1.การศึกษาอุดมการณ์ทางการเมืองจากนักคิดที่หลากหลายตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันพบว่าแนวคิดของพวกเขาเหล่านั้นได้ถูกบูรณาการเป็นอุดมการณ์ทางการเมืองเชิงลัทธิหรือระบอบการเมืองที่สืบทอดจนถึงปัจจุบัน ซึ่งแบ่งได้สองลักษณะ คือ ลัทธิการเมืองที่เน้นในเรื่องการใช้อำนาจรัฐ ได้แก่ เสรีนิยม (Liberalism) อนุรักษ์นิยม (Conservatism) และฟาสซิสต์ (Fascism) กับลัทธิการเมืองที่เน้นเรื่องเศรษฐกิจ ได้แก่ ทุนนิยม (Capitalism) สังคมนิยม (Socialism) และคอมมิวนิสต์ (Communism)
ให้นักศึกษาอธิบายรายละเอียดของอุดมการณ์ทางการเมืองทั้งสองแนวนี้ เฉพาะในหัวข้อต่อไปนี้
-เสรีนิยม (Liberalism)
-อนุรักษ์นิยม (Conservatism)
-ทุนนิยม (Capitalism)
-สังคมนิยม (Socialism)
การจะศึกษาระบบการเมืองการปกครองหรือระบบอะไรก็แล้วแต่จำเป็นที่เราจะต้องวางตัวของงเราเป็นกลางเสมือนตัวของเรานั้นไม่ได้ไม่เสียกับสิ่งนั้น(ถึงแม้สิ่งนั้นเป็นตัวหลักที่ทำลายความเป็นตัวตนหรืออัตลักษณ์ของมนุษย์ก็ตาม)และเพื่อเป็นตัวหล่อหลอมอีกทั้งความต้องการอันสูงสุดของตัวเราและผู้ที่ต้องการความถูกต้องในการดำเนินชีวิตต่อไป ในที่นี้จะอธิบายความคิดหรือแนวความคิดที่เกี่ยวกับอุดมการณ์ต่างๆที่มีความสัมพันธ์กับมนุษย์ตั้งแต่อดีตจนกระทั่งปัจจุบัน
ความอุดมการณ์ทางการเมือง คือ แนวความคิด ความเชื่อที่เกี่ยวกับผู้ปกครอง การกำหนดผู้ที่จะทำหน้าที่ปกครอง เพื่อที่จะใช้ในการชักจูงความคิดเห็น หรือเพื่อที่จะต่อต้านหรือยับยั้งความคิดอื่น เพื่อการป้องกันสิ่งสำคัญที่พึงรักษาไว้ หรือการปฏิรูปหรือการจำกัดสถาบันสังคมที่สำคัญ ถือเป็นความเชื่อส่วนหนึ่งซึ่งเป็นส่วนย่อยของระบบความเชื่อที่ใหญ่กว่า อาจจะได้มาจากกลุ่มสังคมใดสังคมหนึ่ง อุดมการณ์ทางการเมืองจะสะท้อนให้เห็นถึงรูปแบบ วิธีการปกครอง หลักการปกครอง และการดำเนินชีวิตของบุคคล ถือเป็นสิ่งจำเป็นในการพัฒนาการทางการเมือง เพราะอุดมการณ์เป็นเสมือนจุดหมายปลายทาง เป็นรากฐานในการดำเนินการ และเป็นแรงดลใจให้เกิดการปฏิบัติ จากความหมายของลัทธิการเมือง และอุดมการณ์ทางการเมืองที่ยกมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าทั้งสองอย่างนี้มีความสัมพันธ์กันอยู่มาก ( จรูญ สุภาพ,2538:8) เช่นในลัทธิการเมืองเป็นเรื่องพื้นฐานสำคัญที่เกี่ยวของกับระบบการเมืองการปกครองอย่างใดอย่างหนึ่ง และอุดมการณ์ทางการเมืองเป็นเรื่องความเชื่อความเข้าใจ ดังนั้นหลักการที่ปรากฏอยู่ในลัทธิการเมือง อาจเป็นเหตุให้เกิดความเชื่ออันมีลักษณะเป็นอุดมการณ์ทางการเมืองได้ อุดมการณ์ทางการเมืองมีอิทธิพลต่อกระบวนการทางการเมือง ตลอดจนการใช้อำนาจรัฐและการให้ความชอบธรรมแก่บทบาทของรัฐบาล อีกทั้งยังสะท้อนถึงสภาพของสังคมและวัฒนธรรมทางการเมืองของแต่ละชุมชนด้วย (ณัชชาภัทร อุ่นตรงจิตร,2548:84)
ดังนั้น ลัทธิการเมือง จึงเกี่ยวกับแนวความคิดเกี่ยวกับระบบการเมืองการปกครอง โดยมุ่งอธิบายสาระสำคัญของระบบการเมือง ได้แก่ อำนาจทางการเมืองและอำนาจของรัฐ ขอบเขต ที่มา ที่ตั้งของอำนาจ และความเกี่ยวพันระหว่างองค์การหรือหน่วยงานที่ใช้อำนาจรัฐกับบุคคลซึ่งเป็นองค์ประกอบแห่งรัฐนั้น ตลอดจนผลประโยชน์และคุณค่าที่จะบังเกิดขึ้นแก่บุคคลที่รวมตัวกันเป็นสังคม ซึ่งลัทธิการเมืองเกิดจากแนวความคิด ปรัชญาการเมือง และทฤษฎีการเมือง ในที่นี้จะกล่าวถึงอุดมการณ์ทางการเมืองที่มีบทบาทที่สำคัญในปัจจุบัน คือ เสรีนิยม (Liberalism) อนุรักษ์นิยม (Conservatism) ทุนนิยม (Capitalism) และ สังคมนิยม ( Socialism) ดังรายละเอียดต่อไปนี้
-เสรีนิยม (Liberalism) มีจุดเริ่มต้นสำคัญในศตวรรษที่ 17 โดยจอห์น ล็อค (John Locke) นักปรัชญาชาวอังกฤษทั้งนี้สืบเนื่องมาจากทฤษฎีสัญญาประชาคมซึ่งแนวคิคของล็อคและนักทฤษฎีอื่น ๆ รวมกันเรียกว่า เสรีนิยมแบบต้นตำรับ หรือเสรีนิยมแบบคลาสสิคซึ่งยังคงเป็นที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันประกอบด้วยหลัก 8 ประการ ดังนี้คือ 1.เสรีภาพส่วนบุคคล 2.มนุษย์โดยธรรมชาติเป็นคนดี 3.การแก้ปัญหาโดยใช้หลักเหตุผล 4.การเปลี่ยนแปลงเป็นไปในทิศทางแห่งความก้าวหน้า 5.ความเสมอภาคแห่งโอกาส 6.มนุษย์เหมือนกันทุกอย่างโดยปริยายของตนเอง 7.การมีรัฐบาลเป็นสิ่งจำเป็นแม้จะไม่ใช่สิ่งที่น่าพิสมัย 8.เศรษฐกิจแบบเสรี
เสรีนิยมเป็นอุดมการณ์ที่เกิดขึ้นมาในศตวรรษที่ 17 ซึ่งในปัจจุบันสภาพสังคมและเศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงไปมากมาย พวกเสรีนิยมในปัจจุบันจึงรับเอาแนวความคิดของพวกอนุรักษ์นิยมมาปรับใช้โดยเฉพาะในเรื่องเศรษฐกิจ เช่น ยอมรับความจำเป็นที่จะต้องรัฐที่มีความเข้มแข็งเพื่อชี้นำธุรกิจและการสร้างรัฐสวัสดิการนอกจากนี้ยังสนับสนุนรัฐบาลช่วยกำจัดสิ่งปฏิกูลของระบบทุนนิยม เช่น ปัญหาสังคม การไร้ที่อยู่อาศัย และการว่างงาน เป็นต้น ลัทธิเสรีนิยมเป็นลัทธิที่มีความสำคัญในตะวันตกเป็นอย่างมาก และเป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมตะวันตก แต่ภายหลังสงครามโลกทั้งสองครั้งได้มีข้อสังเกตว่าเสรีนิยมเริ่มเสื่อมอิทธิพลลง เหตุผลก็อาจเป็นเพราะว่า ลัทธิเสรีนิยมนี้มีความหมายน้อยลงในบรรดาประเทศที่กำลังพัฒนาที่ยังมีปัญหาที่จะต้องแก้ไขอีกมาก ลัทธินี้มิได้แตกสลายหากเพียงแต่ลดบทบาทลงมาและไม่มีการดำเนินการอย่างเป็นปึกแผ่นมั่นคง ลัทธินี้ไม่ได้ถูกนำมาใช้เฉพาะทางด้านการเมืองเท่านั้น แต่ยังหมายถึงอุดมการณ์เกี่ยวกับค่านิยมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุดมการณ์ในเรื่องสิทธิเสรีภาพ ไม่ว่าจะเป็นการต่อต้านลัทธิทหาร และต่อต้านรัฐสวัสดิการ อุดมการณ์เสรีนิยมยังไม่ได้ถูกนำมาใช้ในความหมายว่าใจกว้าง (Generous) นักปฏิวัติ (Reformist) หรือนักทดลอง (Experimental) อีกด้วย ลัทธินี้ยังให้ความสำคัญกับสิ่งต่อไปนี้ คือ 1.เสรีภาพส่วนบุคคล 2.ธรรมชาติของมนุษย์ 3.เหตุผลของแต่ละบุคคลที่ประสงค์ 4.ความก้าวหน้า 5.ความเท่าเทียมกัน 6.ความเป็นสากล 7.ค่านิยมต่อรัฐบาล และ8.เสรีนิยมทางเศรษฐกิจ
จุดเด่นของอุดมการณ์เสรีนิยม คือ เน้นเรื่องเสรีภาพส่วนบุคคล เรื่องสิทธิมนุษยชน และการได้รับโอกาสเท่าเทียมกัน โดยเชื่อว่า สังคมจะดีได้ต้องมีสภาพแวดล้อมที่ดี เอื้ออำนวยต่อการอยู่ดีกินดีของประชาชนทุกสาขาอาชีพ มุ่งการค้นคว้าวิจัย และการเชื่อถือความคิดของปัจเจกบุคคล [Anon, n.d.อุดมการณ์ของเสรีนิยม ทุนนิยม และคอมมิวนิสต์.http://guru.google.co.th/guru/ thread?tid=3e3c739a7c9bf0b7 (10/3/2552)
นอกจากนั้นแล้ว อุดมการณ์เสรีนิยมยังมีลักษณะที่สามารถเห็นได้ชัดเจน เช่น ให้ความสำคัญต่อการใช้เหตุผล นิยมความก้าวหน้า พยายามกดดันให้ประเทศอื่น ๆ ยอมรับในแนวความคิดของตัวเอง เพราะเชื่อว่าแนวความคิดของตัวเองสามารถใช้ได้เหมือนกันทั่วโลก (ณัชชาภัทร อุ่นตรงจิตร,2548:87)พวกอุดมการณ์เสรีนิยมถูกสถาปนามาด้วยความเชื่อที่ว่า รัฐบาลจะต้องปกปักรักษาซึ่งความมีเสรีภาพของแต่ละบุคคล ดังโทมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson) ได้สรุปว่า “รัฐบาลที่ดีที่สุด คือ รัฐบาลที่ปกครองน้อยที่สูด” เพราะเขาเห็นว่า สังคมควรเป็นอิสระจากการแทรกแซงของรัฐบาลให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ (เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ, 2549:111)
อุดมการณ์เสรีนิยม จึงเป็นอุดมการณ์พื้นฐานของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย กล่าวคือ เป็นอุดมการณ์ที่ให้น้ำหนักกับความเป็นมนุษย์ ซึ่งจะต้องมีศักดิ์ศรี มีสิทธิเสรีภาพ เช่น เสรีภาพในชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน ที่สำคัญคือเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพในทางการเมือง ฯลฯ [ลิขิต ธีระเวคิน.ลัทธิเสรีนิยมและประชาธิปไตย.2551, http://www.siamrath.co. th/UIFont/Articledetail.aspx?nid=896&acid=896 (10/3/2552] มนุษย์ที่ถือกำเนิดมาในโลกนี้แม้จะแตกต่างกันในฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจ และแหล่งกำเนิด แต่มีความเสมอภาคกันโดยเป็นประชาชนที่เท่าเทียมกัน มีความเสมอภาคต่อหน้ากฎหมายและเสมอภาคในทางการเมือง บนพื้นฐานของอุดมการณ์เสรีนิยม
-อนุรักษ์นิยม (Conservatism) แนวความคิดอนุรักษ์นิยมเกิดขึ้นเมื่อปลายศตวรรษที่ 18 โดยเอ็ดมันด์ เบิร์ก (Edmund Burke) ซึ่งตีพิมพ์ผลงานชื่อ “Classic Conservatism” เขาได้คัดค้านความคิดเสรีนิยมที่ถูกนำไปใช้ปฏิวัติฝรั่งเศสว่า เป็นการกระทำที่เข้าใจผิดอย่าใหญ่หลวง เสรีนิยมเชื่อมั่นต่อเหตุผลของมนุษย์มากเกินไป ทั้งที่ยังมีส่วนที่เป็นอารมณ์ไม่ใช่เหตุผลอยู่มาก เพื่อรักษาเหตุผลของมนุษย์เอาไว้ สังคมมนุษย์จึงค่อยๆสร้างประเพณี สถาบัน และมาตรฐานทางศีลธรรมขึ้นมา เช่น การจัดตั้งระบอบกษัตริย์และศาสนา เบิร์กให้เหตุผลว่า สถาบันและประเพณีที่มีอยู่ไม่ได้เลวทั้งหมด เพราะผ่านการลองผิดลองถูกมาเป็นร้อยๆ ปีจนผู้คนคุ้นเคยหมดแล้ว ทางที่ดีควรรักษาหรืออนุรักษ์เอาไว้เพราะยังใช้ได้ ไม่ต้องกังวลว่าจะไม่สมบูรณ์ แต่ไม่ใช่ว่าไม่เปลี่ยนเลย สถาบันควรเปลี่ยน แต่เปลี่ยนแบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้ประชาชนได้ปรับตัว เขากล่าวว่า “สภาพที่ไม่มีวิธีการเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างเลยนั้น เป็นสภาพที่ไม่ใช่วิธีการของอนุรักษ์นิยม” (เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ,2549:111-112)
เบิร์กเป็นนักคิดคนสำคัญที่ช่วยให้เกิดการค้นพบพฤติกรรมที่ไม่ใช่เหตุผลของมนุษย์ เขามองเห็นสถาบันเหมือนสิ่งมีชีวิตซึ่งเติบโตและรับตัวตลอด และเขาเห็นว่า การปฏิวัติจะต้องจบลงด้วยความเลวร้าย จนได้รับการขนานนามว่า พวกต่อต้านอุดมการณ์ รากฐานอุดมการณ์อนุรักษ์นิยมมีพื้นฐานมาจากอุดมการณ์ทางการเมืองสมัยกรีกโบราณ โดยเฉพาะแนวปรัชญาทางการเมืองของเพลโต (ณัชชาภัทร อุ่นตรงจิตร,2548:88) อุดมการณ์ทางการเมืองตามแนวคิดอนุรักษ์นิยมมีจุดเด่น คือ ให้ความสำคัญเรื่องความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติ เช่น สถาบันกษัตริย์ สถาบันศาสนา และวัฒนธรรมมากที่สุด การเปลี่ยนแปลงของสังคมต้องใช้เวลาไม่รวดเร็ว ไม่ผลีผลาม ต้องรอบคอบรัดกุม ค่อยเป็นค่อยไปอย่างมีระเบียบ ยอมรับความไม่เท่าเทียมกัน เพราะถือว่าเป็นธรรมชาติของมนุษย์ และ เชื่อถือระบอบการปกครองที่เหมาะสมกับประชาชนของประเทศตน ไม่จำเป็นต้องเหมือนของใคร [Anon, n.d.อุดมการณ์ของเสรีนิยม ทุนนิยม และคอมมิวนิสต์.http: //guru.google.co.th/guru/ thread?tid=3e3c739a7c9bf0b7 (10/3/2552)]
อุดมการณ์อนุรักษ์นิยมที่ปรากฏในประเทศต่างๆ อาจไม่ตรงกันบ้างในสาระสำคัญบางประการ เช่น ลัทธิอนุรักษ์นิยมในอเมริกายอมให้มีการเปลี่ยนแปลงได้ ยอมรับการแตกต่างกันในทางการเมือง ต้องการให้มีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ เชื่อในความก้าวหน้า ส่วน อนุรักษ์นิยมในยุโรปและอังกฤษนั้น ยึดมั่นในศาสนาดั้งเดิม ยอมรับการแบ่งชนชั้นแบบเก่า (จรูญ สุภาพ,2538:14) โดยสามารถสรุปลักษณะของอุดมการณ์อนุรักษ์นิยม (ณัชชาภัทร อุ่นตรงจิตร, 2548:89-90)ได้ดังนี้
1) ระเบียบและความมั่นคง (Order and Stability) พวกอนุรักษ์นิยมเชื่อมั่นว่าระเบียบและความมั่นคงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะต้องรักษาไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือเรื่อง ศาสนา ชาติกำเนิด และความรักชาติ ซึ่งจะต้องเป็นสิ่งที่ควรหวงแหนไว้มากกว่าสิ่งใด ๆ ทั้งสิ้น
2) ความชั่วร้ายของคน (Wickedness of Man) พวกอนุรักษ์นิยมเชื่อว่า มนุษย์เกิดมาพร้อมๆ กับธรรมชาติที่โหดร้าย น่ากลัว ดังนั้นมนุษย์จึงต้องการรัฐบาลมาช่วยทำให้สังคมมนุษย์ไร้ซึ่งความวุ่นวายและป่าเถื่อน โดยใช้กฎหมายและศาสนา ซึ่งมีการวางรากฐานมายาวนานและมั่นคง
3) ประสบการณ์ (Experience) อุดมการณ์อนุรักษ์นิยมมีแนวคิดที่เชื่อมั่นในประสบการณ์มากกว่าเหตุผล เพราะเขามีความเห็นในแง่ลบต่อธรรมชาติของมนุษย์ คือ ไม่เชื่อว่ามนุษย์จะเป็นผู้ใช้หลักเหตุผลได้อย่างถูกต้อง
4) ต่อต้านการเปลี่ยนแปลงโดยฉับพลัน (Gradual Change) พวกเขาต้องการให้มันเกิดขึ้นอย่างค่อย ๆ เป็น ค่อย ๆ ไป เพราะถือว่าการเปลี่ยนแปลงโดยฉับพลันเป็นการถอนรากถอนโคนระบบสังคมแบบเดิม
5) เสรีภาพ (Liberty) อนุรักษ์นิยมไม่ชอบความเท่าเทียมกัน เพราะมันจะเป็นอันตรายต่อเสรีภาพ โดยเนื้อแท้เขาสนับสนุนรัฐบาลที่มีรากฐานอยู่ที่การเป็นผู้ดี และต่อต้านพวกทุนนิยมที่แสวงหาอำนาจด้วยความร่ำรวย และต่อต้านระบอบประชาธิปไตย เพราะมันอยู่ตรงกันข้ามกับระเบียบและความมั่นคง
6) ความหลากหลาย (Diversity) พวกอนุรักษ์นิยมไม่เชื่อในความเป็นสากล เขาเชื่อว่าถึงแม้ว่ากฎหมายบางฉบับจะใช้การได้ดีในประเทศหนึ่ง แต่มันก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะใช้ได้ดีในทุก ๆ ประเทศ ดังนั้นประเทศแต่ละประเทศควรจะมีวิถีการพัฒนาเป็นของตัวเอง ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละประเทศ
7) รัฐบาล (Government) รัฐบาลในความคิดของพวกอนุรักษ์นิยมไม่ใช่สิ่งที่ชั่วร้าย รัฐบาลเป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะรักษาไว้ซึ่งระเบียบเรียบร้อยและความมั่นคง
ในศตวรรษที่ 20 อุดมการณ์อนุรักษ์นิยมมีความเปลี่ยนแปลงในตัวเองอย่างมาก ถึงแม้ว่าแนวความคิดในเรื่องหลัก ๆ ยังคงเหมือนเดิม แต่เรื่องแนวคิดเรื่องวิถีทางเศรษฐกิจของพวกเขาเปลี่ยนแปลงไป พวกอนุรักษ์นิยมใหม่ (neo-conservatism) จะมีแนวคิดคล้ายพวกเสรีนิยมเก่าในเรื่องทางด้านเศรษฐกิจ โดย้องการให้รัฐบาลถูกจำกัดอำนาจในการเข้าไปแทรกแซงทางเศรษฐกิจ
ปัจจุบันทั้งพวกอนุรักษ์นิยมใหม่และพวกเสรีนิยมใหม่มีความคาบเกี่ยวกันในหลายด้านแม้กระทั่งในคน ๆ เดียวกัน ในบางกรณีอาจเป็นอนุรักษ์นิยม ในบางกรณีอาจเป็นเสรีนิยม อุดมการณ์ทั้งสองประการจึงไม่สามารถถูกเรียกได้ว่าอยู่ที่ใดที่หนึ่งตลอดไป มันได้ถูกนำมาใช้อธิบายแนวความคิดของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลต่อเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง เราไม่จำเป็นต้องขังตัวเองอยู่ในอุดมการณ์แบบใดแบบหนึ่ง เพียงแต่เข้าใจว่าแต่ละประเด็นที่กำลังวิเคราะห์กันอยู่นั้นเรายืนอยู่บนจุดใดก็น่าจะเป็นสิ่งที่เพียงพอแล้ว
-ทุนนิยม (Capitalism)ทุนนิยม หมายถึง ระบบเศรษฐกิจที่ถือว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเป็นเจ้าของและการลงทุนในการผลิต เป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน โดยยอมให้ผู้ประกอบการทางเศรษฐกิจมีโอกาสแข่งขันกันในทางเศรษฐกิจ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลกำไรหรือผลประโยชน์อื่นใดตามความสมารถและความปรารถนาของแต่ละคน เป็นระบบเศรษฐกิจที่มีคุณลักษณะสำคัญ คือ ยอมรับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและการผลิตของบุคคล เสรีภาพในการประกอบการทางธุรกิจและเศรษฐกิจ เสรีภาพของผู้บริโภคในการที่จะเลือกบริโภคหรือใช้บริการ การแข่งขันกันในทางเศรษฐกิจ การแสวงหาผลกำไรจากการดำเนินงานทางเศรษฐกิจ และการยึดถือราคาในฐานะเป็นแกนกลางที่มีอิทธิพลต่อการควบคุมแรงงาน ทรัพยากร ผลผลิตและรายได้(จรูญ สุภาพ,2538:71) ลัทธิทุนนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 19 เป็นระบบที่เกิดมาเพื่อต่อต้านระบบพานิชยนิยม คือ ระบบเศรษฐกิจที่อยู่ภายใต้ทฤษฎีที่ความมั่งคั่งของรัฐขึ้นอยู่กับทองคำ เงิน และโลหะอื่นๆซึ่งรัฐบาลจะเป็นผู้ควบคุมเศรษฐกิจทั้งหมด เพื่อการหามาซึ่งโลหะมีค่า ทั้งนี้ความมั่งคั่งจะกระจุกอยู่ที่รัฐบาลและพันธมิตรของรัฐบาล ( ณัชชาภัทร อุ่นตรงจิตร, 2548:89-96) ลัทธิทุนนิยมมีหลายรูปแบบ ที่สำคัญคือ ทุนนิยมแบบพานิชยกรรม ทุนนิยมแบบการเงิน ทุนนิยมแบบอุตสาหกรรม และทุนนิยมแบบประกอบการ เป็นระบบที่ให้คุณค่ากับการที่ราคาถูกตัดสินในตลาดเสรี นั่นคือโดยการค้าที่เป็นผลมาจากการตกลงด้วยความสมัครใจของผู้ซื้อและผู้ขาย ความคิดเชิงตลาด จิตวิญญาณของผู้ประกอบการ และความเข้าใจเกี่ยวกับทรัพย์สินและสัญญาที่ชัดเจนที่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย ทฤษฎีหลายทฤษฎีได้ชี้ให้เห็นถึงแนวการปฏิบัติทางเศรษฐกิจหลาย ๆ แนวได้ถูกให้ทำเป็นสถาบันในยุโรประหว่างช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16-19 ที่สำคัญ เช่น สิทธิของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่จะสามารถทำการได้แบบ “นิติบุคคล” (หรือบรรษัท) ในการซื้อและขายสินทรัพย์ ที่ดิน แรงงาน เงินตรา ในตลาดเสรี และสามารถวางใจได้ว่ารัฐจะสามารถบังคับให้เกิดการเคารพสิทธิทรัพย์สินส่วนบุคคลแทนที่จะต้องพึ่งการคุ้มครองแบบศักดินา อย่างไรก็ตามองค์ประกอบของระบบทุนนิยมมีคุณลักษณะอยู่ 5 ประการด้วยกัน คือ 1.การมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนบุคคลเป็นปัจจัยที่สำคัญ 2.การแข่งขันทางตลาดอย่างเสรี 3.ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบตลาด 4.มีอิสระในการบริหาร 5.และประชาชนสามารถมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ลัทธิทุนนิยมนี้เกิดขึ้นมาเพื่อต่อต้าน ระบบพาณิชยนิยม (Mercantilism) คือระบบเศรษฐกิจที่อยู่ภายใต้ทฤษฎีความมั่นคงของรัฐที่ขึ้นอยู่กับทองคำ เงิน และโลหะอื่น ๆ ซึ่งรัฐบาลจะเป็นผู้ควบคุมระบบเศรษฐกิจทั้งหมด เพื่อการหามาโลหะมีค่า ทั้งนี้ความมั่งคั่งจะกระจุกอยู่ที่รัฐบาลและพันธมิตรของรัฐบาลเพียงกลุ่มเดียวเท่านั้น ทุนนิยมแบบพานิชยกรรม เกิดจากการค้าระหว่างประเทศในยุโรปหลังยุคสงครามครูเสด มีศูนย์กลางการค้าอยู่ที่เมืองบาร์เซโลนาของสเปน สินค้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทฟุ่มเฟือย ลักษณะการค้าจะอยู่ในรูปของการแบ่งความรับผิดชอบกันเป็นกลุ่มๆ เช่น พวกพ่อค้าขายส่ง พวกพ่อค้าขายปลีก และผู้ให้กู้ยืมเงิน ส่วนในยุโรปเหนือมีการค้าระหว่างประเทศโดยตังเป็นสมาคม เรียกว่า “Hanseatic League” บรรดาสมาชิกของสมาคมนี้ถือว่าเป็นนายทุนที่แท้จริง เพราะสามารถแสวงหากำไรได้มาก มีอิทธิพลต่อชาวนาและกรรมกรของรัฐ และมีอิทธิพลต่อกิจกรรมการเมืองระหว่างประเทศ (จรูญ สุภาพ, 2538:76)
ทุนนิยมแบบการเงิน เป็นการจัดการค้าในรูปของตลาดเงินทุน มีลักษณะสำคัญ คือ 1. มีการให้ทุนเพื่อการพานิชยกรรมในลักษณะของเงินกู้ 2. มีองค์การดำเนินการทางเศรษฐกิจเงินกู้หลายกลุ่ม 3. มีการให้เงินกู้โดยตรงแก่บุคคลหรือกิจการต่างๆ 4. จัดให้มีธนาคารและการแลกเปลี่ยนระหว่างธนาคารขึ้น 5. มีการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศในลักษณะของเงินกู้ 6. จัดให้มีธนาคารของรัฐและการกู้ระหว่างประเทศ ทุนนิยมแบบการเงินถูกพัฒนาและเป็นที่รู้จักแพร่หลายขึ้นในศตวรรษที่ 17 และบางยุคบางสมัยก็ชะงักลง แต่ก็ไม่สลายไป เพราะปัจจุบันยังมีสถาบันการเงินที่ทำหน้าที่ด้านนี้อยู่ (จรูญ สุภาพ, 2538:77-78)
ทุนนิยมแบบอุตสาหกรรม เกิดขึ้นพร้อมๆกับการล่มสลายของระบบศักดินาและการขยายตัวของเมืองต่างๆ ซึ่งมีลักษณะที่สำคัญ คือ 1.ได้มีการเปลี่ยนอุตสาหกรรมขนาดเล็กหรืออุตสาหกรรมครัวเรือน เป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ 2.ได้มีพ่อค้าซึ่งขายวัตถุดิบให้กับโรงงานอุตสาหกรรม และซื้อผลิตผลอุตสาหกรรมเพื่อขายเอากำไรมากขึ้น 3. เกิดโรงงานขนาดใหญ่ และมีการใช้แรงงานมากมาย ระบบทุนนิยมแบบอุตสาหกรรมได้ก่อตัวขึ้นชัดเจนในยุคหลัง โดยเฉพาะในศตวรรษที่ 18 ซึ่งได้มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมขึ้นในสมัยนี้ ทำให้วิทยาการมีความก้าวหน้าขึ้น ผลผลิตเพิ่มขึ้นทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ เป็นสิ่งที่เกื้อกูลระบบทุนนิยมเป็นอันมาก (จรูญ สุภาพ, 2538:78)
ทุนนิยมแบบประกอบการ เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 17 เป็นผู้ที่มีบทบาทและอิทธิพลในการกำหนดกฎเกณฑ์และนโยบายทางการค้า มีการลงโทษแก่ผู้ละเมิดกฎเกณฑ์เหล่านั้น เช่น กฎหมายเกี่ยวกับมาตรฐานสินค้า คุณภาพแลการปลอมแปลง มีกฎหมายห้ามเก็งกำไร มีบทบัญญัติกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการซื้อขาย การกำหนดราคาค่าจ้าง และชั่วโมงทำงาน เป็นต้น (จรูญ สุภาพ, 2538:78)
ลัทธิทุนนิยมมีลักษณะที่สำคัญ คือ เป็นระบบเศรษฐกิจที่อนุญาตให้เอกชนสามารถถือครองทรัพย์สินได้มากเท่าที่เขาสามารถจะหาได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย สนับสนุนให้มีการแข่งขันอย่างเสรี ไม่มีกฎระเบียบหรือข้อบังคับจากรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลไม่สามารถเข้าใจได้ทั้งหมดว่าเอกชนต้องการอะไร พวกทุนนิยมจึงต้องการอำนาจในการบริหารทั้งหมด การเข้ามามีอิทธิพลของระบบทุนนิยมก่อให้เกิดธุรกิจขนาดใหญ่ ส่งผลให้กิจการขนาดเล็กได้รับการกระทบกระเทือน เกิดการผูกขาด ทำให้ผู้ที่ร่ำรวยมีอิทธิพลทางการเงิน กิจการขนาดเล็กต้องอยู่ภายใต้อิทธิพลของบริษัทยักษ์ใหญ่เพียงไม่กี่แห่ง
-สังคมนิยม (Socialism) แนวความคิดของลัทธิสังคมนิยมได้เกิดขึ้นก่อนคริสตกาล คือ Plato ได้วาดมโนภาพในอุดมคติไว้ว่า สรรพสิ่งทั้งปวงเป็นของกลางเพื่อให้คนทุกชนชั้นได้บริโภค วิวัฒนาการของสังคมนิยมได้เริ่มตั้งแต่การขยายตัวของอุตสาหกรรมในระบบทุนนิยมในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 หรือตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19โดยผู้ใช้แรงงานหรือกรรมกรซึ่งไม่มีความรู้และทรัพย์สินอื่นนอกจากแรงงาน ได้รับความทุกข์ยากเป็นอย่างมาก นักสังคมวิทยาจึงได้แสวงหาวิธีการที่จะสร้างสังคมใหม่ที่ปราศจากความอยุติธรรมและความไม่เท่าเทียมกันโดยเสนอแนะให้มนุษย์ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยให้พิจารณาถึงผู้ที่ยากจนเป็นกรณีพิเศษ (อานนท์ อาภาภิรม,2545:115)ระบบสังคมนิยมเกิดขึ้นมาเพื่อต่อต้านระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม เพราะถือว่าระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมนั้น นายจ้างคือผู้มีปัจจัยการผลิต อันได้แก่ ที่ดิน ทุน และการประกอบการ ส่วนแรงงานมีฐานะเป็นเพียงปัจจัยการผลิตอย่างหนึ่ง แรงงานจึงต้องพึ่งพานายจ้าง และด้วยจำนวนแรงงานที่มีอย่างมากมาย จึงมักถูกกดขี่อย่างไร้มนุษยธรรม นอกจากนั้น การประกอบธุรกิจของเอกชนที่มุ่งแต่กำไรสูงสุด อาจก่อให้เกิดผลเสียแก่สังคม เช่น ปัญหาการว่างงาน อาชญากรรม ปัญหาสิ่งแวดล้อม [ชำนาญ จันทร์เรือง .2548.ประชาธิปไตย ทุนนิยม และสังคมนิยม,http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2005q4/ article2005oct12p10.htm (10/3/2552)]
โรเบิร์ต โอเวน (Robert Owen)นักสังคมวิทยาได้วางรากฐานในเรื่องจัดสวัสดิการให้แก่กรรมกรโรงงาน โดยเขาให้แนวคิดว่า มนุษย์ถูกกำหนดโดยสิ่งแวดล้อม คือสิ่งแวดล้อมกำหนดให้มนุษย์เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เพราะสังคมให้ความสำคัญกับเครื่องจักรมากเกินไป จนไม่มีเวลาเอาใจใส่สุขภาพร่างกายและจิตใจของมนุษย์ ฉะนั้น หากสังคมจะให้ความสนใจแก่มนุษย์มากขึ้น ย่อมจะต้องมีวิธรการที่จะปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ให้ดีขึ้น รวมทั้งส่งเสริมการผลิตที่มีประสิทธิภาพ โดยการจัดตั้งสหกรณ์ แล้วให้สมาชิกนำผลิตผลของตนมาตั้งที่ร้าน และกำหนดราคาสินค้าขึ้นเองตามจำนวนชั่วโมงของแรงงานที่แต่ละคนใช้ในการผลิต (อานนท์ อาภาภิรม,2545:115-116)
ระบบสังคมนิยมเชื่อว่า ถ้าเปิดโอกาสให้ประชาชนทำการทุกอย่างแล้ว จะก่อให้เกิดผลเสียหายหลายประการ เช่น การเอารัดเอาเปรียบกัน มุ่งหากำไรเกินควร และประชาชนอาจจะให้การบริการไม่ทั่วถึง ฉะนั้นรัฐจึงมีความจำเป็นที่จะดำเนินการบางประการเท่าที่จำเป็น เพื่อให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของประชาชน และเพื่อช่วยให้ประชาชนทั้งปวงได้ประโยชน์โดยเท่าเทียมกัน (ดำริห์ บูรณะนนท์, 2548:75)ทำให้วิธีการบางอย่างถูกควบคุมและผูกขาดโดยรัฐ เช่น ที่ดิน ทุนทรัพย์ และกลไกการผลิต เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความแตกต่างระหว่างฐานะการเงินของบุคคล หรือความแตกต่างในด้านเศรษฐกิจของประชาชนในสังคม เป็นอุดมการณ์การต่อสู้ของประชาชนที่รักความเป็นธรรมโดยเอาสังคมเป็นตัวตั้งทางผลประโยชน์ เน้นคุณค่ามนุษย์ที่สมบูรณ์ที่ควรได้รับจากการจัดการของรัฐ
สังคมนิยมพื้นฐานก็คือ ที่ซึ่งรัฐเอาสังคมเป็นศูนย์กลางและนโยบาย เป้าหมาย และวิถีทาง เพื่อประชาชนได้เท่าเทียมประโยชน์แห่งชีวิต มีประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจและสังคมที่แท้จริง ประชาชนทุกคนมีสิทธิ-เสรีภาพ โดยรัฐที่เป็นตัวแทนพิทักษ์ผลประโยชน์ของประชาชนที่แท้จริง คอยดูแลสวัสดิการให้แก่ประชาชนอย่างพอเพียง สร้างคุณภาพสังคมและคุณค่ามนุษย์ที่สมบูรณ์ [เมธา มาสขาว.n.d.สังคมนิยม-ประชาธิปไตยในประเทศไทย,http://www.midnightuniv.org/ midnight2544/0009999530.html (10/3/2552)] ลัทธิสังคมนิยม มีลักษณะที่สำคัญ ดังนี้1. มีการวางแผนเศรษฐกิจจากส่วนกลางหรือรัฐบาล โดยลัทธิสังคมนิยมเชื่อว่าหากรัฐบาลมีการวางแผนทางเศรษฐกิจไว้ล่วงหน้าเป็นอย่างดี โดยไม่ปล่อยให้เอกชนดำเนินงานกันเองอย่างไร้ระเบียบ จะทำให้สามารถหลีกเลี่ยงวิกฤติเศรษฐกิจและปัญหาสังคม เช่น ปัญหาเงินเฟ้อ เงินฝืด การว่างงาน โดยการวางแผนเศรษฐกิจถือหลักการว่าต้องเป็นประโยชน์กับสังคมที่เป็นคนส่วนใหญ่ และ 2.รัฐบาลเข้ามาควบคุมกิจการที่เกี่ยวข้องกับสาธารณูปโภคของประชาชน กิจการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า ประปา และถนนหนทาง จะอยู่ภายใต้การดูแลของรัฐ เนื่องจากเป็นกิจการที่ประชาชนมีความจำเป็นต้องใช้ การที่รัฐบาลเข้ามาดูแลสาธารณูปโภคดังกล่าวย่อมเกิดผลดีแก่สังคมส่วนรวม [ชำนาญ จันทร์เรือง .2548.ประชาธิปไตย ทุนนิยม และสังคมนิยม,http://www. nidambe11.net/ekonomiz/2005q4/ article2005oct12p10.htm (10/3/2552)]
จากการอธิบายถึงอุดมการณ์ทางการเมืองทั้ง 4 แบบแล้วพอจะเห็นได้ว่า หลายประเทศที่ประกาศตนว่าเป็นประชาธิปไตย ก็ยังนำอุดมการณ์ของสังคมนิยมเข้าไปประยุกต์ใช้ให้เข้ากับการปกครองขอประเทศตน เช่น ประเทศในยุโรปโดยเฉพาะแถบสแกนดิเนเวียที่ใช้การปกครองในระบอบประชาธิปไตย แต่ใช้ระบบเศรษฐกิจเป็นสังคมนิยม หรือที่เรียกกันว่า "รัฐสวัสดิการ" หรือแม้กระทั่งประเทศไทยเองที่ประกาศตัวเองว่า "เราต้องยอมรับว่า ประเทศเราเป็นประเทศทุนนิยม" หากพิจารณารัฐธรรมนูญเป็นหมวดๆ แล้วจะพบว่า มีการผสมผสานระหว่างอุดมการณ์ที่หลากหลาย เช่น หมวด 2 พระมหากษัตริย์ ตามอุดมการณ์อนุรักษ์นิยม หมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ตามอุดมการณ์สังคมนิยม และเผด็จการ เป็นหลัก หมวด 7 คณะรัฐมนตรี ตามทฤษฎีระบบเศรษฐกิจทุนนิยม หมวด 8 ศาล ตามอุดมการณ์เสรีนิยม และอนุรักษ์นิยม หมวด 9 การปกครองส่วนท้องถิ่น ตามอุดมการณ์ เสรีนิยม อนุรักษ์นิยม และสังคมนิยม เป็นต้น
ลัทธิสังคมนิยมเป็นระบบเศรษฐกิจที่มีการวางแผนจากส่วนกลางเพื่อผลประโยชน์ของชุมชนโดยส่วนร่วม ระบบนี้ถือได้ว่าเกิดขึ้นมาเพื่อคัดค้านระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม สาระสำคัญของสังคมนิยมมีองค์ประกอบดังนี้ 1.มีการวางแผนเศรษฐกิจจากส่วนกลางหรือรัฐบาล 2.เอกชนจะได้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจโดยส่วนเฉลี่ยตามผลงานของแต่ละคน 3.รัฐบาลเข้ามาควบคุมกิจการที่เกี่ยวข้องกับสาธารณูปโภคของประชาชน
ลัทธิสังคมนิยมที่สำคัญของโลกมี 3 รูปแบบคือ 1.สังคมนิยมแบบอุดมคติ คือการสร้างจินตนาการ หรือวาดภาพสภาพสังคมที่เลอเลิศอย่างที่เป็นความเชื่อเรื่องสังคมสมัยพระศรีอาริยเมตไตรย์ 2.สังคมนิยมแบบมาร์กซ์ คือต้องการให้ส่วนกลาง (รัฐ) มีบทบาทมากที่สุดหรืออีกนัยยะหนึ่งก็คือว่าต้องการให้เกิดการปฏิวัติเพื่อเข้าสู่สภาพสังคมเต็มรูปแบบโดยเร็วทั้งนี้โดยเน้นการต่อสู้ระหว่างชนชั้นเป็นหลัก 3.สังคมนิยมแบบประชาธิปไตย เป็นการผสมผสานหลักการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตยเข้ากับระบบเศรษฐกิจที่รัฐหรือรัฐบาลมีอำนาจจำกัดเสรีภาพทางเศรษฐกิจของเอกชนบางประการด้วยการเข้าดำเนินการเองบางส่วนเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม
2.อุดมการณ์ทางการเมืองเป็นเครื่องมือทางด้านความคิดที่ใช้อธิบายสังคมและทำความเข้าใจสังคม อุดมการณ์ประชาธิปไตยซึ่งสังคมโลกส่วนใหญ่เชื่อกันว่าเป็นเครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์และอธิบายสังคมได้ดีที่สุดในขณะนี้นั้นกลับไม่สามารถอธิบายสังคมอิสลามได้ทั้งหมด ให้นักศึกษาอธิบายรายละเอียดจุดอ่อนของอุดมการณ์ประชาธิปไตยที่ไม่สามารถวิเคราะห์สังคมอิสลามได้อย่างถูกต้อง
อุดมการณ์ประชาธิปไตย เป็นทั้งอุดมคติและระบอบการเมือง เกิดขึ้นประมาณครึ่งหลังของศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตศักราช โดยนครรัฐกรีก กล่าวได้ว่าเอเธนส์เป็นนครแห่งประชาธิปไตยมากที่สุด พลมืองเอเธนส์มีความภูมิใจในระบอบการปกครองที่เปิดโอกาสให้พวกเขามีเสรีภาพ เช่นเสรีภาพในการนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์โดยไม่มีขอบเขตจำกัด มีสถาบันการปกครองประเทศที่เป็นสภานิติบัญญัติ และข้าราชการผู้มีหน้าที่ในการบริหารประเทศโดยได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน
ประชาธิปไตย ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Democracy ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษากรีก 2 คำ คือ Demos แปลว่า ประชาชน และ Kratos แปลว่าอำนาจ เมื่อนำมารวมกันแล้วหมายความว่า อำนาจประชาชน หรือ ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจ ซึ่งมีหลักการพื้นฐานคือ การยอมรับนับถือความสำคัญและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคล ความเสมอภาค และเสรีภาพในการดำเนินชีวิต (โกวิท วงศ์สุรวัฒน์, มปป : 7)
ออสติน แรนนี ( Austin Ranney) กล่าวว่า ประชาธิปไตยเป็นรูปการปกครอง ซึ่งเป็นไปตามหลักการของการใช้อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน (Popular Sovereignty) ความเสมอภาคทางการเมือง (Political Equality) การปรึกษากับประชาชน ( Popula Consultation) และการปกครองโดยกฎเสียงข้างมาก (Majority Rule) ) อ้างอิงในอานนท์ อาภาภิรม, 2545:118)
สำหรับความหมายของคำว่าประชาธิปไตยที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีหลายความหมาย ดังนี้ 1. ระบบการปกครองโดยคนจนและคนเสียเปรียบ 2. รูปแบบการปกครองที่ประชาชนปกครองตนเองโดยตรงและต่อเนื่อง ซึ่งไม่ต้องการนักการเมืองอาชีพหรือข้าราชการ 3. สังคมที่มีความเท่าเทียมกันในโอกาสและคนมีคุณธรรมมากกว่าสังคมที่มีลำดับชั้นและอภิสิทธิ์ 4. ระบบการปกครองที่รับประกันสิทธิและผลประโยชน์ของคนส่วนน้อยโดยเน้นการตรวจสอบอำนาจของเสียงข้างมาก และ 5. ระบบการปกครองที่สนองตอบต่อผลประโยชน์ของประชาชนโดยไม่สนใจการเมืองเรื่องอื่น เป็นต้น การเริ่มทำความเข้าใจประชาธิปไตยอาจเริ่มจากคำกล่าวของอับราฮัม ลินคอล์น (Abraham Lincoln)ที่กล่าวในปี ค.ศ.1864 ท่ามกลางสงครามกลางเมืองในสหรัฐอเมริกา ว่า “การปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน” (Government of the people, by the people, and for the people) (เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ, 2549: 136)
อุดมการณ์ทางการเมืองตามทัศนะของนักวิชาการ
ลิขิต ธีรเวคิน อธิบาย อุดมการณ์ทางการเมือง หมายถึง ลัทธิทางการเมืองที่อธิบายความเป็นมาของสังคมมนุษย์ในอดีต สภาพความเป็นอยู่ในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต วางแนวทางการประพฤติปฏิบัติสำหรับสมาชิกในปัจจุบัน และสำหรับการบรรลุความมุ่งหวังของอนาคต พร้อมทั้งให้ความหมายแก่ชีวิต แก่ความประพฤติและความสัมพันธ์ที่มนุษย์มีต่อสิ่งแวดล้อม และระบบสังคมทั้งมวล
Friedrich C.J and Brzezinski Z.K. กล่าวว่า อุดมการณ์ทางการเมือง หมายถึง ความคิดที่มีลักษณะที่ชัดเจน (articulate) ประติดประต่อกัน (coherent) และเป็นระบบ (systematic) ตลอดจนสัมพันธ์กับการกระทำ
จากความหมายข้างต้นสรุปได้ว่าอุดมการณ์ทางการเมือง หมายถึง ระบบความคิด ความเชื่อ หรือความศรัทธาของกลุ่มสังคมใดสังคมหนึ่งที่มีต่อระบบการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ ซึ่งระบบความเชื่อต่าง ๆ นี้จะสะท้อนให้เห็นถึงรูปแบบของการเมือง หลักการในการปกครอง วิธีดำเนินการปกครองว่าใครจะเป็นผู้มีอำนาจในการปกครอง ผู้ปกครองมีบทบาทและอำนาจกว้างขวางเพียงใด ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองและผู้ใต้ปกครองจะมีลักษณะอย่างไร ผู้อยู่ใต้ปกครองจะมีสิทธิและเสรีภาพมากน้อยแค่ไหน มีความเหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่ในปัจจุบันและอนาคตหรือไม่อย่างไร
หลักการของประชาธิปไตย
ประชาธิปไตยมีพัฒนาการมาหลายร้อยปี มีทฤษฎีและการปฏิบัติมากมาย ซึ่งสามารถสรุปหลักการสำคัญของอุดมการณ์ประชาธิปไตย ดังนี้
1) หลักการมีส่วนร่วมของพลเมือง (Citizen Involvement) ความคิดพื้นฐานของระบบประชาธิปไตยทุกระบบ คือ ประชาชนควรมีส่วนร่วมตัดสินใจทางการเมือง ซึ่งมี ทางคือ ประชาธิปไตยทางตรง โดยให้พบเมืองมีส่วนร่วมในการปรึกษาหารือ ออกเสียง ถกเถียง รวมร่างกฎหมาย และประชาธิปไตยแบบตัวแทน ซึ่งพลเมืองเลือกคนอื่นไปถกเถียงและออกฎหมาย (เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ, 2549: 145)การมีส่วนร่วมทางการเมืองนี้ไม่จำเป็นว่าประชาชนทุกคนจะเข้าไปทำหน้าที่ของตนในรัฐสภาทั้งหมด แต่สามารถมีส่วนร่วมได้ในรูปแบบต่างๆ ต่อไปนี้ 1. การมีส่วนร่วมในรูปแบบของกลุ่มผลประโยชน์ เช่น สมัชชาคนจน 2. การมีส่วนร่วมในรูปแบบของพรรคการเมือง เป็นการรวมกลุ่มกันเพื่อไปทำหน้าที่ทั้งฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารในการรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม 3. การมีส่วนร่วมในรูปแบบของการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ถือเป็นรูปแบบที่สำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตย ซึ่งจะต้องมีลักษณะที่ลับ อิสระ และเสมอภาค ( วรทิพย์ มีมาก ชีวินทร์ ฉายาชวลิต,2547: 48)
2) หลักความเสมอภาค (Equality) ประชาธิปไตยถือว่า คนเราจะต้องมีความเสมอภาคกันทั้งในทางสังคม ทางเศรษฐกิจ และในทางการเมือง คือ ทุกคนย่อมมีสิทธิเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย ในการดำรงชีวิต การใช้เสรีภาพในการแสวงหาความสุข และการมีส่วนร่วมทางการเมือง (ทินพันธ์ นาคะตะ, 2541:186-187)ซึ่งความเสมอภาคถือเป็นอุดมการณ์พื้นฐานของประชาธิปไตย อันประกอบด้วย 1. ความเสมอภาคในความเป็นมนุษย์ ได้แก่ ศักดิ์ศรี เกียรติยศ และความสำคัญในคุณค่าของความเป็นมนุษย์ 2. ความเสมอภาคทางกฎหมาย ได้แก่ การที่บุคคลพึงมีสิทธิในการที่จะได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายโดยเสมอภาคกัน ค.ความเสมอภาคในโอกาส คือ บุคคลควรจะมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันในการดำรงชีวิตส่วนตัวของแต่ละบุคคล และ 3. ความเสมอภาคทางการเมือง คือ การที่จะมีสิทธิทางการเมืองโดยเสมอภาคโดยทั่วหน้า ทั้งในด้านการออกเสียงเลือกตั้ง การสมัครรับเลือกตั้งในตำแหน่งต่างๆ ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ (อานนท์ อาภาภิรม, 2545:119)
3) อิรภาพและเสรีภาพ (Freedom and Liberty)คือ โอกาสที่บุคคลเลือกปฏิบัติได้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนมากที่สุด โดยไม่ละเมิดประโยชน์ของผู้อื่น เสรีภาพจึงต้องมีขอบเขตและเหตุผล เสรีภาพที่เป็นพื้นฐาน ได้แก่ เสรีภาพที่เกี่ยวกับบุคคล จะต้องเป็นไปในลักษณะที่มีความรับผิดชอบ ดังนั้น ประชาชนที่มีและใช้เสรีภาพจึงต้องมีหน้าที่ด้วย เช่น บุคคลมีเสรีภาพในการที่จะรักษาชีวิตตนเอง และมีหน้าที่ในการรักษาชีวิตของผู้อื่น การมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และต้องเคารพชื่อเสียงของผู้อื่น เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง และมีหน้าที่เคารพความคิดเห็นของบุคคลอื่น (จรูญ สุภาพ, 2538:34)เสรีภาพจะช่วยให้มนุษย์ใช้ความสามารถได้อย่างเต็มที่ ก่อให้เกิดความเจริญในด้านต่างๆทำให้เกิดการคิดค้นและผลิตสิ่งใหม่ๆขึ้น
อุดมการณ์ประชาธิปไตยโดยส่วนใหญ่แล้วจะเน้นในหลักการ 4 ประการนี้ แต่ยังมีหลักการอื่นๆปลีกย่อยอีกมากมาย เช่น หลักการใช้เหตุผล หลักความยินยอม หลักนิติธรรม หลักศีลธรรม หลักการยอมรับเสียงส่วนใหญ่และเคารพเสียงส่วนน้อย เป็นต้น โดยสามารถสรุปลักษณะสำคัญของอุดมการณ์ประชาธิปไตย (โกวิท วงศ์สุรวัฒน์.มปป:73) ได้ดังนี้
1) ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย คือ การที่ประชาชนเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐ
2) ประชาชนทุกคนในรัฐมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันตามกฎหมาย ตลอดจนมีสิทธิเสรีภาพในขอบเขตของกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน
3) การดำเนินการต่างๆของรัฐถือเอาเสียงข้างมากเป็นเครื่องตัดสิน และเสียงส่วนน้อยในรัฐจะได้รับความคุ้มครองทางกฎหมาย เพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนส่วนใหญ่กดขี่ข่มเหงอย่างผิดกฎหมาย
4) กระบวนการของประชาธิปไตย วิธีการปกครองซึ่งได้รับความยินยอมพร้อมใจของประชาชนส่วนใหญ่ ซึ่งแสดงออกในรูปของการเลือกตั้ง การอภิปราย การออกเสียงประชามติ การเสนอร่างกฎหมายของประชาชนเป็นต้น
ลินคอร์น ได้กล่าวว่า ประชาธิปไตย คือ การปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน
ออสติน แรนนี ได้กล่าวว่า ประชาธิปไตย คือ เป็นรูปแบบการปกครอง ซึ่งเป็นหลักการของการให้อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน(popular sovereignty) ความเสมอภาคทางการเมือง(political equaltry) การปรึกษากับประชาชน (popular consulation) และการปกครองโดยเสียงส่วนมาก (majority rule)
ดังนั้นประชาธิปไตยจึงหมายถึง รูปแบบการปกครองที่ประชาชนสามารถเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองโดยเสรีภาพ ความเสมอภาค และความยุติธรรม เนื่องจากการปกครองในระบอบประชาธิปไตยการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ทรัพยากร ทั้งหมดภายใต้รัฐเป็นของประชาชน เพื่อประชาชน และโดยประชาชน
ด้วยเหตุนี้อุดมการณ์ทางการเมืองประชาธิปไตยทำให้เราเข้าใจ1.อำนาจ อธิปไตยเป็นของปวงชนทุกคน 2.หลักสิทธิเสรีภาพ 3.หลักความเสมอภาค 4.หลักการปกครองโดยกฎหมายหรือหลักนิติธรรม 5.หลักการมีเสียงข้างมาก ในการกำหนดทิศทางและเป้าหมายสูงสุดของระบบการเมือง ณ ปัจจุบัน ในขณะเดียวกันกลับไม่สามารถอธิบายสังคมอิสลามได้ทั้งหมด ข้อถกเถียงในกลุ่มนักวิชาการฝ่ายมุสลิมกับฝ่ายตะวันตก เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างอิสลามในฐานะของสัจธรรมและวิถีชีวิตกับอุดมการณ์ทางการเมืองประชาธิปไตย หลักการปกครองอิสลามมีความสอดคล้องกับประชาธิปไตย แต่ก็ไม่เหมือนกันในทุกประการกับหลักการพื้นฐานแห่งพุทธิปัญญาของประชาธิปไตยเสรี ดังที่เอนนายเอ็ด (Enayet) กล่าวว่า แท้จริงแล้วอิสลามได้แสดงความเดียดฉันท์ต่อ “อำนาจกดขี่โดยบุคคลหรือคณะผู้ปกครองใด ๆ” เช่นเดียวกันกับการที่ประชาธิปไตยปฏิเสธในอำนาจเผด็จการนั่นเอง
อิสลามยึดถือในหลักความเสมอภาคและหลักแห่งนิติธรรม ที่สำคัญอิสลามได้อาศัยหลักการที่เรียกว่า “ชูรอ” (หลักว่าด้วยการปรึกษาหารือ)และ “อิจมาอฺ” (หลักการว่าด้วยความเห็นพ้องกันของนักวิชาการมุสลิม) เพื่อบรรลุข้อที่ว่า รัฐบาลต้องไม่ปกครองโดยอาศัยเฉพาะกฎหมายที่บัญญัติเท่านั้น หากแต่ควรคำนึงถึงเจตนารมณ์ของผู้ที่อยู่ใต้การปกครอง ทั้งนี้ระบบการเมืองแบบอิสลามจึงถูกระบุว่าเป็นระบบการเมืองของสังคมที่มีตำแหน่งแห่งที่เฉพาะตัว ซึ่งแตกต่างไปจาการยอมรับของโลกตะวันตกสมัยใหม่ และสามารถจะตัดสินผลความสำเร็จได้ด้วยเนื้อหาและความหมายเฉพาะตัวเท่านั้น บรรดานักวิชาการมุสลิมต่างเห็นพ้องต้องการว่า“พระคัมภีร์อัลกุรอ่าน” (Al-quran)และซุนนะฮฺ(Sunnah) ต่างไม่ได้กำหนดถึงรูปแบบปกครอง และไม่ได้อรรถาธิบายถึงแนวทฤษฎีทางรัฐธรรมนูญใด ๆ ไว้อย่างเฉพาะเจาะจง ดังนั้นการเมืองแบบอิสลามจึงเป็นไปได้หลายรูปแบบวิธี ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับมุสลิมในยุคสมัยต่างๆ จะเลือกสรรตามเอาสมควรตามสถานการณ์
ข้าพเจ้าคิดว่ารายละเอียดจุดอ่อนของอุดมการณ์ประชาธิปไตยที่ไม่สามารถวิเคราะห์สังคมอิสลามได้อย่างถูกต้องมีดังนี้ ระบบการเมืองการปกครองที่ยึดมั่นในกรอบความคิดที่ต่างกันเกี่ยวกับเรื่องอำนาจอธิปไตยสูงสุด ความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับการเมือง รวมถึงกระบวนการตัดสินใจทางการเมือง กล่าวคือ ลักษณะเฉพาะอันโดดเด่นของประชาธิปไตยในตะวันตก เกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยสูงสุดที่มีนัยถึงอำนาจอันสมบูรณ์และเบ็ดเสร็จในตัวเองซึ่งหาได้สถิตอยู่ในขอบข่ายแห่งมวลมนุษยชาติ แต่อย่างใด ประเด็นดังกล่าวนี้ อาบูอะลา อัลเมาดูดี กล่าวว่า “นักปรัชญาการเมืองต่างก็พยายามที่จะมอบอำนาจอธิปไตยให้กับมนุษย์ ผู้ซึ่งไม่เคยได้ดั่งใจและไม่บังควร” สำหรับอิสลามนั้นรัฐธรรมนูญและกฎหมายใด ๆ ต่างต้อวางอยู่ภายใต้ “อัลลอฮฺ” พระผู้เป็นเจ้าซึ่งมีอำนาจอธิปไตยสูงสุด
จุดอ่อนของอุดมการณ์ประชาธิปไตยนั้น หากจะเปรียบเทียบระหว่างระบบการเมืองแบบประชาธิปไตยกับระบบการเมืองแบบอิสลามมาจากรากเหง้าในอภิปรัชญาที่ต่างกัน กล่าวคือ ฝ่ายหนึ่งตั้งอยู่บนวิถีโลก (secular) ดำเนินในวัตถุเหตุผลนิยม แต่อีกฝ่ายหนึ่งยึดมั่นอยู่กับ “เตาฮีด” อันเป็นวิถีแห่งสัจจะและความเป็นจริงเกี่ยวกับโลกจักรวาลและกาลเวลา รวมถึงประวัติศาสตร์และชะตากรรมของมนุษย์ แน่นอนว่าระบอบที่ตั้งอยู่บน “เตาฮีด” จึงต้องตอบสนองต่อผลประโยชน์เฉพาะหน้า และกระทั่งจิตวิญญาณของมวลมนุษยชาติทั้งหลายจากความหมายดังกล่าวข้างต้นนี้ทำให้ค้นพบว่า สิ่งที่เป็นจุดอ่อนของอุดมการณ์ประชาธิปไตยนั้นคือ อำนาจอธิปไตย เหตุที่ตอบเช่นนี้เพราะ ระบอบประชาธิปไตยให้อำนาจอธิปไตยซึ่งเป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองไว้ที่ประชาชน ซึ่งอำนาจอธิปไตย หมายถึง อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ เป็นอำนาจที่จะบังคับให้ประชาชนภายในรัฐปฏิบัติ หรืองดเว้นปฏิบัติ และยังใช้ในการอ้างสิทธิเพื่อป้องกันไม่ให้กลุ่มอำนาจอื่นเข้ามามีอำนาจเหนือพื้นที่ทีรัฐนั้นอ้างอำนาจอธิปไตยอยู่ (ณัชชาภัทร อุ่นตรงจิตร, 2548:40)ซึ่งเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับหลักการเชื่อมั่นของศาสนาอิสลาม เพราะอิสลามถือว่า สากลจักรวาลทั้งมวลรวมทั้งดวงดาวบนท้องฟ้า สิ่งถูกสร้างทั้งที่มีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิตต่างถูกสร้างขึ้นมาโดยอัลลอฮฺทั้งสิ้น (สุกรี หลังปูเต๊ะ, 2547/2548:1)
หลักฐานที่บ่งบอกถึงความเป็นเจ้าของทุกสิ่งทุกอย่างมีมากมาย เช่น อัลลอฮฺทรงตรัสในซูเราะฮฺอัลอะรอฟ : 54 ความว่า“แท้จริงพระเจ้าของพวกเจ้านั่นคือ อัลลอฮฺ ผู้ทรงสร้างบรรดาชั้นฟ้า และแผ่นดินภายในหกวัน แล้วทรงสถิตอยู่บนบันลังก์ พระองค์ทรงให้กลางคืนครอบคลุมกลางวันในสภาพที่กลางคืนไล่ตามกลางวันโดยเร็ว และทรงสร้างดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ และบรรดาดวงดาวขึ้น โดยถูกกำหนดให้ทำหน้าที่บริการตามบัญชาของพระองค์ พึงรู้เถิดว่า การสร้างและกิจการทั้งทั้งหลายนั้นเป็นสิทธิของพระองค์เท่านั้น มหาบริสุทธิ์อัลลอฮฺนั้นเป็นพระเจ้าแห่งสากลโลก”
ซูเราะฮฺอัรเราะมาน : 1-4 ความว่า“ผู้ทรงกรุณาปราณี พระองค์ทรงสอนอัลกุรอาน พระองค์ทรงสร้างมนุษย์ พระองค์ทรงสอนเขาให้เปร่งเสียงพูด ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์โคจรตามวิถีแน่นอน และผักหญ้าและต้นไม้”
ซูเราะอัลฟุรกอน : 2 ความว่า“สำหรับพระองค์เป็นผู้ครอบครองบรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดิน และพระองค์จะไม่ตั้งผู้ใดเป็นพระบุตร และสำหรับพระองค์นั้นไม่มีหุ้นส่วนร่วมกับพระองค์ในการครองอำนาจ และพระองค์ให้บังเกิดทุกสิ่ง แล้วทรงกำหนดมันให้เป็นไปตามกฎสภาวะ”
อัลลอฮฺเป็นผู้สร้าง และประทานริซกีแก่มัคลูก ( สิ่งถูกสร้าง) ของพระองค์ทั้งมวล ดังพระองค์ตรัสไว้ในซูเราะฮฺอัซซาริยาต: 58 ความว่า“แท้จริงอัลลอฮฺคือผู้ประทานปัจจัยยังชีพอันมากมาย ผู้ทรงพลัง ผู้ทรงมั่นคง”
อัลลอฮฺ คือ ผู้ทรงรอบรู้ในกิจการงานที่พระองค์ทรงสร้างมาจึงได้กำหนดกรอบและหนทางดำเนินชีวิตไว้แก่มนุษย์ในเชิงนโยบาย และพระองค์ก็ได้กำหนดไว้เป็นวาญิบ ( สิ่งจำเป็น)เพื่อให้มนุษย์ได้ดำเนินชีวิตไปในแนวทางที่พระองค์ได้กำหนดไว้ การให้เอกภาพต่ออัลลอฮฺเป็นหลักการหนึ่งในแนวคิดการเมืองการปกครองในอิสลาม หมายถึง มุสลิมต้องเชื่อว่าอัลลอฮฺเพียงองค์เดียวที่มีสิทธิในการวางกฎระเบียบต่างๆให้มนุษย์ปฏิบัติตาม ไม่มีผู้ใดมีอภิสิทธิ์ในการตัดสินร่วมกับพระองค์ เป็นแนวคิดที่ปฏิเสธการเคารพบูชามนุษย์ด้วยกัน เพราะไม่มีสิ่งใดที่สมควรแก่เคารพบูชานอกจากอัลลอฮฺเท่านั้น ( มัสลัน มาหะมะ,2551:103) ปรัชญาด้านการเมืองของอัล-กุรอานขึ้นอยู่กับแนวคิดพื้นฐานของจักรวาล ความคิดด้านการเมืองมีจุดสำคัญ 4 ประการ คือ 1. พระเจ้าคือผู้สร้างจักรวาลทั้งหมดรวมทั้งมนุษย์และสิ่งต่างๆ ที่เขาใช้และควบคุมไว้ในกิจการงานของเขา 2. พระเจาคือผู้ปกครองแต่พระองค์เดียว และเป็นผู้ปกครองสิ่งถูกสร้างของพระองค์ 3.อำนาจอธิปไตยในจักรวาลนี้มิได้มีอยู่ในผู้ใดนอกจากพระเจ้า และไม่มีผู้ใดมีสิทธิ์ใดๆ ที่จะปันอำนาจอธิปไตยกับพระองค์ และ 4. คุณลักษณะและพลังอำนาจแห่งอำนาจอธิปไตยทั้งหมดเป็นสิทธิพิเศษของพระองค์ อำนาจของพระองค์เป็นอำนาจสูงสุด ซึ่งอำนาจและคุณลักษณะของอำนาจอธิปไตยนี้มีอยู่ในพระเจ้าแต่พระองค์เดียว ( อิมรอน มะลูลีม และคณะ, 2550:217)
อำนาจอธิปไตยหรืออำนาจสูงสุดเป็นเอกสิทธิของอัลลอฮฺ ซึ่งเป็นหนึ่งในคุณลักษณะการเป็นพระเจ้าในลักษณะของฮุลูฮียะฮฺ ที่แสดงถึงการครอบครองสิทธิที่สมบูรณ์ และไม่มีสิ่งใดที่มีศักยภาพพอที่จ้างการครอบครองสิทธิดังกล่าว และคำกล่าวที่ว่า “ไม่มีสิ่งที่ถูกกราบไหว้ใดนอกจากอัลลอฮฺ” เป็นการตอกย้ำว่า อำนาจอธิปไตยนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺแต่เพียงผู้เดียว (สุกรี หลังปูเต๊ะ, 2547/2548:5) ฉะนั้น การบริหารการปกครองในอิสลามคือ การยอมรับอัลลอฮฺในฐานะผู้มีอำนาจสูงสุด ผู้ทรงกำสิทธิและเอกสิทธิอันสมบูรณ์ของอำนาจนี้ และเป็นสิ่งจำเป็น แก่มุสลิมทุกคนที่จะต้องยอมรับและมีความมั่นใจในหลักการนี้โดยดุษฎี และผู้ใดปฏิเสธหลักการนี้ถือว่า เป็นผู้ปฏิเสธ
การให้อำนาจอธิปไตยเป็นอำนาจสูงสุดอยู่ที่ประชาชน ตามคำปราศรัยของอับราฮัม ลินคอล์น ที่ว่า จากประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน จึงกลายเป็นจุดอ่อนที่ไม่สามารถวิเคราะห์สังคมอิสลามได้อย่างถูกต้อง ขัดต่อหลักการของศาสนาอิสลาม เพราะอิสลามให้อำนาจอธิปไตยเป็นกรรมสิทธิของอัลลอฮฺแต่เพียงผู้เดียว
อิสลามมิได้ต่อต้านระบบประชาธิปไตยแต่สิ่งที่มุสลิมต้องการคือสังคมที่เป็น อิสระที่ดำเนินชีวิตภายใต้กรอบกฎระเบียบและข้อบัญญัติทางชะรีอะฮฺที่มีความ สอดคล้องกับค่านิยมของประชาธิปไตยในเรื่อง ความมีอิสรภาพ สิทธิมนุษยชน ความยุติธรรม ความก้าวหน้า และความเจริญรุ่งเรือง
3.การจัดระเบียบโลกใหม่ โดยใช้กระบวนการโลกาภิวัตน์จนทำให้กระแสโลกาภิวัตน์ได้พัฒนาเข้าใกล้กับการเป็นอุดมการณ์ทางการเมืองร่วมสมัย จงอธิบายถึงกระบวนการ บทบาท และรายละเอียดต่าง ๆ ของกระแสโลกาภิวัตน์ที่ใช้กันอยู่ในโลกปัจจุบัน
โลกปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงไปสู่การเป็นคลื่นลูกที่สาม แต่คลื่นลูกเดิมๆก็ยังพบได้ในภูมิภาคต่างๆทั่วโลก ซ้อนทับกันไป ซึ่งคลื่นแต่ละลูกมีลักษณะดังนี้ (โกวิท วงศ์สุรวัฒน์, มปป: 156-157)
คลื่นลูกที่ 1 ก่อตัวขึ้นประมาณ 8000 ก่อนคริสตกาล เมื่อมีการปฏิรูประบบเกษตรกรรมจากการเร่รอน เก็บของป่า ล่าสัตว์ มาเป็นรูปแบบการำรงชีวิตและการเพาะปลูกอยู่กับที่ เลี้ยงสัตว์ มีที่ดินเป็นปัจจัยสำคัญ กลายเป็นอารยธรรมทางเกษตรกรรม มีชนชั้นเจ้านาย กษัตริย์ ผู้ใต้ปกครอง เมื่อเกิดความขัดแย้งจะใช้กำลังเข้าประจันหน้ากัน อาวุธที่ดีที่สุดคือ ธนู หอก ดาบ เป็นต้น คลื่นลูกที่ 2 ก่อตัวขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1650-1750 ในอังกฤษ เมื่อมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมในปี ค.ศ. 1760 โดยมีการประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำมาใช้ในการผลิต ทำให้เกิดเมืองขนาดใหญ่ ระบบการผลิตมวลรวมขนาดใหญ่ สังคมเกษตรกรรมเริ่มหดตัวลง ปัจจัยด้านเงินทุน เครื่องจักร และแรงงานมีความสำคัญ เกิดอุดมการณ์เสรีนิยม และคอมมิวนิสต์ ความขัดแย้งในยุคนี้จะมีความซับซ้อนขึ้น คือ มีแนวคิดการรบเพื่อชาติ อาวุธที่ใช้มีประสิทธิภาพสูง เช่น ปืนกล เครื่องบินรบ ระเบิดนิวเคลียร์ เป็นต้น คลื่นลูกที่ 3 เกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1955 ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีขนาดเล็ก และมีประสิทธิภาพในการทำงานสูง ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเข้ามามีบทบาทในสังคมแทบทุกด้าน มีการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้โลกกลายเป็นโลกไร้พรมแดน การคมนาคมก็มีการสร้างเครื่องบินไอพ่นที่สามารถทำให้การเดินทางได้รวดเร็วขึ้น เกิดระบบสังคมที่มีการเลียนแบบทางวัฒนธรรม เกิดการแข่งขันระดับโลก ปัจจัยด้านนามธรรม เช่น ข่าวสาร ความรู้ วัฒนธรรม มีความสำคัญยิ่งขึ้น ความขัดแย้งระหว่างประเทศมีความซับซ้อนขึ้น เพราะการคมนาคมสามารถทำได้สะดวกรวดเร็ว มีอาวุธเคมีชีวภาพ ดาวเทียม กองทัพมีประสิทธิภาพสูงขึ้น สงครามจะแฝงตัวอยู่ในรูปของการแข่งขันทางเศรษฐกิจ โลกาภิวัตน์ (Globalization) คือ ผลจากการพัฒนาการติดต่อสื่อสาร การคมนาคมขนส่ง และเทคโนโลยีสารสนเทศ อันแสดงให้เห็นถึงการเจริญเติบโตของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี และวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงระหว่างปัจเจกบุคคล ชุมชน หน่วยธุรกิจ และรัฐบาล ทั่วทั้งโลก ผลกระทบของโลกาภิวัตน์ เป็นที่ยอมรับกันว่าโลกาภิวัตน์เป็นสิ่งที่ดี เพราะทำให้เศรษฐกิจโดยรวมของโลก ขยายตัวเร็วขึ้น และประชาชนส่วนใหญ่มีความเป็นอยู่ดีขึ้น โลกาภิวัตน์เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ รัฐบาลของทุกประเทศ จึงจำเป็นต้องใช้ ความรอบคอบมากขึ้นในการเลือกนำส่วนดีของโลกภิวัตน์มาใช้ โดยเฉพาะประเทศด้อยพัฒนา ซึ่งมีคนยากจนจำนวนมากอยู่แล้ว และความผิดพลาดจะสร้างความเดือดร้อนแสนสาหัสให้พวกเขายิ่งขึ้น จนนำไปสู่ความแตกแยกรุนแรงในสังคม โลกาภิวัตน์มีผลกระทบต่อโลกในหลายด้าน ดังนี้
1) การเมือง การเมืองโลกาภิวัตน์ หมายถึง การสร้างสรรค์รัฐบาลโลกที่จะทำหน้าที่กำกับดูแลความสัมพันธ์ระหว่างชาติ และให้หลักประกันสิทธิที่เกิดจากสังคมและเศรษฐกิจของโลกาภิวัตน์ ในทางการเมือง สหรัฐฯ ได้รับประโยชน์จากการครองอำนาจในโลกในหมู่ชาติมหาอำนาจ ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและความมั่งคั่งของประเทศ ด้วยอิทธิพลของโลกาภิวัตน์
2) การเงิน การปรากฏขึ้นของตลาดการเงินทั่วโลกและการเข้าถึงเงินลงทุนจากแหล่งภายนอกที่ง่ายและสะดวกขึ้นของบริษัทต่างๆ ประเทศและรัฐต่ำกว่าประเทศที่ประสงค์ของกู้ยืม
3) เศรษฐกิจ การยอมรับตลาดร่วมของโลกบนพื้นฐานแห่งเสรีภาพในการแลกเปลี่ยนสินค้าและทุน
4) อุตสาหกรรม การปรากฏของตลาดการผลิตที่เกิดขึ้นทั่วโลก และช่องทางเข้าถึงผลิตภัณฑ์ต่างประเทศที่กว้างขึ้นสำหรับผู้บริโภคและบริษัท
5) การข้อมูลข่าวสาร มีการเพิ่มการไหลบ่าของข้อมูลข่าวสารระหว่างพื้นหรือภูมิภาคที่อยู่ห่างไกลกันมาก
6) นิเวศวิทยา การปรากฏขึ้นของความท้าทายในปัญหาสภาวะแวดล้อมในระดับโลกที่ไม่สามารถแก้ปัญหาได้โดยปราศจากความร่วมระดับนานาชาติ เช่นปัญหา “การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ” มลภาวะทางน้ำและอากาศที่ครอบคลุมหลายเขตประเทศ การทำประมงเกินขีดความสามารถในการรองรับ การกระจายของพันธุ์พืชและสัตว์ที่ไม่พึงประสงค์ การสร้างโรงงานเป็นจำนวนมากในประเทศกำลังพัฒนาที่ก่อมลภาวะได้อย่างเสรี
7) วัฒนธรรม การเจริญเติบโตของการติดต่อสัมพันธ์ข้ามวัฒนธรรม เกิดมีประเภทใหม่ๆ ในด้านความสำนึกและเอกลักษณ์ เช่น โลกาภิวัตน์นิยม ซึ่งครอบคลุมการแพร่กระจายทางวัฒนธรรมและการได้บริโภคผลิตภัณฑ์และความคิดจากต่างประเทศ การรับเทคโนโลยีใหม่มาใช้และการเข้าร่วมใน “วัฒนธรรมโลก”
8) สังคม ความสำเร็จในการบอกรับข่าวสารโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายสำหรับประชาชนของทุกชาติในโลก
9) การขนส่ง การลดจำนวนลงไปเรื่อยๆ ของรถยุโรปในถนนของยุโรป และการสิ้นปัญหาเรื่องระยะทางที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีต่างๆ มาช่วยลดเวลาการเดินทาง แม่แบบ: Clarifyme
10) ด้านเทคนิค/ กฎหมาย เช่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของระบบการติดต่อสื่อสารระดับโลก และการเพิ่มการเคลื่อนไหลของข้อมูลข่าวสารข้ามพรมแดนที่ใช้เทคโนโลยี เช่น อินเทอร์เน็ต ดาวเทียมสื่อสาร เคเบิลใยแก้วใต้น้ำ และโทรศัพท์มือถือ การเพิ่มจำนวนของมาตรฐานที่นำออกใช้ทั่วโลก เช่น กฎหมายลิขสิทธิ์ การจดทะเบียนลิขสิทธิ์ และการตกลงทางการค้าโลก และการผลักดันโดยผู้สนับสนุนให้มีศาลอาญานานาชาติ
11) การตระหนักด้านเพศ โลกาภิวัตน์มีความหมายในปฏิสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมระหว่างประเทศต่างๆ หลายประเทศ โลกาภิวัตน์อาจส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านความเสมอภาคทางเพศ นำไปสู่ความไม่เสมอภาคของสตรีเพศ ที่เป็นอยู่ในหลายประเทศทั่วโลก
12) การแลกเปลี่ยนที่มากขึ้นของวัฒนธรรมสากล การขยายตัวของ “อเนกวัฒนธรรมนิยม” และการเข้าถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่ง่ายขึ้นสำหรับปัจเจกบุคคล เช่นการส่งออกภาพยนตร์ของฮอลลีวูดและบอลลีวูด หรืออุตสาหกรรมภาพยนตร์ของอินเดีย ซึ่งการนำเข้าวัฒนธรรมอาจทำให้เกิดการกลืนทางวัฒนธรรมท้องถิ่นได้ง่าย มีผลให้ความหลากหลายทางวัฒนธรรมมีน้อยลง จากการผสมผสานระหว่างกันเกิดเป็นวัฒนธรรมพันธุ์ทาง หรืออาจถูกกลืนโดยการค่อยๆ รับวัฒนธรรมใหม่มาใช้โดยสิ้นเชิง ได้แก่ การรับวัฒนธรรมตะวันตก การรับวัฒนธรรมจีน
โลกาภิวัตน์เป็นเสมือนเป็นดาบสองคม การเข้ามามีอิทธิพลของกระแสโลกาภิวัตน์มีทั้งผู้ที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย ซึ่งผู้ที่เห็นด้วยจะกล่าวว่า โลกาภิวัตน์ช่วยลดอัตราความยากจนของประชาชนในหลายประเทศ เพิ่มความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจรวมทั้งโอกาส โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา ได้ช่วยส่งเสริมให้เสรีภาพของพลเมืองดีขึ้นและนำไปสู่การกระจายทรัพยากรที่ดีขึ้น ทุกประเทศได้รับประโยชน์จากการค้า ทำให้ราคาสินค้าลดลง มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ผลผลิตสูงขึ้นและมาตรฐานการดำรงชีวิตในประเทศกำลังพัฒนาดีขึ้น ส่วนผู้ที่คัดค้านมองว่า เป็นการทำความเสียหายแก่มนุษย์ เช่นการเพิ่มความยากจน สร้างความไม่เท่าเทียม เพิ่มการสมรสกับคนต่างผิว ความ อยุติธรรมและการผุกร่อนของวัฒนธรรม ดังจะเห็นได้จากประเทศไทยเองที่รับเอาวัฒนธรรมของโลกกาภิวัตน์เข้ามา ทำให้เกิดแนวคิดท้องถิ่นนิยม เกิดการต่อตานวัฒนธรรมตะวันตกจากคนในท้องถิ่น มีการพลิกฟื้นภูมิปัญญาท้องถิ่นมากขึ้น
4.อุดมการณ์ทางการเมือง (Political Ideology) ถูกนำมาใช้ในการสร้างความชอบธรรมของระบบการเมืองหนึ่งและก็ถูกนำไปใช้ในการทำลายความชอบธรรมของระบบการเมืองอื่นเช่นเดียวกัน จากข้อมูลดังกล่าวนี้ให้นักศึกษาเปรียบเทียบกับกรณีความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศระหว่างกลุ่มการเมืองที่ใช้สีเสื้อเป็นสัญลักษณ์บ่งบอกถึงความแตกต่างทางอุดมการณ์การเมืองแล้วจงอธิบายรายละเอียดของกระบวนการสร้างความชอบธรรมและกระบวนการการทำลายความชอบธรรมของแต่ละฝ่าย
กรณีความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศไทยระหว่างกลุ่มการเมืองที่ใช้สีเสื้อเป็นสัญลักษณ์บ่งบอกถึงความแตกต่างทางอุดมการณ์การเมืองขอยกประเด็นบางส่วนอุดมการณ์ทางการเมือง เป็นความคิดเริ่มต้นมาจากมนุษย์มีความเชื่อว่าสิ่งต่างๆ จะดีกว่าที่เป็นอยู่ อุดมการณ์เป็นพื้นฐานของการปรับปรุงสังคม การพูดถึงภาพของสังคมที่ดี และวิธีการหลักๆ ในการสร้างสังคมดังกล่าว คือ อุดมการณ์ ซึ่งผู้ที่ยึดมั่นอุดมการณ์จะเชื่อว่า หากทำตามนั้นแล้ว สิ่งต่างๆจะดีกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน หรือเป็นการสร้างจินตนภาพของโลกอันสมบูรณ์ อุดมการณ์ทางการเมืองไม่สามารถทำความเข้าใจระบบการเมืองได้อย่างมีเหตุผล แต่เป็นความผูกพันต่อการเปลี่ยนแปลงการเมือง ซึ่งมาร์กซ์มองว่า อุดมการณ์เป็นทั้งวิธีการหาเหตุผล การหลอกลวงผู้อื่นและหลอกลวงตนเอง เพื่อไม่ให้เข้าใจสังคมและเศรษฐกิจที่เป็นอยู่จริง (เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ, 2549: 109)
สถานการณ์ด้านการเมืองของประเทศไทยในปัจจุบัน เป็นอีกเหตุการณ์หนึ่งที่ได้มีการนำอุดมการณ์ทางการเมืองมาเป็นเครื่องมือในการสร้างความชอบธรรม และการทำลายความชอบธรรมของแต่ละฝ่าย โดยนำสีเสื้อมาเป็นสัญลักษณ์ในการต่อสู้ คือกลุ่มเสื้อเหลือง อันหมายถึง กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และกลุ่มเสื้อแดง หมายถึง กลุ่มแนวร่วมประชาชนต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ซึ่งแต่ละฝ่ายต่างมีอุดมการณ์ คือ
1. กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (People's Alliance for Democracy: PAD) เป็นกลุ่มการเคลื่อนไหวทางการเมืองในประเทศไทยช่วง พ.ศ. 2548 - 2551 โดยเป็นการรวมตัวจากหลายองค์กร จากสื่อมวลชน นักวิชาการ ศิลปิน รวมถึงองค์กรอิสระจากภูมิภาคทั่วประเทศ โดยมีจุดประสงค์ในการขับไล่นายกรัฐมนตรีประเทศไทยสามคนออกจากตำแหน่ง ได้แก่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร, นายสมัคร สุนทรเวช และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เริ่มต้นจากเหตุการณ์ขับไล่ นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรจากคำอ้างที่ว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนกับธุรกิจส่วนตัว รวมไปถึงทฤษฎีสมคบคิดเรื่องแผนฟินแลนด์ [สารานุกรมเสรี.n.d.http://www.th.Wikipedia. org/wiki/พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย - 395k – (10/3/2552)]
สาเหตุที่นำมาสู่การชุมนุม
1.1 ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน ที่รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เคยทำเอาไว้ เช่น การใช้ความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ประชาชนในพื้นที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม นำไปสู่ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย นโยบายการปราบปรามยาเสพติดแบบฆ่าตัดตอน เป็นต้น
1.2 เมื่อพรรคพลังประชาชนได้รับเลือกตั้งเข้ามาเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาอย่างชัดเจนว่า จะต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 237 และ มาตรา 309 ทำให้ทางกลุ่มพันธมิตรฯ เกิดความเคลือบแคลงสงสัยว่าจะเป็นการช่วยให้ ทักษิณ ชินวัตร พ้นผิดจากคดีทุจริตต่างๆ จึงแสดงท่าทีคัดค้านอย่างชัดเจน
1.3 ปัญหาการทุจริตต่างๆ เช่น สนามบินสุวรรณภูมิ บ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน เมกะโปรเจ็กต์ กล้ายาง ลำไย เป็นต้น
1.4 คณะกรรมการการเลือกตั้ง มีมติตัดสินให้ นายยงยุทธ ติยะไพรัช ได้ใบแดงเนื่องมาจากการซื้อเสียง มีโทษสูงสุดคือยุบพรรคและตัดสิทธิ์ทางการเมืองของกรรมการบริหารพรรค 5 ปี
1.5 ภายหลังจากที่พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร เดินทางกลับมายังประเทศไทยในปีดังกล่าว ซึ่งพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้นัดชุมนุมกันอีกครั้ง ให้เหตุผลว่าคำสั่งโยกย้ายอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา อาจเป็นการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมของฝ่ายบริหาร เพื่อเอามาช่วยให้พรรคพวกของตนทำอะไรก็ได้ตามใจชอบ เพื่อผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง เพื่อเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องดำเนินคดีกับพันตำรวจโททักษิณในฐานะผู้ต้องหาตามหมายจับโดยยึดหลักปฏิบัติเดียวกันกับคุณหญิงพจมาน ชินวัตรที่กลับมายังประเทศไทยก่อนหน้านี้ ทั้งนี้ ยืนยันว่าจะไม่มีการใช้ความรุนแรงในระหว่างการชุมนุมครั้งนี้และ
1.6 เรียกร้องให้รัฐบาลปราบปรามขบวนการล้มล้างทั้งสถาบันพระมหากษัตริย์
อุดมการณ์กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
จากการศึกษาอุดมการณ์ทางการเมืองของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พบว่า กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยมีอุดมการณ์ที่เน้นไปทางอนุรักษ์นิยม คือ การรักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสน์ กษัตริย์ โดยต้องหวงแหนไว้มากกว่าสิ่งใดทั้งหมด เพราะพวกอนุรักษ์นิยมจะเชื่อในหลักกฎหมายและสถาบันซึ่งมีรากฐานมายาวนานและมั่นคง โดยอุดมการณ์ของกลุ่มพันธมิตรที่เห็นได้ชัดเจน ดังนี้
1.2.1 เชิดชูสถาบัน มีเป้าหมายคือ ปกป้องเทิดทูนราชวงศ์จักรีให้เข้มแข็งและปลอดภัย เนื่องจากพระมหากษัตริย์ทรงทศพิศราชธรรม
1.2.2 ล้มระบอบทุนนิยมสามานย์ เช่น ระบอบทักษิณ และสนับสนุนให้คนดีมาปกครองบ้านเมือง ป้องกันไม่ให้คนไม่ดีมีอำนาจ เพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคมทุกภาคส่วน ทั้งในด้าน เศรษฐกิจ การเมือง และสังคม พร้อมสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงอำนาจทางการเมืองในปัจจุบัน บนเงื่อนไขที่จะต้องปฏิรูปการเมืองโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง
1.2.3 ต้องการการเมืองใหม่ที่ประชาชนมีส่วนร่วม หมายถึงการเมืองที่เอาประชาชนเป็นศูนย์กลาง ลดอำนาจหน้าที่ของตัวแทนหรือผู้แทนลง เพิ่มบทบาทและอำนาจให้กับประชาชนมากขึ้น โดยให้หลักประกันว่าประชาชนทุกสาขาอาชีพ ทุกชนชั้นจะเข้าถึงอำนาจในการตัดสินใจ หรือกำหนดทิศทางในการพัฒนาประเทศอย่างเป็นรูปธรรม ไม่ว่าจะเป็นชาวไร่ ชาวนา กรรมกรผู้ใช้แรงงาน คนจนในเมือง คนจนในชนบท ชนเผ่าชายขอบ พ่อค้าวาณิชย์ นักธุรกิจชนชั้นกลาง ผู้หญิง คนพิการ คนด้อยโอกาสทางสังคม เป็นต้น [สุริยะใส กตะศิลา.2551. “การเมืองใหม่” ภายใต้การต่อสู้ของพันธมิตรฯ
สุริยะใส กตะศิลา http://www.oknation.net/blog/print.php?id=277372 (13/3/2552)]
2. แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ
แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (ชื่อย่อ: นปช.) หรือเดิม แนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ(ชื่อย่อ: นปก.) เป็นการรวมตัวของกลุ่มผู้ต่อต้านการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 และกลุ่มผู้สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย สมาชิกบางส่วนประกอบด้วย กลุ่มพีทีวี แนวร่วมประชาชนต้านรัฐประหาร (นปตร.) นางประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ อดีต ส.ว. กรุงเทพฯ นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ผู้ประสานงานพันธมิตรสหภาพแรงงานประชาธิปไตย [สารานุกรมเสรี.n.d แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ,http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%8A (10/3/2552)]
เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้อง
2.1 เหตุการณ์รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549
2.2 เหตุการณ์ตำรวจปราบจลาจล สลายม็อบ นปก. หน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
2.3 ครอบครัวความจริงวันนี้สัญจร ครั้งที่ 1 จัดขึ้นที่อาคารธันเดอร์โดม ภายในเมืองทองธานี 11 ตุลาคม พ.ศ. 2551
2.4 ครอบครัวความจริงวันนี้สัญจร ครั้งที่ 2 จัดขึ้นที่ราชมังคลากีฬาสถาน ภายในสนามกีฬาหัวหมาก 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 เวลา 17.00-23.00 น.
2.5 ครอบครัวความจริงวันนี้สัญจรพิเศษ จัดขึ้นที่วัดสวนแก้ว จังหวัดนนทบุรี 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 เวลา 13.00-17.00 น.
2.6 ครอบครัวความจริงวันนี้สัญจร ครั้งที่ 3 จัดขึ้นที่สนามศุภชลาศัย 1 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เวลา 15.00-22.00 น.
2.7 ครอบครัวความจริงวันนี้สัญจร ครั้งที่ 4 จัดขึ้นที่ท้องสนามหลวง 28-30 ธันวาคม พ.ศ. 2551
อุดมการณ์ทางการเมืองของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ
กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการเชื่อว่า สีแดง เป็นขบวนการต่อสู้ใหม่ ตามทฤษฎีวิทยาศาสตร์สังคม มีอุดการณ์เพื่อสนับสนุนทักษิณ ซึ่งเป็นเรื่องของบุคคล เอกชน นายทุนผูกขาดผู้หนึ่ง ซึ่งเป็นเพียงอุดมการณ์ทุนนิยมเท่านั้น [เมธา มาสขาว.n.d.อุดมการณ์ทางการเมืองของคนเสื้อแดงคืออะไร,http://www.oknation.net/blog/print.php?id=392259 (10/3/2552)] การแสดง ออกทางการเมืองของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการมีเป้าหมายที่สำคัญ ดังนี้
2.2.1 รักสถาบัน
2.2.2 ต้องการทักษิณ คือ ไม่ยอมรับการทำงานของรัฐบาลที่มีพรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำ เนื่องจากการได้มาซึ่งอำนาจของพรรคประชาธิปัตย์ไม่เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทัพและข้าราชการประจำ ซึ่งถือเป็นการละเมิดอำนาจการตัดสินใจของประชาชน
2.2.3 ต้องการประชาธิปไตยแบบทุนนิยมทักษิณ คือ ต้องต่อยอดนโยบายจากไทยรักไทย ก้าวไปสู่การสร้างรัฐสวัสดิการที่ถ้วนหน้าและครบวงจร มีการเก็บภาษีก้าวหน้าจากคนรวย เพื่อให้คนไทยมีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน
3.กระบวนการสร้างความชอบธรรมและทำลายความชอบทำของทั้งสองฝ่าย
3.1 พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้นำอุดมการณ์อนุรักษ์นิยมมาเป็นธงนำในการสร้างความชอบธรรมให้กับกลุ่มตน ซึ่งเชื่อว่าในสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันของการเมืองไทย การแก้ปัญหาที่ยั่งยืนนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมี การเมืองใหม่ ในราชอาณาจักรไทย ซึ่งเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขอย่างแท้จริง โดยมีเป้าหมาย เพื่อปกป้องเทิดทูนราชวงศ์จักรีให้เข้มแข็งและปลอดภัย เนื่องจากพระมหากษัตริย์ทรงทศพิศราชธรรม ทำให้ได้รับความสนใจจากประชาชน และกลุ่มองค์กรต่างๆมากมาย เนื่องจากคนไทยส่วนใหญ่ จะให้ความสำคัญต่อสถาบันเป็นอย่างมาก เพราะเป็นเสมือนร่มโพธิ์ร่มไทร เป็นที่ยึดเหนี่ยวและเป็นที่พึ่งทางจิตใจของคนไทยทุกคน
ในด้านการทำลายความชอบธรรมนั้น ดังที่กล่าวมาแล้วว่า กลุ่มพันธมิตรฯ ได้นำสถาบันมาเกี่ยวข้อง เป็นธงนำ ฉะนั้นกลุ่มองค์กร หรือพรรคการเมืองใดที่ไม่แสดงออกถึงการให้ความเคารพต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ถือว่า เป็นแกะดำของสังคม จะต้องได้รับการประณามจากสังคม
3.2 แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ได้นำอุดมการณ์ทุนนิยมมาเป็นธงนำ โดยจะใช้นโยบายประชานิยม หรือการให้ความสำคัญกับรากหญ้า สนับสนุนนักธุรกิจในการลงทุน และกล่าวหากระบวนยุติธรรม และชนชั้นสูงว่ากลั่นแกล้งตนเองและครอบครัว รวมทั้งยังกล่าวหา ว่ากระบวนการยุติธรรมของไทยเป็นกระบวนการยุติธรรมที่ไม่ยุติธรรม
ในด้านการทำลายความชอบธรรมนั้น แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ เห็นว่า การบริหาร การปกครองบ้านเมืองของรัฐบาลปัจจุบันเป็นการบริหารที่ผิดพลาด และยังอ้างว่าการได้มาของรัฐบาลนั้น ได้มาอย่างไม่ถูกต้องตามกระบวนการ การปกครองตามหลักการประชาธิปไตย จึงจำเป็นที่จะต้องให้มีการเลือกตั้งใหม่ เพื่อให้ได้มาซึ่งรัฐบาลที่ถูกต้องเข้ามาบริหารและปกครองประเทศ
อย่างไรก็ดี จากกระบวนการสร้างความชอบธรรมและกระบวนการทำลายความชอบธรรมของทั้งฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ ต่างมีรูปแบบและวิธีการในการถ่ายทอด หรือเผยแพร่อุดมการณ์ของตนไปยังประชาชนเพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ในลักษณะที่เหมือนกัน คือ การพยายามสร้างภาพ สร้างสถานการณ์ให้ปรากฏต่อสื่อสารมวลชน และพยายามงัดกลเม็ดออกมาเพื่อจูงใจให้ประชาชนเลือกข้างให้ชัดเจน เพื่อต่างฝ่ายต่างจะได้มีมวลชนที่เพิ่มมากขึ้น
กระบวนการสร้างความชอบธรรมและกระบวนการการทำลายความชอบธรรมของแต่ละฝ่ายการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อแดง หรือ นปช.นั้นไม่ต่างกับการเคลื่อนไหวของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย คือ มีการพยายามอธิบายว่า พันธมิตรฯ เคลื่อนไหวคัดค้านรัฐบาลพรรคพลัง(พรรคเพื่อไทย)ประชาชนจะอย่างไรก็ตามกลุ่มเสื้อแดงก็เคลื่อนไหวแบบนั้นกับพรรคประชาธิปัตย์ แน่นอนว่า การเคลื่อนไหวของพันธมิตรฯ ในอดีตและกลุ่มเสื้อแดงในปัจจุบัน ถ้าหากมองผิวเผินและอาจดูเหมือนจะคล้ายๆ กัน แต่ถ้าดูให้ลึกลงไปจะเห็นว่า มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงไม่ได้แตกต่างกันในแง่ที่ว่า ฝ่ายหนึ่งใส่เสื้อเหลือง ฝ่ายหนึ่งใส่เสื้อแดง ไม่ได้แตกต่างกันในแง่ปริมาณแต่แตกต่างกันในในทางคุณภาพและเหตุผลที่ทั้งสองฝ่ายแสดงออกมาเพื่องัดทีเด็ดและจุดเด่นเพื่อชับชนะ www.udon.com/board/index.php?topic=6392.msg114549
สำหรับการเคลื่อนไหวของกลุ่มเสื้อแดงสามารถทำได้ตามสิทธิเสรีภาพและกรอบของรัฐธรรมนูญอย่างที่พันธมิตรฯ นำมาอ้างในการชุมนุม แต่การแสดงออกในการชุมนุม และเหตุผลที่ใช้ชุมนุมจะตัดสินว่า การชุมนุมของฝ่ายเสื้อแดงนั้นมีความชอบธรรมหรือไม่ ถ้ารัฐบาลพรรคพลังประชาชนปัจจุบันคือพรรคเพื่อไทยที่มาจากการเลือกตั้งไม่ได้ใช้อำนาจในทางมิชอบ พันธมิตรฯ ก็คงจะไม่ประกาศฟื้นตัวกลับเข้ามาอีก และถึงประกาศฟื้นตัว ก็คงจะไม่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนจำนวนมากเช่นนี้ การเคลื่อนไหวของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจึงมีเหตุและผลในตัวของมันเอง แต่การเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อแดงต่อรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์นั้นเกิดขึ้นทันที ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ยังไม่ได้เริ่มทำงานหรือได้เริ่มงานเพียงไม่นาน การเคลื่อนไหวของกลุ่มเสื้อแดงจึงเป็นไปเพื่อช่วงชิงอำนาจรัฐให้กับพรรคเพื่อไทย และปกป้องพ.ต.ท.ทักษิณ เพียงคนเดียวพรรคประชาธิปัตย์ยังไม่ได้บริหารประเทศไปในแนวทางที่มิชอบและยังไม่กระทำผิด เพราะถ้าพรรคประชาธิปัตย์มีความประพฤติเช่นนั้นก็คงถูกพันธมิตรฯ ขับไล่เช่นเดียวกับพรรคพลังประชาชน (พรรคเพื่อไทย) นั่นแสดงให้เห็นว่า ความแตกต่างระหว่างแดงกับเหลืองทั้งหมดนี้ จึงสะท้อนและประจานความจอมปลอมในบ้านเมืองเราด้วย ซึ่งกระบวนการสร้างความชอบธรรมและกระบวนการการทำลายความชอบธรรมของแต่ละฝ่ายได้เป็นที่ประจักษ์แล้วว่าผู้ที่มีอำนาจเงินและพวกพ้องที่มากกว่าย่อมจะไม่ถูกทำลายทันทีทันใดและแต่ว่ามันถูกที่กาลเวลาและผู้ที่เป็นแรงผลักดันในการดำเนินการเพื่อพิทักษ์ประโยชน์ของชาติ(ต่างฝ่ายต่างเอาคำว่าชาติและประชาชนมาอ้าง)จะสยบปีกของความรุ่งโรจน์ที่ไร้จรรยาบรรณลงได้ตราบใดความยุติธรรมยังเป็นที่ต้องการของทุกคน
บรรณานุกรม
ภาษาไทย
โกวิท วงศ์สุรวัฒน์.มปป.หลักรัฐศาสตร์.ภาคีสมาชิกราชบัณฑิตยสถานสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
จรูญ สุภาพ.2538. ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจเปรียบเทียบ.พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ:ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.
ณัชชาภัทร อุ่นตรงจิต.2548. รัฐศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดำริห์ บูรณะนนท์.2548. ความรู้เบื้องต้นทางรัฐศาสตร์และกฎหมายมหาชน.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นิติธรรม.
ทินพันธุ์ นาคะตะ.2541.รัฐศาสตร์: ทฤษฎี แนวความคิด ปัญหาสำคัญและแนวทางศึกษาวิเคราะห์การเมือง.
พิมพ์ครั้งที่ 4.โครงการเอกสารและตำรา: สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์ นิด้า.
บรรพต วีระสัย. อุดมการณ์ทางการเมือง. ในเอกสารประกอบการสอนชุดวิชารัฐศาสตร์และการบริหารหน่วย
ที่ 1-3. มหาวิทยาลัยสโขทัยธรรมาธิราชม, กรุงเทพ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. สัมพันธ์พาณิชย์, 2525,
หน้า 301- 302
มัสลัน มาหะมะ.2551. อิสลามวิถีแห่งชีวิต. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์: สถาบันวิจัยระบบสุขภาพภาคใต้.
เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ.2549. หลักรัฐศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์ จำกัด.
วรทิพย์ มีมาก ชีวินทร์ ฉายาชวลิต.2547. หน้าที่พลเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น
ประมุข. กรุงเทพฯ:รำไทยเพรส จำกัด.
สุกรี หลังปูเต๊ะ. 2547/2548. เอกสารประกอบการสอนวิชา 201-201 หลักการบริหารและปกครองรัฐในอิสลาม.
คณะศิลปะศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา.
อานนท์ อาภาภิรม.2545. รัฐศาสตร์เบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ภาษาอังกฤษ
Friedrich C.J and Brzzinski Z K., Totalitarians Dictatorahip and Autocracy.2nd ed. New York : The
Macmilan Company, 1965.
Jean-Marie. Guehenno,La fin la democratic. Paris : Flammarian, 1993
Giovanni, Satori. Parties and Party System : A Framework for Analysis. Cambridge, U.K. : Cambridge
University Press, 1976.
Hamid Enayet. Modern Islamic Political Thought. Austin, TX : University of Texas Press, 1982.
Muhamad Asad. The Principles of State and Government in Islam. Gilbratar : Dar, n.d. Oran, R. Yong.
System of Political Science. Englewood Cliffs : Prentice Hall, 1968.
Ranny, Austin. Essay on the Behavioral study of Politics. Urbana : University of Illinois Press, 1972.
Taimiyah, ibn. al-Risalah al qubrusiyah. Beirut : Dar ibn Hazmi, 1990.
. เวบไซด์
ชำนาญ จันทร์เรือง .2548.ประชาธิปไตย ทุนนิยม และสังคมนิยม,http://www.nidambe11.net/ ekonomiz /2005q4/ article2005oct12p10.htm 1สืบค้นเมื่อ 0/3/2552
เมธา มาสขาว.n.d.สังคมนิยม-ประชาธิปไตยในประเทศไทย,http://www.midnightuniv.org/
midnight2544/0009999530.html สืบค้นเมื่อ 10/3/2552
ลิขิต ธีระเวคิน.2551. ลัทธิเสรีนิยมและประชาธิปไตย, http://www.siamrath.co.th/UIFont/Article detail.aspx?nid=896&acid=896 สืบค้นเมื่อ 10/3/2552
สารานุกรมเสรี.n.d แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ,http://th.wikipedia.org/
wiki/%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%8A สืบค้นเมื่อ 10/3/2552
สารานุกรมเสรี.n.d.http://www.th.Wikipedia. Org/wiki/พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย - 395k –สืบค้น
เมื่อ 10/3/2552
สุริยะใส กตะศิลา.2551. “การเมืองใหม่” ภายใต้การต่อสู้ของพันธมิตรฯ(สุริยะใส กตะศิลา), http: //
www.oknation.net/blog/print.php?id=277372 สืบค้นเมื่อ 13/3/2552
Anon, n.d.อุดมการณ์ของเสรีนิยม ทุนนิยม และคอมมิวนิสต์.http://guru.google.co.th/guru/
thread?tid=3e3c739a7c9bf0b7 สืบค้นเมื่อ 10/3/2552
www.udon.com/board/index.php?topic=6392.msg114549
ให้นักศึกษาอธิบายรายละเอียดของอุดมการณ์ทางการเมืองทั้งสองแนวนี้ เฉพาะในหัวข้อต่อไปนี้
-เสรีนิยม (Liberalism)
-อนุรักษ์นิยม (Conservatism)
-ทุนนิยม (Capitalism)
-สังคมนิยม (Socialism)
การจะศึกษาระบบการเมืองการปกครองหรือระบบอะไรก็แล้วแต่จำเป็นที่เราจะต้องวางตัวของงเราเป็นกลางเสมือนตัวของเรานั้นไม่ได้ไม่เสียกับสิ่งนั้น(ถึงแม้สิ่งนั้นเป็นตัวหลักที่ทำลายความเป็นตัวตนหรืออัตลักษณ์ของมนุษย์ก็ตาม)และเพื่อเป็นตัวหล่อหลอมอีกทั้งความต้องการอันสูงสุดของตัวเราและผู้ที่ต้องการความถูกต้องในการดำเนินชีวิตต่อไป ในที่นี้จะอธิบายความคิดหรือแนวความคิดที่เกี่ยวกับอุดมการณ์ต่างๆที่มีความสัมพันธ์กับมนุษย์ตั้งแต่อดีตจนกระทั่งปัจจุบัน
ความอุดมการณ์ทางการเมือง คือ แนวความคิด ความเชื่อที่เกี่ยวกับผู้ปกครอง การกำหนดผู้ที่จะทำหน้าที่ปกครอง เพื่อที่จะใช้ในการชักจูงความคิดเห็น หรือเพื่อที่จะต่อต้านหรือยับยั้งความคิดอื่น เพื่อการป้องกันสิ่งสำคัญที่พึงรักษาไว้ หรือการปฏิรูปหรือการจำกัดสถาบันสังคมที่สำคัญ ถือเป็นความเชื่อส่วนหนึ่งซึ่งเป็นส่วนย่อยของระบบความเชื่อที่ใหญ่กว่า อาจจะได้มาจากกลุ่มสังคมใดสังคมหนึ่ง อุดมการณ์ทางการเมืองจะสะท้อนให้เห็นถึงรูปแบบ วิธีการปกครอง หลักการปกครอง และการดำเนินชีวิตของบุคคล ถือเป็นสิ่งจำเป็นในการพัฒนาการทางการเมือง เพราะอุดมการณ์เป็นเสมือนจุดหมายปลายทาง เป็นรากฐานในการดำเนินการ และเป็นแรงดลใจให้เกิดการปฏิบัติ จากความหมายของลัทธิการเมือง และอุดมการณ์ทางการเมืองที่ยกมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าทั้งสองอย่างนี้มีความสัมพันธ์กันอยู่มาก ( จรูญ สุภาพ,2538:8) เช่นในลัทธิการเมืองเป็นเรื่องพื้นฐานสำคัญที่เกี่ยวของกับระบบการเมืองการปกครองอย่างใดอย่างหนึ่ง และอุดมการณ์ทางการเมืองเป็นเรื่องความเชื่อความเข้าใจ ดังนั้นหลักการที่ปรากฏอยู่ในลัทธิการเมือง อาจเป็นเหตุให้เกิดความเชื่ออันมีลักษณะเป็นอุดมการณ์ทางการเมืองได้ อุดมการณ์ทางการเมืองมีอิทธิพลต่อกระบวนการทางการเมือง ตลอดจนการใช้อำนาจรัฐและการให้ความชอบธรรมแก่บทบาทของรัฐบาล อีกทั้งยังสะท้อนถึงสภาพของสังคมและวัฒนธรรมทางการเมืองของแต่ละชุมชนด้วย (ณัชชาภัทร อุ่นตรงจิตร,2548:84)
ดังนั้น ลัทธิการเมือง จึงเกี่ยวกับแนวความคิดเกี่ยวกับระบบการเมืองการปกครอง โดยมุ่งอธิบายสาระสำคัญของระบบการเมือง ได้แก่ อำนาจทางการเมืองและอำนาจของรัฐ ขอบเขต ที่มา ที่ตั้งของอำนาจ และความเกี่ยวพันระหว่างองค์การหรือหน่วยงานที่ใช้อำนาจรัฐกับบุคคลซึ่งเป็นองค์ประกอบแห่งรัฐนั้น ตลอดจนผลประโยชน์และคุณค่าที่จะบังเกิดขึ้นแก่บุคคลที่รวมตัวกันเป็นสังคม ซึ่งลัทธิการเมืองเกิดจากแนวความคิด ปรัชญาการเมือง และทฤษฎีการเมือง ในที่นี้จะกล่าวถึงอุดมการณ์ทางการเมืองที่มีบทบาทที่สำคัญในปัจจุบัน คือ เสรีนิยม (Liberalism) อนุรักษ์นิยม (Conservatism) ทุนนิยม (Capitalism) และ สังคมนิยม ( Socialism) ดังรายละเอียดต่อไปนี้
-เสรีนิยม (Liberalism) มีจุดเริ่มต้นสำคัญในศตวรรษที่ 17 โดยจอห์น ล็อค (John Locke) นักปรัชญาชาวอังกฤษทั้งนี้สืบเนื่องมาจากทฤษฎีสัญญาประชาคมซึ่งแนวคิคของล็อคและนักทฤษฎีอื่น ๆ รวมกันเรียกว่า เสรีนิยมแบบต้นตำรับ หรือเสรีนิยมแบบคลาสสิคซึ่งยังคงเป็นที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันประกอบด้วยหลัก 8 ประการ ดังนี้คือ 1.เสรีภาพส่วนบุคคล 2.มนุษย์โดยธรรมชาติเป็นคนดี 3.การแก้ปัญหาโดยใช้หลักเหตุผล 4.การเปลี่ยนแปลงเป็นไปในทิศทางแห่งความก้าวหน้า 5.ความเสมอภาคแห่งโอกาส 6.มนุษย์เหมือนกันทุกอย่างโดยปริยายของตนเอง 7.การมีรัฐบาลเป็นสิ่งจำเป็นแม้จะไม่ใช่สิ่งที่น่าพิสมัย 8.เศรษฐกิจแบบเสรี
เสรีนิยมเป็นอุดมการณ์ที่เกิดขึ้นมาในศตวรรษที่ 17 ซึ่งในปัจจุบันสภาพสังคมและเศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงไปมากมาย พวกเสรีนิยมในปัจจุบันจึงรับเอาแนวความคิดของพวกอนุรักษ์นิยมมาปรับใช้โดยเฉพาะในเรื่องเศรษฐกิจ เช่น ยอมรับความจำเป็นที่จะต้องรัฐที่มีความเข้มแข็งเพื่อชี้นำธุรกิจและการสร้างรัฐสวัสดิการนอกจากนี้ยังสนับสนุนรัฐบาลช่วยกำจัดสิ่งปฏิกูลของระบบทุนนิยม เช่น ปัญหาสังคม การไร้ที่อยู่อาศัย และการว่างงาน เป็นต้น ลัทธิเสรีนิยมเป็นลัทธิที่มีความสำคัญในตะวันตกเป็นอย่างมาก และเป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมตะวันตก แต่ภายหลังสงครามโลกทั้งสองครั้งได้มีข้อสังเกตว่าเสรีนิยมเริ่มเสื่อมอิทธิพลลง เหตุผลก็อาจเป็นเพราะว่า ลัทธิเสรีนิยมนี้มีความหมายน้อยลงในบรรดาประเทศที่กำลังพัฒนาที่ยังมีปัญหาที่จะต้องแก้ไขอีกมาก ลัทธินี้มิได้แตกสลายหากเพียงแต่ลดบทบาทลงมาและไม่มีการดำเนินการอย่างเป็นปึกแผ่นมั่นคง ลัทธินี้ไม่ได้ถูกนำมาใช้เฉพาะทางด้านการเมืองเท่านั้น แต่ยังหมายถึงอุดมการณ์เกี่ยวกับค่านิยมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุดมการณ์ในเรื่องสิทธิเสรีภาพ ไม่ว่าจะเป็นการต่อต้านลัทธิทหาร และต่อต้านรัฐสวัสดิการ อุดมการณ์เสรีนิยมยังไม่ได้ถูกนำมาใช้ในความหมายว่าใจกว้าง (Generous) นักปฏิวัติ (Reformist) หรือนักทดลอง (Experimental) อีกด้วย ลัทธินี้ยังให้ความสำคัญกับสิ่งต่อไปนี้ คือ 1.เสรีภาพส่วนบุคคล 2.ธรรมชาติของมนุษย์ 3.เหตุผลของแต่ละบุคคลที่ประสงค์ 4.ความก้าวหน้า 5.ความเท่าเทียมกัน 6.ความเป็นสากล 7.ค่านิยมต่อรัฐบาล และ8.เสรีนิยมทางเศรษฐกิจ
จุดเด่นของอุดมการณ์เสรีนิยม คือ เน้นเรื่องเสรีภาพส่วนบุคคล เรื่องสิทธิมนุษยชน และการได้รับโอกาสเท่าเทียมกัน โดยเชื่อว่า สังคมจะดีได้ต้องมีสภาพแวดล้อมที่ดี เอื้ออำนวยต่อการอยู่ดีกินดีของประชาชนทุกสาขาอาชีพ มุ่งการค้นคว้าวิจัย และการเชื่อถือความคิดของปัจเจกบุคคล [Anon, n.d.อุดมการณ์ของเสรีนิยม ทุนนิยม และคอมมิวนิสต์.http://guru.google.co.th/guru/ thread?tid=3e3c739a7c9bf0b7 (10/3/2552)
นอกจากนั้นแล้ว อุดมการณ์เสรีนิยมยังมีลักษณะที่สามารถเห็นได้ชัดเจน เช่น ให้ความสำคัญต่อการใช้เหตุผล นิยมความก้าวหน้า พยายามกดดันให้ประเทศอื่น ๆ ยอมรับในแนวความคิดของตัวเอง เพราะเชื่อว่าแนวความคิดของตัวเองสามารถใช้ได้เหมือนกันทั่วโลก (ณัชชาภัทร อุ่นตรงจิตร,2548:87)พวกอุดมการณ์เสรีนิยมถูกสถาปนามาด้วยความเชื่อที่ว่า รัฐบาลจะต้องปกปักรักษาซึ่งความมีเสรีภาพของแต่ละบุคคล ดังโทมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson) ได้สรุปว่า “รัฐบาลที่ดีที่สุด คือ รัฐบาลที่ปกครองน้อยที่สูด” เพราะเขาเห็นว่า สังคมควรเป็นอิสระจากการแทรกแซงของรัฐบาลให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ (เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ, 2549:111)
อุดมการณ์เสรีนิยม จึงเป็นอุดมการณ์พื้นฐานของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย กล่าวคือ เป็นอุดมการณ์ที่ให้น้ำหนักกับความเป็นมนุษย์ ซึ่งจะต้องมีศักดิ์ศรี มีสิทธิเสรีภาพ เช่น เสรีภาพในชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน ที่สำคัญคือเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพในทางการเมือง ฯลฯ [ลิขิต ธีระเวคิน.ลัทธิเสรีนิยมและประชาธิปไตย.2551, http://www.siamrath.co. th/UIFont/Articledetail.aspx?nid=896&acid=896 (10/3/2552] มนุษย์ที่ถือกำเนิดมาในโลกนี้แม้จะแตกต่างกันในฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจ และแหล่งกำเนิด แต่มีความเสมอภาคกันโดยเป็นประชาชนที่เท่าเทียมกัน มีความเสมอภาคต่อหน้ากฎหมายและเสมอภาคในทางการเมือง บนพื้นฐานของอุดมการณ์เสรีนิยม
-อนุรักษ์นิยม (Conservatism) แนวความคิดอนุรักษ์นิยมเกิดขึ้นเมื่อปลายศตวรรษที่ 18 โดยเอ็ดมันด์ เบิร์ก (Edmund Burke) ซึ่งตีพิมพ์ผลงานชื่อ “Classic Conservatism” เขาได้คัดค้านความคิดเสรีนิยมที่ถูกนำไปใช้ปฏิวัติฝรั่งเศสว่า เป็นการกระทำที่เข้าใจผิดอย่าใหญ่หลวง เสรีนิยมเชื่อมั่นต่อเหตุผลของมนุษย์มากเกินไป ทั้งที่ยังมีส่วนที่เป็นอารมณ์ไม่ใช่เหตุผลอยู่มาก เพื่อรักษาเหตุผลของมนุษย์เอาไว้ สังคมมนุษย์จึงค่อยๆสร้างประเพณี สถาบัน และมาตรฐานทางศีลธรรมขึ้นมา เช่น การจัดตั้งระบอบกษัตริย์และศาสนา เบิร์กให้เหตุผลว่า สถาบันและประเพณีที่มีอยู่ไม่ได้เลวทั้งหมด เพราะผ่านการลองผิดลองถูกมาเป็นร้อยๆ ปีจนผู้คนคุ้นเคยหมดแล้ว ทางที่ดีควรรักษาหรืออนุรักษ์เอาไว้เพราะยังใช้ได้ ไม่ต้องกังวลว่าจะไม่สมบูรณ์ แต่ไม่ใช่ว่าไม่เปลี่ยนเลย สถาบันควรเปลี่ยน แต่เปลี่ยนแบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้ประชาชนได้ปรับตัว เขากล่าวว่า “สภาพที่ไม่มีวิธีการเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างเลยนั้น เป็นสภาพที่ไม่ใช่วิธีการของอนุรักษ์นิยม” (เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ,2549:111-112)
เบิร์กเป็นนักคิดคนสำคัญที่ช่วยให้เกิดการค้นพบพฤติกรรมที่ไม่ใช่เหตุผลของมนุษย์ เขามองเห็นสถาบันเหมือนสิ่งมีชีวิตซึ่งเติบโตและรับตัวตลอด และเขาเห็นว่า การปฏิวัติจะต้องจบลงด้วยความเลวร้าย จนได้รับการขนานนามว่า พวกต่อต้านอุดมการณ์ รากฐานอุดมการณ์อนุรักษ์นิยมมีพื้นฐานมาจากอุดมการณ์ทางการเมืองสมัยกรีกโบราณ โดยเฉพาะแนวปรัชญาทางการเมืองของเพลโต (ณัชชาภัทร อุ่นตรงจิตร,2548:88) อุดมการณ์ทางการเมืองตามแนวคิดอนุรักษ์นิยมมีจุดเด่น คือ ให้ความสำคัญเรื่องความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติ เช่น สถาบันกษัตริย์ สถาบันศาสนา และวัฒนธรรมมากที่สุด การเปลี่ยนแปลงของสังคมต้องใช้เวลาไม่รวดเร็ว ไม่ผลีผลาม ต้องรอบคอบรัดกุม ค่อยเป็นค่อยไปอย่างมีระเบียบ ยอมรับความไม่เท่าเทียมกัน เพราะถือว่าเป็นธรรมชาติของมนุษย์ และ เชื่อถือระบอบการปกครองที่เหมาะสมกับประชาชนของประเทศตน ไม่จำเป็นต้องเหมือนของใคร [Anon, n.d.อุดมการณ์ของเสรีนิยม ทุนนิยม และคอมมิวนิสต์.http: //guru.google.co.th/guru/ thread?tid=3e3c739a7c9bf0b7 (10/3/2552)]
อุดมการณ์อนุรักษ์นิยมที่ปรากฏในประเทศต่างๆ อาจไม่ตรงกันบ้างในสาระสำคัญบางประการ เช่น ลัทธิอนุรักษ์นิยมในอเมริกายอมให้มีการเปลี่ยนแปลงได้ ยอมรับการแตกต่างกันในทางการเมือง ต้องการให้มีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ เชื่อในความก้าวหน้า ส่วน อนุรักษ์นิยมในยุโรปและอังกฤษนั้น ยึดมั่นในศาสนาดั้งเดิม ยอมรับการแบ่งชนชั้นแบบเก่า (จรูญ สุภาพ,2538:14) โดยสามารถสรุปลักษณะของอุดมการณ์อนุรักษ์นิยม (ณัชชาภัทร อุ่นตรงจิตร, 2548:89-90)ได้ดังนี้
1) ระเบียบและความมั่นคง (Order and Stability) พวกอนุรักษ์นิยมเชื่อมั่นว่าระเบียบและความมั่นคงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะต้องรักษาไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือเรื่อง ศาสนา ชาติกำเนิด และความรักชาติ ซึ่งจะต้องเป็นสิ่งที่ควรหวงแหนไว้มากกว่าสิ่งใด ๆ ทั้งสิ้น
2) ความชั่วร้ายของคน (Wickedness of Man) พวกอนุรักษ์นิยมเชื่อว่า มนุษย์เกิดมาพร้อมๆ กับธรรมชาติที่โหดร้าย น่ากลัว ดังนั้นมนุษย์จึงต้องการรัฐบาลมาช่วยทำให้สังคมมนุษย์ไร้ซึ่งความวุ่นวายและป่าเถื่อน โดยใช้กฎหมายและศาสนา ซึ่งมีการวางรากฐานมายาวนานและมั่นคง
3) ประสบการณ์ (Experience) อุดมการณ์อนุรักษ์นิยมมีแนวคิดที่เชื่อมั่นในประสบการณ์มากกว่าเหตุผล เพราะเขามีความเห็นในแง่ลบต่อธรรมชาติของมนุษย์ คือ ไม่เชื่อว่ามนุษย์จะเป็นผู้ใช้หลักเหตุผลได้อย่างถูกต้อง
4) ต่อต้านการเปลี่ยนแปลงโดยฉับพลัน (Gradual Change) พวกเขาต้องการให้มันเกิดขึ้นอย่างค่อย ๆ เป็น ค่อย ๆ ไป เพราะถือว่าการเปลี่ยนแปลงโดยฉับพลันเป็นการถอนรากถอนโคนระบบสังคมแบบเดิม
5) เสรีภาพ (Liberty) อนุรักษ์นิยมไม่ชอบความเท่าเทียมกัน เพราะมันจะเป็นอันตรายต่อเสรีภาพ โดยเนื้อแท้เขาสนับสนุนรัฐบาลที่มีรากฐานอยู่ที่การเป็นผู้ดี และต่อต้านพวกทุนนิยมที่แสวงหาอำนาจด้วยความร่ำรวย และต่อต้านระบอบประชาธิปไตย เพราะมันอยู่ตรงกันข้ามกับระเบียบและความมั่นคง
6) ความหลากหลาย (Diversity) พวกอนุรักษ์นิยมไม่เชื่อในความเป็นสากล เขาเชื่อว่าถึงแม้ว่ากฎหมายบางฉบับจะใช้การได้ดีในประเทศหนึ่ง แต่มันก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะใช้ได้ดีในทุก ๆ ประเทศ ดังนั้นประเทศแต่ละประเทศควรจะมีวิถีการพัฒนาเป็นของตัวเอง ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละประเทศ
7) รัฐบาล (Government) รัฐบาลในความคิดของพวกอนุรักษ์นิยมไม่ใช่สิ่งที่ชั่วร้าย รัฐบาลเป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะรักษาไว้ซึ่งระเบียบเรียบร้อยและความมั่นคง
ในศตวรรษที่ 20 อุดมการณ์อนุรักษ์นิยมมีความเปลี่ยนแปลงในตัวเองอย่างมาก ถึงแม้ว่าแนวความคิดในเรื่องหลัก ๆ ยังคงเหมือนเดิม แต่เรื่องแนวคิดเรื่องวิถีทางเศรษฐกิจของพวกเขาเปลี่ยนแปลงไป พวกอนุรักษ์นิยมใหม่ (neo-conservatism) จะมีแนวคิดคล้ายพวกเสรีนิยมเก่าในเรื่องทางด้านเศรษฐกิจ โดย้องการให้รัฐบาลถูกจำกัดอำนาจในการเข้าไปแทรกแซงทางเศรษฐกิจ
ปัจจุบันทั้งพวกอนุรักษ์นิยมใหม่และพวกเสรีนิยมใหม่มีความคาบเกี่ยวกันในหลายด้านแม้กระทั่งในคน ๆ เดียวกัน ในบางกรณีอาจเป็นอนุรักษ์นิยม ในบางกรณีอาจเป็นเสรีนิยม อุดมการณ์ทั้งสองประการจึงไม่สามารถถูกเรียกได้ว่าอยู่ที่ใดที่หนึ่งตลอดไป มันได้ถูกนำมาใช้อธิบายแนวความคิดของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลต่อเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง เราไม่จำเป็นต้องขังตัวเองอยู่ในอุดมการณ์แบบใดแบบหนึ่ง เพียงแต่เข้าใจว่าแต่ละประเด็นที่กำลังวิเคราะห์กันอยู่นั้นเรายืนอยู่บนจุดใดก็น่าจะเป็นสิ่งที่เพียงพอแล้ว
-ทุนนิยม (Capitalism)ทุนนิยม หมายถึง ระบบเศรษฐกิจที่ถือว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเป็นเจ้าของและการลงทุนในการผลิต เป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน โดยยอมให้ผู้ประกอบการทางเศรษฐกิจมีโอกาสแข่งขันกันในทางเศรษฐกิจ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลกำไรหรือผลประโยชน์อื่นใดตามความสมารถและความปรารถนาของแต่ละคน เป็นระบบเศรษฐกิจที่มีคุณลักษณะสำคัญ คือ ยอมรับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและการผลิตของบุคคล เสรีภาพในการประกอบการทางธุรกิจและเศรษฐกิจ เสรีภาพของผู้บริโภคในการที่จะเลือกบริโภคหรือใช้บริการ การแข่งขันกันในทางเศรษฐกิจ การแสวงหาผลกำไรจากการดำเนินงานทางเศรษฐกิจ และการยึดถือราคาในฐานะเป็นแกนกลางที่มีอิทธิพลต่อการควบคุมแรงงาน ทรัพยากร ผลผลิตและรายได้(จรูญ สุภาพ,2538:71) ลัทธิทุนนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 19 เป็นระบบที่เกิดมาเพื่อต่อต้านระบบพานิชยนิยม คือ ระบบเศรษฐกิจที่อยู่ภายใต้ทฤษฎีที่ความมั่งคั่งของรัฐขึ้นอยู่กับทองคำ เงิน และโลหะอื่นๆซึ่งรัฐบาลจะเป็นผู้ควบคุมเศรษฐกิจทั้งหมด เพื่อการหามาซึ่งโลหะมีค่า ทั้งนี้ความมั่งคั่งจะกระจุกอยู่ที่รัฐบาลและพันธมิตรของรัฐบาล ( ณัชชาภัทร อุ่นตรงจิตร, 2548:89-96) ลัทธิทุนนิยมมีหลายรูปแบบ ที่สำคัญคือ ทุนนิยมแบบพานิชยกรรม ทุนนิยมแบบการเงิน ทุนนิยมแบบอุตสาหกรรม และทุนนิยมแบบประกอบการ เป็นระบบที่ให้คุณค่ากับการที่ราคาถูกตัดสินในตลาดเสรี นั่นคือโดยการค้าที่เป็นผลมาจากการตกลงด้วยความสมัครใจของผู้ซื้อและผู้ขาย ความคิดเชิงตลาด จิตวิญญาณของผู้ประกอบการ และความเข้าใจเกี่ยวกับทรัพย์สินและสัญญาที่ชัดเจนที่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย ทฤษฎีหลายทฤษฎีได้ชี้ให้เห็นถึงแนวการปฏิบัติทางเศรษฐกิจหลาย ๆ แนวได้ถูกให้ทำเป็นสถาบันในยุโรประหว่างช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16-19 ที่สำคัญ เช่น สิทธิของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่จะสามารถทำการได้แบบ “นิติบุคคล” (หรือบรรษัท) ในการซื้อและขายสินทรัพย์ ที่ดิน แรงงาน เงินตรา ในตลาดเสรี และสามารถวางใจได้ว่ารัฐจะสามารถบังคับให้เกิดการเคารพสิทธิทรัพย์สินส่วนบุคคลแทนที่จะต้องพึ่งการคุ้มครองแบบศักดินา อย่างไรก็ตามองค์ประกอบของระบบทุนนิยมมีคุณลักษณะอยู่ 5 ประการด้วยกัน คือ 1.การมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนบุคคลเป็นปัจจัยที่สำคัญ 2.การแข่งขันทางตลาดอย่างเสรี 3.ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบตลาด 4.มีอิสระในการบริหาร 5.และประชาชนสามารถมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ลัทธิทุนนิยมนี้เกิดขึ้นมาเพื่อต่อต้าน ระบบพาณิชยนิยม (Mercantilism) คือระบบเศรษฐกิจที่อยู่ภายใต้ทฤษฎีความมั่นคงของรัฐที่ขึ้นอยู่กับทองคำ เงิน และโลหะอื่น ๆ ซึ่งรัฐบาลจะเป็นผู้ควบคุมระบบเศรษฐกิจทั้งหมด เพื่อการหามาโลหะมีค่า ทั้งนี้ความมั่งคั่งจะกระจุกอยู่ที่รัฐบาลและพันธมิตรของรัฐบาลเพียงกลุ่มเดียวเท่านั้น ทุนนิยมแบบพานิชยกรรม เกิดจากการค้าระหว่างประเทศในยุโรปหลังยุคสงครามครูเสด มีศูนย์กลางการค้าอยู่ที่เมืองบาร์เซโลนาของสเปน สินค้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทฟุ่มเฟือย ลักษณะการค้าจะอยู่ในรูปของการแบ่งความรับผิดชอบกันเป็นกลุ่มๆ เช่น พวกพ่อค้าขายส่ง พวกพ่อค้าขายปลีก และผู้ให้กู้ยืมเงิน ส่วนในยุโรปเหนือมีการค้าระหว่างประเทศโดยตังเป็นสมาคม เรียกว่า “Hanseatic League” บรรดาสมาชิกของสมาคมนี้ถือว่าเป็นนายทุนที่แท้จริง เพราะสามารถแสวงหากำไรได้มาก มีอิทธิพลต่อชาวนาและกรรมกรของรัฐ และมีอิทธิพลต่อกิจกรรมการเมืองระหว่างประเทศ (จรูญ สุภาพ, 2538:76)
ทุนนิยมแบบการเงิน เป็นการจัดการค้าในรูปของตลาดเงินทุน มีลักษณะสำคัญ คือ 1. มีการให้ทุนเพื่อการพานิชยกรรมในลักษณะของเงินกู้ 2. มีองค์การดำเนินการทางเศรษฐกิจเงินกู้หลายกลุ่ม 3. มีการให้เงินกู้โดยตรงแก่บุคคลหรือกิจการต่างๆ 4. จัดให้มีธนาคารและการแลกเปลี่ยนระหว่างธนาคารขึ้น 5. มีการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศในลักษณะของเงินกู้ 6. จัดให้มีธนาคารของรัฐและการกู้ระหว่างประเทศ ทุนนิยมแบบการเงินถูกพัฒนาและเป็นที่รู้จักแพร่หลายขึ้นในศตวรรษที่ 17 และบางยุคบางสมัยก็ชะงักลง แต่ก็ไม่สลายไป เพราะปัจจุบันยังมีสถาบันการเงินที่ทำหน้าที่ด้านนี้อยู่ (จรูญ สุภาพ, 2538:77-78)
ทุนนิยมแบบอุตสาหกรรม เกิดขึ้นพร้อมๆกับการล่มสลายของระบบศักดินาและการขยายตัวของเมืองต่างๆ ซึ่งมีลักษณะที่สำคัญ คือ 1.ได้มีการเปลี่ยนอุตสาหกรรมขนาดเล็กหรืออุตสาหกรรมครัวเรือน เป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ 2.ได้มีพ่อค้าซึ่งขายวัตถุดิบให้กับโรงงานอุตสาหกรรม และซื้อผลิตผลอุตสาหกรรมเพื่อขายเอากำไรมากขึ้น 3. เกิดโรงงานขนาดใหญ่ และมีการใช้แรงงานมากมาย ระบบทุนนิยมแบบอุตสาหกรรมได้ก่อตัวขึ้นชัดเจนในยุคหลัง โดยเฉพาะในศตวรรษที่ 18 ซึ่งได้มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมขึ้นในสมัยนี้ ทำให้วิทยาการมีความก้าวหน้าขึ้น ผลผลิตเพิ่มขึ้นทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ เป็นสิ่งที่เกื้อกูลระบบทุนนิยมเป็นอันมาก (จรูญ สุภาพ, 2538:78)
ทุนนิยมแบบประกอบการ เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 17 เป็นผู้ที่มีบทบาทและอิทธิพลในการกำหนดกฎเกณฑ์และนโยบายทางการค้า มีการลงโทษแก่ผู้ละเมิดกฎเกณฑ์เหล่านั้น เช่น กฎหมายเกี่ยวกับมาตรฐานสินค้า คุณภาพแลการปลอมแปลง มีกฎหมายห้ามเก็งกำไร มีบทบัญญัติกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการซื้อขาย การกำหนดราคาค่าจ้าง และชั่วโมงทำงาน เป็นต้น (จรูญ สุภาพ, 2538:78)
ลัทธิทุนนิยมมีลักษณะที่สำคัญ คือ เป็นระบบเศรษฐกิจที่อนุญาตให้เอกชนสามารถถือครองทรัพย์สินได้มากเท่าที่เขาสามารถจะหาได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย สนับสนุนให้มีการแข่งขันอย่างเสรี ไม่มีกฎระเบียบหรือข้อบังคับจากรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลไม่สามารถเข้าใจได้ทั้งหมดว่าเอกชนต้องการอะไร พวกทุนนิยมจึงต้องการอำนาจในการบริหารทั้งหมด การเข้ามามีอิทธิพลของระบบทุนนิยมก่อให้เกิดธุรกิจขนาดใหญ่ ส่งผลให้กิจการขนาดเล็กได้รับการกระทบกระเทือน เกิดการผูกขาด ทำให้ผู้ที่ร่ำรวยมีอิทธิพลทางการเงิน กิจการขนาดเล็กต้องอยู่ภายใต้อิทธิพลของบริษัทยักษ์ใหญ่เพียงไม่กี่แห่ง
-สังคมนิยม (Socialism) แนวความคิดของลัทธิสังคมนิยมได้เกิดขึ้นก่อนคริสตกาล คือ Plato ได้วาดมโนภาพในอุดมคติไว้ว่า สรรพสิ่งทั้งปวงเป็นของกลางเพื่อให้คนทุกชนชั้นได้บริโภค วิวัฒนาการของสังคมนิยมได้เริ่มตั้งแต่การขยายตัวของอุตสาหกรรมในระบบทุนนิยมในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 หรือตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19โดยผู้ใช้แรงงานหรือกรรมกรซึ่งไม่มีความรู้และทรัพย์สินอื่นนอกจากแรงงาน ได้รับความทุกข์ยากเป็นอย่างมาก นักสังคมวิทยาจึงได้แสวงหาวิธีการที่จะสร้างสังคมใหม่ที่ปราศจากความอยุติธรรมและความไม่เท่าเทียมกันโดยเสนอแนะให้มนุษย์ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยให้พิจารณาถึงผู้ที่ยากจนเป็นกรณีพิเศษ (อานนท์ อาภาภิรม,2545:115)ระบบสังคมนิยมเกิดขึ้นมาเพื่อต่อต้านระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม เพราะถือว่าระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมนั้น นายจ้างคือผู้มีปัจจัยการผลิต อันได้แก่ ที่ดิน ทุน และการประกอบการ ส่วนแรงงานมีฐานะเป็นเพียงปัจจัยการผลิตอย่างหนึ่ง แรงงานจึงต้องพึ่งพานายจ้าง และด้วยจำนวนแรงงานที่มีอย่างมากมาย จึงมักถูกกดขี่อย่างไร้มนุษยธรรม นอกจากนั้น การประกอบธุรกิจของเอกชนที่มุ่งแต่กำไรสูงสุด อาจก่อให้เกิดผลเสียแก่สังคม เช่น ปัญหาการว่างงาน อาชญากรรม ปัญหาสิ่งแวดล้อม [ชำนาญ จันทร์เรือง .2548.ประชาธิปไตย ทุนนิยม และสังคมนิยม,http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2005q4/ article2005oct12p10.htm (10/3/2552)]
โรเบิร์ต โอเวน (Robert Owen)นักสังคมวิทยาได้วางรากฐานในเรื่องจัดสวัสดิการให้แก่กรรมกรโรงงาน โดยเขาให้แนวคิดว่า มนุษย์ถูกกำหนดโดยสิ่งแวดล้อม คือสิ่งแวดล้อมกำหนดให้มนุษย์เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เพราะสังคมให้ความสำคัญกับเครื่องจักรมากเกินไป จนไม่มีเวลาเอาใจใส่สุขภาพร่างกายและจิตใจของมนุษย์ ฉะนั้น หากสังคมจะให้ความสนใจแก่มนุษย์มากขึ้น ย่อมจะต้องมีวิธรการที่จะปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ให้ดีขึ้น รวมทั้งส่งเสริมการผลิตที่มีประสิทธิภาพ โดยการจัดตั้งสหกรณ์ แล้วให้สมาชิกนำผลิตผลของตนมาตั้งที่ร้าน และกำหนดราคาสินค้าขึ้นเองตามจำนวนชั่วโมงของแรงงานที่แต่ละคนใช้ในการผลิต (อานนท์ อาภาภิรม,2545:115-116)
ระบบสังคมนิยมเชื่อว่า ถ้าเปิดโอกาสให้ประชาชนทำการทุกอย่างแล้ว จะก่อให้เกิดผลเสียหายหลายประการ เช่น การเอารัดเอาเปรียบกัน มุ่งหากำไรเกินควร และประชาชนอาจจะให้การบริการไม่ทั่วถึง ฉะนั้นรัฐจึงมีความจำเป็นที่จะดำเนินการบางประการเท่าที่จำเป็น เพื่อให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของประชาชน และเพื่อช่วยให้ประชาชนทั้งปวงได้ประโยชน์โดยเท่าเทียมกัน (ดำริห์ บูรณะนนท์, 2548:75)ทำให้วิธีการบางอย่างถูกควบคุมและผูกขาดโดยรัฐ เช่น ที่ดิน ทุนทรัพย์ และกลไกการผลิต เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความแตกต่างระหว่างฐานะการเงินของบุคคล หรือความแตกต่างในด้านเศรษฐกิจของประชาชนในสังคม เป็นอุดมการณ์การต่อสู้ของประชาชนที่รักความเป็นธรรมโดยเอาสังคมเป็นตัวตั้งทางผลประโยชน์ เน้นคุณค่ามนุษย์ที่สมบูรณ์ที่ควรได้รับจากการจัดการของรัฐ
สังคมนิยมพื้นฐานก็คือ ที่ซึ่งรัฐเอาสังคมเป็นศูนย์กลางและนโยบาย เป้าหมาย และวิถีทาง เพื่อประชาชนได้เท่าเทียมประโยชน์แห่งชีวิต มีประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจและสังคมที่แท้จริง ประชาชนทุกคนมีสิทธิ-เสรีภาพ โดยรัฐที่เป็นตัวแทนพิทักษ์ผลประโยชน์ของประชาชนที่แท้จริง คอยดูแลสวัสดิการให้แก่ประชาชนอย่างพอเพียง สร้างคุณภาพสังคมและคุณค่ามนุษย์ที่สมบูรณ์ [เมธา มาสขาว.n.d.สังคมนิยม-ประชาธิปไตยในประเทศไทย,http://www.midnightuniv.org/ midnight2544/0009999530.html (10/3/2552)] ลัทธิสังคมนิยม มีลักษณะที่สำคัญ ดังนี้1. มีการวางแผนเศรษฐกิจจากส่วนกลางหรือรัฐบาล โดยลัทธิสังคมนิยมเชื่อว่าหากรัฐบาลมีการวางแผนทางเศรษฐกิจไว้ล่วงหน้าเป็นอย่างดี โดยไม่ปล่อยให้เอกชนดำเนินงานกันเองอย่างไร้ระเบียบ จะทำให้สามารถหลีกเลี่ยงวิกฤติเศรษฐกิจและปัญหาสังคม เช่น ปัญหาเงินเฟ้อ เงินฝืด การว่างงาน โดยการวางแผนเศรษฐกิจถือหลักการว่าต้องเป็นประโยชน์กับสังคมที่เป็นคนส่วนใหญ่ และ 2.รัฐบาลเข้ามาควบคุมกิจการที่เกี่ยวข้องกับสาธารณูปโภคของประชาชน กิจการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า ประปา และถนนหนทาง จะอยู่ภายใต้การดูแลของรัฐ เนื่องจากเป็นกิจการที่ประชาชนมีความจำเป็นต้องใช้ การที่รัฐบาลเข้ามาดูแลสาธารณูปโภคดังกล่าวย่อมเกิดผลดีแก่สังคมส่วนรวม [ชำนาญ จันทร์เรือง .2548.ประชาธิปไตย ทุนนิยม และสังคมนิยม,http://www. nidambe11.net/ekonomiz/2005q4/ article2005oct12p10.htm (10/3/2552)]
จากการอธิบายถึงอุดมการณ์ทางการเมืองทั้ง 4 แบบแล้วพอจะเห็นได้ว่า หลายประเทศที่ประกาศตนว่าเป็นประชาธิปไตย ก็ยังนำอุดมการณ์ของสังคมนิยมเข้าไปประยุกต์ใช้ให้เข้ากับการปกครองขอประเทศตน เช่น ประเทศในยุโรปโดยเฉพาะแถบสแกนดิเนเวียที่ใช้การปกครองในระบอบประชาธิปไตย แต่ใช้ระบบเศรษฐกิจเป็นสังคมนิยม หรือที่เรียกกันว่า "รัฐสวัสดิการ" หรือแม้กระทั่งประเทศไทยเองที่ประกาศตัวเองว่า "เราต้องยอมรับว่า ประเทศเราเป็นประเทศทุนนิยม" หากพิจารณารัฐธรรมนูญเป็นหมวดๆ แล้วจะพบว่า มีการผสมผสานระหว่างอุดมการณ์ที่หลากหลาย เช่น หมวด 2 พระมหากษัตริย์ ตามอุดมการณ์อนุรักษ์นิยม หมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ตามอุดมการณ์สังคมนิยม และเผด็จการ เป็นหลัก หมวด 7 คณะรัฐมนตรี ตามทฤษฎีระบบเศรษฐกิจทุนนิยม หมวด 8 ศาล ตามอุดมการณ์เสรีนิยม และอนุรักษ์นิยม หมวด 9 การปกครองส่วนท้องถิ่น ตามอุดมการณ์ เสรีนิยม อนุรักษ์นิยม และสังคมนิยม เป็นต้น
ลัทธิสังคมนิยมเป็นระบบเศรษฐกิจที่มีการวางแผนจากส่วนกลางเพื่อผลประโยชน์ของชุมชนโดยส่วนร่วม ระบบนี้ถือได้ว่าเกิดขึ้นมาเพื่อคัดค้านระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม สาระสำคัญของสังคมนิยมมีองค์ประกอบดังนี้ 1.มีการวางแผนเศรษฐกิจจากส่วนกลางหรือรัฐบาล 2.เอกชนจะได้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจโดยส่วนเฉลี่ยตามผลงานของแต่ละคน 3.รัฐบาลเข้ามาควบคุมกิจการที่เกี่ยวข้องกับสาธารณูปโภคของประชาชน
ลัทธิสังคมนิยมที่สำคัญของโลกมี 3 รูปแบบคือ 1.สังคมนิยมแบบอุดมคติ คือการสร้างจินตนาการ หรือวาดภาพสภาพสังคมที่เลอเลิศอย่างที่เป็นความเชื่อเรื่องสังคมสมัยพระศรีอาริยเมตไตรย์ 2.สังคมนิยมแบบมาร์กซ์ คือต้องการให้ส่วนกลาง (รัฐ) มีบทบาทมากที่สุดหรืออีกนัยยะหนึ่งก็คือว่าต้องการให้เกิดการปฏิวัติเพื่อเข้าสู่สภาพสังคมเต็มรูปแบบโดยเร็วทั้งนี้โดยเน้นการต่อสู้ระหว่างชนชั้นเป็นหลัก 3.สังคมนิยมแบบประชาธิปไตย เป็นการผสมผสานหลักการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตยเข้ากับระบบเศรษฐกิจที่รัฐหรือรัฐบาลมีอำนาจจำกัดเสรีภาพทางเศรษฐกิจของเอกชนบางประการด้วยการเข้าดำเนินการเองบางส่วนเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม
2.อุดมการณ์ทางการเมืองเป็นเครื่องมือทางด้านความคิดที่ใช้อธิบายสังคมและทำความเข้าใจสังคม อุดมการณ์ประชาธิปไตยซึ่งสังคมโลกส่วนใหญ่เชื่อกันว่าเป็นเครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์และอธิบายสังคมได้ดีที่สุดในขณะนี้นั้นกลับไม่สามารถอธิบายสังคมอิสลามได้ทั้งหมด ให้นักศึกษาอธิบายรายละเอียดจุดอ่อนของอุดมการณ์ประชาธิปไตยที่ไม่สามารถวิเคราะห์สังคมอิสลามได้อย่างถูกต้อง
อุดมการณ์ประชาธิปไตย เป็นทั้งอุดมคติและระบอบการเมือง เกิดขึ้นประมาณครึ่งหลังของศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตศักราช โดยนครรัฐกรีก กล่าวได้ว่าเอเธนส์เป็นนครแห่งประชาธิปไตยมากที่สุด พลมืองเอเธนส์มีความภูมิใจในระบอบการปกครองที่เปิดโอกาสให้พวกเขามีเสรีภาพ เช่นเสรีภาพในการนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์โดยไม่มีขอบเขตจำกัด มีสถาบันการปกครองประเทศที่เป็นสภานิติบัญญัติ และข้าราชการผู้มีหน้าที่ในการบริหารประเทศโดยได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน
ประชาธิปไตย ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Democracy ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษากรีก 2 คำ คือ Demos แปลว่า ประชาชน และ Kratos แปลว่าอำนาจ เมื่อนำมารวมกันแล้วหมายความว่า อำนาจประชาชน หรือ ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจ ซึ่งมีหลักการพื้นฐานคือ การยอมรับนับถือความสำคัญและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคล ความเสมอภาค และเสรีภาพในการดำเนินชีวิต (โกวิท วงศ์สุรวัฒน์, มปป : 7)
ออสติน แรนนี ( Austin Ranney) กล่าวว่า ประชาธิปไตยเป็นรูปการปกครอง ซึ่งเป็นไปตามหลักการของการใช้อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน (Popular Sovereignty) ความเสมอภาคทางการเมือง (Political Equality) การปรึกษากับประชาชน ( Popula Consultation) และการปกครองโดยกฎเสียงข้างมาก (Majority Rule) ) อ้างอิงในอานนท์ อาภาภิรม, 2545:118)
สำหรับความหมายของคำว่าประชาธิปไตยที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีหลายความหมาย ดังนี้ 1. ระบบการปกครองโดยคนจนและคนเสียเปรียบ 2. รูปแบบการปกครองที่ประชาชนปกครองตนเองโดยตรงและต่อเนื่อง ซึ่งไม่ต้องการนักการเมืองอาชีพหรือข้าราชการ 3. สังคมที่มีความเท่าเทียมกันในโอกาสและคนมีคุณธรรมมากกว่าสังคมที่มีลำดับชั้นและอภิสิทธิ์ 4. ระบบการปกครองที่รับประกันสิทธิและผลประโยชน์ของคนส่วนน้อยโดยเน้นการตรวจสอบอำนาจของเสียงข้างมาก และ 5. ระบบการปกครองที่สนองตอบต่อผลประโยชน์ของประชาชนโดยไม่สนใจการเมืองเรื่องอื่น เป็นต้น การเริ่มทำความเข้าใจประชาธิปไตยอาจเริ่มจากคำกล่าวของอับราฮัม ลินคอล์น (Abraham Lincoln)ที่กล่าวในปี ค.ศ.1864 ท่ามกลางสงครามกลางเมืองในสหรัฐอเมริกา ว่า “การปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน” (Government of the people, by the people, and for the people) (เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ, 2549: 136)
อุดมการณ์ทางการเมืองตามทัศนะของนักวิชาการ
ลิขิต ธีรเวคิน อธิบาย อุดมการณ์ทางการเมือง หมายถึง ลัทธิทางการเมืองที่อธิบายความเป็นมาของสังคมมนุษย์ในอดีต สภาพความเป็นอยู่ในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต วางแนวทางการประพฤติปฏิบัติสำหรับสมาชิกในปัจจุบัน และสำหรับการบรรลุความมุ่งหวังของอนาคต พร้อมทั้งให้ความหมายแก่ชีวิต แก่ความประพฤติและความสัมพันธ์ที่มนุษย์มีต่อสิ่งแวดล้อม และระบบสังคมทั้งมวล
Friedrich C.J and Brzezinski Z.K. กล่าวว่า อุดมการณ์ทางการเมือง หมายถึง ความคิดที่มีลักษณะที่ชัดเจน (articulate) ประติดประต่อกัน (coherent) และเป็นระบบ (systematic) ตลอดจนสัมพันธ์กับการกระทำ
จากความหมายข้างต้นสรุปได้ว่าอุดมการณ์ทางการเมือง หมายถึง ระบบความคิด ความเชื่อ หรือความศรัทธาของกลุ่มสังคมใดสังคมหนึ่งที่มีต่อระบบการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ ซึ่งระบบความเชื่อต่าง ๆ นี้จะสะท้อนให้เห็นถึงรูปแบบของการเมือง หลักการในการปกครอง วิธีดำเนินการปกครองว่าใครจะเป็นผู้มีอำนาจในการปกครอง ผู้ปกครองมีบทบาทและอำนาจกว้างขวางเพียงใด ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองและผู้ใต้ปกครองจะมีลักษณะอย่างไร ผู้อยู่ใต้ปกครองจะมีสิทธิและเสรีภาพมากน้อยแค่ไหน มีความเหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่ในปัจจุบันและอนาคตหรือไม่อย่างไร
หลักการของประชาธิปไตย
ประชาธิปไตยมีพัฒนาการมาหลายร้อยปี มีทฤษฎีและการปฏิบัติมากมาย ซึ่งสามารถสรุปหลักการสำคัญของอุดมการณ์ประชาธิปไตย ดังนี้
1) หลักการมีส่วนร่วมของพลเมือง (Citizen Involvement) ความคิดพื้นฐานของระบบประชาธิปไตยทุกระบบ คือ ประชาชนควรมีส่วนร่วมตัดสินใจทางการเมือง ซึ่งมี ทางคือ ประชาธิปไตยทางตรง โดยให้พบเมืองมีส่วนร่วมในการปรึกษาหารือ ออกเสียง ถกเถียง รวมร่างกฎหมาย และประชาธิปไตยแบบตัวแทน ซึ่งพลเมืองเลือกคนอื่นไปถกเถียงและออกฎหมาย (เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ, 2549: 145)การมีส่วนร่วมทางการเมืองนี้ไม่จำเป็นว่าประชาชนทุกคนจะเข้าไปทำหน้าที่ของตนในรัฐสภาทั้งหมด แต่สามารถมีส่วนร่วมได้ในรูปแบบต่างๆ ต่อไปนี้ 1. การมีส่วนร่วมในรูปแบบของกลุ่มผลประโยชน์ เช่น สมัชชาคนจน 2. การมีส่วนร่วมในรูปแบบของพรรคการเมือง เป็นการรวมกลุ่มกันเพื่อไปทำหน้าที่ทั้งฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารในการรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม 3. การมีส่วนร่วมในรูปแบบของการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ถือเป็นรูปแบบที่สำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตย ซึ่งจะต้องมีลักษณะที่ลับ อิสระ และเสมอภาค ( วรทิพย์ มีมาก ชีวินทร์ ฉายาชวลิต,2547: 48)
2) หลักความเสมอภาค (Equality) ประชาธิปไตยถือว่า คนเราจะต้องมีความเสมอภาคกันทั้งในทางสังคม ทางเศรษฐกิจ และในทางการเมือง คือ ทุกคนย่อมมีสิทธิเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย ในการดำรงชีวิต การใช้เสรีภาพในการแสวงหาความสุข และการมีส่วนร่วมทางการเมือง (ทินพันธ์ นาคะตะ, 2541:186-187)ซึ่งความเสมอภาคถือเป็นอุดมการณ์พื้นฐานของประชาธิปไตย อันประกอบด้วย 1. ความเสมอภาคในความเป็นมนุษย์ ได้แก่ ศักดิ์ศรี เกียรติยศ และความสำคัญในคุณค่าของความเป็นมนุษย์ 2. ความเสมอภาคทางกฎหมาย ได้แก่ การที่บุคคลพึงมีสิทธิในการที่จะได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายโดยเสมอภาคกัน ค.ความเสมอภาคในโอกาส คือ บุคคลควรจะมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันในการดำรงชีวิตส่วนตัวของแต่ละบุคคล และ 3. ความเสมอภาคทางการเมือง คือ การที่จะมีสิทธิทางการเมืองโดยเสมอภาคโดยทั่วหน้า ทั้งในด้านการออกเสียงเลือกตั้ง การสมัครรับเลือกตั้งในตำแหน่งต่างๆ ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ (อานนท์ อาภาภิรม, 2545:119)
3) อิรภาพและเสรีภาพ (Freedom and Liberty)คือ โอกาสที่บุคคลเลือกปฏิบัติได้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนมากที่สุด โดยไม่ละเมิดประโยชน์ของผู้อื่น เสรีภาพจึงต้องมีขอบเขตและเหตุผล เสรีภาพที่เป็นพื้นฐาน ได้แก่ เสรีภาพที่เกี่ยวกับบุคคล จะต้องเป็นไปในลักษณะที่มีความรับผิดชอบ ดังนั้น ประชาชนที่มีและใช้เสรีภาพจึงต้องมีหน้าที่ด้วย เช่น บุคคลมีเสรีภาพในการที่จะรักษาชีวิตตนเอง และมีหน้าที่ในการรักษาชีวิตของผู้อื่น การมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และต้องเคารพชื่อเสียงของผู้อื่น เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง และมีหน้าที่เคารพความคิดเห็นของบุคคลอื่น (จรูญ สุภาพ, 2538:34)เสรีภาพจะช่วยให้มนุษย์ใช้ความสามารถได้อย่างเต็มที่ ก่อให้เกิดความเจริญในด้านต่างๆทำให้เกิดการคิดค้นและผลิตสิ่งใหม่ๆขึ้น
อุดมการณ์ประชาธิปไตยโดยส่วนใหญ่แล้วจะเน้นในหลักการ 4 ประการนี้ แต่ยังมีหลักการอื่นๆปลีกย่อยอีกมากมาย เช่น หลักการใช้เหตุผล หลักความยินยอม หลักนิติธรรม หลักศีลธรรม หลักการยอมรับเสียงส่วนใหญ่และเคารพเสียงส่วนน้อย เป็นต้น โดยสามารถสรุปลักษณะสำคัญของอุดมการณ์ประชาธิปไตย (โกวิท วงศ์สุรวัฒน์.มปป:73) ได้ดังนี้
1) ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย คือ การที่ประชาชนเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐ
2) ประชาชนทุกคนในรัฐมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันตามกฎหมาย ตลอดจนมีสิทธิเสรีภาพในขอบเขตของกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน
3) การดำเนินการต่างๆของรัฐถือเอาเสียงข้างมากเป็นเครื่องตัดสิน และเสียงส่วนน้อยในรัฐจะได้รับความคุ้มครองทางกฎหมาย เพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนส่วนใหญ่กดขี่ข่มเหงอย่างผิดกฎหมาย
4) กระบวนการของประชาธิปไตย วิธีการปกครองซึ่งได้รับความยินยอมพร้อมใจของประชาชนส่วนใหญ่ ซึ่งแสดงออกในรูปของการเลือกตั้ง การอภิปราย การออกเสียงประชามติ การเสนอร่างกฎหมายของประชาชนเป็นต้น
ลินคอร์น ได้กล่าวว่า ประชาธิปไตย คือ การปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน
ออสติน แรนนี ได้กล่าวว่า ประชาธิปไตย คือ เป็นรูปแบบการปกครอง ซึ่งเป็นหลักการของการให้อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน(popular sovereignty) ความเสมอภาคทางการเมือง(political equaltry) การปรึกษากับประชาชน (popular consulation) และการปกครองโดยเสียงส่วนมาก (majority rule)
ดังนั้นประชาธิปไตยจึงหมายถึง รูปแบบการปกครองที่ประชาชนสามารถเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองโดยเสรีภาพ ความเสมอภาค และความยุติธรรม เนื่องจากการปกครองในระบอบประชาธิปไตยการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ทรัพยากร ทั้งหมดภายใต้รัฐเป็นของประชาชน เพื่อประชาชน และโดยประชาชน
ด้วยเหตุนี้อุดมการณ์ทางการเมืองประชาธิปไตยทำให้เราเข้าใจ1.อำนาจ อธิปไตยเป็นของปวงชนทุกคน 2.หลักสิทธิเสรีภาพ 3.หลักความเสมอภาค 4.หลักการปกครองโดยกฎหมายหรือหลักนิติธรรม 5.หลักการมีเสียงข้างมาก ในการกำหนดทิศทางและเป้าหมายสูงสุดของระบบการเมือง ณ ปัจจุบัน ในขณะเดียวกันกลับไม่สามารถอธิบายสังคมอิสลามได้ทั้งหมด ข้อถกเถียงในกลุ่มนักวิชาการฝ่ายมุสลิมกับฝ่ายตะวันตก เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างอิสลามในฐานะของสัจธรรมและวิถีชีวิตกับอุดมการณ์ทางการเมืองประชาธิปไตย หลักการปกครองอิสลามมีความสอดคล้องกับประชาธิปไตย แต่ก็ไม่เหมือนกันในทุกประการกับหลักการพื้นฐานแห่งพุทธิปัญญาของประชาธิปไตยเสรี ดังที่เอนนายเอ็ด (Enayet) กล่าวว่า แท้จริงแล้วอิสลามได้แสดงความเดียดฉันท์ต่อ “อำนาจกดขี่โดยบุคคลหรือคณะผู้ปกครองใด ๆ” เช่นเดียวกันกับการที่ประชาธิปไตยปฏิเสธในอำนาจเผด็จการนั่นเอง
อิสลามยึดถือในหลักความเสมอภาคและหลักแห่งนิติธรรม ที่สำคัญอิสลามได้อาศัยหลักการที่เรียกว่า “ชูรอ” (หลักว่าด้วยการปรึกษาหารือ)และ “อิจมาอฺ” (หลักการว่าด้วยความเห็นพ้องกันของนักวิชาการมุสลิม) เพื่อบรรลุข้อที่ว่า รัฐบาลต้องไม่ปกครองโดยอาศัยเฉพาะกฎหมายที่บัญญัติเท่านั้น หากแต่ควรคำนึงถึงเจตนารมณ์ของผู้ที่อยู่ใต้การปกครอง ทั้งนี้ระบบการเมืองแบบอิสลามจึงถูกระบุว่าเป็นระบบการเมืองของสังคมที่มีตำแหน่งแห่งที่เฉพาะตัว ซึ่งแตกต่างไปจาการยอมรับของโลกตะวันตกสมัยใหม่ และสามารถจะตัดสินผลความสำเร็จได้ด้วยเนื้อหาและความหมายเฉพาะตัวเท่านั้น บรรดานักวิชาการมุสลิมต่างเห็นพ้องต้องการว่า“พระคัมภีร์อัลกุรอ่าน” (Al-quran)และซุนนะฮฺ(Sunnah) ต่างไม่ได้กำหนดถึงรูปแบบปกครอง และไม่ได้อรรถาธิบายถึงแนวทฤษฎีทางรัฐธรรมนูญใด ๆ ไว้อย่างเฉพาะเจาะจง ดังนั้นการเมืองแบบอิสลามจึงเป็นไปได้หลายรูปแบบวิธี ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับมุสลิมในยุคสมัยต่างๆ จะเลือกสรรตามเอาสมควรตามสถานการณ์
ข้าพเจ้าคิดว่ารายละเอียดจุดอ่อนของอุดมการณ์ประชาธิปไตยที่ไม่สามารถวิเคราะห์สังคมอิสลามได้อย่างถูกต้องมีดังนี้ ระบบการเมืองการปกครองที่ยึดมั่นในกรอบความคิดที่ต่างกันเกี่ยวกับเรื่องอำนาจอธิปไตยสูงสุด ความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับการเมือง รวมถึงกระบวนการตัดสินใจทางการเมือง กล่าวคือ ลักษณะเฉพาะอันโดดเด่นของประชาธิปไตยในตะวันตก เกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยสูงสุดที่มีนัยถึงอำนาจอันสมบูรณ์และเบ็ดเสร็จในตัวเองซึ่งหาได้สถิตอยู่ในขอบข่ายแห่งมวลมนุษยชาติ แต่อย่างใด ประเด็นดังกล่าวนี้ อาบูอะลา อัลเมาดูดี กล่าวว่า “นักปรัชญาการเมืองต่างก็พยายามที่จะมอบอำนาจอธิปไตยให้กับมนุษย์ ผู้ซึ่งไม่เคยได้ดั่งใจและไม่บังควร” สำหรับอิสลามนั้นรัฐธรรมนูญและกฎหมายใด ๆ ต่างต้อวางอยู่ภายใต้ “อัลลอฮฺ” พระผู้เป็นเจ้าซึ่งมีอำนาจอธิปไตยสูงสุด
จุดอ่อนของอุดมการณ์ประชาธิปไตยนั้น หากจะเปรียบเทียบระหว่างระบบการเมืองแบบประชาธิปไตยกับระบบการเมืองแบบอิสลามมาจากรากเหง้าในอภิปรัชญาที่ต่างกัน กล่าวคือ ฝ่ายหนึ่งตั้งอยู่บนวิถีโลก (secular) ดำเนินในวัตถุเหตุผลนิยม แต่อีกฝ่ายหนึ่งยึดมั่นอยู่กับ “เตาฮีด” อันเป็นวิถีแห่งสัจจะและความเป็นจริงเกี่ยวกับโลกจักรวาลและกาลเวลา รวมถึงประวัติศาสตร์และชะตากรรมของมนุษย์ แน่นอนว่าระบอบที่ตั้งอยู่บน “เตาฮีด” จึงต้องตอบสนองต่อผลประโยชน์เฉพาะหน้า และกระทั่งจิตวิญญาณของมวลมนุษยชาติทั้งหลายจากความหมายดังกล่าวข้างต้นนี้ทำให้ค้นพบว่า สิ่งที่เป็นจุดอ่อนของอุดมการณ์ประชาธิปไตยนั้นคือ อำนาจอธิปไตย เหตุที่ตอบเช่นนี้เพราะ ระบอบประชาธิปไตยให้อำนาจอธิปไตยซึ่งเป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองไว้ที่ประชาชน ซึ่งอำนาจอธิปไตย หมายถึง อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ เป็นอำนาจที่จะบังคับให้ประชาชนภายในรัฐปฏิบัติ หรืองดเว้นปฏิบัติ และยังใช้ในการอ้างสิทธิเพื่อป้องกันไม่ให้กลุ่มอำนาจอื่นเข้ามามีอำนาจเหนือพื้นที่ทีรัฐนั้นอ้างอำนาจอธิปไตยอยู่ (ณัชชาภัทร อุ่นตรงจิตร, 2548:40)ซึ่งเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับหลักการเชื่อมั่นของศาสนาอิสลาม เพราะอิสลามถือว่า สากลจักรวาลทั้งมวลรวมทั้งดวงดาวบนท้องฟ้า สิ่งถูกสร้างทั้งที่มีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิตต่างถูกสร้างขึ้นมาโดยอัลลอฮฺทั้งสิ้น (สุกรี หลังปูเต๊ะ, 2547/2548:1)
หลักฐานที่บ่งบอกถึงความเป็นเจ้าของทุกสิ่งทุกอย่างมีมากมาย เช่น อัลลอฮฺทรงตรัสในซูเราะฮฺอัลอะรอฟ : 54 ความว่า“แท้จริงพระเจ้าของพวกเจ้านั่นคือ อัลลอฮฺ ผู้ทรงสร้างบรรดาชั้นฟ้า และแผ่นดินภายในหกวัน แล้วทรงสถิตอยู่บนบันลังก์ พระองค์ทรงให้กลางคืนครอบคลุมกลางวันในสภาพที่กลางคืนไล่ตามกลางวันโดยเร็ว และทรงสร้างดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ และบรรดาดวงดาวขึ้น โดยถูกกำหนดให้ทำหน้าที่บริการตามบัญชาของพระองค์ พึงรู้เถิดว่า การสร้างและกิจการทั้งทั้งหลายนั้นเป็นสิทธิของพระองค์เท่านั้น มหาบริสุทธิ์อัลลอฮฺนั้นเป็นพระเจ้าแห่งสากลโลก”
ซูเราะฮฺอัรเราะมาน : 1-4 ความว่า“ผู้ทรงกรุณาปราณี พระองค์ทรงสอนอัลกุรอาน พระองค์ทรงสร้างมนุษย์ พระองค์ทรงสอนเขาให้เปร่งเสียงพูด ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์โคจรตามวิถีแน่นอน และผักหญ้าและต้นไม้”
ซูเราะอัลฟุรกอน : 2 ความว่า“สำหรับพระองค์เป็นผู้ครอบครองบรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดิน และพระองค์จะไม่ตั้งผู้ใดเป็นพระบุตร และสำหรับพระองค์นั้นไม่มีหุ้นส่วนร่วมกับพระองค์ในการครองอำนาจ และพระองค์ให้บังเกิดทุกสิ่ง แล้วทรงกำหนดมันให้เป็นไปตามกฎสภาวะ”
อัลลอฮฺเป็นผู้สร้าง และประทานริซกีแก่มัคลูก ( สิ่งถูกสร้าง) ของพระองค์ทั้งมวล ดังพระองค์ตรัสไว้ในซูเราะฮฺอัซซาริยาต: 58 ความว่า“แท้จริงอัลลอฮฺคือผู้ประทานปัจจัยยังชีพอันมากมาย ผู้ทรงพลัง ผู้ทรงมั่นคง”
อัลลอฮฺ คือ ผู้ทรงรอบรู้ในกิจการงานที่พระองค์ทรงสร้างมาจึงได้กำหนดกรอบและหนทางดำเนินชีวิตไว้แก่มนุษย์ในเชิงนโยบาย และพระองค์ก็ได้กำหนดไว้เป็นวาญิบ ( สิ่งจำเป็น)เพื่อให้มนุษย์ได้ดำเนินชีวิตไปในแนวทางที่พระองค์ได้กำหนดไว้ การให้เอกภาพต่ออัลลอฮฺเป็นหลักการหนึ่งในแนวคิดการเมืองการปกครองในอิสลาม หมายถึง มุสลิมต้องเชื่อว่าอัลลอฮฺเพียงองค์เดียวที่มีสิทธิในการวางกฎระเบียบต่างๆให้มนุษย์ปฏิบัติตาม ไม่มีผู้ใดมีอภิสิทธิ์ในการตัดสินร่วมกับพระองค์ เป็นแนวคิดที่ปฏิเสธการเคารพบูชามนุษย์ด้วยกัน เพราะไม่มีสิ่งใดที่สมควรแก่เคารพบูชานอกจากอัลลอฮฺเท่านั้น ( มัสลัน มาหะมะ,2551:103) ปรัชญาด้านการเมืองของอัล-กุรอานขึ้นอยู่กับแนวคิดพื้นฐานของจักรวาล ความคิดด้านการเมืองมีจุดสำคัญ 4 ประการ คือ 1. พระเจ้าคือผู้สร้างจักรวาลทั้งหมดรวมทั้งมนุษย์และสิ่งต่างๆ ที่เขาใช้และควบคุมไว้ในกิจการงานของเขา 2. พระเจาคือผู้ปกครองแต่พระองค์เดียว และเป็นผู้ปกครองสิ่งถูกสร้างของพระองค์ 3.อำนาจอธิปไตยในจักรวาลนี้มิได้มีอยู่ในผู้ใดนอกจากพระเจ้า และไม่มีผู้ใดมีสิทธิ์ใดๆ ที่จะปันอำนาจอธิปไตยกับพระองค์ และ 4. คุณลักษณะและพลังอำนาจแห่งอำนาจอธิปไตยทั้งหมดเป็นสิทธิพิเศษของพระองค์ อำนาจของพระองค์เป็นอำนาจสูงสุด ซึ่งอำนาจและคุณลักษณะของอำนาจอธิปไตยนี้มีอยู่ในพระเจ้าแต่พระองค์เดียว ( อิมรอน มะลูลีม และคณะ, 2550:217)
อำนาจอธิปไตยหรืออำนาจสูงสุดเป็นเอกสิทธิของอัลลอฮฺ ซึ่งเป็นหนึ่งในคุณลักษณะการเป็นพระเจ้าในลักษณะของฮุลูฮียะฮฺ ที่แสดงถึงการครอบครองสิทธิที่สมบูรณ์ และไม่มีสิ่งใดที่มีศักยภาพพอที่จ้างการครอบครองสิทธิดังกล่าว และคำกล่าวที่ว่า “ไม่มีสิ่งที่ถูกกราบไหว้ใดนอกจากอัลลอฮฺ” เป็นการตอกย้ำว่า อำนาจอธิปไตยนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺแต่เพียงผู้เดียว (สุกรี หลังปูเต๊ะ, 2547/2548:5) ฉะนั้น การบริหารการปกครองในอิสลามคือ การยอมรับอัลลอฮฺในฐานะผู้มีอำนาจสูงสุด ผู้ทรงกำสิทธิและเอกสิทธิอันสมบูรณ์ของอำนาจนี้ และเป็นสิ่งจำเป็น แก่มุสลิมทุกคนที่จะต้องยอมรับและมีความมั่นใจในหลักการนี้โดยดุษฎี และผู้ใดปฏิเสธหลักการนี้ถือว่า เป็นผู้ปฏิเสธ
การให้อำนาจอธิปไตยเป็นอำนาจสูงสุดอยู่ที่ประชาชน ตามคำปราศรัยของอับราฮัม ลินคอล์น ที่ว่า จากประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน จึงกลายเป็นจุดอ่อนที่ไม่สามารถวิเคราะห์สังคมอิสลามได้อย่างถูกต้อง ขัดต่อหลักการของศาสนาอิสลาม เพราะอิสลามให้อำนาจอธิปไตยเป็นกรรมสิทธิของอัลลอฮฺแต่เพียงผู้เดียว
อิสลามมิได้ต่อต้านระบบประชาธิปไตยแต่สิ่งที่มุสลิมต้องการคือสังคมที่เป็น อิสระที่ดำเนินชีวิตภายใต้กรอบกฎระเบียบและข้อบัญญัติทางชะรีอะฮฺที่มีความ สอดคล้องกับค่านิยมของประชาธิปไตยในเรื่อง ความมีอิสรภาพ สิทธิมนุษยชน ความยุติธรรม ความก้าวหน้า และความเจริญรุ่งเรือง
3.การจัดระเบียบโลกใหม่ โดยใช้กระบวนการโลกาภิวัตน์จนทำให้กระแสโลกาภิวัตน์ได้พัฒนาเข้าใกล้กับการเป็นอุดมการณ์ทางการเมืองร่วมสมัย จงอธิบายถึงกระบวนการ บทบาท และรายละเอียดต่าง ๆ ของกระแสโลกาภิวัตน์ที่ใช้กันอยู่ในโลกปัจจุบัน
โลกปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงไปสู่การเป็นคลื่นลูกที่สาม แต่คลื่นลูกเดิมๆก็ยังพบได้ในภูมิภาคต่างๆทั่วโลก ซ้อนทับกันไป ซึ่งคลื่นแต่ละลูกมีลักษณะดังนี้ (โกวิท วงศ์สุรวัฒน์, มปป: 156-157)
คลื่นลูกที่ 1 ก่อตัวขึ้นประมาณ 8000 ก่อนคริสตกาล เมื่อมีการปฏิรูประบบเกษตรกรรมจากการเร่รอน เก็บของป่า ล่าสัตว์ มาเป็นรูปแบบการำรงชีวิตและการเพาะปลูกอยู่กับที่ เลี้ยงสัตว์ มีที่ดินเป็นปัจจัยสำคัญ กลายเป็นอารยธรรมทางเกษตรกรรม มีชนชั้นเจ้านาย กษัตริย์ ผู้ใต้ปกครอง เมื่อเกิดความขัดแย้งจะใช้กำลังเข้าประจันหน้ากัน อาวุธที่ดีที่สุดคือ ธนู หอก ดาบ เป็นต้น คลื่นลูกที่ 2 ก่อตัวขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1650-1750 ในอังกฤษ เมื่อมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมในปี ค.ศ. 1760 โดยมีการประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำมาใช้ในการผลิต ทำให้เกิดเมืองขนาดใหญ่ ระบบการผลิตมวลรวมขนาดใหญ่ สังคมเกษตรกรรมเริ่มหดตัวลง ปัจจัยด้านเงินทุน เครื่องจักร และแรงงานมีความสำคัญ เกิดอุดมการณ์เสรีนิยม และคอมมิวนิสต์ ความขัดแย้งในยุคนี้จะมีความซับซ้อนขึ้น คือ มีแนวคิดการรบเพื่อชาติ อาวุธที่ใช้มีประสิทธิภาพสูง เช่น ปืนกล เครื่องบินรบ ระเบิดนิวเคลียร์ เป็นต้น คลื่นลูกที่ 3 เกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1955 ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีขนาดเล็ก และมีประสิทธิภาพในการทำงานสูง ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเข้ามามีบทบาทในสังคมแทบทุกด้าน มีการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้โลกกลายเป็นโลกไร้พรมแดน การคมนาคมก็มีการสร้างเครื่องบินไอพ่นที่สามารถทำให้การเดินทางได้รวดเร็วขึ้น เกิดระบบสังคมที่มีการเลียนแบบทางวัฒนธรรม เกิดการแข่งขันระดับโลก ปัจจัยด้านนามธรรม เช่น ข่าวสาร ความรู้ วัฒนธรรม มีความสำคัญยิ่งขึ้น ความขัดแย้งระหว่างประเทศมีความซับซ้อนขึ้น เพราะการคมนาคมสามารถทำได้สะดวกรวดเร็ว มีอาวุธเคมีชีวภาพ ดาวเทียม กองทัพมีประสิทธิภาพสูงขึ้น สงครามจะแฝงตัวอยู่ในรูปของการแข่งขันทางเศรษฐกิจ โลกาภิวัตน์ (Globalization) คือ ผลจากการพัฒนาการติดต่อสื่อสาร การคมนาคมขนส่ง และเทคโนโลยีสารสนเทศ อันแสดงให้เห็นถึงการเจริญเติบโตของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี และวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงระหว่างปัจเจกบุคคล ชุมชน หน่วยธุรกิจ และรัฐบาล ทั่วทั้งโลก ผลกระทบของโลกาภิวัตน์ เป็นที่ยอมรับกันว่าโลกาภิวัตน์เป็นสิ่งที่ดี เพราะทำให้เศรษฐกิจโดยรวมของโลก ขยายตัวเร็วขึ้น และประชาชนส่วนใหญ่มีความเป็นอยู่ดีขึ้น โลกาภิวัตน์เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ รัฐบาลของทุกประเทศ จึงจำเป็นต้องใช้ ความรอบคอบมากขึ้นในการเลือกนำส่วนดีของโลกภิวัตน์มาใช้ โดยเฉพาะประเทศด้อยพัฒนา ซึ่งมีคนยากจนจำนวนมากอยู่แล้ว และความผิดพลาดจะสร้างความเดือดร้อนแสนสาหัสให้พวกเขายิ่งขึ้น จนนำไปสู่ความแตกแยกรุนแรงในสังคม โลกาภิวัตน์มีผลกระทบต่อโลกในหลายด้าน ดังนี้
1) การเมือง การเมืองโลกาภิวัตน์ หมายถึง การสร้างสรรค์รัฐบาลโลกที่จะทำหน้าที่กำกับดูแลความสัมพันธ์ระหว่างชาติ และให้หลักประกันสิทธิที่เกิดจากสังคมและเศรษฐกิจของโลกาภิวัตน์ ในทางการเมือง สหรัฐฯ ได้รับประโยชน์จากการครองอำนาจในโลกในหมู่ชาติมหาอำนาจ ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและความมั่งคั่งของประเทศ ด้วยอิทธิพลของโลกาภิวัตน์
2) การเงิน การปรากฏขึ้นของตลาดการเงินทั่วโลกและการเข้าถึงเงินลงทุนจากแหล่งภายนอกที่ง่ายและสะดวกขึ้นของบริษัทต่างๆ ประเทศและรัฐต่ำกว่าประเทศที่ประสงค์ของกู้ยืม
3) เศรษฐกิจ การยอมรับตลาดร่วมของโลกบนพื้นฐานแห่งเสรีภาพในการแลกเปลี่ยนสินค้าและทุน
4) อุตสาหกรรม การปรากฏของตลาดการผลิตที่เกิดขึ้นทั่วโลก และช่องทางเข้าถึงผลิตภัณฑ์ต่างประเทศที่กว้างขึ้นสำหรับผู้บริโภคและบริษัท
5) การข้อมูลข่าวสาร มีการเพิ่มการไหลบ่าของข้อมูลข่าวสารระหว่างพื้นหรือภูมิภาคที่อยู่ห่างไกลกันมาก
6) นิเวศวิทยา การปรากฏขึ้นของความท้าทายในปัญหาสภาวะแวดล้อมในระดับโลกที่ไม่สามารถแก้ปัญหาได้โดยปราศจากความร่วมระดับนานาชาติ เช่นปัญหา “การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ” มลภาวะทางน้ำและอากาศที่ครอบคลุมหลายเขตประเทศ การทำประมงเกินขีดความสามารถในการรองรับ การกระจายของพันธุ์พืชและสัตว์ที่ไม่พึงประสงค์ การสร้างโรงงานเป็นจำนวนมากในประเทศกำลังพัฒนาที่ก่อมลภาวะได้อย่างเสรี
7) วัฒนธรรม การเจริญเติบโตของการติดต่อสัมพันธ์ข้ามวัฒนธรรม เกิดมีประเภทใหม่ๆ ในด้านความสำนึกและเอกลักษณ์ เช่น โลกาภิวัตน์นิยม ซึ่งครอบคลุมการแพร่กระจายทางวัฒนธรรมและการได้บริโภคผลิตภัณฑ์และความคิดจากต่างประเทศ การรับเทคโนโลยีใหม่มาใช้และการเข้าร่วมใน “วัฒนธรรมโลก”
8) สังคม ความสำเร็จในการบอกรับข่าวสารโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายสำหรับประชาชนของทุกชาติในโลก
9) การขนส่ง การลดจำนวนลงไปเรื่อยๆ ของรถยุโรปในถนนของยุโรป และการสิ้นปัญหาเรื่องระยะทางที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีต่างๆ มาช่วยลดเวลาการเดินทาง แม่แบบ: Clarifyme
10) ด้านเทคนิค/ กฎหมาย เช่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของระบบการติดต่อสื่อสารระดับโลก และการเพิ่มการเคลื่อนไหลของข้อมูลข่าวสารข้ามพรมแดนที่ใช้เทคโนโลยี เช่น อินเทอร์เน็ต ดาวเทียมสื่อสาร เคเบิลใยแก้วใต้น้ำ และโทรศัพท์มือถือ การเพิ่มจำนวนของมาตรฐานที่นำออกใช้ทั่วโลก เช่น กฎหมายลิขสิทธิ์ การจดทะเบียนลิขสิทธิ์ และการตกลงทางการค้าโลก และการผลักดันโดยผู้สนับสนุนให้มีศาลอาญานานาชาติ
11) การตระหนักด้านเพศ โลกาภิวัตน์มีความหมายในปฏิสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมระหว่างประเทศต่างๆ หลายประเทศ โลกาภิวัตน์อาจส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านความเสมอภาคทางเพศ นำไปสู่ความไม่เสมอภาคของสตรีเพศ ที่เป็นอยู่ในหลายประเทศทั่วโลก
12) การแลกเปลี่ยนที่มากขึ้นของวัฒนธรรมสากล การขยายตัวของ “อเนกวัฒนธรรมนิยม” และการเข้าถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่ง่ายขึ้นสำหรับปัจเจกบุคคล เช่นการส่งออกภาพยนตร์ของฮอลลีวูดและบอลลีวูด หรืออุตสาหกรรมภาพยนตร์ของอินเดีย ซึ่งการนำเข้าวัฒนธรรมอาจทำให้เกิดการกลืนทางวัฒนธรรมท้องถิ่นได้ง่าย มีผลให้ความหลากหลายทางวัฒนธรรมมีน้อยลง จากการผสมผสานระหว่างกันเกิดเป็นวัฒนธรรมพันธุ์ทาง หรืออาจถูกกลืนโดยการค่อยๆ รับวัฒนธรรมใหม่มาใช้โดยสิ้นเชิง ได้แก่ การรับวัฒนธรรมตะวันตก การรับวัฒนธรรมจีน
โลกาภิวัตน์เป็นเสมือนเป็นดาบสองคม การเข้ามามีอิทธิพลของกระแสโลกาภิวัตน์มีทั้งผู้ที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย ซึ่งผู้ที่เห็นด้วยจะกล่าวว่า โลกาภิวัตน์ช่วยลดอัตราความยากจนของประชาชนในหลายประเทศ เพิ่มความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจรวมทั้งโอกาส โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา ได้ช่วยส่งเสริมให้เสรีภาพของพลเมืองดีขึ้นและนำไปสู่การกระจายทรัพยากรที่ดีขึ้น ทุกประเทศได้รับประโยชน์จากการค้า ทำให้ราคาสินค้าลดลง มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ผลผลิตสูงขึ้นและมาตรฐานการดำรงชีวิตในประเทศกำลังพัฒนาดีขึ้น ส่วนผู้ที่คัดค้านมองว่า เป็นการทำความเสียหายแก่มนุษย์ เช่นการเพิ่มความยากจน สร้างความไม่เท่าเทียม เพิ่มการสมรสกับคนต่างผิว ความ อยุติธรรมและการผุกร่อนของวัฒนธรรม ดังจะเห็นได้จากประเทศไทยเองที่รับเอาวัฒนธรรมของโลกกาภิวัตน์เข้ามา ทำให้เกิดแนวคิดท้องถิ่นนิยม เกิดการต่อตานวัฒนธรรมตะวันตกจากคนในท้องถิ่น มีการพลิกฟื้นภูมิปัญญาท้องถิ่นมากขึ้น
4.อุดมการณ์ทางการเมือง (Political Ideology) ถูกนำมาใช้ในการสร้างความชอบธรรมของระบบการเมืองหนึ่งและก็ถูกนำไปใช้ในการทำลายความชอบธรรมของระบบการเมืองอื่นเช่นเดียวกัน จากข้อมูลดังกล่าวนี้ให้นักศึกษาเปรียบเทียบกับกรณีความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศระหว่างกลุ่มการเมืองที่ใช้สีเสื้อเป็นสัญลักษณ์บ่งบอกถึงความแตกต่างทางอุดมการณ์การเมืองแล้วจงอธิบายรายละเอียดของกระบวนการสร้างความชอบธรรมและกระบวนการการทำลายความชอบธรรมของแต่ละฝ่าย
กรณีความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศไทยระหว่างกลุ่มการเมืองที่ใช้สีเสื้อเป็นสัญลักษณ์บ่งบอกถึงความแตกต่างทางอุดมการณ์การเมืองขอยกประเด็นบางส่วนอุดมการณ์ทางการเมือง เป็นความคิดเริ่มต้นมาจากมนุษย์มีความเชื่อว่าสิ่งต่างๆ จะดีกว่าที่เป็นอยู่ อุดมการณ์เป็นพื้นฐานของการปรับปรุงสังคม การพูดถึงภาพของสังคมที่ดี และวิธีการหลักๆ ในการสร้างสังคมดังกล่าว คือ อุดมการณ์ ซึ่งผู้ที่ยึดมั่นอุดมการณ์จะเชื่อว่า หากทำตามนั้นแล้ว สิ่งต่างๆจะดีกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน หรือเป็นการสร้างจินตนภาพของโลกอันสมบูรณ์ อุดมการณ์ทางการเมืองไม่สามารถทำความเข้าใจระบบการเมืองได้อย่างมีเหตุผล แต่เป็นความผูกพันต่อการเปลี่ยนแปลงการเมือง ซึ่งมาร์กซ์มองว่า อุดมการณ์เป็นทั้งวิธีการหาเหตุผล การหลอกลวงผู้อื่นและหลอกลวงตนเอง เพื่อไม่ให้เข้าใจสังคมและเศรษฐกิจที่เป็นอยู่จริง (เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ, 2549: 109)
สถานการณ์ด้านการเมืองของประเทศไทยในปัจจุบัน เป็นอีกเหตุการณ์หนึ่งที่ได้มีการนำอุดมการณ์ทางการเมืองมาเป็นเครื่องมือในการสร้างความชอบธรรม และการทำลายความชอบธรรมของแต่ละฝ่าย โดยนำสีเสื้อมาเป็นสัญลักษณ์ในการต่อสู้ คือกลุ่มเสื้อเหลือง อันหมายถึง กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และกลุ่มเสื้อแดง หมายถึง กลุ่มแนวร่วมประชาชนต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ซึ่งแต่ละฝ่ายต่างมีอุดมการณ์ คือ
1. กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (People's Alliance for Democracy: PAD) เป็นกลุ่มการเคลื่อนไหวทางการเมืองในประเทศไทยช่วง พ.ศ. 2548 - 2551 โดยเป็นการรวมตัวจากหลายองค์กร จากสื่อมวลชน นักวิชาการ ศิลปิน รวมถึงองค์กรอิสระจากภูมิภาคทั่วประเทศ โดยมีจุดประสงค์ในการขับไล่นายกรัฐมนตรีประเทศไทยสามคนออกจากตำแหน่ง ได้แก่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร, นายสมัคร สุนทรเวช และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เริ่มต้นจากเหตุการณ์ขับไล่ นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรจากคำอ้างที่ว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนกับธุรกิจส่วนตัว รวมไปถึงทฤษฎีสมคบคิดเรื่องแผนฟินแลนด์ [สารานุกรมเสรี.n.d.http://www.th.Wikipedia. org/wiki/พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย - 395k – (10/3/2552)]
สาเหตุที่นำมาสู่การชุมนุม
1.1 ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน ที่รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เคยทำเอาไว้ เช่น การใช้ความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ประชาชนในพื้นที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม นำไปสู่ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย นโยบายการปราบปรามยาเสพติดแบบฆ่าตัดตอน เป็นต้น
1.2 เมื่อพรรคพลังประชาชนได้รับเลือกตั้งเข้ามาเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาอย่างชัดเจนว่า จะต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 237 และ มาตรา 309 ทำให้ทางกลุ่มพันธมิตรฯ เกิดความเคลือบแคลงสงสัยว่าจะเป็นการช่วยให้ ทักษิณ ชินวัตร พ้นผิดจากคดีทุจริตต่างๆ จึงแสดงท่าทีคัดค้านอย่างชัดเจน
1.3 ปัญหาการทุจริตต่างๆ เช่น สนามบินสุวรรณภูมิ บ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน เมกะโปรเจ็กต์ กล้ายาง ลำไย เป็นต้น
1.4 คณะกรรมการการเลือกตั้ง มีมติตัดสินให้ นายยงยุทธ ติยะไพรัช ได้ใบแดงเนื่องมาจากการซื้อเสียง มีโทษสูงสุดคือยุบพรรคและตัดสิทธิ์ทางการเมืองของกรรมการบริหารพรรค 5 ปี
1.5 ภายหลังจากที่พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร เดินทางกลับมายังประเทศไทยในปีดังกล่าว ซึ่งพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้นัดชุมนุมกันอีกครั้ง ให้เหตุผลว่าคำสั่งโยกย้ายอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา อาจเป็นการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมของฝ่ายบริหาร เพื่อเอามาช่วยให้พรรคพวกของตนทำอะไรก็ได้ตามใจชอบ เพื่อผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง เพื่อเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องดำเนินคดีกับพันตำรวจโททักษิณในฐานะผู้ต้องหาตามหมายจับโดยยึดหลักปฏิบัติเดียวกันกับคุณหญิงพจมาน ชินวัตรที่กลับมายังประเทศไทยก่อนหน้านี้ ทั้งนี้ ยืนยันว่าจะไม่มีการใช้ความรุนแรงในระหว่างการชุมนุมครั้งนี้และ
1.6 เรียกร้องให้รัฐบาลปราบปรามขบวนการล้มล้างทั้งสถาบันพระมหากษัตริย์
อุดมการณ์กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
จากการศึกษาอุดมการณ์ทางการเมืองของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พบว่า กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยมีอุดมการณ์ที่เน้นไปทางอนุรักษ์นิยม คือ การรักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสน์ กษัตริย์ โดยต้องหวงแหนไว้มากกว่าสิ่งใดทั้งหมด เพราะพวกอนุรักษ์นิยมจะเชื่อในหลักกฎหมายและสถาบันซึ่งมีรากฐานมายาวนานและมั่นคง โดยอุดมการณ์ของกลุ่มพันธมิตรที่เห็นได้ชัดเจน ดังนี้
1.2.1 เชิดชูสถาบัน มีเป้าหมายคือ ปกป้องเทิดทูนราชวงศ์จักรีให้เข้มแข็งและปลอดภัย เนื่องจากพระมหากษัตริย์ทรงทศพิศราชธรรม
1.2.2 ล้มระบอบทุนนิยมสามานย์ เช่น ระบอบทักษิณ และสนับสนุนให้คนดีมาปกครองบ้านเมือง ป้องกันไม่ให้คนไม่ดีมีอำนาจ เพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคมทุกภาคส่วน ทั้งในด้าน เศรษฐกิจ การเมือง และสังคม พร้อมสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงอำนาจทางการเมืองในปัจจุบัน บนเงื่อนไขที่จะต้องปฏิรูปการเมืองโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง
1.2.3 ต้องการการเมืองใหม่ที่ประชาชนมีส่วนร่วม หมายถึงการเมืองที่เอาประชาชนเป็นศูนย์กลาง ลดอำนาจหน้าที่ของตัวแทนหรือผู้แทนลง เพิ่มบทบาทและอำนาจให้กับประชาชนมากขึ้น โดยให้หลักประกันว่าประชาชนทุกสาขาอาชีพ ทุกชนชั้นจะเข้าถึงอำนาจในการตัดสินใจ หรือกำหนดทิศทางในการพัฒนาประเทศอย่างเป็นรูปธรรม ไม่ว่าจะเป็นชาวไร่ ชาวนา กรรมกรผู้ใช้แรงงาน คนจนในเมือง คนจนในชนบท ชนเผ่าชายขอบ พ่อค้าวาณิชย์ นักธุรกิจชนชั้นกลาง ผู้หญิง คนพิการ คนด้อยโอกาสทางสังคม เป็นต้น [สุริยะใส กตะศิลา.2551. “การเมืองใหม่” ภายใต้การต่อสู้ของพันธมิตรฯ
สุริยะใส กตะศิลา http://www.oknation.net/blog/print.php?id=277372 (13/3/2552)]
2. แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ
แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (ชื่อย่อ: นปช.) หรือเดิม แนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ(ชื่อย่อ: นปก.) เป็นการรวมตัวของกลุ่มผู้ต่อต้านการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 และกลุ่มผู้สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย สมาชิกบางส่วนประกอบด้วย กลุ่มพีทีวี แนวร่วมประชาชนต้านรัฐประหาร (นปตร.) นางประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ อดีต ส.ว. กรุงเทพฯ นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ผู้ประสานงานพันธมิตรสหภาพแรงงานประชาธิปไตย [สารานุกรมเสรี.n.d แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ,http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%8A (10/3/2552)]
เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้อง
2.1 เหตุการณ์รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549
2.2 เหตุการณ์ตำรวจปราบจลาจล สลายม็อบ นปก. หน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
2.3 ครอบครัวความจริงวันนี้สัญจร ครั้งที่ 1 จัดขึ้นที่อาคารธันเดอร์โดม ภายในเมืองทองธานี 11 ตุลาคม พ.ศ. 2551
2.4 ครอบครัวความจริงวันนี้สัญจร ครั้งที่ 2 จัดขึ้นที่ราชมังคลากีฬาสถาน ภายในสนามกีฬาหัวหมาก 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 เวลา 17.00-23.00 น.
2.5 ครอบครัวความจริงวันนี้สัญจรพิเศษ จัดขึ้นที่วัดสวนแก้ว จังหวัดนนทบุรี 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 เวลา 13.00-17.00 น.
2.6 ครอบครัวความจริงวันนี้สัญจร ครั้งที่ 3 จัดขึ้นที่สนามศุภชลาศัย 1 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เวลา 15.00-22.00 น.
2.7 ครอบครัวความจริงวันนี้สัญจร ครั้งที่ 4 จัดขึ้นที่ท้องสนามหลวง 28-30 ธันวาคม พ.ศ. 2551
อุดมการณ์ทางการเมืองของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ
กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการเชื่อว่า สีแดง เป็นขบวนการต่อสู้ใหม่ ตามทฤษฎีวิทยาศาสตร์สังคม มีอุดการณ์เพื่อสนับสนุนทักษิณ ซึ่งเป็นเรื่องของบุคคล เอกชน นายทุนผูกขาดผู้หนึ่ง ซึ่งเป็นเพียงอุดมการณ์ทุนนิยมเท่านั้น [เมธา มาสขาว.n.d.อุดมการณ์ทางการเมืองของคนเสื้อแดงคืออะไร,http://www.oknation.net/blog/print.php?id=392259 (10/3/2552)] การแสดง ออกทางการเมืองของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการมีเป้าหมายที่สำคัญ ดังนี้
2.2.1 รักสถาบัน
2.2.2 ต้องการทักษิณ คือ ไม่ยอมรับการทำงานของรัฐบาลที่มีพรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำ เนื่องจากการได้มาซึ่งอำนาจของพรรคประชาธิปัตย์ไม่เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทัพและข้าราชการประจำ ซึ่งถือเป็นการละเมิดอำนาจการตัดสินใจของประชาชน
2.2.3 ต้องการประชาธิปไตยแบบทุนนิยมทักษิณ คือ ต้องต่อยอดนโยบายจากไทยรักไทย ก้าวไปสู่การสร้างรัฐสวัสดิการที่ถ้วนหน้าและครบวงจร มีการเก็บภาษีก้าวหน้าจากคนรวย เพื่อให้คนไทยมีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน
3.กระบวนการสร้างความชอบธรรมและทำลายความชอบทำของทั้งสองฝ่าย
3.1 พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้นำอุดมการณ์อนุรักษ์นิยมมาเป็นธงนำในการสร้างความชอบธรรมให้กับกลุ่มตน ซึ่งเชื่อว่าในสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันของการเมืองไทย การแก้ปัญหาที่ยั่งยืนนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมี การเมืองใหม่ ในราชอาณาจักรไทย ซึ่งเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขอย่างแท้จริง โดยมีเป้าหมาย เพื่อปกป้องเทิดทูนราชวงศ์จักรีให้เข้มแข็งและปลอดภัย เนื่องจากพระมหากษัตริย์ทรงทศพิศราชธรรม ทำให้ได้รับความสนใจจากประชาชน และกลุ่มองค์กรต่างๆมากมาย เนื่องจากคนไทยส่วนใหญ่ จะให้ความสำคัญต่อสถาบันเป็นอย่างมาก เพราะเป็นเสมือนร่มโพธิ์ร่มไทร เป็นที่ยึดเหนี่ยวและเป็นที่พึ่งทางจิตใจของคนไทยทุกคน
ในด้านการทำลายความชอบธรรมนั้น ดังที่กล่าวมาแล้วว่า กลุ่มพันธมิตรฯ ได้นำสถาบันมาเกี่ยวข้อง เป็นธงนำ ฉะนั้นกลุ่มองค์กร หรือพรรคการเมืองใดที่ไม่แสดงออกถึงการให้ความเคารพต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ถือว่า เป็นแกะดำของสังคม จะต้องได้รับการประณามจากสังคม
3.2 แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ได้นำอุดมการณ์ทุนนิยมมาเป็นธงนำ โดยจะใช้นโยบายประชานิยม หรือการให้ความสำคัญกับรากหญ้า สนับสนุนนักธุรกิจในการลงทุน และกล่าวหากระบวนยุติธรรม และชนชั้นสูงว่ากลั่นแกล้งตนเองและครอบครัว รวมทั้งยังกล่าวหา ว่ากระบวนการยุติธรรมของไทยเป็นกระบวนการยุติธรรมที่ไม่ยุติธรรม
ในด้านการทำลายความชอบธรรมนั้น แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ เห็นว่า การบริหาร การปกครองบ้านเมืองของรัฐบาลปัจจุบันเป็นการบริหารที่ผิดพลาด และยังอ้างว่าการได้มาของรัฐบาลนั้น ได้มาอย่างไม่ถูกต้องตามกระบวนการ การปกครองตามหลักการประชาธิปไตย จึงจำเป็นที่จะต้องให้มีการเลือกตั้งใหม่ เพื่อให้ได้มาซึ่งรัฐบาลที่ถูกต้องเข้ามาบริหารและปกครองประเทศ
อย่างไรก็ดี จากกระบวนการสร้างความชอบธรรมและกระบวนการทำลายความชอบธรรมของทั้งฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ ต่างมีรูปแบบและวิธีการในการถ่ายทอด หรือเผยแพร่อุดมการณ์ของตนไปยังประชาชนเพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ในลักษณะที่เหมือนกัน คือ การพยายามสร้างภาพ สร้างสถานการณ์ให้ปรากฏต่อสื่อสารมวลชน และพยายามงัดกลเม็ดออกมาเพื่อจูงใจให้ประชาชนเลือกข้างให้ชัดเจน เพื่อต่างฝ่ายต่างจะได้มีมวลชนที่เพิ่มมากขึ้น
กระบวนการสร้างความชอบธรรมและกระบวนการการทำลายความชอบธรรมของแต่ละฝ่ายการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อแดง หรือ นปช.นั้นไม่ต่างกับการเคลื่อนไหวของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย คือ มีการพยายามอธิบายว่า พันธมิตรฯ เคลื่อนไหวคัดค้านรัฐบาลพรรคพลัง(พรรคเพื่อไทย)ประชาชนจะอย่างไรก็ตามกลุ่มเสื้อแดงก็เคลื่อนไหวแบบนั้นกับพรรคประชาธิปัตย์ แน่นอนว่า การเคลื่อนไหวของพันธมิตรฯ ในอดีตและกลุ่มเสื้อแดงในปัจจุบัน ถ้าหากมองผิวเผินและอาจดูเหมือนจะคล้ายๆ กัน แต่ถ้าดูให้ลึกลงไปจะเห็นว่า มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงไม่ได้แตกต่างกันในแง่ที่ว่า ฝ่ายหนึ่งใส่เสื้อเหลือง ฝ่ายหนึ่งใส่เสื้อแดง ไม่ได้แตกต่างกันในแง่ปริมาณแต่แตกต่างกันในในทางคุณภาพและเหตุผลที่ทั้งสองฝ่ายแสดงออกมาเพื่องัดทีเด็ดและจุดเด่นเพื่อชับชนะ www.udon.com/board/index.php?topic=6392.msg114549
สำหรับการเคลื่อนไหวของกลุ่มเสื้อแดงสามารถทำได้ตามสิทธิเสรีภาพและกรอบของรัฐธรรมนูญอย่างที่พันธมิตรฯ นำมาอ้างในการชุมนุม แต่การแสดงออกในการชุมนุม และเหตุผลที่ใช้ชุมนุมจะตัดสินว่า การชุมนุมของฝ่ายเสื้อแดงนั้นมีความชอบธรรมหรือไม่ ถ้ารัฐบาลพรรคพลังประชาชนปัจจุบันคือพรรคเพื่อไทยที่มาจากการเลือกตั้งไม่ได้ใช้อำนาจในทางมิชอบ พันธมิตรฯ ก็คงจะไม่ประกาศฟื้นตัวกลับเข้ามาอีก และถึงประกาศฟื้นตัว ก็คงจะไม่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนจำนวนมากเช่นนี้ การเคลื่อนไหวของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจึงมีเหตุและผลในตัวของมันเอง แต่การเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อแดงต่อรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์นั้นเกิดขึ้นทันที ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ยังไม่ได้เริ่มทำงานหรือได้เริ่มงานเพียงไม่นาน การเคลื่อนไหวของกลุ่มเสื้อแดงจึงเป็นไปเพื่อช่วงชิงอำนาจรัฐให้กับพรรคเพื่อไทย และปกป้องพ.ต.ท.ทักษิณ เพียงคนเดียวพรรคประชาธิปัตย์ยังไม่ได้บริหารประเทศไปในแนวทางที่มิชอบและยังไม่กระทำผิด เพราะถ้าพรรคประชาธิปัตย์มีความประพฤติเช่นนั้นก็คงถูกพันธมิตรฯ ขับไล่เช่นเดียวกับพรรคพลังประชาชน (พรรคเพื่อไทย) นั่นแสดงให้เห็นว่า ความแตกต่างระหว่างแดงกับเหลืองทั้งหมดนี้ จึงสะท้อนและประจานความจอมปลอมในบ้านเมืองเราด้วย ซึ่งกระบวนการสร้างความชอบธรรมและกระบวนการการทำลายความชอบธรรมของแต่ละฝ่ายได้เป็นที่ประจักษ์แล้วว่าผู้ที่มีอำนาจเงินและพวกพ้องที่มากกว่าย่อมจะไม่ถูกทำลายทันทีทันใดและแต่ว่ามันถูกที่กาลเวลาและผู้ที่เป็นแรงผลักดันในการดำเนินการเพื่อพิทักษ์ประโยชน์ของชาติ(ต่างฝ่ายต่างเอาคำว่าชาติและประชาชนมาอ้าง)จะสยบปีกของความรุ่งโรจน์ที่ไร้จรรยาบรรณลงได้ตราบใดความยุติธรรมยังเป็นที่ต้องการของทุกคน
บรรณานุกรม
ภาษาไทย
โกวิท วงศ์สุรวัฒน์.มปป.หลักรัฐศาสตร์.ภาคีสมาชิกราชบัณฑิตยสถานสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
จรูญ สุภาพ.2538. ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจเปรียบเทียบ.พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ:ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.
ณัชชาภัทร อุ่นตรงจิต.2548. รัฐศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดำริห์ บูรณะนนท์.2548. ความรู้เบื้องต้นทางรัฐศาสตร์และกฎหมายมหาชน.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นิติธรรม.
ทินพันธุ์ นาคะตะ.2541.รัฐศาสตร์: ทฤษฎี แนวความคิด ปัญหาสำคัญและแนวทางศึกษาวิเคราะห์การเมือง.
พิมพ์ครั้งที่ 4.โครงการเอกสารและตำรา: สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์ นิด้า.
บรรพต วีระสัย. อุดมการณ์ทางการเมือง. ในเอกสารประกอบการสอนชุดวิชารัฐศาสตร์และการบริหารหน่วย
ที่ 1-3. มหาวิทยาลัยสโขทัยธรรมาธิราชม, กรุงเทพ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. สัมพันธ์พาณิชย์, 2525,
หน้า 301- 302
มัสลัน มาหะมะ.2551. อิสลามวิถีแห่งชีวิต. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์: สถาบันวิจัยระบบสุขภาพภาคใต้.
เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ.2549. หลักรัฐศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์ จำกัด.
วรทิพย์ มีมาก ชีวินทร์ ฉายาชวลิต.2547. หน้าที่พลเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น
ประมุข. กรุงเทพฯ:รำไทยเพรส จำกัด.
สุกรี หลังปูเต๊ะ. 2547/2548. เอกสารประกอบการสอนวิชา 201-201 หลักการบริหารและปกครองรัฐในอิสลาม.
คณะศิลปะศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา.
อานนท์ อาภาภิรม.2545. รัฐศาสตร์เบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ภาษาอังกฤษ
Friedrich C.J and Brzzinski Z K., Totalitarians Dictatorahip and Autocracy.2nd ed. New York : The
Macmilan Company, 1965.
Jean-Marie. Guehenno,La fin la democratic. Paris : Flammarian, 1993
Giovanni, Satori. Parties and Party System : A Framework for Analysis. Cambridge, U.K. : Cambridge
University Press, 1976.
Hamid Enayet. Modern Islamic Political Thought. Austin, TX : University of Texas Press, 1982.
Muhamad Asad. The Principles of State and Government in Islam. Gilbratar : Dar, n.d. Oran, R. Yong.
System of Political Science. Englewood Cliffs : Prentice Hall, 1968.
Ranny, Austin. Essay on the Behavioral study of Politics. Urbana : University of Illinois Press, 1972.
Taimiyah, ibn. al-Risalah al qubrusiyah. Beirut : Dar ibn Hazmi, 1990.
. เวบไซด์
ชำนาญ จันทร์เรือง .2548.ประชาธิปไตย ทุนนิยม และสังคมนิยม,http://www.nidambe11.net/ ekonomiz /2005q4/ article2005oct12p10.htm 1สืบค้นเมื่อ 0/3/2552
เมธา มาสขาว.n.d.สังคมนิยม-ประชาธิปไตยในประเทศไทย,http://www.midnightuniv.org/
midnight2544/0009999530.html สืบค้นเมื่อ 10/3/2552
ลิขิต ธีระเวคิน.2551. ลัทธิเสรีนิยมและประชาธิปไตย, http://www.siamrath.co.th/UIFont/Article detail.aspx?nid=896&acid=896 สืบค้นเมื่อ 10/3/2552
สารานุกรมเสรี.n.d แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ,http://th.wikipedia.org/
wiki/%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%8A สืบค้นเมื่อ 10/3/2552
สารานุกรมเสรี.n.d.http://www.th.Wikipedia. Org/wiki/พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย - 395k –สืบค้น
เมื่อ 10/3/2552
สุริยะใส กตะศิลา.2551. “การเมืองใหม่” ภายใต้การต่อสู้ของพันธมิตรฯ(สุริยะใส กตะศิลา), http: //
www.oknation.net/blog/print.php?id=277372 สืบค้นเมื่อ 13/3/2552
Anon, n.d.อุดมการณ์ของเสรีนิยม ทุนนิยม และคอมมิวนิสต์.http://guru.google.co.th/guru/
thread?tid=3e3c739a7c9bf0b7 สืบค้นเมื่อ 10/3/2552
www.udon.com/board/index.php?topic=6392.msg114549
ขอบคุณมากค่ะ มีประโยชน์มาก
ตอบลบชอบคุณมากค่ะ เป็นเนื้อหาสำหรับการสอบครั้งนี้พอดี
ตอบลบ