วันพฤหัสบดีที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2553

มุสตอฟา เคมาล อตาเติร์ก และการทำลายล้าง สถาบันหรือระบบคิลาฟะฮฺของชาวมุสลิม

เคมาล อตาเตอร์ก วีรบุรุษของใคร?
มุสตอฟา คามาล
เขาเป็นประธานาธิบดีคนแรกของเตอร์กีและได้นามสกุลใหม่คืออตาเตอร์ก (บิดาแห่งเตอร์กี) เป้าหมายของเขาก็คือต้องการให้เตอร์กยิ่งใหญ่โดยเน้นชาตินิยม
http://www.youtube.com/watch?v=-H8S5E9ATak&feature=related

การเมืองก่อนการปฏิรูปของเคมาล
มุสตอฟา เคมาล เป็นสมาชิกคนหนึ่งของกลุ่มยังเตอร์ก เกิดในปี ค.ศ.1881 ที่เมือง ซาโลนิก้า แคว้นมาซิโดเนีย สุลต่าน อับดุลฮามีดแห่งอาณาจักรออตโตมานปกครองอยู่บรรยากาศทางการเมืองขณะนั้นเต็มไปด้วยการเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบประชาธิปไตย และสภาพทางสังคมหลากหลายด้วย เชื้อชาติ เตอร์ก อาหรับ กรีก ยิว อัลมาเนียน ฯลฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองซาโลนิก้าเป็นเมืองที่มีประชาชนหลายเชื้อชาติอาศัยอยู่ ทางด้านศาสนาชนส่วนใหญ่ในอาณาจักรออตโตมานนับถืออิสลาม แต่ก็มีคริสต์ ยิว อาศัยในดินแดนที่อยู่ฝั่งทวีปยุโรปในส่วนพวกที่นับถือศาสนาอิสลามก็มีประเพณีท้องถิ่น และสิ่งแปลกปลอมตางๆ เข้ามาปะปน เช่น ลัทธิซูฟีที่เน้นเรื่องจิตวิญญาณ การใกล้ชิดกับพระผู้เป็นเจ้า และการปฏิบัติของพวกที่อ้างตัวเป็นผู้รู้ทางศาสนาก็เริ่มพิธีรีตองมากมาย การบูชานักบุญ การเยี่ยมสุสานของบุคคลสำคัญ และการขอพรจากหลุมศพ สุลต่านที่ประกาศตัวเป็นคอลีฟะฮก็มิได้ประพฤติปฏิบัติตามระบอบการปกครองของอิสลามอย่างแท้จริง มุสตอฟา เคมาล เติบโตมาท่ามกลางความขัดแย้งทั้งทางสังคมและทางการเมือง ในบันทึกความจำกล่าวไว้ว่า "สิ่งที่จดจำฝังใจประการแรกในวัยเด็กก็คือ ปัญหาเกี่ยวกับการเข้าเรียนพ่อกับแม่ได้โต้เถียงกันยกใหญ่ แม่ต้องการให้ผมเริ่มต้นการศึกษาในโรงเรียนสอนศาสนาใกล้บ้าน แต่พ่อซึ่งเป็นข้าราชการกรมศุลกากร อยากจะส่งผมไปเรียนที่โรงเรียนเซมซี อีเฟนดี ที่เพิ่งเปิดใหม่สอนตามระบบสมัยใหม่ ในที่สุดพ่อผลก็แก้ปัญหาความขัดแย้งโดยยอมส่งผมไปเรียนตามใจแม่และอีกสองสามวันต่อมา ผมก็ย้ายมาเรียนที่โรงเรียน เซมซี อีเฟนดี" ในวัยหนุ่มเคมาลได้เข้าเรียนในโรงเรียนเตรียมทหารและวิทยาลัยการทหารในกรุงอิสตันบูล หลังจากจบการศึกษาแล้วก็เข้ารับราชการในกองทัพบกของอาณาจักรออตโตมานโดยไปประจำอยู่ที่ซีเรีย ในช่วงนี้เองที่เคมาลเป็นสมาชิกของพวกยังเตอร์ก ระหว่างที่อยู่ในซีเรียได้จัดตั้งองค์การลับ ชื่อ สมาคมปิตุภูมิ () มีสาขาอยู่ในกรุงเยรูซาเลมเมืองยัฟฟา องค์การนี้ต้องการให้สุลต่านประกาศใช้รัฐธรรมนูญ และจัดตั้งรัฐบาลที่มีประสิทธิภาพตามความประสงค์ของฝ่ายทหาร ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นสมาคมปิตุภูมิและเสรีภาพ () ในขณะนั้นไม่ได้ดำเนินการอะไรมากนัก เพราะนายทหารอาวุโสไม่เห็นด้วยกับการปฏิวัติ และซีเรียก็อยู่ไกลเมืองหลวง นอกจากประชาชนท้องถิ่นซึ่งเป็นชาวอาหรับไม่มีความคิดที่จะก่อการกบฏต่อต้านสุลต่าน จากสาเหตุนี้ มุสตอฟา เคมาล จึงย้ายฐานปฏิวัติมายังเมืองซาลโลนิก้า ซึ่งเป็นบ้านเกิดของเขา ซาโลนิก้ากลายเป็นศูนย์กลางของการปฏิวัติมากกว่าดามัสกัสเพราะมีความใกล้ชิดทางวัฒนธรรมกับยุโรปมากกว่าเมืองอื่นๆ ในอาณาจักรออตโตมาน ประชาชนในเมืองนี้ตื่นตัวต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในยุโรป ในเมืองนี้มีชาวยิวอาศัยอยู่มาก และชาวยิวกลุ่มใหญ่ที่อาศัยอยู่ในเมืองนี้เปลี่ยนมารับนับถืออิสลาม อย่างไรก็ตามพวกนี้รับนับถืออิสลามแต่เพียงเปลือกนอก เสแสร้งทำเพื่อให้มุสลิมยอมรับพวกตนเข้าอยู่ในชุมชน แต่ยังแอบปฏิบัติตามความเชื่อเดิมของตนอย่างลับๆ ในปี ค.ศ.1906 แนวคความคิด มุสตอฟา ได้รับการยอมรับอย่างดีในเมืองซาโลนิก้า แต่เมื่อเขาต้องเดินทางกลับไปซีเรียและกลับมายังเมืองซาโลนิก้า ในปีต่อมา เขาพบว่าเขาไม่ได้เป็นแกนนำเสียแล้ว ตัวเขาต้องกลายเป็นผู้ปฏิบัติตามและสมาคมก็เปลี่ยนชื่อเป็น สมาคมออตโตมานเสรี สมาคมนี้ประชุมกันในสถานที่องค์การลับชาวยิว และได้รับเงินช่วยเหลือจากชาวยิวที่ปลอมตัวมาเป็นมุสลิม ในปี ค.ศ. 1908 กลุ่มยังเตอร์กทำการปฏิวัติสำเร็จ อาณาจักรออตโตมานตกอยู่ภายใต้การนำของบุคคลสามคนได้แก่ ตาลาต เบย์ เอนเวอร์ ปาชา และเจมาล เบย์ หลังจากนั้นก็ประกาศใช้รัฐธรรมนูญโดยยังคงมีสุลต่านอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ พวกยังเตอร์กมีความคิดชาตินิยมเตอร์ก เน้นเชื้อชาติเตอร์กและตาตาร์ที่อยู่ในเอเชียกลางจึงระดมปัญญาชน นักคิดนักเขียนให้พยายามปลุกเร้าสร้างความภาคภูมิใจในความเป็นยังเตอร์ก แต่ความหวังของยังเตอร์กต้องพังทลาย เพราะกลุ่มที่นิยมอิสลามได้ก่อปฏิวัติซ้อนและเกิดการกบฏในอัลมาเนีย บุลเกเรีย เซอร์เบีย กรีก โตมาน อิตาลีบุกทริโปลี ในปี ค.ศ. 1911 และในที่สุดก็เกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่งซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้กลุ่มยังเตอร์กต้องสิ้นอำนาจ ในช่วงสมัยที่กลุ่มยังเตอร์กขึ้นมามีอำนาจนั้น มุสตอฟามีความขัดแย้งกับพวกแกนนำจึงต้องถุกส่งไปปฏิบัติการตามท้องถิ่นต่างๆ เมื่ออิตาลีบุกทริโปลีเขาได้รับคำสั่งให้ไปต่อต้านโดยจัดตั้งกองทหารประจำท้องถิ่นต่อสู้กับผู้รุกราน เมื่อเกิดกบฏที่บัลข่านเขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บังคับบัญชาการกองกำลังปกิบัติการปราบปรามกบฏที่เมืองแกลลิปโปลี ในปี ค.ศ. 1913 เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นทูตทหารประจำโซเฟีย และเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง อาณาจักรออตโตมานได้เข้าร่วมสงครามอยู่ฝ่ายเยอรมัน ออสเตรีย ฮังการี มุสตอฟา ไม่เห็นด้วยกับการเข้าร่วมสงครามครั้งนี้ แต่ก็ต้องไปประจำอยู่กองพลที่ 19 ต่อต้านฝ่ายสัมพันธมิตรที่แกลลิปโปลี เคมาลได้รับชัยชนะโดยสามารถผลักดันให้อังกฤษ ฝรั่งเศสต้องถอนกำลังออกจากคาบสมุทรช่วยป้องกันไม่ให้ศัตรูเข้ายึดกุมช่องแคบดาดาเนล เมื่องสงครามโลกครั้งที่หนึ่งยุติลงโดยออตโตมานเป็นฝ่ายแพ้ มุสตอฟา เคมาล ได้ถูกส่งตัวไปอานาโตเลียเพื่อควบคุมข้าราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนรักษาความสงบ เขาเดินทางไปถึงเมืองแซมซันในวันที่ 19 พฤษภาคม ค.ศ. 1919 แต่แทนที่จะไปรักษาความสงบเขากลับไปตั้งกองกำลังต่อต้านการยึดครองของกรีกและฝ่ายสัมพันธมิตร เคมาลจัดตั้งสภาแห่งชาติขึ้นที่เมืองซีวาส และภายหลังย้ายไปตั้งศูนย์กลางบัญชาการที่เมืองอังการ่า ในช่วงระยะเวลานี้เกิดขัดแย้งกับรัฐบาลที่กรุงอัสตันบูลอย่างรุนแรง เพราะการที่มุสตอฟามาตั้งสภาแห่งชาติขึ้นที่อังการ่านั้นเท่ากับเป็นกบฏต่อรัฐบาลอิสตันบูล ซึ่งมีสุลต่านเป็นผู้ปกครองเพราะผู้นำคนสำคัญๆ ของพวกยังเตอร์กได้หลบหนีออกนอกประเทศหมด สุลต่านวาอิดดีนแห่งอิสตันบูล ได้ประกาศถอดถอนตำแหน่งทางทหารของมุสตอฟาทันที และใช้เชคคุลอิสลามประกาศให้ชาวเตอร์กต่อต้านมุสตอฟาในทำนองเดียวกันเพื่อเป็นการตอบโต้มุสตอฟา เคมาล ก็จัดพิธีละหมาดในมัสยิดแห่งเมืองอังการ่า เพื่อขอพรต่อพระผู้เป็นเจ้าให้เตอร์กพ้นภัยพิบัติจากการรุกรานของกรีก และให้หัวหน้าอุลามาอ ในอานาโตเลียประกาศให้มุสลิมต่อต้านรัฐบาลที่กรุงอิสตันบูล โดยอ้างว่ารัฐบาลนั้นทรยศต่อชาติ สถานการณ์เช่นนี้ฝ่ายมุสตอฟาได้เปรียบเหตุและความจำเป็นในการทำสงครามกับกรีก ซึ่งตอนนั้นได้บุกรุกเข้าไปในอานาโตเลียเป็นเรื่องที่ชาวเตอร์กทุกคนควรให้การสนับสนุน นอกจากนี้บรรดานายทหารและเจ้าหน้าที่ระดับสูงฝ่ายพลเรือนก็เข้าร่วมกับมุสตอฟาเคมาลหลาย คนต้องหลบหนีจากอิสตันบูลข้ามมาฝั่งอานาโตเลียเพื่อร่วมต่อต้านกรีกในกลางปี ค.ศ. 1920 กรีกได้เคลื่อนทัพจากเมืองอิซมีร์มาทางตะวันออกยึดเมืองบูรซา และได้รับชัยชนะหลายแห่งมุ่งหน้าเข้าใกล้เมืองอังการ่า มุสตอฟา เคมาล และอิสเมท อิโนนุได้นำทหารและประชาชนต้านทานการบุกของกรีกอย่างได้ผลในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน ค.ศ. 1921 และปีต่อมาเขาสามารถตีโต้กลับไปบ้างจึงสามารถขับไล่กรีกออกจากดินแดนเตอร์กได้สำเร็จ ชัยชนะครั้งนี้สร้างความภาคภูมิใจ เรียกศักดิ์ศรีของชาวเตอร์กกลับคืนมาหลังจากที่พ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง นอกจากนี้ทำให้แผนการณ์ของอังกฤษที่จะเข้าควบคุมออตโตมานต้องล้มเลิก ขณะเดียวกันฝรั่งเศสได้ส่งเจ้าหน้าที่มาเจรจากับฝ่ายมุสตอฟา ที่กรุงอังการ่าและพอใจที่เอตร์กีไม่สนใจดินแดนอาหรับที่เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรออตโตมาน ฝรั่งเศสจึงไม่ติดใจทำสงครามกับเตอร์กีอีก ขณะนั้นเตอร์กีอยู่ภายใต้การนำของมุสตอฟา เคมาล จึงพ้นภัยคุกคามจากภายนอก ในปี ค.ศ. 1923 มุสตอฟา ได้ส่งผู้แทนไปเจรจากับอังกฤษ และลงนามในสนธิสัญญาโลซาน ซึ่งมีข้อใหญ่ใจความที่สำคัญดังนี้คือ เตอร์กีมีอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนอานาโตเลียและกรุงอิสตันบูลดินแดนนอกจากนี้ เช่น ปาเลสไตน์ คาบสมุทรอารเบีย ไม่อยู่ในความครอบครองของเตอร์กี ช่องแคบดาดาแนล และบอสฟอรัสให้อยู่ภายใต้การควบคุมของนานาชาติเป็นเขตปลอดทหาร ยกเว้นทหารของเตอร์กีที่อยู่ในกรุงอิสตันบูล การต่อสู้ชิงอำนาจภายในระหว่างรัฐบาลของสุลต่านที่กรุงอิสตันบูล กับรัฐบาลแห่งชาติของมุสตอฟา เคมาล ที่กรุงอังการ่า สิ้นสุดตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1922 เมื่อสุลต่านองค์สุดท้ายได้หนีออกจากประเทศเปิดทางให้มุสตอฟา เคมาล ขึ้นปกครองประเทศเตอรืกีทั้งหมด เขาเป็ประธานาธิบดีคนแรกของเตอร์กีและได้นามสกุลใหม่ คือ อตาเตอร์ก (บิดาแห่งเตอร์กี)

แบบปฏิรูปการเมืองของอตาเตอร์ก
        มุสตอฟา เคมาล อตาเตอร์ก ขึ้นเป็นผู้นำของเตอรืกี ในปี ค.ศ. 1922 โดยย้ายเมืองหลวงจากนครอิสตันบูลมาอยู่ที่นครอังการ่า หลังจากได้อำนาจแล้วเขาได้เริ่มดำเนินการปฏิรูปทางการเมืองของประเทศเตอรืกีทันที เป้าหมายอขงเขาก็คือต้องการเปลี่ยนจากอาณาจักรออตโตมานอันกว้างใหญ่และประกอบด้วยคนกลายเชื้อชาติ มาเป็นประเทศเตอร์กีที่มีแต่ประชาชนเชื้อชาติเตอร์กีเป็นหลัก ต้องการให้เตอร์กียิ่งใหญ่โดยเน้นในเรื่องชาตินิยม และมุสตอฟา เคมาล อตาเตอร์กได้ปฏิรูปหลายสิ่งหลายอย่างด้วยกัน แต่ในที่นี้จะขอกล่าวเพียงบางส่วนที่เกี่ยวข้องทางด้านการเมืองการปกครองเท่านั้น

การล้มเลิกระบบคอลีฟะฮ
มุสตอฟา เคมาล อตาเตอร์ก ได้เริ่มสร้างเตอร์กีใหม่ หลังจากได้รับชัยชนะทางการทหารและทางการเมืองแล้ว เขากลายเป็นวีรบุรุษของเตอร์กีและใช้โอกาสนี้ขระที่อิทธพลทางการเมืองให้รัฐสภาออกกฎหมายประกาศล้มเลิกตำแหน้งสุลต่านแห่งอาณาจักรออตโตมานในวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1922
ในขณะนั้นมติมหาชนมีความเห็นว่าควรจะเปลี่ยนระบบการปกครองให้สุลต่านอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญเหมือนของอังกฤษ แต่มุสตอฟา เคมาล อตาเตอร์ก คิดว่าระบอบการปกครองที่เหมาะสมที่สุดสำหรับเตอร์กีคือ สาธารณรัฐประชาธิปไตย ขณะนั้นถึงเวลาแล้วที่เขาจะนำประเทศไปสู่ความทันสมัย เป็นเวลาที่เหมาะสมยิ่งที่จะล้มเลิกระบบสุลต่านเพราะเขากำลังเป็นวีรบุรุษแห่งสงครามและได้พิสูจน์ให้ประชาชนเห็นชัดแล้วว่าสุลต่านแห่งอิสตันบูลได้กระทำผิดถึงขั้นทรยศต่อชาติร่วมมือกับอังกฤษไม่ได้ต่อต้านกรีกผู้รุกราน ในขณะที่เขาต้องทำสงครามกับกรีกอยู่ในดินแดนที่อานาโตเลียสุลต่านแห่งอิสตันบูลกลับให้เชคกุลอิสลามประกาศต่อต้านเขา ดังนั้นเมื่อเขาได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาดแล้วก็เป็นโอกาสที่เขาจะจัดการกับสุลต่านทันที ถ้าปล่อยให้เนิ่นเข้าสุลต่านอาจได้รับความเห็นอกเห็นใจจากประชาชนมากขึ้น
เพราะอาจจะอ้างเหตุผลว่า ในขณะนั้นสุลต่านเองต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของฝ่ายสัมพันธมิตร ในฐานะที่พวกยังเตอร์กได้นำประเทศเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และออตโตมานเป็นฝ่ายพ่ายแพ้สุลต่านอาจจะโยนความผิดให้กับพวกยังเตอร์กก็ได้ เพราะในช่วงระยะเวลาก่อนสงครามและระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่งนั้น ผู้ที่มีอำนาจปกครองอาณาจักรที่แท้จริงคือพวกยังเตอร์กสุลต่านไม่มีอำนาจอะไร แต่เมื่อสงครามสิ้นสุดลงโดยออตโตมานเป็นฝ่ายแพ้ พวกยังเตอร์กก็หนีออกนอกประเทศหมด ปล่อยให้สุลต่านรับหน้าอยู่ที่อิสตันบูล สุลต่านไม่มีอำนาจต่อรองกับฝ่ายสัมพันธมิตรเลย แต่มุสตอฟาไม่ได้เปิดโอกาสให้สุลต่านแก้ตัว เขาดำเนินการทางรัฐสภาทันที ตามความคิดของเคมาล อตาเตอร์กเกี่ยวกับการที่ประชาชนยังจงรักภักดีต่อสุลต่านนั้นเป้นเพราะความล้าหลังทางสังคมและการเมืองของอาณาจักรออตโตมาน ถ้าเป็นไปตามระบอบสาธารณรัฐแล้ว ประชาชนจะต้องมีจิตสำนึกในความรับผิดชอบทางการเมืองเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ การปกครองในระบบสุลต่านนั้นเป็นเรื่องน่าละอายสำหรับประเทศชาติที่กำลังก้าวหน้าไปสู่ความทันสมัย และเป็นการลดศักดิ์ศรีของประชาชน ระบบสุลต่านเป็นระบบสืบทอดตำแหน่งที่เลวร้าย อารยชนจะต้องตัดสินใจอย่างบริสุทธิ์ ยุติช่วงสมัยที่สุลต่านขึ้นมามีอำนาจทางการเมืองในขณะนั้นรัฐสภาพร้อมที่จะขับสุลต่านวาฮิดดีนออกจากตำแหน่ง แต่ไม่คิดจะล้มเลิกระบบสุลต่าน ตลอดประวัติศาสตร์ออตโตมานยังไม่เคยมีใครก่อการกบฏคิดล้มเลิกระบบสุลต่านแม้แต่ครั้งเดียว ประชาชนคิดเพียงต้องการเปลี่ยนสุลต่านเท่านั้น และคาดการณ์ว่า เคมาล อตาเตอร์กคงขึ้นมาเป็นนายกวะซีรแม้แต่ผู้ร่วมก่อการปฏิวัติต่อสู้มากับเคมาล เช่น รออุฟ อาลีฟูอาด ก็มีความคิดขัดแย้งกับ เคมาลในเรื่องนี้ แต่เคมาลก็ยืนยันในเจตนาของเขาอย่างแน่วแน่เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการ เขาได้เสนอญัตติเข้าสู่สภาให้ล้มเลิกระบบสุลต่านและยืนยันว่าสิทธิและอำนาจอธิปไตจยเป็นของชาติรัฐสภาได้มอบหมายให้คณะกรรมาธิการนำเรื่องนี้มาประชุมในห้องประชุมเล็ก และอภิปรายในญัตติดังกล่าว มุสตอฟา เกรงว่าคณะกรรมาธิการจะลงมติคัดค้านข้อเสนอของเขาจึงแอบเข้าไปนั่งในห้องประชุมเพื่อฟังการอภิปราย การอภิปรายได้ดำเนินไปอย่างกว้างขวางและมีท่าทีว่าไม่ผ่านญัตติของมุสตอฟา เคมาล เขาจึงลุกขึ้นยืนประกาศว่า"ท่านผู้มีเกียรติ อำนาจอธิปไตยและสิทธิในการปกครองนั้นไม่สามารถจะมอบให้กับบุคคลแรกที่พยายามแสวงหาโดยไม่ผ่านการพิจารณาถกเถียงกันทางด้านวิชาการ อำนาจอธิปไตยนั้นได้มาโดยการใช้กำลังและโดยการละเมิด ลูกหลานของออสมานยึดอำนาจและขึ้นปกครองชาวเตอร์กเป็นเวลากว่าหกศตวรรษ ขณะนี้ประชาชาติได้ก่อกบฏต่อต้านผู้ครองบัลลังก์ และนำพวกเขามาอยู่ในสถานะที่ถูกต้อง พวกเขาต้องการใช้อำนาจอธิปไตยเสียเอง นี่เป็นข้อเท็จจริง ข้าพเจ้าคิดว่าเป็นโอกาสอันดีถ้าที่ประชุมนี้จะพิจารณาเรื่องนี้ให้เป็นไปตามธรรมชาติถ้าไม่ ข้าพเจ้าจำเป็นต้องใช้มาตรการที่จำเป็นขั้นสุดท้ายตามความเป็นจริง และที่ศีรษะของคนบางคนอาจหลุดออกจากบ่า" ทันทีที่เคมาลกล่าวจบที่ประชุมเงียบ และรู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น โฮจา มุสตอฟา เอเฟนดี้ได้กล่าวในนามของทุกคนว่า "ขอประทานอภัย ขณะนี้เรามองสถาการณ์ไปอีกทางหนึ่งแล้ว เรามีความเข้าใจโดยสมบูรณ์"หลังจากนั้นรัฐสภาก็ยอมผ่านญัตติให้ล้มเลิกระบบสุลต่าน การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้นับว่าเป้นจุดหัวเลี้ยวหัวต่อในทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญต่อประเทศเตอร์กีมาก เพราะมุสตอฟา เคมาล ได้ล้มระบอบการปกครองที่ดำเนินมาเป็นเวลาช้านานและกำลังทดแทนด้วยระบอบการปกครองแบบใหม่ นั้นก็คือระบอบประชาธิปไตยแบบตะวันตก ถ้าเราพิจารณาตามคำปราศรัยของมุสตอฟา เคมาล แล้ว จะเห็นว่าเขามีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะล้มระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราช และเปลี่ยนมาเป็นการปกครองแบบสาธารณรัฐประชาธิปไตย แต่เมื่อพิจารณาจากความเป็นจริงหลังจากมุสตอผา เคมาล ขึ้นมามีอำนาจปกครองประเทศเตอร์กีจนกระทั่งเขาสิ้นชีวิต ข้อเท็จจริงปรากฏว่าไม่ได้เป็นไปตามนั้นประเทศเตอร์กีกลับมีระบอบการปกครองแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ แต่เป็นเผด็จการจำแลงแปลงกายมาในรูปประชาธิปไตย ดูภายนอกว่าเป็นสาธารณะ รัฐประกาศว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติ ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในการกำหนดชะตากรรมของประเทศ แต่ความเป็นจริงมุสตอฟา เคมาล อตาเตอร์ก ได้ใช้อำนาจข่มขู่บีบบังคับประชาชนมาโดยตลอด รัฐบาลและรัฐสภาตกอยู่ภายใต้การควบคุมของเขาอย่างสิ้นเชิง รัฐสภาต้องออกเสียงลงมติให้เป็นไปตามความต้องการของเคมาลทุกประการ มุสตอฟา เคมาล ได้จัดตั้งพรรคสาธารณประชาชนขึ้น และเข้ามาปกครองระบบพรรคเดียวนั้น ไม่ใช่ว่าไม่มีพรรคอื่นขึ้นมาท้าทายอำนาจหรือมาเป็นคู่แข่งขันให้ประชาชนได้มีโอกาสเลือก แต่เป็นเพราะว่ามุสตอฟา เคมาล ต้องการเป็นผู้นำตลอดกาล ไม่อยากให้ใครขึ้นมาแย่งอำนาจไปจากตนในบางครั้งเคมาล เกรงว่าประเทศตะวันตกจะวิจารณ์การปกครองของตนว่าเป็นแบบเผด็จการ จึงอนุญาตให้ผู้ที่เคยร่วมปฏิวัติกันมาแต่มีความคิดเห็นแตกต่างกันได้ตั้งพรรคใหม่ชื่อ พรรคสาธารณรัฐก้าวหน้า () ซึ่งมีกอเซ็ม การาบากีร อาลี ฟูอาด เรฟัต เบเล รออูฟ ออรเบ เป็นแกนนำ พรรคนี้คัดค้านนโยบายเซคคิวล่าร์ () สนับสนุนสาธารณรัฐประชาธิปไตย เสรีนิยม เริ่มจัดตั้งองคืการพรรคทั่วประเทศและได้รับการสนับสนุนจากประชาชนทั่วไป พรรคนี้วิจารณ์ว่า มุสตอฟา เคมาล อยู่เหนือพรรคและรัฐสภาพรรคของเคมาลกับรัฐสภาคือองค์กรเดียวกัน พรรคใหม่เริ่มได้รับคะแนนนิยมจากประชาชนมากขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้เคมาล จึงหาทางกำจัด พอดีขณะนั้นมีการกบฏโดยชาวเคริด เคมาลจึงถือโอกาสออกกฎอัยการศึกให้รัฐบาลมีอำนาจเผด็จการยิ่งขึ้น ในวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 1925 และเคมาลจึงสั่งยุบพรรคสาธารณรัฐก้าวหน้าทันที
         อีกครั้งหนึ่งเมื่อมุสตอฟา เคมาล รู้สึกว่า ฐานอำนาจของเขาเข้มแข็งดีแล้วจึงคิดที่จะให้มีพรรคอื่นขึ้นมาเป็นตัวประกอบ และเพื่อลดการต่อต้านอย่างรุนแรงเปลี่ยนท่าทีมาเป็นการคัดค้านในสภาที่เขาสามารถควบคุมได้ เขาก็เรียกอดีตนายกวะซีรของเขาคนหนึ่ง ชื่อ อาลี ฟัตฮิ มาปรึกษาหารือกันเพื่อให้ตั้งพรรคขึ้นมาใหม่ อดีตนายกของเขาก็ยินยอมพร้อมใจกันตั้งพรรคขึ้นมาชื่อพรรคสาธารณรัฐเสรี () มีนโยบายคล้ายคลึงกับพรรคของเคมาล ยกเว้นนโยบายทางเศรษฐกิจ อาลี ฟัตฮิเริ่มสร้างองค์กรพรรคเดินทางหาเสียงทั่วประเทศ ต้องการยุติการผูกขาดโดยรัฐ พยายามให้มีระบบเศรษฐกิจแบบเสรนิยมลดภาษีและต้องการเปลี่ยนแปลงบรรยากาศทางการเมืองให้มีเสรีภาพ เมื่อประชาชนให้ความสนใจสนับสนุนพรรคของอาลีมากขึ้น พวกที่นิยมอิสลามได้เข้ามาให้การสนับสนุนอีกแรงหนึ่ง เหตุการณ์เช่นนี้เป็นสิ่งบอกเหตุหรือเป็นเครื่องเตือนรัฐบาลให้ทราบว่า สถานการณ์มีแนวโน้มว่าจะไม่อาจควบคุมได้ ในโอกาสที่มีการอภิปรายในรัฐสภา ในวันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1930 เมื่ออาลี กล่าวว่าการเลือกตั้งที่ผ่านมามีการกระทำที่ส่อไปในทางทุจริต โดยฝ่ายรัฐบาลเป็นผู้กระทำ ทำให้พรรคของเขาสูญเสียที่นั่งในรัฐสภาหลายที่นั่ง การอภิปรายเริ่มโต้ตอบกันรุนแรงมากขึ้นถึงขั้นมีการกล่าวหาย้อนหลังว่า อาลีเคยทรยศต่อชาติในสมัยที่ทำสงครามกู้เอกราช อาลีได้โต้ตอบและกล่าวโจมตีรัฐบาลอย่างเผ็ดร้อน เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ เคมาล อตาเตอร์กจึงสรุปว่าเตอร์กียังไม่พร้อมที่จะมีพรรคอื่น นอกจากพรรคของเขา เคมาลจึงสั่งยุบพรรคสาธารณรัฐเสรีทันที ในวันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ.1930 พรรคสาธารณเสรีนั้นตั้งขึ้นมาในตอนแรกเป็นการรู้กันระหว่างมุสตอฟา เคมาล กับอาลี เพื่อตบตาชาวโลกให้เข้าใจว่าเตอร์กีปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย แต่ครั้นพอดำเนินการไปพรรคของอาลีได้เสียงสนับสนุนจากประชาชนเกินคาด อาลีชักจะเล่นเกมการเมืองจริงจังขึ้น เล่นเกินบทบาทที่กำหนด เพื่อไม่ให้เป็นขวากหนามกีดขวางหนทางสู่อำนาจตั้งแต่นั้นมาพรรคของเคมาล อตาเตอร์กก็ปกครองประเทศในระบบพรรคเดี่ยวจนถึงปี ค.ศ. 1945 พรรคได้ดำเนินการอย่างกว้างขวางเป็นที่มาของอำนาจทางการเมือง ผู้ใกล้ชิดและเชื่อฟังเคมาลอย่างว่าง่ายก็ได้เป็นใหญ่เป็นโต ได้รับการส่งเสริมให้เข้าเป็นสมาชิกรัฐสภา ใครที่ไม่เห็นด้วยแม้แต่ในบางเรื่องก็กลายเป็นพวกปฏิกิริยา เคมาล อตาเตอร์ก ได้เป็นประธานพรรคสาธารณประชาชน และประธานาธิบดีตลอดกาล สมาชิกของพรรคนี้มีจำกัดอยู่ในหมู่ชนชั้นสูงของเตอร์กี โดยผ่านการแนะนำ และตรวจสอบก่อนที่จะรับสมัครสมาชิก และเมื่อรับเข้าเป็นสมาชิกแล้วก็ต้องยอมรับระเบียบวินัยของพรรคอย่างเข้มงวด เข้าร่วมประชุมพรรคสม่ำเสมอ องค์กรสาขาของพรรคมีอยู่ทั่วประเทศเพื่อคัดเลือกตัวแทนกลุ่มอิทธิพลทางการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ให้สนับสนุนพรรค นอกจากนี้สาขาพรรคตามจังหวัดต่างๆ ยังทำหน้าที่ให้การศึกษา โฆษณาชวนเชื่อความคิดของ เคมาล บางครั้งเขาเดินทางไปทำหน้าที่นี้ด้วยตนเอง และเมื่อรัฐบาลมีโครงการสร้างศาลาประชาคม () ตั้งขึ้นตามเมืองต่างๆ สาขาของพรรคสาธารณรัฐประชาชนก็ผสมกลมกลืนไปกับโครงการนี้ มีกิจกรรมหลายอย่างรวมทั้งออกจากวารสารของตนเอง จากพื้นฐานความเป็นมาของพรรคสาธารณรัฐประชาชนที่ขึ้นมาแสดงบทบาทเด่นทางการเมืองจนกระทั่งสามารถโค่นล้มสุลต่านได้นั้น อาจจะสรุปลักษณะที่สำคัญๆ ดังนี้
1. พรรคมีอำนาจทหารหนุนหลังทั้งมุสตอฟา เคมาล ซึ่งเป็นประธานพรรคเป็นประธานาธิบดี และอิสเมท อีโนนุ นายกวะซีร มีพื้นฐานทางการศึกษา มีประสบการณ์และมีอาชีพรับราชการทหารมาโดยตลอด ทั้งสองเป็นผู้บังคับบัญชาการทหารที่ไม่มีใครขึ้นมาท้าทายอำนาจได้ จากการคลุกคลีกับทหารมาอย่างใกล้ชิด ทำให้ทหารจงรักภักดีต่อเขาทั้งสองมาก เมื่อใดที่อำนาจทางรัฐสภาถูกท้าทายหรือมีผู้ขึ้นมาต่อสุ้ตามแนวทางประชาธิปไตยแล้ว เขาก็จะใช้อำนาจเผด็จการทหารข่มขู่ บีบบังคับต่างๆ นานา
2. พรรคใช้อำนาจทางการเมืองเข้าควบคุมประชาชน ในฐานะที่เป็นรัฐบาล และมีอำนาจเด็ดขาดเป็นพรรคเดียวในรัฐสภา คุมองค์กรส่วนท้องถิ่นในปี ค.ส. 1927 พรรคสาธารณรัฐประชาชนมีมติว่า ผู้บริหารทางการเมือง ผู้นำองค์กรทางสังคม ทางเศรษฐกิจทุกองค์กร ตลอดจนสถาบันทางวัฒนธรรม ผู้นำหมู่บ้าน และผู้ที่จะขึ้นมาดำรงตำแหน่งดังกล่าว จะต้องได้ความเห็นชอบจากเจ้าหน้าที่ของพรรคก่อน
ในปี ค.ศ. 1935 พรรคประกาศว่าพรรคนี้เป็นองค์กรที่ร่วมแรงดลใจจากประชาชนทุกคน
วะซีรมหาดไทยเป็นเลขาธิการพรรค ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดเป็นประธานสาขาพรรคประจำส่วนภูมิภาค ลักษณะโครงสร้างของพรรคเช่นนี้เท่ากับพรรคได้เข้ามาควบคุมประชาชนในทุกด้าน การดำเนินชีวิตจะต้องสอดคล้องกับความต้องการของพรรคประชาชนไม่มีเสรีภาพ นอกจากใช้อำนาจทหารข่มขู่แล้วยังใช้ข้าราชการพลเรือนควบคุมอีกขั้นหนึ่ง ประชาชนไม่มีสิทธิที่จะเลือกผู้อื่นได้ นอกจากคนของพรรคสาธารณรัฐประชาชน พรรคเข้ามาบงการประชาชนในทุกเรื่อง เช่น การแต่งกาย ประชาชนชาวเตอร์กก็จะต้องแต่งอย่างไร ห้ามแต่งกายตามประเพณีเดิม ห้ามสวมหมวกทรงสูง ให้นำหมวกปีกแบบยุโรปมาใช้ การใช้ภาษา การประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
3. ผู้นำของพรรคเป็นผู้นำตลอดกาล ปกครองประเทศในลักษณะเชื่อผู้นำชาติจะทันสมัย ผู้นำเท่านั้นที่มีความคิดถูกต้องที่สุด ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศโง่ ล้าหลัง บุคคลใดขัดแย้งกับผู้นำกลายเป็นผู้ไม่หวังดีต่อชาติ กลุ่มใดคัดค้านผู้นำกลายเป็นกลุ่มชนนอกกำหมาย มุสตอฟา เคมาล มีความขัดแย้งในตัวเองระหว่างการพูดกับพฤติกรรมที่แสดงออก เขาต้องการล้มการปกครองของสุลต่านโดยอ้างว่าเป็นเผด็จการป่าเถื่อน ใช้อำนาจกดขี่ ละเมิดสิทธิของประชาชน เขาจำต้องนำเอาแบบอย่างตะวันตกมาใช้ทุกอย่างรวมทั้งระบอบการปกครองมาใช้ทุกอย่างรวมทั้งระบอบการปกครองและวัฒนธรรม แต่ตัวเขาเองกลับปฏิบัติไปในทางตรงกันข้ามกับที่พูดอาจเป็นเพราะว่าเขาได้รับการหล่อมหลอมมาในรูปแบบของเผด็จการทหาร ซึ่งเป็นการปกครองที่เข้ามาครอบงำประชาชนยิ่งกว่าสุลต่านที่เขาเคยประณามไว้เสียอีก
อาดนลด์ ทอย์นบี () กล่าวถึงการปฏิวัติขงมุสตอฟา เคมาลว่า "เป็นความพยายามที่จะ
ปลดปล่อยชาติเตอร์กีให้ยืนอยู่บนเขาของตนเอง โดยใช้การปกครองแบบอำนาจเผด็จการการเบ็ดเสร็จแต่เปลี่ยนจากระบบเก่ามาเป็นระบบใหม่"

การล้มเลิกระบบคอลีฟะฮ
ในตอนแรกมุสตอฟา เคมาล อตาเตอร์ก มีความคิดว่าการปกครองประเทศนั้นควรแยกตำแหน่งสุลต่านออกจากตำแหน่งคอลีฟะฮ และเมื่อเคมาลได้สั่งเลิกตำแหน่งสุลต่านนั้นเขายังไม่ได้เลิกล้มตำแหน่งคอลีฟะฮ หลังจากนั้นสุลต่านมุฮัมมัดวาฮิดดีน ได้หลบหนีออกจากประเทศแล้ว อับดุลมายีด เอเฟนดี้ ก็ได้รับเลือกขึ้นมาเป็นคอลีฟะฮเพียงอย่างเดียว ความจริง มุสตอฟา เคมาล มีความตั้งใจที่จะเลิกตำแหน่งคอลีฟะหฮอยู่แล้ว แต่ก็ต้องระวังเพราะถ้าทำการพลาดไปอาจจะหมดอำนาจได้ ดังนั้นเขาจึงใช้วิธีแยกและทำลายทีละอย่างเป็นขั้นเป็นตอน หลังจากอับดุลมายีดขึ้นมาเป็นคอลีฟะฮแล้ว ประชาชนส่วนใหญ่ก็ยังให้ความเคารพนับถือ ถึงแม้ว่าเคมาลจะจำกัดอำนาจและบทบาทของคอลีฟะฮให้อยู่แต่ในเฉพาะเรื่องศาสนา แต่ประชาชนทั่วไปก็ยังเคยชินอยู่กับความรู้สึกว่าคอลีฟะฮมีอำนาจปกครองประเทศ ดังนั้นเตอร์กีคล้ายกับว่ามีผู้นำสองคนในขณะเดียวกัน ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับมุสตอฟา เคมาลมาก เขาคิดว่า ถ้าเขาไม่กำจัดคอลีฟะฮออกไปแล้ว อำนาจของเขาก็จะไม่สมบูรณ์นอกจากนี้ศักดิ์ศรีของคอลีฟะฮยังมีเหนือตัวเขาอีก จึงเป็นที่ขวางหูขวางตามาก เขาไม่ได้นิ่งเฉยแต่พยายามสร้างเงื่อนไขที่เหมาะสมที่กำจัดตำแหน่งนี้ เพราะถ้ากระทำการอย่างไม่ระวังแล้ว มติมหาชนอาจจะต่อต้านเขารุนแรงเกินกว่าที่กำลังทหารจะยับยั้งได้ พอดีหนังสือพิมพ์ในกรุงอิสตันบูลได้ลงพิมพ์จดหมายจากอากาข่านที่มีความเห็นว่า เตอร์กีควรจะรักษาระบบคอลีฟะฮเอาไว้และให้ใช้กฎหมายอิสลามเป็นพื้นฐานในการปกครองประเทศ การลงพิมพ์ครั้งนั้นได้ผ่านหูผ่านตาเจ้าพนักงานเซ็นเซอร์มาอย่างไรไม่อาจทราบได้ เมื่อเป็นเช่นนี้มุสตอฟา เคมาล จึงตอบโต้ทันทีว่า อากาข่านมีสิทธิ์อะไรมาเป็นผู้ชี้แนะเตอร์กี และอากาข่านเองก็เป็นขี้ข้ารับใช้อังกฤษในขระที่เกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สุลต่านแห่งออตโตมานประกาศสงครามญิฮาด อากาข่านไปอยู่ที่ไหนจึงไม่ได้ยินคำประกาศนั้น หลังจากนั้นมุสตอฟา เคมาล จึงถือโอกาสกล่าวโจมตีคอลีฟะฮว่าศักดิ์ศรีของคอลีฟะฮนั้นไม่ได้มีความสำคัญสำหรับเราเลยไม่มีอะไรมากไปกว่าความทรงจำในประวัติศาสตร์ หลังจากนั้นมุสตอฟา เคมาล ได้ปรึกษากับผู้ใกล้ชิดบางคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนายกวะซีร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการหน่วยทหารที่อิซไมร์() มุสตอฟา ได้แสดงทัศนะของเขาเกี่ยวกับคอลีฟะฮและอิสลาม เขาสรุปว่าควรล้มเลิกระบบคอลีฟะฮ โดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ เมื่อเปิดสมัยประชุมรัฐสภาในวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 1924 มุสตอฟา ได้กล่าวปราศรัยในที่ประชุมเกี่ยวกับการส่งเสริมให้ประเทศก้าวหน้าไปสู่ความมทันสมัย และในวันนั้นได้มีการพิจารณาญัตติเกี่ยวกับงบประมาณของรัฐบาลที่ต้องจ่ายให้บรรดาบรมวงศานุวงศ์ งบประมาณของกระทรวงการศาสนา มุสตอฟาได้เสนอให้ตัดงบประมาณเหล่านี้ออก แน่นอนที่ประชุมรัฐสภาจะต้องผ่านญัตติทุกญัตญัติที่มุสตอฟา เคมาลเสนอในวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ.1924 เมื่อมุสตอฟา เคมาลแน่ใจอำนาจของตนเองดีแล้ว เขาจึงยื่นญัตติให้ล้มเลิกระบอบคอลีฟะฮและเนรเทศสมาชิกราชวงศ์ออตโตมานออกจากดินแดนของเตอร์กี ยุบกระทรวงการศาสนา สมาชิกรัฐสภาได้อภิปรายเกี่ยวกับญัตตินี้เป็นเวลา 5 ชั่วโมงในที่สุดที่ประชุมสมาชิกรัฐสภาลงมติให้ผ่านญัตตินี้
กลุ่มที่คัดค้านมุสตอฟา เคมาลในเรื่องล้มเลิกคอลีฟะฮ คือ อาลี ฟูอาด กอเซ็ม การามากีร รออูฟ ออรเบ รีฟาด เบเล พวกสมาชิกสหภาพเพื่อความก้าวหน้า และพวกนิยมตะวันตกบางส่วน ซึ่งกลุ่มนี้รู้จักกันในนาม กลุ่มพิทักษ์สิทธิที่ 2 พวกนี้ไม่เห็นด้วยการเลิกล้มคอลีฟะฮ และมองเห็นว่าการปกครองโดยระบบอำนาจเบ็ดเสร็จทางทหารของมุสตอฟานั้นอันตรายยิ่งกว่าระบบคอลีฟะฮเสียอีก แต่กลุ่มนี้ก็ไม่มีความเข้มแข็งทหารมากพอจะโค่นล้มมุสตอฟาได้ ปัญญาชนคนสำคัญปัญญาชนคนสำคัญที่ต่อต้านแนวความคิดของมุสตอฟา เคมาล เกี่ยวกับเรื่องคอลีฟะฮ คือมุฮัมมัด อากีฟ เขาเผยแพร่แนวความคิดของเขาในวารสาร "Siratil Mustakim " (หนทางที่เที่ยงตรง) เขากล่าวว่าการใช้อำนาจเผด็จการของสุลต่าน อับดุลฮามีด ได้ละเมิดระบบคอลีฟะฮ เช่นเดียวกับพวกยังเตอร์กที่นิยมเซคคิวล่าร์ (Secularism) อากีฟต้องการให้นำเอารูปแบบของประชาธิปไตยในอิสลามที่มีผ็แทนให้คำปรึกษาต่อผู้ปกครองเหมือนอย่างกับที่ปฏิบัติในประวัติศาสตร์อิสลามสมัยแรก เขาคัดค้านการนำเอาสถาบันการปกครองแบบตะวันตกเข้ามาใช้ในเตอร์กี เขาต่อต้านนโยบายชาตินิยมอย่างบ้าคลั่ง และละทิ้งประชากรมุสลิมที่เคยร่วมอยู่ในอาณาจักรออตโตมาน อารยธรรมตะวันตกนั้นถ้ารับมาทั้งหมดจะทำลายคุณค่าทางจริยธรรมของอิสลาม มุสลิมจะต้องหันหลับไปหาคุณค่าแบบดั่งเดิมของอิสลาม ถ้าต้องการรอดพ้นจากลิทธิจักรวรรดินิยม มุสลิมควรรับเฉพาะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากตะวันตก ปฏิเสธระบบการปกครองอย่างพวกตะวันตกซึ่งจะทำให้มุสลิมอ่อนแอลง มีช่องว่างระหว่างพวกปัญญาชน แม้ประชาชนส่วนใหญ่เป็นปัญญาชนต้องการเลียนแบบตะวันตกทุกอย่าง แต่ประชาชนรู้ว่านั่นเป็นสาเหตุของความล้มเหลว หนทางที่จะนำไปสู่ความก้าวหน้านั้นต้องขึ้นอยู่กับพื้นฐานและประสบการณ์ของสังคมนั้นๆ ด้วย นั่นคือหนทางของโลกอิสลามไม่ใช่หนทางของตะวันตก ถ้าจะพิจารณาถึงแนวความคิดสองแนวนี้จะเห็นได้ว่าต่างกันอย่างชัดแจ้ง มุสตอฟา เคมาล มองว่า คอลีฟะฮไม่ควรมายุ่งเกี่ยวกับการเมือง ในการกล่าวปราศรัยกับโลกมุสลิมหรือถ้ามีหนังสือติดต่อกับมุสลิมในประเทศอื่นก็ควรกล่าวในฐานะที่คอลีฟะฮได้รับเลือกจากรัฐสภาเตอร์กี แต่คอลีฟะฮอับดุลมายีดกระทำตนเกินขอบเขตที่มุสตอฟา เคมาลขีดไว้กระทำตนเป้ฯผุ้นำโลกมุสลิม ซึ่งมีลักษณะขัดแย้งกับความคิดของมุสตอฟา เคมาลอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้มุสตอฟามองตำแหน่งคอลีฟะฮเป้นตัวขัดขวางความเจริญก้าวหน้าของประเทศ ถ้ายังคงตำแหน่งนี้ไว้ก็จะทำให้ประเทศอื่นมองเตอร์กีเป็นประเทศล้าหลัง
ส่วนกลุ่มที่คัดค้านเคมาลนั้นพยายามมองระบบคอลีฟะฮในลักษณะดั่งเดิมและจะนำเอาระบบคอลีฟะฮที่แท้จริงมาใช้ในทัศนะของกลุ่มนี้มองสุลต่านแห่งออตโตมานว่า มิใช่ระบบคอลีฟะฮที่สมบูรณ์เป้นระบบผสมผสานระหว่างสมบูรณาญาสิทธิราชกับคอลีฟะฮ ดังนั้นควรทำให้เตอร์กีเป็นสาธารณรัฐอิสลามเหมือนอย่างสมัยแรก ไม่เห็นด้วยกับคำพูดของมุสตอฟาที่ว่า"การดำรงอยู่ของตำแหน่งคอลีฟะฮเป็นการทำลายสาธาณรัฐ"เพราะถ้าพิจารณาถึงระบบคอลีฟะฮที่แท้แล้ว คอลีฟะฮไม่ได้เป็นองค์อธิปัตย์มีอำนาจที่จะทำอะไรได้ตามใจชอบ ตำแหน่งคอลีฟะฮเป้นเพียงผู้แทนในการใช้อำนาจได้มาโดยการเลือกตั้งและต้องอยู่ภายใต้กฎหมายอิสลาม ไม่สามารถใช้อำนาจเกินขอบเขตที่กฎหมายกำหนด การสืบทอดตำแหน่งโดยการสืบราชวงศ์ตามสายเลือดนั้นเป็นการนำเอาระบบอื่นเข้ามาปะปน ซึ่งกลุ่มนี้พยายามที่จะขจัดออก ผู้ที่จะมาเป็นคอลีฟะฮต้องเป็นผู้ที่รอบรู้ในกฎหมายอิสลาม (Shari'a) ระบบคอลีฟะฮนั้นถือว่ากฎหมายอิสลามเป็นธรรมนูญสูงสุด กำหมายต่างๆ ที่ออกมาบังคับใช้ในชุมชนจะขัดแย้งกับกฎหมายอิสลามไม่ได้ สมาชิกรัฐสภาไม่ว่าจะมีคะแนนเสียงเท่าใดไม่อาจเปลี่ยนแปลงกฎหมายอิสลามได้ ซึ่งจะแตกต่างกับระบอบประชาธิปไตยแบบตะวันตก ระบบคอลีฟะฮมิได้กีดขวางความเจริญรุ่งเรืองหรือความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เพราะถ้าพิจารณาจากประวัติศาสตร์ในสมัยอับบาสียะห์ จะเห็นว่าความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการสาขาต่างๆ รวมทั้งทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์ เจริญกว่ายุโรปในสมัยเดียวกันเสียอีก ดังนั้นการหยุดชงักทางวิชาการของอาณาจักรออตโตมานจึงเป็นเรื่องที่ไม่อาจกล่าวสาเหตุมาจากระบบคอลีฟะฮ แต่ถ้าจะกล่าวระบบคอลีฟะฮขัดขวางการนำเอาระบบการดำเนินชีวิตทั้งหมดทุกด้านของตะวันตกมาใช้นั้นย่อมเป็นคำกล่าวที่ถูกต้อง กลุ่มที่คัดค้านวามคิดของมุสตอฟา เคมาล มองเห็นความจำเป็นที่จะพิจารณาเลือกศึกษาเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีจากตะวันตกเท่านั้น เพราะออตโตมานล้าหลังพวกตะวันตกก็เฉพาะด้านนี้ จึงไม่จำเป็นต้องนำเอาวัฒนธรรมอย่างอื่นมา ดร.ไอ มาติน คุนท์ (Dr. I. Metin Kunt) สรุปว่า การที่ออตโตมานตกเป้นเบี้ยล่างพวกตะวันตกก็เพราะว่าเทคโนโลยีของออตโตมานถูกหยิบยืมไป และออตโตมานเองในระยะหลังนี้ก็ไม่พยายามพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่จำเป็นต่อการสร้างเรือรบและอาวุธที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่ออาณาจักรออตโตมานพลาดโอกาสนี้แล้วจึงตกเป็นฝ่ายล้าหลัง


บทสรุป
การปฏิรูปทางการเมืองของมุสตอฟา เคมาล อตาเตอร์ก นั้นเป็นการบีบบังคับให้มีการเปลี่ยนแปลงตามแบบอย่างตะวันตกทั้งๆ ที่ขัดต่อเจตนารมณ์ของประชาชนโดยใช้อำนาจทางทหารและข้าราชการพลเรือนเป็นเครื่องมือที่สำคัญ เคมาลประสบความสำเร็จในการล้มระบบสุลต่านและคอลีฟะฮ พยายามหันหลังให้อารยธรรมตะวันตก ทำตัวเป็นสมาชิกของชุมชนชาวยุโรป แต่ก็ประสบความล้มเหลวที่จะนำประเทศเตอร์กีไปสู่การปกครองในระบบประชาธิปไตยตามที่เคมาลเคยอ้างไว้ว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนทั้งชาติ ความเป็นจริงเคมาลได้นำเอาระบอบเผด็จการมาใช้ปกครองประเทศเตอร์กีความต้องการมีอำนาจทางการเมืองตลอดกาลของเคมาลเป้นสิ่งที่ขัดขวางประชาธิปไตยอย่างยิ่ง เคมาลเคยหวังว่าจะสร้างสรรค์ระบอบประชาธิปไตยโดยที่เคมาลเองเป็นประธานาธิบดีควบคู่กันไปด้วย
แต่เมื่อปราฏว่าถ้าเคมาลยินยอมให้ประเทศชาติปกครองตามระบอบประชาธิปไตย อำนาจเป็นของประชาชนแล้วตัวเคมาลเองก็จะต้องสูญเสียอำนาจ ดังนั้นจึงตัดสินใจเดินตามแนวทางเผด็จการทั้งๆ ที่เคมาลเองเคยประณามสุลต่านแห่งอาณาจักรออตโตมานไว้ การเปลี่ยนแปลงการปกครองของมุสตอฟา นั้นเป็นการทำเอาแต่รูปแบบเปลือกนอกที่ประชาชนทั่วไปคิดว่าเป็นประชาธิปไตยมาใช้ เช่น ให้มีรัฐธรรมนูญ มีรัฐสภา มีประธานาธิบดี สิ่งเหล่านี้เป็นรูปแบบหรือสถาบันทางการเมืองตะวันตก เคมาลนำเอามาใช้ในเตอร์กี แต่การมีรัฐธรรมนูญ มีรัฐสภา มีประธานาธิบดีนันไม่ได้เป็นเครื่องชี้ขาดว่าประเทศนั้นมีการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย ถ้าประชาชาติไม่มีเสรีภาพในการเลือกตั้ง ไม่มีอำนาจในการกำหนดชะตากรรมของประเทศชาติ ก็ไม่อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นประชาธิปไตย ลักษณะเช่นนี้จะเกิดขึ้นกับประเทศด้อยพัฒนาทั้งหลายที่ผู้นำของประเทศมีความขัดแย้งในตัวเอง คือ พยายามทำให้ผู้อื่นเห็นว่าตนปกครองตามระบอบประชาธิปไตย แต่ความจริงตนปกครองแบบเผด็จการ เพราะถูกหล่อหลอมให้จิตใจเป็นเผด็จการมาโดยตลอด การปฏิรูปของเคมาลนั้นไม่ได้นำประเทศเตอร์กีไปสู่ความยิ่งใหญ่อะไรเลย เป็นที่น่าแปลกใจว่าทำไมบุคคลอย่างสุลต่านสำคัญๆ ที่เคยสร้างอาณาจักรออตโตมาน เคยทำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่อาณาจักรที่กว้างใหญ่ไพศาล ครอบคลุมทวีปยุโรป เอเชีย อาฟริกา จึงไม่ได้รับการยกย่อง แต่บุคคลอย่างมุสตอฟา เคมาล นอกจากไม่ได้สร้างความยิ่งใหญ่แล้วยังไม่สามารถรักษามรดกที่สุลต่านเหล่านั้นสร้างไว้ได้กลับได้รับการยกย่องจากชาวตะวันตก

อ้างจาก หนังสือหลักการบริหารในอิสลาม 3

5 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณกับข้อมูลครับ
    ขอนำไปใช้งานครับ

    ตอบลบ
  2. ผมเห็นด้วยกับการปฏิรูปของอตาเติร์ก ทุกประการครับ

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ19 พฤษภาคม 2555 เวลา 10:07

    เป็นสิ่งที่น่าเสียใจของพี่น้องมุสลิมน่ะครับ

    ตอบลบ
  4. เป็นการ คุกคาม ทางวัฒนธรรมอย่างร้ายแรง ผลลับที่ออกมา คือ ประชากรมุสลิมทั่วโลก ในปัจจุบัน ไร้ ผู้นำที่มี อำนาจต่อรอง ในเวทีนานาชาติ ทำให้ถูกชาวตะวันตก รังแกจนถึงทุกวันนี้...กลับกัน หากอานาจักรออตโตมาน ยังมีอำนาจอยู่ชาติตะวันตกอาจต้องเกรงใจอำนาจของออตโตมาน บ้าง..แล้วมุสตอฟา จะเป็นวีรบุรุษแห่งอิสลามได้อย่างไรเมื่อมีแนวคิกต่อต้านอิสลาม(มุนาเฟค)...อัลลอฮ์ฮูอากบาร..

    ตอบลบ
  5. เป็นโชคดีของมุสลิมตุรกีที่ได้ออกจากความมืด การครอบงำของสาสนา
    เข่าสู้ความเจริญเสียที ผลสุดท้ายก็เจรินเทียบได้กับชาติยุโรป
    น่าเสียดายมุสลิมไทยจะเอาตัวเองเข้าไปในระบบโบราณเก่าแก่
    โดยไม่คิดว่าการมีอิสระเสรีในตอนนี้นั้นดีกว่าเอาสาสนาครอบงำมา

    ตอบลบ