วันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การปรึกษาหารือเป็นแบบฉบับของศาสดา

การปรึกษาหารือเป็นแบบฉบับของศาสดา
Wednesday, 25 August 2010 21:19 | Written by Administrator | | |

เขียนโดย มุฮัมมัด ญะวาด ฮัยดะรี โคราซอนนี
อะฮฺลุฮะดีซ นักอรรถาธิบายอัล-กุรอาน นักประวัติศาสตร์ ทั้งหมดได้กล่าวถึงการให้คำปรึกษาและขอคำปรึกษาหารือโดยท่านศาสดา (ซ็อล ฯ)
สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่า หนึ่งในจุดประสงค์สำคัญของท่านศาสดาในการปรึกษาหารือกับประชาชาติก็เพื่อต้องการพัฒนาด้านจิตวิญญาณในหมู่ประชาชาติ และการได้พบปะกันระหว่างพวกเขาซึ่งถือเป็นสิ่งมีค่าที่สุด
คำว่า ซีเราะฮฺ ตามหลักภาษามาจากคำว่า ซีร หมายถึง การไป หรือการอยู่ท่ามกลางเรื่องราว คำว่าซีเราะฮฺ ในความหมายของนักตรรกศาสตร์เสมือน กฎเกณฑ์คณิตศาสตร์ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง และเป็นทางนำสำหรับมนุษย์ชาติ
รอฆิบ เอซฟาฮานีย์ กล่าวว่า ซีร หมายถึง การเคลื่อนไหวบนพื้นดิน การเดินไปบนพื้นดิน การวาง และการผ่านไป ซีเราะฮฺ หมายถึง สภาพ หรือแบบอย่างที่มนุษย์มี ประเภทอันเฉพาะเจาะจงในการเคลื่อนไหวของมนุษย์ ประเภทของความประพฤติ หรือการแสดงออกของมนุษย์รวมเรียกว่า ซีเราะฮฺ นักประวัติศาสตร์ เขียนหนังสือเกี่ยวกับชิวะประวัติและแบบอย่างของท่านศาสดา ซึ่งหนังสือประวัติศาสตร์ของตนเรียกว่า ซีเราะตุลนบี การรู้จักแบบอบ่างหมายถึง การรู้จักลักษณะท่าทางและความประพฤติหรือบุคลิกภาพของคนๆ หนึ่ง
การปรึกษาหารือ การประชุมหลักภาษาและความหมายของนักปราชญ์
การปรึกษาหารือและการประชุม ตามปทานุกรมมาจากคำว่า ชาเราะ อัลอะซัล หมายถึงการคั้นน้ำผึ้งออกมาจากรวงรัง หรือการได้นำผึ่งมาจากรวงรัง คำๆ นี้ในความหมายของนักปราชญ์หมายถึง การได้มาซึ่งแนวทางอันถูกต้อง ความมั่นใจในแนวทาง ความปรารถนาในทัศนะความคิดเห็นจากผู้มีสติปัญญา คนชาญฉลาด ความคล้ายเหมือนระหว่างคำว่าการให้คำปรึกษากับการปรึกษาหารือคือ การได้รับมาซึ่งแนวคิดที่ดีที่สุด หรือทัศนะที่แข็งแรงที่ดี ซึ่งได้มาจากการปรึกษาหารือกับบุคคลอื่น ประหนึ่งการได้รับน้ำผึ้งที่บีบคั้นออกจากรวงรัง การแนะนำ การแก้ไขปรับปรุง ความหวังดี ความดีงามคือผลที่ซ่อนอยู่ในนั้น อันเป็นสาเหตุสำคัญของชัยชนะและความสำเร็จ ซึ่งคำถามเหล่านี้คือ การให้ความสำคัญและความจำเป็นของการวิพากษ์เรืองการให้คำปรึกษาหารือ และการประชุม ไม่ต้องสงสัยเลยว่า การปฏิบัติตามมติประชุมเป็นหนึ่งในหลักการแน่นอน เชิงปฏิบัติของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และหมู่มวลมิตรของพระเจ้า
การปรึกษาหารือมีความจำเป็นอันใดหรือ
สิ่งที่มีความสลักสำคัญสำหรับการนี้คือ การวิวัฒนาการจิตวิญญาณในมุมมองต่างๆ ด้านวัฒนธรรม สังคม การเมือง ระบบ และฯลฯ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกัน
บุคคลประเภทใดหรือทีต้องปรึกษาหารือ และใครที่ต้องให้คำปรึกษาแก่พวกเขา และสุดท้ายพวกเขาจะตัดสินใจอย่างไร
การประชุมปรึกษาหารือคือปัจจัยที่นำความรู้จักมักคุ้น ความสงบ และความผูกพันมาสู่สังคม ความสัมพันธ์กันระหว่างประชาชน คุณค่าของการพบปะสังสรรค์กันระหว่างพวกเขา การใช้ประโยชน์จากทัศนะของคนอื่น สถานภาพทางความคิด ความรอบรู้ถึงวิสัยทัศน์ของคนอื่น การหลีกเลี่ยงจากระบบเผด็จการด้านทัศนะ การไม่เตรียมพร้อมในเรื่องการแสดงความคิดเห็น การกำหนดบทบาทและบุคลิกภาพของมนุษย์ในภารกิจทางสังคม การนำเสนอความคิดเห็น และวัฒนธรรม
อะฮฺลุฮะดีซและนักอรรถาธิบายอัล-กุรอาน ตลอดจนนักประวัติศาสตร์ได้อธิบายถึง ความจำเป็นของการปรึกษาหารือของท่านศาสดา ซึ่งสิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าหนึ่งในเป้าหมายของท่านศาสดาและตัวแทนของท่านคือ การให้คำปรึกษาหารือกับประชาชาติ การสร้างจิตวิญญาณด้านนี้ในหมู่ประชาชาติ เพื่อสิ่งที่มีค่าที่สุดนั่นคือการได้พบปะกันระหว่างพวกเขา
อบูญะอฺฟัร มุฮัมมัด บิน ญะรีร ฏ็อบรีย์ ได้กล่าวถึงประเด็นวิพากษ์นี้ว่า “เพื่อให้มุอ์มินได้ปฏิบัติตามเขา หลังจากเขา และจะได้ยืนหยัดอยู่บนแบบฉบับอันดีงามของเขา”
อิมามฟัครุรรอซีย์ ได้กล่าวจากฮะซัน ซุฟยาน บิน อัยยินะฮฺว่า “เพื่อการปฏิบัติตามและบุคคลอื่นในเรืองการปรึกษาหารือ เพื่อจะได้ทำให้ซุนนะฮฺของเขายื่นหยัดในสังคม”
อาลูซีย์ แบกแดดกล่าวว่า “เพื่อให้แบบฉบับของเขาเป็นตัวอย่างแก่อนุชนรุ่นหลัง”
นักอรรถาธิบายอัล-กุรอาน ฝ่ายชีอะฮฺกลุ่มหนึ่ง ถือว่าการยึดมั่นแบบฉบับดังกล่าวของศาสดา เป็นความดีงามสำหรับประชาชาตินี้ ดังคำกล่าวที่ว่า “เพื่อให้ประชาชาติได้ปฏิบัติตามเขาในเรื่องการปรึกษาหารือภายหลังจากเขา”
ชรีฟ ลาฮียี ได้เขียนไว้ในหนังสือของท่านว่า “เพื่อให้สิ่งการปรึกษาหารือในหมู่ประชาชาติเป็นแบบฉบับที่ยังธำรงอยู่ตลอดไป ดังนั้น จงอย่ากระทำสิ่งใดโดยปราศจากการปรึกษาหารือ” ในยุคสมัยรัฐบาลอิสลามของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และวิถีชีวิตของท่านศาสดา เป็นสิ่งแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้ท่านศาสดาประสบความสำเร็จในการนำเอาเป้าหมายอิสลามดำเนินไปข้างหน้าได้อย่างองอาจคือ การปรึกษาหารือนั่นเอง ท่านศาสดาได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า การเอาใจใส่ต่อหลักการและรากฐานของการบริหารนั้นสามารถพลิกผันสังคมที่ตกอยู่ในภาวะวิกฤตให้กลับกลายสู่ภาวะปกติ หรือดีกว่าได้ การไม่ใส่หรือออกห่างจากอทัศนะส่วนตัว หรือแนวทางเอกเทศเฉพาะตัวอันเป็นร้ายต่อสังคมและวัฒนธรรม ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญแห่งความสำเร็จของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ท่านศาสดาได้พยายามสั่งสอนสังคมให้รับรู้ว่า ไม่ว่าท่านจะเป็นคนฉลาดหรือคนโง่เขลาเบาปัญญา หรือคนที่มีความคิดแข็งแรงมั่นคงกว่า คนที่เป็นเจ้าของความคิดที่ดีที่สุดทั้งหมดล้วนต้องการการปรึกษาหารือทั้งสิ้น ถ้าเขาคิดว่าตนไม่จำเป็นต้องอาศัยคำปรึกษาจากคนอื่น ถือได้ว่าตนเป็นคนเผด็จการและเป็นคนหยิ่งจองหองที่สุด แต่ถ้าได้ปรึกษาหารือกับคนอื่น หรือพิจารณาความคิดเห็นของคนอื่น ใช้ประโยชน์จากวิสัยทัศน์ของคนอื่น ไม่มองข้ามบุคลิกภาพและความสำคัญของคนอื่น ไม่เพียงแต่เขาจะหลุดพ้นห้วงกรรมของการเผด็จการเท่านั้น ทว่าเขายังจะได้รับทัศนะและความคิดที่แข็งแรงยิ่งกว่า ประสบการณในอดีตแสดงให้เห็นได้เป็นอย่างดีว่า บุคลากรที่เข้มแข็งที่สุดและระบบที่ยอดเยี่ยมที่สุดคือ ในขณะที่ต้องแสดงความนอบน้อมถ่อมตน แต่กลับเบ่งบารมีอวดศักดา เขาต้องพินาศไปในความเผด็จการนั้นเอง และประชาชนส่วนใหญ่ต้องถอยห่างออกไปจากเขา การปกครองของเขาถดถอยและอยู่ในความล้าหลัง
ท่านอิมามอะลี อมีรุลมุอ์มินีน (อ.) กล่าวว่า “บุคคลใดเผด็จการเขาย่อมพบกับความพินาศ,ไม่มีการงานใดจะมั่นคงและสดใสยิ่งไปกว่าการได้ปรึกษาหารือ” ในคำสอนของอิสลามกล่าวว่า “การปรึกษาหารือประหนึ่งการชีนำ” การรวบรวมความดีงามและความดีต่างๆที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังแบบฉบับอันดีงามนี้ ดังนั้น บุคคลใดได้ปรึกษาหารือสม่ำเสมอกับคนฉลาด เขาก็จะถูกย้อมด้วยความชาญฉลาดของบุคคลเหล่านั้น ดังคำกล่าวที่ว่า :
«من‏المشاور ذوى العقول استضاء بانوار العقول.»
“บุคคลใดปรึกษาหารือกับคนฉลาดเขาก็จะถูกประดับให้เรืองรองด้วยรัศมีแห่งความฉลาดนั้น”
หนึ่งในแนวทางหลักในการมีส่วนร่วมในภูมิปัญญา วิชาการ และความรู้ของคนที่เป็นเจ้าของทัศนะ วัฒนธรรม และความฉลาดก็คือ การเข้าร่วมปรึกษาหารือนั่นเอง ดังคำกล่าวที่ว่า :
«و من شاور الرجال يشاركها فى‏عقولها.»
“บุคคลใดได้ปรึกษาหารือกับคนอื่นเท่ากับได้มีส่วนร่วมในความคิดของเขา”
ด้วยเหตุนี้เองจำเป็นต้องกล่าวถึงโองการที่ว่า “และจงปรึกษาหารือในกิจการงาน” เป็นการบ่งบอกให้เห็นเจตนารมณ์แห่งความการุณย์ที่มีต่อประชาชาตินี้ เป็นการให้เกียรติและการนอบน้อมถ่อมตนในความคิดเห็นของบุคคลที่มีความฉลาด
รหัสยและเป้าหมายของการปรึกษาหารือจากมุมอมองของเมาลาวี ซึ่งเมาลาวีได้กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า..
- คำสั่งให้ปรึกษาหารือของท่านศาสดาได้มีมายังเรา
- มันได้เติบโตในสองมือน้อย
- เป้าหมายอันสูงส่งได้สัมฤทธิ์ผลในสองมือน้อย
- จิตวิญญาณอยู่ในกรอบบัดนี้ได้เติบโตในสองมือน้อย
- ช่วงเวลาหนึ่งสุนัขได้เห่าหอนอย่างไร้จุดหมาย
- เจ้าจงปรึกษาหารือกับบ่าวผู้บริสุทธิ์
- ศาสดากำชับว่าต้องปรึกษาหารือ
- วัตถุประสงค์ของอัล-กุรอานก็คือการปรึกษาหารือ
- เนื่องจากการปรึกษาหารือจะทำให้เจ้าไม่ผิดพลาดและไม่หันเห
- เนื่องจากคนฉลาดประดุจดังประทีปที่เรืองรอง
- แน่นอน ว่าประทีป 20 ดวงย่อมให้แสงสว่างกว่าหนึ่งดวง”
ด้วยเหตุนี้ รหัสยแห่งคำพูดของท่านอิมามอะลี (อ.) เป็นที่ประจักษ์ชัดเจนว่าดังที่กว่าว่า “เพื่อความปลอดภัยจากความหลงผิด ความไร้สาระ และเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน ดังนั้นจงปรีกษาหารรือกับคนชาญฉลาด”
ความสำคัญในการปรึกษาหารือในอัล-กุรอานและฮะดีซ
จริยธรรมอันดีงามของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) คือ อัล-กุรอานและการปรึกษาหารือ จะสังเกตเห็นว่าปัญหาเรื่องการปรึกษาหารือนั้นจะถูกกล่าวได้เคียงข้างเรื่องนมาซ และการบริจาคทาน ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าสิ่งนี้อาจหนึ่งในรากฐานสำคัญของความพิเศษและการพัฒนาและวิวัฒนาการของมนุษย์ก็ว่าได้ :
«... والذين استجابوا لربهم و اقاموا الصلاه و امرهم‏شورى بينهم و مما رزقناهم ينفقون والذين اذا اصابهم البغى هم‏ينتصرون.»
“และบรรดาผู้ตอบรับต่อพระผู้อภิบาลของพวกเขา และดำรงนมาซ และมีการปรึกษาหารือกิจการของพวกเขาระหว่างพวกเขา และเขาบริจาคสิ่งที่เราได้ให้เป็นปัจจัยยังชีพแก่พวกเขา และบรรดาผู้ที่เมื่อมีความยุติธรรมเกิดขึ้นแก่พวกเขา พวกเขาก็แก้แค้นตอบแทน” (อัล-กุรอาน บทชูรอ 38-39)
โองการต้องการกล่าวกัเราว่า สิ่งที่ดียิ่ง ณ พระเจ้า ซึ่งมีความมั่นคงแข็งแรงยิ่งสำหรับมวลผู้ศรัทธาคือ การตอบรับคำเชิญชวนของพระผู้อภิบาล การดำรงนมาซ การปรึกษาหารือ และการบริจาคปัจจัยที่พระองค์ทรงประทานให้แก่บรรดาผู้ยากจนทั้งหลาย ท่านอัลลามะฮฺ เฏาะเฏาะบาอีย์กล่าวว่า..
ในประโยคที่กล่าวว่า “และมีการปรึกษาหารือในกิจการงานของพวกเขา” ความพิเศษสำคัญและพื้นฐานของมวลผู้ศรัทธาที่มีการวิวัฒนาการ ในลักษณธที่ว่า พวกเขาได้รับแทนคิดที่ถูกต้องและวิสัยทัศน์ที่เป็นศูนย์รวม และเชื่อถือได้ซึ่งเขาได้ย้อนกลับไปยังคนฉลาดและมีไหวพริบ ขณะที่ได้รวบรวมเอาความคิดที่ดีที่สุดไว้ด้วยกันหลังจากนั้นได้เลือกเอาคำวามคิดที่ดีที่สุด แล้วนำไปสู่การปฏิบัติ ในความเป็นจริงแล้วโองการดังกล่าวนี้ กับโองการที่กล่าวว่า “สำหรับผู้ที่ได้ยินคำพูดแล้ว ดังนั้นพวกเขาปฏิบัติตามสิ่งที่ดีงาม” จะมีความใกล้เคียงกันก็ตาม แต่เรามีแนวทางที่ดีที่สุดที่จะไปถึงยังเป้าหมาย ฉะนั้น ในทุกโอกาสที่จะไปถึงเป้าหมายได้อย่างดีก็คือ การปรึกษาหารือ ทำไมหรือจึงกล่าววว่าร “ไม่มีประชาชาติใดที่จะปรึกษาหารือในกิจการงานกับคนอื่น นอกเสียจากเพื่อเขาจะได้รับหนทางที่ดีที่สุด” ในทัศนะของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) สังคมใดปราศจากการปรึกษาหารือแล้ว เขาคือผู้นำเผด็จการ ประกอบกับได้จำกัดความสามารถของตนให้คับแคบลง เขาไม่มีสิทธิ์ที่จะมีชีวิตอีกต่อไป เนื่องจากสังคมใดปราศจากแบบฉบับของการปรีกษาหารือแล้วละก็ เท่ากับเป็นการทำลายบุคลิกภาพของบึคคลในสังคม อีกทั้งเป็นการจำกัดการเจริญเติบโตของวัฒนธรรม และแนวความคิดให้หยุดอยู่กับที่
“ครั้นเมือผู้นำของท่านเขาได้ยกย่องความดี และความสามารถของท่านว่าเป็นเกียรติยศของท่าน และให้คำปรึกษาในภารกิจการงานของท่าน เวลานั้นสรรพสิ่งบนพื้นดินจะดีกว่าสรรพสิ่งที่อยู่ใต้พื้นดินสำหรับท่าน (เหมาะสำหรับการมีชีวิตสืบต่อไป) แต่ถ้าผู้นำของท่านมองไม่เห็นศักยภาพของท่าน และไม่ปรึกษาหารือในกิจการงาน เวลานั้นใต้ดินจะดีกว่าสิ่งที่อยู่บนดินสำหรับท่าน
นบีมุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) จะทำการปรึกษาหารือในภารกิจต่างๆ มากมาย หลังจากนั้นท่านจะตัดสินใจและนำไปสู่การปฏิบัติต่อไป
ดังที่ ท่านอิมามริฎอ (อ.) กล่าวว่า :
«ان رسول الله(ص) كان‏يستشير اصحابه ثم يعزم على ما يريد.»
“แท้จริงเราะซูล (ซ็อล ฯ) จะปรึกษาหารือกับบรรดาสาวกก่อน หลังจากนั้นจะตัดสินใจและดำเนินไปสู่การกระทำ”
แน่นอนว่า การปรึกษาหารือของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) นั้น จะไม่กระทำในภารกิจเกี่ยวข้องกับอัลลอฮฺ หรือนบีของพระองค์ซึ่งมีกฎเกณฑ์แน่นอนตายตัว และได้ถูกนำเสนอในฐานะที่เป็นหลักฐาน ทว่าการปรึกษาหารือของท่านศาสดาในภารกิจที่เกี่ยวข้องกับประชาชาติ เพราะคำสรรพนามที่กล่าวว่า พวกเขาทั้หลาย ในโองการที่กล่าวให้ทำการปรึกษาหารือว่า (و امرهم‏شورى بينهم) และมีการปรึกษาหารือกิจการของพวกเขาระหว่างพวกเขา คำสรรพนามดังกล่าวบ่งชี้ให้เห็นเรื่องการปรึกษาหารือได้อย่างชัดเจน เนื่องจากการอิจญ์ติฮาดต่อหน้าเหตุผลอันชัดแจ้งนั้น ไม่อนุญาต ซึ่งโองการอัล-กุรอานหลายโองการได้กล่าวห้ามสิ่งนี้และกล่าวว่า การกระทำนั้นาฏิล ดังที่กล่าวว่า:
«فلاو ربك لايومنون حتى يحكموك فيما شجر بينهم ثم لا يجدوا فى‏انفسهم حرجا مما قضيت و يسلموا تسليما.»
“มิใช่เช่นนั้นดอก ข้าขอสาบานด้วยพระผู้อภิบาลของเจ้าว่า เขาเหล่านั้นจะยังไม่ศรัทธาจนกว่าพวกเขาจะให้เจ้าตัดสินในสิ่งที่ขัดแย้งกันระหว่างพวกเขา แล้วพวกเขาไม่พบความคับใจใด ๆ ในจิตใจของพวกเขา จากสิ่งที่เจ้าได้ตัดสินใจ และพวกเขายอมจำนนด้วยดี (อัล-กุรอาน บทนิซาอ์ 65)
ตัวอย่างการปรึกษาหารือของท่านศาสดา
ในที่นี้จะขอหยิบยกบางภารกิจที่ศาสดา (ซ็อล ฯ) และตัวแทนของท่านได้ปรึกษาหารือ
ก) ปรึกษาหารือในภารกิจด้านวัฒนธรรมและการทหาร
ตัวอย่างที่ดีที่สุดของการปรึกษาหารือของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) คือ สงครามบัดร์ ซึ่งก่อนสงครามที่จะเกิดขึ้น ท่านได้ปรึกษาการสงครามกับเหล่าเซาะฮาบะฮฺของท่าน ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า “โอ้ ประชาชนเอ๋ยจงแจ้งทัศนะของท่านให้ฉันทราบ”
«اشيروا اعلى ايهاالناس.»
สงครามบัดร์เกิดขึ้นในปีที่สองของการอพยพ ซึ่งได้มีรายงานมาถึงท่านเราะซูลว่า กองคาราวานชาวกุเรชได้ขนทรพย์สินจำนวนมากเดินทางไปยังเมืองชาม ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้ออกจากมะดีนะฮฺไปเพื่อเผชิญหน้ากับพวกเขา ท่านได้ติดตามกองคาราวานไป แต่ตามไปไม่ทันพวกเขาได้เข้าเขตเมืองชามเสียก่อน หลังจากเวลาผ่านไประยะหนึ่งได้มีรายงานมาถึงท่านเราะซูลว่า กองคาราวานกำลังจะเดินทางกลับ
ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้พาทหารไปจำนวน 313 คน ในเดือนรอมฎอน ปี ที่ 2 เพื่อยึดทรพัย์ของพวกเขา บรรดามุสลิมได้เดินทางออกจากมะดีนะฮฺ ทางฝ่ายมักกะฮฺก็ได้ส่งกองกำลังมาเพื่อช่วยเหลือกองคาราวานสินค้า ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้รวบรวมเซาะฮาบะฮฺของท่าน แล้วปรึกษากัพวกเขาว่าจะทำอย่างไรดีหมายถึง จะไล่ติดตามศัตรูไป หรือว่าจะเข้าเผชิญหน้ากับกองหนุนที่เดินทางมาจากมักกะฮฺ หรือว่าจะกลับมะดีนะฮฺ ท่านได้ปรึกษาหารือกับพวกเขา อันดับแรกท่านอบูบักร์ได้แสดงทัศนะว่า ให้เผชิญหน้ากับกองหนุนที่เดินทางมาจากมักกะฮฺ หลังจากนั้น อุมัร ได้แสดงทัศนะ ต่อมาท่านมิกดารได้แสดงทัศนะว่า โอ้ เราะซูล สิ่งที่อัลลอฮฺทรงกำหนดแก่พวกเรา เราจะปฏิบัติสิ่งนั้น เราอยู่เคียงข้างท่านเสมอ ขอสาบานด้วยพระนามอัลลอฮฺ ว่าทุกสิ่งที่ชาวบนีอิสรออีลได้กระทำกับมูซา (อ.) พวกเราจะไม่ปฏิบัติกับท่านอย่างเด็ดขาด ดังที่ อัล-กุรอานกล่าวว่า
«فاذهب انت و ربك فقاتلا انا ههنا قاعدون‏»
“ดังนั้น ท่านและพระผู้อภิบาลของท่านจงไปเถิด แล้วจงต่อสู้พวกเราจะนั่งอยู่ที่นี่” (อัล-กุรอาน บทอัลมาอิดะฮฺ 24) ดังนั้น เราพูดว่า ท่านกับพระผู้อภิบาลของท่านจงไปเถิด และพวกเราจะทำสงครามตามบัญชาของท่าน
ท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) ได้นิ่งไประยะหนึ่ง หลังจากนั้นท่านได้ดุอาอ์ให้พวกเขา พร้อมกับกล่าวว่า ว่า “โอ้ ประชาชนเอ๋ยจงแจ้งทัศนะของท่านให้ฉันทราบ” «اشيروا على ايهاالناس.»
จุดประสงค์ของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) คือ กลุ่มอันซอร เนื่องจากพวกเขามีจำนวนมากกว่า อีกด้านหนึ่งพวกเขาได้ให้สัตยาบันแก่ท่านศาสดาว่าจะปกป้องท่าน ณ อุกบะฮฺ ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เพียงต้องการจะรู้ทัศนะของเขาเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว สะอฺด์ บิน มะอาซ ได้ยืนขึ้นและประกาศว่าทัศนะของเขาคือ ทัศนะของท่านศาสดา เราขอประกาศว่าจุดยืนของเราวางอยู่บนจุดยืนของท่านศาสดา และเราขอประกาศว่าเราจะปฏิบัติตามท่านอย่างไม่มีเงื่อนไข และขอทำสงครามเคียงข้างท่าน
คำพูดของสะอ์ด ได้ทำให้ท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) นิ่งเงียบ ท่านดีใจมาก หลังจากนั้นท่านกล่าวว่า เราออกเดินทางกันเถิด พวกท่านจงดีใจเถิดว่า พวกท่านคือกองกำลังที่พระเจ้าทรงสัญญาไว้กับฉัน (พวกท่านจะมีชัยชนะเหนือพวกกุเรชและจะสามารถควบคุมกองคาราวานของพวกเขาได้) ฉันขอสาบานด้วยพระนามอัลลอฮฺว่า ขณะนี้ฉันมองเห็นสถานที่ตายของพวกเขา ท่านเราะซูลได้ออกเดินทางตามคำปรึกษาหารือ ไม่นานนักท่านได้มาถึงยังสถานที่นามว่า บัรด์ ท่านได้ให้คนไปสืบดูว่าบริเวณดังกล่าวคืออะไร หลังจากทราบเรื่องเป็นอย่างดีแล้วท่านได้สั่งให้ตั้งกองคาราวาน ณ ที่นั่น เนื่องจากมุสลิมได้ไปถึงสถานที่นั้นก่อนพวกเขาจึงได้ครอบครองตาน้ำหลายจุด ท่านวากิดีย์ ได้กล่าวว่า : หลังจากได้ตั้งค่ายเรียบร้อยแล้ว ท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) ได้ครอบครองตาน้ำแรกท่านได้ปรึกษาหารือกับบรรดาสาวก แล้วกล่าวว่า “บอกซิว่าพวกท่านมีทัศนะอย่างไรเกี่ยวกับสถานที่แห่งนี้” ฮับบาบ บิน มุนซัร ได้ยืนขึ้นแล้วแสดงทัศนะว่าสถานที่แห่งนี้ไม่มีความเหมาะสมในการทำสงครามกับศัตรูแต่อย่างใด เขากล่าวว่า ตอนนี้เรายังมีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ไม่ดีนัก โดยเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องสงคราม ขอให้ทานออกคำสั่งมาเถิดว่า ให้เราเคลื่อนขบวนไปยังตานำสุดท้ายให้ใกล้ศัตรูมากที่สุด แล้วต้องค่าย ณ ที่นั่น ท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า : ทัศนะของพวกเราคือ สิ่งที่พวกท่านได้แสดงออกมา ดังนั้น เรื่องเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงการขอคำปรึกษาหารือของท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) จากบรรดาเซาะฮาบะฮฺ พร้อมกับการใช้ประโยชน์จากหลักของการบริหาร การบริหาร และการปฏิบัติไปตามหลักของการปรึกษาหารือ ประกอบกับการใช้ประโยชน์จากระบบ และพลังของมุสลิมที่มีจำนวนน้อยนิดแต่เปี่ยมไปด้วยพลังอีมานและจิตวิญญาณ ในการยืนหยัดต่อสู้กับศัตรูจำนวนมากมาย ทำให้พวกเขาได้รับชัยชนะและจับเชลยได้เป็นจำนวนมาก
ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้ปรึกษาหารือกับบรรดาสาวกเกี่ยวกับเรื่องเชลยศึก และการสงครามบ่อยครั้ง ซึ่งจะเห็นได้ว่าการปรึกษาหารือนั้น คือแบบอย่างอันแท้จริงของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ในการทำสงครามต่างๆ เช่น :
สงครามอะฮฺซาบ หรือคอนดัก ก็เป็นอีกหนึ่งในสงครามที่ท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) ได้ใช้วิธีการปรึกษาหารือ ซึ่งท่านเราะซูล ได้ร่วมปรึกษาหารือกับเหล่าสาวก
การสงครามกับ เผ่า บนีกุรีเฎาะฮฺ ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้ร่วมปรึกษาขั้นตอนและวิธีการสงครามกับยะฮูดีย์ชาวมะดีนะฮฺ
การสงครามกับ เผ่านะฎีร ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้ร่วมปรึกษาหารือก่อนการเผชิญหน้ากับพวกยะฮูดี
วันทำสนธิสัญญา ฮุดัยบียะฮฺ ซึ่งก่อนหน้านั้นท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้ปรึกษาหารือกับบรรดาสาวกมาก่อนหน้านั้นแล้ว
ในการพิชิตมักกะฮฺ เมื่ออบูซุฟยานได้มาพบท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) เพื่อรายงานความเคลื่อนไหวท่านได้เรียกประชุมปรึกษาหารือ
การทำสงครามกับชนเผ่าต่างๆ หลังจากได้ปิดล้อมพวกเขาแล้ว ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้ปรึกษาหารือกับบรรดาสาวกของท่าน หลังจากนั้นท่านจึงตัดสินใจ
กรสงครามตะบูก และภารกิจตางๆ ท่านได้ปรึกษาหารือกับบรรดาสาวก เพื่อแลกเปลี่ยนทัศนะความคิดกับพวกเขา พร้อมกับได้สนับสนุนและสรรเสริญทัศนะใหม่ของพวกเขา
ในสงครามอุฮุด เพื่อให้กองทหารอิสลามประจำอยู่ในมะดีนะฮฺ หรือเคลื่อนทัพออกไปนอกเมือง ท่านได้ปรึกษาหารือกับบรรดาสาวกแม้ว่าท่านจะมีความเห็นที่ขัดแย้งกับพวกเขา แต่ท่านก็ยอมรับทัศนะของพวกเขา
ยังมีตัวอย่างอีกจำนวนมากมาย ที่แสดงให้เห็นการปรึกษาหารือของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ)
การปรึกษาหารือในภารกิจที่ไม่ใช่การทหารและสงคราม
นักประวิติศาสตร์ได้ยกตัวอย่างจำนวนมากมายจากการปรึกษาหารือของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เกี่ยวกับภารกิจที่ไม่ใช่การทหารหรือการสงคราม ในภารกิจตางๆ เช่น วัฒนธรรม เศรษฐศาสตร์ การเมือง สังคม ภารกิจส่วนตัว หรือครอบครัวและอื่นๆ อีกมากมาย สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า ระบบการปรึกษาหารือ นั้นถือเป็นรากฐานสำคัญซึ่งไม่จำกัดอยู่เฉพาะในปัญหาการบริหาร การปกครองเพียงอย่างเดียว ทว่าในทุกภารกิจที่เกี่ยวข้องกับประชาชน มีความเหมาะสมยิ่งนักที่ต้องปรึกษาหารือซึ่งจะได้รับมรรคผลอันบรรเจิดยิ่ง
เช่น ภารกิจบางประการดังต่อไปนี้ ครั้งหนึ่งท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้ปรีกษาหารือกับบรรดาสาวกเกี่ยวกับการใส่ร้ายท่านหญิงอาอิชะฮฺ ท่านได้ขอความคิดเห็นของพวกเขา นักประวัติศาสตร์อย่างเช่น ท่านอิสฮาก วากิดีย์ บุคอรีย์ มุสลิม อะฮฺมัด บิน ฮันบัล ติรมีซี บัยฮะกีย์ และคนอื่นๆ อีกมากมายได้กล่าวถึง และได้กล่าวถึงการปรึกษาหารือของท่านศาสดาในหลายการประชุม ที่ประชุมรวมกับบรรดาสาวก ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้ปรึกษาหารือกับท่านอิมามอะลี (อ.) และอุซามะฮฺ บิน ซัยด์
บรรดานักอรรถาธิบายอัล-กุรอานฝ่ายซุนนีย์ ได้อธิบายโองการที่ 11 และ 16 เกี่ยวกับ อัฟกิ (หมายถึงการใส่ร้ายอันยิ่งใหญ่ ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้กล่าวถึงการใส่ร้ายที่มีต่ออาอิชะฮฺ และยังกล่าวถึงการให้คำปรึกษาหารือของท่านศาสดาแก่บรรดาสาวก ซึ่งนักอรรถาธิบายกุรอานฝ่ายซุนนีย์ได้มีข้อวิพากษ์กัน แต่นักอรรถาธิบายฝ่ายชีอะฮฺได้จับประเด็นของฝ่ายซุนนียฺมาวิพากษ์กัน
ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้ปรึกษาหารือกับบรรดาสาวก เกี่ยวกับการแต่งตั้งตัวแทน หรือการส่งผู้ปกครองไปประจำเมืองต่างๆ
บรรดาสาวกของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ก็ได้ยึดถือแบบฉบับของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เป็นแบบอย่างการกระทำของตนเอง พวกเขาได้ร่วมปรึกษาหารือกันในภารกิจต่างๆ มากมาย ทว่าพวกเขาได้ปรึกษาหารือกันเอง ฉะนั้นประเด็นเรืองการปรึกษาหารือของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) หรือให้คำปรึกษาหารือจึงไม่เป็นที่สงสัยแต่อย่างใด ทว่าสิงนี้คือแบบฉบับอันมีค่ายิ่งของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ)

แหล่งที่มา นิตยาสารรายเดือน เกาซัร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น