วันพฤหัสบดีที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การบริหารการปกครองในอิสลาม

การบริหารการปกครองนั้นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ชาติทั้งมวลโดยเฉพาะผู้ปกครอง (เคาะลีฟะฮฺ)ของราชอาณาจักรอิสลามจะต้องจัดระบบระเบียบการปกครองเนื่องจากพระองค์อัลลอฮฺส่งมนุษย์ชาติมาบนแผ่นดินนี้เพื่อเป็นตัวแทนและปกครองประชาชาติด้วยความยุติธรรม ดังที่พระองศ์อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ในอัลกุรอานว่า :

ความว่า : โอ้ดาวูดเอ๋ยเราได้แต่งตั้งเจ้าให้เป็นตัวแทนในแผ่นดินนี้ ดังนั้นเจ้าจงตัดสินคดีต่างๆ ระหว่างมนุษย์ด้วยความยุติธรรม และอย่าปฏิบัติตามอารมณ์ใฝ่ต่ำ มันจะทำให้เจ้าหลงไปจากทางของอัลลอฮฺ (ศอด, 26)
จากโองการดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าการตัดสินระหว่างมนุษย์ด้วยกันนั้น และแก้ปัญหาการพิพาทนั้นเป็นภารกิจหลักของบรรดานบี และเป็นหน้าที่รับผิดชอบที่จำเป็นของเคาะลีฟะฮฺบนผืนแผ่นดินนี้
สำหรับวัตถุประสงค์ของการจัดระเบียบการปกครองของราชอาณาจักรอิสลามนั้น ดังที่พระองค์อัลลอฮฺ ได้ตรัสไว้ในอัลกุรอานว่า :

ความว่า : โดยแน่นอน เราได้ส่งบรรดารสูลของเราพร้อมด้วยหลักฐานทั้งหลายอันชัดแจ้ง และเราได้ประทานคัมภีร์และความยุติธรรมลงมาพร้อมกับพวกเขา เพื่อมนุษย์จะได้ดำรงอยู่บนความเที่ยงธรรม และเราได้ให้มีเหล็กขึ้นมา เพราะในนั้นมีความแข็งแกร่งมาก และมีประโยชน์มากหลายสำหรับมนุษย์...(อัลหะดีด, 25)
จากโองการดังกล่าวพอสรุปดังนี้
1. คำว่า “ อัลกีตาบ ” ( الكتاب ) ในที่นี้หมายถึง คัมภีร์อัลกุรอานที่ครบสมบูรณ์ ทุกด้านหรือวิถีดำเนินชีวิตประจำวันตามหลักการศาสนาและอัลกุรอานสาสน์สุดท้ายสำหรับท่านนบีมุฮัมหมัด()
2. คำว่า “อีลมีซาน” ( الميزان ) หมายถึงความยุติธรรมระหว่างมนุษย์ด้วยกันโดยใช้ตราชั่งนี้ ในการตัดสินและให้สิทธิซึ่งกันและกัน
3. คำว่า “อัลกิสต์” ( القسط ) หมายถึง การดำเนินการตัดสินระหว่างประชาชนด้วยกันความยุติธรรมโดยไม่ลำเอียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
4. คำว่า “อัลหะดีด” ( الحد يد ) หมายถึง พลังความเข้มแข็งที่สนับสนุนด้วยหลักการ
อัลกุรอาน
จากโองการดังกล่าวอาจสรุปวัตถุประสงค์จากการปกครองตามรูปแบบอิสลามได้ดังต่อไปนี้
1. เพื่อสร้างความยุติธรรมระหว่างประชาชนด้วยกัน
ประชาชนนั้นมีทั้งเข้มแข็งและอ่อนแอมีทั้งผู้อธรรมและถูกอธรรม คำสั่งให้ปฏิบัติบทบัญญัติด้วยความยุติธรรมระหว่างประชาชนด้วยกัน และห้ามในสิ่งที่อธรรม อัลกุรอานได้เน้นในเรื่องนี้ว่า
พระองค์อัลลอฮฺ ทรงตรัสถึงรสูล ()เพื่อให้การตัดสิน การปกครองด้วยความยุติธรรมว่า :

ความว่า : และเราได้ให้คัมภีร์ลงมาแกเจ้า ด้วยความจริง ในฐานะเป็นที่ยืนยันที่อยู่เบื้องหน้ามันและเป็นที่ควบคุมคัมภีร์(เบื้องหน้า)นั้น ดังนั้น เจ้าจงตัดสินระหว่างพวกเขาด้วยสิ่งที่อัลลอฮฺ ทรงประทานลงมาเถิด และเจ้าอย่าปฏิบัติตามความใคร่ใฝ่ต่ำของพวกเขา(อัลมาอีดะห์, 48)

ความว่า : แท้จริงเราได้ให้คัมภีร์ลงมาแก่เจ้าเป็นความจริงเพื่อเจ้าจะได้ตัดสินระหว่างผู้คน..
(อันอิซาอฺ, 105)
2. เพื่อปฏิบัติตามบทบัญญัติของพระองค์อัลลอฮฺ ได้ตรัสไว้ในอัลกุรอาน
3. เพื่อดูแลผู้อ่อนแอและให้ความช่วยเหลือต่อผู้ที่มีความจำเป็น
4. เพื่อจัดระบบการปกครองตามรูปแบบอิสลามและนำสังคมมนุษย์สู่ความสุขในชีวิตประจำวัน
ในบทนี้ผู้วิจัยขอนำเสนอบทวิเคราะห์ใน 2 ประเด็นหลักๆ คือ ชีวประวัติของเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน
อัรรอชีด และลักษณะการปกครองของท่าน

ลักษณะการปกครองของราชวงศ์อับบสียะฮฺ

ระบบการบริหารการปกครองในยุคของเคาละฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด นั้น ตามรูปแบบและระบบอิสลาม โดยใช้อัลกุรอานเป็นธรรมนูญหรือ นโยบายในการปกครองคือพร้อมกับใช้อัลหะดีษมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานทุกอย่าง และยังมีที่ปรึกษาที่เรียกกันว่า ( Ahl al-Hal wa al-‘Akd ) อำนาจสูงสุดอยู่ที่ประมุขคนเดียว เคาะลีฟะฮฺมีอำนาจโดยไม่จำกัดขอบเขต เคาะลีฟะฮฺทรงเป็นประมุขของราชอาณาจักร ทรงเป็นประมุขทางศาสนา ทรงเป็นผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพ ทรงเป็นผู้แต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งต่างๆ ทรงมีอำนาจแต่งตั้งรัชทายาทสืบทอดตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺในอนาคตได้โดยไม่ต้องทำตามกฎใดๆแต่ทั้งหมดไม่ได้หมายความว่าเคาะลีฟะฮฺคนเดียวมีอำนาจในการบริหารทุกอย่างในราชอาณาจักร
แต่ถึงอย่างไรก็ตาม การบริหารการปกครองของเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด นั้นท่านได้มอบหมายงานทุกอย่างให้ผู้ปกครอง(วะลีย์)แคว้นต่างๆ และท่านทรงกล่าวว่า “ฉันได้มอบอำนาจการดูแลการปกครองประชาชาติให้กับท่านซึ่งเป็นการแบ่งเบาภาระของฉันให้กับท่าน ท่านจงให้การตัดสินตามความเห็นของท่านที่ถูกต้อง ท่านจงดำเนินการและปฏิบัติหน้าที่อะไรที่ท่านเห็นว่าดีและจงห้ามอะไรที่ท่านเห็นว่าเลวร้ายและอธรรมต่อพระองค์อัลลอฮฺ และท่านจงเดินหน้าต่อไปถ้าคิดว่ามีประโยชน์ต่อประชาชาติทั้งปวง” หน้าที่รับผิดชอบงานบริหารของแคว้นต่างๆไม่ว่าจะเป็นภายในหรือภายนอกนั้นเป็นหน้าที่รับผิดชอบของวะลีย์ เพราะเป็นผู้นำทางการทหารและทางนิติบัญญัติ
จากจุดนี้ให้ความหมายว่ารูปแบบการปกครองของเคาะลีฟะฮ ฮารูน อัรรอชีด นั้นเป็นการปกครองแบบการกระจายอำนาจให้ต่อผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการบริหารงานตามแคว้นต่างๆ เคาะลีฟะฮฺทรงให้ความช่วยเหลือในการปกครองของวะลีย์ตามแคว้นต่างๆในด้านต่างๆ เช่น
1. การช่วยเหลือทางด้านศาล
ท่านได้ให้ความช่วยเหลือกอฺฎีตามแคว้นต่างๆ ในการตัดสิน เช่น การเลือกกอฺฎีที่มีบุคลิกภาพที่ดี ผู้ทรงมีเกียรติในสังคมและผู้มีความละเอียดอ่อน, มีความอ่อนโยนในการดำเนินงาน
อิบนฺ คูตัยมะห์ ได้กล่าวในตำราของท่าน “อุยูนู อัล อัคบาร” ว่า ครั้งหนึ่งท่านเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด ได้เรียกชายผู้หนึ่ง เพื่อแต่งตั้งเป็นกอฺฎีชายคนนั้นได้กล่าวปฏิเสธว่า : ฉันไม่สมควรที่จะมาเป็นผู้พิพากษา และฉันไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญในด้านฟิกฮฺ
เคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด ทรงตอบว่า : ท่านมีบุคลิกภาพพิเศษ ซึ่งผู้อื่นไม่มีคือ
1. ท่านเป็นผู้มีเกียรติเพราะความมีเกียรตินั้นทำให้ตัวเองสูงส่ง
2. ท่านเป็นผู้ที่มีความอ่อนโยนในการปฏิบัติงาน แท้จริงความอ่อนโยนนั้นทำให้มีความ รอบคอบ และผิดพลาดน้อย
3. ท่านชอบปรึกษาหารือ และประชุมตลอดเวลา การประชุมจะทำให้งานส่วนใหญ่ถูกต้องแม่นยำ
เคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด ได้พยายามและเน้นในการแต่งตั้งกอฺฎีจากบรรดาอุละมาอฺที่มีวิชาความรู้ในทุกๆด้าน แต่มีบางอุละมาอฺได้คัดค้านไม่ตอบรับกับตำแหน่งนี้ เช่น อับดุลลอฮฺ อิบนฺ อิดริส และบาง
อุละมาอฺได้ตอบรับเป็นอย่างดีกับตำแหน่งนี้ เช่น ยะอฺกูบ อิบนฺ อิบรอฮีม และมุฮัมหมัด อิบนฺ อัลฮาซัน
อัลชัยบารียฺ และอีกหลายๆท่าน

2. การช่วยเหลือทางด้านรักษาความปลอดภัย
เคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด ได้เน้นถึงการรักษาปลอดภัยเป็นอย่างมาก เพื่อความสงบสุขระหว่างประชาชนที่อยู่ในเมืองหลวงและในแคว้นต่างๆ ท่านพยายามเลือกผู้จะมาอยู่ในตำแหน่งนี้ คือ อับดุลลอฮฺ อิบนฺ มะลิก ท่านเป็นทหารที่มีกิริยามารยาทที่ดี และห่างไกลจากสิ่งเลวร้ายต่างๆ อับดุลลอฮฺ อิบนฺ มะลิก ได้แต่งตั้งสายลับพิเศษเพื่อดูแลรักษาความปลอดภัยในเมืองหลวง และในแคว้นต่างๆ อีกด้วย และเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด ออกคำสั่งให้นักข่าวพยายามเก็บข้อมูลข่าวสาร และแพร่ขยายด้วยความจริง มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และรวดเร็วในการแก้ปัญหาโดยใช้ระบบการไปรษณีย์ที่ดี
เคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด ยังทรงแต่งตั้งผู้เข้าเวรกลางคืน ในเมืองหลวงและแคว้นต่างๆ เพื่อความปลอดภัยของประชาชน และดูและรักษาเมืองไม่ให้สิ่งเลวร้ายเข้าได้ง่ายๆ

3. การช่วยเหลือในด้านอาคารสถานที่และการพัฒนาที่ดินให้เป็นสีเขียว
ในตำราประวัติศาสตร์ ได้บันทึกถึงชีวประวัติของเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด ใน การให้ความช่วยเหลือด้านอาคารสถานที่นั้น ท่านได้เน้นในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก ซึ่งนับได้ว่าเมืองแบกแดดในยุคนี้เป็นเมืองที่สวยงามที่สุด เมืองแบกแดดสร้างผังเมืองขึ้นเป็นรูปแบบวงกลม มีความกว้างเกือบสองไมล์ ล้อมรอบด้วยกำแพงสูง ลาดชันขนาดใหญ่ กำแพงเมืองมี 2 กำแพงใหญ่ ดังนี้
1. กำแพงชั้นใน มีความกว้างถึง 50 ศอก และความสูง 20 ศอก
2. กำแพงชั้นนอก มีความกว้างเหมือนกับชั้นใน และมีความสูงถึง 30 ศอก
ไม่มีหอคอย ล้อมรอบจากภายนอกด้วยคูนํ้าลึก ซึ่งคูนั้นมีนํ้าไหลผ่านจากแม่นํ้ากัรฆอยา และสร้างตามริมแม่นํ้าด้วยก้อนหิน ด้านบนจะมีหอคอย 163 หอคอย ความหนาถึง 5 ศอก สำหรับกำแพงนั้นจะมี 4 ประตูด้วยกัน(al-Tabari,1991 : 240 , Hasan Ibrahim Hasan,1983 : 370) ซึ่งกำแพงดังกล่าวก่อสร้างขึ้นในยุคเคาะลีฟะฮฺ อัลมันศูร โดยมีเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างเองดังนั้นเมืองนี้ จึงเป็นเมืองที่สวยงามที่สุดในโลกนี้ในศตวรรษที่ 8-9 นักประวัติศาสตร์ท่านหนึ่งได้กล่าวในตำราของท่าน “ Trihk al-Bagdad ” ว่า ไม่มีเมืองใดในโลกนี้เทียบเท่ากับเมืองแบกแดดในด้านความสวยงามของผังเมืองและความยิ่งใหญ่ของอาคารสถานที่ต่างๆ
เคาะห์ลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด ยังได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของที่ดิน และภาษีรายได้จากที่ดินด้วยเหตุนี้ท่านได้เน้นถึงระบบการจัดที่ดินให้เป็นสีเขียวพร้อมกับให้ประชาชนใช้ผลประโยชน์จากที่ดินดังกล่าว ท่านได้ออกคำสั่ง เพื่อให้ขุดบ่อที่มีน้ำไหลออกทั้งในเมืองหลวงและในแคว้นต่างๆ อีกด้วย
การแต่งตั้งและการคัดเลือกผู้ปกครองแคว้นต่างๆ
ตามทัศนะอิสลามผู้ปกครอง(ผู้นำ)นั้นจะต้องมีคุณสมบัติหรือบุคลิกภาพพิเศษที่เหมาะสมทั้งด้านศาสนา และทางด้านการเมืองการปกครอง ซึ่งสองส่วนนี้จะแยกกันไม่ได้ ดังที่อัลมาวัรดียฺ ได้กล่าวว่า :

حراسة الدين وسياسة الدنيا

ความว่า : ควบคุมศาสนาและปกครองบ้านเมือง
บรรดาอุละมาอฺ ได้กำหนดคุณสมบัติของผู้นำดังนี้
1. ผู้นำต้องมีวิชาความรู้และความสามารถ
วิชาความรู้และความสามารถนั้นเป็นสิ่งสำคัญของผู้ปกครอง (ผู้นำ) ตามทัศนะอิสลาม ด้วยความรู้ที่มีต่อผู้ปกครองจะสร้างความยุติธรรมระหว่างประชาชาติด้วยกันตามหลักการชารีอะห์ ในทุกๆด้าน ฉะนั้นวิชาความรู้จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากสำหรับผู้ปกครอง
เคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด เป็นผู้ปกครอง (เคาะลีฟะฮฺ) ของราชอาณาจักรอิสลามท่านมีบุคลิกลักษณะเต็มไปด้วยวิชาการอย่างครบครัน ท่านเป็นผู้นำทางศาสนา ผู้นำการปกครองผู้นำในการรบ จนท่านถูกเรียกฉายวาว่า “الرشيد ” “ผู้ปราดเปรื่อง”
เคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด ทรงแต่งตั้งอะบูยูซูฟ เป็นกฺอฎี อัลกูฎอฎ และมอบหมายให้เขียนตำรา “อัลคอรอจ” นับได้ว่าเป็นตำราที่โด่งดังในยุคนั้น อะบูยูซูฟ เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถท่านหนึ่งในบรรดาอุละมาอฺ ในสมัยของเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด
2. ผู้นำต้องมีประสบการณ์ด้านการเมืองการบริหาร
ความรู้ และประสบการณ์ด้านการเมืองการบริหารนั้นเป็นสิ่งจำเป็นต่อผู้ปกครอง (ผู้นำ)
เคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด ได้แต่งตั้งยะห์ยา อิบนฺ คอลิด อัลบัรมากียฺ และวงศ์ตระกูลบัรมากียฺมาเป็นคณะกรรมการบริหารในยุคของท่านสืบเนืองจากวงศ์ตระกูลนี้เคยเป็นผู้บริหารมาก่อนแล้ว
3. ผู้นำต้องมีกิริยามารยาท ที่สูงส่งและมีความยุติธรรม
ผู้ที่ได้รับคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งนี้มีหน้าที่รับผิดชอบ คอยดูแล สังคม ทรัพย์สิน ควบคุมดูแลประชาชาติให้อยู่อย่างมีความสุขและต้องดูแลทางด้านศาสนา พร้อมปกครองบ้านเมืองหน้าที่รับผิดชอบดังกล่าว จำเป็นต้องมีคุณสมบัติ คุณลักษณะที่มีอะมานะฮฺ และชอบความยุติธรรม
4. ผู้นำต้องมีความกล้าหาญ และจริงจังต่อหน้าที่
ศาลและความยุติธรรม
ตามทัศนะของอิสลามแล้วผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งเพื่อตัดสินคดีต่างๆ นั้น มีอำนาจโดยตรงในการใช้หรือปฏิบัติตามบทบัญญัติอิสลาม ตามหลักการอิสลามหรือนโยบายอิสลามอำนาจการตัดสินอยูที่
เคาะลีฟะฮฺ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายในการตัดสิน เช่นวะลีย์ หรือกฺอฎี แต่การตัดสินดังกล่าวต้องสอดคล้องกับอำนาจบัญญัติ หรือ ธรรมนูญของพระองค์อัลลอฮ คือ อัลกุรอาน และอัลหะดีษ
ในยุคเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด บรรดากฺอฎีที่ถูกแต่งตั้งให้มาดำรงตำแหน่งนี้ ส่วนใหญ่มาจากบรรดาอุละมาอฺ ที่มีความสามารถในการตัดสินและแก้ปัญหาโดยใช้หลักการวินิจฉัยมาตัดสินคดี ถ้าหากปัญหานั้นๆ ไม่มีในบทบัญญัติ อัลกุรอาน และอัลหะดีษ ด้วยเหตุนี้เคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด ใช้ระบบความยุติธรรมโดยมี “ศาลการตัดสิน” ซึ่งมีกฺอฎี มาดำเนินงานตามแคว้นต่างๆ
ด้านการบริหาร
จากการศึกษาพบว่า เคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด ได้จัดระบบการบริหารการปกครองโดยแบ่งตามแคว้นต่างๆ และได้แต่งตั้งวะลีย์เป็นผู้นำในการบริหาร ซึ่งวะลีย์จะมีอำนาจการบริหารการปกครองโดยไม่ต้องรอจากส่วนกลาง
ด้านการคลัง
สืบเนื่องจากการขยายอาณาเขตการปกครองของบรรดาเคาะลีฟะฮฺยุคก่อนๆ ทำให้เคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด ได้พยายามพัฒนาระบบการเงินให้ดีขึ้น ท่านได้กำหนดระบบการเงินโดยจัดตั้งคลังการเงินใหม่ คือ “บัยตุลมาล” ขึ้งเป็นกระทรวงการคลังมีหน้าที่เพื่อเก็บรายได้ทรัพย์สินของราชอาณาจักรทั้งหมด
รายได้ของราชอาณาจักรอับบาสิยะฮฺในสมัยเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด นั้น คือ รายได้จากการเก็บซะกาต
ซึ่งเป็นรายได้ส่วนหนึ่ง และได้กำหนดสิทธิของผู้รับตามบทบัญญัติ ท่านได้ปฏิบัติในเรืองนี้อย่างเคร่งครัด

อ้างจากเอกสารประกอบการสอนรายวิชาหลักการบริหารในอิสลาม 3 สาขารัฐประศาสนศาสตร์มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น