มัซฮับและขบวนการ : แนวนโยบายและความคิดกลุ่มอิควานมุสลิมีน
อิควานมุสลิมีนเป็นองค์กรมุสลิมที่มีแนวนโยบายและความคิดที่ชัดเจนที่สุด มีความสมดุลและเรียบง่ายที่สุด โดยมีสาส์นอิหม่ามหะสัน อัลบันนา ซึ่งเป็นแนวความคิดของอิหม่ามชะฮีด เป็นรากฐานของกฎเกณฑ์กลุ่มอิควานมุสลิมีน สาส์นอิหม่ามหะสัน อัลบันนาประกอบด้วยสาส์นกว่า 20 ฉบับ กล่าวถึงหลายๆประเด็นต่างกรรมต่างวาระ ตั้งแต่คำสอนทางศาสนา จุดยืนทางการเมือง เศรษฐกิจ การจัดการองค์กร และอื่นๆ
หนึ่งในสาส์นนั้น เป็นสาส์นที่ประกอบด้วยหลัก 20 ประการ ที่สมาชิกกลุ่มยึดมั่นและให้ความความสำคัญอย่างยิ่งยวด ประเด็นหลักที่มีในสาส์นคือ หะสัน บันนา ถือว่ากลุ่มอิควานมุสลิมีน โดยมีลักษณะครบวงจรตามลักษณะของศาสนาอิสลามที่กลุ่มยึดมั่น เนื่องจากศาสนาอิสลามเป็นทั้งศาสนาและรัฐ เป็นดาบและอัลกุรอ่าน อาณาเขตของอิสลาม คือประเทศอิสลามทั้งหมด อิสลามเป็นสัญชาติของประชาชนในรัฐ
ท่านกล่าวไว้ในสาส์นการประชุมครั้งที่ 5 ของอิควานมุสลิมีนว่า
“ เราเชื่อมั่นว่า หลักการและคำสอนอิสลามมีความสมบูรณ์แบบ
วางแบบแผนเรื่องราวของผู้คนในโลกดุนยาและอาคิเราะต์
อิสลามเป็นทั้งหลักความเชื่อและศาสนพิธี รัฐและสัญชาติ
ศาสนาและประเทศ เรื่องทางกายและทางใจ คัมภีร์และอาวุธ”
สืบเนื่องจากการที่อิสลามมีลักษณะสมบูรณ์แบบ อิหม่ามหะสัน อัลบันนา จึงกำหนดว่า อิควาน มุสลิมีนมีลักษณะดังนี้
1. เป็นผู้ตามแนวสะลัฟ (บรรพชน) เนื่องจากอิควานเรียกร้องสู่การกลับคืนสู่แหล่งที่มาอันพิสุทธิ์ของอิสลาม อันได้แก่ คัมภีร์ของอัลลอฮฺ และแบบอย่างทูตของพระองค์
2. เป็นแนวทางชาวสุนนะฮฺ เนื่องจากอิควานต้องปฎิบัติตามสุนนะฮฺที่ถูกต้องในทุกๆเรื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่องหลักศรัทธา การประกอบศาสนพิธี
3. เป็นชาวซูฟีย์ เนื่องจากกลุ่มเชื่อว่า พื้นฐานแห่งความดี คือจิตใจที่บริสุทธิ์ การทำงานอย่างจริงจัง การตัดจากโลก ความรักเพื่ออัลลอฮฺ และพันธะในความดีงาม
4. เป็นองค์กรทางการเมือง เนื่องจากกลุ่มเรียกร้องสู่การปฏิรูปการเมืองภายใน การทบทวนความสัมพันธ์กับประชาชาติต่างๆ การทำให้ประชาชนมีศักดิ์ศรี มีเกียรติ รักชาติบ้านเมืองอย่างจริงใจ
5. เป็นสมาคมกีฬา เนื่องจากกลุ่มให้ความสำคัญต่อสุขภาพ และรู้ว่ามุอฺมินที่ร่างกายแข็งแรงดีกว่า มุอฺมินที่ร่างกายอ่อนแอ
6. เป็นองค์กรทางวิชาการ เนื่องจากอิสลามถือว่าการแสวงหาความรู้เป็นหน้าที่ของมุสลิมทุกคน
7. เป็นองค์กรธุรกิจ เนื่องจากอิสลามให้ความสำคัญต่อการบริหารทรัพย์สิน และการประกอบอาชีพที่สุจริต
8. เป็นองค์กรทางสังคม เนื่องจากอิควานมุสลิมีนให้ความสำคัญต่อการแก้ปัญหาทางสังคมของประชาชาติอิสลามทั้งมวล
หลักการ 20 ประการ
ใน “สาส์นแห่งคำสอน (ริสาละต์ ตะอาลีม) ” ของอิม่ามหะสัน อัลบันนา กล่าวถึงองค์ประกอบสัตยาบันของกลุ่มอิควานมุสลิมีน 10 ประการ โดยองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดคือ “ความเข้าใจ” ซึ่งท่านหมายถึงความเข้าใจอิสลาม ในขอบเขตหลักการ 20 ประการ
กลุ่มอิควานให้ความสำคัญต่อหลักการ 20 ประการนี้อย่างยิ่ง เป็นธรรมนูญแห่งการดะอฺวะอฺของอิควาน ผู้นำทางความคิดและผู้นำภาคสนามของอิควานหลายๆท่าน ได้อธิบายความหลักการนี้ไว้อย่างชัดเจน คำอธิบายที่โดดเด่นอย่างยิ่ง คือบทอธิบายโดยชัยค์มุฮัมมัด อัลฆอซาลีย์ ในหนังสือ “ ธรรมนูญแห่งเอกภาพทางความคิดของมุสลิม ”
หลักการ 20 ประการเริ่มต้นโดยการยึดมั่นว่า อิสลามเป็นระบบที่สมบูรณ์แบบประมวลถึงกิจการด้านต่างๆในการดำเนินชีวิตทางโลกและทางศาสนา การปกครองและความเชื่อความศรัทธา ย้ำว่าแหล่งที่มาของอิสลามคืออัลกุรอานอันทรงเกียรติโดยความเข้าใจตามหลักภาษาอาหรับ และสุนนะฮฺตามสายรายงานของนัก หะดิษที่เชื่อถือได้
ผู้นำมีสิทธิเลือกเฟ้นบทบัญญัติที่นักวิชาการมีทัศนะที่แตกต่างกัน ตามสภาพแวดล้อม ขนบธรรมเนียมประเพณี ตราบใดที่ไม่มีตัวบท (อันนัศศฺ) ที่ชัดเจน และท่านอิหม่ามมีทัศนะว่า ทัศนะของทุกๆคนอาจจะนำมายึดถือหรือไม่ยึดถือก็ได้ นอกจากท่านผู้ปราศจากความผิดมุฮัมมัด
มุสลิมทุกคนจะต้องปฏิบัติตามอิหม่ามทางวิชาการศาสนา และควรจะต้องศึกษาหลักฐานที่มาของทัศนะเหล่านั้น ความแตกต่างทางฟิกฮ์ในประเด็นปลีกย่อย จะต้องไม่เป็นสาเหตุของความแตกแยก ความเกลียดชังและความโกรธแค้นระหว่างมุสลิม การสืบค้นประเด็นต่างๆ ที่ไม่มีผลในทางปฏิบัติ เป็นสิ่งต้องห้ามตามหลักศาสนาอิสลาม
ภาคผนวก
ก
ขบวนการอัล-อิควานอัล-มุสลิมูน
“ อัล-อิควานอัล-มุสลิมูน ” เป็นขบวนการอิสลามที่เคลื่อนไหว เรียกร้องเพื่อ
กลับสู่อิสลามตามที่ปรากฎในอัล-กุรอาน และอัล-หะดีษ เรียกร้องให้นำกฎหมายอิสลาม
มาใช้ในชีวิตประจำวัน
ขบวนการนี้ก่อตั้งโดย หะซัน อัล-บันนา ( ค.ศ. 1906 –1949 ) เขาเกิดใน
ประเทศ อียิปต์ เติบโตในครอบครัวที่ยึดมั่นศาสนาอย่างเคร่งครัด ได้รับการศึกษา
ศาสนา จากครอบครัว มัสยิด และเข้าเรียนในโรงเรียนของรัฐบาลจนกระทั่งได้ศึกษาต่อ
ในวิทยาลัยดารุลอุลูม ( Dar al-Ulum ) ณ กรุงไคโร เขาได้รับการศึกษาในปี ค.ศ. 1927
เขาได้รับการบรรจุเป็นครูในจังหวัดอิสมาอีลียะฮ์ ( Ismailiyyah ) ณ จุดนี้เขาเริ่มกิจกรรม
ทางด้านศาสนาในเดือนเมษายน ค.ศ. 1928 เขาเริ่มก่อตั้งขบวนการอัล-อิควานอัล-มุสลิมูน
ขึ้นเป็นครั้งแรก
ในปี ค.ศ. 1932 หะซัน อัล-บันนา ได้ย้ายจากอัล-อิสมาอีลียะฮ์ สู่นครไคโร
ขบวนการอัล-อิควานอัล-มุสลิมูน จึงได้ย้ายไปกับเขาด้วย ในปี ค.ศ. 1933 หนังสือพิมพ์
“อัล-อิควานอัล-มุสลิมูน” ได้การตีพิมพ์ เผยแพร่เป็นรายสัปดาห์ โดยมี มุฮิบบุดดีน
อัล-คอตีบ ( Mahabbuddin al-Khatib )เป็นบรรณาธิการ ต่อมาหนังสือพิมพ์ “ อัล-นะซีร”
(al-Nadhir ) ก็ได้รับการตีพิมพ์ ในปี ค.ศ. 1938 และหนังสือพิมพ์ “ อัล-ชีฮาบ ”
(al-Shihab) ได้รับการตีพิมพ์ ในปี ค.ศ. 1947 หลังจากนั้น ขบวนการอัล-อิควานอัล-
มุสลิมูนได้พิมพ์ หนังสือพิมพ์ และนิตยาสารหลายเล่ม
ในปี ค.ศ. 1941 ขบวนการอัล-อิควานอัล-มุสลิมูน ได้การก่อตั้งเป็นองค์กร
เพื่อการเคลื่อนไหว มีสมาชิก จำนวน 100 คน โดยที่ หะซัน อัล-บันนาเป็นผู้เลือกเอง
ในปี ค.ศ. 1948 ขบวนการอัล-อิควานอัล-มุสลิมูน เข้าร่วมรบกับปาเลสไตน์
เพื่อต่อต้านยิวและในเดือน พฤศจิกายน ปีเดียวกัน มะฮ์มูด อักรอซี (Mahmud al-Naqrasi )
ประธานสภาอิยิปต์ ในสมัยนั้น ได้ออกคำสั่งปราบปรามขบวนการอัล-อิควานอัล-มุสลิมูน
ทรัพย์สินของขบวนการถูกยึด ผู้ขบวนการหลายคนถูกจับกุม
ในเดือน ธันวาคม ค.ศ. 1948 อันนักรอซีถูกลอบสังหาร และขบวนการ
อัล-อิควานอัล-มุสลิมูนถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ลงมือสังหารเขา บรรดาพรรคพวกของ
198
นักรอซี ซึ่งติดตามศพเขา ต่างโห่ร้องว่า ศรีษะของนักรอซี ต้องแลกด้วนศรีษะของ
หะซัน อัล-บันนา และในวันที่ 12 เดือน กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1949 หะซัน อัล-บันนาก็ถูก
ลอบสังหาร
ในปีค.ศ. 1950 ขบวนการอัล-อิควานอัล-มุสลิมูน ได้รับการปลดปล่อย เพราะ
คำสั่งของอันรอซี ไม่ถูกต้องตามกฎหมายของประเทศ ขบวนการอัล-อิควานอัล-มุสลิมูน
ได้เลือก ได้เลือก หะซัน อัล-หุดัยบี ( Hasan al-Hudaibi ) เป็นผู้นำ เขาถูกจับหลายครั้ง
และในปี ค.ศ. 1954 เขาถูกตัดสินประหารชีวิต ต่อมาได้รับลดโทษ ให้จำคุกตลอดชีวิต
และในปี ค.ศ. 1971 เขาได้รับการปลดปล่อย
ในปี ค.ศ. 1951 วิกฤตการณ์ ความขัดแย้งระหว่าง อังกฤษ และอียิปต์ เพิ่มทวี
ขึ้นขบวนการอัล-อิควานอัล-มุสลิมูน ได้เข้าโจมตีอังกฤษ ณ คลองสุเอซ
ในปี ค.ศ. 1952 เกิดการปฎิวัติโค้นล้มกษัตย์อียิปต์ซึ่งมีอังกฤษคอยสนับสนุน
อยู่เบื้องหลัง การปฎิวัตินี้นำโดย มุฮัมมัด นายีบ ( Muhammad Najib ) โดยที่ได้รับการ
สนับสนุนจากขบวนการอัล-อิควานอัล-มุสลิมูน หลังจากการปฎิวัต ขบวนการอัล-อิควาน
อัล-มุสลิมูน ปฎิเสธการเข้าร่วมรัฐบาล เพราะแนวคิดของขบวนการไม่สอดคล้องกับ
รัฐบาล ด้วยเหตุนี้ ยามาล อบดุลนาซีร ( Jamal Abdunnasir ) ซึ่งเป็นประธานาธิบดีใน
สมัยนั้น ถือว่าขบวนการอัล-อิควานอัล-มุสลิมูน ปฎิเสธการปฎิวัต ทั้งสองฝ่ายเกิดความ
ขัดแย้งอย่างรุนแรง จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1954 สมาชิกขบวนการอัล-อิควานอัล-มุสลิมูน
ถูกจับ สมาชิกหลายพันคน หนีอย่างกระเจิดกระเจิง พวกเขาถูกกล่าวหาว่าพยายามลอบ
สังหาร ยามาล อับดุลนาซีร
ในปี ค.ศ. 1965- 1966 ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาล กับขบวนการอัล-อิควาน
อัล-มุสลิมูน ได้เกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่งอย่างรุงแรง และไปสู่การจับกุมสมาชิกของขบวนการ
สมาชิกหลายคนถูกทรมาน และสมาชิกหลายคนถูกประหารชีวิต รวมทั้งซัยยิด กุฎบ์
เขาเป็นนักคิดนักวิชาการของขบวนการอัล-อิควานอัล-มุสลิมูนคนที่สอง หลังหะซัน
อัล-บันนา ซึ่งถูกลอบสังหาร
แนวคิดของขบวนการอัล-อิควานอัล-มุสลิมูน
ความหมายของอิสลามตามแนวคิดของขบวนการอัล-อิควานอัล-มุสลิมูน
นั้นกว้าง ครอบคลุมทุกๆด้าน ไม่ละเลยในด้านใด ด้านหนึ่ง ดังนั้นขบวนการพยายาม
199
อย่างยิ่งในการกระจายกิจกรรมของขบวนการเพื่อเข้าสู่ระดับนานาชาติ
หะซันอัล-บันนาได้กล่าวถึงลักษณะ ของขบวนการอัล-อิควานอัล-มุสลิมูน
ว่า เป็นองค์กรที่
1 –ห่างไกลจากความขัดแย้งทางศาสนา
2 – ห่างไกลจากผู้ที่มีฐานะ มีชื่อเสียง หรือผู้มีระดับในรัฐบาล
3 – ห่างไกลจาก องค์กร หรือพรรคการเมือง
4 - เอาใจใส่ในการเสริมสร้างการเคลื่อนไหวขององค์กรในการดำเนินไปทีละขั้น
5 – ให้ความสำคัญในด้านการปฎิบัติมากกว่าการโฆษณาชวนเชื่อ
6 - ให้ความสำคัญในการรับสมาชิกที่เป็นวัยหนุ่มสาว
7 – พยายามเชิญชวนเผยแพร่ตามหมู่บ้านและในเมืองอย่างรวดเร็ว
หะซันอัล-บันนาได้กล่าวถึง สมาชิกของขบวนการอัล-อิควานอัล-มุสลิมูน
จะต้องให้สัตยบัน 10 ประการคือ
1 – การเข้าใจ หมายถึงการเข้าใจอิสลามอย่างสมบูรณ์ตามที่เขาเข้าใจ ซึ่ง รู้จักกันใน
ชี่อว่า อัล-อุซูล อัล-อิชรีน ( พื้นฐาน 20 ประการ )
2 – ความบริสุทธิใจ หมายถึง คำพูด การกระทำ การต่อสู้ ทุกอิริยบท ของเขาเพื่อ
อัลลอฮฺเพียงพระองค์ เดียว
3 – การปฎิบัติ หมายถึง
1 . พยายามปรับปรุงพัฒนาตนเองให้มีร่างกายที่แข่งแรง มีจริธรรมที่ดีเยี่ยม มีความคิด
มีปัญญาที่ดีเลิศและถูกต้อง มีความสามารถในการทำงาน มีความถูกต้องในการประกอบ
ศาสนกิจ
2 . สร้างบรรยากาศบ้านให้เป็นบ้านมุสลิม ด้วยการเน้นบ้านที่ถูกต้องตามอิสลาม รักษา
กฎระเบียบอิสลามไว้ในบ้าน
3 . ชี้นำสังคมด้วยการเผยแพร่ความดี และต่อต้านความชั่วและอบายมุข
4 . ปลดปล่อยประเทศจากอำนายภายนอก ที่ไม่ใช่อิสลาม ในด้านการเมือง เศรฐกิจ
และในด้านจิตใจ
5 . พัฒนา ปรับปรุงรัฐบาล ให้เป็นรัฐบาลอิสลามอย่างแท้จริง
4 - การต่อสู้ในแนวทางของอัลลอฮฺ
200
5 – การเสียสละ หมายถึง การเสียสละตัวเอง ทรัพย์สิน เวลา เพื่อให้เป้าหมายของ
ขบวนการสำเร็จ
6 – การเชื่อฟัง หมายถึง การเชื่อฟัง และปฎิบัติ ในยามทุกข์ยาก และในยามสุขสบาย
7 – ความหนักแน่นมั่นคง หมายถึงสมาชิกของขบวนการจะต้องปฎิบัติเพื่อบรรลุเป้า
หมาย แม้ว่าจะใช้ระยะทางที่ไกล และระยะเวลาที่ยาวนาน
8 – การเป็นเอกเทศ หมายถึง ความคิดของขบวนการต้อง ไม่ปะปนกับแนวคิดอื่น
เพราะแนวคิดของขบวนการสมบูรณ์ถูกต้องตามระบบอิสลามแล้ว
9 – ความเป็นพี่น้อง หมายถึงสมาชิกของขบวนการต้องมีจิตใจที่รักใคร่ผูกพันกันด้วย
สายใยแห่งการศรัทธา
10 – การไว้วางใจ หมายถึง สมาชิกต้องไว้ใจผู้นำในการบริหารอย่างบริสุทธิใจ
(al-Nadwah al-Alamiyyah Li al-Shabab al-Islami,1989:23-27 ; al-Banna,1984 :356-364__
ผมไม่เห็นด้วยกับการที่ยกสาศนาอิสลามมาเป็นเกราะกำบังในเมื่อไม่ตรงตามที่สาศนาอิสลามสอนมา
ตอบลบขึ้นอยู่กับการปฏิติบัติว่า
ตอบลบตรงตามแนวทางอิสลามที่แท้จริงหรือไม่
ผมว่ามันไม่ใช่หน้าที่ของเรา ที่จะไปด่วนตัดสิน ด่วนสรุปว่าใครถูกใครผิด เพราะนั้นคืองานของอัลลอฮ ว่าไหมคับ ดังนั้น ถ้าเรามีเป้าหมายเดียวกันคือฟื้นฟูอิสลามให้กลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง ตามแนวทางของท่านนบีมูฮัมหมัด เรามาร่วมใจกัน เรามาร่วมสร้างสรรค์กัน เรามาร่วมเป็นหนึ่งกัน ในบริบทที่แตกต่างกันคับ(อุมมะห์วาฮีดะห์ ในบริบทที่หลากหลาย)ดีไหมคับ เพราะความแตกต่าง ความหลากหลาย คือฟิตเราะห์ที่อัลลอฮสร้างใช่ไหมคับ เรามาแสวงจุดที่ร่วมกัน ผมไม่อยากเห้นพี่น้องของเราทั้งหลาย ทะเลาะด้วยกันเองคับ อามีน
ตอบลบการปกครองของทานนบี นั้นไม่ใช่การเมืองหรือ คุนจะอยู่ใต้การปกครองของกาเฟรตลอดไปงั้น หรือใใใใใใใใใใใใใใใใ
ตอบลบย
ไม่ว่าใครจะเป็นอิควาน เป็นอะชาอิเราะ เป็นตับลีค และอื่นๆ
ตอบลบทุึกคนล้วนเป็น ซุนนะ และมีแนวทางตาม กิตาบุลลอฮฺและซุนนะ
ที่อยู่ภายในสังคม ที่เราเรียกว่า ซุนนะวัลญะมาอะ ทั้งหมด
โดยพวกเขาล้วนแสวงหาความโปรดปรานจากอัลลอฮฺทั้งสิ้น
ยกเว้นว่า แนวทางบางอย่างนั้นถูกกลืนไปกับกาลเวลา
ทำให้การปฏิบัติบางอย่างนั้นไม่ถูกต้อง และกลายเป็นสิ่งที่ไม่ดี
แต่เมื่อพวกเขานั้นล้วนมี รุก่นอีหม่าน และรุก่นอิสลาม ครบถ้วน
พวกเขาก็คือพี่น้องของเราแล้ว แม้ว่าอาจจะมีการปฏิบัติแตกต่างไปบ้าง
สุดท้ายพวกเขาก็จะต้องถูกสอบสวน
เราจึงมีหน้าที่ตักเตือนพวกเขาเหล่านั้นให้อยู่ในแนวทางที่เที่ยงตรง
หาใช่มีหน้าที่คอยซ้ำเติม หรือคอยยุแยง หรือสะใจ
กับการแตกแยกของพี่น้องมุสลิม
จึงเรียนมาเพื่อทราบ
และหวังว่าพี่น้องทุกท่านจะระมัดระวังตนเองด้วย
อินชาอัลลออฺ
ผมว่าซุนนะมีแนวทางเดียวไม่ใช่หลายพวกมารวมกัน นี่ไม่ใช่แนวทางของอิสลาม
ลบ