วันเสาร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2553

มัซฮับและขบวนการ : แนวนโยบายและความคิดกลุ่มอิควานมุสลิมีน

มัซฮับและขบวนการ : แนวนโยบายและความคิดกลุ่มอิควานมุสลิมีน
อิควานมุสลิมีนเป็นองค์กรมุสลิมที่มีแนวนโยบายและความคิดที่ชัดเจนที่สุด มีความสมดุลและเรียบง่ายที่สุด โดยมีสาส์นอิหม่ามหะสัน อัลบันนา ซึ่งเป็นแนวความคิดของอิหม่ามชะฮีด เป็นรากฐานของกฎเกณฑ์กลุ่มอิควานมุสลิมีน สาส์นอิหม่ามหะสัน อัลบันนาประกอบด้วยสาส์นกว่า 20 ฉบับ กล่าวถึงหลายๆประเด็นต่างกรรมต่างวาระ ตั้งแต่คำสอนทางศาสนา จุดยืนทางการเมือง เศรษฐกิจ การจัดการองค์กร และอื่นๆ
หนึ่งในสาส์นนั้น เป็นสาส์นที่ประกอบด้วยหลัก 20 ประการ ที่สมาชิกกลุ่มยึดมั่นและให้ความความสำคัญอย่างยิ่งยวด ประเด็นหลักที่มีในสาส์นคือ หะสัน บันนา ถือว่ากลุ่มอิควานมุสลิมีน โดยมีลักษณะครบวงจรตามลักษณะของศาสนาอิสลามที่กลุ่มยึดมั่น เนื่องจากศาสนาอิสลามเป็นทั้งศาสนาและรัฐ เป็นดาบและอัลกุรอ่าน อาณาเขตของอิสลาม คือประเทศอิสลามทั้งหมด อิสลามเป็นสัญชาติของประชาชนในรัฐ
ท่านกล่าวไว้ในสาส์นการประชุมครั้งที่ 5 ของอิควานมุสลิมีนว่า

“ เราเชื่อมั่นว่า หลักการและคำสอนอิสลามมีความสมบูรณ์แบบ
วางแบบแผนเรื่องราวของผู้คนในโลกดุนยาและอาคิเราะต์
อิสลามเป็นทั้งหลักความเชื่อและศาสนพิธี รัฐและสัญชาติ
ศาสนาและประเทศ เรื่องทางกายและทางใจ คัมภีร์และอาวุธ”
สืบเนื่องจากการที่อิสลามมีลักษณะสมบูรณ์แบบ อิหม่ามหะสัน อัลบันนา จึงกำหนดว่า อิควาน มุสลิมีนมีลักษณะดังนี้
1. เป็นผู้ตามแนวสะลัฟ (บรรพชน) เนื่องจากอิควานเรียกร้องสู่การกลับคืนสู่แหล่งที่มาอันพิสุทธิ์ของอิสลาม อันได้แก่ คัมภีร์ของอัลลอฮฺ และแบบอย่างทูตของพระองค์
2. เป็นแนวทางชาวสุนนะฮฺ เนื่องจากอิควานต้องปฎิบัติตามสุนนะฮฺที่ถูกต้องในทุกๆเรื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่องหลักศรัทธา การประกอบศาสนพิธี
3. เป็นชาวซูฟีย์ เนื่องจากกลุ่มเชื่อว่า พื้นฐานแห่งความดี คือจิตใจที่บริสุทธิ์ การทำงานอย่างจริงจัง การตัดจากโลก ความรักเพื่ออัลลอฮฺ และพันธะในความดีงาม
4. เป็นองค์กรทางการเมือง เนื่องจากกลุ่มเรียกร้องสู่การปฏิรูปการเมืองภายใน การทบทวนความสัมพันธ์กับประชาชาติต่างๆ การทำให้ประชาชนมีศักดิ์ศรี มีเกียรติ รักชาติบ้านเมืองอย่างจริงใจ
5. เป็นสมาคมกีฬา เนื่องจากกลุ่มให้ความสำคัญต่อสุขภาพ และรู้ว่ามุอฺมินที่ร่างกายแข็งแรงดีกว่า มุอฺมินที่ร่างกายอ่อนแอ
6. เป็นองค์กรทางวิชาการ เนื่องจากอิสลามถือว่าการแสวงหาความรู้เป็นหน้าที่ของมุสลิมทุกคน
7. เป็นองค์กรธุรกิจ เนื่องจากอิสลามให้ความสำคัญต่อการบริหารทรัพย์สิน และการประกอบอาชีพที่สุจริต
8. เป็นองค์กรทางสังคม เนื่องจากอิควานมุสลิมีนให้ความสำคัญต่อการแก้ปัญหาทางสังคมของประชาชาติอิสลามทั้งมวล
หลักการ 20 ประการ
ใน “สาส์นแห่งคำสอน (ริสาละต์ ตะอาลีม) ” ของอิม่ามหะสัน อัลบันนา กล่าวถึงองค์ประกอบสัตยาบันของกลุ่มอิควานมุสลิมีน 10 ประการ โดยองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดคือ “ความเข้าใจ” ซึ่งท่านหมายถึงความเข้าใจอิสลาม ในขอบเขตหลักการ 20 ประการ
กลุ่มอิควานให้ความสำคัญต่อหลักการ 20 ประการนี้อย่างยิ่ง เป็นธรรมนูญแห่งการดะอฺวะอฺของอิควาน ผู้นำทางความคิดและผู้นำภาคสนามของอิควานหลายๆท่าน ได้อธิบายความหลักการนี้ไว้อย่างชัดเจน คำอธิบายที่โดดเด่นอย่างยิ่ง คือบทอธิบายโดยชัยค์มุฮัมมัด อัลฆอซาลีย์ ในหนังสือ “ ธรรมนูญแห่งเอกภาพทางความคิดของมุสลิม ”
หลักการ 20 ประการเริ่มต้นโดยการยึดมั่นว่า อิสลามเป็นระบบที่สมบูรณ์แบบประมวลถึงกิจการด้านต่างๆในการดำเนินชีวิตทางโลกและทางศาสนา การปกครองและความเชื่อความศรัทธา ย้ำว่าแหล่งที่มาของอิสลามคืออัลกุรอานอันทรงเกียรติโดยความเข้าใจตามหลักภาษาอาหรับ และสุนนะฮฺตามสายรายงานของนัก หะดิษที่เชื่อถือได้
ผู้นำมีสิทธิเลือกเฟ้นบทบัญญัติที่นักวิชาการมีทัศนะที่แตกต่างกัน ตามสภาพแวดล้อม ขนบธรรมเนียมประเพณี ตราบใดที่ไม่มีตัวบท (อันนัศศฺ) ที่ชัดเจน และท่านอิหม่ามมีทัศนะว่า ทัศนะของทุกๆคนอาจจะนำมายึดถือหรือไม่ยึดถือก็ได้ นอกจากท่านผู้ปราศจากความผิดมุฮัมมัด
มุสลิมทุกคนจะต้องปฏิบัติตามอิหม่ามทางวิชาการศาสนา และควรจะต้องศึกษาหลักฐานที่มาของทัศนะเหล่านั้น ความแตกต่างทางฟิกฮ์ในประเด็นปลีกย่อย จะต้องไม่เป็นสาเหตุของความแตกแยก ความเกลียดชังและความโกรธแค้นระหว่างมุสลิม การสืบค้นประเด็นต่างๆ ที่ไม่มีผลในทางปฏิบัติ เป็นสิ่งต้องห้ามตามหลักศาสนาอิสลาม



ภาคผนวก

ขบวนการอัล-อิควานอัล-มุสลิมูน
“ อัล-อิควานอัล-มุสลิมูน ” เป็นขบวนการอิสลามที่เคลื่อนไหว เรียกร้องเพื่อ
กลับสู่อิสลามตามที่ปรากฎในอัล-กุรอาน และอัล-หะดีษ เรียกร้องให้นำกฎหมายอิสลาม
มาใช้ในชีวิตประจำวัน
ขบวนการนี้ก่อตั้งโดย หะซัน อัล-บันนา ( ค.ศ. 1906 –1949 ) เขาเกิดใน
ประเทศ อียิปต์ เติบโตในครอบครัวที่ยึดมั่นศาสนาอย่างเคร่งครัด ได้รับการศึกษา
ศาสนา จากครอบครัว มัสยิด และเข้าเรียนในโรงเรียนของรัฐบาลจนกระทั่งได้ศึกษาต่อ
ในวิทยาลัยดารุลอุลูม ( Dar al-Ulum ) ณ กรุงไคโร เขาได้รับการศึกษาในปี ค.ศ. 1927
เขาได้รับการบรรจุเป็นครูในจังหวัดอิสมาอีลียะฮ์ ( Ismailiyyah ) ณ จุดนี้เขาเริ่มกิจกรรม
ทางด้านศาสนาในเดือนเมษายน ค.ศ. 1928 เขาเริ่มก่อตั้งขบวนการอัล-อิควานอัล-มุสลิมูน
ขึ้นเป็นครั้งแรก
ในปี ค.ศ. 1932 หะซัน อัล-บันนา ได้ย้ายจากอัล-อิสมาอีลียะฮ์ สู่นครไคโร
ขบวนการอัล-อิควานอัล-มุสลิมูน จึงได้ย้ายไปกับเขาด้วย ในปี ค.ศ. 1933 หนังสือพิมพ์
“อัล-อิควานอัล-มุสลิมูน” ได้การตีพิมพ์ เผยแพร่เป็นรายสัปดาห์ โดยมี มุฮิบบุดดีน
อัล-คอตีบ ( Mahabbuddin al-Khatib )เป็นบรรณาธิการ ต่อมาหนังสือพิมพ์ “ อัล-นะซีร”
(al-Nadhir ) ก็ได้รับการตีพิมพ์ ในปี ค.ศ. 1938 และหนังสือพิมพ์ “ อัล-ชีฮาบ ”
(al-Shihab) ได้รับการตีพิมพ์ ในปี ค.ศ. 1947 หลังจากนั้น ขบวนการอัล-อิควานอัล-
มุสลิมูนได้พิมพ์ หนังสือพิมพ์ และนิตยาสารหลายเล่ม
ในปี ค.ศ. 1941 ขบวนการอัล-อิควานอัล-มุสลิมูน ได้การก่อตั้งเป็นองค์กร
เพื่อการเคลื่อนไหว มีสมาชิก จำนวน 100 คน โดยที่ หะซัน อัล-บันนาเป็นผู้เลือกเอง
ในปี ค.ศ. 1948 ขบวนการอัล-อิควานอัล-มุสลิมูน เข้าร่วมรบกับปาเลสไตน์
เพื่อต่อต้านยิวและในเดือน พฤศจิกายน ปีเดียวกัน มะฮ์มูด อักรอซี (Mahmud al-Naqrasi )
ประธานสภาอิยิปต์ ในสมัยนั้น ได้ออกคำสั่งปราบปรามขบวนการอัล-อิควานอัล-มุสลิมูน
ทรัพย์สินของขบวนการถูกยึด ผู้ขบวนการหลายคนถูกจับกุม
ในเดือน ธันวาคม ค.ศ. 1948 อันนักรอซีถูกลอบสังหาร และขบวนการ
อัล-อิควานอัล-มุสลิมูนถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ลงมือสังหารเขา บรรดาพรรคพวกของ
198
นักรอซี ซึ่งติดตามศพเขา ต่างโห่ร้องว่า ศรีษะของนักรอซี ต้องแลกด้วนศรีษะของ
หะซัน อัล-บันนา และในวันที่ 12 เดือน กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1949 หะซัน อัล-บันนาก็ถูก
ลอบสังหาร
ในปีค.ศ. 1950 ขบวนการอัล-อิควานอัล-มุสลิมูน ได้รับการปลดปล่อย เพราะ
คำสั่งของอันรอซี ไม่ถูกต้องตามกฎหมายของประเทศ ขบวนการอัล-อิควานอัล-มุสลิมูน
ได้เลือก ได้เลือก หะซัน อัล-หุดัยบี ( Hasan al-Hudaibi ) เป็นผู้นำ เขาถูกจับหลายครั้ง
และในปี ค.ศ. 1954 เขาถูกตัดสินประหารชีวิต ต่อมาได้รับลดโทษ ให้จำคุกตลอดชีวิต
และในปี ค.ศ. 1971 เขาได้รับการปลดปล่อย
ในปี ค.ศ. 1951 วิกฤตการณ์ ความขัดแย้งระหว่าง อังกฤษ และอียิปต์ เพิ่มทวี
ขึ้นขบวนการอัล-อิควานอัล-มุสลิมูน ได้เข้าโจมตีอังกฤษ ณ คลองสุเอซ
ในปี ค.ศ. 1952 เกิดการปฎิวัติโค้นล้มกษัตย์อียิปต์ซึ่งมีอังกฤษคอยสนับสนุน
อยู่เบื้องหลัง การปฎิวัตินี้นำโดย มุฮัมมัด นายีบ ( Muhammad Najib ) โดยที่ได้รับการ
สนับสนุนจากขบวนการอัล-อิควานอัล-มุสลิมูน หลังจากการปฎิวัต ขบวนการอัล-อิควาน
อัล-มุสลิมูน ปฎิเสธการเข้าร่วมรัฐบาล เพราะแนวคิดของขบวนการไม่สอดคล้องกับ
รัฐบาล ด้วยเหตุนี้ ยามาล อบดุลนาซีร ( Jamal Abdunnasir ) ซึ่งเป็นประธานาธิบดีใน
สมัยนั้น ถือว่าขบวนการอัล-อิควานอัล-มุสลิมูน ปฎิเสธการปฎิวัต ทั้งสองฝ่ายเกิดความ
ขัดแย้งอย่างรุนแรง จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1954 สมาชิกขบวนการอัล-อิควานอัล-มุสลิมูน
ถูกจับ สมาชิกหลายพันคน หนีอย่างกระเจิดกระเจิง พวกเขาถูกกล่าวหาว่าพยายามลอบ
สังหาร ยามาล อับดุลนาซีร
ในปี ค.ศ. 1965- 1966 ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาล กับขบวนการอัล-อิควาน
อัล-มุสลิมูน ได้เกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่งอย่างรุงแรง และไปสู่การจับกุมสมาชิกของขบวนการ
สมาชิกหลายคนถูกทรมาน และสมาชิกหลายคนถูกประหารชีวิต รวมทั้งซัยยิด กุฎบ์
เขาเป็นนักคิดนักวิชาการของขบวนการอัล-อิควานอัล-มุสลิมูนคนที่สอง หลังหะซัน
อัล-บันนา ซึ่งถูกลอบสังหาร
แนวคิดของขบวนการอัล-อิควานอัล-มุสลิมูน
ความหมายของอิสลามตามแนวคิดของขบวนการอัล-อิควานอัล-มุสลิมูน
นั้นกว้าง ครอบคลุมทุกๆด้าน ไม่ละเลยในด้านใด ด้านหนึ่ง ดังนั้นขบวนการพยายาม
199
อย่างยิ่งในการกระจายกิจกรรมของขบวนการเพื่อเข้าสู่ระดับนานาชาติ
หะซันอัล-บันนาได้กล่าวถึงลักษณะ ของขบวนการอัล-อิควานอัล-มุสลิมูน
ว่า เป็นองค์กรที่
1 –ห่างไกลจากความขัดแย้งทางศาสนา
2 – ห่างไกลจากผู้ที่มีฐานะ มีชื่อเสียง หรือผู้มีระดับในรัฐบาล
3 – ห่างไกลจาก องค์กร หรือพรรคการเมือง
4 - เอาใจใส่ในการเสริมสร้างการเคลื่อนไหวขององค์กรในการดำเนินไปทีละขั้น
5 – ให้ความสำคัญในด้านการปฎิบัติมากกว่าการโฆษณาชวนเชื่อ
6 - ให้ความสำคัญในการรับสมาชิกที่เป็นวัยหนุ่มสาว
7 – พยายามเชิญชวนเผยแพร่ตามหมู่บ้านและในเมืองอย่างรวดเร็ว
หะซันอัล-บันนาได้กล่าวถึง สมาชิกของขบวนการอัล-อิควานอัล-มุสลิมูน
จะต้องให้สัตยบัน 10 ประการคือ
1 – การเข้าใจ หมายถึงการเข้าใจอิสลามอย่างสมบูรณ์ตามที่เขาเข้าใจ ซึ่ง รู้จักกันใน
ชี่อว่า อัล-อุซูล อัล-อิชรีน ( พื้นฐาน 20 ประการ )
2 – ความบริสุทธิใจ หมายถึง คำพูด การกระทำ การต่อสู้ ทุกอิริยบท ของเขาเพื่อ
อัลลอฮฺเพียงพระองค์ เดียว
3 – การปฎิบัติ หมายถึง
1 . พยายามปรับปรุงพัฒนาตนเองให้มีร่างกายที่แข่งแรง มีจริธรรมที่ดีเยี่ยม มีความคิด
มีปัญญาที่ดีเลิศและถูกต้อง มีความสามารถในการทำงาน มีความถูกต้องในการประกอบ
ศาสนกิจ
2 . สร้างบรรยากาศบ้านให้เป็นบ้านมุสลิม ด้วยการเน้นบ้านที่ถูกต้องตามอิสลาม รักษา
กฎระเบียบอิสลามไว้ในบ้าน
3 . ชี้นำสังคมด้วยการเผยแพร่ความดี และต่อต้านความชั่วและอบายมุข
4 . ปลดปล่อยประเทศจากอำนายภายนอก ที่ไม่ใช่อิสลาม ในด้านการเมือง เศรฐกิจ
และในด้านจิตใจ
5 . พัฒนา ปรับปรุงรัฐบาล ให้เป็นรัฐบาลอิสลามอย่างแท้จริง
4 - การต่อสู้ในแนวทางของอัลลอฮฺ
200
5 – การเสียสละ หมายถึง การเสียสละตัวเอง ทรัพย์สิน เวลา เพื่อให้เป้าหมายของ
ขบวนการสำเร็จ
6 – การเชื่อฟัง หมายถึง การเชื่อฟัง และปฎิบัติ ในยามทุกข์ยาก และในยามสุขสบาย
7 – ความหนักแน่นมั่นคง หมายถึงสมาชิกของขบวนการจะต้องปฎิบัติเพื่อบรรลุเป้า
หมาย แม้ว่าจะใช้ระยะทางที่ไกล และระยะเวลาที่ยาวนาน
8 – การเป็นเอกเทศ หมายถึง ความคิดของขบวนการต้อง ไม่ปะปนกับแนวคิดอื่น
เพราะแนวคิดของขบวนการสมบูรณ์ถูกต้องตามระบบอิสลามแล้ว
9 – ความเป็นพี่น้อง หมายถึงสมาชิกของขบวนการต้องมีจิตใจที่รักใคร่ผูกพันกันด้วย
สายใยแห่งการศรัทธา
10 – การไว้วางใจ หมายถึง สมาชิกต้องไว้ใจผู้นำในการบริหารอย่างบริสุทธิใจ
(al-Nadwah al-Alamiyyah Li al-Shabab al-Islami,1989:23-27 ; al-Banna,1984 :356-364__

6 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ21 มีนาคม 2554 เวลา 23:34

    ผมไม่เห็นด้วยกับการที่ยกสาศนาอิสลามมาเป็นเกราะกำบังในเมื่อไม่ตรงตามที่สาศนาอิสลามสอนมา

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ3 เมษายน 2554 เวลา 09:49

    ขึ้นอยู่กับการปฏิติบัติว่า
    ตรงตามแนวทางอิสลามที่แท้จริงหรือไม่

    ตอบลบ
  3. ผมว่ามันไม่ใช่หน้าที่ของเรา ที่จะไปด่วนตัดสิน ด่วนสรุปว่าใครถูกใครผิด เพราะนั้นคืองานของอัลลอฮ ว่าไหมคับ ดังนั้น ถ้าเรามีเป้าหมายเดียวกันคือฟื้นฟูอิสลามให้กลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง ตามแนวทางของท่านนบีมูฮัมหมัด เรามาร่วมใจกัน เรามาร่วมสร้างสรรค์กัน เรามาร่วมเป็นหนึ่งกัน ในบริบทที่แตกต่างกันคับ(อุมมะห์วาฮีดะห์ ในบริบทที่หลากหลาย)ดีไหมคับ เพราะความแตกต่าง ความหลากหลาย คือฟิตเราะห์ที่อัลลอฮสร้างใช่ไหมคับ เรามาแสวงจุดที่ร่วมกัน ผมไม่อยากเห้นพี่น้องของเราทั้งหลาย ทะเลาะด้วยกันเองคับ อามีน

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ4 พฤษภาคม 2554 เวลา 20:55

    การปกครองของทานนบี นั้นไม่ใช่การเมืองหรือ คุนจะอยู่ใต้การปกครองของกาเฟรตลอดไปงั้น หรือใใใใใใใใใใใใใใใใ









    ตอบลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ17 กันยายน 2555 เวลา 08:12

    ไม่ว่าใครจะเป็นอิควาน เป็นอะชาอิเราะ เป็นตับลีค และอื่นๆ
    ทุึกคนล้วนเป็น ซุนนะ และมีแนวทางตาม กิตาบุลลอฮฺและซุนนะ
    ที่อยู่ภายในสังคม ที่เราเรียกว่า ซุนนะวัลญะมาอะ ทั้งหมด
    โดยพวกเขาล้วนแสวงหาความโปรดปรานจากอัลลอฮฺทั้งสิ้น
    ยกเว้นว่า แนวทางบางอย่างนั้นถูกกลืนไปกับกาลเวลา
    ทำให้การปฏิบัติบางอย่างนั้นไม่ถูกต้อง และกลายเป็นสิ่งที่ไม่ดี

    แต่เมื่อพวกเขานั้นล้วนมี รุก่นอีหม่าน และรุก่นอิสลาม ครบถ้วน
    พวกเขาก็คือพี่น้องของเราแล้ว แม้ว่าอาจจะมีการปฏิบัติแตกต่างไปบ้าง
    สุดท้ายพวกเขาก็จะต้องถูกสอบสวน

    เราจึงมีหน้าที่ตักเตือนพวกเขาเหล่านั้นให้อยู่ในแนวทางที่เที่ยงตรง
    หาใช่มีหน้าที่คอยซ้ำเติม หรือคอยยุแยง หรือสะใจ
    กับการแตกแยกของพี่น้องมุสลิม

    จึงเรียนมาเพื่อทราบ
    และหวังว่าพี่น้องทุกท่านจะระมัดระวังตนเองด้วย
    อินชาอัลลออฺ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ผมว่าซุนนะมีแนวทางเดียวไม่ใช่หลายพวกมารวมกัน นี่ไม่ใช่แนวทางของอิสลาม

      ลบ