วันเสาร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ระบบดีวาน(ระบบกระทรวง)ในประวัติศาตร์การปกครองของอิสลาม

โดย :นส เภาซียะห์ สาอี
นักศึกษาปริญญาโท
สาขาวิชาประวัติศาสตร์และอารยธรรมอิสลาม

บทนำ
إن الحمد لله نحمده ونستعينه ونستغفره ، ونعوذ بالله من شرور أنفسنا وسيئات أعمالنا ، من يهده الله فلا مضل له ، ومن يضلل فلا هادي له ، ولن تجد له من دون الله وليا مرشدا

อิสลามเป็นศาสนาที่สมบรูณ์ ครอบคลุมวิถีการดำเนินชีวิตในทุก ๆ ด้านของมนุษย์อย่างครบถ้วนทั้งทางด้านจริยธรรม คุณธรรม การปฏิบัติศาสนกิจ เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง และการใช้ชีวิตในสังคม ซึ่งรูปแบบการดำเนินชีวิตตามแนวทางของอิสลามนั้นล้วนแต่สร้างความยุติธรรมและความสันติให้เกิดขึ้นภายในสังคม ดังที่อัลลอฮฺ (ซุบฮานูวาตาอลา)ตรัสวว่า



ความว่า : วันนี้ (หมายถึง ณ วันชุมนุมที่ทุ่งอารอฟะฮฺ ในพิธีฮัจญ์ปีสุดท้ายของชีวิตท่านศาสนทูต(มูฮัมหมัด) ซึ่งได้ทำให้ศาสนาของพวกเจ้าสมบรูณ์แล้ว และข้าได้มอบการประทานแก่พวกเจ้าอย่างครบถ้วน และข้าพอใจให้อิสลามเป็นศาสนาของพวกเจ้า

เพราะฉะนั้น การบริหาร การปกครองในทัศนะอิสลามเป็นสิ่งจำเป็นที่มุสลิมจะต้องรับรู้ เอาใจใส่ดิ้นรนขวนขวายให้ได้มาซึ่งการปกครองที่ถูกต้องเที่ยงธรรม เพื่อให้สังคมเจริญ มั่นคงและเจริญก้าวหน้าเหมาะสมกับสภาพที่เอื้ออำนวยต่อชีวิตมนุษย์ในการที่จะประกอบคุณธรรม
จะเห็นได้ว่า การปกครองโดยระบอบอิสลามได้เกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยของท่านเราะซูล(ศ็อลลัลลอฮุอาลัยฮีวาซัลลัม) ซึ่งเป็น(บรรทัดฐาน)ที่สำคัญให้กับเหล่าบรรดาเศาะฮาบะฮฺ และผู้เจริญรอยตามท่าน ด้วยเหตุนี้ทำให้การบริหารการปกครองได้มีวิวัฒนาการมาอย่างต่อนื่องโดยเฉพาะในสมัย คุลาฟาอฺอัรรอชีดีน ตลอดจนราชวงศ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ราชวงศ์อุมัยยะฮฺ อับบาซียะฮฺ อุษมานียะฮฺ เป็นต้น ซึ่งแต่ละยุคแต่ละสมัยก็จะมีรูปแบบการบริหารที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสมของสภาพแวดล้อม และสังคมในสมัยนั้น ๆ โดยในภาพรวมแล้ว รูปแบบต่าง ๆ ที่ถูกนำมาบริหารล้วนแล้วแต่สร้างความเป็นระบบ ระเบียบ ความเจริญรุ่งเรืองให้กับอณาจักรอิสลาม
ระบบดีวาน ก็เป็นระบบหนึ่งที่ถูกจัดให้มีขึ้นในประวัติศาสตร์การปกครองอิสลาม เป็นระบบที่สร้างความเป็นระเบียบและเป็นการบ่งบอกถึงความเจริญรุ่งเรืองทางด้านการบริหาร การปกครองในอิสลามที่สามารถกระจายงานบริหารไปยังหน่วยงานต่าง ๆ โดยที่หน่วยงานนั้น ๆ ก็มีภาระหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบที่แตกต่างกันไป วิวัฒนาการของหน่วยงานเหล่านี้จึงถูกเรียกว่า ดีวาน ผู้เขียนขอเสนอ ความหมายของดีวาน วิวัฒนาการ รวมทั้งดีวานต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสมัยต่าง ๆ ของการประวัติศาสตร์อิสลาม

ความหมายของดีวาน

ท่าน الماوردي ได้ให้ความหมาย الديوان ว่าหมายถึง สถานที่บันทึกหรือจัดเก็บเอกสารในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานบริหารและในเรื่องของทรัพย์สิน โดยผู้ที่รับผิดชอบงานนี้ก็คือมาจากเหล่าบรรดาทหารและผู้ทำงานทั่วไป
อัดดีวาน เป็นคำที่มาจากภาษาเปอร์เซีย มีความหมายว่า การบันทึกหรือ การรวบรวมเอกสาร ซึ่งคำว่า ดีวาน บ่งบอกถึงสถานที่จัดเก็บหรือบันทึกเอกสารสำคัญต่าง ๆ
ดีวาน (ديوان) คือ คำในภาษาเปอร์เซีย มีความหมายว่า ทะเบียนหรือสมุดบันทึกและยังใช้เรียกคำนี้ถึงสถานที่เก็บรักษาทะเบียนหรือสมุดบันทึก เล่ากันว่า เหตุที่เรียกเช่นนี้ เป็นเพราะว่าจักพรรดิกิซรอ แห่งจักรวรรดิเปอร์เซียได้ทรงเคยทอดพระเนตรเห็นบรรดาเสมียนกรมต่างก็ก้มหน้าก้มตาขะมักเขม้นปฏิบัติหน้าที่ แสดงท่าทางนึกคิดและอากัปกริยาออกแปลก ๆ จักรพรรดิกิซรอ จึงมีดำรัสว่า ‘‘ ดีวานเน๊ฮ์’’ (ديوانه) อันหมายถึง พวกคนบ้า ในภาษาเปอร์เซียน ครั้นต่อมาก็ใช้คำนี้เรียกถึงสถานที่นั่งชุมชนของพวกนี้โดยทิ้งอักษร ฮาอ์ (ديوانه) ออกไปเสีย จนเหลือเป็นคำว่า ‘‘ดีวาน’’ ในยุครุ่งเรืองของอิสลาม คำว่า ‘‘ดีวาน’’ ใช้เรียกถึงทะเบียนหรือสมุดบันทึกตามรากศัพท์ภาษาเปอร์เซีย







ดีวานต่าง ๆ ในสมัยคุลาฟะฮฺอัรรอชีดีน

ส่วนประวัติความเป็นมาของดีวานนั้น เกิดขึ้นในสมัยของเคาะลีฟะฮฺ อุมัร อิบนุ อัลค็อตตอบ(รอฏิยัลลอฮุอันฮุ) แต่ถ้าหากเรามองย้อนถึงสมัยของท่านรอซูล(ศ็อลลัลลอฮุอาลัยฮีวาซัลลัม)แล้วจะเห็นได้ว่า หน่วยงานต่าง ๆ ท่านนบีก็ได้เริ่มวางพื้นฐานมาแล้ว เพียงแต่ยัง ไม่ได้ถูกจัดขึ้นอย่างเป็นระบบอย่างเช่นในสมัยของเคาะลีฟะฮฺอุมัร(รอฏิยัลลอฮุอันฮุ) โดยเฉพาะในเรื่องของการจัดเก็บภาษี เศาะดากอต เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพความเป็นจริงและสภาพแวดล้อมในสมัยนั้น
จะเห็นได้ว่า อณาเขตการปกครองของอิสลามในสมัยเคาะลีฟะฮฺอุมัร(รอฏิยัลลอฮุอันฮุ) ได้แผ่ขยายอย่างกว้างขวางทำให้ชนชาวอาหรับ ชนชาวเปอร์เซีย และโรมันนั้นผสมผสานกัน และทำให้รายได้ของแผ่นดินได้เพิ่มขยายมากขึ้น ทำให้ท่านอุมัร(รอฏิยัลลอฮุอันฮุ) เห็นความสำคัญที่จะต้องทำการบันทึกในหน่วยงานต่าง ๆ
เคาะลีฟะฮฺอุมัร(รอฏิยัลลอฮุอันฮู) ท่านเป็นผู้ที่นำเอาระบบดีวานจากผู้นำชาวเปอร์เซีย (مرازبة)มาประยุกต์ใช้ หลังจากได้แผ่ขยายอณาจักรอิสลามเข้าไปดินแดนแถบเปอร์เซียนั้น ทำให้ทรัพย์สมบัติของชาวเปอร์เซียได้หลั่งไหลเข้ามาเป็นของอณาจักรอิสลาม เคาะลีฟะฮฺอุมัร(รอฏิยัลลอฮุอันฮุ) จึงเห็นสมควรที่จะต้องจัดระบบดีวาน ในสมัยของอุมัร(รอฏิยัลลอฮุอันฮู) นั้น ทุกๆคนที่เป็นมุสลิมจะได้รับเงินเดือน ซึ่งอุมัร(รอฏิยัลลอฮุอันฮุ) จะให้ความสำคัญแก่ผู้ที่รับเข้าอิสลามาในช่วงแรก และผู้ที่ให้การช่วยเหลือแก่ท่านเราะซูล(ศ็อลลัลลอฮุอาลัยฮีวาซัลลัม)สงคราม จึงได้จัดระบบดีวานนี้ขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ในการบันทึก ระดับต่าง ๆ ของประชาชน เริ่มด้วยชนชั้นแรก คือ ผู้ที่มาจากตระกูล อัล-อับบาซ (ลุงของท่านเราะซูล) ชั้นต่อมา คือ ตระกูล อัล-ฮาชิม
สำหรับผู้ที่บันทึกในสมัยเคาะลีฟะฮฺผู้ทรงธรรมนั้น เคาะลีฟะฮฺอุมัร(รอฏิยัลลอฮุอันฮู) เป็นผู้ที่มอบหมายให้กับดีวาน โดยมีการบันทึกในเรื่องของทรัพย์สินที่มาจากภาษี الخراج และ الجزية เป็นต้น และทำการบันทึกรายจ่ายของเหล่าบรรดาทหาร เจ้าหน้าที่ ผู้ตัดสินคดี เป็นต้น ในแต่ละหน่วยงานก็จะมีผู้บันทึก หลังจากที่งานต่างๆได้แพร่หลายในอณาจักรโดยเฉพาะในเรื่องของ الخراج และ الجزية ทำให้มีการแยกเป็นดีวาน النفقة และ الزمام โดยมอบหมายให้ดีวานเหล่านี้ทำหน้าที่ในการบันทึกรายจ่ายให้กับเหล่าบรรดาทหาร บรรดาข้าราชการ และยังมีดีวานต่างๆที่ทำหน้าที่ทำหน้าที่ในการจดบันทึก รวยชื่อ ระดับชนชั้น ของทหารนั้นก็คือ ดีวาน الجند ภายใต้ดีวานนี้ ก็จะมี ดีวาน الأساطيل (กรมทหารเรือ) ดีวาน الثغور(กรมทหารชายแดน) เป็นต้น ส่วนดีวานที่ทำหน้าที่ส่งสารข้อมูลไปยังเจ้าหน้าที่หรือที่อื่น ๆ นั้นก็คือ ดีวานالرسائل (กรมจดหมาย) หรือ ดีวาน الإنشاء (กรมการเรียบเรียง)
ซี่งในสมัยเคาะลีฟะฮฺอุมัร อิบนุ อัลค็อฏฏอบ(รอฏิยัลลอฮุอันฮุ) นั้นรูปแบบของการบริหารงานต่าง ๆ นั้นจะเป็นไปในรูปแบบทั่วไป ทำให้ดีวานต่าง ๆ ไม่ได้จำกัดถึงเชื้อชาติ หรือภาษา ด้วยเหตุนี้การปกครองของท่านอุมัรนั้นจึงเป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องของความเสมอภาคโดยไม่จำกัดเชื้อชาติ ภาษา
ในสมัยท่ารอุมัรเช่นเดียวกัน ดีวาน الجند ได้เกิดขึ้น มีหน้าที่ในการบันทึกและแจกจ่ายเงินเดือนให้กับเหล่าบรรดาทหาร ดีวาน الخراج (ภาษีที่ดิน)หรือ الجباية (รวบรวมทรัพย์สินต่างๆ) เพื่อทำการบันทึกรายได้ของกองคลัง (بيت المال) และทำหน้าที่ในการแจกจ่ายทรัพย์สมบัติของกองคลังให้กับผู้ที่มีสิทธิที่จะได้รับ

ดีวานต่างๆ ในสมัยราชวงศ์ อุมัยยะฮฺ

จะเห็นได้ว่า ในสมัยราชวงศ์อุมัยยะฮฺนั้น อาณาจักรอิสลามได้แผ่ขยายมากกว่าในสมัย คุลาฟาอฺอัรรอชีดีน กิจการในสมัยนี้ก็ได้แผ่ขยายมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ ทำให้ดีวานก็ได้แผ่ขยายมากขึ้น ดีวานที่สำคัญในสมัยนี้คือ
1-ดีวาน الخراج
الخراج คือ ภาษีทรัพย์สินที่ได้มาจากที่ดินที่มุสลิมทำการพิชิตได้ตามพันธะสัญญา ภาษีนี้ เป็นสิ่งที่วาญิบถึงแม้ว่าผู้ถือกรรมสิทธิ์เข้ารับอิสลาม
ดีวาน الخراج (กรมสรรพากร) เป็นดีวานที่สำคัญอย่างยิ่งในสมัยราชวงศ์อุมัยยะฮฺ เป็นดีวานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการควบคุมดูแลจัดเก็บภาษีที่ดินที่รัฐอิสลามทำการพิชิตได้ หรืออยู่ภายใต้การปกครองของราชอาณาจักรอิสลาม
2-ดีวาน الرسائل (กรมจดหมาย) ทำหน้าที่ในการบันทึกหรือเขียนสารจากเคาะลีฟะฮฺไปยังหัวเมืองหรือสถานที่ต่างๆ สารดังกล่าวจะเกี่ยวข้องในเรื่องการบริหาร การเมือง เศรษฐกิจ และมีหน้าที่คอยบันทึกเอกสาร หนังสือเข้าออกของราชอณาจักร
3-ดีวาน المستغلات เป็นดีวานที่เก็บรวบรวมทรัพย์สมบัติต่าง ๆ ซึ่งสมบัติเหล่านั้นเป็นสมบัติของรัฐ โดยรัฐทำการครอบครอง
4-ดีวาน النفقات (กรมค่าครองชีพ) เป็นดีวานที่ทำการบันทึกและแจกแจงรายจ่ายให้กับเหล่าบรรดาทหารในระดับชนชั้นต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นชุดแต่งกายของทหาร รวมทั้งรายจ่ายของราชอณาจักร
5-ดีวาน الصدقات ทำหน้าที่ในการสรรหาและแจกจ่ายทรัพย์สินให้กับผู้มีสิทธิที่จะได้รับ โดยเฉพาะแปดจำพวกที่อิสลามได้บัญญัติไว้ในอัลกุรอาน







ความว่า : แท้จริงทานทั้งหลายนั้น สำหรับบรรดาผู้ที่ยากจน และบรรดาผู้ที่ขัดสน และบรรดาเจ้าหน้าที่ในการรวบรวมมัน และบรรดาผู้ที่หัวใจของพวกเขาสนิทสนม และในการไถ่ทาสและบรรดาผู้ที่หนี้สินล้นตัว และในทางของอัลลอฮฺ และผู้ที่อยู่ในระหว่างเดินทาง ทั้งนี้ เป็นบัญญัติอันจำเป็นซึ่งมาจากอัลลอฮฺ และอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงรอบรู้ ผู้ทรงปรีชาญาน
6-ดีวาน الجند เป็นดีวานที่ทำหน้าที่ในการบันทึกรายชื่อหรือชีวประวัติ รวมทั้งระดับชนชั้นของบรรดาทหาร พร้อมทั้งกำหนดเงินเดือนของทหาร
7-ดีวาน الطراز (กรมออกแบบ) เป็นดีวานที่กำหนด ออกแบบชุดเครื่องแต่งกายให้กับหน่วยงานต่าง ๆ หน่วยงานบริหารทางราชการทหาร เป็นต้น และยังมีหน้าที่ในการออกแบบสัญลักษณ์ต่าง ๆ ของอณาจักร เช่น ธงชาติ ตราประทับ โลโก้ เป็นต้น
8-ดีวาน البريد(กรมไปรษณีย์) เป็นดีวานในการบริการสื่อสาร ข่าวสารต่างๆและจัดตั้งเครื่องมือในการสื่อสาร ภายในอณาจักรหรือนอกราชอาณาจักร ที่เกี่ยวข้องกับศาสนา การเมือง การบริหาร เป็นต้น
จากประวัติศาสตร์จะเห็นได้ว่า หน่วยงานนี้เริ่มมีรากฐานมาตั้งแต่ในสมัยของท่านรอซูล ดังจะเห็นได้จากการที่ท่านจัดส่งผู้แทนไปยังผู้นำรัฐและอณาจักรต่าง ๆ เช่น จักรพรรดิแห่งโรม เปอร์เซีย อียิปต์ และ เอธิโอเปีย เพื่อนำสาสน์เชิญชวนพวกเขาเหล่านั้นมาสู่อิสลาม
9-ดีวาน الخاتم (กรมสารบรรณ) ผู้ที่ริเริ่มหน่วยงานนี้ คือ มุอาวียะฮฺ อิบนุ อบีซุฟยาน มีหน้าที่ในการตรวจสอบ รับรอง และคุ้มครองเอกสาร จดหมาย เอกสารต่าง ๆ ทางราชการ ก่อนถูกส่งออกไปยังสถานที่ต่าง ๆ รวมทั้งตรวจสอบเอกสารที่มาจากนอกราชอณาจักรทุกฉบับ นอกจากนั้นยังมีหน้าที่ในการประทับตราและปิดผนึกด้วยเทียนสีแดงเพื่อป้องกันจดหมายถูกเปิดก่อนถึงมือผู้รับ
จากบันทึกประวัติศาสตร์อิสลามพบว่า ดีวานต่างๆจะจดบันทึกเป็นภาษาโรมันและเปอร์เซีย หลังจากนั้นในสมัยเคาะลีฟะฮฺอับดุลมะลิก อิบนุ มัรวาน และฮิชาม อิบนุ อับดุลมาลิก (ราชวงศ์อุมัยยะฮฺ) ก็ได้เปลี่ยนการบันทึกเป็นภาษาอาหรับ

ดีวานในสมัยราชวงศ์อับบาซียะฮฺ

ในสมัยราชวงศ์อับบาซียะฮฺ ได้มีดีวานต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย โดยแต่ละดีวานก็จะมีหน้าที่รับผิดชอบแตกต่างกันไป สมัยนี้ได้นำเอารูปแบบการบริหารจากชาวเปอร์เซีย
ในสมัยนี้เช่นเดียวกันได้มีวิวัฒนาการจากดีวานนั้นมาเป็นกระทรวง (الوزارة) สามารถนำมาเป็นแบบอย่างให้กับยุคปัจจุบันได้
ดีวานที่มีความสำคัญยิ่งในสมัยนี้ คือ
1-ดีวาน الخراج (กรมสรรพากร) เป็นดีวานที่สำคัญอย่างยิ่งในสมัยราชวงศ์อุมัยยะฮฺ เป็นดีวานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการควบคุมดูแลจัดเก็บภาษีที่ดินที่รัฐอิสลามทำการพิชิตได้ หรืออยู่ภายใต้การปกครองของราชอาณาจักรอิสลาม
2-ดีวาน الدية เป็นดีวานทีคอยดูแลทรัพย์สินที่ฝ่ายผู้ฆ่าจ่ายให้แก่ทายาทผู้ถูกฆ่า
3-ดีวาน الزمام เป็นดีวานที่คอยควบคุมดูแลพฤติกรรมของพนักงาน หรือเจ้าหน้าที่แต่ละหน่วยงานภายในราชวัง
4-ดีวาน الجند เป็นดีวานที่ทำหน้าที่ในการบันทึกรายชื่อหรือชีวประวัติ รวมทั้งระดับชนชั้นของบรรดาทหาร พร้อมทั้งกำหนดเงินเดือนของทหาร
5-ดีวาน الموالي الغلمان เป็นดีวานทีรดูแลติดตามและบันทึกรายชื่อผู้เป็นนายของอัลมาวาลีย์ และผู้เป็นทาส
6-ดีวาน البريد(กรมไปรษณีย์) เป็นดีวานในการบริการสื่อสาร ข่าวสารต่างๆและจัดตั้งเครื่องมือในการสื่อสาร ภายในอณาจักรหรือนอกราชอาณาจักร ที่เกี่ยวข้องกับศาสนา การเมือง การบริหาร เป็นต้น
7-ดีวาน زمام النفقات เป็นดีวานที่ทำหน้าที่ตรวจสอบค่าใช้จ่ายของเจ้าหน้าที่หรือพนักงานของอณาจักร
8-ดีวาน النظر في المظالم เป็นหน่วยงานในการรับฟังและบันทึกรื่องราวการร้องทุกข์ของประชาชน
9-ดีวาน الأحداث เป็นดีวานที่ดูแลและควบคุมเหตุการณ์ต่าง ๆ ภายในราชอณาจักร
10-ดีวาน الشرطة เป็นดีวานที่ดูแล ควบคุม ความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองพร้อมทั้งกำจัดศัตรู หรือ ผู้ที่มีความคิดเห็นขัดแย้งกับรัฐบาล
11-ดีวาน العطاء เป็นดีวานที่ทำหน้าที่ในการให้ค่าใช้จ่ายหรือค่าครองชีพให้กับหน่วยงานต่าง ๆ
12-ดีวาน الجهبزة เป็นดีวานที่ทำหน้าที่ในการดูแลและคุ้มครองแก่ผู้ที่มิใช่มุสลิมที่อาศัยอยู่ในรัฐอิสลาม(أهل الذمة )นอกจากดีวานหลัก ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น ก็ยังมีดีวานต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้อำนาจบริหาร การเมืองและอำนาจตุลาการ นั้นก็คือ ديوان المنح และ ดีวานالأكرهة
13-ดีวาน المنح เป็นดีวานที่ทำหน้าที่ในการควบคุม และติดตามการให้ทุน(อุดหนุน)ช่วยเหลือแก่ผู้ยากลำบาก(ผู้ตกทุกข์ได้ยาก)
14-ดีวานالأكرهة เป็นดีวานที่คอยควบคุมดูแลและติดตามในการพัฒนา ซ่อมแซม ระบบสาธาณูปโภคต่าง ๆ เช่น ถนนหนทาง คูระบายน้ำ สะพานและอื่น ๆ
ส่วนดีวานที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในสมัยนี้ คือ ดีวาน الرسائل
การบริหารส่วนกลางในราชวงศ์อับบาซียะฮฺมักจะไม่ลงไปร่วมในการบริหารกิจการของประชาชนเท่าใดนัก แต่จะขึ้นอยู่กับฝ่ายที่ถูกจัดขึ้นเป็นการเฉพาะในการทำหน้าที่ในการบริหาร ยกเว้นกรณีเกิดเหตุการณที่ฝ่ายนั้น ๆ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ เช่น ประชาชนไม่ยอมจ่ายภาษีให้กับรัฐ เป็นต้น





บทสรุป

จะเห็นได้ว่า ระบบดีวานเป็นระบบที่สำคัญยิ่งของระบบการปกครองในประวัติศาสตร์อิสลาม และเป็นระบบที่มีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องกันตั้งแต่สมัยของท่านเราะซูล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) จนกระทั่งถึงยุคหลัง ๆ โดยที่ระบบการบริหารอาจจะแตกต่างกันหรือเหมือนกันนั้น ก็ขึ้นอยู่กับเอกลัษณ์ของแต่ละยุคสมัย
สิ่งเหล่านี้ ย่อมเป็นเครื่องยืนยันได้เป็นอย่างดีว่า อิสลามให้ความสำคัญกับเรื่องการบริหาร การปกครอง สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับทุก ๆ เวลา สถานการณ์และทุก ๆ สมัย
โดยที่รูปแบบในการบริหารนั้นอิสลามไม่ได้กำหนดขอบเขตที่ตายตัวทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้ประยุกต์ใช้เพื่อให้เป็นไปในรูปแบบต่าง ๆ และที่สำคัญสิ่งเหล่านั้น จะต้องไม่ขัดแย้งกับหลักพื้นฐานของอัลกุรอานและซุนนะฮฺของท่านเราะซูล(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) และสร้างความยุติธรรมและความสันติให้กับปวงชน
เพราะฉะนั้น อิสลามจึงเป็นศาสนาที่ครอบคลุมระบอบการดำเนินชีวิตของมนุษย์ เป็นศาสนาที่สอดคล้องกับทุก ๆ สถานการณ์ ทุกยุคทุกสมัย ทั้งนี้เพื่อนามซึ่งความเป็นระเบียบ ความสันติ ความสงบสุขและความยุติธรรมให้เกิดแก่สังคม














บรรณานุกรม

เชากี อบูคอลีล 1987 อัลฮะฎอเราะฮฺ อัล อารอบียะอฺ กุลียาตุลดะวะฮฺ อัลอิสลามียะฮฺ .

มุรอด มุฮัมหมัด อาลี (มปป) อัลอะซาลีบ อัล อีดารียะฮฺ ฟิล อิสลาม ดารุลอิอตีศอม.

อบุล วัสมี่ย์ อาลี เสือสมิง 2545 ร้อยเรื่องสารพันสรรหามาเล่า กรุงเทพฯ :ศูนย์หนังสืออิสลาม

อัซซอลิฮฺ ซุบฮี 2001 อันนุซุมอัลอิสลามียะฮฺ นัชอาตุฮา วะตะฏอววุรีฮา เบรุต : ดารุลอิลมี.

อัฏเฏาะบะรี อิบนุ ญารีร (มปป) ตารีคุลอุมัม วัลมูลูก เล่มที่ 3 อัลกอฮีเราะฮฺ.

อัล อัจมีย์ รอฟีก (มปป) เมาซูอะฮฺ มุซเฏาะละฮาต อิลมุตตารีค อัลอะเราะบี วัลอิสลามียะฮฺ เบรุต :มักตาบะฮฺ ลุบนาน.

อัลมาวัรดี อาลี บิน มูฮัมหมัด บิน ฮาบีบ(มปป) อัลอะฮฺกาม อัซซุลฏอนียะฮฺ วัลวีลายาต อัดดีนียะฮฺ เบรุต: ดารุลกตุบอิลมียะฮฺ.

ฮาซัน อิบรอฮัม ฮาซัน และ อาลี อิบรอฮีม ฮาซัน 2002 อันนุซุม อัลอิสลามียะฮฺ ไคโร :มักตาบะฮฺ อันนะฮฺเฎาะอัลมิซรียะฮฺ













ระบบอัชชุรเฏาะฮฺ (ระบบตำรวจ)ในประวัติศาสตร์การปกครองอิสลาม

โดย :นส.ฮามีดะ สาแม.
นักศึกษาปริญญาโท
สาขาวิชาประวัติศาสตร์และอารยธรรมอิสลาม

บทนำ
إن الحمد لله نحمده ونستعينه ونستغفره ، ونعوذ بالله من شرورأنفسنا وسيئات أعمالنا ، من يهده الله فلا مضل له ، ومن يضلل فلا هادي له ، ولن تجد له من دون الله وليا مرشدا .

จากการศึกษาประวัติศาสตร์ นับตั้งแต่อดีตนกระทั่งปัจจุบัน จะเห็นได้ว่ามนุษย์เราไม่สามารถที่จะใช้ชีวิตอย่างสันโดษได้ จำเป็นต้องอยู่เป็นกลุ่มเป็นพวก ตราบใดก็ตามที่มนุษย์ จำเป็นต้องอยู่เป็นกลุ่มเป็นพวกที่มีความหลากหลายด้วยอารมณ์ ความรู้สึก และความต้องการ แน่นอนที่สุดต้องมีการขัดแย้ง ละเมิดสิทธิซึ่งกันและกัน อันนำไปสู่ความไม่สงบในสังคมได้
ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีกฏหมายมาบังคับและต้องมีหน่วยงานหรือผู้คอยควบคุมผู้ที่ละเมิดกฎหมาย ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวนั่นก็คือ ทหารตำรวจคอยควบคุมดูแลและลงโทษผู้กระทำผิดในสังคม เพื่อให้สังคมอยู่อย่างสงบสุขตลอดไป
ตำรวจ เป็นหน่วยงานหนึ่งที่สำคัญที่สังคมต้องการ จากการศึกษาการบริหาร การปกครองในประวัติศาสตร์อิสลามจะเห็นได้ว่า อิสลามได้ให้ความสำคัญกับระบบตำรวจมาก ทั้งนี้เพื่อนำสังคมไปสู่ความสงบสุข ความศานติ
จากประวัติศาสตร์อิสลามจะเห็นได้ว่าอาณาจักรอิสลามได้ขยาย และสามารถพิชิตเมืองต่างๆ ที่สำคัญ โดยเฉพาะเมืองต่าง ๆ ของอณาจักรเปอร์เซียและโรมัน ทั้งนี้และทั้งนั้น กรมตำรวจ นับว่าเป็นกลไกสำคัญในการสร้างความสงบสุขให้แก่เมืองเหล่านั้นได้
ระบบตำรวจในประวัติศาสตร์การปกครองของอิสลามมีการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาตามแต่ละยุคสมัย ซึ่งจะนำเสนอดังนี้











نظام الشرطة (ระบบตำรวจ)

ความหมายตามหลักภาษา

الشرطةในทางภาษาศาสตร์ มาจากคำว่า الشرطي และ الشرطي แตกแขนงมาจาก الشرطة หมายถึง สัญลักษณ์ เพราะด้วยสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่กับตัวของเขาทำให้ผู้คนรู้จัก และ الشرطة หมายถึงผู้ที่รักษาความปลอดภัย.

ความหมายตามหลักวิชาการ

الشرطة คือ ตำรวจที่มีผู้บังคับบัญชาอยู่ เพื่อสร้างความสงบสุข รักษากฎเกณฑ์ต่าง ๆ รวมทั้งจับผู้ร้ายซึ่งเป็นงานทางราชการที่มีขึ้นเพื่อก่อให้เกิดความสงบสุขและตำรวจยังเป็นหน่วยงานหนึ่งที่เป็นที่ต้องการของสังคมสมัยก่อน เช่นกัน มีไว้เพื่อขู่เข็ญต่อผู้กระทำผิด หรือจับกุมผู้ร้าย อบรมสั่งสอน และใช้ในศัพท์ที่ใกล้เคียงกันได้

ประวัติความเป็นมาของ نظام الشرطة

ระบบตำรวจนั้นได้เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายแล้วในหมู่ของคนชนรุ่นก่อนๆไม่จะเป็นชนคนอาหรับ และชนชาติอื่น ๆ นอกจากอาหรับ ดังเช่น กษัตริย์ฮักเลอย์แห่งกรุงโรมก็ได้เรียกหัวหน้าทหารของท่านเพื่อที่จะบัญชาให้ไปสู้รบกับประเทศอื่น ๆ
แต่ในสมัยของของท่านเราะซูล(นั้นไม่พบหลักฐานที่แน่ชัดเกี่ยวกับการเกิดขึ้นของตำรวจในอิสลาม แต่โดยทั่วไปแล้วคิดว่าไม่มีในสมัยของท่านเราะซูล (ศ็อลลัลลอฮุอาลัยอิวาซัลลัม) เพราะสังคมอิสลามนั้นเป็นสังคมแบบทหารหรือตำรวจออยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องมีตำรวจ ทหาร และถือว่ามุสลิมทุกคนนั้น คือ ตำรวจ ทหาร
ต่อมาในสมัยของท่านอาบูบักร์ก็เริ่มที่จะมีระบบالشرطة ขึ้นแต่สมัยนั้นยังไม่เรียกว่า الشرطة จะเรียกว่า العسعس หมายถึง สายลับที่คอยตรวจสอบและสืบสวนผู้ที่ละเมิดกฎของ อัลลออฮฺ และในสมัยของท่านอาบูบักร์(รอฏิยัลลอฮุอันฮุ) นั้นท่านอับดุลลอฮ์ อิบนุ มัสอูด เป็นหัวหน้าของ العسعس
ในสมัยของอุมัร อิบนุ ค็อฏฏอบ (รอฏิยัลลอฮุอันฮุ) ท่านได้ก่อตั้งกรมตำรวจขึ้น กรมตำรวจในเวลานั้นเป็นที่รู้จักในนามอัลอะฮฺดาษ (الأحداثและเจ้าหน้าที่ตำรวจเรียกว่าซอฮิบุลอะฮฺดาษ(صاحب الأحداث) และท่านเองเป็นหัวหน้าของอัลอะฮฺดาษ ท่านจะทำการดูแลสอดส่องในเวลากลางคืน และท่านเองเป็นผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลประชาชาติของท่านในเวลากลางวันและกลางคืน ในทุก ๆ คืนท่านจะทำการละหมาดในเวลากลางคืนและทำภารกิจตอนกลางคืน
ในคืนหนึ่งก็มีตัวแทนจากชาวอีรักคนหนึ่งก็ได้มาที่มัสยิดอันนาบาวีย์ ท่านอุมัรกำลังทำการละหมาดอยู่ หลังจากเสร็จสิ้นการละหมาดท่านอุมัร อิบนุ ค็อฏฏอบ(รอฏิยัลลอฮุอันฮุ) ก็ได้พบปะกับแขกผู้มาเยือนและก็ได้ถามข่าวคราวทุกข์สุขของแขกดังกล่าวและท่านอุมัรอิบนุค็อฏฏอบ(รอฏิยัลลอฮุอันฮุ) ก็ได้ถามถึงเจตนาและความต้องการของแขกที่เดินทางมาจากแดนไกลว่ามีจุดประสงค์อะไร? แขกก็ได้ตอบว่า เพื่อมาพบและมีเรื่องสำคัญที่ต้องการบอกให้กับอามีรุลมุมีนีน ท่านอุมัร(รอฏิยัลลอฮุอันฮุ) ก็ตอบว่า ทำไมท่านจึงไม่บอกเรื่องที่ท่านต้องการบอกให้กับอามีรุลมุมีนีนของท่าน ชายคนนั้นก็ตอบว่า จะให้ฉันไปพบกับท่านในเวลาค่ำคืนอย่างนี้ได้อย่างไร? ท่านอุมัรก็ตอบว่า ฉันนี้แหละ คือ อุมัร (อะมีรุลมุมินีน)
เมื่อได้ยินคำตอบดังกล่าว ชายคนนั้นก็งง เพราะเวลาค่ำคืนอย่างนี้ท่านยังคงปฏิบัติภารกิจดูแลสอดส่องประชาชาติของท่านอยู่ ท่านอุมัรก็ได้กล่าวต่อว่า “ถ้าฉันนอนในเวลากลางคืนแสดงว่าฉันได้เสียเวลาอันมีค่าต่อตัวฉันเอง และถ้าฉันนอนในเวลากลางวันแสดงว่าฉันได้เมินเฉยและละเลยหน้าที่ของฉันต่อประชาชนของฉัน”
และบ่อยครั้งที่ท่านอุมัร อิบนุล ค็อฏฏอบ(รอฏิยัลลอฮุอันฮุ) ได้ออกไปสอดส่องดูแลตรวจตราข่าวคราวเกี่ยวกับชัยชนะของอิสลามที่เมืองอิรักในคืนหนึ่งขณะที่ท่านอุมัร อิบนุล ค็อฏฏอบ(รอฏิยัลลอฮุอันฮุ) ได้ออกตระเวนตรวจตราในเวลากลางคืนที่เมืองมาดีนะห์ ท่านก็ได้พบหญิงชรานางหนึ่ง บ้านก็อยู่ห่างไกลจากชุมชน เมื่อได้เห็นสภาพครอบครัวนี้แล้ว ท่านอุมัร อิบนุ ค็อฏฏอบ(รอฏิยัลลอฮุอันฮุ) ก็รู้สึกสงสารและท่านก็ได้ถามข่าวคราวทุกข์สุข สุดท้ายท่านก็ได้มอบให้แก่ครอบครัวนี้เป็นจำนวน 10 ดีนาร และท่านก็ได้รับครอบครัวนี้มาอยู่ภายใต้การดูแลของท่านและท่านยังได้ส่งเสียให้อับดุลเลาะ บุตรของท่านรับครอบครัวนี้มาดูแลต่อไปหลังจากที่ท่านได้เสียชีวิตไป
และอีกเหตุการณ์หนึ่ง ณ บนถนนสายหนึ่งที่แคบและเปลี่ยวมากในเมืองมาดีนะห์ ในยามกลางคืนที่มืดสนิท ท่านก็ได้ยินเสียงมารดา และลูก ๆ กำลังร้องอยู่ ท่านอุมัร อิบนุล ค็อฏฏอบ(รอฏิยัลลอฮุอันฮุ) ก็ได้เดินเข้าไปใกล้กับบ้างหลังดังกล่าว ก็ได้พบว่ามีแม่และรอบ ๆ แม่นั้นก็มีลูกเล็กๆ นั่งร้องอยู่ และแม่ก็นั่งใกล้กับเตาไฟ และบนเตาไฟก็มีหม้อต้มน้ำอยู่ ในเหตุการณ์เช่นนี้อุมัร(รอฏิยัลลอฮุอันฮุ) ก็ได้ถามข่าวคราวและทุกข์สุขและถามต่อว่าทำไมท่านทำเช่นนี้ หญิงคนนั้นตอบว่า ที่ทำเช่นนี้เพราะอยากให้ลูกเคลิ้มหลับไปในที่สุดทั้ง ๆ ที่ลูก ๆ คิดว่าอาหารใกล้จะสุกแล้ว เมื่อท่านได้ยินคำตอบเช่นนั้น ท่านก็ไม่รีรออีกต่อไปท่านก็กลับไปเอาแป้งสาลี (ซึ่งเป็นอาหารหลักของคนอาหรับ) มาให้ด้วยตัวของท่านเองและก็ได้เฝ้าอยู่จนกระทั่งอาหารสุข ท่านจึงได้จากไป
และอีกเหตุการณ์หนึ่งในคืนหนึ่งขณะที่ท่านอุมัร อิบนุ ค็อฏฏอบ(รอฏิยัลลอฮุอันฮุ) ได้ออกไปตรวจตราดูแลความสงบสุขของประชาชาติของท่าน ท่านก็ได้ยินมารดานางหนึ่งได้กล่าวกับบุตรสาวของตนว่า โอ้บุตรสาว จงรีบตื่นเถอะ และจงเอาน้ำไปเติมกับนมที่มีอยู่นั้นด้วย ในขณะนั้นท่านอุมัรอิบนุล ค็อฏฏอบ (รอฏิยัลลอฮุอันฮุ) กำลังยืนอยู่ใกล้กับประตูบ้านดังกล่าว จึงได้ยินเสียงบุตรสาวของนางตอบกับมารดาว่า “ฉันคงปฏิบัติตามที่แม่ต้องการไม่ได้หรอกคะคุณแม่ แม่ของเธอก็ได้ตอบสวนทันทีว่า ทำไมไม่ยอมปฏิบัติตามแม่ละ บุตรสาวของนางก็รีบตอบ แม่ลืมคำสั่งสอนของท่านอามีรุลมุมีนีนแล้วหรือที่ท่านห้ามมิให้เอาน้ำไปปนกับนม ถ้าฉันทำอย่างนั้นก็แสดงว่า ฉันไม่ภักดีต่ออัลลอฮฺ และไม่ภักดีต่ออามีรุลมุมีนีน และเป็นผู้ทำลายสังคม และเป็นผู้ที่ละเมิดกฎของอัลลอฮฺ
เมื่อได้ยินคำตอบอย่างมั่นใจของบุตรสาวดังกล่าวท่าน อุมัร อิบนุ ค็อตตอบ(รอฏิยัลลอฮุอันฮุ) ก็ได้ทำสัญลักษณ์บางอย่างไว้ ณ บ้างหลังนั้น แล้วท่านก็ออกไปปฏิบัติภารกิจดังกล่าวต่อไป และในวันรุ่งขึ้นท่านอุมัร อิบนุล ค็อฏฏอบ(รอฏิยัลลอฮุอันฮุ) ก็ได้สั่งบุตรชายของท่าน คือ อาซิม ไปหมั้นบุตรสาวของบ้านดังกล่าว
ในสมัยของท่านอาลีอินุ อาบีฏอลิบ(รอฏิยัลลอฮุอันฮุ) ก็เช่นเดียวกัน ท่านจะนำระบบหรือกฎของการดูแลตรวจตราประชาชาติของท่านในเวลากลางคืน และท่านเป็นคนแรกที่ตั้งระบบทหาร และแต่งตั้งผู้นำให้ซึ่งจะเรียกผู้นำนั้นว่า ผู้กำกับกรมทหาร (صاحب الشرطة) ซึ่งท่านจะเลือกชายหนุ่มหรือบุรุษที่มี ความสามารถและมีความเหมาะสม และทหารนั้นต้องปฏิบัติตามคำสั่งเป็นสำคัญและต้องเสนอเหตุผลที่ชัดแจ้ง
ต่อมาในสมัยราชวงศ์อับบาซียะฮฺนั้นเริ่มมีรูปแบบการปฏิบัติหน้าที่ในการทหารอย่างสมบูรณ์ หัวหน้ากองทหารจะมีอำนาจในการลงโทษผู้กระทำผิดอีกทั้งยังเป็นผู้วางขอบเขตว่าผู้กระทำความผิดอย่างนี้จะมีโทษขั้นใดและอย่างไร
เหตุผลแรกที่แต่งตั้งทหารขึ้นมานั้นก็เพื่อที่จะคอยช่วยเหลือผู้พิพากษาคดีหรือดาโต๊ะ قاضي ในการตัดสินคดีต่าง ๆ และจับกุมผู้กระทำผิด และคอยช่วยเหลือหน่วยงานราชการต่าง ๆ และคอยสอดส่องดูแลให้ปฏิบัติตามกฏระเบียบต่าง ๆ ที่หน่วยงานราชการได้ตั้งไว้

ต่อมาในสมัยฮิชาม อิบนุ อับดุลมาลิกนั้นได้แบ่งการทำงานของตำรวจออกเป็น 2 แผนก คือ
1. ตำรวจซึ่งมีหน้าที่รักษาความปลอดภัย
2. ตำรวจมีหน้าที่ในการออกสนามรบ
ซึ่งทั้งสองแผนกนั้นเป็นกฎแบบกลาง ๆ มีชื่อว่า نظام الأحداث
จะเห็นได้ว่าทหารนั้นจะอยู่ในหน่วยงานที่สูงส่งโดยเฉพาะในสมัยราชวงศ์อุมัยยะฮฺในอันดาลุส ซึ่งได้แบ่งทหารออกเป็น 2 แผนก เช่นกัน คือ

1. ตำรวจใหญ่ (شرطة كبرى) ดูแลควบคุมผู้หลักผู้ใหญ่ นักการเมืองการปกครองตลอดจนเครือญาติของเคาะลีฟะฮฺ
2. ตำรวจเล็ก (شرطة صغرى) ดูแลควบคุมประชาชนทั่วไป
บรรดานักการปกครองในสมัยนั้นจะตั้งชื่อผู้บังคับบัญชาทหารว่า ผู้ดูแลกลางคืน (เจ้าของความมืด) หรือเจ้าของเมือง เพราะเขาจะเป็นผู้ดูแลความเรียบร้อยและคอยช่วยเหลือกษัตริย์หรือเคาะลีฟะฮฺ

คุณลัษณะที่พึงประสงค์ของตำรวจ

1. ต้องเป็นผู้พิพากษาที่ดี
2. มีความคิดที่แหลมคมและมีทักษะในการคิด
3. เป็นแบบอย่างที่ดี
4. ยึดมั่นในกฏที่ได้ตั้งไว้
5. หมั่นดูแลรักษาผู้ที่อยู่ในที่คุมขังอย่างดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการตรวจตรา
6. ต้องห้ามปรามผู้ที่ละเมิดกฎต่าง ๆ
7. ต้องปกครองจุดยุธทศาตร์ของเมืองให้อย่างดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งประตูเมือง
8. ต้องตรวจสอบทั้งเวลากลางวันและกลางคืน
9. ต้องสอดส่องและให้ความปกครองผู้ที่อยู่ภายใต้ความดูแลทั้งหมดโดยไม่เลือกปฏิบัติ




รูปแบบการปฏิบัติงานของทหาร

1.มีความเสมอภาค ไม่เลือกปฏิบัติระหว่างคนจนกับคนรวย
2.ต้องปกป้องมิให้เกิดการละเมิด ฝ่าฝืน ต่าง ๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน
3.คุ้มครองผู้ที่ถูกละเมิด และลงโทษผู้ที่ละเมิดในขอบเขตที่อิสลามกำหนด
4.ต้องรักษาอย่าให้ผู้คนชั่งตวงอยางผิด ๆ (ระมัดระวัง การโกงตาชั่ง)
5.ต้องระวังดูแลอย่าให้ผู้คนสร้างอาคารบ้านเรือนบนถนนออันจะทำให้กกีดขวางทางสัญจร
6.จะต้องไม่ให้สัตว์บรรทุกน้ำหนักเกิน
7.จะต้องไม่อนุญาตให้ขายหรือดื่มสุรา






















บทสรุป

กรมการทหารเป็นหน่วยงานหนึ่งที่สำคัญที่สุดที่ทำหน้าที่ดูแลรักษาความสงบสุขให้กับผู้คนในสังคม จากการศึกษาเรื่อง الشرطة (กรมตำรวจ) แล้วจะเห็นได้ว่ามุสลิมทุกคนต้องมีหน้าที่เป็นทหาร สังคมจะเจริญก็ต่อเมื่อผู้คนในสังคมร่วมกันเป็นทหาร
ดังนั้นจึงไม่เป็นสิ่งแปลกสำหรับคนรุ่นใหม่ว่าเหตุใดในสมัยของท่านนบีนั้นผู้คนสามารถอยู่อย่างสงบสุข รักใคร่ปรองดองซึ่งกันและกันเพราะสังคมสมัยนั้นเป็นสังคมทหาร ใครก็ตามที่เห็นผู้คนกระทำผิดก็ต้องรีบเปลิ่ยนแปลงทันทีดังฮะดีษบทหนึ่งได้กล่าวไว้

’’ من رأى منكم منكرا فليغير بيده ، فإن لم يستطع فبلسانه فإن لم يستطع فبلقبه وذلك أضعف الإيمان ‘‘
ความว่า ผู้ใดก็ตามที่เห็นในหมู่ของพวกเจ้ากระทำสิ่งมูนกัร(สิ่งไม่ดี)จงรีบเปลี่ยนแปลงหรือห้ามปรามเขาด้วยมือ(อำนาจ)ของท่าน หากท่านไม่มีความสามารถพอจงรีบเปลี่ยนแปลงหรือห้ามปรามเขาด้วยปากของท่าน(กล่าวตักเตือนด้วยคำพูด)ของท่าน หากท่านไม่มีความสามารถพอจงรีบเปลี่ยนแปลงหรือห้ามปรามเขาด้วยใจของท่าน(จงเกลียดการกระทำของเขาด้วยความจริงใจ)และการที่ท่านเปลี่ยนแปลงหรือห้ามปรามเขาด้วยใจของท่าน(เกลียดการกระทำของเขาด้วยความจริงใจ)นั้นถือว่าเป็นคนที่มีอีม่านที่ด้อยที่สุด.

แต่ปัจจุบันจะห็นว่ากรมทหารนั้นมีระบบและมีอำนาจในการปกครองมีความพร้อมในทุกๆด้านแต่ผู้คนในสังคมก็ยิ่งมีผู้ที่กระทำผิด ละเมิดสิทธิซึ่งกันและกัน ดังนั้นเราในฐานะมุสลิมคนหนึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทำหน้าที่เป็นทหาร










บรรณานุกรม

Majlis Ilmi Pattani Tuan Mat Bin Tuan Soh Terjemah Sepuluh Sahabat Ahli Syurga.Jabatan Hal Ehwal Ugama Islam NeGeri Kelantan
.
เซากี อาบู คอลีล 1987 อัลฮาฎอเราะฮ์อัลอารอบียะห์อัลอิสลามมียะห์ กุลลียะห์อัดดะห์วะฮ์อัลอิสลามียะฮฺ

เซากี อาบู คอลีล 1987 อัลฮาฎอเราะฮ์อัลอารอบียะห์อัลอิสลามมียะห์ กุลลียะห์อัดดะห์วะฮ์อัลอิสลามียะห์

ดร.มาญีด อาลี คาน เขียน บรรจง บินกาซัน แปล ฮ.ศ.1425 เคาะลีฟะฮ์ อุมัรร อัลฟารุก ศูนย์หนังสืออิลาม


มูรอด มูฮัมหมัด อาลี (มปป) อัลอาซาลีบอัลอีดารียะฮฺฟิลอิสลาม ดารุลอิอติศอม.

อัซซอลิฮฺ ซุบฮี 2001 อันนูซุม อัลอิสลามียะฮฺ นัชอาตูฮา วาตาเตาวีรูฮา เบรูต : ดารุลอิลมี

มุสลิม อัซเซาะฮีฮ (มปป) เบรุต : ดารู อิฮฺยาอุตตุรอซ อัลอะเราะบี.


อัลกอซีมีย์ ซอฟีร 1992 นิซอมมุลฮุกมุฟีซะรีอาตีวาตารีคอิสลามีย์ พิมพ์ครั้งที่ 4 เบรูต : ดารุลนาฟาอิซ

อิบนุคอลดูน 1920 มุกอดดีมะฮ์อิบนุคอลดูน อัลกอฮีเราะฮฺ : อัซฮารียะฮฺ.

ฮาซัน อิบรอฮัม ฮาซัน และ อาลี อิบรอฮีม ฮาซัน 2002. อันนูซุมอัลอิสลามียะฮฺ มักตาบะฮฺ อันนะฮฺเฎาะอัลมิซรียะฮฺ อัลกอฮีเราะฮฺ.






ระบบอัลบะรีด(ระบบไปรษณีย์ )ในประวัติศาสตร์การปกครองของอิสลาม

โดย :นาย วันอิดรีส ปะดุกา
นักศึกษาปริญญาโท
สาขาวิชาประวัติศาสตร์และอารยธรรมอิสลาม

บทนำ

الحمد لله رب العالمين، والصلاة والسلام على أشرف الأنبياء والمرسلين، وعلى آلة وأصحابه أجمعين : أما بعد...

ประวัติศาสตร์อิสลามมิได้เป็นแค่เพียงเรื่องเล่าที่ขับขานกันเพื่อให้ความรู้และความบันเทิงเพียงเท่านั้น หากแต่ยังเป็นเหมือนกระจกที่สะท้อนให้ผู้คนในยุคหนึ่งได้มองเห็นถึงภาพชีวิตของคนในอีกยุคหนึ่ง ซึ่งเรื่องราวของเขาเหล่านั้นล้วนมีความหมายและมีบทบาทสำคัญต่อการมีอยู่ของผู้คนในยุคต่อมาเป็นอย่างมา
จากการศึกษาประวัติศาสตร์อิสลามทำให้เรารู้และตระหนักถึงบทบาทและความสามารถของมุสลิมในอดีตว่าเขาเหล่านั้นเคยได้ริเริ่มและสร้างสรรค์ความเจริญรุ่งเรืองและอารยธรรมอันยิ่งใหญ่ไว้อย่างมากมายจนอาจเรียกว่าอิสลามและมุสลิมในยุคนั้นคือครูของโลกทั้งมวล.
ในบรรดาระบบระเบียบ กฏเกณฑ์ และความเจริญรุ่งเรืองที่มุสลิมได้สรรค์สร้างเอาไว้นั้น ระบบไปรษณีย์ ก็เป็นอีกผลงานหนึ่งที่นับเป็นตัวอย่างที่ดีของ องค์กรหรือ หน่วยงานราชการในรัฐอิสลามนอกเหนือจากระบบการศึกษา ระบบสาธารณสุข ระบบเศรษฐกิจ และระบบทหาร ที่มีความโดดเด่นในอิสลามตลอดระยะเวลากว่า1,000 ปี ที่สาส์นแห่งอิสลามถูกประกาศไปสู่มนุษยชาติ.
บทความสั้น ๆ บทนี้เป็นการรวบรวมเกร็ดความรู้และข้อมูลที่เป็นประโยชน์ทางด้านประวัติศาสตร์และวิวัฒนาการของระบบไปรษณีย์ หรือ นิซอมอัลบะรีด ในอิสลามมานำเสนอ ซึ่งหวังว่าผู้อ่านจะได้รับประโยชน์จากบทความชิ้นนี้บ้างไม่มากก็น้อย







ความหมายของอัลบะรีด ตามหลักภาษา

البريد ในทางภาษาศาสตร์ หมายถึง ระยะทาง 2 ฟัรซัค (หรือประมาณ 12 ไมล์) ดังมีตัวอย่างที่กล่าวว่า ในระหว่างบ้านสองหลังนั้นจะมีหนึ่ง بريد ส่วนคำว่า بريدا หมายถึง การส่งสาร ส่วนที่มาของคำว่า بريد นั้นก็ยังเป็นที่ถกเถียงและขัดแย้งกันอยู่ในหมู่นักวิชาการ บางทัศนะบอกว่าเป็นคำที่มาจากภาษาอาหรับ แต่อีกทัศนะหนึ่งบอกว่าเป็นคำที่มาจาก ภาษาเปอร์เซีย (فارس معرب ) ที่ชาวอาหรับนำมาใช้ทับศัพท์ คำว่า بريد นี้ (مشتق) กระจายมาจากคำว่า بَرَد หรือ أبرد ซึ่งมีความหมายว่า أرسل หมายถึง การส่งสิ่งต่างๆ
และยังมีบางทัศนะที่เห็นว่า برد แปลว่า ثبت (มั่งคง) เช่น ประโยคที่ว่า "اليوم يوم بارد سمومه" วันนี้เป็นวันที่มีอากาศที่ ثابتة
ส่วนทัศนะที่เห็นว่ามาจาก فارس معرب นั้นกล่าวว่า แท้จริงแล้วรากศัพท์ ของคำๆนี้มาจากภาษาเปอร์เซียคือคำว่า بريد دم มีความหมายว่า الذنب (บาป)

ความหมายตามหลักวิชาการ

ความหมายตามหลักวิชาการ อัลบะรีด หมายถึง การส่งสารโดยการใช้ม้าเร็วไปยังสถานที่ต่าง ๆ เมื่อผู้ส่งสารที่ต้องใช้ความเร็วอย่างสูงได้ส่งสารไปยังอีกที่หนึ่ง ม้าเร็วจะต้องหยุดพัก และก็จะเปลี่ยนให้ม้าเร็วคนอื่นส่งสารต่อไปเป็นทอดๆ จนกระทั่งถึงจุดหมายปลายทางที่ต้องการ
ส่วนความหมายที่เป็นที่ต้องการในทางประวัติศาสตร์อิสลามนั้น ไม่ใช่ดังความหมายที่ใช้ในปัจจุบัน แต่อัลบะรีดนั้นเปรียบเสมือนหัวหน้าของ البوليس السري (ตำรวจลับ) หรือผู้ควบคุมแผนกงานนี้ หรืออาจหมายถึงผู้ตรวจสอบจดหมาย ข่าวสาร หรือคอยเป็นหูเป็นตาให้แก่เคาะลีฟะฮฺ และยังสามารถที่จะเคลื่อนย้ายข่าวสารจากหน่วยงานหนึ่งไปยังอีกหน่วยงานหนึ่งได้
ดังนั้น البريد จึงเปรียบเสมือนมือขวาของเคาะลีฟะฮฺ ซึ่งจำเป็นต้องคัดเลือกเฉพาะผู้ที่เชื่อถือและไว้ใจได้เท่านั้นมาปฏิบัติหน้าที่อันนี้ จากบันทึกทางประวัติศาสตร์ทำให้เรารู้ได้ว่า หน่วยงานนี้เริ่มมีรากฐานมาตั้งแต่ในสมัยของท่านเราะซูล (ศ็อลลัลลอฮุอาลัยอิวาซัลลัม) ดังจะเห็นได้จากการที่ท่านจัดส่งผู้แทนไปยังผู้นำต่างๆ เช่น จักรพรรดิแห่งโรม เปอร์เซีย อียิปต์ และ เอธิโอเปีย เพื่อนำสาส์น เชิญชวนพวกเขาเหล่านั้นมาสู่อิสลาม

ต่อมาในสมัยการปกครองของท่าน อุมัร อิบนุ ค็อฏฏอบ(รอฏิยัลลอฮุอันฮุ) เคาะลีฟะฮฺผู้ทรงธรรม ท่านที่2 แห่งอาณาจักรอิสลาม เมื่อมีการปฏิรูปการปกครองเกิดขึ้น หน่วยงานราชการต่าง ๆ ก็ได้รับการจัดหมวดหมู่และยกฐานะขึ้นเป็นดีวาน
ซึ่ง ดีวาน ( Diwan ) นี้เป็นคำในภาษาเปอร์เซีย หมายถึง การจดบันทึก หรือสถานที่จัดเก็บเอกสารสำคัญต่าง ๆ ในการบริหารราชการแผ่นดิน และการดูแลด้านการคลังของอาณาจักรอิสลามเพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย เปรียบเสมือน กรม หรือ กระทรวง ต่าง ๆในยุคปัจจุบัน
ดีวาน อัลบะรีด หรือ กรมไปรษณีย์ ก็เป็นอีกหน่วยงานหนึ่ง ในสมัยของท่าน อุมัร (รอฏิยัลลอฮุอันฮุ) ที่ถูกจัดตั้งขึ้นมา เพื่อดูแลและรับผิดชอบงานในด้านนี้โดยเฉพาะ หลังจากนั้น ดีวาน อัลบะรีด ก็ได้มีการเจริญเติบโตและมีพัฒนาการที่ก้าวหน้าจนกลายมาเป็น ดีวานที่มีความสำคัญระดับต้น ๆ ทางการเมืองการปกครองในยุคต่อ ๆ มา
สรุปแล้ว อัลบะรีด เป็นคำที่มาจากภาษาอาหรับ มีความหมายว่า การสื่อสารกันทางไปรษณีย์ และ การให้บริการด้านข่าวสารหรือสื่อต่าง ๆ จากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่ง ตลอดจนมีหน้าที่คอยส่งข่าวสารทางราชการจากศูนย์กลางการปกครองไปยังแคว้นต่าง ๆ อาทิเช่น การนำข่าวสารจากเคาะลีฟะฮฺส่งไปยังวะลีย์ (ข้าหลวง)ของแคว้นใดแคว้นหนึ่ง หรือนำข่าวของวะลีย์ไปส่งให้เคาะลีฟะฮฺ ผู้ที่ดำรงตำแหน่งนี้ เรียกว่า ซอฮิบ อัลบะรีด ( Sahib al-Barid ) ซึ่งทำหน้าที่เป็นเหมือนสายสืบของ เคาะลีฟะฮฺ เพื่อคอยควบคุมดูแลการปฏิบัติหน้าที่ในการบริหารการปกครองของวะลีย์ ตามแคว้นต่าง ๆ และรับผิดชอบงานไปรษณีย์ทั่วไปอีกด้วย

ระบบไปรษณีย์ในสมัยราชวงศ์อุมัยยะฮฺและอับบาซียะฮฺ

สองยุคนี้ระบบไปรษณีย์ได้เข้ามามีบทบาทในทางการเมืองการปกครองเป็นอย่างมากโดยเฉพาะกับฝ่ายที่มีอำนาจในการบริหารประเทศ และบุคคลแรกที่ได้จัดตั้งหรือวางรูปแบบการไปรษณีย์ในอิสลาม คือ มุอาวียะฮฺ อิบนุ อบีซุฟยาน(รอฏิยัลลอฮุอันฮุ) ผู้ซึ่งเคยเป็นข้าหลวงปกครองแคว้นชาม อดีตเมืองขึ้นของโรมัน ที่ท่านได้มีคำสั่งให้มีการปรับปรุงหน่วยงานที่เรียกว่า ดีวานอัลบะรีด เพื่อมารับผิดชอบดูแลงาน จัดส่งเอกสาร จดหมาย ประกาศ ฟัตวา และหนังสือสำคัญต่าง ๆ ของทางราชการ ทั้งภายในอาณาจักรอิสลามและภายนอกอาณาจักร
นอกจากนั้น ดีวาน อัลบะรีด ยังมีหน้าที่ในการตรวจสอบ ควบคุมความประพฤติ และการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่และข้าราชการที่ถูกส่งไปทำงานตามหน่วยงานในดินแดนต่าง ๆ ทั่วทั้งอาณาจักรอิสลาม หากมีความมิชอบมาพากลใด ๆ ก็จะมีการรายงานไปยังนครหลวงเพื่อให้ท่าน เคาะลีฟะฮฺได้ทราบและพิจารณาแก้ไขต่อไป
หลังจากนั้นไปรษณีย์อิสลามก็ได้ถูกปรับปรุงขนานใหญ่อีกครั้งโดยอับดุลมะลิก อิบนุ มัรวาน จนกลายมาเป็นองค์กรสำคัญที่มีบทบาทอย่างมากต่องานราชการและการประกอบธุรกิจต่าง ๆ มาจนถึงปัจจุบัน
ในกรุงแบกแดด นครหลวงของอาณาจักรอับบาซียะฮฺ กรมไปรษณีย์นั้นเป็นหน่วยงานที่สำคัญมาก เพราะมันมีบทบาทอย่างสูงต่อการกระจายข่าวสารและเพิ่มพูนความสัมพันธ์ของคนในชาติ เนื่องจากสามารถติดต่อสื่อสารกันไปมาได้อย่างสะดวก โดยจะมีการใช้นกพิราบเป็นสื่อในการรับ-ส่งจดหมายระหว่างกัน ตลอดจนเป็นผลดีในการทำธุรกิจค้าขายและการเดินทาง
แต่ข้อจำกัดของการไปรษณีย์ในยุคนี้ก็คือจดหมายส่วนใหญ่จะเป็นจดหมายที่ใช้ในทางราชการมากกว่า การใช้ส่งจดหมายของประชาชนทั่วไป ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการป้องกันการส่งข่าวที่เป็นความลับของบ้านเมืองไปบอกกับศัตรูของอิสลาม หากจะเปรียบเทียบบทบาทของการไปรษณีย์ในยุคนั้นกับปัจจุบันก็อาจจะกล่าวได้ว่า ดีวานอัลบะรีดก็คือกรมไปรษณีย์ รวมกับกระทรวงการต่างประเทศ และสำนักงานข่าวกรองแห่งชาติก็อาจเป็นได้
บรรดาผู้ปกครองในสมัยอับบาซียะฮฺ ต่างให้ความสำคัญกับระบบไปรษณีย์เป็นอย่างยิ่งโดยได้ยึดเอา ดีวาน อัลบะรีด หรือกรมไปรษณีย์ เป็นหน่วยงานที่สำคัญในการบริหารประเทศ ดังตัวอย่างเช่น สมัยของเคาะลีฟะฮฺ อบูญะอฺฟัร อัลมันซูร ที่ท่านได้ใช้ดีวาน อัลบะรีดเป็นผู้ช่วยในการบริหารงานของประเทศ และเป็นสายลับคอยสืบความเคลื่อนไหวของฝ่ายตรงข้าม
และในสมัยของของเคาะลีฟะฮฺ อบูญะอฺฟัร อัลมันซูร นี้เช่นกัน ได้มีการจัดเวรผลัดเปลี่ยนกันในการทำงานของหน่วยงานราชการต่างๆ ดีวาน อัลบะรีด เองก็ได้แบ่งออกเป็น 2 ช่วงเวลาทำการเช่นกัน คือ
ช่วงที่หนึ่งเริ่มตั้งแต่หลังละหมาดซุบฮิ จนกระทั่งถึงก่อนละหมาดมัฆริบ
ช่วงที่สองเริ่มตั้งแต่หลังละหมาดมัฆริบ จนกระทั่งถึงก่อนละหมาดซุบฮิ
สำหรับตารางการผลัดเปลี่ยนช่วงเวลาทำงานของแต่ละบุคคลนั้นจะถือเป็นความลับระหว่างเคาะลีฟะฮฺ กับบุคลากรของ ดีวานอัลบะรีด เท่านั้นที่จะสามารถรู้ได้ว่าใครอยู่ช่วงเวลาใดในแต่ละวัน



บทสรุป

ระบบการไปรษณีย์เป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ กล่าวคือ เมื่อมนุษย์เริ่มรู้จักการเขียนและการสื่อความหมาย ก็เริ่มที่จะมีความต้องการการติดต่อสื่อสารกัน จนมีการพัฒนารูปแบบในการสื่อสารทางไปรษณีย์เรื่อยมา
จนกระทั่งระบอบการปกครองและรัฐอิสลามได้ถูกสถาปนาขึ้นในปีฮิจเราะฮฺศศักราชที่หนึ่งเป็นต้นมา อิสลามก็ได้มีการริเริ่มและจัดระบบหน่วยงานราชการต่าง ๆ การไปรษณีย์ก็เป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่ได้รับการจัดระบบในครั้งนี้ และมีวิวัฒนาการเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน






















บรรณานุกรม

...................ย้อนรอยประวัติศาสตร์ 2548โลก กรุงเทพ :นานมีบุคส์.

เชากี อบูคอลีล 1987 อัลหะฎอเราะฮฺ อัล อารบียะฮฺ อัล อิสลามียะฮฺ ตรีโลี : มันชูรอต กุลลียะฮฺ อัด ดิรอซาต อัลอิสลามียะฮฺ.

ประจักษ์ ช่วยไล่ 2521โลกอิสลาม กรุงเทพ : เซาธ์ซีพับลิเกชั่น.

หะซัน อิบรอฮีม หะซัน 2001 ตารีค อัล อิสลาม ไคโร : ดาร อัล ญีล.

อบี อัลหะซัน อาลี อัลมาวัรดีย์ (มปป) อัลอะฮฺกาม อัล ซุลตอนียะฮฺ ฟี อัล วิลายาต อัล ดีนียะฮฺ เบรุต : ดาร อัล กุตุบ อัล อาละมียะฮฺ.

อบุล หะซัน อาลี อัลนัดวี 2526 อารยธรรมตะวันตก อิสลาม และมุสลิม แปลโดย กิติมา อมรทัตอิมรอน มะลูลีม กรุงเทพ : สำนักพิมพ์วงศ์เสงี่ยม.

อบุลวัสมีย์ อาลี เสือสมิง 2544 ร้อยเรื่องสารพันสรรหามาเล่า กรุงเทพ : ศูนย์หนังสืออิสลาม.

อัรรอบีเฏาะฮฺ อาณาจักรอิสลามสมัยอามาวียะฮฺ กรุงเทพ : ดาร อัล รอบิเฏาะฮฺ.

อิบนุ มันซูร 1994 ลิซาน อัล อะหรับ เบรุต : ดารุลซาดีร.












ระบบข้าหลวง (อัล อิมาเราะฮฺ) ในประวัติศาสตร์การปกครองอิสลาม

เรียบเรียงโดย :นาง รอสนา หลังปูเต๊ะ
นักศึกษาปริญญาโท
สาขาวิชาประวัติศาสตร์และอารยธรรมอิสลาม

บทนำ

หลังจากที่เราะซูล (ศ็อลลัลลอฮุอาลัยอิวาซัลลัม) ได้สถาปนานครมาดีนะห์เป็นรัฐแห่งแรกในอิสลาม ท่านได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้นำในการปกครอง มีระบบการปกครองแบบเรียบง่ายในนครเล็กๆที่ชื่อ มะดีนะห์ เมื่อดินแดนอิสลามได้แผ่ขยายกว้างขึ้นยากต่อการดูแลให้ทั่วถึง ท่านได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องมีผู้ปกครองนครแทนท่านในดินแดนที่กว้างไกลออกไป ซึ่งผู้ปครองเหล่านั้นได้ถูกขนานนามว่า อะมีร หรือ วะลีย์ มีอำนาจการปกครองในดินแดนที่ได้รับมอบหมาย (إمارة)ในสมัยของท่านท่านได้แต่งตั้งบรรดาเศาะฮาบะฮ์หลายท่านด้วยกัน อาทิเช่น อะบูมูซา อัล-อัชอารีย์ ยะอลา อิบนุ อุมัยยะห์ เป็นต้น ต่อมาระบบการปกครองได้มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบมากขึ้นในยุคต่อมา เนื่องจากอาณาจักรอิสลามได้ขยายอาณาเขตกว้างขึ้น ดังที่จะได้ศึกษาในรายละเอียดต่อไปนี้

อัล-อิมาเราะห์
ความหมายตามหลักภาษา
- ตำแหน่งของอามีร, ดินแดนที่อามีรปกครอง
- พลังอำนาจ การปกครองรัฐ

ความหมายตามหลักวิชาการ
- ตำแหน่งหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบในการบริหารเขตการปกครองหรือส่วนหนึ่งส่วนใดในการปกครองเขตนั้น และปัจจุบันนี้ใช้ในการเรียกตำแหน่งสำนักผู้ว่าประจำเขต เรียกว่า “ อะมีร” และในที่นี้จะขอใช้คำว่า “ อะมีร” ในรายงานฉบับนี้
ระบบข้าหลวงในสมัยท่านเราะซูล(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม)

เมื่อศาสนาอิสลามแผ่กระจายไปยังดินแดนที่กว้างไกลออกไป และมีผู้ที่เลื่อมไสศรัทธาในศาสนาอิสลามมากขึ้น เมื่อพวกเขาเหล่านั้นเดินทางกลับสู่ภูมิลำเนาแล้วท่านเราะซูล(ซ.ล.) ท่านเราะซูล(ซ.ล.)ก็เห็นถึงความสำคัญของการส่งผู้แทนท่านเพื่อการดูแลทุกข์สุขการให้ข้อแนะนำทางศาสนาตลอดจนดูอลความเป็นอยู่ของพวกเขาเหล่านั้น ท่านเราะซูล(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม)
จึงได้ส่งอะมีรไปยังสถานที่ต่างๆในดินแดนแห่งอิสลามคนแล้วคนเล่า เพื่อทำการสอนอัล-กุรอ่าน เป็นผู้นำการละหมาดและผู้เก็บทานบริจาคต่าง ๆ

บรรดาอะมีรของท่านเราะซูล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม)


ในสมัยที่ท่านเราะซูล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม)ยังมีชีวิตอยู่นั้น ท่านได้แต่งตั้งบรรดาอะมีรเพื่อทำหน้าที่แทนท่านในสถานที่ต่าง ๆ และเมื่อท่านเราะซูล(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม)เสียชีวิตลงนั้น บรรดาอะมีรเหล่านี้ก็ยังคงอยู่ในตำแหน่งหน้าที่นี้ต่อไป ในจำนวนอะมีรเหล่านี้มีดังต่อไปนี้
อัตตาบ อิบนุอะซีด เป็นอะมีรของเผ่ากินานะฮ์
อัลฏอฮิร บิน อะบีฮะลาละห์ เป็นอะมีรของเผ่าอัก
ดินแดนมักกะฮ์
ดินแดนฏออิฟ อุษมานอิบนุ อะบิลอาศ สำหรับชาวมะดัร และมาลิกอิบนุ เอาฟ อันนัศรีย์สำหรับชาววะบัร
ดินแดนนัจญรอน อัมรฺ อิบนุหัซฺม ในเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการละหมาด และอบูซุฟยานในเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการบริจาคทาน
ดินแดนระหว่างริมะอฺกับซะษีด (ใกล้กับนัจญรอน) คอลิด อิบนุซะอีด บิน อัลอาศ
ดินแดนฮัมดาน อามิร อิบนุซะฮัร
ดินแดนศ็อนอาอฺ อัลดัยละมีย์ ดาซวีย์ และก็อยศ อิบนุอัลมักชูฮ
ดินแดนญะนัด ยะอลา อิบนุอุมัยยะห์
ดินแดนมะรับ อบูมูซา อัลอัชอะรีย์





การปกครองในสมัยเคาะลีฟะฮ์ทั้งสี่

ในสมัยท่านอบูบักร อัล ศิดดีก(รอฏิยัลลอฮุอันฮุ) นั้น ท่านได้แบ่งการปกครองในกลุ่มอาหรับไปเป็นหลายเขตพื้นที่ กล่าวคือ นครมักกะห์ นครมะดีนะห์ เมืองฏออีฟ เมืองศ็อนอาอฺ เมืองฮัฏระตุลเมาต และดูลานและเมืองซะอีดและเมืองรีมัก และเมืองญะนัด ตลอดจนเมืองนัจญรอนและเมืองบะห์เรน ต่อมาเมื่อถึงสมัยท่านเคาะลีฟะห์อุมัร อิบนุอัลค็อฏฏอบ(รอฏิยัลลอฮุอันฮุ) นั้น การปกครองของรัฐก็มีการขยายมากขึ้น
ในสมัยของท่านเคาะลีฟะห์อุมัร(รอฏิยัลลอฮุอันฮุ) นี่เองถือเป็นบุคคลแรกที่ได้วางระบบการบริหารจัดการสำหรับประเทศอิสลาม โดยที่ในส่วนของการปกครองประเทศนั้นจะเป็นไปเพื่อรวบรวมชาวอาหรับให้อยู่ร่วมกันได้เพื่อเป็นประชาชาติหนึ่งเดียว ในการนี้ท่านเคาะลีฟะห์อุมัร(รอฏิยัลลอฮุอันฮุ) ก็ได้ทำการแต่งตั้งผู้ที่ทำหน้าที่อะมีร
อะมีรในสมัยนี้นั้นยังได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่มุมานะสำหรับทุกสิ่งทุกอย่างและเขาจะกระทำในสิ่งที่ตัวเองเห็นแล้วว่าจะเกิดผลดีในทุก ๆ แง่มุมของชีวิต ดังนั้น การที่เคาะลีฟะฮ์อุมัร(รอฏิยัลลอฮุอันฮุ) เลือกอะมีรนั้นก็ไม่ได้เป็นไปเพื่อยกย่องและให้เกียรติแก่พวกเขา แต่ทว่าเป็นเพราะความสามารถของพวกเขาในการที่จะเข้าใจแก่นแท้ของหลักการศาสนาอิสลามเท่านั้น แต่ทว่าหน้าที่ของพวกเขาก็คือการดำรงไว้ซึ่งการละหมาด การให้การพิพากษาด้วยความยุติธรรม และได้มีการให้ส่วนแบ่งในทรัพย์สินสงคราม
สำหรับท่านเคาะลีฟะห์อุสมาน(รอฏิยัลลอฮุอันฮุ) ก็ได้ดำเนินการตามวิถีทางแห่งท่านอุมัร(รอฏิยัลลอฮุอันฮุ) และในช่วงวาระสุดท้ายของชีวิตท่านนั้นก็มีความอ่อนแอในด้านการบริหารจัดการ

ระบบข้าหลวงในสมัยอุมัยยะฮฺและอับบาซียะฮฺ

ระบบการบริหารจัดการในราชวงศ์อุมัยยะฮฺนั้นมีความเรียบง่ายเนื่องจากหน้าที่การงานของอะมีรมีไม่มากเท่ากับสมัยอับบาซียะห์ โดยที่สมัยอับบาซียะห์มีการเลือกอะมีรของพวกเขามาจากผู้ที่มีเชื้อสายอาหรับ หรือเป็นบุคคลที่มีเชื้อสายกษัตริย์ จึงเห็นได้ว่า บรรดาอะมีรทั้งหลายนั้นล้วนแล้วแต่เป็นชาวอาหรับทั้งสิ้น
ในสมัยอับบาซียะห์นั้น อำนาจทางการปกครองของอะมีรเหล่านั้นถูกจำกัดอยู่ในวงแคบกล่าวคือในการนำละหมาดและเป็นผู้นำด้านการทหารเท่านั้น ส่วนการจัดการอื่นๆนั้นเช่น ด้านการคลัง และความยุติธรรม ไปรษณีย์ นั้นเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ระดับสูงคนอื่นๆ หรือแม้กระทั่งเจ้าหน้าที่ปกครองส่วนท้องถิ่นที่เคาะลีฟะห์เป็นผู้เลือกสรรเอง จากจุดนี้เองทำให้เกิดเมืองเล็ก ๆ ขึ้นในเมืองใหญ่ ๆ เช่น รัฐตูลูนียะห์ และอัลซัยดียะห์เป็นต้น

ระบบข้าหลวงในสมัยหลังจากท่านศาสดา

1. การรวมสองรัฐสำหรับภายใต้อะมีรคนเดียว
ด้วยเหตุผลต่างๆทางด้านการเมืองตลอดจนการจัดการจึงทำให้เกิดการรวมเอาสองสถานที่อยู่ในความดูแลของอะมีรคนเดียวกัน ดังเช่นกรณีที่เกิดขึ้นกับเมื่อตอนที่ อัลมุฆีเราะห์อะมีรแห่งกูฟะห์เสียชีวิตลง ดังนั้นท่านมุอาวียะห์จึงได้ทำการรวมเมืองกูฟะห์ให้กับซียาด อิบนุ มุอาวียะฮฺ ดังนั้นท่านจึงถือว่าคนที่รวมสถานที่สองสถานที่คนแรกเลยทีเดียวที่รวมระหว่างเมืองกูฟะห์กับเมืองบัศเราะห์ ส่วนในเรื่องของการจัดการอย่างไรนั้น อัล เฏาะบารีได้กล่าวว่า ท่านซียาดได้ทำการปกครองเมืองกูฟะห์เป็นเวลา 6 เดือน และปกครองเมืองบัศเราะห์อีกเป็นเวลา 6 เดือน

2. การแต่งตั้งอะมีรเพื่อการปรองดองระหว่างอะมีร
ได้เกิดเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างท่านอะลี(รอฏิยัลลอฮุอันฮุ) กับท่านมุอาวียะห์(รอฏิยัลลอฮุอันฮุ) ในกรณีที่ทั้งสองท่านต่างก็ได้ส่งอะมีรของแต่ละท่านในช่วงการทำฮัจญ์ เมื่อสิ่งเหล่านั้นไปเกี่ยวข้องกับการทำอิบาดัตจึงทำให้เกิดผลกระทบแก่บรรดามุสลิมทั้งหลาย ประกอบกับช่วงนั้นเป็นช่วงที่มุสลิมมีศรัทธาที่กล้าแข็ง ดังนั้น อะมีรทั้งสองท่านก็ได้เห็นพ้องที่จะให้มีบุคคลอีกบุคคลหนึ่งที่จะมาทำงาน จากจุดนี้เองที่เป็นหลักฐานยืนยันได้ว่าการแต่งตั้งอะมีรนั้นไม่จำเป็นจะต้องมีคำสั่งของท่านเคาะลีฟะห์ แต่เป็นไปด้วยความเห็นพ้องของทั้งสองฝ่ายโดยยึดถือผลประโยชน์ของมุสลิมทั่วไปเป็นหลัก

3. การให้สัตยาบันเป็นการชั่วคราว
ในบางกรณีเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ มากมายเช่นการเสียชีวิตของท่านเคาะลีฟะห์ การฟิตนะห์ต่าง ๆ นา ๆ ทำให้ประชาชนของเมืองเมืองนั้นได้ทำการคัดเลือกบุคคลที่เขาคัดสรรขึ้นมาเพือทำหน้าที่อะมีรของพวกเขาเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะสามารถจะทำการคัดเลือกบุคคลที่ทุกฝ่ายเห็นชอบในโอกาสต่อไป เช่นในกรณีของการให้การสัตยาบันของชาวบัศเราะห์ต่อท่านอุบัยดุลลอฮ บิน ซียาด เป็นต้น



4. การปลดอะมีรและการให้การสัตยาบันต่อบุคคลอื่น
ในกรณีที่มีการปลดท่านฮัจญาจ อิบนุ ยูซุฟ อัซซะเกาะฟีย์ ออกจากตำแหน่งและแต่งตั้งท่านอื่นให้ทำหน้าที่แทน

5 อะมีรถึงแก่อสัญกรรมและการแต่งตั้งบุคคลอื่น
ในกรณีนี้มีการสังหารท่านยะซีดบิน อะบีมุสลิมและแต่งตั้งบุคคลอื่นเป็นอะมีรแทน

รูปแบบการปกครองในระบบข้าหลวง
ลักษณะรูปแบบการปกครอง สามารถที่จะแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบคือ
1) การปกครองส่วนกลาง(الإمارة العامة)
2) การปกครองส่วนจำเพาะ (الإمارة الخاصة)

1) การปกครองส่วนกลาง (الإمارة العامة)
การปกครองโดยทั่วไปประกอบไปด้วยสองลักษณะ คือ
1. การปกครองแบบอำนาจเบ็ดเสร็จ (إمارة استكفاء):เป็นการปกครองที่มีอะมีรที่ได้รับการแต่งตั้งโดยท่านคอลีฟะห์และทำหน้าที่บริหารการปกครองแทนคอลีฟะห์ในดินแดนที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ครอบคลุม 7 ประการ คือ
1. การบริหารกองทัพ
2.การพิจารณากฎหมายโดยยึดตามแนวทางของผู้พิพากษา
3.การจัดเก็บภาษีและซะกาต
4.การปกป้องศาสนา
5.ดำเนินการบทลงโทษตามบัญญัติอิสลาม
6.เป็นผู้นำในการดำเนินการกิจกรรมส่วนรวมต่างๆตลอดจนเป็นผู้นำละหมาด
7.ให้ความสะดวกแก่บรรดาฮุจญาตทั้งในเขตและนอกเขตการปกครอง

2. การปกครองย่อย (إمارة استيلاء) : หมายถึงการปกครองที่อะมีรเป็นผู้แต่งตั้งผู้ปกครองเขตและได้รับการยอมรับและแต่งตั้งจากท่านคอลีฟะห์
2) การปกครองส่วนจำเพาะ (الإمارة الخاصة)
อะมีรผู้ทำหน้าที่ปกครองลักษณะนี้จะมีอำนาจหน้าที่เฉพาะในการบริหารกองทัพ ปกครอง
ประชาชนและปกป้องศาสนาจะไม่มีหน้าที่ในการดำเนินการบทลงโทษและจัดเก็บภาษีใดๆทั้งสิ้น


บทสรุป

ระบบข้าหลวงในประวัติศาสตร์อิสลาม เป็นระบบที่มีวิวัฒนาการมาตั้งแต่สมัยท่านรอซูล (ศ็อลฯ) จะมีการเปลี่ยนแปลงและแตกต่างกันตามความเหมาะสมกับยุคสมัย
ด้วยสาเหตุหนึ่ง อณาจักรอิสลามได้แผ่ขยายไปอย่างกว้างขวางทำให้อณาเขตการปกครองก็ขยายไปตามกัน ทั้งนี้ ระบบข้าหลวงจึงมีความสำคัญยิ่ง และเป็นการกระจายงานที่มีระบบในการปกครองของประวัติศาสตร์อิสลาม




















บรรณานุกรม

เชากี อบูคอลีล 1987 อัล ฮาฎอเราะฮฺ อัล อารอบียะอฺ กุลียาตุล ดะวะฮฺ อัล อิสลามียะฮฺ

ซอฟิร อัล-กอซีมีย์ 1977 นิษอม อัล-ฮุกม ฟี อัล-ชารีอะห์ วา อัล-ตารีฆ อัล-อิสลามีย์ เบรุต : ดาร อันนาฟาอิส

ฮาซัน อิบรอฮัม ฮาซัน และ อาลี อิบรอฮีม ฮาซัน (มปป) อันนูซุม อัล อิสลามียะฮฺ มักตาบะฮฺ อันนะฮฺร

อัลซอและห์ ศุบฮี 2001 อัลนุษุมอัลอิสลามียะห์, พิมพ์ครั้งที่ 13 เบรุต :สำนักพิมพ์ดาร อัลอิลมี

มุฮัมหมัดเราะวาส กอลอะฮฺ ญี ฮามิด ซอดิก กุนัยบี กุฏุบ มุสตอฟา ซานู1996 มุอญัม อัล-ลุเฆาะห์ อัล-ฟูกอฮาอู เบรุตดารุล นะฟาอิซ

อิบนุ มุสลิม ปทานุกรม อาหรับ—ไทย กรุงเทพ : ศูนย์หนังสือ มานพ วงศ์สเงี่ยม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น