วันเสาร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2553

เวทีเสวนาวิชาการ การเมืองการปกครองในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

เวทีเสวนาวิชาการ การเมืองการปกครองในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

โดย นายแพทย์ แวมาฮาดี แวดาโอะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 1 จังหวัดนราธิวาส ผู้ร่วมเสวนา

นาย มูฮัมหมัดสาเล็ม แยนา นักวิชาการอิสระ (ผู้ช่วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 1) ผู้ร่วมเสวนา

นาย มะฆอซาฟี มะดอหะ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขารัฐประศาสนศาสตร์ ผู้ดำเนินรายการเสวนา


ณ ห้องประชุมชั้น 3 คณะศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา


ประเด็นข้อที่หนึ่ง รูปแบบการเมืองการปกครองใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน และอนาคตเป็นอย่างไร

อ.มูฮำหมัดซาเล็ม แซนา ได้กล่าวว่า อัสลามูอาลัยกุม วาเราะห์มาตูลออฮเฮวาบารอกาตูห์…

ขอขอบพระคุณอัลลอฮ (ص) ได้ทำให้มีหน้าที่ซึ่งเป็นวันที่ถูกจารึกในประวัติศาสตร์ของพวกเรานะคับเพราะว่าชีวิตเรานั้น อันทีจริงแล้วไม่ใช้ฉากหนึ่งของละคร ซึ่งดำเนินไปวันหนึ่งแล้วก็จบที่จริงแล้วชีวิตเรานั้นในอุทยานเป็นประวัติศาสตร์ถูกจารึกแน่นอน ในอาคีเราะห์นั้นเราต้องได้เจอกับอะไรแน่นอนที่เราได้ทำอะไรในวันนี้นะครับที่จริงแล้วนะครับ ผมเนี๊ยเป็นคนหนึ่งในพื้น 3 จังหวัด บ้านเดิมอยู่ ยะลา เดิมจริงๆผมเป็นคนปัตตานีแต่ว่าไปแต่งงานที่นราธิวาสถือว่าเป็นคน 3 จังหวัด

…ที่จริงแล้วนะครับเป็นผู้ติดตามหมอแว ที่จริงไม่ค่อยเหมาะสมเท่าไรจะมานั่งคู่กับบรรยายกับหมอแว ผมกะเวลานะหะติดตามไปติดตามมานะครับก็วันนี้ติดตามมาถึงบนเวที วันนี้หัวข้อการเมืองการปกครองที่จริงแล้วมันเป็นเรื่องธรรมชาติในชีวิตเรานะครับที่จริงแล้วผมจบด้านการศึกษาจบฑูตมานะครับเรียกว่าหลายคน คงแปลกใจนะครับว่าทำไมเชิญคนเรียนต่างการศึกษา เรียนทูตมาคุยเรื่องการเมือง อันนี้ผมคิดว่าเป็นวิสัยทัศน์ ที่ดีแล้วก็ที่ยาวไกลมาสำหรับผู้จัด ผมขอชมเชยนะครับเพราะว่าการเรียนรู้เนี่ย เป็นการบริโภคความรู้นั้น ผมคิดว่าศาสตร์แต่ละสาขาจะต้องมีการสมดุลกันนะครับ เราอยากเรียนรู้เรื่องการเมืองการปกครองเนี่ย ไม่ใช่เราควรจบรัฐศาสตร์มาพูดกัน เราต้องเอาสาขา อื่นๆ มาคุยกันเพราะว่าความเป็นจริงนั้นเราไม่ได้อยู่แค่เฉพาะรัฐศาสตร์เราอยู่หลายสาขาวิชาสังคม ดังนั้น ศาสตร์แต่ละสาขาก็ต้องมีสมดุลเขาเรียกทฤษฎีของฝรั่งเขาเรียกว่าทฤษฎีข้ามศาสตร์ เขาจะเอาคนที่มีศาสตร์หลายๆศาสตร์มารวมกันแล้วก็มาทำกิจกรรมรวมกัน ก็จะทำให้เกิดทฤษฎีนะครับ

หัวข้อที่พิธีกร ได้ถามนะครับเป็นหัวข้อที่อาณาจักรมา การเมืองการปกครอง อดีตปัจจุบันอนาคต คิดว่าคุยทั้งวันอาจจะไม่จบ เน้นเป็นการ (มุกอดดีมะห์) ผมก็อยากจะให้เห็น เห็นภาพกว้างๆ เกี่ยวกับบ้านเรานะครับ คงอาจไม่ลง ถึงกับ พ.ศ นะครับ บ้านเรานะครับทางใต้เมื่อก่อนนะครับ เขาเรียกว่าอาณาจักร (ลังกาสุกะ) นะครับ บ้านเราเดิมเขาเรียกว่าอาณาจักร (ลังกาสุกะ) ต่อมาอาณาจักรลังกาสุกะได้กลายเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักร (ศีรวิชัย) อันนี้ประวัติศาสตร์แต่ละช่วงมันยาวนานมากนะครับให้พวกเราไปอ่านก่อนนะครับ หลังจากนั้นอาณาจักรศีรวิชัยล่างอำนาจลงพวกชาวบ้านได้เข้ามาเผยแพร่ศาสนาอิสลามในบ้านเราพวกอินโดนีเซียอิสลามที่เข้ามาจากอินโดนีเซียได้มาเผยแพร่บ้านเราโดยดะวะห์พวกราชวงค์สมัยก่อนศาสนาชาวบ้านเข้าเปลี่ยนหมดนะครับ ปัตตานี นะครับ นครปัตตานี เมืองปัตตานีมันพึ่งเกิดขึ้นถูกจารึกในประวัติศาสตร์บ้านเราช่วงนี้เป็นช่วง( อาณาจักรอโยธยา ) ซึ่งเป็นเรื่องแปลกมากอาณาจักรของปัตตานีไม่ได้ถูกบันทึกในนครนั้นเป็นความจงใจในการลบประวัติศาสตร์หรือเปล่าผมก็ไม่ทราบแต่ว่า ถ้าว่าเราเรียนประวัติศาสตร์ประเทศไทยมันจะมีแค่นี้สมัยอยุธยาอาณาจักรปัตตานีเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรอยุธยา หลังจากนั้นเดียวก็เป็นเมืองขึ้นเดียวก็ถูกแอบออกมาสับเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาเป็นเมืองขึ้นบ้างไม่เป็นบ้าง จงถึงกรุงธนบุรีหลังจากนั้นสมัยราชกาลที่๒ เมืองปัตตานีวุ่นวายมากช่วงนั้นมีการสร้างกันยาวนาน ทำให้ราชกาลที่๒ ได้แบ่งการปกครองออกเป็น๗ เมือง คือ เมืองปัตตานี เมืองยะหริ่ง เมืองสายบุรี เมืองหนองจิก เมืองระแงะ เมืองยะลา แล้วก็เมืองรามัน ๗ เมือง หลังจากนั้นสมัยราชกาลที่๕ เป็นหัวสมัยใหม่น้อยเชื่องโยงมากได้รับอิทธิผลมากในโลกตะวันตกได้จัดตั้งมณฑลภาคใต้ออกเป็น ๔ มณฑลเมืองทั้งที่ว่าเมื่อกี้ได้ร่วมกับ มณฑล(นครศรีธรรมราช)หลังจากนั้นถูกแยกออกเป็นมณฑลปัตตานี หลังจากนั้นสมัยราชกาลที่๗ เป็นราชกาลที่อ่อนแอมากได้เปลี่ยนแปลงการปกครองแบบสมบูรณาญาสิธิราชย์เป็นการปกครองแบบประชาธิปไตยพึ่งเปลี่ยนแค่ราชที่๗ นี้เองแล้วก็ราชกาลที่๗ นี่ได้ยกเลิกการปกครองแบบมณฑลมาเป็นจังหวัดจนถึงปัจจุบันนี้ แล้วก็พอเป็นจังหวัดหลังจากนั้นมาช่วงราชกาลที่๙ ในที่สุดนะครับ พลเอกเปรม ตินสุลานนต์ตอนนั้นเป็นนายกฯได้ทำการเป็น(ศอ บต.)เพื่อพูดมาดูแลบ้านเรา ก็มีนโยบายในการบริหารการพัฒนาบ้านเรา พอหลังจากนั้นรัฐบาล สรยุทธ์ จุลานนต์ หลังจากนั้นรัฐบาลทักษัณยุบ(ศอ บต.) แล้วก็ สรยุทธ์ มาเปิดใหม่จนถึงปัจจุบัน ปัจจุบันนี้ก็ยังมีการพูดคุยเรื่องของกฎหมาย ศบ ชต. ศอบต. ซึ่งมีการถูกเตือนมากในเรื่องของการจัดการปราบปรามเพราะบ้านเรานโยบายรัฐบาลมี๒ อย่าง ๑.นโยบายการพัฒนา ๒.นโยบายทัดทหารและความมั่งคง ถือนโยบายในการปราบปรามนโยบายด้านการพัฒนา ศอ บต.จะเป็นผู้ดำเนิน ความมั่งคงด้านการปราบปรามอยู่ในของทหารอันนี้งบประมาณทั้ง ๒ นี้จะแต่ต่างกันเยอะมากซึ่ง ศอบต.ได้ ๗o% ของงบประมาณ เริมทำให้การพัฒนาบางส่วนมีปัญหาเริ่มที่มาของการที่ทุกวันนี้เรามีการปลุกในการที่จะแก้ไขแล้วก็ปฎิรูปการเมืองของบ้านเรา ส่วนอนาคตนั้นผมคิดว่าในการเรื่องของพวกเรากำลังคุยแล้วก็ปรารถนาอยู่ตอนนี้ก็คือ นครปัตตานี เป็นเรื่อง (โอโตโนมี) เป็นเรื่องของการกระจ่ายอำนาจ อันนี้เป็นรูปแบบคราวๆการเมืองในอดีต แล้วก็ปัจจุบัน แล้วอนาคต หวังว่านะครับ เดียวหมอแวจะลงรายละเอียด

ประเด็นที่ สอง บทบาทนักการเมืองมุสลิมกับการปฏิวัติการเมืองในสามจังหวัดชายแดนใต้เป็นอย่างไร

นายแพทย์ แวมาฮาดี แวดาโอะได้กล่าวว่า นักการเมือกกับการเมืองในรูปแบบของอิสลามต่อการปฏิรูปให้บทบาทการเมืองของนักการเมืองมุสลิมที่มีต่อการเมืองการปกครองใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เราคงต้องเขาใจสภาพของปัจจุบันว่าเป็นอย่างไรในพื้นที่นี้ และอนาคต จะไปอย่างไร เราต้องไม่ปฏิเสธว่ามันอยู่ในช่วงความขัดแย้ง 4 ความขัดแย้งด้วยกัน 1) เป็นการเผชิญหน้าโลกตะวันตกกับโลกมุสลิมมีความชัดเจน เพราะว่าโลกสังคมนิยมคอมิวนิสต์ มันไม่มีแล้วในขณะนี้ 2) ระดับโลกหลังจากเหตุการณ์ที่สหรัฐอเมริกาทำให้มุสลิมก่อตัวขึ้นมา ในปัจจุบันนั้นโลกกำลังจับตามองว่าโลกมุสลิมจะไปกันอย่างไร แล้วมีหลาย ๆ เหตุการณ์ที่เราแปลกในในเหตุการณ์นั้น ๆ เช่น ในด้านเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาพยายามที่จะวิ่งหาแหล่งทรัพยากรธรรมชาติทั่วโลก ยอมไปบุกอิรักและอัฟกานิสถาน อาจไปครอบครองพื้นที่ที่มีทรัพยากรมากโดยเฉพาะน้ำมันจำนวนมาก ให้อยู่ในมือและหวังว่าจะสร้างความมั่งคั่งให้กับรัฐบาลทุกประเทศของอเมริกา แล้วก็เป็นต้นทุนที่ใช้ครอบโลกทั้งโลกได้ต่อไป มีสิทธิที่จะดำเนินนโยบาย World order จัดระเบียบของโลกใหม่อย่างเบ็ดเสร็จต่อไป แต่ปรากฏว่าหลังจากที่อเมริกาได้ยึดทรัพย์ ประชาชนมุสลิมจากโลกอาหรับไปฝากเงินในอเมริกา ไม่ว่าจากการขายน้ำมัน ขายก๊าซธรรมชาติก็ตาม ปรากฏว่าอเมริกาได้ยึดไปหมด โดยอ้างกฎหมายก่อการร้ายที่บัญญัติขึ้นมาแล้วก็ประเทศไทยให้ความร่วมมือแต่ในที่สุดด้วยความเจ็บแค้นเหล่านั้น เกิดคนรุ่นใหม่ของคนอาหรับที่จบการศึกษาในโลกตะวันตกจบจากอเมริกาจบจากยุโรปแล้วก็มาร่วมตัวกันแล้วก็ตั้งกลุ่มขึ้นมาเป็น อาบูดาบีกรุ๊ป[1] ซึ่งเป็นคนกลุ่มใหม่ที่ไปร่วมตัวกัน แล้วก็รวบรวมเงินทองทรัพย์สมบัติแล้วก็ทุนของโลกอาหรับให้อยู่ในมือค่อนข้างจะมาก ในที่สุดกลุ่มนี้ที่ไปรุกไปต่อสู้ในเรื่องของเศรษฐกิจทั่วโลก ดังนั้นไม่แปลกถ้าเราไปเดินรอบๆประเทศไทยเกือบทุกประเทศได้เอาทุนเหล่านี้มาลงทุน โดยเฉพาะมาเลเซีย ในกัมพูชาเองฮุนเซ็น ก็ทำงานกับอาบูดาบีกรุ๊ป พันตำรวจโททักษิณ ก็ไปทำงานกับอาบูดาบีกรุ๊ปในฐานะที่ปรึกษานี้จากการกระทำต่อมุสลิมในประเทศไทย แต่ว่าไปอยู่กับโกลมุสลิมและไปรับใช้คนอาหรับ ไปทำงานเป็นที่ปรึกษา 1 ใน 10 คน ให้กับอาบูดาบีกรุ๊ปเพื่อที่จะไปรุกเชิงเศรษฐกิจอยู่ในโลกมุสลิม แล้วก็ไปลงทุนปลูกปาล์มที่พม่าบ้าง เขมรบ้างทำไร่ทำนา ในประเทศเขมรแล้วก็พม่า ในที่สุดได้รุกมาประเทศไทยจะซื้อพื้นที่ ทางประเทศไทยตื่นตัวไม่ยอมขายอ้างกฎหมายต่างๆนานาดังที่ปรากฎในข่าวประมาณหนึ่งปีที่แล้ว แต่นั้นเป็นตัวอย่างที่โลกมุสลิมตื่นตัว เพราะฉะนั้นการเผชิญหน้าระหว่างโลกตะวันตกกับโกลมุสลิม เป็นอันหนึ่งที่กำหนด แล้วก็จะล่ามมาถึงการกำหนดการเมืองการปกครองในประเทศไทยด้วยในอนาคต

ข้อที่สอง เป็นการดุอาร์ของพวกเรามุสลิม ในกูนุตดุอานาซีละห์ อัลลอฮฮุมมาฟัรริฆญัมอาหุม โอ้อัลลอฮขอให้คนเหล่านั้นแตกแยกกัน เพราะเราทนกับสภาพที่ซ็อเล็ม[2]การกระทำของรัฐสยามกับคนสามจังหวัดไม่ได้อีกแล้ว แต่เราไม่มีอำนาจอยู่ในมือ ทุกอย่างเราไม่มีในมือ นอกจากเรามีดุอานาซีละห์อย่างเดียว เพราะฉะนั้น ทุกครั้งที่เราละหมาดในตอนนั้น เราก็จะอ่าน อัลลอฮฮุมมาฟัรริฆญัมอาหุม อัลลอฮฮุมมาซัรริฆซัมลาฮุม อัลลอฮอุมมาฆอริฆบัยนากาลีมาตีฮิม[3] เป็นสามดุอาที่มีนัยยะทางการเมืองการปกครองในประเทศไทย ไม่ใช่เพราะสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ อัลลอฮฮุมมาฟัรริฆญัมอาหุม ไม่แปลกวันนี้เกิดแดงเดือด ทุกสี ชาตินี้ไม่ไปไหนแล้ว เพราะมีแต่เหลืองกับแดง พอประเทศจะไป เหลืองก็บอกว่าเตรียมจะหยุด พอจะไปอีกแดงบอกว่าหยุดเลย ประเทศไทยก็เลยไม่ได้ไปไหน เพราะฉะนั้นอัลลอฮฮุมมาฟัรริฆญัมอาหุม มันมีผลทำให้คนแตกแยกเป็นสองฝ่ายคือแดงกับเหลือง อำมาตกับอีกฝ่ายหนึ่งก็เกิดการเผชิญหน้ากัน ข้อที่สาม เป็นการเผชิญหน้าระหว่างขบวนการ Rkk[4] กับรัฐสยามเป็นการเผชิญหน้าขบวนการ RKK บอกว่า Indipendent[5] ต้องอิสระ Autonomy[6] ไม่เอา ต้องการอิสรภาพอย่างเดียวขอท่วงคืนดินแดนแห่งนี้ RKK บอกว่าที่นี้เป็นสิทธิของเรา รัฐสยามมาปกครองไม่ได้ แต่รัฐสยามบอกว่าจะเอาอิสระ แม้การกระจายอำนาจรัฐสยามก็ไม่ให้ มันสุดโต่งความขัดแย้งสองฝ่ายนี้ สุดท้ายความขัดแย้งระหว่างนักอนุรักษ์นิยมกับนักการเมืองอิสระและการเมืองสะอาด ที่ให้ข้อเสนอว่าต้อง Autonomy คือต้องอิสระในการที่จะกำหนดด้วยเหตุผล 4 ข้อ

1. เพราะ Autonomy เป็นอุดมการณ์ระบอบประชาธิปไตย

2.เป็นปรัชญาของพุทธศาสนา อัตหิ อัตโนนาโก

3.เป็นไปตามเจตจำนงของอัลลอฮที่บอกว่าเราต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง

4.เป็นไปตามคาดการณ์ที่รอซูลบอกว่า วาซายาอูดูฆอลีบา มันจะผนวกในเวลาเดียวกัน บาดาอิสลัมฆอลีบัน วาซายาอูดูฆอลีบัน กามาบาดาอา ฟากูฟาลีฆูฆอบะ อิสลามจะเกิดขึ้นใหม่ เพราะฉะนั้นข้อแรกที่ผมบอกว่า เป็นการเผชิญหน้าระหว่างโลกตะวันตกกับโลกมุสลิมนำไปสู่ความต้องการของนักวิชาการอิสระ เอ็นจีโอ นักเคลื่อนไหว ในอนาคตที่นี้มันต้องเป็น Autonomy อย่างเดียวเท่านั้น เพราะฉะนั้นในอนาคตการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้น มันเป็นการเผชิญหน้าระหว่างคนที่ต้องการให้ยังคงระบบไว้ระบบการปกครองแบบปัจจุบัน คือพรรคประชาธิปัตย์ และข้อเสนอของพลเอก ชวลิต ต่อกรณีที่บอกว่าต้องเป็นนครปัตตานี นั้นคือ Autonomy ผมมองไม่เห็นในช่องทางอื่นเลยว่า อนาคตที่นี้ไม่เป็น Autonomy ไม่ได้เป็นอันขาด แต่ ณ วันนั้นมันต้องเผชิญหน้ากับสองฝ่าย หนึ่งโดยอนุรักษ์นิยม และผู้ปกครองรัฐสยาม อำมาตไม่ยอมแน่นครปัตตานี เพราะผู้ว่าต้องเป็นคนที่นี้ ในขณะเดียวกัน Rkk ก็ไม่ยอม เพราะที่นี้ต้องไม่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย เพราะฉะนั้นตัวชี้วัดที่นี้อยู่ที่ ประชาชน เพราะคนที่กำหนดคือ ประชาชน การที่อนาคตที่นี้จะแก้ปัญหาได้ นั้นก็คือต้องทำลายปลายกำแพงที่มีความเชื่อผิดๆของประเทศไทย ที่ไปเข้าใจว่า ทฤษฎีการปกครองต้องมีส่วนกลาง ภูมิภาค และท้องถิ่น โลกปัจจุบัน เขาไม่ใช้แล้วในส่วนของโลกภูมิภาค ใช่ทุกวันนี้เรากระจ่ายอำนาจบอกว่าให้ภารกิจกับ อบจ. อบต. แต่ทุกอย่างผูกมัดกับภูมิภาคทั้งสิ้น ผู้ว่ายังคงมีอำนาจทรงพลัง งบประมาณที่แบกมาให้กับคนสามจังหวัดมันยังคงน้อยนิด เพียง 23 เปอร์เซ็น จากทั้งหมด อีกที่เหลืออยู่ที่ส่วนกลาง แล้วก็ส่งมาผ่านกลไกของภูมิภาค และคนเหล่านั้นไม่มีความจำเป็นต้องรับฟังประชาชนคนในพื้นที่เพราะต้องฟังจากกรุงเทพมหานคร เพราะทางออกอย่างเดียวเราต้องทำลายกำแพงภูมิภาคออกไป ที่นี้ต้องเลือกตั้งผู้ว่าเอง ที่นี้เป็นเขตเฉพาะไม่ใช่เขตพิเศษ ผมไม่เห็นด้วยกับคำว่าพิเศษ เพราะพิเศษนั้นเป็นการบอกกรณีพิเศษ เราไม่ได้ขอกรณีพิเศษเราขอในสิ่งที่ควรได้รับ และรัฐบาลควรให้ในสิ่งที่ต้องให้กับเรา ในที่สุดมันนำไปสู่ความพึ่งพอใจกับประชาชน

เพราะฉะนั้นในอนาคตประเทศไทยจะยับยั้งในเรื่องของ Autonomy ไม่ได้อีกแล้ว แล้วก็โมเดลที่นี้มันเป็นการบริจาคที่เราจะให้กับประเทศไทยทั้งประเทศ เพราะAutonomy มันเป็นรูปแบบของอุดมการณ์ตามระบอบประชาธิปไตย ที่ต้องมีทุกส่วนของประเทศ ไม่ใช่เฉพาะสามจังหวัด เชียงใหม่ ภูเก็ต ข่อนแก่นและอันดามัน จะต้องเลือกผู้ว่าของตนเอง อาจารย์ประเวศ บอกว่าเป็นมณฑล จะเป็นกบฏมากกว่าผมสิบเท่า เพราะอาจารย์ประเวศเขียนไว้ตั้งแต่เดือนธันวาคมปีที่แล้ว บอกว่าประเทศไทยจะไปได้ ด้วยวิธีการอย่างเดียวโดยการแบ่งประเทศไทยออกเป็น 15 มณฑล อันดามัน 3-4 จังหวัดภาคใต้ เป็นมณฑลหนึ่ง เชียงใหม่ เชียงราย เป็นมณฑลหนึ่ง ลำปาง พะเยา มหาสารคาม และจังหวัดใกล้เคียงเป็นมลฑลหนึ่ง และต่างมณฑลก็ต่างดูแลตัวเอง แต่ไม่ใช่ Indipendent เป็น Autonomy. Indipendent คือการแยกรัฐอิสระมันเป็นไปไม่ได้จากรัฐธรรมนูญที่มีอยู่ทั้งฉบับ 40 หรือ 50 เพราะนั้นคือเจตนารมของกฎหมายรัฐธรรมนูญคือเป็นรัฐเดี่ยว คำว่า Autonomy ไม่ได้ไปทำลายกฎหมายเกี่ยวข้องกับรัฐเดี่ยว ประเด็นบอกว่าการเรียกร้อง Autonomy นั้นก็คือเป็นกบฏ เป็นความคิดที่ชั่วร้าย และเป็นผู้ทำลายระบอบประชาธิปไตย ระบอบประชาธิปไตยมีหลักการ 5 ข้อหนึ่งในนั้นก็คือต้องจัดการตนเอง ไม่ใช่การมีส่วนร่วมอย่างเดียว ไม่ใช่participate[7]อย่างเดียว แต่ต้องทำด้วยตัวเอง ด้วยมือของตัวเอง เพราะฉะนั้นถ้าพูดถึงอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ผมยืนยันเลยว่า จะใช้เวลาแค่ไหนนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ที่แน่ๆที่นี้เป็น Autonomy แน่นอน ผู้ว่าต้องเลือกเองแน่ ถ้าไม่เลือกเส้นทางนั้น ปัญหาภาคใต้ก็ไม่จบ นี่คือประเด็นที่หนึ่ง



--------------------------------------------------------------------------------

[1] กลุ่นนักธุรกิจจากสหัรัฐอาหรับเอมิเรสต์

[2] ถูกทำร้าย ถูกทำอะไรไม่ดีต่างๆนานา เช่นคิดไม่ดี มีอคติ เหล่านี้เป็นต้น

[3] เป็นบทขอพรของชาวมุสลิมที่เมื่อไหร่โดนทำร้าย แพะรับบาป หรือถูกกระทำอะไรไม่ดีต่างๆนานา

[4] เป็นหนึ่งในขบวนการเคลื่อนไหวในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ต้องการประกาศให้สามจังหวัดเป็นรัฐเอกราช

[5] อิสระ เป็นรัฐเอกราช

[6] เป็นอุดมการณ์ของระบอบประชาธิปไตยคือการจัดการตนเอง เป็นอุดมการณ์สูงสุดของระบอบประชาธิปไตย

[7] หลักการมีส่วนร่วม เป็นหนึ่งในห้าข้อของหลักระบอบประชาธิปไตย

ประเด็นที่สาม แนวคิดการเมืองกับอิสลามเป็นอย่างไร

นายแพทย์แวมาฮาดีย์ แวดาโอะได้กล่าวว่า อิสลามคือทางเลือก และอิสลามคือเราะหมาตัลลิลอาลามีน[1] เพราะฉะนั้น ตัวอิสลามเองนั้นมันไม่ใช่ให้กับมุสลิมอย่างเดียว ใครก็สุดแล้วแต่ ถ้าได้เอาหลักคิดปรัชญา วิถีปฏิบัติอิสลามมาใช้ วิธีปฏิบัติตามแบบอย่างมุสลิมที่ดีในอดีตนั้น มันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเมืองการปกครอง ที่มีปัญหาอยู่ทุกส่วนของโลก โดยผมเอง ผมตั้งหลักคิดอยู่อย่างหนึ่ง แล้วก็เป็นหลักคิดที่เราใช้ในการทำงานการเมืองทุกวันนี้ โดยญามาอะห์การเมืองเรา เราตั้งโมเดลนี้ขึ้นมาบอกว่า อัดดะวะตูบิสียาซะห พิลบาลาดิฆ็อยยุลมุสลิม นี่คือหลักการ เราจะไม่พูดถึงคำว่าการเมืองการปกครองอิสลามในประเทศที่เป็นมุสลิม เพราะเราอยู่ใน บาลาดิฆ็อยยุลมุสลิม เราเป็นประชากร Majority[2] ของประเทศ แม้ว่าเราเป็น majority สามจังหวัด หลักการทำงานในฐานะนักการเมืองคนหนึ่ง ผมถือว่านี้คือ ดะวะห์[3] คือดะวะห์ โดยการใช้วิธีการทางการเมือง พิบาลาดิฆ็อยยุลมุสลิม ในดินแดนที่มิใช่มุสลิม ในดินแดนที่คนกาฟิรปกครอง ในดินแดนที่ผู้มีอำนาจที่ไม่ใช่มุสลิม

ภารกิจของเราอยู่ตรงไหน ภารกิจของเราก็คือ เรากำลังจะบอกกับประชาชาติในประเทศไทยว่า แนวคิดอิสลามนั้นนำไปสู่ทางออก วามัยยัตตากิลลาฮฮุยัจอัลลาฮูมัฆรอญา[4] เรากำลังจะบอกกับประชาชาติในประเทศไทยว่า ถ้านักการเมืองนักปกครองไปทิศทางแนวทางของอิสลาม ความสมานฉันท์จะเกิดขึ้น สิ่งที่เป็นอยู่ในขณะนี้จะถูกแก้ปัญหา

ประเด็นมีอยู่ว่า การนำเสนอในครั้งนี้มันเป็นสิ่งที่ยากลำบากมาก เพราะการนำเสนอด้วยวาจา และแปเปอร์ทางวิชาการมันไม่เพียงพอแล้ว ในสิ่งสำคัญจะทำอย่างไรให้เกิดโมเดลออกมาแบบฉบับ อุมัร บิน อับดุลอาซิซ ในฐานะนักปกครองตัวอย่างของโลก เป็นสิ่งที่ยากมากถ้ามุสลิมคนหนึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร บุคลิกภาพที่ออกมา เราไม่สามารถชี้ได้ว่า อันไหนคือส.ส มุสลิม อันไหนคือมิใช่ส.ส มุสลิม ห้ามดูชื่อ ให้ดูพฤติกรรม กินเปอร์เซ็นต์จากโครงการ ตอแหล พูดโกหก ไม่มีความรับผิดชอบ ไม่ได้แสดงความ กุลลูกุมรออิน วากุลลูกุมรออิน มัฟอูลุล อัรรออียาตีฮี เอาคนสองคนไปยื่นอยู่ บอกไม่ได้ว่าคนไหนนักการเมืองมุสลิม คนไหนส.ส มุสลิม วันนี้เรากระจายอำนาจให้กับ อ.บ.ต อ.บ.จ และเทศบาล ผมถามว่า ผู้บริหารที่อยู่ในองค์การบริหารส่วนตำบลนั้น กับผู้บริหารองค์การบริหารที่ไม่ใช่มุสลิม มีอะไรแตกต่างกันไหม ถนนหกนิ้วที่รัฐบาลกำหนดว่าต้องสร้าง ปรากฎว่าตรงกลางเหลือสองนิ้ว ด้านข้างเป็นหกนิ้วจริง ทั้ง อ.บ.ต. เป้นมุสลิมก็แบบนี้และมิใช่มุสลิมก็แบบนี้ เป็น ส.ส ก็เช่นเดียวกัน ส.ส ที่เป็นกาฟิรก็วิ่งขอเปอร์เซ็นห้าเปอร์เซ็น สิบเปอร์เซ็น สิบห้าเปอร์เซ็น ยี่สิบเปอร์เซ็น สามสิบถึงสามสิบห้าเปอร์เซ็น ส.สที่เป็นมุสลิมและมิใช่มุสลิมก็ทำภารกิจนี้ในแต่ละวัน วิ่งหาโครงการจากส่วนกลางมาลงในท้องถิ่น แล้วก็ไล่เก็บเปอร์เซ็นต์ ส.ส มิใช่มุสลิมอยู่กับซินา และส.สมุสลิมอยู่กับซินาเช่นกัน มันก็ไม่มีความแตกต่าง แม้ว่าอิสลามเป็นสิ่งที่ดีงาม แต่มุสลิมที่ไปอยู่ในฐานะนักการเมือง ในฐานะนักปกครอง ปรากฏว่ามันไม่มีความแตกต่างกับคนที่ไม่ใช่มุสลิมตรงนี้เป็นโจทย์ใหญ่ ภาพที่อุมัร บิน อับดุลอาซิซ ในฐานะนักปกครองและเป็นคอลีฟะฮคนที่ห้า อัรรอซีดูน ทั้งๆที่หลังจากที่คอลีฟะฮอาลีเสียชีวิตไปนั้นมีคอลีฟะฮมากมาย แต่นักประวัติศาสตร์ไม่ได้ยกย่องว่าเป็นคอลีฟะฮคนที่ห้า

ผมมีโอกาสได้ไปฟังอุซตาส อับดุลอสซีซ มุขมนตรีรัฐกลันตัน ตอนหลังได้ไปซื้อหนังสือการการเมืองการปกครองของอุมัร บิน อับดุลอาซิซ ลิมก๊อกวิง เป็นมุขมนตรีรัฐปีนัง เป็นคนจีน นับถือพุทธศาสนา วันหนึ่งท่านมาเยี่ยมดาโต๊ะ อับดุลอาซิซ แห่งรัฐกลันตัน ท่านพูดว่า คุณช่วยอธิบายหน่อยเถิดว่า ในเนื้อหาที่อุมัร บินอับดุลอาซิซ ปกครองเขาทำกันอย่างไร ดาโต๊ะ อับดุลอาซิซ ก็ได้ถามมุขมนตรี แห่งรัฐปีนัง ทำไมจึงสนใจอุมัร บิน อับดุลอาซิซ เขาตอบว่า นี้คือนักการเมืองการปกครองในอุดมคติของเขา

วันหนึ่งอุมัร บินอับดุลอาซิซ ซึ่งเป็นวันศุกร์ ทุกๆวันศุกร์เขาจะไปคุตบะห์ในวันศูกร์ในฐานะผู้นำอัลอูลามาอ อูมารอต อยู่ในตัวท่านคนเดียว ท่านเกิดมาในครอบครัวที่มังคั่ง ร่ำรวยซื้ออะไรก็ได้ แต่ทันทีที่เป็นผู้นำประเทศในฐานะนักปกครอง ท่านเปลี่ยนพฤติกรรมของท่าน วันแรกที่รับตำแหน่งเจ้าหน้าที่ข้าราชการ ปูพรมอย่างดี ใต้เต็นเพื่อต้อนรับนายกคนใหม่ ท่านเดินมาท่านก็เลยเขี้ยพรมอันนี้ แล้วให้เก็บพรมอันนี้ไปขายเอาเงินเข้าคลังหลวงบัยตุลมาล เพราะไม่มีความจำเป็นที่จะต้อนรับผมที่รับใช้ประชาชน และรับใช้อัลลอฮถึงขนาดนี้ วันศุกร์ท่านจะไปละหมาด ปรากฏว่าท่านไปสาย มะมูมก็รอในมัสยิดรอฟังคุตบะห์ ท่านก็มาช้าที่สุดมาเป็นคนหลังสุด ประชาชนก็เลยถามว่า อามีรุลมุมีนีน เหตุใดถึงมาช้า อุมัรบินอับดุลอาซิซ ก็เลยตอบว่า ต้องขอโทษด้วยเพราะวันนี้ตื่นมาตอนเช้าผ้าโสร่งมันสกปรกเหลือเกิน ก็เลยไปซัก ซักเสร็จก็เลยไปตากแต่ปรากฎว่าวันนั้นแดดมันไม่ค่อยดี เลยแห้งช้าเลยมามัสยิดช้า อุมัรบินอับดุลอาซิซมีผ้าโสร่งผืนเดียว มันมีความแตกต่างกับอิหม่ามเวลาเลือกคณะกรรมการโสร่งผ้าเต็มตู้ เพราะฉะนั้นภาพของอุมัร บินอับดุลอาซิซ ทำอย่างไรให้เกิดขึ้นในองค์การบริหารส่วนตำบล ความคิดผมน่ะ ทำอย่างไรให้เกิดขึ้นในเทศบาล ทำอย่างไรให้เกิดขึ้นในองค์การบริหารส่วนจังหวัด งบอยู่ในมือสองร้อยล้านในองค์การบริหารส่วนจังหวัด สี่ปีพันสองร้อยล้าน ท่านทำอะไรก็ได้ แต่เราไม่ทำเหมือนกับอุมัร บิน อับดุลอาซิซ จึงเป็นที่มาเรามานั่งคุยกัยทีมงานสิบเจ็ดท่าน บอกว่าหลังจากนี้ทิศทางที่เราจะมองภาพนักการเมืองมุสลิม ลีบีลาฆ็อยรูมุสลิม มันต้องเกิด เราตั้งเป้า ประมาณสิบปี ไม่ใช่วันนี้ เราก็เลยเริ่มมองว่า เราจะต้องมีหลักสูตรเพื่อเข้าใจก่อนว่าการเมืองในอิสลามเป็นอย่างไร จึงเป็นที่มาเราทำฮาลาเกาะห์อยู่ประมาณสิบครั้ง ประมาณสามสิบชั่วโมง จึงออกมาเป็นกระดาษชิ้นหนึ่ง เป็นปรัชญาที่ว่า อัดดะวะตูบิสียาซะห พิลบาลาดิฆ็อยยุลมุสลิม ในขณะเดียวกันเรานำร่องที่นราธิวาสปีนี้ ทุกตำบลต้องมีห้าคนที่เป็นแกนนำและต้องเข้าใจเนื้อหาที่เป็นการเมืองอิสลามในประเทศนี้ โดยมีอาจารย์สาเล็มเป็นผู้รับผิดชอบ ทุกวันเสาร์จะทำฮาลาเกาะฮผู้ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการเมือง ไม่ว่าจะเป็น อ.บ.ต กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วย ส.ส ผู้บริหารอะไรก็สุดแล้วแต่ในตำบล ห้าคนที่อยู่ในตำบลนั้นเป็นอย่างน้อย เราจะนำร่องสี่สิบสามตำบล ในจังหวัดนราธิวาส เพราะฉะนั้นสิ้นปี53 จะเกิดแกนนำ สองร้อยคน ในการที่จะขยับเรื่องการเมืองอิสลาม ให้เข้าใจว่าอำนาจสูงสุดเป็นของอัลลอฮ ตาบารอกัลป์ลาซี บียาดีฮิลมุลก วาฮูวาอาลากุลลีซัยเอ็นกอดีร ใครก็ตามที่เป็นมุสลิมมีความรู้สึกตามระบอบประชาธิปไตยว่าอำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน คนนั้นกุฟุร เพราะของอัลลอฮ ตาบารอกัลป์ลาซี บียาดีฮิลมุลก วาฮูวาอาลากุลลีซัยเอ็นกอดีร เป็นหลักอากีดะห์ เป็นข้อที่หนึ่ง หลังจากนั้นเราก็ไปแกะ โดยเอาอาจารยืฮาซัน นิอมาตุลลอฮ อิหม่ามสายบุรี มาเป็นที่ปรึกษา ช่วยแกะสิว่าอายัตไหนมันเป็นภารกิจของนักการเมืองมุสลิม เรายกมาสองอายัตอัลกุรอาน ในซูเราะห์ญุมอะห์ โองการที่สอง กับอัลฮัจญ โองการที่สี่สิบเอ็ด สองโองการนี้ ฮูวัลลาซีบาอาซาฟิลอุมมียยี รอสูลลัมมินฮุม ยัตลูอาลัยฮิมอายาต อันนี้คือภารกิจที่หนึ่ง ผมคงไม่ต้องแปลเพราะเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยอิสลามผมมิบังอาจตัปซี วายูซักกีเฮ็ม วายูอัลลีมูฮุมุลกีตาบาวัลฮิกมะห์ อันนี้สามภารกิจนี้ รอซูลมีภารกิจนี้เราในฐานะผู้รับมรดกจากท่านรอซูล ก็ต้องมีภารกิจนี้ แท้จริงอัลลอฮได้แต่งตั้งรอซูลด้วยภารกิจสามอย่าง หนึ่งต้องบอกในเรื่องอัลกุรอาน เพราะมนุษย์ต้องเรียนรู้จากอัลกุรอาน เพราะฉะนั้นถ้าท่านเป็น อ.บ.ต. หรือผู้บริหาร อ.บ.ต ท่านต้องดำเนินการ บริหารจัดการในอ.บ.ต. นั้นให้เป็นไปตามอายัตนี้คือยัตลูอาลัยฮิมอายาต เพราะฉะนั้นองค์การงบประมาณต้องตั้ง จากคนที่อ่านอัลกุรอานไม่ได้ ก้ต้องทำให้อ่านอัลกุรอานให้ได้ และต้องตั้งศูนย์กีรออาตี และตั้งงบประมาณไปเลยสักสองสามแสนบาท อันนี้คือนำไปสู่การปฏิบัติ โดยดึงอายัตนี้ออกไป ถ้าเข้าใจอัลกุรอานแล้วต้องเกิดฮาลาเกาะห์อัลกุรอาน ต้องเรียนรู้ความหมายอัลกุรอาน เรียนรู้ไม่ได้เว้นแต่ต้องจ้างครูมาสอนในมัสยิด ต้องเกิดตาดีกา ต้องเกิดการสอนทุกวันเสาร์ วันอาทิตย์ก็ว่าไป นี้คือยัตลูอาลัยฮิมอายาติฮ นี้เป้นภารกิจของนักการเมือง ข้อที่สองคือ วายูซักกีเฮ็ม ให้เรานี้เป็นผู้บริสุทธ์ขึ้นมา เพราะนักการเมืองต้องคิดว่ากิจกรรมที่ทำทุกวันคืออีบาดะห์ เงื่อนไขที่จะเป้นอีบาดะห์สองอย่าง คือ อิคลาศ กับถูกต้องกับหลักศาสนา เพราะฉะนั้น กลุ่มสตรีไปของงบประมาณจากผม เพื่อไปเที่ยวผมไม่ให้ เพราะผมเองไม่ได้ไปด้วย คุณจะไม่สนับสนุนผมก็ไม่เป็นไร กลุ่มสตรีบอกว่าขอแสนหนึ่ง เผื่อๆจะได้ไปเชียงใหม่ด้วยกัน เที่ยวร้องเพลงเต้น อยู่บนรถแล้วก็ไปจอดผู้บริหารอ.บ.ต. ก็นั่งด้วยในที่สุดเมียเขากลายเป็นเมียเรา เมียเรากลายเป็นเมียเขา ก็ยุ่งกันไปหมด ผมบอกว่าผมไม่ให้ เพราะนี้ไม่เป็นไปตาม วายูซักกีฮิม ต้องชัดเจน วายูอัลลิม ก็เป็นอีกภารกิจหนึ่งไม่ใช่มูดัรซิร โองการที่สองก็เป็นซุเราะห์อัลฮัจร โองการที่สี่สิบเอ็ด อัลลาซีนาเอ็นมักกันนาฮุมฟิลอัรดี มากอมุซซอลาห์นี่คือภารกิจข้อที่สี่ นักการเมืองต้องละหมาด นักการเมืองต้องส่งเสริมให้ประชาชนละหมาด นักการเมืองต้องสร้างสถานที่ให้ประชาชนละหมาด เพราะฉะนั้น อ.บ.ต. หนึ่งมีประชากร หกพันคนตัวเองต้องละหมาดก่อน ตัวเองต้องละหมาดให้เป็น ไม่มีมัสยิดต้องสร้างมัสยิด ไม่มีที่ๆจะสอนคนละหมาดเช่นก็ต้องสร้างตาดีกา เพื่อสอนให้คนละหมาด อันนี้คืออากอมุซซอลาฮ คงไม่ได้หมายถึงเราคนเดียวที่จะต้องละหมาด แต่หมายถึงประชาชนทั้งหมดที่จะต้องละหมาด ละหมาดไม่ได้ถ้าไม่เข้าใจวิธีละหมาด เพราะฉะนั้น โครงการ ข้อบัญญัติ ต่างๆของ องค์การบริหารส่วนตำบลต้องบรรจุสิ่งเหล่านี้ สิ่งเหล่านี้คือภารกิจของนักการเมือง นี่คือตัวอย่างที่ผมได้ยิบหยกตัวอย่าง หลักการเหล่านี้สิ่งที่เราต้องapply นำไปสู่การปฏิบัติได้เลย วะอาตาวุซซากาต และก็ต้องมีการจ่ายซากาต นายกก็ต้องจ่ายซากาต ผู้มีรายได้ต้องจ่ายซากาต ซากาตอีญาเราะห์ ซากาตไร่นา ซะกาตผลไม้ อะไรก็สุดแล้วแต่ รวมไปถึงที่จะทำให้ประชาชนออกซะกาตให้ได้ หมายความว่าคนๆหนึ่งไม่มีอาชีพจะออกซะกาตได้ไหม เพราะฉะนั้นอาตูซซะกาต จะไม่เกิดขึ้นในตำบลนั้นถ้าประชาชนไม่มีอาชีพเพราะฉะนั้นเป็นหน้าที่ของนักการเมืองที่จะต้องส่งเสริมอาชีพให้ประชาชนมีรายได้ และเพื่อจะได้จ่ายซะกาต กันต่อไป วานามัลลูบิลมะรูฟ วานามัลเนาอาลิลมุงกัร หกภารกิจนี้มันเป็นแก่นของนักกรเมืองนักปกครองต้องเกิดขึ้นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อเป็นแบบอย่าง เพื่อให้เห็นความแตกต่างกับผู้ที่เป้นมุสลิม กับผู้ที่มิใช่มุสลิมยื่นอยู่ ณ จุดนั้นเขาต้องมีความแตกต่าง มิใช่ไปยืนแล้วไม่ได้เกิดความแตกต่าง เราไม่สามารถที่จะนำเสนออิสลามให้เกิดขึ้นได้ให้กับประชาชาติที่อยู่ในประเทศไทย เพราะฉะนั้นอุมัร บิน อับดุลอาซิซ ต้องเป็นต้นแบบของนักการเมืองการปกครองของมุสลิมที่นี้ ในการไปจัดการ อุมัร บินอับดุลอาซิซ ปกครองอย่างไร ทำให้ไม่มีคนที่จะรับซะกาต มีแต่คนจะให้เพราะทุกคนร่ำราย แต่ในขณะที่อุมัร บิน อับดุลอาซิซ มีผ้าโสร่งพื้นเดียว ในขณะที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นผู้บริหารประเทศอิสลามในขณะนั้น นี่คือตัวอย่าง เพราะฉะนั้น เส้นทางของเราหลังจากนี้ เราพยายามสร้างนักการรเมืองการปกครองมุสลิมให้เกิดขึ้นตามแบบฉบับอุมัร บิน อับดุลอาซิซ ให้ได้ และหนังสือ ที่ต้องอ่าน เช่น เมาดูดี ,ซัยยิด กุฏูบ ,มุสตอฟา มัชโฮล ,ฮาชัน อัลบานา, อับดุลมาญิด ซัยดานี, หนังสือนี้ต้องให้นักการเมืองอ่าน อับดุลกอดีร เอาดะห์อย่างนี้เป็นต้น เพื่อจะได้รู้ว่าทิศทางเป็นอย่างไร ส่วนการเคลื่อนไหวจะยึดต้นแบบอันไหน หรือจะยึดแบบฮาซัน อัลบานา โดยการยึดองค์กร เข้าไปในกลุ่มเยาวชน กลุ่มวัยรุ่น กลุ่มคนงาน กลุ่มกรรมกร อีกคณะหนึ่งเมาดูดี ก็จะเคลื่อนไหวโดยการออก วรสารเชิงวิชาการเหล่านี้เป้นต้นก็แล้วแต่เส้นทางที่เราจะใช้กับบริบทตำบลตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ แต่ทั้งหมดนี้ต้องถอดมาให้ได้ และนำไปสู่การปฏิบัติ ต้องกำหนดกิจกรรม ถ้าเราสามารถปฏิบัติอย่างนี้ได้เราสามารถผลิตผู้บริหารนักการเมืองในอนาคต สิบปีหรือยี่สิบปีให้มีความแตกต่างกับนักการเมืองปัจจุบัน อินชาอัลลอฮซูเราะห์ฟัตตะห์ โดยที่เราไม่ต้องบอกทุกคนจะยึดถือเราเป็นแบบอย่าง ในที่สุดคนที่ไม่ศรัทธาต่ออิสลามก็จะยอมรับการปฏิบัติตัวของมุสลิมในฐานะนักการเมืองการปกครองในประเทศนี้และต้นแบบนี้จะเป็นต้นแบบที่ให้กับประชาชาติอื่นที่มิใช่มุสลิม ได้ศึกษากับพวกเราที่อยู่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้อินชาอัลลอฮ แต่น่าเสียดานสิ่งเหล่านี้มันไม่เกิดขึ้นในพื่นที่เรา ก็ท่านนี่แหละ ที่เป็นความหวังของพวกเรา ในการที่จะจบการศึกษา เข้าไปในพื้นที่ เข้าไปมีบทบาท ณ ตำแหน่งที่ผมได้กล่าวไว้แล้ว แล้วก็ต้นแบบเหล่านี้จะออกให้เห็นปรากฏโดยชัดให้กับประชาชาติทั่วไป วัลลอฮฮุอะลัม

อ.มูฮัมหมัดสาเล็ม แยนา ได้เพิ่มเติมว่า แนวคิดการเมืองอิสลามที่กำลังเคลื่อนไหว มีชื่อว่า หมอแวโมเดล โดยยึดหลักกว่า ทำกิจกกรมการเมืองให้เป็นออีบาดะห์ให้ได้ ทำทุกอย่างให้เป็นอีบาดะห์ให้ได้ ขั้นตอนที่หนึ่ง ไปศึกษาความรู้การเมืองอิสลามเป็นอย่างไร ซึ่งต่อไปจะเป็นคู่มือ หนังสือที่ผู้นำมุสลิมต้องอ่าน ขั้นตอนที่สอง เริ่มจัดกิจกรรมกับหลักการที่เราเรียน จัดเวที่เผยแพร่ความรู้เรื่องการเมืองอิสลาม ทุกตำบล นำร่องที่จังหวัดนราธิวาส สองจัดมินิมุตตากอสำหรับมุสลีมะห์ ทุกตำบลพูดถึงบทบาทความเป้นแม่ในการเลี้ยงดูลูก ในหัวข้อรู้เท่าทันลูก จัดสถาบันการศึกษาอัลมะห์ดี บทบาทของสถาบันตอนนี้ส่งนักศึกษาไปเรียนแพทย์ต่างประเทศไปแล้วสามประเทศ จีน รัสเซีย เป็นต้น ส่งไปเรียนฮาฟิชอัลกุรอานที่สหรัฐอเมริกา อินเดีย แล้วช่วงปิดเทอมก็มีการจัดคอสต์ฮาฟิช กีรออาตี ที่มาเลเซีย จัดคอสต์สั้นๆการเรียนเรื่องละหมาด ที่สำคัญเราจักฮาฟิชไซน ตอนนี้กำลังทำที่พักสามหลังในรั่วบ้านหมอแว เราจะเอาเด็กมาทำโดยเฉพาะสิบสองคนนำร่อง เป็นนักเรียนในอุดมการณ์ของเรา กิจกรรมที่สามการปฏิรูป ปีนี้เริ่มปฏิรูปสองอย่าง ปฏิรูปการศึกษา สองปฏิรูปไม่รับเปอร์เซ็นในการรับเหมา กิจกรรมที่สี่ไปเยี่ยมเยียนอ่านคุฏบะห์ ตามชุมชนต่างๆ กิจกรรมที่ห้าลงพื้นที่ไปรับเรื่องร้องทุกข์กับประชาชน จะเห็นได้ว่ากิจกรรมต่างๆที่เราทำ ไม่ได้ทำเพื่อจะขอคะแนนเสียงเพราะอัลลอฮได้กล่าวว่า อำนาจนั้นเป้นของอัลลอฮ สรุปคือ จงกล่าวเถิดมูฮัมหมัดว่าพระองคืนั้นจะทรงประทานอำนาจของพระองค์แก่ผุ้ที่พระองค์ทรงประสงค์ จะถอดอำนาจนั้นแก่ผู้ที่ประองค์ทรงประสงค์ อำนาจในอิสลามนั้นไม่ต้องไปหา อัลลอฮจะเป็นผู้ให้ เราแค่ดำเนินการกิจกรรมทำความดีความดีงามจะเข้ามาหาเราเอง



--------------------------------------------------------------------------------

[1] เมตตาแก่มวลมนุษย์ทั้งโลก

[2] ชนกลุ่มน้อย

[3] เป็นการเผยแพร่

[4] ทุกปัญหามีทางออก จาก อัลกุรอาน


ประเด็นที่สี่ มีความเป็นไปได้ไหมที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้รวมทั้งสี่อำเภอจังหวัดสงขลา จะเป็น Autonomy ในอนาคต

นายแพทย์ แวมาฮาดีย์ แวดาโอะได้กล่าวว่า เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2552 ผมเดินทางไปประเทศมาเลเซีย พบหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งบอกว่า นาญิบ ราซัค[1] ให้ข้อเสนอต่อนายกอภิสิทธ์การให้ Autonomy คือทางออกของปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ คอสโกหน้า 7 เป็นประเด็นที่ผมถามกระทู้สดต่อนายก เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน ก่อนเดินทางเมกกะห์ วันที่27 หนังสือพิมพ์ ชีนารเนชั่นเนลหน้า6 บอกว่า PMไทยคือนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยรับข้อเสนอของนาญิบเพื่อให้สามจังหวัดเป็น Autonomy ส่วนรายละเอียดนั้น นายกอภิสิทธ์ยืนยันว่านั้นจะมีการพูดคุยในวันเวลาที่ท่านนายก นาญิบและอภิสิทธ์จะลงมาเยือนประเทศไทยและมาที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ในปลายปี2552หรือ2009 หลังจากที่ผมได้เอกสารเล่มนี้ ผมสนใจมากเพราะแนวคิดเดิมเราก็ยากเป็น Autonomy อยู่แล้วและไม่จำเป็นต้องเกรงกลัวว่าฝ่ายความมั่นคงจะคิดอย่างไร เพราะ Autonomy มันเป็นอุดมการณ์ประชาธิปไตย มันเป็นอุดมการณ์สูงสุดในเรื่องของ Autonomy ไม่ใช่Independent ไม่ใช่แยกอิสระยังคงเป็นรัฐเดียว เพราะฉะนั้นท่าทีของนายกอภิสิทธ์ในปัจจุบัน ต่อข้อเสนอของนายกนาญิบของมาเลเซียมันเป็นสัญญาณที่ดี ผมจึงไปตั้งกระทู้นายกอภิสิทธ์ เพื่อยืนยันประเด็นนี้ทันที่ที่กระทู้สดเข้าสภาเพื่อยืนยันให้สมาชิกผู้ทรงคุณวุฒิทราบและมีการถ่ายทอดทั่วประเทศบอกว่าการตกผลึกของ Autonomy ไม่ใช่เพราะสามจังหวัดและนักวิชาการเท่านั้น แต่ว่าประเทศเพื่อนบ้านเห็นว่ามันเป็นทางออกและมิใช่ครั้งแรกที่รัฐบาลประเทศมาเลเซียได้เสนอ สมัยต่วนมาหาเดร์นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย การสัมมนาที่หมู่เกาะลังกาวีก็ข้อเสนอคือ Autonomy เหมือนกันถึงขนาดอดีตนายกต่วนมาหาเดร์ในขณะนั้นเป็นนายกมาเลเซีย มาเข้าเฝ้าและพูดคุยแนวทางแก้ปัญหาภาคใต้ ดูเสมือนว่าเป็นทางออกในเรื่องของ Autonomy เลือกผู้ว่าเอง สามจังหวัดนี้เลือกผู้ว่ากัน แต่ละจังหวัดเลือกผู้ว่าไป เอาส่วนภูมิภาคออกไป นั้นคือสิ่งที่ DR.อับดุลซูโกร ดินอะ ได้นำเสนอ เราจึงถามนายกรัฐมนตรีอภิสิทธ์ว่า ท่านยืนยันได้ไหมว่าท่านมีความคิดนี้จริงครับ วันนั้นผมจึงหมดศรัทธาต่อนายกอภิสิทธ์ เพราะวันนั้นบ่งบอกว่านายกอภิสิทธ์ไม่มีอำนาจที่แท้จริงในการบริหารการปกครองในขณะนี้ เป็นแค่หุ่นเชิต ท่านบอกว่า ผมไม่ได้พูดครับ ผมก็เอาหนังสือพิมพ์สองฉบับนี้ ถ้าท่านยืนยันได้ว่าไม่พูด ท่านต้องให้สัมภาษณ์สื่อทั่วโลก เพราะหนังสือพิมพ์มาเลเซียได้ออกไปทั่วมาเลเซีย รวมทั้งประเทศสิงคโปร์ และอินโดนีเซียด้วย การกลับลำคำพูดของท่าน มันเป็นการดิสเครดิตครั้งที่สองหลังจากที่เรามีปัญหากับกัมพูชาแล้วครั้งหนึ่ง ท่านก็จะมีปัญหากับประชาชนประเทศมาเลเซีย เพราะความน่าเชื่อถือคำพูดของท่านไม่มีอีกแล้ว ซึ่งผมจะอภิปรายไม่ไว้วางใจ ในเดือนหน้า ซึ่งจะไม่ไว้วางในรัฐบาลนี้อีกแล้ว ในที่สุดครับ มีการเบี่ยงเบนประเด็นว่า ก็วันนี้เรามีการกระจายอำนาจอยู่แล้ว เราเลือกองค์การบริหารส่วนตำบลและองค์การบริหารส่วนจังหวัด คำพูดนี้ผมไม่โต้ครับ เพราะบ่งบอกถึงความไม่เข้าใจของนายกรัฐมนตรีเรื่องของ Autonomy ทันที่ที่เราพูดถึง Autonomy นั่นคือสละส่วนกลางไป มีแค่รัฐบาลกลางและมีท้องถิ่นเลย หมายความว่าผู้ว่าจะไม่มีอีกแล้ว ถ้าจะมีก็ได้เหมือนกับประเทศฝรั่งเศส มีหน้าที่คอบกำกับดูแลเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและตามนโยบายของรัฐบาล แต่วันนี้ภูมิภาคเป็นผู้ควบคุม ขอบัญญัติขององค์การบริหารส่วนตำบลเรื่องงบประมาณ ถ้านายอำเภอไม่เซ็นข้อบัญญัติ แสดงว่าข้อบัญญัตินั้นไม่ผ่าน เพราะฉะนั้นกลไกในการรวมศูนย์อำนาจ โดยรัฐไทยมันค่อนข้างจะสูงและในโลกนี้มีเพียงสองประเทศที่ปกครองแบบส่วนภูมิภาคคือไทยกับฝรั่งเศส แต่ความแตกต่างคือฝรั่งเศสคือแค่กำกับแต่ไทยคือควบคุม หลังจากนายอภิสิทธ์ตอบคำถามนี้หนึ่งวัน ท่านพลเอก ชวลิต โทรมาหาผมบอกว่าขอเรียนเชิญร่วมกิจกรรมที่ปัตตานี เพราะท่านกำลังจะประกาศเป็นนโยบายนครปัตตานี เป็นการปกครองโอโตโนมี ผมไปร่วมครับวันนั้น ฟังเสร็จสื่อก็ถาม ผมก็บอกว่าเป็นเรื่องที่ผมต้องให้ความร่วมมือทุกฝ่ายที่ตั้งใจ ด้วยความบริสุทธิ์ใจที่จะมาแก้ปัญหาภาคใต้ ข่าวออกไปวันนั้น ในที่สุดนักการเมืองบางกลุ่มไปเพิ่มคำว่ารัฐกลายเป็นนครรัฐปัตตานี ถ้าที่นี้เป็นนครรัฐปัตตานีนั่นก็หมายความว่าเป็น Independent เป็นเอกเทศทันที่ พอ Independent มันก็จะขัดกับรัฐธรรมนูญที่มีอยู่ เราจึงยืนยันว่านครรัฐปัตตานีเรายังไม่พูดถึงรายละเอียด รอขอเสนอของทุกฝ่าย แต่โดยนัยยะทางการเมืองการปกครองนั่นคือ Autonomy ซึ่งไม่ได้ขัดกับรัฐธรรมนูญ และยังคงเป็นรัฐเดียวของประเทศไทย เพราะฉะนั้นเราจึงสนับสนุนครับในเรื่อง Autonomy แม้บางท่านบอกว่าตั้งทบวงซึ่งมันก็ไม่จบ เพราะนั่นคือทางออกเดียว ถ้าถามว่าเป็นไปได้ไหม เป็นไปได้ครับ วันนี้ผมกำลังยกร่างกฎหมาย Autonomy ชื่อนครปัตตานีเพื่อเสนอกับสภา ก่อนหน้านี้ผมเสนอกฎหมาย ศบ.ชต ซึ่งวันนี้ผมไม่เอาแล้วครับ เพราะมันล้าหลัง เสนอตั้งแต่เมษายนไม่ออก เพราะตอนนี้ประชาชนมองข้ามไปอีกช็อตหนึ่งต้องการ Autonomy คือนครปัตตานี เพราะฉะนั้นเราต้องร่างกฎหมายฉบับนี้เข้าสภาเพื่อยืนยันเจตนารมณ์ของประชาชนในสามจังหวัดบอกว่าต้องการ Autonomy และความต้องการไม่ใช่เฉพาะสามจังหวัดทุกภาคส่วนของประเทศไทยต้องการ Autonomy หมด ไม่เชื่อลองทำประชามติ ผมท้าเลยครับ ไม่มีจังหวัดไหนไม่ต้องการเลือกผู้ว่าเป็นของตนเอง ผมก็เลยท้า มท.3 ว่าคุณลองทำประชาพิจารณ์ไปเลยถ้าเรื่องนี้ประชาชนไม่ต้องการ เพราะฉะนั้นแน่นอนครับ ผมยืนยันได้เลยว่าถึงยังไงมันก็ต้องเป็น Autonomy เพราะมันเป็นเทรนของโลก ทุกส่วนของโลกเดินไปถึงจุดนั้นแล้ว เราจึงหยุดไม่ได้แล้วในเรื่องของ Autonomy แม้รัฐพยายามที่จะหยุดยั้ง มันก็เป็นไปไม่ได้ เพราะนครปัตตานีหรือ หรือในเรื่องAutonomy มันเป็นอุดมการณ์ของระบอบประชาธิปไตย ที่ใช้ระบอบนี้ในการปกครองประเทศจนถึงปัจจุบัน เพียงแต่ว่าทำอย่างไรให้ประชาชนในพื้นที่ประสานเสียงเดียวกัน วันที่น่าเศร้าใจก็คือว่า ประชาชนต้องการครับ แต่ผู้นำร้องเพลงคนละเพลงกัน คนนี้ร้องเพลงคนนี้ร้องอนาซีด มันก็เลยมั่ว มันไม่ได้เกี่ยวกับฝ่ายความมั่นคง มันไม่ได้ขัดกับรัฐธรรมนูญมันไม่ได้เป็นกบฏ แต่มันเป็นเรื่องของการเรียกร้องเป็นไปตามห้าข้อของระบอบประชาธิปไตย เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ครับผมจะอภิปรายไม่ไว้วางใจสิบเจ็ดข้อที่ผมไม่อาจไม่ไว้วางใจในรัฐบาลชุดนี้ หนึ่งในนั้นก็คือว่าการเฉยเมยต่อขอเสนอของประชาชนในเรื่องของ Autonomy บ่งบอกถึงไร้ประสิทธิภาพในการบริหารประเทศ ซึ่งไม่น่าจะบริหารต่อไปได้ ผมคิดว่าน่าจะใช้เวลาสักครึ่งชั่วโมง เพื่อเอาข้อมูลต่างๆนำเสนอต่อสามชิกผู้ทรงเกียรติในปลายเดือนกุมพาพันธ์นี้ นี้เป็นประเด็นของ Autonomy หรือนครปัตตานี

อาจารย์มูฮัมหมัดสาเล็ม แยนา ได้กล่าวเพิ่มเติม Autonomy เป็นเทรนของโลก ซึ่งหลายประเทศเขาได้ไปถึงขนาดนั้น การเลือกตั้งครั้งหน้านี้มันไม่ไช่แค่เลือกตั้งอย่างเดียว แต่มันจะหมายถึงว่าประชาชนจะเอา Autonomy หรือไม่เอา Autonomy เราลองยามาหลายขนาดแล้ว เราจะลองยา Autonomy ดูบ้างว่าจะเป็นอย่างไร





คำถามจากผู้เข้าร่วมเสวนาวิชาการ

ประเด็นที่หนึ่ง แนวทางที่จะไปถึงเรื่องของ Autonomy เราสามารถทำอะไรได้บ้าง?

ประเด็นคนทั้งประเทศ เพียงแต่ว่าสถานการณ์นี้เราจึงยก สามจังหวัด เป็นกรณีตัวอย่าง ผมมีโอกาสพูดคุกับ ส.ส อีสานของเขาอาจได้ Autonomy ก่อนสามจังหวัดอีก ถ้าที่นี้มี RKK เพียง 10,000 คน พวกเขามีกองกำลังไม่รู้กี่หมื่นคน เสื้อแดงเป็นการเคลื่อนไหวบนท้องถนน พรรคเพื่อไทยคือการต่อสู่ในสภา และมีอีกนอกจากนี้ เพียงแต่ว่าจุดเวลายังไม่ยืนยัง และปัญหาภาคใต้เป็นขี้เล็บ ถ้านั้นประเด็นของ Autonomy มั่นไม่ใช่เป็นการประสานเสียงของคน สามจังหวัด นั้นเป็นการต่อสู่ด้วยระบบ หมายความว่าคนประเทศแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ชัดเจนแล้วในขณะนี้ จะเป็นผลการพัฒนาความก้าวหน้าหรือเป็นระบบประชาธิปไตยของโลก หรือเป็นผลจากการดุอารฺอัลลอฮฮุมาฟาริฆลาฮุมต่ออัลลอฮฺ แต่ที่แน่ๆ หลังจากนี้ประเทศไทย 5 ปีนี้ เป็นการต่อสู่ด้วยระบบ หมายความว่า ฝ่ายหนึ่งเกิด Autonomy ของแต่ละพื้นที่ แต่อีกฝ่ายหนึ่งยังคงไว้ซึ่งสภาพของการรวมศูนย์อำนาจที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ส่วนตัวละครที่ยิบยกขึ้นมานั้นเป็นเพียงตัวละคร เหตุการณ์ที่ยิบยกขึ้นมามั่นเพียงเหตุการณ์ตัวชนวน แต่ที่แน่ๆ มั่นเป็นการต่อสู้ของคนกลุ่มหนึ่งต้องการให้เกิด Autonomy เพราะนั้นคืออุดมการณ์ของระบอบประชาธิปไตย ถ้าเพียงลำพังคน สามจังหวัดต้อง Autonomy ผมว่าหลายท่านไม่กล้าที่จะประกาศ แต่วันนี้มั่นเป็นการตกผลึก Autonomy ต้องเกิดขึ้นในประเทศไทย ไม่เฉพาะคนมลายู คนไทย คนจีน คนเขมร คนล้านนา ทุกคนต้องการ Autonomy ไม่เฉพาะคนที่นับถือศาสนาอิสลาม เพราะฉะนั้น Autonomy มันเป็นอุดมการณ์ของประชาธิปไตยไม่ใช่อิสลาม ในฐานะเราเป็นมุสลิมที่อยู่พื้นที่เฉพาะ เราคิดว่าการใช้ระบบ Autonomy นั้นคือ นั้นคือแนวทางการแก้ปัญหาที่อย่างยั่งยืนที่ดีกว่ายาที่ใช้อยู่ในขณะนี้ เป็นได้หรือไม่ได้เป็นเรื่องของทั้งประเทศ มั่นเป็นการต่อสู้ของส่วนจุดประสงค์แอบแฝงของแต่ละฝ่าย อีกเรื่องหนึ่ง หลังจากนี้มันเป็นการเผชิญหน้าคน 2 กลุ่ม เพราะฉะนั้นวันนี้ไม่แปลก ฝ่ายหนึ่งเสื้อเหลือง ฝ่ายหนึ่งเสื้อแดง ฝ่ายหนึ่งประชาธิปัตย์ ฝ่ายหนึ่งเพื่อไทย ส่วนพรรคอื่นเป็นตัวประกอบที่รอเสียบกันไป เสียบกันมา เพื่อที่จะได้อำนาจ แต่สำหรับเราที่นี้ การเมืองหลังจากนี้ไม่ใช่การแสวงหาอำนาจ แม้คุณจะร่วมตัว คนมุสลิม 10 คน เขาไม่ให้รัฐมนตรีให้คุณร็อก เพราะว่านี้ฝ่ายรัฐบาลกลางกำลังจะแก้ปัญหา สามจังหวัด เขาไม่ยอมให้คุณไปพูดคุยโต๊ะกลาง แต่มันเป็นการต่อสู่สนับสนุนระบอบใด ระหว่าง Autonomy กับไม่เอา Autonomy ฉะนั้น ตัวประกอบอื่นเป็นรองหมดแล้ว เหมือนที่อาจารย์สาเล็มบอก การเลือกตั้งครั้งหน้าไม่ใช่เป้นเพียงการเลือกตั้ง และการเลือกตั้งเป็นประชามติ เพราะคน สามจังหวัดต้องการ Autonomy หรือไม่ เราก็รอ พรรคใดจะประกาศ Autonomy เป็นนโยบาย ไม่ 2 พรรค ประชาธิป ไม่เอา เอาแบบปัจจุบันนี้แหละ ศอบชต. ศอ.บต และอบต. มีงบของทหารมาเปลี่ยนให้ ศอ.บต บ้าง พรรคหนึ่งเกิดขึ้นมาบอกไม่เอา Autonomy เราต้องการ ทบวง มีรัฐมนตรีรับผิดชอบเป็นเรื่องระบบเดิมอีก ผมไม่รอ ว่าพรรคไหนใช่ Autonomy อาจเป็นพรรคของ ดร.นิติภูมิ ก็ได้ หรืออาจเป็นพรรคเพื่อไทย หรือจะเป็นพรรคอื่นๆ อะไรก็สุดแล้วแต่ เพื่อที่ประกาศ Autonomy สำหรับผมจุดยืนการเมืองรอบนี้พรรคใดสนับสนุน Autonomy ผมเอาพรรคนั้น เพราะนั้นเป็นการต่อสู้เรื่องระบบ ส่วนเรื่องรายละเอียดไม่ขอสนใจ เพราะฉะนั้นวันนี้เราไม่ต้องห่วง เพราะมันเป็นการต่อสู้ของประเทศ 2 ฝ่าย ที่กำลังจะเอา Autonomy หรือการปกครองแบบปัจจุบัน แค่นี้เองคับ เราต้องแสดงจุดยืน และสะท้อน ความรู้สึกของประชาชนถึงความต้องการของเราแท้จริงว่า เราต้องการ Autonomy ซึ่งไม่ได้ขัดรับรัฐธรรมนูญที่มีอยู่ในปัจจุบัน



ประเด็นที่สอง งบประมาณลงมาในพื้นที่ สามจังหวัด ที่มีหลายหมื่นล้านบาท แต่ทำไม่ประชาชนในพื้นถึงได้รับการพัฒนาน้อยมาก?

นายแพทย์ แวมาฮาดีย์ แวดาโอะได้กล่าวว่า นี้แหละต้อง Autonomy ถ้าตัวนี้ไม่มีปัญหาผม อาจจะไม่ Autonomy เพราะงบประมาณลงมาอยู่ในมือของส่วนกลาง ผ่านส่วนภูมิภาค ให้ อบต. ให้ อบต. 20 ล้าน ให้อบจ. 200 ล้าน รวมกันไม่เกิน 350 ล้าน ทั้งสามจังหวัด แต่งบที่อยู่กองทัพมีหมื่นล้าน อยู่ที่ผู้ว่าหมื่นล้าน แล้วเราจะไปพัฒนาอย่างไร อบต. มีเงิน 20 ล้าน ให้เงินเดือน 10 ล้าน ตกลงเงิน 10 ล้าน ไปทำอะไร วันนี้ตัวปัญหาคือท้องถิ่นมั่นเล็กไป อ่อนแอไป ไม่เข็มแข็ง เพราะการบดบังมาจากส่วนกลาง มันมีอำนาจ ตกอิทธิพลอย่างสูง วันนี้ปัญหาต้อง Autonomy แล้วมีคำถาม Autonomy จะได้อยู่หรือไม่ เพราะ Autonomy เป็นการจัดแบ่งเป็น 2 ยุค เรื่องที่ หนึ่ง เรื่องการต่างประเทศ เรื่องที่ สอง คือ กองทัพ ตำรวจของพื้นที่เอง วันนี้เรื่องกองทัพและกองกำลังทหาร เพื่อแก้ปัญหาในภาคใต้ มีทั้งหมด 137,000 คน ทหาร 30,000 กว่าคน ชรบ 60,000 กว่าคน ตำรวจ 30,000 คน ช.ร.บ ทหารพราน, อส. อีก รวมแล้ว137,000 คน ดูแลประชาชน 1 ล้าน 5 แสนคน ประชาชนเรามี 1 ล้าน 8 แสน อยู่ประเทศมาเลเซีย 2 แสนกว่าคน อยู่ที่อื่นอีก 1 แสน คน เหลือ 1 ล้าน 5 แสน เจ้าหน้าที่ดูแลประชาชน 10 คน 1 หมู่บ้าน เฉลี่ย 70 คน ต่อหมู่บ้าน เพราะเรามี 2 พันหมู่บ้าน คุณแล 70 คน ต่อหมู่บ้าน แล้วเกิดเหตุการณ์ คุณดูแลอย่างไร ข้อมูลนี้ผมจะใช้อภิปรายเหมือนกัน ถ้าเป็น Autonomy คุณจะดูแลตัวเองได้หรือไม่ ไม่มีปัญหาครับ และจะเป็นจังหวัดหรือภูมิภาคที่รวยที่สุดในประเทศไทยครับ เรามีแหร่เยอะแยะครับ พวกท่านเคยได้ยินเกาะโลซีนไหม ทรัพย์สมบัติตรงนี้มันมีมหาศาลครับ มันมีแสนล้านครับ รัฐบาลกลางเอาไปหมด เกาะโลซีนมันเป็นเกาะเล็กๆอยู่ห่างจากหาดนราทัศน์ประมาณ ร้อยกิโลเมตร ที่นั้นมันมีประวัติศาสตร์ยาวนาน เรือญี่ปุ่นก็เคยจม อเมริกาก็เคยจม เรือไทยหลวงสมุยก็เคยจม ก่อนนี้ไทยอ้างว่าเป็นของไทย เพราะฉะนั้นตามหลักสากลรอบเกาะสองร้อยกิโลเมตร ทรัพยากรตรงนั้นเป็นของประเทศนั้น จึงเป็นที่มาก๊าซธรรมชาติของไทยครึ่งหนึ่งแบ่งกับมาเลเซียครึ่งหนึ่ง เชื่อไหมครับว่าก๊าซธรรมชาติตรงนั้นมันมีมหาศาล ที่นั่นมีปากการังที่สวยที่สุด ไม่เกินอันดับสามของโลก เป็นการดำน้ำไปดูปาการังเท่าที่ทราบมาอันดับสองของโลก ห่างจากสงขลาประมาณสองร้อยห้าสิบกิโลเมตร รอบนั้นไม่เกินสองร้อยกิโลเมตร ไปเจอก๊าซธรรมชาติมีชื่อว่า JK มาเลเซียบอกว่าเป็นของเขา ไทยบอกว่ามีสิทธิเพราะอยู่ภายใต้สองร้อยกิโลเมตร แต่ข้างล่างมีทรัพย์สมบัติมหาศาล มีก๊าซธรรมชาติห้าล้านๆลูกบาทฟุต มูลค่าที่ได้ปีหนึ่งเท่าที่ทราบหนึ่งแสนล้านบาทต่อปี ผมจะเอาเงินนี้ส่วนหนึ่งสร้างมัสยิดติดแอร์ให้หมดเลย ที่ตรังกานูครับ รัฐบาลให้เพียงห้าเปอร์เซ็นเป็นจังหวัดที่ร่ำรวยที่สุดในมาเลเซีย นักเรียนในจังหวัดตรังกานูไม่มีถือกระเป๋าครับ ถือโน้ตบุคครับไปเรียน ทุกคนแล้วในขณะนี้ ก่อนหน้านี้เป็นจังหวัดที่ยากจนที่สุด วันนี้เรายากจนทีสุดแย่ที่สุด ไม่แย่ได้อย่างไร ทรัพยากรที่อัลลอฮให้เราไม่ได้ทราบถึงนิมัตที่อัลลอฮให้เลย ถ้าเราได้สิบเปอร์เซ็นของแสนล้านเราจะได้ห้าพันล้านครับ จะอ้างว่ากฎหมาย ก็แก้กฎหมายได้นิ เพราะฉะนั้นรายได้ของพื้นที่นี้ ถ้าเป็น Autonomy ผมไม่ห่วงเลยครับ เป็นจังหวัดที่ร่ำรวยที่สุด วันนั้นแหละจะมีการยิงกันเพื่อสมัครผู้ว่ากันเพราะแย่งทรัพยากรนี้ต่อไป ก็เป็นไปได้ จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่เราจะต้องสร้างนักการเมืองการปกครองรุ่นใหม่ที่ผมได้กล่าวมาแล้วตั้งแต่ต้น ภารกิจนี้ต้องช่วยกันสร้างมันเปลี่ยนไม่ได้หรอกครับในหนึ่งวัน เพียงเราได้หลักสูตรหนึ่งปีก็โอเคแล้วก็เลื่อนต่อ อันนั้นเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งที่ผมจะบอกว่า ทรัพย์สมบัติมีมากแต่เราถูกปิดตา ไม่รู้ทรัพย์สมบัติ ผมไม่รู้จัก ทุกคนไม่รู้จักเพราะทีมงานมาบอก ตั้งทีมงานห้าคนเพื่อค้นหาไปเจอตัวนี้แหละ เพราะฉะนั้นพี่น้องครับ มันเป็นสิ่งจำเป็นที่ว่า เราต้องต่อสู้ในเรื่อง Autonomy ซึ่งไม่ได้ขัดกับรัฐธรรมนูญครับ



ประเด็นที่สาม รัฐบาลมีความจริงใจมากแค่ไหนในการแก้ปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้หรือไม่ และมองปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นอย่างไร

นายแพทย์ แวมาฮาดีย์ แวดาโอะได้กล่าวว่า ถ้าประเทศไทยคิดว่าเรื่องภาคใต้เป็นเรื่องภายในประเทศข้อมูลออกมาว่า เป็นความขัดแย้งเป็นการเผชิญหน้าภายในประเทศที่มีการสูญเสียประชากรมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากอิรัก อัฟกานิสถาน แล้วก็มาที่นี้เลยครับ ไอร์แลนด์ขัดแย้งสามสิบปี เสียชีวิตสองพันกว่าคน ที่นี้ขัดแย้งห้าปีเสียชีวิตสามพันกว่าคน ไม่นับจำนวนที่หายไปอีก ผมคิดว่าสหประชาชาตคงรับรู้เรื่องนี้ สหประชาชาติคืออเมริกาผมเข้าใจว่าอย่างนั้น ที่นี้เป็นยุทธศาสตร์และเป็นจุดยุทธศาสตร์ของอาเซียน ใครคุมที่นี้ก็เท่ากับว่าจะได้คุมทั้งอาเซียน สิงคโปรเครื่องบิน บินขึ้นน่านฟ้าแป็ปเดียวมันก็ข้ามมาถึงมาเลเซียแล้วทำไม่ได้ครับ ต้องมาเช่าพื้นที่ประเทศไทย ไทย-ปากีสถาน แต่ที่นี้มันคือจุดศูนย์กลาง ผมคิดว่าถ้ามีใครมีความคิดชั่วๆของมหาอำนาจเกิดขึ้น อาจจะสนับสนุนฝ่ายใดก็แล้วแต่เพื่อเพิ่มเงื่อนไขที่บอกว่า องค์กรระหว่างประเทศต้องมาจัดการ แต่ที่แน่ๆวันนี้ องค์กรเครือข่ายองค์กรลูกองค์กรหลานก็เข้ามาประมาณสองถึงสามองค์กรแล้ว ที่เข้ามาปฏิบัติหน้าทีในนามขององค์กรใดอะไรก็สุดแล้วแต่ เพราะฉะนั้นเป็นประเด็นที่สหประชาติจ่องอยู่อันดับสามของโลก คืออิรัก อิหร่านอัฟกานิสถานและที่นี้

ผมคิดว่าไม่ว่าจะเปลี่ยนใครเป็นรัฐบาลก็สุดแล้วแต่ ถ้าระบอบมันอยู่แบบนี้มันทำไม่ได้ครับ คุณจะจริงจังก็ทำไม่ได้ มีทางเดียวคือ Autonomy ตั้ง ศบ.ชตก็ไม่จบเพราะโครงสร้างใหม่ที่กำลังพิจารณายี่สิบเก้ามาตราในขณะนี้ ระบุว่าผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารชายแดนภาคใต้คือรัฐมนตรีท่านใด ท่านหนึ่งนายกรัฐมนตรีได้หมอบหมาย ประธานเกี่ยวกับคณะกรรมการจังหวัดชายแดนภาคใต้คือนายกรัฐมนตรี เลขาศอ.บต เทียบเท่าปลัดกระทรวงก็ยังคงวัฒนธรรมการเมืองการปกครองในวิถีเดิม เพราะเป็นคนเดิม และเปลี่ยนชื่อใหม่ เพียงแต่ว่ามีกฎไหม่เพื่อรองรับนี้ มันมีเหตุผลที่จะดึงงบประมาณที่ทหารส่วนหนึ่งมาอยู่ที่ ศอ.บต ถ้าพูดถึงภาษาตรวจคือการกระจายการคอรัปชั่นแทนที่จะคอรัปชั่นที่เดียวเปลี่ยนมาเป็นสองที่ จีทีสองร้อยก็คอรัปชั่น อเมริกาขายแปดหมื่อนห้าพัน ตั้งงบประมาณตั้งล้านห้า บอลลูนสี่ร้อยกว่าล้าน ทั้งๆพื้นที่แห่งนี้บอลลูนไม่เหมาะที่จะมาใช้ ขอจำกัดของบอลลูน ถ้าภูมิประเทศป่าเยอะใช้ไม่ได้ครับ ถ้ามีฝนตกบ่อยๆบอลลูนมีหมอกใช้ไม่ได้ครับ บอลลูนใช้ในสงครามทะเลทรายแต่คุณตั้งงบประมาณตั้งสี่ร้อยกว่าล้านเพื่อมาใช้ซื้อบอลลูน ซึ่งฝนตกตั้งครึ่งปีกรีดยางได้สี่เดือน คุณจะล่าโจรอย่างไร จีทีสองร้อยพิสูจน์ว่าไม่มีในโลกนี้ใช้อีกแล้ว แต่กองทัพซื้อมาสองพันเครื่องประมาณสามร้อยล้านครับ ปรากฏว่าจีทีสองร้อยใช้การไม่ได้ ส่วนระเบิดที่โกลก ตายเจ็ด เจ็บยี่สิบ มาตรวจที่ยะลาตายสามบาดเจ็บอีกสิบ เมื่อวานผมเจอทหาร ผมบอกว่าคุณเลิกใช้ได้แล้ว ประชาชนรู้แล้วว่าคุณโกหก มันเป็นละคร คุณต้องการซื้อรถ คุณหยุดเดียวนี้เลย นายทหารคนนั้นสะดุ้งเลย เพราะมันจริงๆครับ ล้านห้าอเมริกาขายแปดหมื่นห้า อาจารย์จุลฬาลงกรณ์ ขายร้อยห้าสิบเก้าบาท มีมาตรฐานเหมือนกัน คิดดูครับ วันนี้เราขอตรวจสอบกองทัพบอกตรวจสอบไม่ได้ เพราะมันเป็นงบลับ ตกลงประเทศไทยมีสองอย่างที่คุณจะโกง หนึ่งงบลับ สองเป็นเรื่องความมั่นคง อาจารย์ประสิทธิ เมฆสุวรรณว่า เจ็ดชั้นฟ้าสิบหกชั้นดิน ไม่มีที่สำหรับเรื่องอื่นเลยเหล่านี้เป็นต้น เพราะแม้จะจริงใจยังไงมันไปไม่ได้ครับ เพราะมันเป็นเรื่องของระบบที่ศูนย์กลางมีอำนาจมากเกินไป

นายแพทย์ แวมาฮาดีย์ แวดาโอะได้กล่าวว่า เพิ่มเติมว่าก่อน Autonomy ผมเรียกร้องว่า ต้องสมัชชาประชาชนหมายความว่าจะมีสภาหนึ่งตัวแทนจากหลายฝ่ายมาประชุม ศอ.บต ก็มานั่งเหมือนสภาเลยครับ แล้วก็ถามสิว่ามีอะไร อย่างไร อันนั้นคือสิ่งที่เราคาดหวัง เพราะฉะนั้นนำไปสู่การ Autonomy ผมแบ่งออกเป็นสามขั้น

ขั้นแรก การมีสมัชชาประชาชนจังหวังชายแดนภาคใต้มาจากหลากหลายอาชีพ สภานี้เลือกกันเอง อาจารย์ระหว่างอาจารย์ อุตสาหกรรมเลือกอุตสาหกรรม นักธุรกิจก็เลือกนักธุรกิจ แล้วก็มานั่ง หน้าที่นอกจากเสนอแนะแล้ว มีหน้าที่ตรวจสอบ หมายความว่า ถ้าสงสัยในจีทีสองร้อย ผอ.ศอ.บต ก็นั่ง ผอ.กอ.รมนก็นั่ง แล้วกลุ่มสมัชชานี้มีหน้าที่สักถามเหมือนกับทำงานในสภาผู้แทนราษฎรในรัฐสภา วันนี้ครับทำท่าจะไม่เอาฉบับร่างไม่มีครับ ผมร่างกฎหมายประกบอยู่

ขั้นที่สอง ต้องการลดอำนาจของส่วนภูมิภาควันนี้ส่วนกลางกระจายเพียงยี่สิบสามเปอร์เซ็นต์ ผมอยากให้เจ็บสิบเปอร์เซ็นต์ สามสิบเปอร์เซ็นต์เอาไปผู้ว่าจัดการก็ว่าไป อีกเจ็ดสิบลงไปครับที่องค์การบริการส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล ถ้ามันจะโกงข้อให้โก่งในตำบลนั้น อย่างน้อยนายก อบต.จ่ายน้ำชาให้แก่ประชาชน

ขั้นสุดท้าย จะยกเลิกภูมิภาคครับ ของจังหวัดนั้น นั้นคือ Autonomy

2 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ5 เมษายน 2554 เวลา 11:47

    ขอ Reference หน่อยเพื่อน

    ตอบลบ
  2. โครงการเสวนาวิชาการ หัวข้อ การเมืองการปกครองในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย วันที่ 22 มกราคม 2553 จัดโดย นักศึกษารายวิชาสัมมนานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา
    ผู้ร่วมเสวนา นายแพทย์แวมาฮาดี แวดาโอะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 1 จังหวัดนราธิวาส
    นายมูฮัมหมัดสาเล็ม แยนา นักวิชาการอิสระ (ผู้ช่วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 1)
    ผู้ดำเนินรายการเสวนา
    นายฆอซาฟี มะดอหะ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขารัฐประศาสนศาสตร์
    ณ ห้องประชุมชั้น 3 คณะศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา

    ตอบลบ