วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในเรื่องฟิกฮของอิหม่ามฮาซัน อัลบันนา

วันหนึ่งในเดือนรอมฎอน กับอีหม่ามฮะซัน อัลบันนา
วันหนึ่งในช่วงรอมฎอน ท่านอิหม่ามหะสัน อัล-บันนาได้รับเชิญให้ไปบรรยายในหมู่บ้านเล็กๆในประเทศอียิปต์ฺ ประชาชนที่นั้นได้แตกแยกออกเป็น สองกลุ่ม เนื่องด้วยความเชื่อที่ไม่เหมือนกันเกี่ยวกับจำนวนรอกาอัตในละหมาดตะรอเวียะห์  กลุ่มหนึ่งได้พยายามอธิบายถึงการปฏิบัติของท่าน อุมัร อิบนุคอตตอบ(ร.ฎ)ว่าพวกเขาควรจะปฏิบัติ 20 รอกาอัต   กลุ่มที่เหลือพวกเขาได้เชื่อมั่นว่าพวกเขาต้องปฏิบัติ 8 รอกาอัต พวกเขารู้ว่าท่านนบี(ซ.ล)ไม่เคยปฏิบัติเกินว่าจำนวนนี้เลยไม่ว่าเวลาใด   ดังนั้นกลุ่มหนึ่งจึงได้กล่าวหาว่าอีกกลุ่มเป็นพวกบิดอะฮฺ(อุตริกรรมทางศาสนา) พวกเขาทะเลาะกันถึงขั้นอันตราย เกือบจะนำไปสู่ความขัดแย้งของผู้คนโดยทั่วไป เมื่ออีหม่ามอันบันนาได้มาถึง พวกเขาก็เห็นพ้องกันที่จะนำเรื่องนี้ให้ท่านพิจารณา วิธีการที่ท่านใช้จัดการต่อเหตุการณ์นั้น ได้เป็นการสอนแก่พวกเราทุกคนด้วย  เริ่มแรกท่านได้ตั้งคำถามว่า อะไรคือสถานะของละหมาดตะรอเวียะห์ ? คำตอบคือ เป็นสุนัต ซึ่ง ผู้ใดปฏิบัติก็จะได้รับผลตอบแทน ผู้ใดไม่ปฏิบัติก็จะไม่ถูกลงโทษ  ท่านถามต่อไปว่า อะไรคือสถานะของความเป็นพี่น้องในระหว่างมุสลิม ? พวกเขาตอบว่า มันเป็นฟัรฎู(ข้อกำหนด)เป็นหนึ่งในรากฐานของความศรัทธา   จากนั้นท่านจึงสรุปว่า มันสมเหตุสมผลแล้วหรือที่พวกท่านละทิ้งฟัรฎูเพื่อสุนัต ท่านได้บอกพวกเขาต่อไปว่า ถ้าหากเป็นการรักษาความเป็นพี่น้อง และแต่ละคนก็ไปปฏิบัติที่บ้าน ตามความเชื่อมั่นของตัวเอง มันจะเป็นการดีกว่าที่ท่านได้ออกห่างจากการโต้เถียงและขัดแย้งกัน  เมื่อฉันได้เล่าเรื่องนี้ให้บางคนฟัง พวกเขากลับกล่าวว่า การกระทำของอันบันนา เป็นการหนีความจริง หมายถึงการไม่ยอมชี้ถึงข้อแตกต่างระหว่างสุนนะฮฺ(แบบอย่างท่านนบีฯ)และบิดอะฮฺ(อุตริกรรม)  โดยพวกเขายืนยันว่า สิ่งนี้เป็นหน้าที่ของมุสลิม  ฉันได้ตอบว่านี้เป็นเรื่องของความคิดเห็นที่ต่างกัน(ที่มีต่อตัวบท ไม่ใช่เรื่องซุนนะฮ์และบิดอะฮฺ) ดังนั้น ถึงแม้ฉันเองได้ปฏิบัติละหมาด 8 รอกาอัต ฉันก็จะไม่กล่าวหาว่ากลุ่มที่ปฏิบัติ 20รอกาอัตเป็นกลุ่มบิดอะฮฺ    แต่พวกเขาได้ยืนยันว่า การตัดสินใจเลือกในกรณีเช่นนี้ ถือเป็นหน้าที่ของมุสลิมที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้  ฉันได้ยืนยันกับพวกเขาว่า ถูกต้อง หากว่ามันเป็นการเลือกระหว่างสิ่งที่ต้องห้าม(ฮะรอม)กับสิ่งที่อนุมัติ(ฮะลาล) แต่กรณีนี้ยังมีข้อแตกต่างทางความคิดเห็นระหว่างนักนิติศาสตร์ของสำนักต่างๆอยู่ ถึงที่สุดก็ย่อมทำให้พวกเราแต่ละคนมีความเห็นเป็นของตัวเอง
            ฉะนั้น จะดันทุรังหรือคลั่งไคล้ไปทำไมกัน !!!
 ..................................

http://www.fityah.com/index.php?option=com_content&task=view&id=218&Itemid=31 โดย อบูริจญาล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น