วันเสาร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2553

มูฮัมหมัดอัลฟาติฮ ผู้พิชิต (Muhammad Alfatih)

สุลต่านมุหัมมัดที่ 2 (อัลฟาตีห์)(ปกครองระหว่างปี 855-886 ฮ.ศ.)
1) กำเนิดสุลต่านมุหัมมัด
ท่านคือสุลต่านมุหัมมัด บุตร สุลต่านมุรอด บุตร สุลต่านมุหัมมัดที่ 1 ประสูตเมื่อวันที่ 26 เดือนรอญับ ปี 833 ฮ.ศ. ขึ้นครองราชย์หลังจากการเสียชีวิตของบิดาเมื่อปี 855 ฮ.ศ. ในขณะที่มีอายุได้เพียง 22 ปี ก่อนหน้าที่สุลต่านมุหัมมัดจะขึ้นครองราชย์ ท่านได้ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นสุลต่านแทนผู้เป็นบิดาแล้วถึงสองครั้ง ต่อมาก็ถูกแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการ ณ เมืองแมกนีเซีย และยังเคยออกศึกพร้อมกับผู้เป็นบิดาในครั้งที่ยกทัพไปตีเมืองอิสกันดารและโฮเนียดหรือออสเตรีย.

2) บุคลิกของสุลต่านมุหัมมัด
นักประวัติศาสตร์ต่างมีมติเป็นเอกฉันท์ว่าสุลต่านมุหัมมัดที่ 2 นี้ เป็นสุลต่านแห่งอาณาจักรออตโตมานคนหนึ่งที่มีจริยธรรมที่สูงส่งตั้งแต่ยังเยาว์ สุลต่านได้รับการอบรมและการศึกษาจากบรรดาอุลามาอฺผู้โด่งดังในสมัยนั้น โดยเฉพาะเชคอากชำสุดดีน และเชคมุลลาโกรอนีย์ ซึ่งท่านทั้งมีบทบาทอย่างมากในการปลูกฝังนิสัยของสุลต่านมุหัมมัด สุลต่านเป็นคนที่ชอบศึกษาด้านภาษาต่างๆ เป็นคนที่มีพรสวรรค์ในการพูดจาปราศรัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาตุรกี พร้อมกันนี้สุลต่านยังเก่งและแตกฉานด้านภาษาอาหรับ เปอร์ซีย กรีก อิบรู และภาษาอิตาลี. สุลต่านเป็นคนที่ชอบอ่านคำกลอนเปอร์เซีย และกรีก จนท่านกลายเป็นนักกลอนที่ดีคนหนึ่ง สุลต่านยังเป็นคนที่มีนิสัยชอบศึกษาเกี่ยวกับปรัชญา ประวัติศาสตร์ ตั้งแต่อายุยังเยาว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชีวประวัติคนสำคัญๆ และการสู้รบ ประวัติจักรพรรดิไกเซอร์ และอื่นๆ. สุลต่านชอบศึกษาเกี่ยวกับการสงครามที่มีเล่ห์เหลี่ยม หลอกล่อ อาวุธการต่อสู้ การวางแผนการรบ และการจัดเสบียงอาหารในสนามรบ เป็นต้น.
สุลต่านมุหัมมัดเป็นคนที่มีนิสัยชอบทำสวนในเวลาที่ว่างจากการสงคราม สุลต่านจะใช้เวลาว่างของท่านให้หมดไปกับการทำสวนในเขตพระราชวัง ปลูกต้นไม้ ดอกไม้ และอื่นๆ ถึงกระนั้นสุลต่านยังคงมีใจรักการวางแผนและระเบียบไม่ว่าในด้านการบริหารหรือการทหาร .
ในช่วงที่สุลต่านมุหัมมัดสถาปนาเป็นสุลต่านแห่งอาณาจักรออตโตมานนั้น ประเทศในแถบเอเซียน้อยส่วนใหญ่ตกอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรอิสลามออตโตมานแล้ว ยกเว้นบางส่วนของประเทศกอรมาน ประเทศสีนูบ และประเทศเตาะรอบะซูน ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลดำเท่านั้น ส่วนใหญ่ในแถบยุโรปนั้นประเทศที่ยังไม่ได้ถูกพิชิตก็มีเพียงกรุงคอนสแตนติโนเปิลและประเทศใกล้เคียงเท่านั้น . ส่วนประชากรโลกในขณะนั้น (ปี 1453 ค.ศ.) ยังมีไม่มากเหมือยอย่างปัจจุบัน ซึ่งมีอยู่ประมาณ 400,000,000 คน โดยจำแนกได้ดังนี้คือ ประมาณ 275,000,000 อาศัยอยู่ในแถบเอเชีย อีกประมาณ 70,000,000 อาศัยอยู่ในแถบยุโรป อีกประมาณ 40,000,000 อาศัยอยู่ในแถบอัฟริกา และอีกประมาณ 15,000,000 อาศัยอยู่ในแถบอเมริกา .

3) บทบาทและเหตุการณ์สำคัญของสุลต่านมูหัมัด อัลฟาตีห์
3.1 การพิชิตประเทศต่างๆ ในแถบยุโรป
3.1.1 ประวัติการก่อตั้งกรุงคอนสแตนติโนเปิล
คำว่า “คอนสแตนติโนเปิล” มาจากคำว่า “คอนสแตนติน” ซึ่งเป็นชื่อของจักรพรรดิผู้ก่อตั้งกรุงแห่งนี้ และคำว่า “โอเปิล” ซึ่งแปลว่า “เมือง หรือนคร” ดังนั้นคอนสแตนติโนเปิลจึงหมายถึง “นครหรือกรุงคอนสแตนติน” นั้นเอง
กรุงคอนสแตนติโนเปิลเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรไบแซนไทน์หรืออาณาจักรโรมันตะวันออก ซึ่งสร้างขึ้นโดยจักรพรรดิคอนสแตนตินบุตรของคอนสแตนตินัสแห่งโรมัน ก่อนหน่าที่เมืองหลวงอาณาจักรโรมันตะวันออกหรือไบแซนไทน์จะย้ายมาอยู่ ณ กรุงคอนสแตนติโนเปิลแห่งนี้ อาณาจักรไบแซนไทน์มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงโรมา ต่อมาหลังจากที่จักรพรรดิคอนสแตนตินขึ้นครองราชย์ระหว่างปี ค.ศ. 306-307 ก็เริ่มมองหาทำเลใหม่ที่เหมาะสมเพื่อเปลี่ยนสถานที่ตั้งเมืองหลวง อันสือเนื่องมาจากความแตกแยกภายในซึ่งเป็นเหตุทำให้ทั่วราชอาณาจักรไบแซนไทน์ เกิดความทรุดโทรมและหายนะเป็นอย่างมาก ความหายนะดังกล่าวทำให้อาณาจักรไบแซนไทน์หรือโรมันตะวันออกไม่มีเสถียรภาพและเกิดความระส่ำระสายและบ่งย้ำเตือนถึงความพินาศย่อยยับในเวลาอันใกล้ และแล้วจักรพรรดิคอนสแตนตินก็พบกับเมืองใหม่ที่เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการเป็นเมืองหลวงซึ่งตั้งอยู่ระหว่างเมืองหลวงระหว่างเอเชียกับยุโรป ดังนั้นในปี ค.ศ. 324 จักรพรรดิคอนสแตนตินจึงได้ยกทัพไปยึดเมืองดังกล่าว และได้ทำการบูรณะซ่อมแซมและปรับปรุงเมืองใหม่ ด้วยการสร้างกำแพงและป้อมปราการต่างๆ ในปี 324 การซ่อมแซมและบูรณะในครั้งนี้ใช้เวลาถึง 6 ปี และได้จัดงานเลี้ยงฉลองอย่างใหญ่โต หลังจากที่การก่อสร้างและซ่อมแซมให้แล้วเสร็จ เมื่อวันที่ 11 เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 330 และงานเลี้ยงฉลองในครั้งนี้กินเวลาถึง 40 วันด้วยกัน หลังจากนั้นจักรพรรดิคอนสแตนตินก็ทำการย้ายเมืองหลวงจากกรุงโรมา มาอยู่ที่เมืองใหม่แห่งนี้และได้ตั้งชื่อใหม่ว่า “คอนสแตนติโนเปิล” ตามชื่อของจักรพรรดิ
นับตั้งแต่นั้นมากรุงคอนสแตนติโนเปิลแห่งนั้นก็กลายเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรโรมันตะวันออกหรือไบแซนไทน์ตลอดมา.

3.1.2 ลักษณะที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และความสำคัญ
กรุงคอนสแตนติโนเปิลเป็นเมืองที่มีลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่สวยงามอย่างยิ่งอย่างไม่มีที่เทียบได้ ตั้งอยู่ในเขตทวีปเอเชียและทวีปยุโรปมาบรรจบกันและถูกล้อมรอบด้วยมหาสมุทรทั้งสามทิศ ซึ่งตั้งอยู่เป็นรูปสามเหลี่ยม โดยด้านทิศตะวันออกติดกับช่องแคบบอสฟอรัส (BOSFORUS) ทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดกับทะเลมารมารา (MARMARA SEA) และทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดกับท่าเรือที่ทอดยาวคล้ายรูปคันธนู ชื่อก้อรนุน ซะฮะบีย์ (GORDEN HORN) ซึ่งถือว่าเป็นท่าเรือที่ยาวและปลอดภัยที่สุดท่าเรือหนึ่งของโลก ส่วนทิศที่สามซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกติดกับยุโรป โดยมีกำแพงใหญ่อันแข็งแก่งสองชั้นกั้นไว้อย่างหนาแน่นมีความยาวถึง 4 ไมล์ ซึ่งเริ่มตั้งแต่ชายฝั่งทะเลมารมาราทอดยาวไปจนถึงชายฝั่งของท่าเรือก้อรนุน ซะฮะบีย์
กรุงคอนสแตนติโนเปิลไม่เพียงแต่มีสภาพที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่งดงามเท่านั้น มันยังมีสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและพื้นดินที่อุดมสมบูรณ์ด้วย และมีสภาพอากาศที่อบอุ่นอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งสภาพทางอากาศจะไม่ร้อนจัดในช่วงฤดูร้อนและจะไม่หนาวจัดอีกเช่นกันในช่วงฤดูหนาว และสืบเนื่องจากกรุงคอนสแตนติโนเปิลมีเขตแดนที่บรรจบกับทะเลถึงสองฟาก จึงทำให้กรุงคอนสแตนติโนเปิลกลายเป็นเมืองท่าที่เป็นเส้นทางค้าขายที่สำคัญยิ่ง เพราะสินค้าทุกอย่างที่เดินทางมากับเรือที่มาจากจีน อินเดีย และอาหรับล้วนแต่ต้องผ่านและจอดเทียบท่าเรือกรุงคอนสแตนติโนเปิลหรือท่าเรือก้อรนุน ซะฮะบีย์ทั้งสิ้นก่อนที่จะเดินทางมุ่งไปยังยุโรปต่อไป
กรุงคอนสแตนติโนเปิลไม่ได้เป็นเพียงศูนย์กลางการค้าขายเท่านั้น แต่ยังเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมที่ใหญ่โตในแถบทะเลเมดิเตอเรเนียนทั้งหมด ซึ่งได้ทำการส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระดาษปาปิรัส สิ่งทอต่างๆ และผลิตภัณฑ์กระจก ยิ่งกว่านั้นกรุงคอนสแตนติโนเปิลยังมีนโยบายเฉพาะด้านเศรษฐกิจหลายๆ อย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายการผูกขาดด้านการผลิตและซื้อขายเหรียญกษาปณ์

3.1.3 ความสำคัญด้านยุทธศาสตร์
เนื่องจากสภาพที่ตั้งของกรุงสแตนติโนเปิลอยู่ในทำเลที่เต็มไปด้วยการป้องกันด้านยุทธศาสตร์ที่ยากแก่การรุกรานและโจมตี จึงทำให้กรุงแห่งนี้เป็นที่หมายปองของบรรดาผู้ปกครองทั้งหลายเพื่อที่จะยึดเอากรุงแห่งนี้ไว้เป็นศูนย์บัญชาการทางทหารหรือเมืองหลวงของตนนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน.
เกี่ยวกับความสำคัญด้านยุทธศาสตร์ของกรุงคอนสแตนติโนเปิลนี้จอมทัพนโปเลียนโบนาปาร์ตกล่าวว่า :
“หากแม้นว่าโลกนี้ทั้งโลกมีเพียงอาณาจักรเดียว แน่นอนอย่างยิ่งว่ากรุงคอนสแตนติโนเปิลเป็นสถานที่ที่เหมาะสมที่สุดที่จะเป็นเมืองหลวง”
นโปเลียนยังได้กล่าวในบันทึกส่วนตัวของท่านซึ่งได้เขียนในขณะที่ท่านถูกเนรเทศอยู่ที่เกาะสันติลานาว่า:“เขาได้ใช้ความพยายามหลายต่อหลายครั้งเพื่อทำความตกลงกับรัสเซียในเรื่องการแบ่งปันเมืองอาณานิคมของอาณาจักรออตโตมาน แต่ทุกครั้งที่กล่าวถึงกรุงคอนสแตนติโนเปิลก็จะเกิดปัญหาการโต้แย้งขึ้นมาทันที จนกระทั่งไม่สามารถทำการตกลงกันได้ เพราะรัสเซียพยายามจะผลักดันให้แบ่งกรุงคอนสแตนติโนเปิลให้กับเขา ส่วนนโปเลียนเห็นว่า “กรุงคอนสแตนติโนเปิลเป็นเมืองยุทธศาสตร์ที่ดีเยี่ยม ซึ่งมันเปรียบเสมือนกุญแจโลก หากใครได้ครอบครองมันแล้วก็เท่ากับว่าเขาได้ครอบครองโลกนี้ทั้งโลกเลยทีเดียว”

3.1.4 ฮะดีษที่กล่าวถึงกรุงคอนสแตนติโนเปิล
มีฮะดีษมากมายที่กล่าวถึงกรุงคอนสแตนติโนเปิลทั้งที่เกี่ยวกับการพิชิตเมืองและสัญญาณวันสิ้นโลก ดังต่อไปนี้

1 عنابىهريرةأنرسولاللهصلياللهعليهوسلمقال "لاتقومالساعةحتىينزلالرومبالاعماقأوبدابقفيخرجاليهمجيشمنالمدينةمنخيارأهلالأرضيومئذفاذاتصافواقالتالرومخلوابينناوبينالذيسبوامنانقاتلنفيقولوالمسلمونلاواللهلانخليبينكموبيناْخواننانقاتلونهمفينهزمثلثلايتوباللهعليهمأبداويقتلثلثهماْفضلالشهداءعنداللهويفتتحالثلثلايفتنونأبدافيفتتحونالقسطنطينية


1. อบูฮุรอยเราะห์เล่าว่าท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า :
“วันกิยามัตจะไม่เกิดขึ้นจนกว่าชาวโรมันจะยกทัพไปยังเมืองอิอ์มากหรือดาบิก และแล้วกองทหารจากนครมดีนะห์ซึ่งเป็นประชาชาติที่ประเสริฐที่สุดในขณะนั้นจึงได้ยกทัพไปเผชิญหน้ากับพวกเขา แล้วชาวโรมันก็กล่าวขึ้นว่า “จงหลีกทางระหว่างเราและผู้ที่ถูกจับเป็นเชลยศึกในหมู่พวกเรา (หมายถึงชาวโรมันที่เข้ารับอิสลาม) เราจะฆ่าพวกเขา” มุสลิมจึงค้านขึ้นมาว่า “ไม่! ด้วยพระนามของอัลลอฮ เราจะไม่หลีกทางให้พวกเจ้าฆ่าฟันสหายของเราเป็นอันขาด” ดังนั้นจึงเกิดการต่อสู้กัน จนหนึ่งในสามของพวกเขาต้องพ่ายแพ้ และอัลลอฮจะไม่ทรงให้อภัยแก่พวกเขาตลอดไป อีกหนึ่งในสามของพวกเขาถูกฆ่าตายและเป็นชาวซูฮาดาอ์ (ผู้ที่ตายในหนทางของอัลลอฮ)ที่ประเสริฐที่สุดของอัลลอฮ และอีกส่วนหนึ่งของพวกเขาทำการพิชิตกรุงคอนสแตนติโนเปิลโดยที่พวกเขาไม่ได้รับการคุกคามแต่อย่างใด และแล้วพวกเขาก็สามารถเปิดกรุงคอนสแตนติโนเปิลได้สำเร็จ”

2 عنأمحرامأنهاسمعتالنبيصلىاللهعليهوسلميقول: أولجيشمنأمتييغزونمدينةقيصرمغفورلهم ,فقلت: أنافيهميارسولالله؟قال : لا..."وهيالقسطنطينية

2. อุมมุฮิรอมเล่าว่าท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮูอะลัยฮิวาซัลลัม กล่าวว่า :
“กองทัพแรกจากประชาชาติของฉันที่ทำสงครามกับนครแห่งกษัตริย์ไกเซอร์จะได้รับการอภัยโทษจากอัลลอฮ” ดังนั้นฉันจึงกล่าวว่า “โอ้ท่านรอซูล! ฉันเป็นหนึ่งในหมู่พวกเขาด้วยใช่ไหม” ท่านตอบว่า “ไม่…มันคือกรุงคอนสแตนติโนเปิล”

(3 )عنعوفبنمالكقال : قالرسولاللهصلىاللهعليهوسلم : اعداد
ستانينيديالساعة : .......... ( ومنها ) : وفتحالقسطنطينية

3. เอาฟ์ บิน มาลิก เล่าว่าท่ารอซูล ศ็อลลัลลอฮูอะลัยฮิวาซัลลัม กล่าวว่า :
“จงนับ 6 อย่างที่จะเกิดขึ้นระหว่างการสิ้นโลก (หนึ่งในจำนวนนั้นคือ) และการพิชิตกรุงคอนสแตนติโนเปิล”

4عنمعاذبنجبلقال : قالرسولاللهصلىعليهوسلم : عمرانبيتالمقدسخرابيثرب , وخرابيثربخروبالملحمة،وخروجالملحمةفتحالقسطنطينية،وفتحالقطنطينيةخروجالدجال .

4. มุอาซ บิน ญะบัลเล่าว่าท่านรอซุล ศ็อลลัลลอฮูอะลัยฮิวาซัลลัม กล่าวว่า :
“การบูรณะอัลกุดส์คือการล่มสลายของยัซริบ (มดีนะห์) และการล่มสลายของยัซริบคือเกิดการสู้รบ และการสู้รบคือการเปิดกรุงคอนสแตนติโนเปิล และการเปิดกรุงคอนสแตนติโนเปิลคือการออกมาของดัจญัล”

5 عنبشراالغنويعنالنبيصلىاللهعليهوسلمقال : " لتفتحنالقسطنطينيةولنعمالأميرأميرها،ولنعمالجنشذلكالجيش "

5. บิซร์ อัลเฆาะนะวีย์ เล่าว่าท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮูอะลัยฮิวาซัลลัม กล่าวว่า :
“แท้จริงกรุงคอนสแตนติโนเปิลจะถูกพิชิตโดยพวกเจ้า และแท้จริงอะมีรที่ดีที่สุด คืออะมีรที่สามารถพิชิตมัน และแท้จริงกองทหารที่ดีที่สุดคือกองทหารของอะมีรนั้น”
6. อบูฮุรอยเราะห์เล่าว่า ท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮูอะลัยฮิวาซัลลัม กล่าวว่า :
“พวกเจ้าเคยได้ยินชื่อเมืองที่ส่วนหนึ่งของมันติดกับพื้นดินและอีกส่วนหนึ่งของมันติดกับทะเลหรือไม่ ?” พวกซอฮาบะห์ตอบว่า “ใช่ โอ้ท่ารอซูล” ดังนั้นท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮูอะลัยฮิว่าซัลลัมจึงกล่าวว่า “วันสิ้นโลกจะไม่เกิดขึ้นจนกว่าจะมีลูกหลานของบนีอิสฮากจำนวน 70,000 ทำสงครามกับมัน พอพวกเขาได้ไปถึงยังเมืองดังกล่าว พวกเขาจะตั้งค่ายอยู่ตรงนั้นโดยที่พวกเขาไม่ได้ทำสงครามด้วยอาวุธและไม่ได้ยิงด้วยธนูแต่อย่างใด เพียงแต่พวกเขากล่าวคำว่า “ลาอิลาฮาอิลลัลลอฮ วัลลอฮูอักบัร” เท่านั้นเองฟากที่ติดกับทะเลของเมืองนี้ก็จะถูกพิชิตลง แล้วพวกเขาก็กล่าวอีกเป็นครั้งที่สอง “ลาอิลาฮาอิลลัลลอฮ วัลลอฮูอักบัร” ดังนั้นอีกฟากหนึ่งที่ติดกับพื้นดินก็ถูกพิชิตลงอีก หลังจากนั้นพวกเขาจึงกล่าวเป็นครั้งที่สาม “ลาอิลาฮาอิลลัลลอฮ วัลลอฮูอักบัร” อัลลอฮจึงเปิดเมืองให้กับพวกเขา ดังนั้นพวกเขาจึงเดินทางเข้าไปในเมืองและทำการยึดทรัพย์สิน ในขณะที่พวกเขากำลังแบ่งปันทรัพย์สินอยู่นั้น ทันใดพวกเขาได้ยินเสียงร้องตะโกนขึ้นมาว่า แท้จริงดัจญาลได้ออกมาแล้ว ดังนั้นพวกเขาจึงทิ้งทุกสิ่งทุกอย่างและเดินทางกลับ”
7. อัลดุลลอฮ บินอัมรู บินอัลอาส เล่าว่า
“ในขณะที่พวกเรากำลังรายล้อมท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮูอะลัยฮิวาซัลลัม เพื่อเขียนคำพูดของท่าน ก็ได้มีชายคนหนึ่งถามท่านรอซูลกล่าวว่า : ศ็อลลัลลอฮูอะลัยฮิวาซัลลัม ขึ้นมาว่า “ระหว่างกรุงคอนสแตนติโนเปิลกับเมืองโรมา เมืองไหนจะถูกเปิดก่อน ?” ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮูอะลัยฮิวาซัลลัม ตอบว่า “เมืองเฮรเกิลจะถูกเปิดก่อน (หมายถึงกรุงคอนสแตนติโนเปิล)”
จากฮะดีษข้างต้นทำให้เข้าใจว่า การเปิดกรุงคอนสแตนติโนเปิลนั้นเกิดขึ้นสองครั้งด้วยกัน ครั้งแรกเป็นการพิชิตด้วยการทำการศึกสงครามซึ่งเกิดขึ้นในสมัยการปกครองของอาณาจักรออตโตมานภายใต้การนำของจอมทัพสุลต่านมุหัมมัดอัลฟาติห์ และครั้งที่สองเป็นการพิชิตด้วยเสียงตักบีรและตะห์ลีลเท่านั้นโดยปราศจากการต่อสู้แต่อย่างใด ซึ่งจะเกิดขึ้นก่อนหน้าที่ดัจญัลจะออกมาอาละวาด แต่สิ่งที่น่าสังเกตจากฮะดีษข้างต้น คือฮะดีษกล่าวว่า “กรุงคอนสแตนติโนเปิลจะถูกเปิดโดยลูกหลานของบนีอิสฮาก จำนวน 70,000 คน ซึ่งที่จริงแล้วลูกหลานบนีอิสฮากก็คือชาวโรมันนั่นเอง เพราะพวกเขามาจากเชื้อสายของอัลอัยซ์ บิน อิสฮาก บิน อิบรอฮิม ดังนั้นจะเป็นไปได้อย่างไรกันที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลอันเป็นศูนย์กลางของพวกเขาจะถูกพิชิตโดยมือพวกเขาเอง
มุสตอฟา ชะลาบีย์กล่าวว่า :“อุลามาอฺจำนวนไม่น้อยได้ยกฮะดีษดังกล่าวเป็นหลักฐานยืนรยันว่าแท้จริงชาวโรมันในช่วงสุดท้ายแห่งวันสิ้นโลกจะเข้ารับการอิสลามและร่วมกับกองทัพมุสลิมในการพิชิตกรุงคอนสแตนติโนเปิล” วัลลอฮุอะลัม
อิบนูกาซีรมีความเห็นว่า:“ฮะดีษนี้บ่งบอกว่าแท้จริงชาวโรมันจะเข้ารับอิสลาม (ในช่วงสุดท้ายแห่งวันสิ้นโลก) และบางทีการพิชิตกรุงคอนสแตนติโนเปิลจะเกิดขึ้นด้วยน้ำมือของพวกเขาส่วนหนึ่ง ดังฮะดีษข้างต้นที่ได้กล่าวไว้ว่า ลูกหลานของบนีอิสฮากจำนวน 70,000 คน จำทะสงครามพิชิตกรุงคอนสแตนติโนเปิล…”
ฮะดีษที่เล่าโดยอบูฮุรอยเราะห์เกี่ยวกับการสู้รบของชาวโรมันก็เป็นอีกหลักฐานหนึ่งที่บ่งบอกว่าชาวโรมันจะเข้ารับการอิสลามในช่วงสุดท้ายแห่งกาสิ้นโลกหรือกิยามัต ซึ่งชาวโรมันหรือผู้ปฏิเสธได้ขอให้มุสลิมหลีกทางให้พวกเขาได้สู้รบกับชาวโรมันที่ถูกจับเป็นเชลยและเข้ารับอิสลามแล้ว แต่ชาวมุสลิมไม่ยอมและอ้างว่าพวกเขาเป็นพี่น้องของตน จนเกิดการสู้รบกันขึ้นในที่สุด…
อิมามอัลนาวาวีย์กล่าวว่า :“ข้อเท็จจริงอันนี้ได้เกิดขึ้นในสมัยของเรา ยิ่งกว่านั้นค่ายทหารอิสลามในเมืองชามและอียิปต์ส่วนใหญ่ล้วนมาจากกองเชลยศึกที่เข้ารับอิสลามและปัจจุบัน อัลฮัมดุลิลละห์ พวกเขากลับจับชาวผู้ปฏิเสธมาเป็นเชลยศึกต่อ…”
การพิชิตหรือเปิดกรุงคอนสแตนติโนเปิลที่กล่าวถึงในฮะดีษเกิดขึ้นโดยปราศจากการสู้รบด้วยอาวุธสงคราม แต่ใช้การตักบีรหรือตะห์ลิลเท่านั้น ซึ่งแน่นอนการพิชิตอันนี้ยังไม่เกิดขึ้นจนถึงปัจจุบัน
ติรมิซีย์ได้ยกรายงานจากอานัส บิตน มาลิก ท่านกล่าวว่า :“การพิชิตคอนสแตนติโนเปิล (ที่ถูกกล่าวถึงในฮะดีษ) จะเกิดขึ้นพร้อมกับการสิ้นโลก”
ส่วนการพิชิตที่เกิดขึ้นโดยฝีมือของกองทหารแห่งอาณาจักออตโตมานภายใต้การนำของสุลต่านมุหัมมัดอัลฟาติห์นั้นเกิดด้วยการสู้รบ ซึ่งการพิชิตดังกล่าวถือเป็นการเปิดทางสำหรับการพิชิตครั้งยิ่งใหญ่ และการที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลตกอยู่ภายใต้การปกครองของชาวยุโรปผู้ปฏิเสธหลังการล่มสลายของเคาะลีฟะห์อิสลามียะห์นั้นเป็นการตอกย้ำถึงการหวนกลับมาของการพิชิตครั้งยิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง อินชาอัลลอฮ วัลลอฮุอะลัม

3.1.5 ทำไมชาวมุสลิมถึงมั่งมั่นที่จะพิชิตกรุงคอนสแตนติโนเปิล
สาเหตุสำคัญที่ผลักดันให้บรรดานักรบมุสลิมมุ่งมั่นที่จะพิชิตกรุงคอนสแตนติโนเปิลพอสรุปได้ดังต่อไปนี้ :
1. ความศรัทธาอันแน่วแน่ต่อคำสัญญาของอัลลอฮตามที่ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮูอะลัยฮิวาซัลลัมได้กล่าวไว้ว่า “(สักวันหนึ่ง) เมืองนี้ต้องถูกพิชิตและแท้จรริงอามีรที่ดีที่สุดคืออามีรที่สามารถพิชิตเมืองนี้ และทหารที่ดีที่สุดคือทหารของอามีรนี้” และในฐานะที่เป็นมุสลิมผู้ศรัทธามั่นคนหนึ่ง จึงหวังว่าคงจะได้เป็นหนึ่งในบรรดากองทหารผู้พิชิตตามที่ท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮูอะลัยฮิวาซัลลัมได้กล่าวชมเชยไว้.
2. ในขณะที่กรุงมะดาอีนและอาณาจักเปอร์เซียนั้นกองทหารมุสลิมสามารถพิชิตได้อย่างไม่ยากเย็นนัก ส่วนกรุงคอนสแตนติโนเปิลอันเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรโรมันตะวันออกหรือไบแซนไทน์และเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรม กลับยืนหยัดอยู่ได้นับร้อยปีโดยไม่มีกองทหารใดสามารถพิชิตมันได้ ดังนั้นจึงถือว่าอำนาจความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรอิสลามยังไม่สมบูรณ์จนกว่าจะสามารถพิชิตกรุงคอนสแตนติโนเปิลได้.
3. กรุงคอนสแตนติโนเปิลเป็นเมืองที่สวยงามและมีทำเลที่ตั้งทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญยิ่ง เพราะเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างทวีปยุโรปกับเอเชีย ดังนั้นการครอบครองกรุงคอนสแตนติโนเปิลจึงเท่ากับว่าได้ครอบครองทั้งสองทวีปอย่างสมบูรณ์.

3.1.6 กษัตริย์กรุงคอนสแตนติโนเปิลคนสุดท้าย
สมัยสุลต่านมูฮัมหมัด อัลฟาตีฮฺ เป็นเคาะลีฟะฮฺ ในราชอาณาจักรอับบาซียะฮฺอยู่นั้น เป็นช่วงเวลาของกษัตริย์คนที่ 11 ได้ปกครองไบแซนไตน์ท่านเป็นกษัตริย์ ในปี 853 ฮ.ศ. ซึ่งมีอายุยังน้อย และท่านมีความรู้สึกว่าประเทศชาติจะถูกรุกรานจากศัตรูที่อันตรายที่สุดประจวบทหารของท่านอยู่ในยุคอ่อนแอ ไม่สามารถจะปกป้องคุ้มเมืองได้ ด้วยเหตุดังกล่าวท่านได้ทุ่มเทแรงกำลังกาย และใจในการเตรียมการป้องกันจากการโจมตีของทหารบานีย์อุสมาน และท่านได้สร้างความสัมพันธ์กับประเทศยุโรปอีกด้วย
ขั้นตอนแรกในการสร้างความสัมพันธ์กับประเทศยุโรป เพื่อให้มาสนับสนุนท่านนั้น ท่านได้ขอหมั้นกับมารียะฮฺ อัซซอรบียะฮฺ ซึ่งในเวลานั้น มารียะฮฺมีอายุ 50 ปี แต่กษัตริย์กรุงคอนสแตนโนเปิลมีอายุน้อยกว่าหลายปี จากการหมั้นดังกล่าวทำให้กษัตริย์กรุงคอนสแตนติโนเปิล มีความหวังทีจะได้รับการช่วยเหลือจาก ยูนบรันกูฟีตัซ(TondBaronKupitas)ซึ่งเป็นบิดาของมารียะฮฺ เพื่อป้องกันกรุงคอนสแตนติโนเปิล แต่ความหวังดังกล่าวไม่ประสบความสำเร็จเพราะการหมั้นนั้นไม่ได้รับการตอบรับจากมารียะฮฺ ซึ่งก่อนหน้านี้มารียะฮฺได้ตั้งจิตใจ (نذر ) เพื่อที่จะห่างไกลจากโลกภายนอกโดยการอิอฺตีกาฟ์1ต่อพระองค์อัลลอฮฺในโบสถ์แห่งหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตาม กรุงคอนสแตนติโนเปิลก็ยังมีความหวังที่จะได้รับการช่วยเหลือจากชาวยุโรป เพราะเขามีความมันใจว่า หากมุสลิมเข้าโจมตีกรุงคอนสแตนติโนเปิลเมื่อไร ชาวยุโรปต้องให้ความช่วยเหลืออยู่ดี
เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้กษัตริย์กรุงคอนสแตนติโนเปิลส่งตัวแทนเพื่อขอความช่วยเหลือจากกษัตริย์ยุโรป และบาบอนาดูลา ที่ 5 โดยกล่าวไว้ว่า :
ถ้าหากกรุงคอนสแตนติโนเปิลตกอยู่ภายใต้การปกครองของอิสลามแล้ว แน่นอนอีตาลีจะถูกโจมตีจากมุสลิมต่อไป และได้กล่าวเกี่ยวกับความพยายามในการรวมมือจาก 2โบสถ์ที่ดังกล่าว (ตะวันตกและตะวันออก)แต่พยายามดังกล่าวไม่สำเร็จเช่นกัน
3.1.7 ยกเลิกการสัญญา
เป็นสิ่งที่แปลกประหลาดใจมากที่กษัตริย์กรุงคอนสแตนติโนเปิล รู้ถึงความประสงค์ ของสุลต่าน มูฮัมหมัดในการโจมตีและพิชิตกรุงคอนสแตนติโนเปิล ดังนั้นกษัตริย์กรุงคอนสแตนติโนเปิลจึงได้ยกเลิกสัญญาที่ทำไว้กับอาณาจักรอุษมานียะห์ ซึ่งเป็นสัญญาที่สุลต่านมูฮัมหมัด อัลฟาตีห์ล่อลวงให้ทำ จากนั้นกษัตริย์กรุงคอนสแตนติโนเปิลที่ 11 ได้ส่งตัวแทนไปยังสุลต่านอัลฟาตีห์เพื่อข่มขู่สุลตาน แต่สุลต่านให้การต้อนรับตัวแทนดังเป็นอย่างดี และได้มีการทำสัญญาในการเจรจาไว้ด้วย หลังจากนั้นท่านได้ทำการเตรียมพร้อมในการพิชิตกรุงคอนสแตนติโนเปิล .
ในการพิชิตกรุงคอนสแตนติโนเปิลครั้งนี้ สุลต่านรู้สึกว่าฝ่ายอิสลามไม่สบายใจ หลังจากที่ได้ฟังข่าวว่า ฝ่ายยิวได้ปิดล้อมพวกเขาจากทางทะเลและทางบก บิดาของสุลต่านอัลฟาตีห์ห์คือ มูรอดที่ สอง ได้สาบานก่อนเกิดการสงครามวารนะฮฺ ซึ่งสุลต่านอัลฟาตีห์เองก็ได้สาบาน เช่นกัน ว่า “ถ้าหากพระองค์ อัลลอฮฺ ได้ยกบาลอนี้จากฉันแน่นอนฉันจะยกทัพในเวลาเดียวกันไปยังกรุงคอนสแตนติโนเปิล” จากนั้นท่านได้พยายามปฎิบัติและดำเนินตามที่ท่านได้สาบานไว้ เพื่อปิดล้อม และพิชิตกรุงคอนสแตนติโนเปิล แต่ไม่ได้รับความสำเร็จ ท่านสุลต่านอัลฟาตีห์ได้จดจำคำตักเตือน ( วูซียะห์ ) ของปู่ไว้ตลอดเวลาในการพิชิต กรุงคอนสแตนโนเปิล จากวูซียะห์ดังกล่าวสุลต่านอัลฟาตีห์ รู้สึกไม่สบายใจตลอดเวลาจนกว่ากรุงคอนสแตนติโนเปิลจะถูกพิชิตโดยท่านเอง
3.1.8 การเตรียมพร้อมของกษัตริย์ที่ 11 ในการป้องกันกรุงคอนสแตนติโนเปิล
จากการโจมตีของสุลต่านอัลฟาตีฮฺ
กษัตริย์ที่ 11 ของกรุงคอนสแตนติโนเปิลได้พยายามซ่อมแซม ปรับปรุงป้อมปราการและประตูเข้าเมืองพร้อมทั้งเสบียงอาหารและศาสตราวุธต่างๆและได้เตรียมทหารที่ใช้อาวุธสงครามในการเผชิญหน้ากับทหารของสุลต่านอัลฟาตีห์และท่านได้ส่งตัวแทนจากยุโรปเพื่อขอความช่วยเหลือจากเปาส์ : แท้จริงมัจมะอฺฟลูรนะห์ได้ตัดสินใจที่จะร่วมมือกับสองโบสถ์ คือตะวันตกและตะวันออก และได้ขอต่อเขาเพื่อจัดส่งกำลังคนเพื่อให้กิจกรรมดังกล่าวได้สำเร็จโดยเร็ว แต่กษัตริย์ของยุโรป และผู้ใหญ่มีจุดยืนต่อการเรียกร้องของรัฐบาลกรุงคอนสแตนติโนเปิลเพราะต่างคนต่างก็มีความขัดแย้งกัน ฉะนั้นข้อเรียกร้องของกษัตริย์กรุงคอนสแตนติโนเปิลจึงไม่ได้รับการตอบรับ
แต่อย่างไรก็ตามมีการช่วยเหลือได้บ้าง เช่น ได้ส่งกำลังทหารต่อรัฐกรุงคอนสแตนติโนเปิล การช่วยเหลือดังกล่าว ทำให้ชาวกรุงคอนสแตนติโนเปิลหายจากความรู้สึกที่กลัว และหวาดผวาต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และในเวลาเดียวกันได้มีเรือสองลำจากเมือง บุนดูกียะห์ ซึ่งเดินทางมาโดยผ่านคลื่นทะเลที่มีแรงลมพัดพาอย่างรุนแรงผ่านทะเลบอสฟารา และเข้าไปช่องแคบคอรนูซาฮาบีย์ด้วยความปลอดภัย
หลังจากนั้นกัรดีนาร์ซึ่งเป็นตัวแทนเปาร์จากโรมันได้เดินทางมาถึงพร้อมกับมีนายทหารจำนวน 200 กว่าคน เพื่อให้ความช่วยเหลือทำให้เกิดมิตรภาพที่ดีระหว่างตะวันตกและตะวันออก . ในขณะเดียวกันเรือรบ จากเกาะกรีกจำนวน 8 ลำก็ได้ มาถึงเพื่อให้การช่วยเหลือชาวกรุงคอนสแตนติโนเปิล
ทันใดนั้นก็ได้มีบุคคลหนึ่งชื่อว่า จอร์น ยูนสตันนียาน ซึ่งเดินทางมาถึงโดยเรือใบที่เต็มไปด้วยสิ่งของสัมภาระและอาวุธสงคราม พร้อมกับเรือที่บรรทุก 800 นายทหาร การมาถึงของจอร์นได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีจากชาวกรุงคอนสแตนติโนเปิลและได้แต่งตั้งจอร์นเป็นแม่ทัพที่ยิ่งใหญ่ในการปกป้องบ้านเมือง
ผู้นำแม่ทัพใหม่เริ่มจัดระบบและวางแผนในการปกป้องกรุงคอนสแตนติโนเปิลเขาได้ติดตั้งปืนเล็กๆ บนถนน และได้จัดแบ่งทหารต่างชนชาติ พร้อมกับกำหนดหน้าที่ต่างๆ และฝึกปฏิบัติทหารที่ยังไม่รู้วิธีการทำสงคราม พวกเขาเหล่านั้นได้ทุ่มเทในการโจมตีมุสลิมและปกป้องกรุงคอนสแตนติโนเปิลไม่ให้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของมุสลิม
กษัตริย์กรุงคอนสแตนติโนเปิลที่11 ได้กำหนดสถานที่ให้จอร์น ยูนสตันนียานพร้อมนายทหารอยู่ปักหลักที่ประตู และสถานที่ที่สำคัญ เพราะจอร์นเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำสงครามและในการปกป้องกรุงคอนสแตนติโนเปิลนี้กษัตริย์ที่ 11ได้ ลงสนามรบด้วยตนเอง และกษัตริย์ที่ 11 ยังได้ทำสัญญากับจอร์นว่า หากจอร์นปกป้องการโจมตีของชาวตุรกีได้สำเร็จเขาจะมอบให้เกาะต่างๆ ให้จอร์น

3.1.9 การเตรียมพร้อมของสุลต่านมูฮัมหมัด อัลฟาตีห์
ที่เมืองอูดร์นะห์ซึ่งเป็น เมืองหลวงของราชอาณาจักรอุษมานียะห์ สุลต่านมูฮัมหมัด อัลฟาตีห์พยายามเดินหน้าต่อไปและไม่นิ่งเฉยต่อการเตรียมพร้อมในการโจมตีกรุงสแตนติโนเปิล ท่านได้รวบร่วมนายทหารพร้อมอาวุธ จากชาวเอเชีย , และยุโรปเพื่อปลุกระดมถึง”รูฮูลยีฮาด” ในหนทางของอัลลอฮฺด้วยหน้าที่รับผิดชอบ และผลบุญที่ดีงามจากพระองค์
ในช่วงเวลานั้นมีบุคคลหนึ่งซึ่งมีความสามารถในการสร้างปืนใหญ่ บุคคลผู้นั้นมีเชื้อสายฮังการี เขามีชื่อว่า อุรบาน 1 เขาชอบเดินทางและผจญภัยหลายๆ ประเทศเช่นประเทศแถบยุโรป การเดินทางของเขาแต่ละครั้ง เขาได้เสนอเสนอตัวต่อกษัตริย์ยุโรปแต่ไม่ได้รับการตอบรับจากกษัตริย์ยุโรปแม้แต่คนเดียว อูรบานไม่ย่อท้อเขาเดินทางต่อไปสู่กรุงคอนสแตนติโนเปิลเพื่อเสนอตัวอีกหนึ่งเช่นไม่ได้ตอบรับ ไม่สนใจการเสนอตัวของเขา สุดท้ายเขาเดินไปหาสุลต่านมูฮัมหมัด อัลฟาตีห์ทำให้เขาได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี และได้มีโอกาสแสดงความสามารถในการสร้างปืนใหญ่ให้เสร็จดังความต้องการของสุลต่าน
มีอยู่วันหนึ่งสุลต่าน อัลฟาตีห์ได้ถามเขาว่า: ท่านสามารถสร้างปืนใหญ่ได้หรือเปล่าซึ่งก่อนหน้านี้ท่านไม่เคยสร้างปืนใหญ่มาก่อน ? อุรบานตอบว่า : ฉันสามารถสร้างปืนใหญ่ที่สามารถโจมตีและถล่มกำแพงที่แข็งแกร่งของกรุงคอนสแตนติโนเปิลไม่ว่ากำแพงนั้นมีความแข็งแกร่งดังกรุงบาบาล แท้จริงแล้ว ฉันเป็นนักวิศวกรรมไม่ใช่ทหาร ฉะนั้นฉันไม่รู้ว่าปืนใหญ่ที่จะสร้างนั้นจะตั้งอยู่ตรงจุดใหน ? สุลต่าน อัลฟาตีห์ยิ้มพร้อมกับกล่าวว่า : ไม่เป็นไร ฉันเป็นทหาร ฉันรู้ดีว่าจะตั้งจุดใหน แต่ฉันต้องการให้ท่านสร้างปืนใหญ่ให้เสร็จ ส่วนที่ตั้งของปืนใหญ่นั้นเป็นหน้าที่ของฉันเพราะฉันรู้ดีในเรื่อง
อูรบานเริ่มสร้างปืนใหญ่โดยมีผู้ช่วยสองคนจากตุรกี ท่านผู้นั้นก็คือ ซอรียะห์ และมัสลาฮูดดีน โดยมีสุลต่านเป็นผู้ควบคุมดูแลงานในครั้งนี้ หลังจากนั้นสามเดือนอูรบานได้ทุ่มเท เสียสละทั้งแรงกำลังกายและใจในการสร้างปืนใหญ่เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของสุลต่าน ซึ่งในที่สุดก็ประสบความสำเร็จได้รับปืนใหญ่ที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ปืนใหญ่นั้นมีน้ำหนัก 700 ตัน กระสุนลูกหนึ่งมีน้ำหนัก 12,000 กาตี การยกกระสุนดังกล่าวต้องใช้พลังวัว 100 ตัว และกำลังคนผู้ชายที่แข็งแรง 100 คน ซึ่งตอนที่กำลังดึงปืนใหญ่ให้เคลื่อนที่นั้นดูเหมือนกับเต่าที่กำลังเดิน
การทดลองใช้ปืนใหญ่ครั้งแรกได้ทำที่เมืองอูดร์นะซึ่งทำให้มีเสียงดังถึง 13 ไมล์ ด้านล่างจมใต้ดิน 6 เมตร ใช้เวลาในการดึงจากเมืองอูดร์นะถึงบริเวณกำแพงเมืองคอนสแตนติโนเปิลเป็นระยะเวลา 2 เดือน ซึ่งถ้าคิดเป็นระยะทางเดินปกติจะใช้เวลาเพียงแค่ 2 วันเท่านั้น และอูรบานได้สร้างปืนใหญ่อีกลูกหนึ่งมีชื่อว่า “ปืนใหญ่สุลต่าน” (maryam sultan) ดังนั้นความพร้อมทางด้านอาวุธของบานีย์อุษมาน (อาณาจักรออตโตมาน) นั้นเกินกว่าใครๆ ในโลกนี้ ด้วยความพร้อมอันนี้ทำให้การพิชิตกรุงคอนสแตนติโนเปิลประความสำเร็จในสมัยสุลต่านมูฮัมหมัด อัลฟาตีห์
หลังจากนั้นออกคำสั่งให้สร้างเรือรบใหม่เพิ่มและทำการซ่อมแซมเรือเก่าและไปตั้งหลักอยู่ที่อ่าวมัรมาราเพื่อสกัดกั้นเรือของศัตรูที่จะมาให้ความช่วยเหลือต่อกรุงคอนสแตนติโนเปิล เรือรบของออตโตมานมีหลายรูปแบบมีทั้งหมด 400 ลำ 12 ลำ ใช้บรรทุกอาวุธสงคราม
ในวันศุกร์ 20 รอบีอูอาวัล ปี 857 ฮ.ศ. สุลต่านมูฮัมหมัด อัลฟาตีห์ ได้เตรียมสิ่งของต่างๆ และทำความสะอาดสถานที่รอบๆ บริเวณกรุงคอนสแตนติโนเปิลพร้อมกับสกัดกั้นประเทศที่ใกล้เคียงกับกรุงคอนสแตนติโนเปิลเพื่อไม่ให้ความช่วยเหลือช่วงเวลาสงคราม สุดท้ายสุลต่านมูฮัมหมัด อัลฟาตีห์รวบร่วมทหาร (ทหารทางการและทหารไม่ทางการ) เพื่อปลูกฝังทางด้านจิตใจเกี่ยวกับเรื่องการต่อสู้ในหนทางของ
อัลลอฮฺ ( ยีฮาด ) ด้วยการศรัทธาในอิสลามที่แท้จริง (ฮาซัน นิมาตูลลอฮฺ , 1420:14-30)

3.1.10 การโจมตีในสมัยสุลต่านมุหัมมัด อัลฟาติห์
สุลต่านมุหัมมัด อัลฟาติห์ เป็นสุลต่านผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่งในบรรดาสุลต่านแห่งอาณาจักรออตโตมาน ถึงระดับแกนนำด้านการเมืองระหว่างประเทศในสมัยนั้น ความสัมพันธ์ด้านการเมืองและการสงครามในสมัยท่านครอบคลุมทั้งสามทวีป ทวีปยุโรป เอเชีย และอัฟริกา ท่นเป็นสุลต่านแห่งอาณาจักรออตโตมานคนแรกที่มีชื่อเสียงกระฉ่อนเป็นที่รู้จักกันของชาวยุโรปและมีการกล่าวขานอย่างมาก ยิ่งไปกว่านั้นท่านเป็นผู้บุกมรดกมุสลิมคนแรกที่ชาวยุโรปได้ขนานนามว่า “ผู้ทำผู้ยิ่งใหญ่” ท่านไม่เพียงแต่สามารถพิชิตกรุงอันแข็งแกร่งอย่างคอนสแตนติโนเปิลนั้น แต่ทว่าท่านยังเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ยุโรปอีกด้วย
ก่อนที่สุลต่านมุรอดอัลซานี ผู้เป็นบิดาจะสิ้นชีวิตท่านได้สั่งเสียให้ปฏิบัติตามคำสั่งเสียของสุลต่านอุสมาน บิน อริตฆอล ผู้เป็นปู่ด้วยการพิชิตกรุงคอนสแตนติโนเปิล และท่านเคยได้ยินคำสาบานของผู้เป็นบิดาในขณะที่อยู่ในสมรภูมิที่เผชิญกับกองทัพครูเสดว่า :
“หากแม้นว่าอัลลอฮได้ยกภัยพิบัติอันนี้ออกจากฉัน แน่นอนฉันจะยกทัพไปยังกรุงคอนสแตนติโนเปิลทันที”

3.1.11 เตรียมความพร้อมเพื่อพิชิตกรุงคอนสแตนติโนเปิลของสุลต่าน
สุลต่านมุหัมมัด อัลฟาติห์ เล็งเห็นว่าการพิชิตกรุงคอนสแตนติโนเปิลนั้นไม่เพียงแต่เป็นการสานความฝันที่ศรัทธามั่นของท่านและของปู่ของท่านให้เป็นจริงเท่านั้น แต่มันยังทำให้การพิชิตเมืองต่างๆ ของอาณาจักรออตโตมานในเขตอ่าวบอลข่านสะดวกและง่ายดายขึ้นด้วย จนทำให้อาณาจักรออตโตมานของท่านมีการต่อเชื่อมกันอย่างไม่ขาดตอนระหว่างเอเชียและยุโรป เพราะกรุงคอนสแตนติโนเปิลเป็นแผ่นดินศัตรูที่ตั้งตระหง่านอยู่บนเส้นทางที่สกัดกั้นระหว่างแผ่นดินแถบยุโรปกับแผ่นดินทางเอเชียของอาณาจักรออตโตมาน ดังนั้นสุลต่านจึงเริ่มจัดเตรียมความพร้อมเพื่อทำความกวาดล้างขวากหนามดังกล่าวด้วยการพิชิตกรุงคอนสแตนติโนเปิล
ในการเตรียมความพร้อมสู่การพิชิตกรุงคอนสแตนติโนเปิลในครั้งนี้สุลต่านมุหัมมัดได้จัดเตรียมแผนการต่างๆ ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. พยายามตัดความสัมพันธ์ระหว่างกรุงคอนสแตนติโนเปิลกับเมืองใกล้เคียงด้วยการทำสนธืสัญญาสงบศึกกับเมืองบนีดุกิยะห์ อัมลาก เมเจอร์ บอสเนียร์ และอื่นๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เมืองดังกล่าวให้ความช่วยเหลือแก่กรุงคอนสแตนติโนเปิลได้ในภายหลัง และสุลต่านได้สัญญาสงบศึกชั่วคราวกับกษัตริย์โฮเนียดแห่งเมืองเมเจอร์เป็นระยะเวลา 3 ปี
2. ทำการสร้างป้อมปราการโรมัลลี ปี 856 ฮ.ศ. (1452 ค.ศ.) ในเขตช่องแคบบอสฟอรัสทางชายฝั่งยุโรป ซึ่งตั้งอยู่ตรงข้ามกับป้อมปราการที่สุลต่านบายะซีดที่หนึ่งได้สร้างไว้บนเขตที่แคบที่สุดของช่องแคบอนาโตเลียทางชายฝั่งเอเชีย เป้าหมายในการสร้างป้อมปราการโรมัลลีในครั้งนี้เพื่อจะปิดช่องทางเดินเรือระหว่างทะเลดำและทะเลมัรมารา และเพื่อสกัดกั้นความช่วยเหลือต่างๆ ที่มาจากทะเลดำแก่กรุงคอนสแตนติโนเปิล การสร้างในครั้งนี้กินเวลาประมาณ 4 เดือน (26 ชะบาน 856 ฮ.ศ.) โดยมีรูปทรงสามเหลี่ยม สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 82 เมตร ผนังมีความหนาถึง 20 ฟุต ทุกมุมจะมีหอคอยอันมหึมาจำนวนสามหอคอยที่ทอดยาวไปยังชายฝั่งมีความสูงประมาณ 26.70 เมตร ใช้พื้นที่ทั้งสิ้นประมาณ 30,250 ตารางเมตร เพื่อตรวจตราและสอดส่องการเดินผ่านของเรือต่างๆ
3. ในเดือนเชาวัล 856 ฮ.ศ. สุลต่านได้ส่งตอรคอนไปยังป้อมเมาเราะห์ ณ เมืองอันดาลูซีย เพื่อเกลี้ยกล่อมไม่ให้ผู้ปกครองทั้งสองของเมืองอันดาลูเซียยื่นมือให้ความช่วยเหลือแก่กษัตริย์กรุงคอนสแตนติโนเปิล พร้อมกับส่งกองกำลังจำนวนหนึ่งเพื่อไปเคลียพื้นที่ใกล้เคียงกับกรุงคอนสแตนติโนเปิลให้ปลอดภัยปราศจากกระแสต่อต้านใดๆ.
4. หลังจากนั้นสุลต่านก็เริ่มทำการซ่อมแซมเรือรบและสร้างเกราะป้องกันเรือจากการโจมตี และทำการสร้างปืนใหญ่มีนักวิศวกรรมชื่ออูรบานเป็นช่างใหญ่
วันศุกร์ที่ 20 เราะบีอุลเอาวัล 857 ฮ.ศ. (1453 ค.ศ.) ก็ได้สิ้นสุดการเตรียมการด้านการทหารและความพร้อมต่างๆ ทั้งด้านอาวุธปืน ลูกระเบิด เสบียงอาหาร และสิ่งจำเป็นอื่นๆ

3.1.12 การปิดล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิลครั้งยิ่งใหญ่
วันพฤหัส ที่ 6 เมษายน 1453 (26 เราะบีอุลเอาวัล 857 ฮ.ศ.) กองทหารออตโตมานได้เดินทางเข้าไปประชิดกรุงคอนสแตนติโนเปิล และวันต่อมา (ศุกร์ที่ 27 เราะบีอุลเอาวัล 857 ฮ.ศ.)เริ่มทำการปิดล้อมทั้งทางบกและทางทะเล โดยประกอบด้วยทหารเรือจำนวน 20,000 นาย พร้อมกับเรือรบและเรือบรรทุกสัมภาระจำนวน 400 ลำ ในจำนวนนี้มี 14 ลำใช้บรรทุกอาวุธ ส่วนกองทหารบก มีทั้งสิ้นจำนวน 80,000 นาย และปืนใหญ่อีกจำนวน 200 กระบอก
แต่เนื่องจากสภาพทางภูมิศาสตร์ของกรุงคอนสแตนติโนเปิลและรูปร่างที่เป็นสามเหลี่ยม ผนวกกับมีกำแพงทั้งสองด้านที่แข็งแกร่ง ทำให้ยากแก่การเปิดเป้าโจมตี ดังนั้นสุลต่านมุหัมมัดจึงได้ใช้ยุทธวิธีการโจมตีใหม่ด้วยการแบ่งกองทหารออกเป็นสามหน่วยย่อยคือ
(1.) หน่วยขวา ประกอบด้วยกองทหารอนาโตเลีย โดยมี อิสฮาก บาซา เป็นแม่ทัพ และมะหมูด เบก เป็นรองแม่ทัพ หน่วยขวานี้จะประจำการอยู่ในแนวระยะทางระหว่างทะเลมัรมาราทางปีกใต้สุดจนถึงเขตตุบกุบู
(2.) หน่วยซ้าย ประกอบด้วยกองทหารจากยุโรป และนักรบอิสระ โดยมีกุรอฮยะห์ บาซา เป็นแม่ทัพ หน่วยซ้ายนี้จะประจำการอยู่ในแนวของกำแพงที่เริ่มจากปีกเหนือสุดของท่าเรือกอรนุนซะฮะบีย์ จนถึงประตูแอนเดรีย
(3.) หน่วยกลาง ประกอบด้วยกองทหารจากอิสกันดัร และกองทหารพิเศษ ซึ่งประกอบด้วยหน่วยพิเศษและหน่วยกล้าตาย โดยมีสุลต่านมุหัมมัดเองเป็นแม่ทัพ หน่วยกลางนี้จะประจำการอยู่ในแนวกำแพงส่วนกลาง ซึ่งเริ่มจากประตูตุบกุบูจนถึงประตูแอนเดรีย

ส่วนปืนใหญ่ก็ได้ถูกวางเรียงรายตามแนวกำแพง และได้ตั้งปืนสุลต่านที่ใหญ่ที่สุดตรงข้ามกับประตูกำแพงโรมานูส ซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักกันในนามของประตูปืนใหญ่ตุบกุบูในทะเลมัรมาราเรือรบของกองทัพออตโตมานทำการตระเวนอย่างพลุกพล่านเพื่อทำการตรวจตราและสังเกตการเลดลอดเขามาของเรือฝ่ายตรงข้าม
การปิดล้อมเริ่มเปิดฉากขึ้นด้วยการคำรามของปืนใหญ่อย่างต่อเนื่องทั้งกลางวันและกลางคืน สลับกับเสียงตักบีร “อัลลอฮุอักบัร” เป็นระยะๆ… การยิงปืนใหญ่ที่ติดต่อกันมีผลทำให้กำแพงรอบนอกตรงราบลุ่มลีกูสส่วนหนึ่งถูกทำลายลง และกองทหารออตโตมานได้ปีนป่ายขึ้นบนกำแพงด้วยตะขอเหล็ก ซึ่งบางคนสามารถปีนขึ้นไปถึงที่รองคานบนกำแพงและเกิดการปะทะกันขึ้นอย่างดุเดือด ในเวลาต่อมาสุลต่านมุหัมมัดได้สั่งให้กองทหารที่กำลังห้ำหั่นอยู่นั้นถอยกำลังออกมา หลังจากที่สุลต่านได้มองเห็นถึงความเสียหายของกำแพง กองกำลังที่กำลังปกป้องกรุงคอน สแตนติโนเปิลในบริเวณนั้น อาวุธ และความพร้อมของฝ่ายตรงข้าม ส่วนทหารเรือในทะเลมัรมาราก็พยายามทำลายโซ่เหล็กที่ถูกขึงไว้ตรงปากทางเข้าของท่าเรือกอรนุนซะฮะบีย์ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ความล้มเหลวในครั้งนี้ทำให้สุลต่านต้องปลดแม่ทัพทะเลญัลตะห์ โอฆเลย์ ออกจากหน้าที่และแต่งตั้งฮัมซะห์ บาชา แทนที่ พร้อมกับสั่งกำชับให้ระดมยิงกำแพงในเขตต่างๆ อย่างรุนแรงและหนักหน่วงกว่าเก่า และได้กล่าวแก่ฮัมซะห์ บาชา ว่า “ถ้าหากทำงานไม่สำเร็จก็จงอย่ากลับมาพบฉันในสภาพที่มีชีวิตอยู่”
สุลต่านได้พยายามงัดกลยุทธใหม่ๆ มาใช้ในการจู่โจมในครั้งนี้ จนในที่สุดอัลลอฮซุบฮานะฮูวะตะอาลาได้เปิดทางสว่างแก่สุลต่าน ด้วยการเจาะจงสนามรบและบังคับฝ่ายตรงข้ามให้ลงไปปะทะในบริเวรดังกล่าว ดังนั้นสุลต่านจึงเริ่มสลับแผนใหม่และทำการสลับเปลี่ยนทหารอย่างต่อเนื่องและเน้นการโจมตีทางบก
แผนดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่อ
1. ทำการยึดครองท่าเรือกอรนุนซะฮะบีย์
2. เพื่อโจมตีกรุงคอนสแตนติโนเปิลในส่วนที่อ่อนที่สุด
3. เพื่อเพิ่มการป้องกันจากกำแพงทางบก
4. เพื่อติดตามสังเกตการณ์ความเคลื่อนไหวของชาวฆอลตะห์ทางตอนใต้
5. ทำให้กองกำลังที่ปกป้องกรุงคอนสแตนติโนเปิลอยู่อย่างกระจัดกระจายไม่เป็นกลุ่ม
6. เพื่อให้มีการติดต่ออย่างมั่นคงและตลอดเวลาระหว่างกองกำลังออตโตมานที่กำลังจู่โจมอยู่กับฐานบัญชาการที่ป้อมโรมัลลี
7. เพื่อสร้างความตื่นตระหนกให้กับศัตรูด้วยยุทธวิธีการโจมตีที่ไม่คาดคิด
พร้อมกันนี้สุลต่านได้วางแผนเพื่อขนย้ายเรือรบจากน่านน้ำมัรมาราสู่ท่าเรือกอรนุนซะฮะบีย์โดยใช้เส้นทางบกทางด้านหลังเนินเขาฆอลตะห์ โดยจะเริ่มจากวิซาฮาดบัชก์ตอต จนถึงกอรนุนซะฮะบีย์ และพยายามเลี่ยงและห่างไกลเขตที่อยู่อาศัยของชาวฆอลตะห์ ซึ่งเส้นทางที่ใช้เป็นระยะทาง 3 ไมล์ โดยต้องผ่านเขตพื้นดินที่ขรุขระทำให้การขนย้ายในครั้งนี้เกิดความยากลำบากเป็นอย่างมาก ดังนั้นสุลต่านจึงสั่งให้ทหารปรับพื้นดินให้เรียบ และปูพื้นด้วยไม้กระดานที่ทาด้วยน้ำมันเพื่อให้ลื่นไหลตลอดระยะทางดังกล่าว แล้วทำการขนย้ายเรือรบเล็กซึ่งสามารถตัดผ่านระยะทางดังกล่าวอย่างง่ายดาย ด้วยวิธีการดังกล่าวสุลต่านสามารถขนย้ายเรือรบจากน่านน้ำบอสฟอรัสไปยังท่าเรือกอรนุนซะฮะบีย์ภายในคืนเดียว (คืนวันที่ 22 เมษายน 1453) จำนวน 70 ลำ และเพื่อเป็นการกลบเกลื่อนไม่ให้ฝ่ายตรงข้ามทันรู้สึกตัวต่อการขนย้ายในครั้งนี้และเบี่ยงเบนความสนใจของกองทหารไบแซนไทน์จากภารกิจดังกล่าว สุลต่านได้สั่งให้กระหน่ำยิงปืนใหญ่ที่ตั้งอยู่หลังกำแพงฆอลตะห์ และจากที่สูงของเนินเขาไปยังกำแพงที่ปิดบังกอรนุนซะฮะบีย์อย่างต่อเนื่องและรุนแรงตลอดทั้งคืน.
เช้าวันรุ่งขึ้นชาวกรุงคอนสแตนติโนเปิลต้องสะดุ้งตื่นขึ้นมาอย่างอกหวั่นขวัญผวากับเสียงร้องตักบีร “อัลลอฮุอักบัร” ของทหารออตโตมาน ทุกคนต่างแตกตื่นและมึนงงอย่างยิ่ง แทบไม่เชื่อสายตาตัวเองที่เห็นกองเรือจำนวนมากมายกำลังทอดสมออยู่อย่างเรียงรายในน่านน้ำท่าเรือกอรนุนซะฮะบีย์ ซึ่งสุลต่านได้สั่งให้เรือทุกลำเรียงติดกันจนทหารสามารถข้ามไปยังฝั่งบกของกรุงคอนสแตนติโนเปิลอย่างปลอดภัย เกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าวนักประวัติศาสตร์ชาวไบแซนไทน์ชื่อโดกาสซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่อยู่ในเหตุการณ์ดังกล่าวได้เล่าถึงความตกตลึงของเขาต่อวิธีการโยกย้ายเรือดังกล่าวว่า
“แท้จริงมันเป็นสิ่งอัศจรรย์ที่ไม่เคยมีใครได้ยิน และได้เห็นมันมาก่อนหน้านี้”
หลังจากนั้นสุลต่านได้สั่งให้สร้างสะพานลอยเหนือน่านน้ำอย่างเร่งด่วนเพื่อใช้เป็นฐานที่ตั้งของปืนใหญ่ที่จะใช้ยิงส่วนของกำแพงที่หันหน้ามายังท่าเรือกอรนุนซะฮะบีย์
กองทหารออตโตมานเริ่มโหมโจมตีใหม่อีกระลอกอย่างหนักหน่วงที่ราบลุ่มลีกูสสักพักหนึ่งก็ถอยกลับมายังฐานทัพ ในขณะเดียวกันสุลต่านได้สั่งย้ายปืนใหญ่ทั้งหมดที่ตั้งอยู่บนเนินเขาฆอลตะห์เพื่อไปเสริมปืนใหญ่ที่ตั้งอยู่หน้าประตูกำแพงโรมานูส และเพื่อเพิ่มอัตราการยิงไปยังกำแพงทางทะเลให้ได้หลายจุด.
หลังจากการปิดล้อมและจู่โจมอย่างหนักหน่วงและต่อเนื่องทั้งทางทะเลและทางบกเป้นเวลา 6 อาทิตย์ กำแพงส่วนที่เป็นเป้าโจมตีที่อยู่ระหว่างตัฆฟูรสราย ประตูแอนเดรีย ประตูโรมานูสในเขตที่ราบลุ่มลีกูส และใกล้กับประตูอัสกัร ก็สึกหรอและเกดความเสียหายอย่างหนัก ดังนั้นสุลต่านจึงส่งสารไปยังกษัตริย์คอนสแตนตินดัรกาเซซเพื่อ
“ให้ยอมแพ้และเดินทางออกจากกรุงคอนสแตนติโนเปิลพร้อมผู้ติดตามแต่โดยดี และให้คำมั่นสัญญาว่าจะไม่ทำร้ายเขาและผู้ติดตามแต่อย่างใด ส่วนผู้ที่ไม่ต้องการออกจากกรุงคอนสแตนติโนเปิล ทั้งตัวเขาและทรัพย์สินของเขาจะถูกคุ้มครองอย่างดีภายใต้การดูแลของสุลต่านและอาณาจักรออตโตมาน”
การปฏิบัติของสุลต่านดังกล่าว เพื่อเป็นการป้องกันการนองเลือดที่อาจจะเกิดขึ้นและหลีกเลี่ยงการทำลายล้างกรุงคอนสแตนติโนเปิล แต่ทว่ากษัตริย์ดัรกาเซซกลับปฏิเสธความหวังดีของสุลต่านดังกล่าว พร้อมกับให้คำสาบานว่าเขาจะปักหลักปกป้องกรุงคอนสแตนติโนเปิลด้วยชีวิต หากไม่สามารถกู้กรุงคอนสแตนติโนเปิลให้พ้นวิกฤติรักษาบัลลังค์ของเขาได้ เขาขอฝังตัวเองอยู่ใต้กำแพงแห่งนี้ตลอดไป
เห็นดังนั้นสุลต่านมุหัมมัดจึงเริ่มดำเนินแผนการครั้งสุดท้าย และหลังจากที่สุลต่านได้ทดสอบถึงกำลังใจของกองทหารและตรวจตราความพร้อมแล้ว สุลต่านก็ออกคำสั่งให้กองทหารทุกคนถือศีลอดในวันรุ่งขึ้น (อาทิตย์ที่ 18 ญุมาดิลเอาวัล 857 ฮ.ศ. (27 พฤษภาคม 1453 ค.ศ.)) เพื่อเป็นการชำระและขัดเกลาจิตใจให้สะอาด หลังจากนั้นสุลต่านก็เดินตรวจตราประเมินความเสียหายของกำแพงจากทะเลมัรมาราจนถึงท่าเรือกอรนุนซะฮะบีย์ แล้วก็กลับมายังที่พำนักของท่านและออกคำแถลงการณ์ครั้งสุดท้ายมีใจความว่า :
“…หากเราสามารถพิชิตและเปิดกรุงคอนสแตนติโนเปิลได้สำเร็จแสดงว่าเราประสบความสำเร็จในการปฏิบัติตามฮะดีษหนึ่งจากจำนวนฮะดีษของท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮูอะลัยฮิวาซัลลัม และความอัศจรรย์อันหนึ่งในบรรดาความอัศจรรย์ทั้งหลายของท่าน และส่วนที่เราจะได้รับตามคำทำนายของฮะดีษนี้การสรรเสริญสดุดีและยกย่อง ดังนั้นพวกเจ้าจงส่งข่าวดีแก่กองทหารของเราทั้งหลายว่า แท้จริงชัยชนะอันยิ่งใหญ่ที่เราจะได้รับนั้นจะเป็นการเพิ่มราศีให้กับอิสลามให้มีสถานภาพที่สูงเด่นและประเสริฐยิ่งขึ้น และทหารทุกคนต้องยึดปฏิบัติตามคำสอนของศาสนาอย่างเคร่งครัด จะไม่มีผู้ใดปฏิบัติค้านกับหลักคำสอนของอิสลาม พวกเจ้าจงหลีกเลี่ยงจากโบสถ์ สถานที่กราบไหว้บูชา จงอย่าแตะต้องมันด้วยสิ่งที่ไม่ดีต่างๆ จงละเว้นบรรดานักบวช ผู้อ่อนแอ คนชรา และสตรีที่ไม่ขัดขืนหรือต่อสู้กับเรา…” หลังจากนั้นสุลต่านก็เดินเข้าไปในเต็นท์และพักผ่อนอย่างสงบสุขอยู่ในนั้น
เวลาประมาณตีหนึ่งของเช้าวันอังคารที่ 20 ญุมาดัลอูลา 857 ฮ.ศ. (29 / 5 / 1453 ค.ศ.) กองทัพออตโตมานภายใต้การนำของสุลต่านมุหัมมัดก็เริ่มบุกโจมตีเพื่อทะลวงกำแพงกรุงคอนสแตนติโนเปิลทั้งทางบกและทางทะเลอีกครั้งหนึ่ง โดยเน้นการโจมตีบริเวณที่ราบลุ่มลีกูส เนื่องจากกำแพงบริเวณดังกล่าวได้ประสบกับการสึกหรอและพังทลายอย่างมาก ในการเผชิญหน้ากับกำแพงกรุงคอนสแตนติโนเปิลและกองทหารไบแซนไทน์ในครั้งนี้สุลต่านได้จัดแบ่งกองทหารออกเป็นสนามชุด คือ
(1.) ชุดที่หนึ่ง เป็นกองทหารโรมัลลีกับกองทหารอาสาสมัครทั่วไป กองทหารชุดนี้จะเป็นทหารแนวหน้าที่ต้องเข้าใกล้กำแพงเมืองและหยุดอยู่ ณ จุดยิงธนูจากกำแพง และทำการยิงธนูและขว้างปาก้อนหิน และส่วนหนึ่งของกองทหารชุดนี้ได้เข้าไปประชิดกำแพงและพยายามใช้บันไดเพื่อปีนขึ้นไปยังบนกำแพงจนบางคนสามารถปีนขึ้นยังบนกำแพงสำเร็จและเกิดการปะทะกันอย่างดุเดือดเป็นเวลาเกือบสองชั่วโมง สุลต่านก็ออกคำสั่งให้ถอยจากการโจมตีมายังศูนย์บัญชาการเพื่อพักผ่อน หลังจากนั้นสุลต่านก็ส่งกองทหารชุดที่สองเพื่อออกศึกต่อไป
(2.) ชุดที่สอง เป็นกองทหารจากอนาโตเลีย กองทหารชุดนี้มีการฝึกซ้อมดีกว่าชุดแรกและเป็นระเบียบมากกว่า พวกเขามีหน้าที่โจมตีตรงจุดที่มีการปะทะกันของกองทหารชุดแรก โดยที่กองทหารไบแซนไทน์คิดว่าทหารออตโตมานได้พ่ายแพ้แตกกระเจิงไปแล้ว แต่ไม่ทันที่พวกเขาจะทันตั้งตัวจากการโจมตีในครั้งแรก ทันใดนั้นพวกเขาต้องตกใจกับการโจมตีอย่างกะทันหันหนักหน่วงกว่า การปะทะกันของกองทหารชุดที่สองดำเนินไปจนกระทั่งดวงอาทิตย์ขึ้น สุลต่านมุหัมมัดก็สั่งให้ถอยทัพกลับยังศูนย์อีกครั้งหนึ่ง ส่วนสุลต่านเองก็เดินสำรวจสนามรบและความเสียหายพร้อมกับสั่งให้ย้ายปืนใหญ่มาตั้งบริเวณสมรภูมิดังกล่าว ในขณะเดียวกันก็มีการปะทะกันทางทะเลตรงบริเวณปากอ่าวทะเลมัรมาราและท่าเรือกอรนุนซะฮะบีย์อย่างดุเดือดโดยมีสุลต่านคอยสังเกตการณ์อยู่เป็นครั้งคราว เพื่อให้แน่ใจถึงชัยชนะที่กำลังได้รับ หลังจากนั้นสุลต่านก็ออกคำสั่งให้กองทหารชุดที่สามทำการโจมตีเป็นครั้งสุดท้าย
(3.) กองทหารชุดที่สามนี้ประกอบด้วยหน่วยจู่โจมกล้าตาย ซึ่งเป็นกองทหารที่มีการฝึกซ้อมดีที่สุดและแข็งแกร่งที่สุด โดยมีบรรดาอุลามาอฺและผู้อาวุโสคอยให้กำลังใจและปลุกระดม และหลังจากที่มีการต่อสู้อย่างดุเดือด กองทหารออตโตมานก็สามารถยิงปืนใหญ่ทะลวงกำแพงกรุงคอนสแตนติดนเปิลได้สำเร็จพร้อมกับฝ่าเข้าไปในตัวเมือง ในขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งสามารถฝ่าเข้าในเมืองด้วยการปีนป่ายบันไดขึ้นไปบนกำแพงเมืองและยกธงอาณาจักรออตโตมานขึ้นบกสะบัดพร้อมกับยกธงไบแซนไทน์ลงมาบดขยี้ ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งก็สามารถทะลวงเข้าไปเปิดประตูเมือง ส่วนกองทหารเรือก็สามารถพิชิตสายโซ่อันมหึมาที่ถูกวางไว้ที่ปากอ่าวท่าเรือกอรนุนซะฮะบีย์ได้สำเร็จอีกเช่นกัน..
ดังนั้นกรุงคอนสแตนติโนเปิลอันแข็งแกร่งและไม่เคยถูกพิชิตมาก่อนก็ถูกพิชิตลงด้วยกองทหารแห่งอาณาจักรออตโตมานภายใต้ของจอมทัพสุลต่านมุหัมมัดอัลฟาติห์ผู้มีอายุยังไม่ถึง 23 ปี ผู้นี้ หลังจากได้ทำการปิดล้อมเป็นเวลาถึง 51 วัน…
3.1.13 จรรยาบรรณของสุลต่านมุหัมมัดอัลฟาติห์
หลังเที่ยงของวันที่ 20 ญุมาดัลอูลา 857 (29 / 5 / 1453) หลังจากที่สุลต่านเห็นกองทหารของท่านได้บุกเข้าไปยังตัวเมืองกรุงคอนสแตนติโนเปิลจากทุกมุมและธงแห่งชัยชนะได้โบกสะบัดเหนือกำแพงเมือง สุลต่านก็เดินทางเข้าไปยังตัวเมืองกรุงคอนสแตนติโนเปิลที่ถูกพิชิตลงและหยุดอยู่ตรงใจกลางกรุง ในขณะที่ชาวกรุงคอนสแตนติโนเปิลต่างหวาดผวาและพากันหนีเข้าไปยังโบสถ์อายาโซเฟีย สุลต่านได้สั่งให้ทำการเผาซากศพทั้งหมดเพื่อป้องกันการระบาดของโรค แล้วสุลต่านก็เดินทางมุ่งหน้าไปยังโบสถ์อายาโซเฟีย ทันทีที่รู้ข่าวการมาเยือนของสุลต่าน ด้วยความกลัวชาวกรุงคอนสแตนติโนเปิลต่างคุกเข่าลงกราบไหว้ขอพร สุลต่านลงจากหลังม้าและทำการละหมาดชุโกรต่ออัลลอฮที่ทำให้การพิชิตกรุงคอนสแตนติโนเปิลสำเร็จลงด้วยน้ำมือของท่าน หลังจากนั้นสุลต่านก็ดินทางเข้าหาประชาชนและบรรดานักบุญที่กำลังกราบไหว้อยู่ในโบสถ์อายาโซเฟียและกล่าวแก่บรรดานักบุยเหล่านั้น – ตามที่นักประวัติศาสตร์โบโลนีย์ว่า
“จงหยุดการกราบไหว้ของพวกเจ้าเถิด และจงลุกขึ้นมา ฉันคือสุลต่านมุหัมมัด ฉันจะกล่าวแก่พวกเจ้า แก่สหายของพวกเจ้าทั้งหลาย และแก่ทุกคนที่อยู่ที่นี่ว่า ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปพวกเจ้าทั้งหลายจะได้รับความคุ้มครองทั้งชีวิตและอิสรภาพของพวกเจ้า”
หลังจากนั้นสุลต่านก็กล่าวคำปราศรัยและสั่งเสียแก่กองทหารของท่าน
“โอ้บรรดานักรบทั้งหลาย มวลการสรรเสริญเป็นของอัลลอฮ แท้จริงพวกเจ้าได้กลายเป็นผู้พิชิตกรุงคอนสแตนติโนเปิลแล้วตามที่ท่านรอซูลได้ทรงกล่าวไว้ว่า “แท้จริงกรุงคอนสแตนติโนเปิลจะถูกพิชิตโดยพวกเจ้าและแท้จริงอะมีรที่ดีที่สุดคืออะมีรที่สามารถพิชิตมัน และแท้จริงกองทหารที่ดีที่สุดคือกองทหารของอะมีรนั้น”
สุลต่านได้สั่งกำชับไม่ให้ทหารสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนเหล่านั้น พร้อมกับสั่งให้ทุกคนกลับไปยังบ้านเรือนของตนอย่างปลอดภัย และทำการเปลี่ยนโบสถ์อายาโซเฟียเป็นมัสยิด ส่วนโบสถ์อื่นๆก้ปล่อยให้อยู่เหมือนเดิมและใช้เป็นที่ละหมาดอัซรีในวันเดียวกัน หลังจากที่ได้สั่งให้เอาสัญลักษณ์ของคริสเตียนออกไปหมดแล้ว และทำการละหมาดวันศุกร์เป็นครั้งแรกหลังจากที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลถูกเปิด.
ท่าทีของสุลต่านมุหัมมัดในขณะที่เข้าไปยังตัวเมืองกรุงคอนสแตนติโนเปิลเป็นท่าทีน่าสรรเสริญเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นท่าทีที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับบรรดาจอมทัพนักล่าอาณานิคมทั้งหลาย เพราะตามกติกาการสงครามในสมัยนั้นสุลต่านมีสิทธิที่จะขับไล่ไสส่งประชาชนที่อาศัยอยู่ในเมืองนั้น หรือขายเขาเหล่านั้นที่ตลาดขายทาส แต่สุลต่านกลับมีจุดยืนที่อ่อนโยนและให้อภัย ซึ่งเป็นสิ่งที่นักคิดชาวยุโรปปัจจุบันต่างแปลกใจและกังขากับจุดยืนดังกล่าวของสุลต่าน…
1. สุลต่านได้ปล่อยให้เชลยศึกทั้งหมดเป็นไททันทีที่สามารถเปิดกรุงคอนสแตนติโนเปิล
2. ในขณะที่สุลต่านอนุญาตให้กองทหารสามารถกอบโกยผลประโยชน์จากกรุงคอนสแตนติโนเปิลเป็นเวลาสามวันหลังจากการพิชิตนั้น สุลต่านอนุยาตให้เฉพาะในสิ่งที่เป็นสิ่งของเท่านั้น โดยไม่ได้แตะต้องหรือทำร้ายสตรี คนแก่ เด็กๆ หรือนักบวชแต่อย่างใด ไม่ได้ทำลายโบสถ์ บ้านเรือน และอื่นๆ ทั้งๆ ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลถูกพิชิตด้วยกำลังทหาร
3. ตามกฎหมายแล้วสุลต่านมีสิทธิอย่างเต็มที่ในฐานะตัวแทนของกองทหารที่จะครอบครองทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ในเมืองนี้ เช่นกับที่สุลต่านมีสิทธิที่จะเปลี่ยนส่วนหนึ่งของโบสถ์ให้เป็ฯมัสยิดตามแต่ชอบ และที่เหลือก็มอบให้กับชาวคอนสแตนติโนเปิลดูแลเอง แต่กลับพบว่ามีหนังสือสัญญามากมายที่บ่งบอกถึงจุดยืนของสุลต่านที่อนุญาตให้โบสถ์ต่างๆ อยู่ภายใต้การดูแลของชาวคริสเตียนกรุงคอนสแตนติโนเปิล เช่น โบสถ์โญกาลีญา อายา ลีบัส กีรา มาตุวา และอัลกัส
4. สุลต่านได้ทำให้ออรทอดอกส์กลับมามีบทบาทอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่ถูกทำลายลงโดยชาวคริสเตียนลัทธิคาทอลิก
5. ให้สิทธิแก่ผู้ที่นับถือศาสนาต่างๆ ในเรื่องที่เกี่ยวกับส่วนบุคคล เช่น การแต่งงาน การหย่าร้าง มรดก เรื่องเกี่ยวกับความตาย ในขณะที่สิ่งดังกล่าวแทบจะไม่มีให้เห็นในแถบยุโรปสมัยนั้น
3.1.14 เมืองหลวงแห่งใหม่ของอาณาจักรออตโตมาน
เนื่องจากสภาพความสวยงามและความเหมาะสมของกรุงคอนสแตนติโนเปิลที่จะเป็นศูนย์กลางการปกครองหรือเมืองหลวงดังที่ได้กล่าวมาแล้วในตอนต้น ดังนั้นสุลต่านมุหัมมัดจึงย้ายเมืองหลวงจากแอนเดรียมายังยังกรุงคอนสแตนติโนเปิลแห่งนี้ เพื่อเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ของอาณาจักออตโตมาน และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “กรุงอิสตันบูล”

4.) ผลกระทบของการพิชิตกรุงคอนสแตนติโนเปิลต่อยุโรปและโลกมุสลิม
การพิชิตกรุงคอนสแตนติโนเปิลปิดฉากลงหลังจากที่มีความพยายามเพื่อพิชิตมันถึง 29 ครั้ง การล้มสลายของอาณาจักรโรมันตะวันออกหรือไบแซนไทฯในครั้งนี้เป็นที่กล่าวขานในทั่วทุกมุมโลก มีทั้งทีสรรเสริญเยินยอและเกลียดชังสาปแช่ง ซึ่งจะสรุปคร่าวๆ ถึงจุดยืนของประชากรต่อเหตุการณ์ในครั้งนี้พอสังเขปได้ดังนี้
(1.) ในส่วนของชาวคริสเตียนยุโรป เกิดความหวาดผวา บรรดากษัตริย์และเจ้าเมืองต่างรู้สึกตกใจ เจ็บแค้น และอดสูกับความพ่ายแพ้อันย่อยยับของกรุงคอนสแตนติโนเปิลอันเป็นศูนย์กลางทางศาสนาของชาวคริสต์ ดังนั้นพวกเขาจึงได้แสดงความเศร้าโศกเสียใจด้วยการแต่งกลอนและเล่นละครสะท้อนเหตุการณ์ดังกล่าว และมีการสัมนาพบปะกันระหว่างบรรดากษัตริย์และแกนนำเมืองต่างๆ พร้อมกับเรียกร้องให้มีความปรองดองกันและละทิ้งความขัดแย้งและความบาดหมางซึ่งกันและกัน เพราะพวกเขาเห็นว่าสาเหตุที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลต้องพ่ายแพ้แก่อาณาจักรออตโตมานอย่างราบคาบนั้นเพราะความแตกแยกและไม่สามัคคีกันในหมู่ชาวยุโรป.
(2.) ส่วนชาวคริสเตียนในกรุงคอนสแตนติโนเปิลและเมืองใกล้เคียงเนื่องจากพวกเขาอยู่ใกล้กับกรุงคอนสแตนติโนเปิล ดังนั้นพวกเขาจึงทำเป็นแสดงความดีใจกับการพิชิตครั้งยิ่งใหญ่ของมุสลิมในครั้งนี้ ด้วยการส่งตัวแทนไปแสดงความดีใจกับสุลต่านมุหัมมัดอัลฟาติห์ ซึ่งในจำนวนนี้ได้แก่สองพี่น้องของกษัตริย์คอนสแตนตีนที่ปกครองเมืองมูราห์.
(3.) ในส่วนของโลกมุสลิมต่างก็แสดงความปิติยินดีกันอย่างท่วมท้น และภูมิใจกับอาณาเขตใหม่ของอาณาจักรอิสลามแห่งตุรกีที่ครอบคลุมทั้งตะวันออกและตะวันตก และทันทีที่สุลต่านมุหัมมัดส่งข่าวไปยังอียิปต์ ฮิญาซ เปอร์เซีย และอินเดีย ถึงชัยชนะที่ตนได้รับก็ได้มีการเป่าประกาศบนมินบัรทันที และมีการตกแต่งบ้านเรือน ฝาผนัง และละหมาดชูโกรอย่างถ้วนหน้ากับชัยชนะที่มุสลิมได้รับ.
การล่มสลายของอาณาจักรไบแซนไทน์หรือโรมันตะวันออกซึ่งมีศูนย์กลางการปกครองหรือเมืองหลวงที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลในครั้งนี้ ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ครั้งยิ่งใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประวัติศาสตร์ชาวยุโรป และการเปิดเมืองคอนสแตนติโนเปิลนี้ได้ปิดฉากยุคแห่งความมืด หรือยุคกลางลงและเป็นจุดเริ่มต้นของยุคแห่งการฟื้นฟูในทวีปยุโรป โดยที่บรรดานักประวัติศาสตร์ชาวยุโรปได้เริ่มนับยุคใหม่ของประวัติศาสตร์ในวันที่ 25 พฤษภาคม 1453 ๕.ศ. หมายถึงวันที่อัลลอฮได้ทรงให้ชัยชนะแก่สุลต่านมุหัมมัดอัลฟาติห์นั่นเอง
บรรดานักคิดและนักปราชญ์ที่เคยอยู่ในกรุงคอนสแตนติโนเปิลค่อยทยอยย้ายเข้าไปยังประเทศต่างๆ ในแถบยุโรปในประเทศอิตาลี นับตั้งแต่นั้นมานักคิดตะวันตกได้ทำการศึกษาถึงความอ่อนแอของยุโรปและการสร้างความเจริญใหม่ ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างความเจริญในยุโรป ความพ่ายแพ้หลายต่อหลายครั้งอย่างต่อเนื่องของชาวยุโรปต่อชาวมุสลิม ทำให้ชาวยุโรปสำนึกและศึกษาถึงความอ่อนแอของพวกเขา ความสำนึกของชาวยุโรปได้รับผลสำเร็จหลังจากนั้น 40 ปี เมื่อแคว้นอาร์กอน และเคสติเลีย ในสเปน สามารถปลดปล่อยประเทศสเปนเป็นเอกราชหลังจากที่มุสลิมปกครองเป็นเวลาถึง 7 ศตวรรษ.

5.) บทบาทและเหตุการณ์สำคัญของสุลต่านในการพิชิตเมืองต่างๆ
5.1 พิชิตเมืองเมาเราะห์ (อัลบาเนีย)
หลังจากนั้นสุลต่านก็เริ่มตระเวนไปยังเมืองอื่นๆเพื่อทำการพิชิต เริ่มแรกสุลต่านมุ่งไปยังเมืองเมาเราะห์(อัลบาเนีย)ซึ่งตั้งอยู่ในแทบกรีก(ยูนาน) ทันทีที่ดิมัตริอูสและโทมัส (พี่น้องทั้งสองของคอนสแตนตีน) ได้รับข่างถึงการยกทัพของสุลต่านมุหัมมัด ทั้งสองก็ยอมสิโรราภด้วยการกระทำสัญญายอมจ่ายส่วยให้กับสุลต่านเป็นจำนวนเงิน 12,000 ดุกต่อปี แต่หลังจากที่สุลต่านยกทัพกลับ โทมัสกลับทำการปฏิวัติและเข่นฆ่าชาวตุรกีและดิมัตริอูส จนดิมัตริอูสต้องขอความช่วยเหลือจากสุลต่านอย่างรีบด่วน ได้ยินดังนั้นสุลต่านจึงนำกองทัพอย่างมากมายบุกโจมตีเมืองเมามาเราะห์จนสามารถพิชิตในที่สุดในปี 864 ฮ.ศ.(1460 ค.ศ.) ส่วนโทมัสสามารถหลบหนีไปยังอีตาลีได้
5.2 พิชิตเมืองฟะลาค (โรมาเนีย)
หลังจากสุลต่านกลับมายังเมืองหลวงอิสตันบูล สุลต่านก็ได้จัดเตรียมความพร้อมด้านการรบเพื่อทำการโจมตีกษัตริย์แห่งเมืองฟะลากที่มีชื่อว่า กอลาดดัรเราะห์ เพื่อเป็นการตอบโต้การกระทำอันป่าเถื่อนของกอลัดดัรเราะห์ต่อประชาชนเมืองฟะลากและบรรดาพ่อค้ามุสลิมที่พักอยู่ ณ เมืองดังกล่าว หลังจากที่กษัตริย์แห่งเมืองฟะลากได้ทราบข่าวการเดินทางของสุลต่านท่านก็ได้ส่งฑูตมาเจรจากับสุลต่านด้วยการเงินค่าจำนวน 10,000 ต่อปี โดยมีเงื่อนไข่ว่าสุลต่านต้องยอมรับถึงข้อแม้ต่างๆที่ได้ถูกสัญญาไว้สมัยที่มีเจรจาระหว่างท่านกับสุลต่านบายะซวีด เมื่อปี 1393 ค.ศ. สุลต่านยอมรับถึงข้อแม้ดังกล่าวหลังจากนั้นก็เดินทางกลับยังกรุงอิสตันบูล ในขณะนั้นเองกษัตริย์แห่งเมืองฟะลากจึงได้ทำสัญญาร่วมกับกษัตริย์ฮังการีเพื่อทำการโจมตีชาวมุสลิม
เมื่อข่าวดังกล่าวถึงหูสุลต่าน ท่านจึงได้ส่งฑูตสองคนเพื่อดินทางไปถามไถ่ถึงเรื่องการร่วมมือดังกล่าวยังเมืองฟะลาก แต่กษัตริย์ฟะลากกลับประหารทั้งสอง ต่อมาก็ได้ทำการโจมตีบัลการเรียซึ่งเป็นเมืองใต้ปกครองของอาณาจักรออตโตมาน ดังนั้นสุลต่านจึงได้ส่งฑูตไปยังกษัตริย์แห่งเมืองฟะลากอีกครั้งหนึ่งเพื่อสั่งให้ยอมสิโรราภด้วยดีต่ออาณษจักรอิสลามแต่กษัตริย์ฟะลากกลับฆ่าฑูตของสุลต่านอีกเป็นครั้งที่สอง ด้วยความโกรธสุลต่านจึงได้ยกทัพด้วยตนเองทันทีซึ่งมีกำลังทหารถึง 100,000 นาย เพื่อทำการโจมตีกษัตริย์ผู้ป่าเถื่อนคนนี้ ดังนั้นจึงเกิดการปะทะกันระหว่างอย่างดุเดือดจนสุดท้ายจบลงด้วยการได้รับชัยชนะของสุลต่าน ส่วนกษัตริย์แห่งเมืองฟะลากสามารถหลบหนีไปกบดานพร้อมๆกันกษัตริย์ฮังการี นับตั้งแต่นั้นมาเมืองฟะลากจึงตกอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรออตโตมาน และสุลต่านได้แต่งตั้งให้ราอูลน้องชายของกษัตริย์ฟะลากขึ้นเป็นกษัตริย์แทนพี่ชาย.
5.3 พิชิตเมืองบอสเนีย
ในปี 867 ฮ.ศ. (1463 ค.ศ.) สุลต่านได้ยกทัพไปตีเมืองบอสเนีย เหตุเพรากษัตริย์บอสเนียบ่ายเบี่ยงไม่ยอมจ่ายส่วยแก่อาณาจักรอิสลาม ดังนั้นจึงเกิดการปะทะกันขึ้น ในที่สุดกษัตริย์แห่งบอสเนียและลูกชายถูกจับและถูกประหารชีวิตในเวลาต่อมา ดังนั้นเมืองบอสเนียจึงยอมสวามิภักดิ์ต่ออาณาจักรอิสลาม ต่อมาในปี 868 ฮ.ศ. (1464 ค.ศ.) มิตยาส เกิรฟัน บุตรของโฮเนียด กษัตริย์แห่งฮังการีได้ยกทัพไปยังเมืองบอสเนียเพื่อจะปลดแอกบอสเนียจากการปกครองของอาณาจักรอิสลาม ดังนั้นจึงเกิดการปะทะกันขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ในที่สุดสงครามก็จบลงด้วยการปราชัยของกษัตริย์ฮังการี ดังนั้นเมืองบอสเนียจึงตกเป็นเมืองใต้ปกครองของอาณาจักรออตโตมานอย่างสมบูรณ์.

5.4 พิชิตเมืองอุรญูสและเกาะอัจรีบูส
ต้นเหตุแห่งการพิชิตในครั้งนี้เนื่องจากในปี 867 ฮ.ศ. มีทาสคนหนึ่งได้หนีไปยังเมืองคูรูน (เขตการปกครองของชาวคริสเตียน) สุลต่านจึงได้ขอร้องให้ผู้ปกครองในเขตดังกล่าวส่งทาสคนนั้นกลับ แต่ผู้ปกครองในเขตดังกล่าวกลับปฏิเสธไม่ยอมมอบให้ด้วยข้ออ้างที่ว่าทาสคนนั้นได้เข้รับนับถือศาสนาคริสแล้ว ดังนั้นสุลต่านจึงได้ส่งกองทัพไปขยี้เมืองอุรญูสเสีย ต่อมาในปี 874 ฮ.ศ. (1470 ค.ศ.) สุลต่านสามารถพิชิตเกาะอัจริบูส ซึ่งเป็นเกาะใต้การปกครองของบนีดุกิยะห์ (เวนิส).
5.5 พิชิตเมืองอื่นๆ
ในปี 884 ฮ.ศ. (1479) สุลต่านสามารถพิชิตเมืองอัฟลาก (วาเลเชีย) ซึ่งเป็นเมืองหนึ่งที่อยู่ในประเทศโรมาเนียปัจจุบัน และในปี 885 ฮ.ศ. (1480 ค.ศ.) สุลต่านสามารถพิชิตเกาะยูนานซึ่งตั้งอยู่ระหว่างประเทสยูนานกับประเทศอิตาลี และสามารถพิชิตเมืองอุตรานิต (อยู่ในอิตาลีปัจจุบัน) และสุลต่านยังสามารถพิชิตเมืองอื่นๆ อีกมาก.

6.) พิชิตเมืองต่างๆ ในแถบเอเชียน้อย
หลังจากนั้นสุลต่านก็หันมาสนใจเมืองต่างๆ ทางเอเชียน้อย เพื่อทำการพิชิตและครอบครองเมืองในแถบดังกล่าว โดยเริ่มแรกสุลต่านได้โจมตีท่าเรือ อมาสตริส ซึ่งเป็นศูนย์การค้าของชาวบนีดุกิยะห์ (เวนิส) สุลต่านสามารถครอบครองท่าดังกล่าวอย่างง่ายดาย เพราะประชาชนในแถบนั้นไม่กังวลกับเรื่องดังกล่าว ขอเพียงให้ทรัพย์สินของพวกเขาปลอดภัยและไม่ถูกคุกคาม และพวกเขาสามารถทำมาหากินตามปกติก็พอ.
ในปี 865 ฮ.ศ. สุลต่านมุหัมมัดได้ยกทัพไปยังเมืองอะมีรอิสฟันเดียร์ – อะมีร แห่งเมืองสีนุบเจรจาขอให้อะมีรมอบเมืองของเขาแก่สุลต่านโดยดี อะมีรอิสฟันเดียร์ก็ยอมปฏิบัติตามคำขอดังกล่าว.
ในปี 866 ฮ.ศ. สุลต่านมุหัมมัดได้ยกทัพด้วยตนเองไปยังเมืองเตาะรอบะซูน และสุลต่านสามารถเข้าไปยังเมืองดังกล่าวอย่างง่ายดาย สุลต่านได้จับกษัตริย์ ภรรยาและลูกของกษัตริย์เตาะรอบะซูน ล้วส่งมายังเมืองหลวงอิสตันบูล.
หลังจากนั้นสุลต่านก็ทำการพิชิตเมืองกอรมาน เพราะสภาพความเป็นอยู่ภายในเกิดความวุ่นวายอันเนื่องมาจากอะมีรแห่งเมืองกอรมานที่มีชื่อว่า อิบรอฮีม ได้แต่งตั้งอิสหากลูกชายที่ได้กับทาสหญิงขึ้นเป็นอะมีรหลังจากที่ท่านเสียชีวิต ดังนั้นจึงเกิดการต่อต้านจากบรรดาลูกๆ ที่มาจากภรรยาที่เป็นไท. เห็นดังนั้นสุลต่านมุหัมมัดจึงทำการปราบปรามอิสหากและแต่งตั้งพี่ชายคนโตเป็นอะมีรแทน. และในปี 875 ฮ.ศ. สุลต่านก็ได้รวมเอาเมืองกอรมานเข้าเป็นหนึ่งในหัวเมืองของอาณาจักรออตโตมาน.

7.) จัดระบบการปกครองในประเทศ
สุลต่านมุหัมมัดที่สองไม่เพียงมีความปราดเปรื่องด้านการทหารเท่านั้น สุลต่านยังเป็นนักบริหารประเทศและนักวางแผนที่เก่งฉกาจคนหนึ่งด้วย ในบรรดาการจัดระบบการบริหารที่สุลต่านมุหัมมัดได้สร้างไว้คือ

8.) จัดตั้งระบบสภา
สภาเป็นสถานที่รวมของบรรดาเหล่าขุนนางชั้นผู้ใหญ่และผู้ที่มีหน้าที่สำคัญๆ ในการบริหารประเทศ การรวมตัวนั้นจะกระทำขึ้นทุกวัน ณ พระราชวังของสุลต่าน เริ่มตั้งแต่เช้าจนถึงตะวันคล้อยยกเว้นวันหยุดราชการ.
9.) สร้างระบบและกฎหมายการบริหารประเทศ
เล็งเห็นถึงความวุ่นวายที่อาจจะเกิดขึ้น และความขัดแย้งที่อาจจะประทุขึ้นระหว่างประชาชนที่ประกอบด้วยชาวเตร์ก กรีก บัลกาเรีย อัลบาเนีย ชาวคริสเตียนนิกายออรทอดอกซ์ และนิกายคาทอลิกซ์ ดังนั้นสุลต่านมุหัมมัดจึงได้ร่างกฎหมายเฉพาะเพื่อเป็นการประกันถึงความสงบสุขและความสัมพันธ์อันดีระหว่างประชาชนที่มีความแตกต่างเหล่านั้น.
10.) จัดให้มีวิธีการเฉพาะในด้านการใช้กฎหมาย
เพื่อความสำเร็จในเรื่องดังกล่าวสุลต่านได้จัดตั้งคณะกรรมการที่ประกอบด้วยบรรดาอุลามาอฺขึ้นชุดหนึ่ง คณะกรรมการชุดนี้แหละที่มีหน้าที่ขบคิดและสร้างวิธีการเฉพาะในการสำเร็จกฎหมายในประเทศโดยทั่วกัน.
11.) สร้างอาคารและสิ่งก่อสร้างต่างๆ
ในสมัยการปกครองของสุลต่านมุหัมมัดได้มีการสร้างมัสยิดหลายๆ หลัง ในจำนวนนั้นได้แก่มัสยิดออัลฟาติห์ สุลต่านได้จัดให้มีห้องสมุดประจำมัสยิดทุกมัสยิดซ฿งถูกบบรจุด้วยหนังสือสำคัญๆ ทั้งที่เป็นภาษาอาหรับ เปอร์เซีย ยูนาน และตุรกี พร้อมกับจัดให้มีโรงเรียน ห้องพยาบาล สถานที่จัดเลี้ยงคนอนาถาและยากจน ขุดบ่อ และความสะดวกอื่นๆ นอกจากนี้สุลต่านยังได้สร้างโรงงานผลิตเรือรบที่สามารถผลิตเรือเพื่อการสงครามเป็นจำนวนมาก.
12.) การเสียชีวิตของสุลต่าน
หลังจากสุลต่านได้ใช้ชีวิตในการญิหาดในหนทางของอัลลอฮและปกครองประชาราษฎร์อย่างยุติธรรมเป็นเวลาประมาณ 30 ปี กับอีก 2 เดือนครึ่ง ดังนั้นในวันที่ 4 เดือนรอบีอุลเอาวัล ปี 886 ฮ.ศ. ตรงกับวันที่ 3 เดือนพฤษภาคม 1481 ค.ศ. สุลต่านมุหัมมัด อัลฟาติห์ก็ได้สิ้นชีวิตลงในอายุประมาณ 53 ปี สุลต่านได้ทิ้งอาณาจักรออตโตมานที่มีอาณาเขตกว้างขวางถึง 2,214,000 ตารางกิโลเมตร ทั้งในเขตอนาโตเลียและเขตยุโรป โดยเขตแดนทางตอนเหนือเริ่มจากตอนใต้ของมอสโค.










บรรณานุกรม

ภาษาไทย

สมาคมนักเรียนอาหรับไทย. 1998 . พระมหาคัมภีร์อัลกุรอานพร้อมความหมาย . อัลมาดี
นะห์ อัลมูเนาวาเราะห์ . ศูนย์กษัตร์ ฟะฮัด เพื่อการพิมพ์อัลกุรอาน .
บุคอรีย์
ดลมนรรจน์ บาก และมูฮัมหมัดรอฟลี แวหะมะ. 2543. อาณาจักรออตโตมาน . ปัตตานี :โรงพิมพ์ มิตรภาพ
ดลมนรรจน์ บากา และ มูหัมมัดรอฟลี แวหะมะ. 2534. อาณาจักรออตโตมานราชวงศ์อุษมานียะฮ.
พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
.
บรรจง บินกาซัน . 2542 . ประวัติศาสตร์สำหรับเยาวชน. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์อิสลามิคอะเคเดมี.

ดลมนรรจน์ บาก และมูฮัมหมัดรอฟลี แวหะมะ , 2543 อาณาจักรออตโตมาน . ปัตตานี
.โรงพิมพ์มิตรภาพ
บรรจง บินกาซัน. 2544. ประวัติศาสตร์อิสลาม.พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อัลอะมีน.

ภาษามลายู

Abd Malik KarimuIlah (Hamka).1980. Sejarah Umat Islam. Kuala lumpur
: Idisi pustaka Antara

Taib Harun. 1981 . Kuasa Pemeritahan Islam. Kotabaharu Kelatan : Dian
Darulnaim Sdn. Bhd

--------------1979 . Kuasa Perundagan Islam . Kuala lumpur: Pakarprint Sdn . Bhd.
Haji Muhamad Abd Ghani . 1968. Sejarah islam. Kota Baharu : Pustaka
Mahligai pres

Munawer Imam . 1985 . Mengenal Peribadi 30 Pendekara dan Pemikir
Islam . Surabaya : Pt Bina ilmu

Ahmad Jamil . 1984. Seratus Muslim Terkemuka . Pinang,Malaysia:
:Sabdulmajeed

Sayid alwakil Muhamad . 1998 . Wajah Dunia Islam. Jakarta Timur Pt al
kausar

Haji Hahya Mahayudin . 1993. Sejarah Islam . Malaysia : Pajar Bakti Sdh bhd

Abd Rahman Mustafa . 1968. Rengkasan Sejarah Kerajaan bani Usmaniyah.
Pulau pinang : Ziyunaited preiss

ภาษาอาหรับ

Abd Qadir aI- Aw dah . 1955. aI- Islam wa Awda a na aIQanuniyah. -----------
: --------------
Abi Muhammad Abd AIIah Ibn Muslim . 1967. aI- Imamat wa aI- Siyasat . aI-
Qahirah ; Muassasat aI Halabi

Abd Wahab Khalap . 1977 .al- Siyasat aI-Shar yyah aw Nizamu aI Dawlah
aI-Islamyyah . aI- Qahirah : Dar aI- Ansar
al-Nawawy . 1987. Sahih Muslim. Al-qahirah : Dar al-Rayan lil turath

Abi al Fathy Muhammad Ibn Abdulkarim al Shahr stany. 1998. al-Milal wa al Nihal.
Bairut Lubnan : Dar al-Ma ripah

Mas‘u di Abi Hasan Ibn Hasan Ibn Ali . Muruj al- Dhahab wa Ma‘ a din aI-Jawhar.
Bairut Lubnan : aI Maktabah aI- Asr yah


Ahmad Shalabi. 1982 . Mawsu‘ ah aI Tarikh al-Islami wa Hadarah aI-Islamiyah.
al - Qahirah : Maktabat aI - nahdah al – Misriyah
al Mawardy . 1990 . al Ahkam al sultaniah . Bairut : Dar al-Kutub al araby
Ahmad Ibn hanbal . 1998 . al-Musnad . al-Riyad : Baitul al-Afkar al-dawliyah
Ibn khaIdun Abd aI- Rahman. 1992 . Tarikh Ibn khaldun. Bairut Lubnan Dar al
- kutub al – Ilmiyah
aI - Tabari Muhamad Ibn Jarir . 1991 .Tarikh al-Umam wa al- Muluk.v.4. Bairut :
Lubnan Dar al - kutub al- Ilmiyah
Abd aI- Aziz bin Abd Allah al Humaidi. 1998 . Tarikh aI IslamiMawagifu wa
‘Ibar. al-Qahirah : Dar aI- Da‘ wah
al - Khatib al- Baghdadi . Tarikh Baghdad…….:………
Hasan Ibrahim Hasan.1983 .Tarikh al-Islam al-siyasi wa al-dini wa al-thaqapi wa
al- ijtima‘.al -Qahirah : Maktabat aI- Nahdah aI-Misriyah
Ibrahim Ahmad al- Adwi. 1996.Tarikh aI Alam aI- Islamiy. al-Qahirah :……..
Ibn Kathir . 1997. al- Bidayah wa aI- Nihayah. V.9-10. Bairut : Dar al- Ma‘ ri fah
Ibrahim Ahmad al-Adwi. 1979.Tarikh al-Watan al-Arabi wa Hadaratuhu fi al-‘Asr
al-Islamiy. Hambut :al-Mania.
Jamaludin Abi al-Hasan.1988. Akhbar aI - Duwal al- Munqati‘ ah tarikh
aI - dawlah al- Abbasiyah. Saudi : Maktabat aI- Tawdar bi al-
Madinah al- Munawwarah
Jalaluddin aI- Suyuti.1999 .Tarikh aI- khulafa’. al-Qahirah: Dar aI-Fajr aI-Turath
Khustaf Lubun . 1967 . Hadarat aI Arab . ---------- : Matba‘ ah Isa aI Babi aI
Halabi
Khayru al-din al-zirikly . 1984 . t6 . al lam . Bairut : Dar-al lmy lilmalayin
Muhamad aI Mubarak . 1974 . Nizam aI - Islam aI hukm wa aI-
Dawlah . aI- Qahirah : Dar aI Fikr

Muhamad Faruq .1981. al Madkhal Li aI – Tashri‘ Ia - Islamiy.Kuwait
: Wakalat aI – Matba‘ at al-kuwait

Muhamad aI Khudri bik .---------- . Tarikh aI Umam aI Islamiyah . aI Qahirah :
Matba‘ at aI IstiQamah

Shaki Abu Khalil . 1977 . Harun Arrashid Amir aI Khulafa wa Ajalu aI Muluku
aI Dunya. Dimas Suria : Dar aI Fikr

Sufi Husin Abd al Muttalib.1995.TatbiQ aI- Shari ah al- Islamiyah fi Bilad
al- ‘Arabiyah. al Qahirah : Dar aI nahdah al - Arabiyah

Abi al-hassan Ali ibnuMuhammad ibnu Habib. 1985M-1405 H Al-ahkam al-
sultaniyah wa al-wilayah al-diniyah. Bairut Lubnan : Dar al-kutub al-
elmiyah

Qade Abi yusuf yaa’kub ibnu ibrahim. 1302. kitab al-garaj.Bairut Lubnan : Dar al
Ma’arifah

Muhammad al-Mubarak. 196V M-1387H. al-Dawlah wa Nizam al-hisbah ‘Inda
ibnuTaimiyah. ………….Dar al-fikr
Sa’di danawy. 2001 M-1421.V1 Muwsu ‘ah Harunal-Rashid.Bairut Lubnan :
Darsader

Muhammad Rajab. 2000 Harun Arroshid al-khalifah al-‘alimWa al-faris al-mujahid.
Dimasy Siria : Dar al-galam

Muhamadzin/Ahmad al gatan. 1989 Harunal-Rashid al-khalifah al-Mazlum.
………..Maktabah al-Sundus

Muhammad al-zuhaily. 1995 Tarikh al-guda’ fi al-islam. Bairut lubnan : Dar al-fikr
al-Ma‘aser

Furuk ‘Umar fawzy. al-khalifah al-muJahid Harun al-Rashid.1989. Baghdad :Dar v
al- syu’un al-thagafah al-‘amah

Ahmad Amin bik. Harun al-Rashid. ……… . Misr : Daral-Hilal

Taha al-hajiry. gasru al-Rashid. ……. Misr : Daral-Ma ‘arif
AbdLah falaby. Harun al-Rashid. ……… . ……. :Jam ‘yah al-thagafah al-islamiyah

Ibnu kathir. al-bidayah wa al-nihayah. .V. 9-10 1997M-1417H.Bairut Lubnan : Dar
al-ma ‘rifah

Ibnu athir. al-kamilfi al-Tarikh.V5. 1987M-1407H. Bairut Lubnan : Dar al-kutub
al‘Lmiah

Abi ‘usman ‘umar ibnu bajar al-Jahiz. 1993 al-bayan wa al-tabYain.
Bairut Lubnan : Ihya’ al-‘uLam

Syamsudin Muhammad ibnuAhmah ibnu uthmanal-zahaby. V9. 1996 . Sir al-
a’lam al-nubala’. V9. 1996 Bairut Lubnan : Mua sasah al-Risalah


Syawki daif. Tarikh al-adab al-araby al-‘asr al-‘abas al-awwal. …… al-Qahiroh
: Dar al-ma‘arif.
Abd.Ghani Haji Mahmood, 1981. Sejarah Islam.Kota Bharu Kelantan : Pustaka Mahligai Press.

Muhammad Labib Ahmad. 1982. Sejarah dan kebudayaan Islam. Singapura :
Pustaka Nasional PTE LTD.

งานวิจัย/วิทยานิพนธ์
Mustafa ‘Ali Mustafa. Harun Arroshid Hayatuhu al- Diniyah wa al-assiyasah. 1948M-
1357H. MirsUniver city al-azhar.

เรียบเรียงโดย อุษมาน อิดรีส 

2 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณมากดีมากเลยครับ มีรูปภาพนำเสนอไหมครับ ความจริงแล้วมูฮำมัดอัลฟัตแตะห์นั้นมีความสำคัญมากแต่คนไม่ค่อยรู้จักเลย ผมก็กำลังจะแปลหนังสือเรื่ืองนี้อยู่เหมือนกัน คุณรู้จักชายหนุ่มบานีตามีมที่จะออกมาพร้อมกับอิหม่ามมะห์ดีรึเปล่าครับ.....ยาซีน อนันต์นับ 0866267919 ติดต่อคุยกันได้ครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. จริงๆแล้ว ถ้าจะเอารูปภาพประกอบนั้น มีมากมายคับ ในอินเตอร์เน็ต แต่ไม่ได้ใส่ลงไป เพราะ ต้องมานั่งเรียบเรียงใหม่คับ
      เนื้อหานี้เป้นเนื้อหาเอกสารประกอบการเรียนรายวิชาหลักการบริหารในอิสลาม 3 เรียบเรียงโดย อาจารย์ อับดุลเล๊าะห์ อุมา อาจารย์ประจำสาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา คับ

      ส่วนชายหนุ่มบานีตะมีมนั้นที่จะออกมาพร้อมกับอีหม่ามมะฮดี นั้นข้าพเจ้าเคยอ่านงานวิจัย ของนักศึกษา สาขาอูศูลลุดดีน มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา คับ ถ้าท่านสนใจ ก้อไปหาอ่านได้ที่ห้องสมุด มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ชั้น สอง ห้องงานวิจัย คับ

      ลบ