วันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

นักฟื้นฟูอิสลาม เมาลานา อบุล อะอฺลา อัล เมาดูดียฺ :

                    นักฟื้นฟูอิสลาม เมาลานา อบุล อะอฺลา อัล เมาดูดียฺ  :
ผู้นำการฟื้นฟูอิสลามแห่งศตวรรษที่ ๒๐
            ต้นตอแห่งกระแสการฟื้นฟูอิสลามในศตวรรษที่ ๒๐  ดูเหมือนจะมีเค้ามาจากปฏิกิริยาของมุสลิมต่อลัทธิล่าอาณานิคมของตะวันตกในเอเชียและในแอฟริกา ขณะเดียวกัน กระแสที่เกิดการตื่นตัวไปทั่วนี้ อาจจะเกิดขึ้นจากสาเหตุอื่นในกรณีของประเทศมุสลิมบางประเทศ 
เราสามารถสังเกตปรากฏการณ์นี้ได้ในหลาย ๆ ประเทศที่มิได้ถูกปกครองโดยจักรวรรดินิยมของตะวันตก ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีการเรียกร้องในการค้นหาสาเหตุที่สำคัญมากกว่าคำอธิบายที่พบเห็นกันโดยทั่วไป เพราะแม้ว่าจะมีการอธิบายปรากฏการณ์การตื่นตัวของอิสลามว่าเป็นปฏิกิริยาต่อต้านลัทธิล่าอาณานิคมของยุโรป แต่ปรากฏการณ์นี้ก็ยังคงความเป็นจริงในแง่ของประวัติศาสตร์ที่ความจริงในตัวของมันเองได้ถูกมองข้ามไป
การศึกษาอย่างจริงจังโดยเข้าถึงแหล่งกำเนิดคำสอนของอิสลามซึ่งก็คือ อัล-กุรอาน และซุนนะฮฺ  จะแสดงให้เห็นว่าอิสลามก็คือแบบแผนในการดำเนินชีวิต เป็นระบบที่สมบูรณ์โดยตัวมันเองที่มีลักษณะเฉพาะโดยธรรมชาติและมีกลไกในการที่จะกระตุ้นและปลุกเร้าจากภายในนั่นก็คือ กระบวนการวินิจฉัยในอิสลาม  หลักการเชิงพลวัตที่รับผิดชอบต่อปรากฏการณ์ดังกล่าว  ซึ่งถูกกล่าวไว้จากหะดีษของท่านรอซู้ลก็คือการอิจญฺติฮาด’ (การปฏิรูปทางความคิดอย่างเป็นระบบ) เมื่อใดก็ตามที่ประชาชาติอิสลามเผชิญกับช่วงเวลาแห่งความกดดันและตกต่ำ ก็ด้วยการอิจญฺติฮาด (หรือบางครั้งเรียกว่า ญิฮาด) ที่ช่วยให้ประชาชาติอิสลามกลับมามีชีวิตอีกครั้ง ซึ่งในศตวรรษที่ ๑๙ ประชาชาตินี้ตกอยู่วิกฤติทั้งทางการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม กระนั้นก็ตามเราไม่สามารถที่จะคิดได้ว่า อย่างน้อยที่สุดบุคลิกลักษณะแบบสุดโต่งมิได้เกิดขึ้นมาเพื่อนำประชาชาตินี้ออกจากวิกฤติ พร้อมกับการอิจญฺติฮาด
ท่านซัยยิด  อบุล-อะอฺลา เมาดูดี  (๒๔๔๖ - ๒๕๒๒) ยอดนักคิดมุสลิม ได้เข้าเผชิญหน้ากับวิกฤติของประชาชาติอิสลามที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ ๒๐ ด้วยวิธีการอันลึกซึ้ง โดยท่านเป็นผู้ริเริ่มในการใช้กระบวนการอิจญฺติฮาดในระดับที่มีความเข้าใจและทราบถึงสถานการณ์โดยรอบด้าน ท่านได้เสนอแนวคิดอันเป็นทางเลือกให้แก่โลกยุคใหม่ เป็นความท้าทายแห่งยุคสมัยที่ต้องเผชิญกับแนวคิดของทุนนิยม มาร์กซิสต์และฟาสซิสต์ ซึ่งได้แพร่หลายในช่วงศตวรรษที่ ๑๙ ของยุโรป   
ท่านซัยยิด เมาดูดีได้เข้าเผชิญกับความท้าทายนี้ในสามระดับที่แตกต่างกัน ระดับแรกเป็นระดับทางแนวคิด ทั้งทุนนิยมและมาร์กซิสต์  ต่างก็อ้างว่าสามารถที่จะแก้ปัญหาทั้งเศรษฐกิจ สังคม และปัญหาทางการเมืองได้ดีที่สุด อำนาจทางการเมืองที่สูงขึ้นของประเทศในยุโรปถูกอธิบายโดยแนวคิดที่เหนือกว่าระบบความคิดอื่น 
กำเนิดและชีวิตวัยเยาว์ของเมาดูดี
          อบุล-อะอฺลา เมาดูดี ถือกำเนิด ในปี ค.ศ. 1903 ในหมู่บ้านหนึ่งที่ชือ อูรางอาบ้าด ซึ่งเป็นตำบลหนึ่งในจังหวัด ฮัยดัร อาบ้าด ของประเทศอินเดีย ท่านได้ถืดกำเนิดในบ้านของผู้ที่มีความรู้และเคร่งครัดในศาสนา
ต้นตระกูลของอะบุล อะอฺลา อัล-เมาดูดี มาจากชาวอาหรับที่ชื่อ ฏอวาญิฮฺ เมาดูดีที่อพยพมาอยู่ในอินเดียตั้งแต่ปลายศัตวรรษที่ ๑๙  และบิดาของท่าน อัล-ซัยยิด อะฮฺหมัด หะซัน ก็ถือกำเนิดที่อินเดีย
บิดาของท่านเป็นผู้รู้ที่เชี่ยวชาญภาษาอังกฤษ ท่านเป็นศิษย์ของโรงเรียน มัดรอสะ อัล-อุลูม และเป็นบัณฑิตของมหาวิทยาลัย อาลีก้า เคยเป็นครูมาระยะหนึ่งหลังจากนั้นท่านได้ทำงานเป็นผู้ภิพากษาในเวลาต่อมา ก่อนที่ท่านจะลาออกจากงานเนื่องจากป่วยเป็นอำมพาต
อบุล-อะอฺลา เมาดูดี เริ่มเรียนรู้และได้รับการศึกษาจากบิดาของตนเสมือนเป็นครูคนแรก และท่านได้บอกไว้ตอนหนึ่งว่า “บิดาของท่านได้อบรมสั่งสอนท่านในทุกๆเรื่อง จนท่านรู้สึกว่าชีวิตของท่านได้รับอิธิพลจากบิดาตราบจนทุกวันนี้”
อบุล-อะอฺลา เมาดูดี เป็นนักเขียนคนหนึ่ง  งานของท่านซัยยิด เมาดูดีที่ได้สร้างกระแสการตื่นตัวอิสลามไปทั่วโลก ยังคงไว้ซึ่งคุณค่าและมีผลต่อการทำความความเข้าใจในการเกิดขึ้นของขบวนการฟื้นฟูอิสลามทั้งในอเมริกาเหนือ ยุโรป แอฟริกา และในเอเชีย
         ได้มีการเรียกร้องให้ก่อตั้งสถาบันเพื่ออุทิศให้กับการศึกษาของท่านกับงาน ๒๐๐ ชิ้นซึ่งได้รับการแปล ๒๘ ภาษา การเริ่มต้นของศตวรรษใหม่นี้ อาจจะเป็นเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการที่จะก่อตั้งสถาบันเช่นนี้ และในเดือนพฤษจิกายนปี ๒๕๔๖ ก็ถือเป็นการครบรอบ ๑๐๐ ปีเนื่องในวันเกิดของท่านด้วย

แนวคิดและผลงานของอะบุล อะอฺลา อัล-เมาดูดี
แนวคิดสำคัญอันดับแรกที่ท่านซัยยิด เมาดูดีได้แสดงไว้อย่างชัดเจนโดยใช้วิสัยทัศน์แบบอิสลามในการวิเคราะห์สังคม เศรษฐกิจ และรัฐ โดยในขณะที่ท่านวิจารณ์แนวคิดทางตะวันตก ท่านก็ได้เสนอระบบความคิดแบบอิสลามเป็นทางเลือกในรูปแบบที่ชัดเจน ด้วยการเผชิญหน้ากับความท้าทายแห่งยุคสมัย คงจะไม่มีปัญญาชนมุสลิมท่านใดอีก ทั้งในศตวรรษที่ ๑๙ และ ๒๐ ที่ได้เสนอแนวคิดอันประณีตและละเอียดอ่อนที่แสดงถึงมิติต่าง ๆ  ของอิสลามทั้งทางการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม ดังที่เราได้พบในงานเขียนของท่านซัยยิด  เมาดูดี
ท่านซัยยิด  เมาดูดีได้ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าแนวความคิดแบบตะวันตก สามารถที่จะเอาชนะได้ด้วยความคิดที่เป็นเหตุเป็นผลเท่านั้น นี่เป็นคำตอบว่าทำไมถึงต้องทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อแนวคิดทุนนิยม สังคมนิยมและฟาสซิสต์  ท่านได้แสดงให้เห็นถึงระบบความคิดของอิสลามในงานเขียนที่เด่นหลาย ๆ ชิ้นของท่าน เช่น Sud (ดอกเบี้ย),Islamic civilization it genesis and principles,Tafhimat, al-Jihad fi allslam and Tanqihat ในการทำความเข้าใจกับแง่มุมต่าง ๆ ของระบบการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคมแบบอิสลาม ขณะเดียวกันท่านก็ได้วิพากษ์แนวคิดแบบทุนนิยมและสังคมนิยมอีกด้วย
            เพื่อที่จะเข้าสู่พื้นฐานทางความคิดแห่งอัล-กุรอานอันละเอียดอ่อน  ท่านได้สร้างงานเขียนอันน่าจดจำ ในการทำความเข้าใจอัล-กุรอาน คือตัฟฮีมุล-กุรอานขณะได้เพิ่มเติมรายละเอียดในการอธิบายความหมายของคำที่เป็นพื้นฐานของอัล-กุรอานในหนังสือชื่อ  Four Basic Terms of the Qur’an and Islamic Ibadat par aik Tehqiqi Nazr จุดประสงค์ของการอรรถาธิบายอัล-กุรอานของท่าน ไม่ได้มุ่งในประเด็นทางการศึกษาและการอภิปรายทางประวัติศาสตร์ แต่เป็นการนำเบื้องหลังทางประวัติศาสตร์ <!--[if !vml]--> <!--[endif]-->และการวิเคราะห์ เพื่อที่จะค้นหาสิ่งที่อัล-กุรอานได้ให้หลักปฏิบัติต่อเหตุการณ์ร่วมสมัย    
          เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าแนวความคิดที่นำเสนอโดยท่านซัยยิด  เมาดูดี  เป็นหนึ่งในองค์ประกอบหลักอันเป็นเบื้องหลังของขบวนการฟื้นฟูอิสลามในวงกว้าง  แม้ผลงานของท่านจะเขียนเป็นภาษาอูรฺดูเท่านั้น แต่ก็ได้รับการแปลเป็นภาษาอาหรับ  เปอร์เซีย  อังกฤษ  ฝรั่งเศส  และเยอรมัน  เพียงแค่ระยะเวลา  ๒ ทศวรรษของการที่ท่านได้ก่อตั้งขบวนการฟื้นฟูอิสลามขึ้นในประเทศปากีสถาน  ช่วงปลายทศวรรษที่ ๒๔๙๓ ท่านเป็นผู้ที่ออกมากล่าวถึงอิสลามว่าเป็นระบอบแห่งอนาคต  โดยการนำเสนออิสลามอย่างกระจ่างชัด และการทำความเข้าใจอย่างเป็นระบบ  ทำให้ท่านเป็นที่รู้จักดีในหมู่ปัญญาชน คนหนุ่มสาว  ทั้งในประเทศซูดาน  อิหร่าน  และประเทศในตะวันออกกลาง
            ผลงานสำคัญลำดับที่สองของท่านคือการเป็นผู้ก่อตั้งขบวนการฟื้นฟูอิสลามขึ้นในประเทศปากีสถาน กับการเริ่มต้นอย่างเรียบง่ายในปี  ๒๔๘๔  การตื่นตัวก็ได้แพร่กระจายไปทั่วประเทศและสามารถที่จะกระตุ้นให้เกิดการศึกษาอย่างจริงจัง จุดประสงค์แรกเริ่มของการเคลื่อนไหวคือการเปลี่ยนแปลงสภาพของปัจเจกชนด้วยกับหมู่คณะ เพื่อนำไปสู่การปฏิรูปสังคม เศรษฐกิจ และรัฐในที่สุด ท่านได้พัฒนาวิธีในการเปลี่ยนแปลงสังคมโดยองค์รวม ซึ่งแตกต่างจากรูปแบบเดิม ๆ ของพิธีการการชำระตนเองให้บริสุทธิ์  การเข้าถึงจิตวิญญาณ  หรือรูปแบบอื่นที่เป็นที่นิยมในขบวนการทั่วไป   แต่ขบวนการฟื้นฟูอิสลามที่ท่านก่อตั้งนั้น  มุ่งประเด็นไปที่การเปลี่ยนแปลงทางสังคมในวงกว้าง  นั่นรวมไปถึงการเคลื่อนไหวทางการเมือง  กระนั้นก็ตาม การเคลื่อนไหวทางการเมืองมิใช่จุดประสงค์เพียงหนึ่งเดียว  แต่มันเป็นเพียงส่วนหนึ่งของกระบวนการเปลี่ยนแปลงของสังคมอย่างสมบูรณ์  อันมีรากฐานทางความคิดที่มาจากการศึกษาถึงแก่นของอัล-กุรอานและซุนนะฮฺ
           เป็นที่ยอมรับว่าไม่มีปัญญาชนมุสลิมท่านใดอีกในศตวรรษที่ ๒๐ ที่จะสามารถอธิบายระบบการปกครองแบบอิสลามได้อย่างชัดเจนเช่นท่าน หนังสือของท่านที่ชื่อ  Islamic State, Islamic law and Constitution, Khilaft-o-Mulukiat, How to establish an Islamic State  และบทความอีกหลาย ๆ ชิ้น แสดงถึงแง่มุมต่าง ๆ ของระบบการปกครองแบบอิสลาม เป็นหลักฐานให้กับข้อสังเกตนี้ได้เป็นอย่างดี  ขณะที่  อิกบาล  อัฟฆอนี  หรือโคมัยนี  มิได้กล่าวถึงความจำเป็นของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของมุสลิมในการปกครอง หรือพันธะของมุสลิมในการที่จะจัดตั้งรัฐอิสลาม ไม่มีใครในเขาเหล่านั้นที่จะสามารถร่างพิมพ์เขียวของการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองอย่างอิสลามได้ แต่ในทางตรงกันข้าม ท่านซัยยิด เมาดูดีสามารถที่จะวางโครงร่างอย่างเป็นขั้นเป็นตอนของกระบวนการในการเปลี่ยนแปลงสังคมและการปกครองเพื่อนำไปสู่การจัดระเบียบสังคมอย่างแท้จริง
            ผลงานที่เห็นเด่นชัดอีกข้อหนึ่งของท่านซัยยิด เมาดูดี คือการสร้างบรรยากาศในขบวนการ ญะมาอะฮฺ อิสลามียะฮฺ ด้วยกับบุคลิกภาพที่มีเสน่ห์ของการเป็นผู้นำ ด้วยการปฏิบัติที่เป็นกันเอง ขณะที่ทำการสนับสนุนบุคคลที่มีความคิดโดดเด่น  จากงานเขียนและการพัฒนาขบวนการฟื้นฟูอิสลามของท่าน ท่านได้นำข้อบกพร่องออกไปจากจิตใจของผู้ตาม อันได้แก่ การเคารพบูชาและการยึดติดในตัวผู้นำอย่างเกินขอบเขต ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติสำหรับขบวนการเคลื่อนไหว  นำไปสู่การลดบทบาทของแนวคิดสุดโต่งหรืออนุรักษ์นิยมภายในขบวนการและได้พัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้นภายใต้อิทธิพลแนวความคิดของท่าน
           สำหรับผู้ที่ไม่เคยใช้เวลาเพียงพอในการศึกษาแนวคิด บุคลิกลักษณะ และขบวนการเคลื่อนไหวของท่านซัยยิด เมาดูดี  มันเป็นเรื่องที่ออกจะไม่ยุติธรรมในการที่จะตัดสินว่าการเรียกร้องของท่านให้มีการอิจญฺติฮาดบนพื้นฐานของแห่งกำเนิดคำสอนแห่งอิสลาม นั่นคือ อัล-กุรอานและซุนนะฮฺว่าเป็นแนวคิด ‘อนุรักษ์นิยม’  โดยผู้รู้ชาวคริสเตียนหลาย ๆ ท่าน  สำหรับคำว่าอนุรักษ์นิยมนั้นมีความเกี่ยวพันกันอย่างลึกซึ้งกับเทววิทยาของชาวคริสเตียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปลายศตวรรษที่ ๒๐ มีชาวคริสเตียนที่เชื่อว่าขบวนการเคลื่อนไหวที่มีแนวคิดโดยยึดตามตัวบทและกลับไปสู่คัมภีร์ไบเบิ้ล เพื่อการปลดปล่อยในแต่ละปัจเจกชน  จนกระทั่งนำมาซึ่งแนวคิดสุดโต่งและทัศนคติที่ไร้ข้อพิสูจน์ระหว่างพวกเขากันเอง ในทางตรงกันข้าม ความเชื่อนี้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเรียกร้องให้กลับไปสู่อัล-กุรอานและซุนนะฮฺ  โดยกระบวนการอิจญฺติฮาดอย่างเป็นเหตุเป็นผล เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาร่วมสมัย กระบวนการนี้สามารถอธิบายได้ดีที่สุดในฐานะวิธีการที่เป็นระบบเชิงพลวัตที่ต้องเผชิญกับความท้าทายแห่งสมัยนิยม ก็ด้วยเหตุนี้เองมันจึงไม่สามารถให้คำจัดความว่า  ‘อนุรักษ์นิยม’  ได้  
ด้วยกับภูมิปัญญาและความเข้าใจในสถานการณ์ ท่านซัยยิด เมาดูดี เป็นผู้ริเริ่มในการฟื้นฟูกระบวนการอิจญฺติฮาดทั้งในภาคเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม มันไม่ยุติธรรมที่จะกล่าวหาแนวคิดและขบวนการของท่าน  ที่เรียกร้องให้กลับไปสู่อัล-กุรอานและซุนนะฮฺ ว่าเป็นเช่นเดียวกับบางกลุ่มที่มีแนวคิดอนุรักษ์นิยมกลุ่มเหล่านี้เมื่อพวกเขาได้เรียกร้องให้กลับไปสู่อัล-กุรอานและซุนนะฮฺ จะหมายถึงการปฏิบัติตามแนวทางการกระทำและการใช้ชีวิตของชาวสลัฟอย่างเคร่งครัดโดยขบวนการที่เรียกร้องเช่นนี้อาจจะนำไปสู่แนวคิดที่ล้าสมัย ขณะที่ขบวนการที่เรียกร้องให้มีการฟื้นฟูและอิจญฺติฮาดนำไปสู่ความก้าวหน้า การพัฒนา และทันต่อยุคสมัย

            
            อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปรัชญาความคิดและแนวทางการทำงานของท่านซัยยิด เมาดูดี ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานแนวคิดอิสลาม จะถูกนำไปเปรียบเทียบกับแนวคิดที่มาจากนักวิชาการเซคคิวลาร์ในยุโรปเช่น คาร์ล มาร์กซ์ หรือ ซิกมันด์ ฟรอยด์ เนื่องจากท่านมิใช่บุคคลที่จำกัดความคิดของตนเองอยู่ในกรอบของสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง แต่ท่านได้ครอบคลุมองค์ความรู้ที่มากมายกว่านักวิชาการที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งก่อให้เกิดบทบาทอันน่าทึ่งท่ามกลางแนวคิดของยุโรปสมัยใหม่
งานเขียนของอะบุล-อะอฺลา เมาดูดี
          งานเขียนของ เมาดูดี มากถึง ๗๐ เล่ม และในบรรดางานเขียนของท่านที่โด่งดังและเป็นที่รู้จักมี ๑๔ เล่ม ดังนี้
<!--[if !supportLists]-->ž   <!--[endif]-->الجهاد في الإسلام: وقد ألفه سنة (1347 هـ = 1928م).
<!--[if !supportLists]-->ž   <!--[endif]-->الحضارة الإسلامية (أصولها ومبادئها): وقد كتبه سنة (1350 هـ = 1932م).
<!--[if !supportLists]-->ž   <!--[endif]-->نظرية الإسلام السياسية: كتبه سنة (1358 هـ = 1939م)
<!--[if !supportLists]-->ž   <!--[endif]-->تجديد وإحياء الدين: كتبه سنة (1359 هـ = 1940م).
<!--[if !supportLists]-->ž   <!--[endif]-->الاصطلاحات الأربعة الأساسية في القرآن: كتبه سنة (1360 هـ = 1940م).
<!--[if !supportLists]-->ž   <!--[endif]-->الإسلام والجاهلية: كتبه سنة (1360 هـ = 1941م).
<!--[if !supportLists]-->ž   <!--[endif]-->الأسس الأخلاقية للحركة الإسلامية: كتبه سنة (1364 هـ = 1945م).
<!--[if !supportLists]-->ž   <!--[endif]-->الدين الحق: كتبه سنة (1366 هـ = 1947م).
<!--[if !supportLists]-->ž   <!--[endif]-->نظام الحياة الإسلامي: كتبه سنة (1367 هـ = 1948م)
<!--[if !supportLists]-->ž   <!--[endif]-->حقوق أهل الذمة: كتبه سنة (1367 هـ = 1948م).
<!--[if !supportLists]-->ž   <!--[endif]-->مطالب الإسلام تجاه المرأة المسلمة: كتبه سنة (1372 هـ = 1953م).
<!--[if !supportLists]-->ž   <!--[endif]-->قضية القاديانية: كتبه سنة (1372 هـ = 1953م)
<!--[if !supportLists]-->ž   <!--[endif]-->تفسير تفهيم القرآن: ويقع في ستة أجزاء، وقد بدأ كتابته سنة (1360 هـ = 1941م)، وأتمه في سنة (1392هـ = 1972م).
<!--[if !supportLists]-->ž   <!--[endif]-->سيرة النبي صلى الله عليه وسلم : وقد شرع في تأليفه سنة (1392 هـ = 1972م)، وأتمه قبيل وفاته، وهو آخر مؤلفاته.

               อ้างอิงจากเอกสารประกอบการสอนรายวิชานักคิดและกลุ่มฟื้นฟูอิสลาม เรียบเรียงโดย อาจารย์อับดุลลาตีฟ การี อาจารย์ประจำคณะอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา

3 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ11 ตุลาคม 2554 เวลา 21:33

    ขอบคุณมากสำหรับข้อมูลครัาาาาาาบ

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ16 เมษายน 2555 เวลา 01:30

    ดีมาก

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ10 กรกฎาคม 2555 เวลา 01:57

    ข้อมูลถูกต้องมั้ยค่ะ เดี๋่ยวจะนำความเข้าใจผิดมาให้สังคมอีก

    ตอบลบ