่มีวุฒิภาวะเพียงพอที่จะบริหารราชการได้ทำให้ขาดภาวะผู้นำ ทหารแจนิสซารีที่เคยจงรักภักดีเริ่มไม่เชื่อฟัง สุลต่านปกครองได้ไม่นาน เกิดมีปัญหาชายแดนขึ้น กับโปแลนด์ และเกิดสงครามในที่สุด พระองค์ด้องพ่ายแพ้ในศึกสงครามครั้งนี้ ทั้ง ๆที่ได้ล้อมป้อมปราการคอยซิมหมดแล้ว ทั้งนี้เนื่องจากทหารแจนิสซารีไม่ปฏิบัติตามแผนการของพระองค์วางไว้
บทบาทของทหารแจนิสซารีทางการเมืองการปกครองเริ่มปรากฏชัดขึ้นในสมัยนี้ หลังจากที่สุลต่านสุไลมานที่ 2 ประจักษ์ถึงความล้าหลังและไร้ระเบียบขาดเทคนิคใหม่ ๆ หรือกลยุทธในการรบ สุลต่านมีความปรารถนาที่จะปรับปรุงระบบทหาร สร้างความไม่พอใจแก่ทหารแจนิสซารีเป็นอย่างมากจึงคัดค้าน ความขัดแย้งระหว่างแจนิสซารีกับสุลต่านอุสมานที่ 2 และมีความตึงเครียดมากขึ้น หลังจากที่พระองค์หันหลังให้กับพวกแจนิสซารีและมีแผนการลับที่จะไปปราบกบฏในเลบานอน แต่แจนิสซารีทราบเรื่องเสียก่อน จึงได้ก่อเรื่องขึ้นมาและบีบบังคับให้สุลต่านส่งแกรนด์วิเซียร์ให้แก่พวกเขา และให้ยกเลิกการเคลื่อนทัพไปเลบานอน แต่สุลต่านไม่ได้ปฏิบัติตาม จึงได้ล้อมพระราชวังพระองค์ถูกจับกุม และถูกประหารชีวิตในที่สุด พวกแจนิสซารีได้แต่งตั้งให้มุสตอฟาเป็นสุลต่านแทนแต่พระองค์ไม่สามารถบริหารอาณาจักรได้เลย เนื่องจากพระองค์เป็นโรคปัญญาอ่อน จึงสละราชบัลลังก์ให้มูร็อดที่ 4 ขึ้นครองราชย์ในปี ค.ศ. 1623 ซึ่งเป็นไปตามความต้องการของพวกแจนิสซารี พระองค์มีอายุยังน้อยจึงยังไม่มีอำนาจพอที่จะควบคุมการปกครองได้ยอมอยู่ภายใต้อิทธิพลของพวกแจนิสซารี
อิทธิพลของรัฐบาลกลางต่อจังหวัดหรือแคว้นต่าง ๆ เสื่อมลงเรื่อย ๆ ทั้งนี้เนื่องจากระยะเวลาที่แจนิสซารีมีอิทธิพลนั้น เป็นช่วงเวลาที่ขาดเสถียรภาพของอำนาจ พวกนี้จะใช้อำนาจตามอำเภอใจไร้ระเบียบ ขาดความเป็นเอกภาพ จึงทำให้แคว้นต่าง ๆ ก่อการกบฏ เช่น อัล-อามิรฟัครุดดีน ได้จัดตั้งรัฐบาลใหม่ในเลบานอน เกิดสงครามครูเสด ยึดปาเลสไตน์คืนจากอำนาจของมุสลิม พวกแจนิสซารีไม่ได้รับชอบอย่างแท้จริง แต่เมื่อสุลต่านมูร็อดที่ 4 มีวุฒิภาวะมากขึ้นได้พยายามกู้สถานการณ์ยึดเมืองต่าง ๆ คืนได้บ้าง แต่น่าเสียดายที่สุลต่านอายุไม่ยืน เพราะเป็นโรคสุราเรื้อรังและเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1640
หลังจากสุลต่านมูร็อดที่ 4 สิ้นพระชนม์และไม่มีพระราชโอรสที่จะสืบทอดอำนาจจึงได้แต่งตั้งสุลต่านอิบรอฮีม เป็นสุลต่านอะห์หมัดที่ 1 ปกครองต่อไป สุลต่านอิบรอฮีมไม่มีความสามารถและภาวะผู้นำเพียงพอที่จะควบคุมสถานการณ์ภายในราชวัง และในราชอาณาจักรต้องอาศัยแกรนด์วิเซียร์ที่มีความสามารถจัดการกับปัญหาต่าง ๆ แต่จัดการได้ชั่วคราวระยะเวลาหนึ่งเท่านั้นเพราะอาจจะเกิดปัญหาการไม่ยอมรับจากผู้ที่เสียประโยชน์โดยเฉพาะชนชั้นขุนนาง ชนชั้นปกครองและทหาร เช่น พระราชินีและพระมเหสี เป็นต้น
พวกแจนิสซารีได้ก่อรัฐประหารหลายครั้งและทุกครั้งที่ก่อ พวกแจนิสซารีจะไม่สถาปนาตนเองเป็นกษัตริย์แต่จะพยายามหาตระกูลสุลต่านที่ไม่เป็นพิษเป็นภัยแก่พวกตนขึ้นครองพระราชบัลลังก์ เช่น การขึ้นครองราชย์บัลลังก์ ของสุลต่านเมห์เมดที่ 4 ในปี ค.ศ. 1648 เกิดจากการรัฐประหารสุลต่านอิบรอฮีมในวันที่ 18 ส.ค. 1648 โดยการแขวนคอ การขึ้นมาดำรงตำแหน่งของเมห์เมดที่ 4 เป็นแผนการของพวกแจนิสซารีที่มีความเห็นว่าเมื่อพระองค์อายุยังน้อย ก็ไม่สามารถดูแลบ้านเมืองได้พวกตัวเองจะได้มีบทบาทต่อไป
แจนิสซารีปลดสุลต่านอะห์หมัดที่ 3 ด้วยเหตุผลเพราะสุลต่านไม่ให้กองทัพของพวกเขาไปรบกับเปอร์เซีย และได้แต่งตั้งมะห์มูดที่ 1 ขึ้นครองราชย์แทน
ในยุคกลางของความเสื่อมถอยนอกจากความอ่อนแอของสุลต่าน ปัญหาแจนิสซารีความวุ่นวายตามแคว้นต่าง ๆ แล้ว พวกยุโรปมีความมุ่งมั่นที่จะทำลายอาณาจักรออตโตมานด้วย ได้มีความร่วมมือและคำขวัญร่วมกันว่า “ขับไล่ออตโตมานออกจากยุโรป” ป้อมและเมืองต่าง ๆเริ่มถูกยึด เช่น ป้อมอาร์โลและโลปา เมืองเบลเกรด กลุ่มบัชถูกยึดโดยออสเตรียในสมัยสุไลมานที่ 2
พระเจ้าปีเตอร์แห่งรัชเซียประกาศสงครามกับออตโตมานในปี 1695 และสามารถยึดเมือง AZOV และถูกกดดันให้ทำสัญญาสงบศึกคือสัญญาคาโลวิทย์ โดยออตโตมานต้องเสียดินแดนบางส่วนไป สงครามในครั้งนี้ถือว่าเป็นความพ่ายแพ้ครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ออตโตมานเกิดขึ้นในสมัยสุลต่านมุสตอฟาที่ 2 ถึงแม้ว่าออตโตมานสามารถขับไล่รัสซียในสมัยมุสตอฟาที่ 3 ก็ตามแต่ต้องพ่านแพ้อย่างไร้เกียรติ ในสงครามครั้งยิ่งใหญ่ที่ชุมลา (Syumlla) ในสมัยอับดุลฮามิดที่ 1 ซึ่งต้องยอมทำสนธิสัญญา “กุจุ กัยนัรยา” ซึ่งเป็นสนธิสัญญาที่ออตโตมานเสียเปรียบมากในปี ค.ศ. 1774 เพราะต้องมอบป้อมปราการต่าง ๆ ชายฝั่งทะเลดำ ต้องยอมให้รัสเซียผ่านช่องแคบดาร์ดาแนลได้อย่างอิสระ ยินยอมให้สร้างโบสถ์ได้ในกรุงอิสตันบูล และมีสิทธิคุ้กองทัพให้ทันสมัย โดยเฉพาะในสมัยมะห์มูดที่ 2 ปี ค.ศ. 1808 ถึงแม้ว่าจะได้รับการต่อต้านจากพวกแจนิสซารีก็ตาม พระองค์ได้ใช้ไม้แข็งในการปราบการประท้วงของพวกแจนิสซารี โดยใช้ปืนใหญ่ยิงผู้ประท้วงหน้าพระราชวัง ทำให้ผู้ประท้วงเสียชีวิตเป็นจำนวนนับหมื่นคนและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก
จากเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้ อิทธิพลของพวกแจนิสซารีหมดไป สุลต่านได้มีโอกาสปรับปรุงกองทัพให้ทันสมัยตามแบบตะวันตก
11.3.3 ยุคเสื่อมตอนปลาย
เริ่มตั้งแต่สมัยสุลต่านที่ 31 คือสุลต่านอับดุลมาญีดที่ 1 ได้ขึ้นครองราชย์หลังจากการ
สิ้นพระชนม์ของสุลต่านมะห์มูดที่ 2 ซึ่งอยู่ภายใต้เหตุการณ์ทวีความรุนแรงมากขึ้นเกิดการกบฏตามหัวเมืองจนรัฐบาลกลางไม่สามารถที่จะควบคุมได้ และชาติตะวันตกเข้ามาแทรกแซง บีบบังคับ กลายเป็นปัญหาระดับภูมิภาคและระดับโลก ออตโตมานต้องเข้าร่วมในสงครามโลกโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้จนถูกจัดสรรดินแดนอาณาจักรตามความพึงพอใจของชาติมหาอำนาจ
ถึงแม้ว่าในสมัยต้นของสุลต่านอับดุลมาญิ สุลต่านมีเวลาในการซ่อมแซมประเทศเป็นระยะเวลาเกือบ 10 ปี แต่เนื่องจากความเป็นเอกภาพของหัวเมืองต่าง ๆ ไม่ได้ถูกแก้อย่างถาวรก็ย่อมต่อการยุยง ในปี 1848 เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อปกครองตนเองในหลายหัวเมือง เช่น ชาวโรมันชาวเปอร์เซียที่กรุงแบกแดด รัฐบาลออตโตมานไม่สามารถที่จะส่งทหารไปปราบความวุ่นวายเหล่านั้นได้ทั้งหมด จึงเป็นการเปิดโอกาสให้อาณาจักรอื่นที่รอจังหวะที่จะเข้ามาแทรกแซงในพื้นที่มีปัญหาเป็นการแก้แค้น และโจมตีออตโตมานด้วยภายในตัว
ในปี 1858 เกิดความวุ่นวายในจิดดะห์ ดามัสกัส ระหว่างมุสลิมกับคริสเตียน มีการบุกรุกกองสุล ฝรั่งเศส เป็นเหตุให้ภรรยาท่านกงสุลถูกฆ่าและได้กลายเป็นประเด็นทางการเมือง เป็นการดึงฝรั่งเศสให้เข้ามามีอิทธิพลในดินแดนแถบนี้มากขึ้น รัฐบาลยุโรปได้เรียกร้องให้ออตโตมานแก้ไขสถานการณ์เหล่านั้นให้กลับสู่ภาวะปกติ บังคับให้ออตโตมานจ่ายค่าเสียหายแก่ชายคริสเตียน เกิดความวุ่นวายในมอนเตนิโกรในปี 1863 ในบอสเนีย เฉอร์เซฝโกวินา เซอร์เนีย เป็นต้น สุลต่านไม่ให้ความสนใจเท่าที่ควรจะสนใจเหตุการณ์ภายในพระราชวังมากกว่า
ในยุคเสื่อมตอนปลายมีแนวความคิดประชาธิปไตยเริ่มเข้ามาโดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชนรวมทั้ง มัดฮัด ปาซา ซึ่งเป็นบุคคลที่มีความสามารถในการบริหารราชการ ความไม่พอใจในระบบการปกครองแบบเก่ามีมากขึ้นเรื่อย ๆ ประชาชนเรียกร้องสิทธิต่าง ๆ การมีส่วนร่วมทางการเมือง เรียกร้องให้มีการร่างรัฐธรรมนูญ ส่วนสุลต่านอับดุลอาซิซไม่ได้สนใจและไม่ยอมรับการความคิดเห็นดังกล่าวแต่ประการใด
คณะวะซีรได้เล็งเห็นถึงอุปสรรคของการปฏิรูปการปกครองคือ สุลต่านย่อมไม่เห็นด้วยกับความพยายามดังกล่าว จึงคิดวางแผนที่จะปลดสุลต่านออกจากตำแหน่ง ในที่สุดสุลต่านอับดุลมาญิที่ 1 ยอมสละราชบัลลังก์ให้สุลต่านองค์ต่อมาปกครอง
ในสมัยสุลต่านอับดุลฮามิดที่ 2 ได้มีกลุ่มอุลามะบางกลุ่มที่สนับสนุนสุลต่านได้คัดค้านแนวคิดที่จะให้มีการร่างรัฐธรรมนูญ พระองค์ได้ถือโอกาสทวนกระแสการเรียกร้องประชาธิปไตย โดยใช้นโยบายโยกย้ายผู้ที่มีแนวคิดไม่สอดคล้องกับพระองค์ มัดฮัด ปาซา หนึ่งในข้าราชการที่ถูกย้ายไปยังฎออีฟ จนถูกฆ่าตาย
หลังสงครามออตโตมานและรัสเซีย ในปี 1877 ออตโตมานต้องสูญเสียดินแดนเกือบครึ่งหนึ่งของอาณาจักร ภายใต้สัญญา ณ กรุงเบอร์ลิน รัฐบาลในช่วงนี้ไม่มีประสิทธิภาพ อ่อนแอ มีการคอรัปชั่น จนกระทั่งยุโรปเรียกรัฐบาลออตโตมานว่า คนป่วยแห่งยุโรป (Sick man of Europe) ออตโตมานดำรงอยู้ได้ด้วยการแสวงหาผลประโยชน์จากประชาชนผู้อยู่ใต้ปกครองซึ่งไม่ได้เป็นชาวเตอร์ก(ชัยวัฒน์ ถาวรธนสาร นันทนา เตชะวณิชย์ 2544 : )
นายทหารหนุ่ม ไม่พอใจสุลต่านอับดุลฮามิดอย่างมากที่ออตโตมานต้องสูญเสียดินแดนและสิทธิหลายอย่าง และระบบการปกครองที่ล้าสมัย นายทหารหนุ่มเหล่านี้ได้รวมกลุ่มจัดตั้งกลุ่มใต้ดินเรียกว่า Young Terk เป็นกลุ่มทหารชั้นกลางที่มีการศึกษาค่อนข้างหัวรุนแรงที่ไม่พอใจสุลต่านอับดุลฮามิดที่ 2 ที่มีอำนาจมากเกินไปตามรัฐธรรมนูญ1876 ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นกลุ่มการเมืองที่เปิดเผยภายใต้ชื่อใหม่ว่า พรรค lttihad Wat Taraggi พรรคนี้มีอิทธิพลมากในการปกครอง ได้มีการจัดตั้งกรรมการชุดหนึ่งคือ คณะกรรมการแห่งความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและความก้าวหน้า (The Committee of Union and Progress : cup) : ซึ่งประกอบด้วยเตอร์กหนุ่มบริหาร ในระยะแรกการบริหารก่อให้เกิดสมานฉันท์ แต่ต่อมาพวกอาร์เมเนียเป็นผู้นำลัทธิชาตินิยมมาสู่อนาโตเลีย แม้ว่าจะมีความพยายามสร้างสมัยแห่งความสามัคคีระหว่างอาหรับกับเตอร์กแต่ความรู้สึกชาตินิยมก็ได้ทำลายความพยายามดังกล่าว พวกยังเตอร์กกลับพยายามทำให้จักรวรรดิออตโตมานกลายเป็นตุรกี การต่อสู้ของกลุ่มนี้ต้องการสู้รบปกป้องตุรกีและปลดตัวแทนต่างชาติออกให้หมด โดยเฉพาะชาวอาหรับ แนวคิดนี้ เรียกกันว่า ชำระล้างตุรกี ชาวอาหรับถูกทำร้ายและถูกประหารชีวิตจำนวนมาก จากความโหดเหี้ยมในครั้งนี้ทำให้ชาวอาหรับเคียดแค้นมาก จนทำให้หัวเมืองหลายแห่งได้ประกาศแยกตัวเป็นอิสระ
ในสงครามโลกครั้งที่1 รัฐบาลตุรกีได้เข้าข้างเยอรมันนี ออสเตรีย ฮังการี ซึ่งเป็นฝ่ายแพ้ในสงครามครั้งนี้ กองทัพพันธมิตรสามารถยึดออตโตมานได้โดยไม่มีการต่อสู้ใด ๆ อาณาจักรออตโตมานสิ้นสุดลง
สัญญาแห่งความตกต่ำและการล่มสลายของอาณาจักรอุษมานียะห์ เริ่มปรากฏหลังจากสุลต่านสุไลมานที่ 1 สิ้นพระชนม์ เพราะในสมัยของพระองค์นั้นถือได้เช่น มหาราช ว่าอาณาจักรอุษมานียะห์เจริญสูงสุด ทั้งอาณาเขต และชื่อเสียงของพระองค์นั้นถือได้รับฉายาต่าง ๆ เช่น มหาราช ผู้สง่างาม อัลกอนูนี เป็นต้น พระองค์เป็นผู้ปกครองที่ประสบความสำเร็จมีการพัฒนาทางศิลปะ และวิทยาศาสตร์ อารยธรรมและวัฒนธรรมได้เจริญก้าวหน้าพระองค์มีลูกชายที่มีความสามารถ เฉลียวฉลาดเหมือนกับพระองค์ แน่นอนความรุ่งโรจน์ของอาณาจักรออตโตมานคงอยู่ต่อไปหากมุสตอฟา ลูกชายคนหนึ่งสืบทอดอำนาจต่อจากพระบิดาแต่โชคร้ายที่สาวใช้ชาวรัสเซียที่น่ารักได้ลอบวางแผนสังหารเสียก่อน
หลังจากสุลต่านซาเลมที่ 2 ขึ้นครองราชย์ในปี ค.ศ. 1566 – 1573 เหตุการณ์ได้เปลี่ยนแปลงรัฐบาลอุษมานียะห์ต้องพ่ายแพ้สงครามและเสียดินแดนบางส่วนให้แก่ยุโรป (Badri Yatim, 1997 : 163) ถึงแม้ว่าอาณาจักรอุษมานียะห์เริ่มเสื่อมถอยมีผู้นำที่อ่อนแอและเกิดความวุ่นวาย แต่เนื่องจากอาณาจักรอุษมานียะห์เป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่มีอาณาเขตที่กว้างมีวัฒนธรรมเดิมช่วยประคับประคองอยู่ได้ เป็นเวลาหลายร้อยปีกว่าจะล่มสลายมีปัจจัยหลายปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการเสื่อมถอยและล่มสลายอาณาจักรออตโตมานดังต่อไปนี้
1. ความอ่อนแอของสุลต่าน
ผู้ปกครองเป็นปัจจัยสำคัญของการบริหารประเทศ โดยเฉพาะรูปแบบการปกครองในระบบ
กษัตริย์ซึ่งอำนาจสูงสุดอยู่ที่พระองค์เดียว เมื่อพระองค์ไม่มีความสามารถ ไม่สนใจบ้านเมืองเท่าที่ควร มีนิสัยฟุ่มเฟือย หมกมุ่นอยู่กับความสุขสำราญทางโลก สภาพแวดล้อมในวังที่หรูหราอลังการและเต็มไปด้วยผู้หญิงและสิ่งมึนเมา การมีคนจำนวนมากคอยรับใช้ดูแลมีความสะดวกสบายเกินไปทำให้ความสามารถในด้านการปกครองและการทหารลดน้อยถอยลง เมื่อเกิดความวุ่นวายไม่ได้ถูกแก้ปัญหาอย่างถูกต้อง
2. อาณาจักรที่กว้างใหญ่
การบริหารราชการในประเทศที่มีอาณาเขตกว้างขวางเป็นเรื่องยากมากในการปกครองเพราะหัวเมืองที่อยู่ห่างไหลการปกครองอาจไม่ทั่วถึง การปกครองส่วนกลางของอาณาจักรเองยังไม่ลงตัวมีปัญหามาตลอดและในขณะดียวกันการปกครองหัวเมืองต่าง ๆ เจ้าเมืองมีความทะเยอทยานที่จะขยายดินแดนเพิ่มขึ้นจึงเกิดสงครามกับชาติอื่น ๆ ตลอดเวลา เรื่องดังกล่าวนี้ย่อมส่งผลต่อความมั่นคง ความสงบและการพัฒนาประเทศเป็นอย่างมาก
3. ภายในอาณาจักรออตโตมานมีหลายเชื้อชาติ
อาณาจักรออตโตมานมีประชากรหลายเชื้อชาติ หลายศาสนา มีประเพณี วัฒนธรรมที่แตกต่าง
กัน อยู่ในพื้นที่คนละแห่ง ตั้งแต่เอเชียไมเนอร์ อาร์เมเนีย อีรัก อีหร่าน ซีเรีย เยเมน ฮีญาชในทวีปเอเชีย อียิปต์ ลิเบีย ตูนีเซีย อัลยีเรียในแอฟริกา บัลกาเรีย กรีก ยูโกสลาเวีย อัลบาเนีย ออาเตรีย โรมาเนียในทวีปยุโรป ซึ่งความแตกต่างเหล่านั้นเป็นสาเหตุของความวุ่นวาย การปกครองในพื้นที่ที่มีความแตกต่างสูง นอกจากต้องมีระบบการปกครองที่ดี และเป็นระเบียบแล้ว ผู้ปกครองต้องมีศิลปะเฉพาะที่สามารถประนีประนอม ประสานประโยชน์ระหว่างเชื้อชาติทั้งหลาย หากยุดใดสุลต่านไม่ความสนใจอย่างเพียงพอ รัฐบาลอุษมานียะห์ต้องรับภาระในการปราบปรามความวุ่นวายที่เกิดขึ้นทั่วอาณาจักร มีเหตุการณ์หลายครั้งที่มีสาเหตุจากศาสนาจนทำให้รัฐบาลต้องสูญเสียทั้งเวลา เศรษฐกิจ และทหารในการปราบปราม
4. การเรียกเก็บเงินใต้โต๊ะ
เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าตำแหน่งในราชการต่าง ๆ มีการซื้อขายกัน ตั้งแต่ระดับต่ำจนถึง
ระดับสูง กลายเป็นเรื่องปกติในวงราชการ ทำให้ระบบมีแต่บุคคลที่ไม่มีคุณภาพ เห็นแก่ตัว ทำให้การบริหารงานราชการไม่สนองนโยบายของรัฐบาลกลาง
5. กองทัพแจนิสซารีมีอำนาจมากเกินไป
สุลต่านมูร็อดที่ 1 ได้เริ่มโครงการเก็บภาษี เลือดเนื้อจากราษฎร กล่าวคือ แต่ละครอบครัว
ต้องมอบบุตรชายที่แข็งแรงกำที่สุดมาเป็นทหารในหน่วย กองพลใหม่ เด็กหนุ่มเหล่านี้จะต้องเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม ตัดขาดจากนครอบครัวและอุทิศตนจงรักภักดีต่อสุลต่านเพียงผู้เดียว เมื่อชีวิปราศจากซึ่งทุกสิ่ง ยกเว้นสามัคคีจิตใจหมู่ตนเช่นนี้ กองทัพแจนิสซารีจึงกลายเป็นมหันตภัยอันน่าสะพรึงกลัวไม่เพียงรัฐบาลต่างชาติ กับจักรวรรดิออตโตมานเองก็ไม่เว้น
6. เกิดความวุ่นวามภายใน
การบ่อนทำลายและการก่อการจลาจลภายในที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในอาณาจักรอุษมานียะห์
ได้ทำลายความเข้มแข็งของอาณาจักรนี้ลงเป็นอย่างมาก ผิดกับอำนาจชาติคริสเตียนแห่งยุโรปที่ยังคงรวมตัวกันเหนียวแน่นและใช้สถานการณ์ดังกล่าวสร้างความยุ่งยากลำบากให้แก่มุสลิมครั้งแล้วครั้งเล่า จนกระทั่งในที่สุดก็สามารถแบ่งแยกอาณาจักรอุษมานียะห์อันยิ่งใหญ่ออกเป็นรัฐเล็กรัฐน้อยที่ไม่มีอำนาจ(บรรจง บินกาซัน, 2544 : 108)
7. เศรษฐกิจตกต่ำ
เนื่องจากเกิดสงครามตลอดเวลา ทำให้เศรษฐกิจไม่ขยายตัว เพราะแรงงานหนุ่มต้องออกศึกสงคราม เหลือเฉพาะแรงงานสตรีและคนแก่ที่จะต้องสร้างรายได้ให้กับประเทศชาติ ในขณะที่ค่าใช้จ่ายของประเทศเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ เป็นสาเหตุประการหนึ่งที่ทำให้ออตโตมานไม่สามารถพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ได้(Badri Yatim, 1997 : 168)
8. ลัทธิชาตินิยม
มหาอำนาจที่มิใช่สุสลิมยังมีความหวั่นเกรงอิสลาม จนกระทั่งถึงปัจจุบันโดยเฉพาะพวกยิว คริสเตียนและฮินดูนั้นมีความหวาดกลัวความเป็นเอกภาพของอิสลามเป็นอย่างมาก ในอดีตชาติเหล่านี้ได้ใช้วิธีการเลวร้ายทุกอย่างที่จะทำให้เอกภาพแห่งอิสลามได้รับความอ่อนแอ เครื่องมืออันตรายชนิดหนึ่งที่ชาติเหล่านี้ได้นำมาใช้อย่างได้ผลในการทำลายความสมานฉันท์และความเป็นเอกภาพในหมู่รัฐมุสลิมก็คือลัทธิชาตินิยม ยุทธวิธีนี้ได้ถูกทดลองใช้ในตุรกี เพื่อเป็นเครื่องมือในการแบ่งแยกพวกเติร์กออกจากประชาชาติ มุสลิมและก็ประสบความสำเร็จ อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องน่ายินดีที่จะกล่าวว่าถึงแม้จะติดกับดักศัตรูที่ส่งเสริมให้ตุรกีปกครองประเทศโดยแยกตัวออกมาจากศาสนาในเวลานั้น แต่ในปัจจุบันพวกเติร์กก็กำลังฟื้นฟูอิสลามขึ้นมาในมาตุภูมิของตนและพยายามที่จะสร้างสายสัมพันธ์แห่งอิสลามกับส่วนอื่น ๆ ของโลกมุสลิม(บรรจง บินกาซัน, 2544 : 108)
9. การไม่สนใจต่อวิทยาการสมัยใหม่
ในช่วงปลายสมัยของอาณาจักรอุษมานียะห์ชาติยะโรปใกล้เคียงมีความเจริญก้าวหน้าทาง
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก ทั้งที่ความจริงแล้วความเจริญก้าวหน้าทางด้านนี้ของพวกยุโรปมีต้นกำเนิดมาจากนักวิชาการมุสลิมในสเปน แต่พวกยุโรปให้ความสนใจทางด้านวิทยาศาสตร์อย่างต่อเนื่องและได้ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ในการสร้างความเข้มแข็งให้แก่กองทัพของตน แต่ในทางตรงกันข้าม มุสลิมกลับไม่สนใจในเรื่องนี้ ดังนั้นมุสลิมจึงล้าหลังพวกยุโรปและในที่สุดก็ได้รับความตกต่ำและความพ่ายแพ้(บรรจง บินกาซัน, 2544 : 108)
ความเข้มแข็งของทหารเพียงอย่างเดียว โดยไม่ได้พัฒนาทางด้านเทคโนโลยี ทางด้านอาวุธย่อมไม่เพียงพอที่จะต่อสู้ศัตรูที่พัฒนาอาวุธและเทนโนโลยีตลอดเวลา รัฐบาลออตโตมานได้ละเลยในเรื่องการพัฒนาทางวิชาการและเทคโนโลยี ซึ่งอาจเนื่องมาจากติดยึดอยู่กับวิธีคิดแบบโบราณของมุสลิม(Badri Yatim, 1997 : 168)
10. ความต่อเนื่องของการบริหารราชการไม่เชื่อมต่อ
นโยบายการบริหารอาณาจักรของสุลต่านแต่ละองค์ไม่ต่อเนื่องกัน เนื่องจากการบริหาร
ราชการขาดแผนแม่บท จะบริหารตามสถานการณ์ที่เป็นอยู่
11. มีการและทางด้านศรัทธาและไม่เข้าใจอิสลาม

อ้างอิงจาก หนังสือหลักการบริหารในอิสลาม สาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น