วันพฤหัสบดีที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2553

นครปัตตานีหรือเขตบริหารพิเศษ โดย จรัญ มะลูลีม

นครปัตตานีหรือเขตบริหารพิเศษ : ความจริงจากพื้นที่ (1)

by Charanm | Mon, 2010-04-26 14:17
จรัญ มะลูลีม

แนวคิดการจัดตั้งนครปัตตานีมิได้มีความขัดแย้งกับนโยบายของรัฐว่าด้วยการจัดองค์การบริหารราชการในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่เน้นการสร้างความเข้าใจ ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อใช้เป็นแผนแม่บทในการแก้ไขปัญหาแต่อย่างใด การจัดตั้งนครปัตตานีอาจถือได้ว่าเป็นการใช้การเมืองนำการทหาร โดยเน้นไปที่การมีส่วนร่วมทางการเมืองและการบริหารในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างการเสริมสร้างความเข้าใจเพื่อเป็นเครื่องมือดำเนินการเป็นด้านหลัก
การจัดตั้งนครปัตตานีเป็นเหมือนการสร้างนครแห่งสันติสุข ที่ชาวบ้านอยากได้ภายใต้รัฐธรรมนูญไทย ภายใต้เอกภาพท่ามกลางความหลากหลาย เป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา และดูแลความมั่นคงปลอดภัยในชุมชนของตนเอง เช่น
ทำอย่างไรที่จะให้โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ปอเนาะและตาฎีกาที่มีอยู่ 2,497 แห่ง โรงเรียนทั่วไป 1,072 โรง วัด 334 วัดและมัสญิด 1,851 แห่ง ได้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขบนพื้นฐานของการเคารพและให้เกียรติซึ่งกันและกัน มีศาสนิกสนทนา( I n te r f a i th ) มีการตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นไปตามยุทธศาสตร์การพัฒนาเข้าด้วยกัน
ที่สำคัญคือ การเสริมสร้างศักยภาพที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและเลือกทางออกให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน การสร้างสภาพแวดล้อมที่เกื้อกูลต่อการพัฒนาและการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนเพื่อเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา ฯลฯ
ที่ผ่านมาสำหรับประเทศไทย แม้รัฐบาลจะพยายามให้สิทธิแก่พลเมืองในชาติเท่าเทียมกันแต่ประเทศไทยก็มิได้เป็นพหุสังคมอย่างแท้จริงเอกลักษณ์ของความเป็นไทยที่มีศูนย์รวมอยู่ที่ส่วนกลางของประเทศยังคงต่อต้านเอกลักษณ์ทางสังคมของชาวไทยเชื้อสายมลายูอยู่ในหลายรูปแบบ
ดังนั้น การค้นหาเอกลักษณ์ร่วมของคนในพื้นที่เช่นความเป็นคนพื้นที่ดั้งเดิมเหมือนกันและเน้นย้ำเอกลักษณ์ดังกล่าวให้เป็นเสมือนอุดมการณ์ที่สามารถทำให้ชนทุกกลุ่มที่อยู่ในพื้นที่มีความรู้สึกร่วมกันว่าเป็นพวกพ้องเดียวกันจึงเป็นเรื่องจำเป็น
อุดมการณ์ดังกล่าว จะผลักดันให้ชนทุกกลุ่มมีความต้องการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และต้องการมีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่ของตน
นอกจากนี้ การส่งเสริมให้มีการยอมรับความเป็น "คนมลายู" ของชาวไทยเชื้อสายมลายูในพื้นที่ ทั้งที่เป็นการยอมรับในลักษณะที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ
อาทิ การส่งเสริมให้มีการยอมรับการใช้ภาษามลายูถิ่นในพื้นที่ให้มากขึ้น ส่งเสริมเรื่องความเข้าใจในวิถีชีวิตแบบอิสลาม การแสดงการยอมรับดังกล่าว จะเป็นกุญแจสำคัญนำไปสู่บรรยากาศแห่งการการสื่อสารที่ดีระหว่างกันก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน รวมทั้งจะต้องมีการส่งเสริมให้คนในพื้นที่และคนในส่วนอื่นของประเทศไทยมองความแตกต่างทางวัฒนธรรมและสังคมของกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ในลักษณะที่เป็นจุดเด่นมากกว่าจุดด้อย โดยมุ่งไปที่การชี้ให้เห็นว่าความแตกต่างสามารถนำมาซึ่งความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันได้
ด้วยเหตุนี้ แนวคิดนครปัตตานีที่มุ่งหวังให้คนในพื้นที่มีโอกาสใช้วิถีชีวิตตามที่พวกเขาเลือกจึงได้รับการขานรับอย่างกว้างขวาง แม้ว่ารายละเอียดในเรื่องนี้ยังมิได้มีการนำเสนอให้เห็นอย่างเด่นชัดก็ตาม ในความเป็นจริงแนวคิดที่เป็นไปในแนวทางที่คล้ายคลึงกันนี้ได้ถูกนำเสนอมาแล้วในรูปของเขตการบริหารพิเศษ แต่ออกมาในรูปของข้อเสนอแนวทางแก้ปัญหาของสามจังหวัดภาคใต้
ซึ่งในที่นี้ ผมขอนำเอาแนวคิดของคณะอนุกรรมาธิการสามัญ ยกร่างรายงานการศึกษาปัญหาความมั่นคงในจังหวัดภาคใต้ของคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาความมั่นคงในจังหวัดภาคใต้ของวุฒิสภา (ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง) มานำเสนอ
ซึ่งถ้าความจำของผมยังดีคณะกรรมการชุดนี้มี พลตำรวจเอกประทิน สันติประภพเป็นประธาน มี คุณทองใบ ทองเปาด์ เป็นประธานอนุกรรมาธิการสามัญ มีนักวิชาการหลายคนรวมทั้งตัวผมเองและอดีตนายทหารรวมทั้งผู้เชี่ยวชาญรวมอยู่ด้วย
ซึ่งผมพยายามจะนึกถึงชื่อของบุคคลเหล่านี้เพื่อนำมากล่าวถึง แต่ก็ยังนึกไม่ออกมาจนถึงปัจจุบัน
แต่จำได้ว่านักวิชาการที่มีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้มี รศ.ดร.อารง สุทธาศาสน์ รวมอยู่ด้วย ซึ่งเนื้อหาสำคัญแบ่งเป็นประเด็นได้ดังนี้สถานการณ์ทั่วไป
ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้คได้เกิดขึ้นมาเป็นเวลานานแล้ว รัฐบาลทุกชุดและสถาบันต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้พยายามแก้ปัญหานี้มาโดยตลอด โดยการใช้งบประมาณกำลังคนและอุปกรณ์เครื่องมือเป็นจำนวนมากแต่การก่อความรุนแรงก็ยังไม่ทุเลาเบาบาง
กลับตรงกันข้าม ในระยะหลังนี้สถานการณ์ต่างๆ ทวีความรุนแรงเข้มข้นเรื่อยๆ จนกระทั่งก่อให้เกิดความสูญเสียแก่ชีวิตและทรัพย์สิน ทั้งในฝ่ายของรัฐและของประชาชนอย่างมากมายนับค่าไม่ถ้วน ดังที่ประจักษ์ชัดในขณะนี้แล้ว และในปัจจุบันนี้ไม่มีผู้ใดสามารถคาดการณ์อย่างมั่นใจได้ว่าปัญหาดังกล่าวจะทุเลาเบาบางหรือคลี่คลายกลับคืนสู่ภาวะปกติเมื่อใด โดยวิธีอะไร
การที่สถานการณ์ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ทวีความรุนแรงเป็นลำดับ ทั้งๆ ที่ฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ทุ่มเทความพยายามในการแก้ไขปัญหามาโดยตลอดนั้นย่อมแสดงให้เห็นอย่างกระจ่างชัดอย่างน้อยประการหนึ่งว่าวิธีการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่ได้ปฏิบัติตลอดมานั้นใช้ไม่ได้ผล
เมื่อเป็นเช่นนี้ถ้ายังใช้แนวทางการแก้ปัญหารูปเดิมต่อไป นอกจากจะไม่สามารถนำความสงบมาสู่ภูมิภาคนี้แล้ว ปัญหาความรุนแรงอาจจะทวีขึ้นเป็นลำดับ และในที่สุดอาจจะไปถึงขั้นแตกหักดังที่ได้เกิดขึ้นแล้วหลายแห่งในโลก คือการแยกดินแดนหรือการแยกตัวเป็นอิสระ
เมื่อเป็นที่ประจักษ์ชัดว่าแนวทางการแก้ปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ผ่านมาไม่ประสบผล ย่อมมีความจำเป็นอยู่เองที่จะต้องเปลี่ยนแปลงแนวทางการแก้ปัญหาหาให้แตกต่างไปจากเดิม เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าจะสามารถคลี่คลายปัญหาสามจังหวัดภาคใต้ได้อย่างแท้จริงและยั่งยืนถาวร ทางฝ่ายรัฐบาลเองนั้น นอกจากจะได้พยายามเปิดแนวทางใหม่ๆ ในการแก้ไขปัญหาแล้ว ยังได้ส่งเสริมให้ฝ่ายต่างๆ นำเสนอวิธีการแก้ปัญหาที่ดีและได้ผลอย่างกว้างขวางเสมอมา
ด้วยความตระหนักในความสำคัญของปัญหาสามจังหวัดภาคใต้ต่อประชาชนและประเทศชาติโดยรวม คณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาความมั่นคงในจังหวัดภาคใต้วุฒิสภา จึงแต่งตั้ง "คณะอนุกรรมาธิการวิสามัญยกร่างรายงานการศึกษาปัญหาความมั่นคงในจังหวัดภาคใต้" เพื่อทำการศึกษาวิเคราะห์ปัญหาดังกล่าวและนำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาที่จะได้ผลยั่งยืนถาวรต่อรัฐบาลต่อไป
ภายหลังจากที่คณะกรรมาธิการชุดนี้ได้ทำการศึกษาวิจัยปัญหาสามจังหวัดภาคใต้อย่างทั่วถึงและครบถ้วนสมบูรณ์ตามกระบวนขั้นตอนที่เหมาะสมแล้ว คณะกรรมาธิการจึงได้กำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาพร้อมด้วยรายละเอียดที่จำเป็นต่างๆดังต่อไปนี้วัตถุประสงค์
คณะกรรมาธิการจะได้นำเสนอแนวทางการคแก้ปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ตามลำดับหัวข้อดังต่อไปนี้
1. วิเคราะห์ความหมายและขอบเขตอย่างชัดเจนของปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
2. วิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริงที่นำไปสู่ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
3. วิเคราะห์กรอบทางกฎหมายและหลักการที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่เกิดขึ้นในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
4. เสนอแนวทางการแก้ปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ยั่งยืนถาวรบนพื้นฐานของการวิเคราะห์ข้างต้นความหมายและขอบเขตของปัญหามจังหวัดชายแดนภาคใต้อันได้แก่จังหวัดสปัตตานี ยะลา และนราธิวาส เป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทย เช่นเดียวกับส่วนอื่นๆของแผ่นดิน แต่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และมีเชื้อชาติและภาษาเดิมเป็นมลายู อีกทั้งเคยเป็นหน่วยอิสระทางการเมืองของตนเอง ดังนั้น ประชาชนคนไทยในสามจังหวัดภาคใต้จึงมีเอกลักษณ์ 2 ระดับพร้อมๆ กัน นั่นคือ
เอกลักษณ์แห่งชาติซึ่งเป็นเอกลักษณ์แห่งความเป็นไทยเยี่ยงคนไทยโดยทั่วไป และเอกลักษณ์แห่งชาติพันธุ์ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลาม และมีชาติพันธุ์และภาษามลายู
นี่เป็นข้อเท็จจริงพื้นฐานซึ่งไม่อาจที่จะปฏิเสธได้และบนข้อเท็จจริงข้อนี้เป็นที่มาของปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นและจะเป็นพื้นฐานในการกำหนดแนวทางการแก้ปัญหาต่อไป
หมายเหตุ: ตีพิมพ์ครั้งแรกใน มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 9 - 15 เม.ย. 2553

มุมมุสลิม: นครปัตตานีหรือเขตบริหารพิเศษ :ความจริงจากพื้นที่ (2)

by Charanm | Mon, 2010-05-03 06:58
จรัญ มะลูลีม

ความหมายและขอบเขตของปัญหา (ต่อ)
ความชัดเจนในเอกลักษณ์ทั้งสองประการดังกล่าวนี้ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดและความสับสนเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาพอสมควรมีคนเป็นจำนวนมากปรารภว่าชาวมุสลิมในสามจังหวัดภาคใต้ไม่มีความรู้สึกเป็นไทยเท่าที่ควร จึงเกิดความพยายามในฝ่ายของรัฐที่จะส่งเสริมให้ชาวมุสลิมเหล่านี้มีความรู้สึกเป็นไทยแต่เราลืมไปว่า คำว่าไทยในความหมายที่ใช้อยู่ในขณะนี้มีสองความหมายด้วยกัน คือไทยในความหมายของสัญชาติ และไทยในความหมายของเชื้อชาติหรือชาติพันธุ์
ความเป็นไทยในความหมายของเชื้อชาติหรือชาติพันธุ์หมายถึง ความเป็นไทยที่สืบทอดจากบรรพบุรุษ ซึ่งมีต้นกำเนิดจากประเทศจีน มีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชีวิตและดำรงชีวิตมาโดยตลอดบนพื้นฐานของศาสนาพุทธหรือวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นความเป็นไทยในแง่นี้ ชาวมุสลิมในสามหรือสี่จังหวัดภาคใต้จึงได้รับความลำบาก เพราะเขามีชาติพันธุ์เป็นมลายู และมีศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำสังคม
แต่ความเป็นไทยในแง่ของสัญชาติ ชาวมุสลิมในสามจังหวัดภาคใต้รับได้อย่างครบถ้วนบริบูรณ์ เพราะว่าความเป็นไทยในแง่นี้ย่อมหมายถึงผู้ใดหรือกลุ่มใดก็ได้ ที่กอปรขึ้นมาเป็นประเทศเดียวกัน อาณาจักรเดียวกันภายใต้กฎหมาย และลัทธิการเมืองเดียวกัน อีกทั้งมีความผูกพันกับชาติบ้านเมืองที่ตนดำรงร่วมอยู่
ประเทศอื่นๆ หลายประเทศซึ่งประกอบด้วยหลายชาติพันธุ์มิได้มีปัญหาในทำนองนี้หรือไม่ต้องมีความสับสนกับปัญหาทำนองนี้เพราะว่าประเทศเหล่านี้มีชื่อประเทศแยกออกจากชื่อของชาติพันธุ์ เช่น ประเทศมาเลเซียสิงคโปร์ อินโดนีเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์สหรัฐอเมริกา
ยกตัวอย่างประเทศมาเลเซีย ซึ่งประกอบด้วยชาวมลายู ชาวจีน ชาวอินเดีย ทุกกลุ่มสามารถอ้างความเป็นมาเลเซียนได้หมดอย่างเท่าเทียมกัน แต่สำหรับประเทศไทยเมื่อพูดถึงความเป็นไทย ก็จะต้องมีคำถามต่อไปว่าเป็นไทยในแง่เชื้อชาติหรือในแง่สัญชาติ
เมื่อประชาชนในสามจังหวัดภาคใต้มีเอกลักษณ์ 2 ระดับ ดังกล่าวนี้แล้ว ปัญหาสามจังหวัดภาคใต้จึงแบ่งได้สองลักษณะเช่นเดียวกัน นั่นคือปัญหาทั่วไปและปัญหาชาติพันธุ์
ปัญหาทั่วไปหมายถึงปัญหาซึ่งเกิดขึ้นโดยทั่วไปสำหรับคนไทยทั้งประเทศไม่ว่าเป็นกลุ่มเหล่าใดหรือในภูมิภาคไหน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาระดับชาติหรือระดับท้องถิ่น
ส่วนปัญหาชาติพันธุ์ หมายถึงปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับความเป็นชาติพันธุ์หรือปัญหาที่เกี่ยวข้องกับคนไทยที่นับถือศาสนาอิสลาม และมีชาติพันธุ์มลายู
เมื่อข้อเท็จจริงของประชาชนและปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเช่นนี้แล้ว คำว่าปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ในเอกสารชิ้นนี้หมายถึงปัญหาชาติพันธุ์เท่านั้น และในการวิเคราะห์และนำเสนอวิธีการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้จะจำกัดเฉพาะในความหมายและขอบเขตดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าปัญหาชาติพันธุ์จะมีลักษณะแตกต่างที่เด่นชัดจากปัญหาทั่วไป แต่ก็หาใช่ว่าจะสามารถแยกออกจากกันได้อย่างเด็ดขาด อันที่จริงแล้ว ปัญหาทั้งสองลักษณะนี้มีความเกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อมอยู่หลายด้าน ดังนั้น ในการวิเคราะห์และเสนอแนะต่างๆ อาจจะต้องอ้างอิงและเกี่ยวโยงซึ่งกันและกันตามความจำเป็น แต่ปัญหาที่เราประสงค์จะวิเคราะห์และมุ่งเน้นคือปัญหาชาติพันธุ์
เมื่อเราได้กำหนดขอบข่ายของปัญหาชัดเจนอย่างนี้แล้ว คำถามที่สำคัญเกี่ยวกับปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้คืออะไร คือปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เนื่องจากปัญหาสามจังหวัดภาคใต้เป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับชาติพันธุ์ที่แตกต่างกันในสังคมเดียวกัน ดังนั้นคำตอบที่ถูกต้องที่สุด คือปัญหาสามจังหวัดภาคใต้ คือปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาวไทยมุสลิมและรัฐบาลซึ่งเป็นไทยพุทธ ปัญหาความขัดแย้งอาจจะปรากฏขึ้นตั้งแต่ในระดับอ่อนเป็นการแสดงออกโดยท่าทีและกิริยา วาจา ไปจนถึงในระดับรุนแรงเช่น การปะทะด้วยอาวุธดังที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ เป็นต้น
อนึ่ง การแสดงออกถึงความรุนแรงดังกล่าว ไม่จำเป็นจะต้องเกิดขึ้นกับทุกคนหรือโดยทุกคนในชาติพันธุ์ แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วมักจะส่งผลกระทบหรือมีความหมายทั้งกลุ่มชาติพันธุ์ ตัวอย่างเช่น ถ้าเจ้าหน้าที่ของรัฐคนหนึ่ง รังแกชาวบ้านที่เป็นมุสลิม ในบริบทของกลุ่มชาติพันธุ์ ก็มีการตีความได้โดยง่ายว่ารัฐบาลซึ่งเป็นไทยพุทธรังแกชาวไทยมุสลิม และอาจจะสั่งสมในโครงสร้างของความสัมพันธ์ระหว่างชาติพันธุ์อีกเป็นเวลานานสาเหตุของปัญหารแก้ปัญหาที่ได้ผลยั่งยืนควรจะต้องแก้กที่ต้นเหตุ ไม่ใช่แก้ที่ปลายเหตุหรือที่ผลของปัญหา อันที่จริงแล้ว ปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสามจังหวัดภาคใต้ในขณะนี้นั้น เป็นผลที่มาจากสาเหตุรอบด้านในสังคมซึ่งสะสมขึ้นมาอย่างสลับซับซ้อนและต่อเนื่องเป็นเวลานาน
ดังนั้น ถ้าประสงค์จะแก้ปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดภาคใต้ให้ได้ผลยั่งยืนถาวรจำเป็นจะต้องเน้นการแก้ไขที่สาเหตุ
และนี้คือกรอบของการศึกษาวิเคราะห์และการนำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาสามจังหวัดภาคใต้ของคณะกรรมาธิการชุดนี้คือ
การมุ่งประเด็นที่สาเหตุของปัญหาโดยเชื่อว่าถ้าดำเนินการแก้ไขที่สาเหตุอย่างถูกต้องเหมาะสมแล้ว ปัญหาความขัดแย้งซึ่งกำลังจะรุนแรงขึ้นทุกขณะนั้น จะทุเลาเบาบางและหายไปในที่สุด
ต่อไปนี้จะได้นำเสนอการวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ อันเป็นสาเหตุของปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ดังกล่าวสาเหตุของปัญหาเกิดจากสองฝ่ายที่ปฏิบัติกันมาผิดๆ มาโดยตลอดเกี่ยวกับการแก้ปัญหาชาติพันธุ์ หรือชาวไทยมุสลิมสิ่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้คือความพยายามในการมองว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ นั้น มาจากชาวไทยมุสลิมเท่านั้นเช่น การขาดความสำนึกในความเป็นไทย การกระด้างกระเดื่อง การฝักใฝ่ต่างประเทศ การใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือ การมองปัญหาแบบนี้นอกจากไม่ถูกต้องด้วยหลักวิชาการแล้ว ยังไม่เป็นธรรมต่อชาวไทยมุสลิมอีกด้วย
อันที่จริงแล้ว สาเหตุส่วนหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ นั้น อาจจะมาจากทางฝ่ายของรัฐและประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศด้วยซึ่งจะต้องตั้งคำถาม เช่น
มีนโยบายที่ถูกต้องหรือไม่เกี่ยวกับชาวไทยมุสลิม เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการอะไรที่เป็นการกดขี่ข่มเหงหรือไม่ คนไทยโดยทั่วไปแสดงออกถึงการดูถูกเหยียดหยามหรือปฏิบัติการลำเอียงอย่างใดหรือไม่ โครงสร้างของรัฐมีลักษณะกีดกันเพื่อมิให้ชาวไทยมุสลิมมีส่วนร่วมในทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม หรือการศึกษาหรือไม่
ตราบใดที่สิ่งเหล่านี้ยังมีอยู่ การแก้ปัญหาสามจังหวัดภาคใต้คงไม่มีทางที่จะหมดไปหรือคลี่คลายลงได้
สรุปแล้วในการวิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุของปัญหานั้น จะต้องกระทำจากทั้งสองทางคือ ทางฝ่ายของชาวไทยมุสลิมและทางฝ่ายของรัฐและประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ และวิธีการแก้ไขก็ต้องปฏิบัติการทั้งสองฝ่ายเช่นเดียวกันการไม่ยอมรับในความแตกต่างของเอกลักษณ์าเหตุพื้นฐานที่สุดที่นำไปสู่ความขัดแย้งสคือการไม่ยอมรับในความแตกต่างในเอกลักษณ์ทางศาสนาวัฒนธรรมระหว่างไทยพุทธและไทยมุสลิม
เราจะต้องยอมรับข้อเท็จจริงประการหนึ่งว่าชาวไทยมุสลิมและชาวไทยพุทธนั้นมีความแตกต่างในด้านศาสนา ประเพณีวัฒนธรรม และในเรื่องทางสังคมหลายประการ
ความแตกต่างดังกล่าวนี้ ทำให้ไทยมุสลิมมีความคิดและวิถีชีวิตที่แตกต่างกันจากไทยพุทธอย่างมีนัยสำคัญ ความแตกต่างในบางเรื่องมีลักษณะตรงกันข้ามอย่างเห็นได้ชัดตัวอย่างเช่น ในเรื่องการแต่งกาย อาหารการกินการครองเรือน การยึดเหนี่ยวและพิธีกรรมของชีวิตในด้านต่างๆ
จริงอยู่ ความแตกต่างบางอย่างสามารถที่จะปรับเปลี่ยนเข้าหากันได้ แต่ความแตกต่างหลายอย่างพาดพิงกับบริบททางศาสนาซึ่งไม่สามารถที่จะปรับเปลี่ยนได้ โดยเฉพาะในฝ่ายของศาสนาอิสลาม การปรับเปลี่ยนที่เกี่ยวกับคำสอนในเรื่องพื้นฐาน (อะกีดะฮ์) ของศาสนาถึงแม้จะเป็นเพียงน้อยนิดจะกระทำมิได้ นอกจากจะอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ศาสนาได้อนุญาตให้มีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเทศะเท่านั้น
หมายเหตุ: ตีพิมพ์ครั้งแรกใน มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 16 - 22 เม.ย. 2553

นครปัตตานีหรือเขตบริหารพิเศษ :ความจริงจากพื้นที่ (3)

by Charanm | Sat, 2010-05-08 16:14
จรัญ มะลูลีม
ดังนั้น สังคมไทยจำเป็นจะต้องคงไว้และยอมรับโดยดุษฎีในความแตกต่างดังกล่าวและจะต้องไม่พยายามที่จะทำการใดๆเพื่อขจัดความแตกต่างเหล่านี้ มิฉะนั้น แล้วจะนำไปสู่ปัญหาต่างๆ มากมายโดยไม่จำเป็น
อันที่จริงในอดีตที่ผ่านมาเคยมีผู้นำประเทศหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทยพยายามที่จะขจัดความแตกต่างในเรื่องศาสนาวัฒนธรรม โดยใช้นโยบายผสมกลมกลืน หรือการผสมผสานทางวัฒนธรรมโดยเข้าใจว่าเมื่อขจัดความแตกต่างออกไปแล้วปัญหาความขัดแย้งก็จะหมดไปหรือจะเบาบางลงแต่มันกลับมีผลในทางตรงกันข้าม คือ การต่อต้านจากประชาชน ดังนั้น จึงไม่มีที่ไหนกระทำได้สำเร็จ
ในที่สุดจะต้องมีการยึดถือโดยทั่วไปว่าในประเทศใดที่มีความแตกต่างทางศาสนาวัฒนธรรมนั้น จำเป็นต้องคงไว้ซึ่งความแตกต่างดังกล่าว แนวทางดังกล่าวนี้เรียกกันโดยทั่วไปว่า "พหุนิยม" ซึ่งเป็นแนวทางที่ประเทศต่างๆ ยึดถือในขณะนี้ และเป็นแนวทางเดียวเท่านั้นที่จะแก้ไขปัญหาทำนองนี้ได้สำเร็จ
สำหรับประเทศไทยนั้นคงปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นพหุสังคมหรือสังคมซึ่งประกอบด้วยหลายกลุ่มศาสนาวัฒนธรรม ไม่ใช่เป็นสังคมเดี่ยวประกอบด้วยชาวไทยพุทธล้วนๆ เหมือนกับในยุคต้นๆ และที่จะต้องตระหนักไว้เสมอก็คือคนไทยไม่ว่าจะนับถือศาสนาวัฒนธรรมใดก็ล้วนเป็นคนไทย ตามนัยแห่งกฎหมายอย่างเท่าเทียมกันทุกประการ และคนในสังคมจะต้องยอมรับโดยดุษฎีในเรื่องความหลากหลายดังกล่าว
แต่ถึงกระนั้นก็มีอยู่บ่อยครั้งที่ความแตกต่างทางศาสนาวัฒนธรรมถูกนำไปใช้ในทางลบหรือในทางที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกัน ทั้งในระดับทัศนคติและระดับปฏิบัติ และแน่นอนที่สุด ถ้าสถานการณ์แบบนี้เป็นไปอย่างต่อเนื่องปัญหาความขัดแย้งระหว่างวัฒนธรรมจะต้องเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น
ในความเป็นจริงแล้ว ปัญหาสามจังหวัดภาคใต้ที่รุนแรงถือเป็นวิกฤตในขณะนี้ ก็ล้วนแต่วิวัฒนาการมาจากการใช้ความแตกต่างไปในทางลบทั้งสิ้น ต่อไปนี้จะได้อธิบายขยายความในเรื่องนี้ให้กระจ่างชัดขึ้นอคติและการกีดกันทางสังคม
สังคมใดประกอบด้วยพลเมือง หลายกลุ่มศาสนาวัฒนธรรมดำรงอยู่ด้วยกัน สิ่งที่มักจะเกิดขึ้นก็คือ ความรู้สึกที่เป็นอคติและการแสดงออกซึ่งการกีดกันระหว่างกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีอคติและการกีดกันทางสังคมที่ชนกลุ่มใหญ่กระทำต่อชนกลุ่มน้อย
อคติ คือ ความรู้สึกหรือการแสดงออกในทางดูถูก เหยียดหยาม สบประมาท หรือลบหลู่ดูหมิ่นเนื่องจากมีศาสนาวัฒนธรรมแตกต่างจากพวกตน ส่วนการกีดกันนั้นเป็นการปฏิบัติอย่างลำเอียง การลิดรอน การกลั่นแกล้งหรือแม้กระทั่งการมุ่งร้ายเนื่องจากอคติดังกล่าว
ความรู้สึกอคติและปฏิบัติการลำเอียงหรือกีดกัน เป็นธรรมชาติของการแสดงออกทางวัฒนธรรมซึ่งเรียกว่า "ชาติพันธ์นิยม" ดังนั้นในทุกสังคมจะมีเรื่องอคติและการกีดกันอยู่เสมอไม่มากก็น้อย ในกรณีของสามจังหวัดภาคใต้ชาวมุสลิมจำนวนมากประสบกับอคติและการกีดกันในด้านต่างๆ เนื่องจากการนับถือศาสนาอิสลามหรือการปฏิบัติตามคำสอนในศาสนาอิสลาม อคติและการกีดกันดังกล่าวจะพบมากที่สุดในภาคราชการ ส่วนในภาคเอกชนก็พบกับเหตุการณ์นั้นพอสมควร แต่ก็ไม่ได้มีผลในทางปฏิบัติเท่าไหร่นัก
อันที่จริงการมีอคติและการกีดกันเนื่องจากความแตกต่างในด้านศาสนาวัฒนธรรมอาจจะไม่เกิดขึ้นบ่อยครั้งนัก และมิได้เกิดขึ้นกับทุกคน แต่การรับรู้หรือการเกิดความรู้สึกในหมู่ชาวมุสลิมได้เกิดขึ้นทั่วไป เนื่องจากการแพร่ข่าวในเรื่องนี้มักจะเป็นไปอย่างกว้างและติดค้างในความรู้สึกของผู้คนเป็นเวลานานปฏิบัติการรุนแรงจากรัฐ
ในประเทศที่มีปัญหาชาติพันธุ์ประชาชนมักจะประสบกับปฏิบัติการในทางลบจากใรัฐเสมอ การปฏิบัติการทางลบสูงสุดที่รัฐกระทำต่อชนกลุ่มน้อย คือ การปฏิบัติการด้วยความรุนแรงในระดับต่างๆ นับตั้งแต่การรังแก การกดขี่ข่มเหง การเข่นฆ่า ไปจนถึงการสังหารหมู่โดยการใช้กองกำลังติดอาวุธ ชนกลุ่มน้อยหลายประเทศในโลกนี้ได้ประสบกับชะตากรรมดังกล่าวนี้ ดังที่ทราบกันอยู่แล้ว
โศกนาฏกรรมเหล่านี้ ถึงแม้ว่าจะไม่เกิดขึ้นบ่อยครั้งหรือไม่เกิดในวงกว้าง แต่ผลกระทบต่อสังคมจิตวิทยาในบริบทของความสัมพันธ์ระหว่างศาสนาวัฒนธรรมนั้นเป็นไปอย่างรุนแรง ลึกซึ้งกว้างขวางยาวนาน ในบางครั้งปฏิบัติการบางอย่างได้กลายเป็นตำนานที่เร้าความรู้สึกของผู้ที่เกี่ยวข้องตลอดไป สำหรับในประเทศไทยเราอาจจะหยิบยกกรณีของหะยีสุหลง ซึ่งถูกฆาตกรรมมาเป็นตัวอย่างโดยเรื่องนี้ยังอยู่ในความรู้สึกของประชาชนมาจนถึงทุกวันนี้
สาเหตุสำคัญที่รัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐใช้ปฏิบัติในทางลบ มาจากอคติดังกล่าวเป็นพื้นฐานสำคัญ โดยมีการตั้งข้อกล่าวหา ข้อสงสัยนานาประการ เกี่ยวกับชีวิตและพฤติกรรมของชนกลุ่มน้อยและการแสดงออกและการปฏิบัติการในทางลบของรัฐ มีผลโดยตรงต่อการแสดงออกของชนกลุ่มน้อยคือความไม่พอใจ ความไม่พอใจดังกล่าวได้สั่งสมขึ้นมามากขึ้นทุกขณะจนกลายเป็นความโกรธแค้นซึ่งในที่สุดได้สำแดงออกมาเป็นปฏิกิริยาโต้ตอบในระดับต่างๆ หรือถึงขั้นรุนแรงดังที่เป็นอยู่ขณะนี้
ต่อไปนี้จะได้กล่าวถึงสาเหตุที่ก่อให้เกิดความรุนแรงในสามจังหวัดภาคใต้สาเหตุของการก่อความรุนแรงในสามจังหวัดภาคใต้ศาสนาไม่ใช่สาเหตุ
ก่อนอื่นควรจะได้กล่าวให้ชัดเจนว่าความแตกต่างในด้านเอกลักษณ์ทางศาสนาวัฒนธรรม เป็นพื้นฐานสำคัญซึ่งสามารถนำไปสู่ปัญหาความขัดแย้งระหว่างไทยพุทธและไทยมุสลิมก็จริงอยู่ แต่เนื้อหาสาระและองค์กรต่างๆ ทางศาสนามิได้เป็นสาเหตุแต่ประการใด
เราจะไม่พบคำสอนใดๆ ในทางศาสนาหรือในวัตถุประสงค์ใดๆ ขององค์การทางศาสนาที่ชี้นำให้ใช้ความรุนแรงในการแก้ไขและในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นในประเทศไทยหรือในต่างประเทศไม่เคยปรากฏว่าคำสอนหรือองค์การทางศาสนาจะชี้นำให้มุสลิมไปปฏิบัติการรุนแรงใดๆ
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น มิได้หมายความว่าจะไม่มีบุคคล กลุ่มหรือขบวนการแอบอ้าง ศาสนา หรืออาศัยองค์กรทางศาสนาเพื่อปฏิบัติให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางการเมือง
จริงอยู่ศาสนาอิสลามได้ยินยอมให้มุสลิมจับอาวุธขึ้นต่อสู้ แต่เป็นกรณีจำกัดและจำเป็นสุดขีด นั่นคือเพื่อป้องกันตัวเองและป้องกันศาสนาในกรณีที่ถูกเข่นฆ่าหรือทำลายล้างความไม่พอใจของชาวไทยมุสลิมต่อปฏิบัติการของรัฐการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ของรัฐนับตั้งแต่การแสดงการมีอคติและการกีดกันในรูปต่างๆ จนในที่สุดการปฏิบัติการอย่างรุนแรงที่ไม่สมเหตุสมผลต่อชาวไทยมุสลิมนั้นทำให้ชาวไทยมุสลิมมองว่าเจ้าหน้าที่ไม่มีความยุติธรรม กลั่นแกล้งและกดขี่ข่มเหง ความไม่พอใจดังกล่าวนี้ถูกเก็บกดและสะสมมาเป็นเวลานาน ฝังอยู่อย่างล้ำลึกและขยายเป็นวงกว้างมากขึ้นเป็นลำดับ
ความไม่พอใจดังกล่าวถึงแม้ในระยะแรกๆอาจจะเกิดขึ้นในวงจำกัดแต่ถูกขยายออกไปในวงกว้างมากขึ้นเป็นลำดับโดยกระบวนการต่างๆ เช่น โดยการเล่าปากต่อปาก หรือการนำเสนอของสื่อมวลชนประเภทต่างๆ ทั้งในระดับชาติ และระดับท้องถิ่น
ความไม่พอใจต่อรัฐนี้อาจจะเพิ่มทวีขึ้น ลดลงหรือหมดไปก็ได้ แล้วแต่เงื่อนไขหรือปัจจัยเสริมซึ่งเกิดขึ้นโดยตลอด ในที่สุดแล้วรัฐคือหน่วยงานสำคัญที่สุดในอันที่จะทำให้ความไม่พอใจดังกล่าวเป็นไปในทิศทางใดก็ได้
ที่กล่าวมานี้คือสาเหตุประการสำคัญที่สุดที่นำไปสู่การดิ้นรนต่อสู้ที่กำลังเป็นอยู่ในปัจจุบัน ข้อมูลในเรื่องดังกล่าวนี้ไม่สามารถจะหามาได้ง่ายๆ นัก แต่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นทั้งในที่ลับและในที่แจ้ง สั่งสมมาตั้งแต่ประวัติศาสตร์ และเล่าขานกันมาจนกระทั่งฝังอยู่ในความเชื่อและความรู้สึกของประชาชนส่วนใหญ่ความต้องการของชาวไทยมุสลิม
ในการแก้ปัญหาของชาวไทยมุสลิมในสามจังหวัดภาคใต้ให้ได้ผลยั่งยืนถาวรนั้นในอกจากจะต้องแก้ไขที่สาเหตุแล้ว ควรที่จะต้องให้ตรงตามความต้องการในลักษณะของการดำรงชีวิตของชาวไทยมุสลิมอีกด้วยคำถามที่สำคัญคือ ชาวไทยมุสลิมต้องการดำรงชีวิตอยู่อย่างไรในฐานะที่เป็นคนไทย และนับถือศาสนาอิสลาม คำตอบในเรื่องนี้สามารถระบุได้ดังต่อไปนี้คือ
"ชาวไทยมุสลิมต้องการดำรงชีวิตอยู่ในฐานะที่เป็นคนไทยโดยมีสิทธิและหน้าที่เท่าเทียมกับคนไทยโดยทั่วไปทุกประการ แต่ต้องการดำรงอยู่ในศาสนาอิสลามอย่างมีอิสระเสรีและครบถ้วนบริบูรณ์อย่างมีศักดิ์ศรีและเกียรติยศ ปราศจากอคติ การกีดกัน หรือการคุกคามข่มเหงอันเนื่องมาจากการนับถือศาสนาดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นจากเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือบุคคลทั่วไป"
ว่ากันตามจริงแล้ว ความต้องการดังที่ระบุไว้ข้างต้นนั้นมิได้เป็นเรื่องที่ผิดทำนองคลองธรรม แต่เป็นเรื่องสอดคล้องกับธรรมชาติของมนุษย์ สิทธิมนุษยชน รัฐธรรมนูญของประเทศทศพิธราชธรรมแห่งพระมหากษัตริย์ และหลักวิชาที่ยึดถือกันโดยทั่วไป
ความต้องการดังกล่าวนี้ ถ้าไม่ได้รับการตอบสนองอย่างถูกต้องเหมาะสมจะทำให้ชาวมุสลิมมีความรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม ไม่ได้รับความสนใจหรือเป็นประชาชนชั้นสอง

หมายเหตุ: ตีพิมพ์ครั้งแรกใน มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 23 - 29 เม.ย. 2553


นครปัตตานีหรือเขตบริหารพิเศษ : ความจริงจากพื้นที่ (4)

by Charanm | Sun, 2010-05-16 08:45
จรัญ มะลูลีม
วิธีการแก้ปัญหาสามจังหวัดภาคใต้
ต่อไปนี้จะได้นำเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาสามจังหวัดภาคใต้ โดยอยู่บนพื้นฐานของหลักวิชา ข้อกฎหมาย ข้อเท็จจริง และความต้องการของชาวไทยมุสลิม
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณสามจังหวัดภาคใต้เสริมสร้างความเข้าใจและการยอมรับในลักษณะพหุนิยมของสังคมไทย
ทุกฝ่ายจะต้องยอมรับว่าสังคมไทยในปัจจุบันทุนี้ประกอบด้วยประชาชนที่หลากหลายทางศาสนาวัฒนธรรม แต่ละกลุ่มทางศาสนาวัฒนธรรมต่างก็มีความสำนึกในเอกลักษณ์ของกลุ่มตนและประสงค์ที่จะดำรงตนเองบนเอกลักษณ์ดังกล่าว
อันที่จริงแล้วการยอมรับว่าสังคมไทยประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์หลายกลุ่มนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องใหม่ หรือเป็นเรื่องแปลก พหุสังคมเป็นลักษณะของสังคมสมัยใหม่เกือบทุกสังคมในโลกและเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากว่ากลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในโลกนี้ต่างก็ยืนอยู่ ยึดมั่นและผูกพันกับชาติพันธุ์ของตนเองอย่างไม่เสื่อมคลาย ต่างก็หวงแหนเสียดายในเอกลักษณ์ของตนเองและพยายามปกป้องทุกวิถีทางเพื่อที่จะสืบทอดเอกลักษณ์ดังกล่าว ชั่วลูกชั่วหลาน
เมื่อแต่ละกลุ่มยึดมั่นในเอกลักษณ์ทางชาติพันธุ์อย่างมั่นคง เช่นนี้แล้ว จึงปรากฏเป็นข้อเท็จจริงในประวัติศาสตร์ว่าถ้าประเทศใดไม่ยอมรับในความหลากหลายทางสังคมของคนในชาติมักจะประสบกับปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาติพันธุ์เสมอ แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าประเทศใดยอมรับในความหลากหลายทางสังคม ปัญหาความขัดแย้งทางชาติพันธุ์จะบรรเทาเบาบางและคลี่คลายในที่สุด
ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่ประเทศไทยจะต้องยอมรับให้เกียรติและส่งเสริมความหลากหลายหรือความเป็นพหุนิยมทางสังคม อันเป็นพื้นฐานสำคัญในการแก้ปัญหาทางชาติพันธุ์ที่กำลังเกิดขึ้นในบริเวณสามจังหวัดภาคใต้เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ดังกล่าว รัฐอาจจะต้องดำเนินการในเรื่องต่างๆ อย่างน้อยดังต่อไปนี้
1. จัดการให้มีกระบวนการศึกษา และการขัดเกลาทางสังคมในเรื่องพหุนิยมอย่างกว้างขวางลึกซึ้งและต่อเนื่องในรูปต่างๆ ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ทั้งในระดับล่างและระดับบนทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค และท้ายที่สุดให้มีการอบรมข้าราชการ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐให้มีความเข้าใจและยอมรับในหลักการพหุนิยมโดยดุษฎีกระบวนการขัดเกลาดังกล่าวนี้อาจจะต้องกระทำกันอย่างกว้างขวางและลึกล้ำ นอกจากจะต้องดำเนินการในสถาบันการศึกษา และสถาบันการเมืองการปกครองแล้ว อาจจะต้องใช้สื่อทุกประเภทและปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
2. ให้มีการตรวจสอบด้านกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของราชการว่ายังมีเนื้อหาสาระที่เป็นการบั่นทอน ละเมิด กีดกัน ลำเอียง หรือขัดแย้งกับหลักพหุนิยมหรือไม่อย่างไร ถ้ามีก็ควรจะต้องมีการแก้ไขปรับปรุงให้ถูกต้องเหมาะสมตามกระบวนการขั้นตอนต่อไป ตัวอย่างเช่น การบังคับใช้กฎหมายอิสลามเพื่อให้ครอบคลุมผู้นับถือศาสนาอิสลามในทุกพื้นที่ หรือการยินยอมให้ข้าราชการ หรือพนักงานทั้งในองค์กรของรัฐและเอกชนสามารถแต่งกายตามข้อบังคับทางศาสนาได้อย่างกว้างขวางในขณะปฏิบัติงานเหล่านี้เป็นต้น
3. ให้มีการขจัดอคติและการกีดกันทางสังคมที่เกิดขึ้น เนื่องจากความแตกต่างในเอกลักษณ์ทางชาติพันธุ์และศาสนาทั้งในภาครัฐและเอกชนโดยการกำหนดมาตรการทางกฎหมายอย่างเป็นรูปธรรมและชัดเจน และมีบทกำหนดโทษอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม
4. ให้รักษาความเสมอภาคในเรื่องของการใช้เอกลักษณ์หรือสัญลักษณ์หรือความสำคัญทางศาสนาในสังคม เช่น พิธีกรรมของรัฐ วันสำคัญทางศาสนา สัญลักษณ์ของชาติหรือสถาบันเหล่านี้เป็นต้น
ควรมีการจัดตั้งสำนักงานศาสนาอิสลามแห่งชาติให้เป็นหน่วยงานของรัฐเทียบเท่ากรม เพื่อบริหารงานเกี่ยวกับกิจการศาสนาอิสลามอย่างทั่วถึงและครบวงจร
ศาสนาอิสลามมีกิจกรรมทั้งทางโลกและทางธรรมรอบด้าน ซึ่งจำเป็นจะต้องได้รับการกำกับดูแลจากรัฐ เช่น เรื่องเกี่ยวกับพิธีฮัจญ์ ศาสนสมบัติภาษีศาสนา อาหารและผลิตภัณฑ์ฮาราล ทะเบียนเอกสารเกี่ยวกับศาสนาเหล่านี้ เป็นต้น
ปัจจุบันนี้มีฝ่ายศาสนาอิสลามอยู่ในกรมการศาสนาก็จริงอยู่ แต่เป็นหน่วยงานที่เล็กเกินไปไม่เพียงพอในการที่จะกำกับดูแลกิจกรรมของศาสนาอิสลามให้ราบรื่นเรียบร้อย อีกทั้งยังมีกิจการอีกหลายด้านเกี่ยวกับศาสนาอิสลามที่ยังไม่ได้รับการกำกับดูแลจากฝ่ายของรัฐ หรือกระทำอย่างไม่ทั่วถึงเช่น เรื่องศาสนสมบัติ ทะเบียนเอกสารเกี่ยวกับครอบครัวมรดก ทะเบียนสมรสและการหย่าร้างเป็นต้น
รัฐพึงส่งเสริมให้มุสลิมสามารถดำรงตนในศาสนาอิสลามอย่างครบถ้วนบริบูรณ์โดยการออกกฎหมาย จัดตั้งองค์กร จัดหาบุคลากร ตลอดจนงบประมาณที่จำเป็น อย่างน้อยที่สุดในเรื่องดังต่อไปนี้
1. ศาลชะรีอะฮ์หรือศาล หรือกระบวนการพิจารณาคดีเกี่ยวกับครอบครัวและมรดก ตามหลักกฎหมายอิสลาม โดยให้มีเขตอำนาจครอบคลุมได้ทุกพื้นที่ อีกทั้งยังมีผลบังคับใช้ได้ทั่วไปทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่ และทั้งในศาลและนอกศาล
2. ธนาคารอิสลาม รัฐอาจจะดำเนินการเองหรือส่งเสริมเอกชนจัดตั้งธนาคาร สหกรณ์ หรือระบบการเงินที่สอดคล้องกับหลักการเงินในศาสนาอิสลามอย่างทั่วถึงและครอบคลุม
3. สถานที่ละหมาดในองค์กรของรัฐ ให้หน่วยงานของรัฐสำรองพื้นที่หนึ่งแห่งเพื่ออำนวยความสะดวกให้เจ้าหน้าที่หรือผู้มาติดต่อที่เป็นมุสลิมได้ประกอบพิธีละหมาดเมื่อถึงกำหนดเวลา
4. สถาบันการศึกษาศาสนาอิสลาม การศึกษาศาสนาเป็นภาคบังคับสำหรับมุสลิม มุสลิมทุกคนมักจะศึกษาเรื่องของศาสนาอิสลามตลอดชีวิตนับตั้งแต่เยาว์วัย ดังนั้น จำเป็นที่สังคมจะต้องจัดการศึกษาในรูปแบบและระดับชั้นต่างๆ เพื่อสนองความต้องการในทางศาสนาดังกล่าว
ในด้านของรูปแบบนั้น อาจจะส่งเสริมสถาบันการศึกษาของเอกชน หรือโรงเรียนพิเศษของชุมชนหรืออาจจะบรรจุเป็นหลักสูตรพิเศษในสถาบันศึกษาของรัฐก็ได้
ส่วนในด้านของระดับชั้นนั้นประกอบด้วยระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง ซึ่งอาจจะบรรจุแทรกอยู่ในหลักสูตรทางการศึกษาของชาติ ซึ่งมีระดับชั้นอย่างครบถ้วนสมบูรณ์อยู่แล้วส่งเสริมให้มีพรรคการเมืองมุสลิมประชาธิปไตย
พรรคการเมืองเป็นที่รวมของบุคคลที่มีอุดมพการณ์หรือความเชื่อทำนองเดียวกันเพื่อที่จะดำเนินงานทางการเมือง เพื่อประโยชน์ของกลุ่มตนและประเทศชาติโดยรวม
ดังนั้น ในประเทศต่างๆ จำนวนมากได้มีพรรคการเมืองของชนกลุ่มน้อย หรือกลุ่มชาติพันธุ์หรือกลุ่มอาชีพ เช่น พรรคคริสเตียนเดโมแครตพรรคของชาวจีน พรรคกรรมกร หรือพรรคคอมมิวนิสต์ เป็นต้น
พรรคดังกล่าวนี้เป็นช่องทางในการต่อสู้ในทางการเมืองอย่างถูกต้องชอบธรรม โดยไม่ต้องไปก่อตั้งขบวนการใต้ดินหรือสมาคมลับอะไรอีก
มุสลิมในประเทศไทย มีความต้องการ มีปัญหาและมีแนวคิดในทางการเมือง และต้องการที่จะมีส่วนร่วมในทางการเมืองบนเอกลักษณ์ของตนเอง
ดังนั้น จึงน่าที่รัฐจะส่งเสริมให้มีการจัดตั้งพรรคการเมืองมุสลิมประชาธิปไตยเพื่อดำเนินงานทางการเมืองเหมือนกับพรรคอื่นๆ โดยทั่วไป
กำหนดสามจังหวัดภาคใต้เป็นเขตปกครองพิเศษ
เนื่องจากสามจังหวัดภาคใต้มีปัญหาเฉพาะที่ไม่เหมือนกับปัญหาโดยทั่วไป นั่นคือปัญหาความขัดแย้งทางเอกลักษณ์อย่างรุนแรง
ดังนั้น ในการแก้ปัญหาจำเป็นจะต้องใช้วิธีการกระบวนการหรือพระราชบัญญัติพิเศษ ที่แตกต่างจากที่อื่นบ้าง
ซึ่งนั่นคือการจัดตั้งให้เป็นเขตปกครองพิเศษดังรายละเอียดในตอนต่อไป
หมายเหตุ: ตีพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกที่ มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 30 เม.ย. - 6 พ.ค. 2553

นครปัตตานีหรือเขตบริหารพิเศษ :ความจริงจากพื้นที่ (5)

by Charanm | Sun, 2010-05-23 13:08
จรัญ มะลูลีม

จัดสามจังหวัดภาคใต้ให้เป็นเขตปกครองพิเศษ คำจำกัดความเขตปกครองพิเศษหมายถึง การจัดให้เขตใดเขตหนึ่งของประเทศเป็นเขตที่ใช้นโยบายและระเบียบบริหารราชการแผ่นดินแตกต่างจากเขตอื่นๆ ของประเทศ โดยยินยอมให้ประชาชนในเขตดังกล่าวเป็นหน่วยหลักในการกำหนดนโยบาย และระเบียบการบริหารในส่วนที่เกี่ยวข้องกับปัญหาภายในของเขตโดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญ เขตปกครองพิเศษตามความหมายที่กล่าวนี้ให้ใช้ภาษาอังกฤษว่า Special Administrative Region
ในกรณีนี้เขตปกครองพิเศษ หมายถึง สามจังหวัดชายแดนภาคใต้อันประกอบด้วยจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาสวัตถุประสงค์วัตถุประสงค์สำคัญของการจัดให้ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส เป็นเขตปกครองพิเศษก็เพื่อให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล โดยให้ประชาชนในเขตพื้นที่ดังกล่าวเป็นส่วนสำคัญในการกำหนดนโยบายและระเบียบการบริหารเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่
และรักษาผลประโยชน์ของชนส่วนน้อยอย่างแท้จริงหลักการและเหตุผลสามจังหวัดชายแดนภาคใต้อันประกอบด้วยปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ซึ่งมีประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม เชื้อชาติมลายูและใช้ภาษามลายูปัตตานีในการสื่อสาร ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากประชาชนคนไทยโดยทั่วไป ซึ่งมีเชื้อชาติไทยและนับถือศาสนาพุทธ ความแตกต่างในเอกลักษณ์ดังกล่าวนี้เป็นเหตุให้มีความแตกต่างในเรื่องปัญหาและความต้องการทางสังคมอย่างละเอียดอ่อน และสลับซับซ้อนพอสมควร
เมื่อเป็นเช่นนี้ถ้าใช้นโยบายและระเบียบการบริหารที่เหมือนกับส่วนอื่นๆของประเทศ ถึงแม้จะตรงตามความต้องการและสามารถจะแก้ไขปัญหาของคนไทยโดยทั่วไป แต่อาจจะไม่เป็นผลหรือเกิดผลตรงกันข้ามกับประชาชนชาวมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
การใช้นโยบายและระเบียบบริหารที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงประกอบกับความเข้าใจไม่กระจ่างชัดในเอกลักษณ์ของชาวไทยมุสลิมดังกล่าวนี้นับเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ปัญหาความไม่สงบนั้นนับวันจะทวีความรุนแรงและจะขยายผลไปสู่นอกประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ อันจะนำไปสู่การเข้ามาแทรกแซงจากบุคคลหรือองค์การภายนอกมากขึ้นเป็นลำดับ
เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วการรีบจัดให้สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเขตปกครองพิเศษตามกรอบความหมายที่กล่าวข้างต้น นอกจากจะก่อให้เกิดธรรมาภิบาลที่ได้ผลแล้วยังเป็นการสกัดกั้นมิให้บุคคลภายนอกหรือขบวนการต่างๆ ไม่ต้องคิดการในเรื่องทำนองนี้อีก เพราะว่ารัฐบาลได้จัดตั้งให้แล้ว
อันที่จริงแล้ว การจัดให้สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเขตปกครองพิเศษมิใช่เป็นเรื่องใหม่หรือขาดความชอบธรรมทางกฎหมาย
ในปี พ.ศ.2359 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ได้จัดระเบียบการปกครองชายแดนภาคใต้เป็น 7 หัวเมือง คือ เมืองปัตตานี เมืองหนองจิก เมืองยะหริ่ง เมืองสายบุรี เมืองระแงะเมืองยะลา และเมืองรามันท์ แต่ละเมืองมีเจ้าเมืองรับผิดชอบดูแล และทั้งหมดนั้นขึ้นตรงต่อเมืองสงขลา ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้จัดระเบียบการปกครองเสียใหม่ โดยผนวกหัวเมืองทั้งเจ็ด เป็นมณฑลปัตตานี โดยแบ่งออกเป็น 4 เมือง คือเมืองปัตตานีเมืองสายบุรี เมืองบางนารา และเมืองยะลา
ครั้นในสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยุบเลิกมณฑลปัตตานี และให้เป็นสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ดังที่เป็นอยู่ในขณะนี้
ส่วนในด้านความชอบธรรมทางด้านกฎหมาย เราจะพบว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมีหลายมาตราที่ชี้นำให้มีการปกครอง เพื่อให้สอดคล้องกับปัญหา ประเพณีวัฒนธรรมและความต้องการของประชาชนในส่วนภูมิภาค
ส่วนรูปแบบในการบริหารราชการในเขตปกครองพิเศษแห่งนี้นั้นจะต้องมีการแต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาและดำเนินการยกร่างรายละเอียด เพื่อเสนอให้รัฐสภาเห็นชอบต่อไป คณะกรรมการชุดนี้จะต้องประกอบด้วยบุคคลหลายฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนในพื้นที่ทั้งที่เป็นชาวไทยมุสลิมและชาวไทยพุทธตามอัตราส่วนของจำนวนประชากร
ที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น เป็นแนวทางการแก้ปัญหาความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเน้นที่พื้นฐานทางสังคมและจิตวิทยาอย่างรอบด้านและครบวงจร
ข้อเขียนทั้งหมดนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ความต้องการของชาวไทยมุสลิม ตัวบทกฎหมาย หลักการประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน และหลักวิชาที่เกี่ยวข้องกับปัญหาทางชาติพันธุ์
อย่างไรก็ดี ในทางปฏิบัติ อาจจะไม่สามารถกระทำได้ทั้งหมดในเวลาเดียวกัน อาจจะทยอยกันปฏิบัติตามลำดับความสำคัญหรือข้อจำกัดต่างๆ ที่มีอยู่เห็นด้วยและเห็นต่างของปัญญาชนมุสลิมและผู้คุ้นเคยกับพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้เนื่องด้วยในวันที่ 30 มกราคม 2553 ที่ผ่านมากองบรรณาธิการข่าวหนังสือพิมพ์ "ทางนำ" ซึ่งผมเป็นบรรณาธิการอำนวยการมาหลายปี ได้จัดเสวนาโต๊ะกลมขึ้นร่วมกับสภาองค์กรมุสลิม และมูลนิธิเพื่อศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทย ในหัวข้อเรื่อง "หลักคิดนครปัตตานีกับ พ.ร.บ. ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้"
โดยมีวิทยากรหลักคือ ศ.พลโท ดร.สมชาย วิรุฬหผล ส.ว. วรวิทย์ บารู ส.ส. เจะอามิง โตะตาหยง รศ.ดร.อารง สุทธาศาสน์ ดร.ไพฑูรย์ บุญวัฒน์อาจารย์การุณ กูใหญ่ รศ.ดร.ปกรณ์ ปรียากร อาจารย์ชีวินทร์ ฉายาชวลิตอาจารย์ณรงค์ ดูดิง อิมามอาหะหมัด ขามเทศทอง อาจารย์นิติ ฮาซัน และอาจารย์ศราวุธ ศรีวรรณยศ ร่วมกันเสนอความคิดเห็น ณ มูลนิธิเพื่อศูนย์กลางแห่งประเทศไทย คลองตัน กทม.
ซึ่งมีเนื้อหาสำคัญสรุปได้ดังดังนี้อ.ศราวุธ ศรีวรรณยศ มีความเห็นว่า แนวคิดของเรื่องปัตตานีมหานครในส่วนที่เราเปิดให้มีการเสวนาในครั้งนี้เป็นการระดมความคิดในการแก้ปัญหาสังคมมุสลิม ต้องขอขอบคุณหนังสือพิมพ์ทางนำที่จะนำความคิดนี้ไปเสนอสู่สาธารณชนต่อไป และในส่วนของสภาองค์กรก็จะรับไปสังเคราะห์ข้อคิดทั้งหมดเพื่อให้เป็นรูปธรรมเพื่อที่จะนำเสนอในอีกด้านหนึ่งเพื่อสนับสนุนประชาชนมุสลิมเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารกิจการอิสลามก็ดีหรือเกี่ยวข้องกับปัญหาในเรื่องของความสงบสุขของประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้
อ.การุณ กูใหญ่ กล่าวว่า การเปิดประเด็นเรื่องของนครปัตตานี หรือกรณีของพรรคประชาธิปัตย์ หรือรัฐบาลเสนอเรื่อง ศอ.บต. ยุคใหม่ มันก็ทำให้เป็นประเด็น ในวงวิชาการในที่ต่างๆ เขาก็มีการพูดมาโดยตลอด แม้แต่สื่อมวลชนต่างๆ เขาก็มีการจัดเสวนากัน จำได้ว่าเมื่อเดือนที่แล้ว สมาคมนักข่าวหนังสือพิมพ์ก็มีการพูดกันในเรื่องนี้แล้วบรรดาสื่อมวลชนก็ออกมาเผยแพร่ความคิดอะไรต่างๆ ก็คงมีประเด็นหลักอยู่ 2 ประเด็น อันที่ 1 คือในเรื่องของนครปัตตานี เรื่องที่ 2 คือเรื่อง พ.ร.บ. ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
คือเดี๋ยวนี้พอบอกนครปัตตานี คนก็จะนึกถึง ศ.ดร.สมชาย วิรุฬหผลดูจะเป็นเจ้าของเรื่องอยู่ตอนช่วงนี้ เวลาออกไปพูดในที่ต่างๆ พอพูดถึง พ.ร.บ.แน่นอนครับคนจะนึกถึงพรรคประชาธิปัตย์ วันนี้ก็มี ส.ส.เจ๊ะอามิง มานั่งอยู่เพราะฉะนั้น เราก็จะมีคนที่เป็นเจ้าของเรื่องกันอยู่
คนที่กลางๆ นี่ในเรื่องการเมืองก็คือ ส.ว.วรวิทย์ บารูที่เป็นกลางจริงๆ ที่เป็นนักวิชาการก็มี ดร.อารง สุทธาศาสน์ นักวิชาการที่สามารถจะสะท้อนมุมมองต่างๆ ได้ ก็มี อ.ชีวินทร์ ฉายาชวลิต มาร่วมอยู่ด้วย
ภาคประชาสังคมมี อิมามอาหะหมัด ขามเทศทอง, อาจารย์นิติ ฮาซัน,คุณณรงค์ ดูดิง อดีต ส.ส.ยะลา ก็มาด้วย เพราะฉะนั้น เขาศึกษากันมาอย่างกว้างขวาง แต่เท่าที่ดูในปัจจุบัน มันกลายเป็นปัญหาทางการเมืองไปและเป็นการต่อสู้กันในเชิงอำนาจรัฐ
เราปฏิเสธไม่ได้ว่ามีขบวนการในการต่อสู้กับอำนาจรัฐมันถึงทำให้มีทหารลงไปตั้งหกหมื่นกว่านาย ต้องให้งบประมาณลงไปหลายล้านตั้งแต่ปี 47 ถึงปัจจุบัน พลเอกชวลิต ไปพูดที่ปัตตานี เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2552 เลยทำให้มันบูมขึ้นมาในเรื่องนี้ ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ดีของการแก้ปัญหานี้ว่าจะทำยังไงให้เป็นเอกภาพในแง่ของการแก้oปัญหาภาคใต้--จบ--

หมายเหตุ: ตีพิมพ์ครั้งแรกที่ มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 7 - 13 พ.ค. 2553

นครปัตตานีหรือเขตบริหารพิเศษ :ความจริงจากพื้นที่ (6)

by Charanm | Tue, 2010-06-01 15:30
จรัญ มะลูลีม


เห็นด้วยและเห็นต่างของปัญญาชนมุสลิมและผู้คุ้นเคยกับพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ (ต่อ)ศ.ดร.สมชาย วิรุฬหผล กล่าวว่า ถ้ามันเป็นประเด็นทางการเมือง แล้วเราก็รู้ว่าปัญหาของภาคใต้นี่มันมีความสลับซับซ้อนกันมาอย่างต่อเนื่อง แล้วมันก็มีองค์ประกอบไม่ว่าจะเป็นเรื่องของประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมเชิงศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี แล้วก็ยังมีเรื่องอื่นๆ สอดแทรก รวมทั้งการไม่ได้รับความเป็นธรรม ซึ่งก็กลายเป็นประเด็นสำคัญที่เกิดขึ้น

เพราะฉะนั้น ข้อเสนอของพลเอกชวลิต ที่เสนอนี่ จริงๆ ก็ถูกนำไปบิดเบือนพอสมควร ไปเติมคำว่านครรัฐปัตตานีบ้าง ซึ่งความหมายมันต่างไปเลย เพราะการเป็นนครรัฐมันเป็นเขตปกครองอิสระไม่ได้ขึ้นต่อรัฐบาลกลาง และไม่ได้อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งมันไม่ใช่รูปแบบที่จะยอมรับได้

เราพูดถึงการปกครองระบอบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ไม่ว่าจะปี 2540 หรือ 2550 ต่างก็มีมาตรการและนโยบายต่างๆ สนับสนุนให้มีการกระจายอำนาจ

การกระจายอำนาจนี่เป็นการส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตย แต่การกระจายอำนาจที่เป็นมานี่มันถูกบิดเบือน เพราะมันถูกจำกัดเลยให้เป็นรูปของ อบต. กับ อบจ. ซึ่งจากประสบการณ์ของผมในฐานะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน บอกได้เลยในเรื่องทุจริต ว่าเกิดจากการที่ไม่มีองค์ความรู้พอในการบริหารจัดการ ไม่มีบุคลากรที่มีความสามารถเพียงพอในการบริหารจัดการ

ความจริงเราก็มีรูปแบบอื่น คือ เทศบาลเรื่อง กทม. เองตอนนี้ก็มีปัญหาว่า มันใหญ่เกินไปรึเปล่า กำลังจะซอยย่อย แล้วผมถามว่า อบต. กับ อบจ. มันเล็กเกินไปรึเปล่าเพราะมันไม่สามารถระดมคนที่มีความรู้ความสามารถมาทำงานได้ อย่างเก่ง พอเข้าไปก็แค่ปลัด อบจ. แล้วจะเอาใคร ที่ไหนมา

แต่อย่าง กทม. เขาเริ่มและไต่เต้าไปจนเป็นผอ.เขต เป็นผู้ช่วยปลัด รองปลัด เขามีขั้นตอนซึ่งสามารถระดมคนได้

ในอีกมุมมองหนึ่ง การแบ่งเขตอย่างเรื่องนครปัตตานีมันก็เป็นรูปแบบของการปกครองท้องถิ่นอันหนึ่งซึ่งมีลักษณะพิเศษเหมือนกับกทม. ไม่ได้มีการแบ่งแยกอะไรเลย แต่ว่ารูปแบบไม่เหมือนเลยทีเดียว เพราะมันต้องสอดรับกับขนบธรรมเนียม ประเพณีของคนในท้องถิ่น

หากมีการจัดรูปแบบ นครปัตตานี ซึ่งผมมีการวางแผน และเตรียมการกันพอสมควรแล้วก็มีคณะทำงานเป็นรูปธรรม มันก็มีขนาดประชากรประมาณ 2 ล้านคนน่าจะเหมาะสมเพราะสามารถระดมคนมาบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทีนี้ต่อรูปแบบอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นทบวงหรือการปรับกฎหมายเรื่อง ศอ.บต. ให้มีอำนาจมากขึ้น ในทรรศนะของผมยังมองว่าเป็นการรวมศูนย์อำนาจ ไม่ใช่การกระจายอำนาจเป็นการกระจุกอำนาจ

อย่างเรื่องทบวงนี่ เขาก็อ้างว่ามีการวิจัย ผมก็ถามว่า คุณวิจัยนี่มีสมมุติฐานอะไร แล้วคุณมาบอกว่าการทำทบวงนี่เหมาะสม มีตัวอะไรเทียบเคียง รัฐมนตรีทบวงนี้นี่ต้องเป็นมุสลิมรึเปล่า ทางกฎหมายนี่คุณเขียนบังคับไม่ได้เลยแล้วก็ไม่มีหลักประกันด้วย อย่างธนาคารอิสลามตอนนี้ทั้งประธานและผู้บริหารก็ไม่ใช่มุสลิมเหมือนในเรื่ององค์กรต่างๆ

พ.ร.บ.ฮาราลก็เหมือนกันที่จะมีเลขาธิการซึ่งเราไม่สามารถกำหนดได้ว่า ต้องเป็นมุสลิม

ผมมองว่า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ พ.ร.บ. ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ศอ.บต. รูปแบบใหม่ หรือทบวงไม่ใช่เป็นการกระจายอำนาจ แต่เป็นการรวมศูนย์อำนาจ แล้วทุกวันนี้ ที่ประเทศไทยไม่สามารถบริหารจัดการได้ดี เพราะเป็นการกระจุกตัวของอำนาจศูนย์กลางของอำนาจนี่อยู่ที่กรุงเทพฯ

ดังนั้น ถ้ามองเรื่องอำนาจอาจไม่ชัดเจน มองเรื่องเศรษฐกิจครับ 50% ของ GDP อยู่ที่ กทม.ที่เหลือนี่แบ่งเศษกันไปทั้งนั้น มันเหลือเท่าไร

เพราะฉะนั้น การกระจายอำนาจจะสร้างให้มันมีการถ่วงดุล มีการปรับตัว ให้ไปเข้ากับขนบธรรมเนียมประเพณีของคนท้องถิ่น แล้วมีหลักคิด การพัฒนาที่เหมาะสมกับคนพื้นที่

อย่างภาคใต้สภาพัฒน์คิดไปเลยว่าจะเอาเชาธ์เทิร์นซีบอร์ดไปลง ถามว่ามันสอดรับกับวิถีชีวิตของคนใต้รึเปล่า แล้วจะมีปัญหาเหมือนมาบตาพุดรึเปล่า?

ยากจะเรียนว่า ที่เราเสนอแบบนี้นี่ เราศึกษามาพอสมควร มีคณะทำงาน แต่เราจะสะท้อนความรู้สึกของคนพื้นที่โดยเฉพาะกลุ่มประชาสังคมด้วย ในการที่เขาเสนอข้อมูลต่างๆ เพราะขั้นตอนในการดำเนินงานนี้ใครจะบอกให้เอาพิมพ์เขียวมาดู เอารายละเอียดมาดู แล้วบางคนออกพ.ร.บ. มาแล้วนี่ ผมคิดว่ามันเร็วเกินไป

จริงๆ แล้ว มันต้องดูการตอบสนองของคนในพื้นที่

เวลานี้เราอาจจะร่างกรอบของ พ.ร.บ. ไว้ก่อน เขตปกครองพิเศษมหานครปัตตานี ยกตัวอย่างแบบนี้อาจจะประกอบด้วยคำปรารภมีหลักการและเหตุผล มีคำจำกัดความ แล้วหมวดที่ 1 นี่ว่าด้วยการจัดระเบียบบริหารจัดการนครปัตตานี หมวดที่ 2 ว่าด้วยการบริหารนครปัตตานีสภามหานคร การบริหารนครปัตตานี นครยะลา นครนราธิวาส และนครสตูลและเขตพิเศษ เพราะเราจะรวมสี่จังหวัดกับอีกสี่อำเภอคือ จะนะ, เทพา, สะบ้าย้อย,นาทวี เข้ามาอยู่ในปริมณฑลของนครปัตตานีมีหมวดต่างๆ มีหมวด 4 หมวด 5 ว่าด้วยการจัดระเบียบทั้งหลาย

เรามีความพร้อมจากมหานครนี่มันก็จะแบ่งเป็นนคร ก็มีนครปัตตานี, นครยะลา, นครนราธิวาส, นครสตูล และก็เขตพิเศษคือ 4 อำเภอ

แล้วสิ่งที่อาจจะแตกต่างจาก กทม. ก็คือนอกจากสภาแล้ว จะมีสภาผู้รู้ทางศาสนา ซึ่งตามหลักอิสลามนี่ เราเรียก สภาอุละมาอ์ อันนี้เป็นกรอบ

เรื่องรายละเอียดของ พ.ร.บ. ก็ต้องเอามาสะท้อนจากความเห็นของประชาชนก่อนแล้วเอามาร้อยเรียงเอามาเขียน ไม่ใช่เรื่องยาก คณะทำงานเรามีสถาปนิก เรามีวิศวกร เวลานี้ก็มีการออกแบบคร่าวๆ ด้วยซ้ำว่า ในทางภูมิสถาปัตย์ควรจะเป็นรูปแบบอย่างไร ไม่ใช่ว่าฝันแล้วเอามาพูดกัน

ในบริบทที่เรียนถึงนี่คือสภาผู้รู้ทางศาสนาจะมีโยงใย ไม่ใช่มีแค่มหานคร แต่ระดับนครก็มี ระดับเขตก็มี แล้วแต่ละสภาที่ทำหน้าที่ต่างกันจะมีการเชื่อมโยงกัน คือจะมีตัวแทนจากเขตขึ้นไปเป็นสัดส่วนหนึ่งในสภาของนคร แล้วตัวแทนของสภาของนครส่วนหนึ่งจะไปเป็นสมาชิกของมหานคร จะมีการโยงยึดกันอยู่ ไม่ใช่ว่าต่างคนต่างอยู่ เหมือน กทม. สภาเขตกับสภากทม. ไม่ได้เกี่ยวโยงกันเลย ต่างคนต่างคิดต่างคนต่างทำ แต่ต้องสะท้อนถึงความต้องการของประชาชน

ทีนี้ขั้นตอนต่อไป สมมุติว่าเมื่อมีการดำเนินการทางการเมืองหรือดำเนินการในเรื่องนี้ซึ่งผมเรียนแล้วว่า มันไม่ใช่เรื่องของใครคนใดคนหนึ่ง ไม่ว่าใครจะเสนอ ถ้าเป็นสิ่งที่ดีและสามารถจะแก้ปัญหาได้ ทำไปเถอะครับ ผมไม่ว่า แต่ถ้าพลเอกชวลิตได้มีอำนาจทางการเมืองท่านก็จะดำเนินการ ขั้นตอนก็คือ หลังจากมีพ.ร.บ. มีรูปแบบแล้ว ก็จะมีการทำประชาพิจารณ์เพื่อสะท้อนความรู้สึกของประชาชนว่ามีความเห็นอย่างไร

แล้วหลังจากนั้น ก็จะทำประชามติสำหรับประชาชนในสี่จังหวัดและสี่อำเภอ ถ้าเป็นความต้องการของประชาชนก็ดำเนินการไป

บางจังหวัด อย่างสตูล ถ้าไม่ต้องการร่วมก็ไม่เป็นไร หรืออีกสี่อำเภอไม่ต้องการก็ไม่เป็นไรสามจังหวัดก็อาจจะเป็นแกนหลักอยู่แล้ว ไม่ต้องมาโต้เถียงกันเลยว่าเป็นอย่างไร

จริงๆ มันมีแผนภูมิ ผมอยากเรียนว่า ทุกวันนี้มีการกล่าวอ้างว่าการแก้ปัญหาภาคใต้มาถูกทางแล้ว เพราะฉะนั้น อยากจะดำเนินการอย่างนี้ต่อไป ซึ่งวิธีการเท่าที่มีคือการล้อมปราบกับอีกด้านหนึ่งก็คือการพัฒนา โดยอ้างว่าการพัฒนาจะช่วยแก้ปัญหาภาคใต้ เพราะประชาชนมีความยากจน

แต่พวกเราเอง ถ้าพูดตรงๆ มันจริงรึเปล่าว่าเพราะคนในภาคใต้จนถึงเกิดปัญหาแบบนี้ถามตัวเองให้ดีว่าเป็นเพราะจนหรือเปล่า

ทีนี้ ถ้ามันไม่ใช่การไปแก้ปัญหาที่จะทุ่มเงินลงไปเวลานี้จะเพิ่มไปอีกหกหมื่นล้าน เราเสียไปปีหนึ่งงบพัฒนาประมาณห้าหมื่นสี่พันล้าน งบความมั่นคงห้าหมื่นหกพันล้าน แล้วจะเพิ่มไปอีกหกหมื่นล้าน เราหมดไปเป็นแสนๆ ล้าน ทหารอีกหกหมื่นคน แล้วเราบอกว่าเราแก้ถูกทางแล้วสถานการณ์ดีขึ้น

แต่ทำไมเงินมันมากขึ้น แล้วก็ต้องทุ่มเทอะไรลงไปอีกเยอะ โดยเฉพาะเรื่องการพัฒนานั้นจริงหรือเปล่า 1.แก้ปัญหายากจนได้ไหม2.สอดรับกับวิถีชีวิตประชาชนรึเปล่า ขณะเดียวกัน ที่เขาอ้างว่า เหตุการณ์มันดีขึ้น เพราะไปนับจำนวนของการก่อการร้าย การเกิดเหตุแต่ได้ดูไหมว่าขณะที่มันน้อยลงแล้วแต่ความรุนแรงมันมากขึ้น

นี่เป็นข้อสังเกตที่อ้างหรือพูดกันมันจริงไหมอย่างไร คิดว่าความเห็นมันถูกต้องไหม การแก้ปัญหาเรื่องนครปัตตานีคือ การแก้ปัญหาโดยทางการเมืองให้ประชาชนเป็นศูนย์กลางแก้ปัญหา นี่คืออันที่หนึ่ง

อันที่สอง แน่นอนว่าต้องใช้เงินเยอะ แต่เป็นการใช้เงินสร้างขึ้นมา ไม่ใช่เอาไปปราบปรามนั่นสูญเสีย มันเป็นการสร้าง การขยาย รวมทั้งการวางแผน การพัฒนาเศรษฐกิจให้สอดรับกับความต้องการ หรือวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ให้เขาดำเนินการเอง

เพราะฉะนั้น ผมคิดว่าแนวคิดนี้ ถ้าเราเปิดใจกว้างมันมีนัยยะที่สำคัญอยู่ แต่แน่นอน เราอาจจะได้รับการระแวง เพราะคนคิดว่าถ้าสร้างมหานครแล้วพอมันแข็งแรงแล้วมันจะแยกออกไป แต่ผมว่าถ้าเราได้ใจเขา เขาจะไปไหมถ้าเราให้ความเป็นธรรม ให้เขาได้มีบทบาทหน้าที่ในการเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาชาติในการแก้ปัญหาของเขา เขาจะไปไหมข้อหนึ่ง

ข้อที่สองนี่ ถ้าเราตั้งบนพื้นฐานของความระแวง วิธีการในปัจจุบันจะหยุดยั้งขบวนการต่อเนื่องที่จะแบ่งแยกได้รึเปล่า


หมายเหตุ: ตีพิมพ์ครั้งแรกใน มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 14 - 20 พ.ค. 2553
http://www.deepsouthwatch.org/node/814

นครปัตตานีหรือเขตบริหารพิเศษ :ความจริงจากพื้นที่ (7)

by Charanm | Tue, 2010-06-08 11:11
จรัญ มะลูลีม
เห็นด้วยและเห็นต่างของปัญญาชนมุสลิมและผู้คุ้นเคยกับพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ (ต่อ)
ส.ส. เจ๊ะอามิง โต๊ะตาหยง กล่าวว่า ผมพูดในฐานะ ส.ส. ประเด็นนครรัฐปัตตานี คือครั้งแรกที่พลเอกชวลิตพูดถึงนครรัฐปัตตานี หลังจากนั้น มีการวิพากษ์วิจารณ์ ผมเองคือคนที่ออกมาโต้คนแรกเลย ว่าการเอานครรัฐปัตตานี ความหมายของรัฐคือการแยก ซึ่งผิดตามรัฐธรรมนูญ
การนำเสนอของท่านพลเอกชวลิตน่าจะเป็นประเด็นการเมืองมากกว่าการแก้ปัญหาสร้างกระแสทางการเมืองเพื่อต้องการดึงคะแนนเสียงในพื้นที่ชายแดนภาคใต้
แต่สิ่งที่เห็นด้วย ณ วันนี้คือ ทุกกลุ่มในตอนนี้ มีความเห็นที่ตรงกันอย่างหนึ่งคือ ทำอย่างไรจะแก้ไขปัญหาชายแดนภาคใต้ให้สงบ อย่าเอาการเมืองมาแฝงเอาความตั้งใจและจริงใจมาแก้มันก็ทำได้
การวางกรอบในการออกกฎหมายก็เหมือนกันทำไมไม่อาศัยช่องทางของกฎหมายรัฐธรรมนูญที่มีอยู่ในหมวดว่าด้วยการปกครองท้องถิ่น การกระจายอำนาจสามารถทำได้เลย และการร่าง พ.ร.บ. ในสภาผู้แทนราษฎรเป็นเรื่องที่ยากมากกับการทำความเข้าใจกับ ส.ส. ทั้ง 480 คน โดยเฉพาะการเปิดประเด็นนครปัตตานี การร่างกฎหมายต้องใช้มือของส.ส. ถ้าเกิด ส.ส. มีความเห็นที่แตกต่างการที่จะผ่านพ.ร.บ. ตัวนี้มันยากมาก มันมีแต่จะสร้างประเด็น
การตั้งนครปัตตานีเป็นยังไง โครงสร้างเป็นยังไง ก็ยังไม่มีการพูดถึง ทีนี้ในสภาผู้แทนราษฎรถ้าเราทำกฎหมายยังไงก็แล้วแต่ ถ้า ส.ส. ไม่เห็นด้วยมันไม่มีทางผ่านเลย ทีนี้ช่องทางที่ผมเคยนำเสนอการแก้ไขปัญหาชายแดนภาคใต้ ถ้าจะอาศัยช่องทางของรัฐธรรมนูญที่มีอยู่วันนี้ ใช้ช่องทางการกระจายอำนาจอย่างแท้จริงที่ท่านสมชายพูดถึง ใช้ช่องทางตรงนี้แล้วร่างกฎหมายอีกฉบับหนึ่งขึ้นมาก็ยังได้ และนักวิชาการทั้งคนทั่วไปก็สามารถจะเข้าใจได้ที่สังคมโดยทั่วไปไม่เข้าใจ เขาเข้าใจว่าต้องการแยกรัฐ การตีความรู้สึกแบบนี้สร้างความไม่สบายใจให้กับสังคมแล้ว
ฉะนั้น กระบวนการขับเคลื่อนให้เป็นรูปธรรมมันยาก ทำไมเราไม่คิดในกรอบของรัฐธรรมนูญที่มีอยู่มันง่ายกว่า ยึดหลักมาตรา 1 ไม่สามารถแบ่งแยกได้ต้องยึดหลักเลยนะครับ กฎหมายรองมันมีอยู่
แต่ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ณ วันนี้มันมีหลายปัญหา คนที่ไปแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่ตั้งใจไง
ตั้งแต่ปี 2547 มานี่งบในการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้มันน้อยมาก พอไปดูการขับเคลื่อนของรัฐบาลขณะนี้เสริมด้วยงบพัฒนาขึ้นมาอีกทำให้โป่งขึ้นมาอีกฉะนั้น ทำยังไงให้งบประมาณลงไปถึงพี่น้องอย่างแท้จริงต้องมีการตรวจสอบจากสภาผู้แทนราษฎร
ผมดูรู้เลยว่า คนที่ไม่มีคุณภาพถูกส่งไปแก้ปัญหาใต้แล้วเมื่อไหร่มันจะแก้ได้ คนที่รู้เรื่อง คนที่ตั้งใจ เขาไม่ส่งไปผมถึงบอกไงว่าระดับกลไกของรัฐต้องเข้าไปดูแลต้องคนมีคุณภาพและตั้งใจจริงไปแก้ปัญหาต้องเอาข้อเท็จจริงมาก่อนแล้วไปดูกฎหมายในขณะที่ไปตรวจงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้แทนที่ฝ่ายนโยบายลงไปจะพูดเรื่องนโยบายไปแต่กลับพูดเรื่องขาดยามหนึ่งท่าน ขาดคนทำความสะอาด
เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเราต้องเอามาตั้งตรงกลาง สิ่งที่ผมไม่เห็นด้วยคือการทำอย่างไรอย่าให้สังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้แตกแยกไปกว่านี้ สิ่งที่การขับเคลื่อน การจะเป็นทบวงมันทำยาก กฎหมายนี่เวลาเป็นการเงินยาก ทำไมไม่คิดกฎหมายที่ทำให้เป็นกฎหมายได้ง่ายขึ้น กระจายอำนาจอย่างแท้จริงให้พี่น้องประชาชน
ในรัฐธรรมนูญมีอยู่แล้ว ทั้งด้านศาสนา ทั้งด้านวัฒนธรรมต้องส่งเสริมต้องทำอะไรมันมีอยู่แล้วในกระบวนการของรัฐธรรมนูญ เราต้องเอาตรงนี้ออกมาขับเคลื่อนกฎหมายถึงจะออกมาเป็นรูปธรรมได้จี้ทางรัฐบาล ฝ่ายค้าน นักวิชาการมารุกตรงนี้ที่จะขับเคลื่อนได้ก็คือ 1. ความแคลงใจของสังคมต่อปัญหาเหล่านี้ ว่ามันจะแยกหรือไม่แยกรัฐเมื่อออกกฎหมายอีกฉบับมันจะไม่เกิดขึ้นไง เพราะที่อ้างอิง มันมีในรัฐธรรมนูญ ในเมื่อรัฐธรรมนูญให้แล้ว ทำไมรัฐบาลไม่ทำ ทำไมนโยบายไม่คิดในเรื่องนี้
ถ้ามาคิดอยู่ในกฎหมายของ ศอ.บต. ความไม่เข้าใจของการนำเสนอผมค้านในการประชุม เพราะผมเป็นกรรมาธิการอยู่ แม้กระทั่งการนำเสนอความหมายของจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมไปถึงห้าจังหวัดและตามความเหมาะสม คิดได้ไง
ทีนี้การแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ มาคิดรวมแล้วมองถึงตัวเองเป็นประโยชน์ ประชาชนไม่ได้เป็นที่ตั้ง ความหมายของจังหวัดชายแดนภาคใต้ของผมในขณะนี้คือ ปัตตานี, ยะลา, นราธิวาส, สตูลบวกด้วยสี่อำเภอ
เหตุผลที่ผมไปบวกสตูล เพราะถ้าเราติดตามสถานการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โครงสร้างในการต่อสู้ ทั้งหมดของขบวนการก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เราต้องยอมรับว่า มีจริง เป้าหมายคือต้องการอีกเรื่องหนึ่งพอเราไปดูโครงสร้างทั้งหมด ก็คือไปบวกเอา สตูล,ปัตตานี, ยะลา, นราธิวาส, บวกด้วยสี่อำเภอ ถ้าเขาสามารถปกครองตนเองได้ เขาจะปกครองแบบนี้
ที่ผมต้องค้านในเรื่องนี้คือ เวลามีกฎหมายเรื่องเหล่านี้ออกมา เรื่องงบประมาณต้องผูกพัน เรื่องบุคลากรในพื้นที่ต้องผูกพัน เวลาเอางบประมาณลงไปถามว่า คนที่จะได้รับอานิสงส์ นอกจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ สงขลาต้องได้รับ ทีนี้เวลาส่งเสริมในด้านเศรษฐกิจ ต้องเข้าไปแก้ไขปัญหาของสงขลา, สตูล ด้วย
ใครจะไปแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ แล้วที่เราต้องยอมรับอยู่อย่างหนึ่งก็คือว่า ณ วันนี้ธุรกิจในจังหวัดชายแดนภาคใต้มันล้มเหลว แม้กระทั่งการกระจายตัวเม็ดเงินเพื่อที่จะสนับสนุนในเชิงธุรกิจ เรื่องการจัดสัมมนา จริงๆ รัฐบาลให้ ไม่ได้มาจากรัฐบาลนี้นะ หลายๆ รัฐบาลก็พยายามจะจ่ายเงินให้ไป แต่กระบวนการในการทำงาน มันต้องขับเคลื่อนหลายตัว
กฎหมายทุกตัวไม่ใช่เป็นตัวชี้วัด ไม่ใช่ออกกฎหมายฉบับนี้แล้วเหตุการณ์ภาคใต้สงบ ตัวที่ควบคู่กันไปคือกลไกของรัฐที่อยู่ในพื้นที่ด้วย ถ้ากลไกไม่มีประสิทธิภาพมันก็แก้ไม่ได้ ส่งคนที่ไม่รู้เรื่องเข้าไปก็เหมือนเริ่มต้นจากศูนย์ วิถีชีวิต วัฒนธรรม ศาสนาคุณยังไม่เข้าใจเลยต้องไปเริ่มต้นใหม่แล้วคนที่อยู่พื้นที่เขารู้ทุกอย่างแล้ว
แล้วที่สำคัญคือ ไปสร้างกลไกอะไรเพิ่มเติมขึ้นมาผมว่ามันไม่ใช่หรอก เงื่อนไขคือ เขาเรียกร้องตลอดอย่างกฎหมายฉบับนี้ที่เสนอคือ กฎหมายนครปัตตานีผมก็งงว่า ทำไมไม่ทำประชาพิจารณ์ก่อนค่อยร่างกฎหมายนครปัตตานีขึ้นมา ทำไมต้องจากข้างบนลงไปข้างล่าง ไม่ใช่จากข้างล่างขึ้นมา กลไกของประชาชนส่วนใหญ่มันไม่ได้มีอยู่ตรงนี้ กลไกที่คนส่วนใหญ่สนใจคือ 1. ความเป็นธรรมเป็นยังไง วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของเขาต้องมาทำความเข้าใจ ที่ผมบอกว่ามันอยู่ในตัวกฎหมายหมด อันนี้ง่ายๆ 2 คำ วิถีชีวิตวัฒนธรรม ศาสนา มันมีความแตกต่าง วิถีชีวิต และวัฒนธรรมบางครั้งก็ไม่สอดคล้องกับศาสนาซึ่งทำไม่ได้
ผมถามว่า วันนี้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาภาคใต้ที่เกี่ยวกับมุสลิมมีกี่ฉบับที่ออกสู่พี่น้องประชาชน ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตพี่น้องประชาชนกฎหมายเรื่องซะกาต (ภาษีศาสนา) ผมก็ยื่นแล้ว แต่พวกไดโนเสาร์ มันทำให้มีปัญหาไง ที่จริงพี่น้องชายแดนภาคใต้ที่เป็นมุสลิม ถ้าจริงใจแล้วเข้าใจเขาประชาชนเขามีความบริสุทธิ์ เขาให้ความสำคัญกับผู้นำ
เงื่อนไขคือกลไกของรัฐไปสร้างปัญหา เวลาทำนโยบายแทนที่นโยบายจะโอนไปสู่ประชาชน แต่ต้องกลับมาสู่หน่วยนโยบาย
ส.ว.วรวิทย์ บารู กล่าวว่า ผมบอกได้เลยว่ามาถึงส.วันนี้ประชาชนไม่ยอมแล้ว การแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เหตุการณ์ที่มันเกิดขึ้นมันสะท้อนภาพอะไรในวันนี้ เขาไม่ยอมให้ใครมาปกครองเขาในลักษณะไหนก็ได้เพราะสิ่งเหล่านี้มันเกิดขึ้นจากการศึกษา โดยความรู้โดยเทคโนโลยี โดยการสื่อสารกับโลก มันสะท้อนภาพในวันนี้ หนึ่งการใช้ความรุนแรงเข้าไปแก้ปัญหา เขาไม่ยอมเหมือนกันเพราะร้อยกว่าปีได้นี้ ตั้งแต่ปี 1902 มาจนวันนี้ 108 ปีได้แค่นี้หรือข้าราชการในพื้นที่ 94 ต่อ 6 ดังนี้หรือสิ่งเหล่านี้ข้อมูลเหล่านี้มีครับ เขาไม่ยอมครับ
อีกทางหนึ่งก็อย่างที่ ส.ส.เจ๊ะอามิง พูดคือการใช้แนวทางของการเมืองเข้าสู่สนามการเมือง จะหาวิธีการโดยการเสนอผ่านรัฐธรรมนูญ บางครั้งเราก็สร้างความกดดันเพื่อที่จะให้เกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้นมา มันก็มีหลากลาย นี่คืออาการของสิ่งซึ่งไม่ยอม ซึ่งบอกว่าจะอยู่อย่างนี้ต่อไปไม่ได้
หลักการที่ อ.สมชายได้พูดนั้น 3 รูปแบบ องค์กร23 องค์กร ทางภาคใต้เดินตามรัฐธรรมนูญการเมืองภาคพลเมืองเดินแบ่งสายกัน ส.ว. กับ ส.ส.มีส่วนรับผิดชอบที่จะประสาน NGO กระทรวงเกษตรฯ เขาเดินอยู่ในแนวทางที่ไม่ได้เกี่ยวกับการเมืองเลย ไม่เกี่ยวกับพรรคไหนไม่ได้เกี่ยวกับที่ใครเสนอ เป็นภาคประชาชนซึ่งเราทำกันมานานแล้ว
ปรากฏว่ามีรูปแบบ 3 รูปแบบที่ชัดเจน มีทบวงของ อ.ศรีสมภพ ที่ผ่านการศึกษาวิจัย มีของอุดม ที่เสนอเป็นมหานคร แล้วก็มีของคุณอัคชา ที่ลอกเลียนเอาจากกทม. มาใส่เข้าไปเพราะฉะนั้นมันไม่ผิดถ้าใครจะเสนอเข้ามา เพราะการเคลื่อนไหวแบบนี้มันอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ สิ่งเหล่านี้ผมว่า วันนี้เรามีทางเลือกใดบ้าง เราจะเลือกเดินอย่างไร มีพี่น้องเรา 23 องค์กรนี่ถ้าเขาเลือกเดินแบบนี้ เดินไปทำความเข้าใจตามอำเภอต่างๆ ในการเมืองภาคพลเมือง
เมื่อคนเหล่านี้เดินเข้าไปพบปะชาวบ้านพบกลุ่มนักวิชาการ กลุ่มเยาวชน กลุ่มคนพิการ ผู้ด้อยโอกาส สตรีเขาแยกเป็นสายเลยสิบกว่าสายเพื่อที่จะไปเจอแล้วกลั่นกรอง วิเคราะห์แนวทาง และประชาพิจารณ์แล้วก็มีแนวทางที่จะเสนอโดยประชาชน
สิ่งเหล่านี้มันปลอดจากการเมือง รัฐบาลค้าน แต่เราจะต้องดำเนินการต่อไป
หมายเหตุ: มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 21 - 27 พ.ค. 2553
http://www.deepsouthwatch.org/node/834

นครปัตตานีหรือเขตบริหารพิเศษ :ความจริงจากพื้นที่ (8)

by Charanm | Tue, 2010-06-15 16:28
จรัญ มะลูลีม

เห็นด้วยและเห็นต่างของปัญญาชนมุสลิมและผู้คุ้นเคยกับพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ (ต่อ)
เราก็พูดถึงประวัติศาสตร์ แต่เราไม่เคยพูดถึงกระบวนการสร้างชาติ เราไม่มีโอกาสอย่างที่ผมสะท้อนภาพส่วนราชการ 94 ต่อ 6 ข้าราชการพุทธ 94 มุสลิม 6 อาจจะเปลี่ยนในระยะหลัง เพราะภูมิหลังของชายแดนภาคใต้ การแก้ปัญหาจะละเลยสังคมไม่ได้ ถ้าเราจะแก้ในเรื่องของรายได้ ถ้าเราละเลยคำว่าสังคมนี้และสิ่งเหล่านี้ทราบหรือไม่ เพราะราชการกำหนดด้วยรูปแบบของการศึกษารูปหนึ่ง สังคมไปอีกรูปหนึ่ง มันต้องไปตามประชาชน วันนี้คุณจะทำอะไรดูเขาไม่แคร์ในเรื่องของการศึกษาแล้วคำตอบก็จะใกล้เคียงกับที่เขาเลือก
แล้วเชื่อไหมว่าเด็กจากปอเนาะ จากตะวันออกกลางเมื่อเขาจำเป็นต้องไปเรียนปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยอิสลามนานาชาติ เขาสามารถผ่านภาษาอังกฤษได้แล้วกลับมาก็สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ เหล่านี้ คือสิ่งซึ่งรัฐต้องมองคุณค่าเหล่านี้ไว้ แต่วันนี้สิ่งเหล่านี้มันหายาก สิ่งเหล่านี้มันเป็นคำตอบ
ถ้าเราสังเกตดูวิธีคิด กระบวนทัศน์มันต้องเปลี่ยนเกี่ยวกับชายแดนภาคใต้ ผมถามว่าที่ออก พ.ร.บ.ศอ.บต. นี่ วันก่อน ผอ. จากกฤษฎีกา ผมถามว่าเกิดอันนี้ขึ้นมาจากอะไร เขาบอกถึงเรื่องรัฐจะอยู่อย่างไร ใครจะเป็นเลขาธิการ ใครจะวางยังไง แค่นั้นเอง มันไม่ได้มาจากประชาชนเลย สิ่งเหล่านี้มันคิดช้าไปถ้าออกมาในลักษณะแบบนี้ แนวคิดที่ผมได้บอกว่าต้องเปลี่ยนหลายคนในวันนี้มันมีซาก เดน กากเดนในเรื่องของอาณานิคมยุคใหม่แฝงอยู่ในนั้นด้วย สิ่งเหล่านี้ ไม่มีใครรับได้ ยิ่งคุณคิด แบบนั้นยิ่งอันตรายต่อภาคใต้ มันก็จะยิ่งแข็ง
เพราะวันนี้คำตอบจากประชาชนคือไม่ชอบ อย่างนี้มันไม่แก้ปัญหาอะไรเลย
ยกตัวอย่าง มีคณะรัฐมนตรีภาคใต้แล้วมันสะท้อนภาพของความเป็นอำมาตย์ ทำไมเรามาย้อนกลับไปจุดหนึ่งใหม่ ทั้งๆ ที่ ศอ.บต. ไปถึงจุดที่ 15-16 แล้วทำไมเราต้องถอยหลังมานับใหม่ ศอ.บต. ใช้นโยบายต่างๆ จนถึงฉบับสุดท้าย 46 นี่ ประชาชนกับสมช. วันนี้ กอ.รมน. ไปเทกโอเวอร์ มันสะท้อนภาพว่ามันไปไม่ได้แล้ว กอ.รมน. กับพี่น้องภาคใต้ล้มเหลวกอ.รมน. เป็นขมิ้นกับปูน แล้วก็ย้ำจุดเดิม ก็คงแก้ปัญหาได้ในบางส่วน แต่ผมก็ไม่ได้หวังอะไรมากมาย
วันนี้ประชาชนคิดไกลกว่านั้นมากเลยทีเดียว จากการสะท้อนภาพบางอย่าง สะท้อนภาพรัฐไป สิ่งเหล่านี้คือจะบอกว่า มันไม่ง่ายในการแก้ปัญหาภาคใต้ ถ้าหากว่าข้อเท็จจริงคุณยังซ่อนอยู่ แล้วคุณยังคิดแบบเดิมๆ งบประมาณมากมายใช้ลงไปเพื่อที่จะบอกว่าประชาชนกับทหารดีกันแล้วนะ ใช้ภาษีพวกเราจำนวนมากเพื่อจะบอกว่าทหารดีกับประชาชน ในฐานะที่เป็นคนเขาสื่อสารกันรู้เรื่อง แต่ในฐานะที่ความไม่เป็นธรรมเกิดขึ้น เขาไม่ยอม
สิ่งซึ่งเราจะต้องพยายามคือ อย่าเอาความชั่วมาแก้ปัญหา แล้วสุดท้าย มาบอกว่าให้ความชอบธรรมแก้วิธีการที่ชั่วอันนี้ ผมไม่เห็นด้วย
ในขณะที่ ดร.ไพฑูรย์ บุญรัตน์ มีทรรศนะว่าใผมไม่รู้ว่ามีกลุ่มของผู้รู้ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั่งอยู่ที่นี่หมดเลย เพราะฉะนั้น ผมจะพูดแต่พอสมควรนะ เบื้องลึกของมาเลเซียมันก็มีที่มาเกี่ยวพันอะไรกับเรา แต่ไม่ใช่เขาจะเอาเราไปนะ แต่มันมีเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวพันกันไปหมดเลย ถ้าอย่างนั้น เราจะเห็นภาพ ขอพูด 2 เรื่อง
เรื่องแรกคือ พ.ร.บ. ศอ.บต. มันมีอยู่เรื่องเดียวผมเคยเป็น ผอ.ศอ.บต. คือการแย่งอำนาจกันระหว่างตำรวจ, ทหาร, พลเรือน คือท่านจิ๋ว ท่านบอกมันทะเลาะกันไปทำไม โดยเฉพาะตอนประชาธิปัตย์มาเป็นใหญ่ หรือท่านทักษิณมาเป็นใหญ่ ก็ไปเอาตำรวจมาเป็นใหญ่ครับ แล้วไปเลิกทหารเขา มันก็ทะเลาะกันสิครับ ทุกวันนี้มีการทะเลาะกันระหว่างทหารกับตำรวจ พอทหารมีอำนาจก็ดึงไปให้ กอ.รมน.ทำ ถามว่าทำอะไรทำเพื่อเอา 15% ครับ
ตอนนี้ประชาธิปัตย์คิดแล้วว่า ถ้าทำอย่างนี้คงไม่ได้ต้องมีการเปลี่ยนแปลง เขาจึงไปเสนอ ศอ.บต. ขึ้นมาเป็นกฎหมายว่าให้อำนาจทั้งหมดมาอยู่กับพลเรือนแต่ถามว่า แล้วพลเรือนดีกว่าทหารตรงไหน เหมือนกันแค่เปลี่ยนที่อยู่เท่านั้นเอง เบื้องหลังนี่ นักวิชาการเราถูกหลอกทั้งนั้น
เพราะฉะนั้น วันนี้ร่างกฎหมายของประชาธิปัตย์เขาต้องการแค่นี้เท่านั้นแหละ แต่ถามว่าแก้ได้ไหมมันก็เหมือนตอนผมอยู่ก็ยังล่อกันมั่ว มีตัวอย่างหนึ่งเขาบอกว่า เปลี่ยนภารกิจของรัฐโดยเพิ่มบทบาททางกิจการพลเรือน ณ วันนี้ ศอ.บต. ล้มเหลว เสนอมานี่ก็ล้มอีกแหละครับ ถ้าอยากได้ถามว่าประชาธิปัตย์แน่จริงรึเปล่า ไม่ต้องมี ศอ.บต. ตั้งรัฐมนตรีรับผิดชอบสามจังหวัดภาคใต้เลย แล้วถามว่าทำไม ถ้าทำตรงนี้นะ อำนาจการต่อรองมันอยู่ที่รัฐบาล ถ้าท่านใช้เลขาธิการแบบที่พวกผมเป็นเนี่ย มันก็เหมือนที่ท่านพูดประธานโทษครับนายกฯ ผมไม่ใช่คนทำความสะอาดมันไปพูดเรื่องอื่น มันไม่ได้พูดถึงความต้องการของประชาชน
ท่านจิ๋วต้องการจะสร้างนครปัตตานี เพราะบ้านเมืองมันจะเจริญได้ ผมถามทำไมท่านพูดแบบนี้ท่านบอกว่าทุกอย่างมันต้องประชาชนจึงเกิดการกระจายอำนาจในปี 36 ผมบอกได้เลย คนนี้ต่างหากครับ ที่เป็นคนกระจายอำนาจ แต่ก็อย่างที่ท่านเจ๊ะอามิงพูด ท่านจิ๋วพูดแล้วไม่ค่อยรู้เรื่อง ถูกต้องแต่บนความไม่รู้เรื่องนี่คือความรู้เรื่องของคนที่มีความรู้ ถ้าคนไม่มีความรู้ฟังไม่รู้เรื่องครับ เพราะบนความขัดแย้งของการเมืองมันมีสารพัดเลย ท่านจิ๋วบอกว่าเรื่องนครปัตตานีเป็นการกระจายอำนาจ ถามว่าถูกต้องไหม
การเมืองท้องถิ่นมีอยู่ เรื่องที่ประชาชนร้องนะ 1 รูปแบบการกระจายอำนาจ ไม่ใช่ของประชาชนเลยถามว่า ประชาชนต้องการรูปแบบไหน รูปแบบนั้นต้องเป็นของประชาชนกำหนดขึ้นมา ไม่ใช่กระทรวงหรือใครกำหนด ท่านไม่ให้เขา ท่านเอาแต่ในสภา
อันที่ 2 อำนาจการปกครองท้องถิ่น อะไรก็ตามต้องเป็นของท้องถิ่น ถ้ารัฐบาลกลางอยากได้ เขียนกฎหมายมา แต่ของเรานี่ท้องถิ่น มีอะไร กูเขียนกฎหมายเว้ย ถูกไหม นอกนั้นเป็นของกู
อันที่ 3 การเมืองท้องถิ่นเชื่อได้ขนาดไหน เพราะอำนาจลับ อำนาจมืด มันมีอิทธิพลมากกว่าที่เราเห็น
อีกอันหนึ่ง การปกครองท้องถิ่นมาพูดอะไรเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชน คนที่มีส่วนร่วมคือนักการเมืองมันตรงข้ามกันหมด
การปกครองท้องถิ่นที่ผมอยากเห็นนี่ ผมอยากดูการนำของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะต้องการให้ท่านนำสู่การปกครองท้องถิ่นอะไร ถ้าท่านสู้ได้นะมันไม่ใช่กฎหมายพิเศษหรอก มันใช้ทั้งประเทศครับถามว่าพี่น้องมุสลิมอยู่ที่นั่นรึเปล่า ผมอยู่ภูเก็ต ท่านต้องรวมไปด้วย พังงาด้วย อย่ารวมแค่นั้น ปทุมธานีกี่คลองเป็นคนมุสลิม ไม่ได้มีแค่ไทยพุทธอย่างเดียวมันเป็นเรื่องของคนหลากสี เหมือนที่ท่านจิ๋วใช้คำว่าดอกไม้หลากสี ต้องพูดเรื่องความยุติธรรมถึงจะอยู่รอด แล้วมาดูว่าสิ่งที่เป็นของประชาชนจริงรึเปล่า
ถ้าท่านทำการปกครองสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เป็นการปกครองท้องถิ่นแบบอิสระจริงๆ ได้นะทั่วประเทศจะได้ด้วยครับ เพราะฉะนั้น การต่อสู้เรื่องการกระจายอำนาจไม่ว่าใครจะสู้ก็ตาม ที่ไหนสู้เป็นประโยชน์กับท้องถิ่นทั้งประเทศครับ ไปดูทางอีสานนครพนมยิ่งกว่าสามจังหวัดชายแดนภาคใต้อีก ไปทำโครงการอีสานเขียว ไปขุดบ่อน้ำไว้ วันนี้น้ำแห้งเพราะพวกอำมาตย์ มันไม่ยอมทำให้ครับ
ดังนั้น ประชาธิปไตยนี่ถามว่า ประชาธิปไตยที่เขียนไม่ได้เรื่อง ต้องเป็นประชาธิปไตยทางตรงครับ
ถามว่าถ้าจะยุบสภา อบจ. นครปัตตานี ไม่ใช่ว่าให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมายุบไม่ใช่ให้นายกอภิสิทธิ์มายุบ มันต้องยุบด้วยประชาชน อย่างนี้ถึงจะได้ประโยชน์
ร.อารง สุทธาศาสน์ กล่าวว่า ปัญหามันเกิดมาเป็นเวลาร้อยปีแล้ว จนกระทั่งเดี๋ยวนี้ปัญหาก็ไม่ดีขึ้น กลับแย่กว่าเดิม เมื่อก่อนเขาไม่ได้พูดเรื่องเขตปกครองพิเศษ แต่เนื่องจากมันล้มเหลวตลอด ขณะนี้เขาต้องพูดเขตปกครองพิเศษ ทีนี้เมื่อล้มเหลว ต้องเปลี่ยนวิธีการโดยสิ้นเชิงแล้ว จะต้องเปลี่ยนองค์กรหรือตัวผู้รับผิดชอบในการแก้ปัญหาด้วยเปรียบกับหมอรักษาคนไข้รักษายังไงก็ไม่หาย มันก็ทรุดลงไปเรื่อย ต้องทำยังไง 1. เปลี่ยนยา 2. เปลี่ยนหมอ
จะต้องพลิกวิธีการมองปัญหา วิธีการแก้ปัญหาจะต้องพลิกหมด ถ้าใช้วิธีเดิมๆ ผมรับรองว่าไม่มีทางแก้ปัญหาได้นี่ประการที่ 1
ประการที่ 2 ผมสอนปัญหาแบบนี้มาเป็นเวลา 30 กว่าปีในมหาวิทยาลัย ปัญหาชนกลุ่มน้อยก็มีปัญหาความขัดแย้งระหว่างกลุ่มวัฒนธรรมก็มี ทีนี้ประสบการณ์ของประเทศต่างๆ เราไม่เคยเอามาดูมันมีทฤษฎี มันมีหลักวิชา จะแก้เฉพาะบ้านเราโดยไม่ดูประสบการณ์ของประเทศอื่น เขาประสบมาอย่างไรเขาแก้อย่างไร
ยกตัวอย่าง อเมริกันผิวดำกับผิวขาวมีสงครามกันมาตลอด ในที่สุด เขาก็แก้ได้ อะไรทำให้เขาสามารถแก้ปัญหาได้ บางคนจะเอาแต่เขตปกครองพิเศษลองไปดูซิว่าที่ไหนเขาแก้ได้บ้าง ฟิลิปปินส์แก้ได้ไหมไม่ได้ ซินเกียงแก้ได้ไหม ไม่ได้ กลับรุนแรงขึ้นเพราะฉะนั้น รูปแบบเราพับไว้ก่อน จะต้องดูที่สำคัญคือเนื้อหาว่าเราจะเอาอย่างไรในการแก้ปัญหา ชื่อไม่สำคัญหรอก สำคัญที่เนื้อหา วิธีการ และรูปแบบว่าเราจะเอาอย่างไร ที่เราพูดกันมาก คือประสบการณ์ของโลกที่เขาบอกว่า สามารถนำไปสู่การแก้ปัญหาได้
เหมือนที่บิ๊กจิ๋วพูด สวนต้องมีหลากสี เมื่อมีคนอยู่หลายกลุ่มจะต้องเคารพสิทธิของเขาอย่างครบถ้วนบริบูรณ์ ต้องเคารพสิ่งที่เขาต้องการ ต้องเคารพตรงนี้ จะใช้กฎหมายเดียวบังคับประชาชนทุกกลุ่มไม่มีทางรับได้หรอกครับ ยกตัวอย่าง พ่อคนหนึ่งมีลูกสองคน คนหนึ่งอ้วน อีกคนหนึ่งผอม เครื่องแต่งกายบางอย่างลูกสองคนใช้ได้ แต่บางอย่างจะต้องแยกเสื้อขนาดเดียวกันไม่ได้ คนอ้วนต้องใช้ขนาดใหญ่กว่าคนผอมoนี่คือหลักการที่เขาใช้ทั่วโลก--จบ--
หมายเหตุ: ตีพิมพ์ครั้งแรกใน มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 28 พ.ค. - 3 มิ.ย. 2553
นครปัตตานีหรือเขตบริหารพิเศษ :ความจริงจากพื้นที่ (จบ)

by Charanm | Mon, 2010-06-21 13:40
จรัญ มะลูลีม
เห็นด้วยและเห็นต่างของปัญญาชนมุสลิมและผู้คุ้นเคยกับพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ (ต่อ)
ข้อสุดท้าย ผมมีความเห็นไม่เหมือนคนอื่นนะครับ ทั้งๆ ที่ผมเป็นลูกศิษย์ของท่านไพฑูรย์นะ ซึ่งท่านไพฑูรย์ก็เป็นคนสนิทของพลเอกชวลิต
ผมไม่เห็นด้วยกับคำว่านครปัตตานีเพราะปัตตานีนั้นเป็นชื่อดั้งเดิม ซึ่งมีศักดิ์ศรี มีเกียรติคนยอมรับทั่วโลกเรียกปัตตานี
ภาษาอาหรับเรียกอัลฟาฏอนี เป็นชื่อซึ่งสมัยบรรพบุรุษเขาตั้งขึ้นมา มีความหมายที่ลึกซึ้ง ทีนี้พอใส่คำว่านครปัตตานี แล้วมันจะกลายเป็นกลุ่มจังหวัดเดียวกัน ซึ่งประเทศไทยมีนครเยอะแยะ ซึ่งที่สุดแล้วคำว่าปัตตานีจะจางไป จะกลายเป็นเหมือนนครอื่นๆ ทั่วประเทศซึ่งมีอยู่ขณะนี้
ฉะนั้น เฉพาะชื่อนี่ ผมอาจจะเป็นคนเดียวที่ไม่เห็นด้วย อยากให้ใช้ปัตตานีเหมือนเดิมอาจารย์ชีวินทร์ ฉายาชวลิต กล่าวว่า ผมจะพูดถึงเนื้อหาที่ร่าง พ.ร.บ. ออกมา มีสองฉบับคือของคุณถาวร เสนเนียม และอีกฉบับเป็นขององค์กรเอกชน ออกมาเป็นแนวคล้ายๆ กับที่พลเอกชวลิตเสนอ ทั้งสองเป็นเรื่องของอำนาจกระทรวงมหาดไทยเท่านั้นเองไม่มีอะไรมากกว่านั้น
ฉบับของคุณถาวร คนที่แต่งตั้งเลขาธิการศอ.บต. ที่มีอำนาจสูงสุด ไม่ขึ้นต่อใครเลยนอกจากนายกฯ คนเดียว นายกฯ เป็นคนแต่งตั้งโดยกราบทูล แต่โดยการเสนอแนะของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เพราะฉะนั้น มาจากระทรวงล้วนๆ แล้วอำนาจนี้มันก็จะพาดพิงดึงงบประมาณทั้งหมดของกอ.รมน. มาไว้ที่ ศอ.บต.
เมื่อสักครู่มีคนพูดถึง 4-5 หมื่นล้าน ก็มีการขัดแย้ง พลเรือนกับทหารที่มีหลายคนพูดถึง ที่สำคัญก็คือภาคประชาชนอยู่ที่ไหนมีน้อยมาก ที่มีก็คือ ประธานสภาเสริมสร้างสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 1 องค์กรเท่านั้นเอง อาจจะมี 1 คนเข้ามานั่ง คนนั้นจะเป็นมุสลิมหรือไม่ใช่ ไม่มีการระบุที่ชัดเจนว่ามาจากไหน ไม่มีมาจากองค์กรที่อยู่ในจังหวัดของชายแดนภาคใต้ที่เป็นองค์กรทางศาสนาอิสลามเลย เพราะฉะนั้น ไม่ได้เปิดโอกาสเลยเขาจะทำยังไงก็ได้
รายละเอียดต่อจากนี้ก็ไประบุว่าเลขาธิการศอ.บต. จะเป็นผู้กำหนด เพียงแต่พูดว่านโยบายของยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาชายแดนภาคใต้ทั้งหมดนี้จัดทำโดย องค์กรเดียวคือ สมช. เป็นผู้กำหนดนโยบายคณะกรรมการเสริมสร้างสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เสนอต่อ ครม. พิจารณาออกมาแล้ว
องค์กรที่ว่าคณะกรรมการเสริมสร้างสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เหมือนกับสมัยที่ทำสมานฉันท์ เอาอันนี้เข้ามาเพื่อให้ดูเป็นของประชาชน แล้วทุก 5 ปี สมช. มีอำนาจเสนอทบทวนเปลี่ยนแปลง มีระบุอยู่แค่สามบรรทัดสุดท้ายที่บอกว่า นโยบายนี้มาจากความต้องการและสอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชนและแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
จะเอามาใช้รึเปล่าไม่ทราบ ไม่ใช้ก็ได้ตรงนี้แหละเป็นหัวใจ เป็นช่องทางที่เหลืออยู่นิดเดียวของภาคประชาชนที่จะเข้าไปถึงที่จะอธิบาย3-4 อย่างที่สำคัญก็คือความไม่เป็นธรรมในสังคม วัฒนธรรมศาสนา และการศึกษา การศึกษาศาสนา รวมอยู่ในช่องเล็กๆ ช่องนี้ครับท่านจะเอาไปใส่ได้อย่างไร จะมี ส.ส. กี่ท่านมาพูด หรือว่าท่านจะพูดถึงดอกไม้หลากสีมากลบทั้งหมด ซึ่งมันไม่ใช่ไง ประเด็นมันอยู่ตรงนี้
สาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.การบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้มาอยู่ตรงท้ายนี้แหละที่มีการล็อบบี้ที่ให้เอางบ กอ.รมน. ออกมาทั้งหมด อยู่หน้าสองของบันทึก วิเคราะห์ สรุปคือคำสั่งมันมาจากที่ประชุมของ ครม. ก่อน แล้วถึงจะเข้ามาในนี้ มีการล็อบบี้อยู่ในนั้น จากเอกสารร่างของ คุณถาวร เสนเนียม หน้าสองบรรทัดสุดท้ายของวรรคแรก กินลงมาจนถึงบรรทัดที่เก้า ให้เพิ่มจังหวัดสงขลาเข้าไป แต่ไม่ได้อธิบายในรายละเอียดก็คงจะสรุปแค่นั้นสั้นๆ
ทั้งหมดนี้มันก็ยังไม่ได้ตอบคำถามและความปรารถนาดีของท่านนาญิบ รอซัก ที่มาเยือนประเทศไทย แล้วลงไปเยือนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ช่วงวันที่ 7-9 ธันวาคม 2552 ประเด็นที่สำคัญมันไปปรากฏอยู่ในนี้ ในหนังสือพิมพ์ทางนำ ฉบับเดือนมกราคม หน้า 3
'เงื่อนไขที่สำคัญในการแก้ปัญหาภาคใต้ เป็นเรื่องที่ 1 นะครับ
ท่านนาญิบพูด การให้ความเคารพในภาษาและในการศึกษาแบบอิสลาม ความเคารพในกฎหมายชะรีอะฮ์ เพราะฉะนั้น อีกยาวครับที่ท่านจะต้องเคลื่อนไหว ต้องผลักดันสิ่งเหล่านี้ออกไปอย่างที่หลายท่านพูดว่าต้องร่วมมือกันต้องมีความคิดสอดคล้องกันก่อนว่า เราจะทำยังไง ต่อจากนี้จะเดินยังไง
ปรัชญาในเรื่องนี้ถูกระบุอีกครั้งหนึ่งครับ ในหนังสือพิมพ์ทางนำ หน้า 10 ที่ท่านนาญิบพูดว่าให้ภักดีต่อประเทศชาติ พูดถึงชาวมุสลิมทั้งหมด และพูดสนับสนุนปรัชญาที่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็แล้วแต่ที่ตรงนั้นฟ้าต้องครอบหัวเรา อันนี้คือปรัชญาที่ลึกซึ้งมากใน พ.ร.บ. เหล่านี้ไม่มีปรัชญาหรือเจตนารมณ์เริ่มต้นเลย จริงๆต้องมีเหมือนรัฐธรรมนูญปี 50 ที่ก่อนเริ่มมาตราต่างๆ มีการเกริ่นนำ
รัฐธรรมนูญนี้ถูกร่างแล้วฉีกทิ้งไปหลายครั้งแสดงว่ารัฐธรรมนูญไม่ได้ศักดิ์สิทธิ์อะไร ฉีกทิ้งได้ แล้วอันนี้ถ้าจะให้มันศักดิ์สิทธิ์จะต้องเป็นไปตามเจตนารมณ์ที่ผู้นำในหลายระดับ รวมทั้งผู้นำมุสลิมด้วยทั้งในและนอกประเทศที่ใกล้ชิดกัน
เพราะว่าท่านรอซักพูดชัดเจนนะว่า ไม่มีการสนับสนุนการก่อการร้ายอะไร
อดีต ส.ส. ณรงค์ ดูดิง กล่าวว่า อยากจะอพูดในส่วนที่เป็นข้อดีเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.บริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้เท่านั้นเอง ข้อเสียมีอีกเยอะ หากเราจะมองในส่วนที่ดีผมคิดว่า สังคมประเทศไทย โดยเฉพาะสังคมมุสลิมจะได้อานิสงส์จากทางการเมือง
จากการบริหารคงไม่น้อยกว่าอดีตที่ผ่านมาแล้วมีแนวโน้มว่าจะมากขึ้นจากการที่ผมรับฟังจากผู้หลักผู้ใหญ่ วันนั้นก็ระดับผู้บริหาร ระดับรองนายกฯ ก็ได้พูดถึงว่าเราจะต้องให้มีการบริหารราชการให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของพี่น้องของเขาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เขานั้นหมายถึงมุสลิม อันนี้พูดชัดเจน ซึ่งผมไม่เคยได้ยินมาก่อนเลย เป็นการพูดในนามส่วนตัว
สังคมเรา 50-60 ปี มีแต่การเผชิญหน้า ผมอยากให้ค่อยเป็นค่อยไป นโยบายเชิงสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ อย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญครอบคลุมทั้งด้านความมั่นคงและการพัฒนา สองอย่างนี้มันเกี่ยวข้องกันถามว่า วิถีชีวิตของมุสลิมจะทำ ความเคารพภักดีต่อพระเจ้าต้องมีความมั่นคงไหม ประเทศชาติต้องมั่นคงสงบสุขไหม แต่ถ้าทุกวันนี้จะไปละหมาดยังต้องปิดประตูกันอยู่ จะไปมัสญิดยังไม่กล้า ระดับผู้นำไม่ค่อยกล้าไป ไม่มีความมั่นคงก็ไม่สามารถเข้าสู่อิบาดะฮ์ (การภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้า) ได้
และการพัฒนาก็คือหลายๆ ด้าน การศึกษาต้องพัฒนาคนของเราให้ไม่เป็นเครื่องมือของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่ว่าจะฝ่ายการเมืองหรือข้าราชการประจำ ผมเห็นด้วยในการพัฒนา
อีกร่างหนึ่ง ผมถือว่าเป็นตุ๊กตา มันก็ดี ผมให้เครดิตว่า สามารถทำได้อย่างดี แต่เราไม่รู้เนื้อหา แต่จากแนวคิดที่ อ.อารงพูดถึงผมอยากให้ข้อคิดว่าสังคมมุสลิมของเราเพียงพอ รึยังที่จะเป็นการทดลอง หรือว่าอยากจะเป็นต่อไป
ผมขอสรุปแบบนี้ว่า สิ่งที่เราจะต้องดูก็คือว่าใครเป็นคนนำเสนอ นำเสนออย่างไรมหานครใครเป็นคนนำเสนอ
พูดถึงอำนาจในการบริหารของประเทศไทยนั้น พูดถึงสภาความมั่นคงต้องใหญ่กว่าพรรคการเมือง ถามว่าใครคุมอำนาจของสภาความมั่นคง ก็คือพรรคข้าราชการ ซึ่งเป็นพรรคข้าราชการที่ใหญ่กว่าพรรคการเมือง ตอนเป็นข้าราชการไม่ค่อยนำเสนออะไร แต่พอเป็นแล้วมานำเสนอ รวมถึงความมั่นคงก็เช่นกัน
มาพูดตอนไม่มีอำนาจแล้วก็ทำอะไรไม่ได้แล้ว จะเป็นกลลวงของประชาชนรึเปล่า
ดร.ปกรณ์ ปรียากร กล่าวว่า ผมว่าเราคิดแบบนักวิชาการเกินไป ผมอาจจะนอกคอกนิดหนึ่ง สิ่งที่เราพูดทั้งหมดเป็นความคิดที่เหมือนจะล่องลอยเกือบทั้งหมดเลยแล้วเวลาเรากำหนดเป็นกฎหมาย เราก็ไปติดกับดักของเดิม หมายความว่าเราก็ไปหาว่ารูปแบบการปกครองท้องถิ่นของเดิมใช้ชื่อว่าอะไรจริงๆ ในรัฐธรรมนูญมันบอกไว้ชัดว่าไม่จำเป็นต้องใช้ชื่อเหมือนเดิม
ถ้าเราดูตามรัฐธรรมนูญ บอกว่าพัฒนาจังหวัดที่มีความพร้อม ให้เป็นการปกครองแบบท้องถิ่นขนาดใหญ่โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนในจังหวัดนั้น เพราะฉะนั้น ชื่อมันอาจจะไม่ต้องเป็นนครด้วยซ้ำไป
ทีนี้เราก็ต้องยอมรับที่ว่าระบบการปกครองท้องถิ่นแบบเดิมที่ท้องถิ่นภาคใต้มันล้มเหลวผมจะไม่ใช้คำว่า อำมาตย์นะครับ เพราะมันดีเกินไปที่จะใช้ระบบราชการทั้งท้องถิ่นและส่วนกลาง ผมใช้คำว่าระบบราชการ พอคนเข้าไปอยู่แล้ว นักการเมืองก็เป็นข้าราชการการเมืองข้าราชการประจำก็ข้าราชการประจำ ท้องถิ่นก็ข้าราชการท้องถิ่น มันตามกันหมดคือมาจากประชาชนแล้วลืมประชาชน ระบบราชการแบบใหม่มันไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตที่เป็นอยู่
ที่ผมเห็นด้วยกับ อ.อารง ก็คือว่าถ้าเราไปคิดถึงการปกครอง พิเศษในรูปใดรูปหนึ่ง มันต้องเริ่มจากการพัฒนาในเขตพื้นที่นั้นให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตของเขา ผมไม่เชื่อว่าคนจังหวัดภาคใต้ไม่มีความสามารถ ในเวลานี้ข้อดีของสิ่งที่มันมีตรงจุดนี้ก็คือว่ามันเป็นความต้องการที่เสนอจากข้างล่างขึ้นมา แล้วเป็นครั้งแรกที่กฎหมายท้องถิ่นจะออกมาจากข้างล่าง
ความจริงวันนี้ผมคิดว่า ขบวนการแบ่งแยกแยกดินแดนเป็นขบวนการที่อ่อนมาก ในทำนองเดียวกันความรุนแรงที่มาจากรัฐเองก็ต้องระมัดระวังค่อนข้างสูงมาก
สิ่งที่น่ากลัวก็คือ สื่อมวลชน ซึ่งรุ่นหลังนี่ขาดความเข้าใจทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมภาษาของภาคใต้โดยสิ้นเชิง แต่ผมไม่อยากให้เราติดกรอบเดิมนะ อาจจะต้องใช้ชื่อการปกครองท้องถิ่นรูปแบบใหม่ ยังกล้าที่จะตั้งคำว่ามณฑล แล้วให้คนในพื้นที่เป็นใหญ่มากกว่าคนในส่วนกลาง มีอำนาจเต็มที่ เลือกตั้งจากประชาชน ก็ไม่ได้หมายความว่ามีอำนาจโดยสมบูรณ์ในการจัดการเกี่ยวกับรายได้และการจัดการบริหารรายจ่าย เป็นเรื่องที่น่าสนใจตรงที่พอปัญหาภาคใต้มันถูกยกระดับขึ้น คนจะพูดเรื่องท้องถิ่นมากขึ้น
จากนครปัตตานีและเขตบริหารพิเศษไปจนถึงแนวคิดของนักวิชาการและผู้เคยอยู่ในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ที่มานั่งถกกันในเรื่องที่ว่าด้วยนครปัตตานีกับ พ.ร.บ. ศอ.บต. คงทำให้ผู้อ่านได้เห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้นถึงสภาพของปัญหา การแก้ปัญหาและการปกครองในรูปแบบของการบริหารแบบพิเศษ ไม่ว่าจะในชื่อใดก็ตามจะมีความเป็นไปได้แค่ไหนและในภาคปฏิบัติจะต้องพบกับอุปสรรคใดบ้าง
เวลาและการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองจะพิสูจน์ให้เห็นว่าแนวคิดต่างๆ ที่นำเสนอกันมานี้จะเป็นรูปธรรมได้แค่ไหน
หมายเหตุ: ตีพิมพ์ครั้งแรกใน มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 4 - 10 มิ.ย. 2553

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น