วันเสาร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ

ระบอบประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ

โดย อ.สุวิทย์ หมาดอะดำ อาจารย์ประจำสาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวทิยาลัยอิสลามยะลา วิทยาเขตปัตตานี

อาจารย์สุวิทย์ได้กล่าวว่า โมเดลที่อาจารย์จะนำเสนอ มิใช่เป็นโมเดลเหมือนที่นักศึกษานำเสนอ แต่เป็นโมเดลที่จะสนับสนุนโมเดลที่เป็นอยู่ปัจจุบัน แล้วเอากระบวนการพวกนี้ไปแก้ไข ที่เรายากได้โมเดลที่นำเสนอมีสภาชูรอ ถ้าเรามาพูดถึงสภาชูรอตามบทบัญญติตามหลักการอิสลามจริงๆมันมิใช่มีอยู่ในโมเดลอย่างเดียว มันเป็นสภาหนึ่งซึ่งมีความสำคัญต่อระบบมากที่เขาเรีกยว่า อะฮลุลฮัล ลีวัลอักด มันเป็นสภาที่มีความเด็ดขาดมันเป็นสภาที่สามารถชี้เป็นชี้ตายได้ด้วย ถ้าเราเอาระบบนี้มันจะเป็นสภาเดียวกันหรือเปล่า หรือแค่เอาคนมานั่งปรึกษาหารืออย่างเดียวเท่านั้น อันนี้ก็น่าจะเอาความสำคัญกับกระบวนการนี้อยู่พอสมควร ถ้าเกิดว่าปัจจุบันนี้เราใช้ระบบประชาธิปไตยแบบตัวแทน คือการที่เรามีคนจำนวนมากไม่สามารถไปบริหารจัดการประเทศทั้งหมดได้แต่เราส่งตัวแทนไป ตัดสินใจแทนเราอันนี้คือระบบปัจจุบันอยู่ เพราะฉะนั้นปัญหามากมายที่เกิดขึ้นจากระบบนี้ คือปัญหาปัจจุบันที่เราเห็น การตัดสินของคนส่วนมากโดยไม่คำนึงถึงศีลธรรม คำนึงถึงบริบทกฎหมายอย่างเดียว มันมีคนเปรียบเทียบว่า ถ้าเกิดในสภากำลังคุยเรื่องแพะแสดงว่าเขากำลังตัดสินเรื่องแพะมิใช่เรื่องของปลาที่มีอยู่ในสภา เพราะว่าแพะเป็นคนยกมือ เราจะกินอะไรกัน ปลาบอกว่าเราจะกินลำ แพะทั้งหมดบอกว่าฉันจะกินหญ้า ปลาก็ต้องกินหญ้าด้วย นี่คืออาศัยการเมืองแบบตัวแทนหรือระบอบประชาธิปไตยแบบปัจจุบัน มันจะมีแนวคิดพัฒนาอยู๋ในศตวรรษที่สิบแปด ในปีหนึ่งก้าวกว่าๆ แนวคิดที่ว่าประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ เรามองว่าปัญหาหลักระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน คือตัวแทนที่ได้มานั้น ไม่มีประสิทธิภาพ มีอาจารย์ท่านหนึ่งเป็นนักรัฐศาสตร์ระดับประเทศ พูดหนักมากคือทุกครั้งที่เราเลือกตั้ง เราจะใช้สโลแกนว่าเลือกคนดีเข้าสภา แต่อาจารย์แกได้พูดว่า แล้วหมาที่นั่งอยู่ข้างในใครเป็นคนเลือกเข้าไป แล้วเราก็มานั่งด่าหลังจากการเลือกตั้งหนึ่งอาทิตย์เราจะเริ่มด่า ส.ส ที่เข้าไปนั่งในสภา แสดงว่าการคดสรรตัวแทนหรือผู้นำไม่มีประสิทธิภาพ เราไม่สามารถมีตัวเลือกที่เป็นคนดีได้ ในลิสต์ทั้งหมดที่ลงการเลือกตั้งไม่มีใครเป็นคนดี เพราะฉะนั้น เราก็เลือกคนที่ไม่ดี เพราะมันระบบที่ถูกเขียนมาแบบนั้น ที่นี้จะทำอย่างไร มันมีแนวคิดประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือจะบูรณาการอย่างไรกับประชาธิปไตยแบปัจจุบัน ในเมื่อประเทศไทยมันเขียนกฎหมายว่า เราเป็นระบบประชาธิปไตย แต่ประชาธิปไตยไม่ได้มีแบบเดียว ประชาธิปไตยแบบส่งเสริมหลักการมีส่วนร่วมของประชาชนมีอยู๋ในประเทศแสกนด์นิเวีย แคนนาดา ก็จะใช้ส่วยใหญ่คือพัฒนาขีดความสามารถของพลเมืองที่จะมีการไดอาลอพขึ้นกระบวนการเลือกตั้งขึ้นมา ในกระบวนการนี้ในงานวิจัยของมหาลัย เราจึงเอากระบวนการที่เราใช้คำว่ามัจลิสชูรอ คือให้ชาวบ้านจัดกระบวนการหนึ่งให้ชาวบ้านคดสรรผู้นำของชุมชน เขาจะมีเกณฑ์ของเขาเองว่าอะไรคือผู้นำที่ดี เพื่อจะสร้างความศักศิดย์ของมัจลิสนี้ไว้ เพื่อจะเลือกคนที่จะลงเลือกตั้งว่าใครบางคือคนดีที่ควรจะลงเลือกตั้งไป เป็นมติของชุมชนเลยว่า คุยกันก่อนให้ตกพลึกเลยว่า สี่ปีข้างหน้า หรือวาระในสี่ปีข้างหน้าเรียบเรียงวาระเร่งด่วนของชุมชน แล้วใครบ้างที่สามารถนั้น ถ้ามันคือเรื่องของเยาวชน ถ้ามันคือเรื่องของการศึกษา คนๆเดียวไหมที่จะทำได้ คนๆเดียวไม่สามารถที่จะทำได้ทุกอย่าง แต่ละคนมีความสามารถที่แตกต่างกันในแต่ละชุมชน บางคนทำงานในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานเท่านนั้น ทำอย่างอื่นไม่เป็นเลย เพราะฉะนั้นในวาระสี่ปีที่เข้าอยู่ เขาก็พัฒนาในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานอย่างเดียเลย สร้างถนนห็คนเดินได้เพราะว่า วัยรุ่นไม่ขับรถตรงเลน เพราะมันยังไม่พัฒนาตัวคน แต่โครงสร้างพื้นฐานเพียงพอหมดแล้ว ในขณะที่ตัวบุคคลยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ เพราะฉะนั้นตอนที่ทำงานวิจัยชุมชนสะท้อนบอกว่าผู้นำที่เราเลือกเข้าไปไม่สามารถตอบสนองความต้องการจริงๆของชุมชน มันมีปัจจัยหลายอย่าง การทุจริต การซื้อเสียง มันก็มีเหตมีผลที่จะทำให้คนเหล่านี้เกิดขึ้นมา ที่นี้จะทำอย่างไร เมื่อเรามีมัจลิสชูรอในเรื่องที่เรากำลังคุย มันทำให้เกิดการไดอาลอพระหว่างคนในชุมชนเอง ถึงสิ่งที่ดีที่สุดของชุมชน จากนั้นก็มอบหมายให้กับผู้นำชุมชน แต่ปัจจุบันนี้เขาใช้ประชาคมแต่มันก็ไม่ได้ไปตามเจตนารมนั้น ถ้าเราไปดูในการเมืองปัจจุบัน แต่มันไม่สามารถสะท้อนได้จริงๆ ชาวบ้านที่ไม่ใช่หัวเลียวหัวแรง นักคิดในชุมชน สิ่งที่ตามมาเขาก็เรียกร้องโครงสร้างพื้นฐานในชุมชน เรียกร้องถนนหน้าบ้านเขา เรียกร้องประปาหน้าบ้านเขา เพราะนั้นคือความต้องการพื้นฐานที่มีความเห็นแก่ตัวของแต่ละคนอยู่ เพราะฉะนั้นผลที่ออกมามันก็ไม่พ้นความต้องการทางโครงสร้างของประชาชนอย่างแน่นอน แต่จะทำอย่างไร จะคัดสรรคนในชุมชน จะทำการคดเลือกแกนนำว่าการพัฒนาควรทำอย่างไร การวางแผนคนจะทำอย่างไร โครงสร้างพื้นฐานอาจจะไม่ยาก แม้กระทั่งการที่จะเลือกกระบวนการคดสรรผู้นำ ก็ใช่ระบบนี้เช่นเดียวกันจะทำได้ไหม งานวิจัยตัวนี้มันเคยทดลองใช้เมื่อปี48 ที่อาจารย์ มะเสาวดี ไสสากา ลงไปทำ คือให้มีการคุยกันก่อน ก่อนที่จะลงเลือกตั้ง ปรากฎว่าไม่มีการซื้อเสียง เพราะทุกคนให้มติว่า โอเคให้คนนี้ลงไป แล้วุกคนก็เห็นด้วยไม่จำเป็นต้องซื้อเสียงเลย เพราะการสะท้อนครั้งนี้กำนันที่ลงไปว่าเป็นความรับผิดชอบแล้วล่ะ ที่เขาจะต้องทำ เพราะชาวบ้านรู้สึกว่า ที่เลือกฉันเพราะฉันข่ายตังค์ ถ้าเกิดว่าเราเลือกเพราะจ่ายตังค์ เราไม่จำเป็นที่จะต้องตอบสนอง สิ่งที่คุณยากได้คุณก็รับไปแล้ว ก่อนที่คุณจะเลือกฉัน เพราะฉะนั้นเมื่อเขาใช้ระบบการซื้อเสียง มันก็จะมีอิทธิพลทางจิตใจ เพราะสิ่งที่เขาเรียกร้องคือการพัฒนา มิใช่ซื้อเสียงที่เราต้องการแบบเมื่อก่อนแล้ว เพราะฉะนั้นประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือต้องการทำให้การเมืองภาคพลเมืองมันเกิด และตกพลึกความคิดบางอย่างให้นำไปสู่การพัฒนาต่อ เพราะฉะนั้นงานวิจัยตัวนี้มันพึ่งเริ่มในหนึ่งปี กระบวนการขายความคิด ใครจะซื้อบ้าง ในฐานะที่เราเป็นนักศึกษา เราต้องพลักดันกระบวนการนี้ขึ้น เพราะจะนำไปสู่การพัฒนา การกระจายอำนาจปัจจุบัน เราสามารที่จะจัดการการศึกษาด้วยตัวเองได้ งบประมาณเองได้ ข้อบัญญัติของตัวเองได้ แสดงว่านั้นก็คือการ Autonomy เต็มรูปแบบแล้ว องค์การบริหารส่วนตำบล มีงบประมาณยี่สิบล้านต่อปี ที่เป็นงบประจำ มิใช่งบที่เสริงอย่างงบไทยเข็มแข็ง จังหวัดหนึ่งมีงบห้าบร้อยล้านต่อปี มันยังไม่เพียงพอที่จะจัดการตัวเองจริงหรือ ถ้าคิดว่าจะทำจริงๆก็คงจะทำได้ มันก็คงจะไม่ต่างถ้าจะ Autonomy ถ้าผู้นำยังคงเดิม แค่เปลี่ยนระบบใหม่ เพราะฉะนั้นจะพัฒนาระบบที่อยู่ตอนนี้ แต่ว่ากระบวนการคัดสรรผู้นำให้ใช้กระบวนการปรึกษาหารือในชุมชน มันก็จะลดปัญหา หนึ่งความขัดแย้ง สองมันมีความรับผิดชอบร่วมกันความสำเร็จและความล้มเหลวได้ สาม ในอิสลามมันจะมีในซูเราะห์มูดัซสิร คือคนที่เป็นผู้นำไม่สามารถที่จะถวงบุญคุณได้ เพราะระบบนี้มันจะไปสนับสนุนว่าผู้นำจะถวงบุญคุญไม่ได้ มันเป็นผลงานของเขา เขาแค่เป็นกระบวนการ แต่ความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการปรึกษาหารือ มิใช่ผลงานของตัวเอง เพราะฉะนั้นนี้คือกระบวนในชุมชนที่จะให้ชุมชนเข้ามีส่วนร่วมทางการเองการปกครองมากขึ้น วันนี้โจทย์หลักของเรามีอยู่ว่าการเมืองคือเรื่องของคนในชุมชน มิใช่เรื่องของนักการเมือง พัฒนาการมีส่วนร่วม ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ ยากพัฒนาระบบการเมืองคือซีวิวโซซัยตี การเมืองภาคพลเมืองให้เกิดความเข้มแข็งขึ้นมา สิ่งเหล่านี้เป็นวิธีคิดที่เราใช้ในกระบวนการวิจัยของเรา เรพาะฉะนั้นเราก็คาดหวังที่จะพัฒนาถึงขั้นที่จะสมบูรณ์ได้ในอนาคต ถ้าหากมันไม่มี Autonomy แต่ถ้าหากมันมี Autonomy ก็ว่ากันไปตามระบบที่มันจะเกิดขึ้นมาใหม่ นี่คือคอนเส็ปหลักของการปกครองประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือที่เขาพูดคุยกัน



คำถามจากผู้เข้าร่วมเสวนาวิชาการ

ประเด็นแรก ถ้าสภาชูรอจะจัดตั้งขึ้นมาใครจะเป็นคนเลือกเข้าไปนั่งในสภาชูรอ มีกระบวนการอย่างไร และมีขั้นตอนอย่างไร ?

อาจารย์ สุวิทย์ หมาดอะดำ ได้กล่าวว่าในกรณีสภาชูรอ อิสลามมิได้กำหนดกฏเกณฑ์ที่ตายตัวว่า แต่มันจะมีหลักการอยู่ว่า หน้าที่หลักของสภาชูรอ คือกำนหนดกรอบควบคุมการบริหารจัดการทั้งหมดให้อยู่ในกรอบของหลักการอิสลาม และหลักการของซุนนะห์ นี่คือหน้าที่ของสภาชูรอ จะชูรอทำไม ก็จัดการประเด็นความขัดแย้ง เพื่อที่จะลดปัญหาตรงนี้นี่ก็คือหนึ่ง สองทำหน้าที่ในการคัดเลือกผู้นำ นี่เป็นหน้าที่หลักของสภาชูรอ พอเรามองถึงขั้นนี้ ก็จะมีคุณสมบัติเบื้องต้นของคนที่อยู่ในสภาชูรอ ต้องรู้อิสลาม ต้องเป็นมุสลิมแน่นอน สอง ชูรอไม่ได้บอกว่าจะคุยกันทั้งหมด แต่เวลาเกิดข้อขัดแย้ง ก็สามารถที่จะระดมภาคส่วนอื่นที่มีความเชี่ยวชาญมา เพราะฉะนั้นสภาชูรอมีหน้าที่เป็นเพียงผู้ประสานให้เกิดข้อสรุปต่างๆให้เกิดขึ้น จะเอาความคิดเห็นต่างๆมาใช้ในการวิเคราะห์ปัญหาได้ แต่ว่ามติการตัดสิน ชูรอจะใช้มติจากสภา ซึ่งใช่เสียงส่วนมาก เพราะฉะนั้น จะลดความผิดพลาดให้ได้มากที่สุด เพราะฉะนั้นคนที่เข้ามามิใช่เพราะนักการศาสนาอย่างเดียว ก็ต้องมีคนที่มีความรู้ด้านการเมืองการปกครองเข้ามา นี่คือคุณสมบัติหลักของคนที่จะเข้ามาในสภาชูรอ

1 ความคิดเห็น: