วันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2553

อัลกุรอานและฮาดีษที่กล่าวถึงความพอเพียง

1.ความรวยไม่ได้อยู่ที่การมีทรัพย์มาก แต่ความรวยอยู่ที่ความรวยน้ำใจ” (หะดีษบุคคอรี และ มุสลิม)
2.มาตร แม้นว่ามนุษย์คนหนึ่งนั้นได้รับครอบครอบสองหุบเขาที่เต็มไปด้วยทรัพย์สิน แน่นอนที่สุดเขาย่อมจะแสวงหุบเขาที่สาม และไม่มีสิ่งใดจะบรรจุเติมเต็มท้องของมนุษย์ได้นอกจากดินเท่านั้น” (เป็นการเปรียบเทียงทำนาองว่า ความตายคือสิ่งเดียวที่สามารถหยุดยั้งกิเลสและความต้องการของมนุษย์ได้)"(รายงานโดยบุคอรี ฮะดิษที่ 6072 และมุสลิม ฮะดิษที่ 2390)
3.ท่านรอชูลุลลอฮ (ศ.ล) ได้กล่าวว่า “แน่นอนผู้ที่มอบตนแก่พระเจ้าได้ประสบความสำเร็จและเขาได้รับปัจจัยยังชีพที่เพียงพอและเขาพึงพอใจในสิ่งที่อัลลอฮฺ ประทานให้" รายงานโดยมุสลิม
4.โชคดีเป็นของผู้ที่ได้รับการชี้นำให้ได้รับอิสลามและเขามีปัจจัยยังชีพที่พอเพียงและพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ตัรมีซีย์,สุนัน, หมวด อัซซุดดู ,บรรพ มาจาอาฟิลกีฟาฟวัซซีรอลัยฮี, เล่มที่ : 2349
5.และบรรดาผู้ซึ่งเมื่อพวกเขาใช้จ่าย พวกเขาก็ไม่สุรุ่ยสุร่ายและไม่ตระหนี่ และระหว่างของสภาพนั้น พวกเขาอยู่สายกลาง ซูเราะฮฺ อัล-ฟุรกอน, 25: 67.
6.ความผาสุกจะได้แก่ผู้ที่ได้รับการชี้นำสู่อัลอิสลาม โดยที่ การดำรงชีวิตของเขานั้น เป็นเศรษฐกิจพอเพียง และเขาพอใจด้วยสิ่งนั้น
ผู้ที่ได้รับการชี้นำสู่อัลอิสลามนั้น ได้รับความสำเร็จ โดยที่ การดำรงชีวิตของเขานั้น เป็นเศรษฐกิจพอเพียง และเขาพอใจด้วยสิ่งนั้น บันทึกโดย อิบนุหิบบานและอัลหากิม ดูสิลสิละฮอัศเศาะฮีหะฮ เล่ม 4 หน้า 10 หะดิษหมายเลข 1506
7.ความร่ำรวยมันมิได้อยู่ที่การมีทรัพย์สินเงินทองมาก แต่ความร่ำรวยนั้นอยู่ที่จิตใจ ร่ำรวยนั้น หมายถึง การมีพอ ความพอ ไม่มักมากและไม่ฟุ้งเฟ้อ บอกโดยมุสลิม, ซอฮีฮฺ, หมวด อัซซากาต, บรรพ ลัยซัลฆอนีอันกัสรอฮฺตุลอารอด, เลขที่: 1051
8."ท่าน จงอยู่อย่างสมถะบนโลกใบนี้แล้วอัลเลาะฮ์จะรักท่าน และจงปล่อยวางในสิ่งที่มนุษย์ครอบครอง (รู้จักพอไม่คิดแย่งชิงแข่งขันอันก่อให้เกิดโลภและริษยา) มนุษย์จะต่างพากันรักท่าน" รายงานโดย อิบนุมาญะห์ ฮะดิษที่ 4102
9.“และพวกสูเจ้าจงกินและจงดื่ม และพวกสูเจ้าอย่าได้สุรุ่ยสุร่าย แท้จริงพระองค์มิทรงรักบรรดาผู้ที่สุรุ่ยสุร่าย” (อัล-อะอฺรอฟ อายะฮฺที่ 31)
“10.แท้จริงบรรดาผู้ที่สุรุ่ยสุร่ายฟุ่มเฟือยในการใช้จ่ายนั้น พวกเขาเป็นพี่น้องกับเหล่ามารร้าย และมารร้ายนั้นมันเนรคุณต่อพระผู้อภิบาลของมัน” (อัลอิสรออฺ อายะฮฺที่ 27)

วันพฤหัสบดีที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2553

แหล่งอ้างอิงบางส่วนในเอกสารประกอบการสอนรายวิชาหลักการบริหารในอิสลาม3 มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา

แหล่งอ้างอิงบางส่วนในหนังสือหลักการบริหารการปกครองในอิสลาม สาม

ภาษาไทย

สมาคมนักเรียนอาหรับไทย. 1998 . พระมหาคัมภีร์อัลกุรอานพร้อมความหมาย .อัลมาดี
นะห์ อัลมูเนาวาเราะห์ .ศูนย์กษัตร์ ฟะฮัด เพื่อการพิมพ์อัลกุรอาน .

บรรจง บินกาซัน . 2542 . ประวัติศาสตร์สำหรับเยาวชน . กรุงเทพ : สำนักพิมพ์

ประจักษ์ ช่วยไล . 2521 . โลกอิสลาม . กรุงเทพ : ......................

พระราชนิพนธ์ ในราชการที่ 5 . 2530 . นิทราชาคริต . กรุงเทพ : โรงพิมพ์คุรุสภา

สุพล บุญมาเลศ . 2530 . ประวัติศาสตร์อาณาจักรอับบาซียะห์ . กรุงเทพ : ศูนย์
ภาษาอาหรับ

สมาน มลีพันธ์ . 2516 . สี่อีหมาน . กรุงเทพ : วงค์เสงียน

ดลมนรรจน์ บาก และมูฮัมหมัดรอฟลี แวหะมะ , 2543 อาณาจักรออตโตมาน . ปัตตานี
.โรงพิมพ์มิตรภาพ

ชัยวัฒน์ ถาวรธนสาร และ นันทนา เตชะวณิชย์ 2544. ประวัติศาสตร์แอฟริกาและตะวันออกกลาง.
กรุงเทพฯ : รามคำแหง

ดลมนรรจน์ บากา และ มูหัมมัดรอฟลี แวหะมะ. 2534. อาณาจักรออตโตมานราชวงศ์อุษมานียะฮ.
พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นันทนา เตชะวณิชย์. 2538. ประวัติศาสตร์ตะวันออกกลาง. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ :
สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
บรรจง บินกาซัน. 2544. ประวัติศาสตร์อิสลาม. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อัลอะมีน.

ภาษามลายู

Abd Malik KarimuIlah (Hamka).1980. Sejarah Umat Islam. Kuala lumpur
: Idisi pustaka Antara

Taib Harun. 1981 . Kuasa Pemeritahan Islam . Kotabaharu Kelatan : Dian
Darulnaim Sdn. Bhd

--------------1979 . Kuasa Perundagan Islam . Kuala lumpur : Pakarprint Sdn . Bhd.
Haji Muhamad Abd Ghani . 1968. Sejarah islam. Kota Baharu : Pustaka
Mahligai pres

Munawer Imam . 1985 . Mengenal Peribadi 30 Pendekara dan Pemikir
Islam . Surabaya : Pt Bina ilmu

Ahmad Jamil . 1984. Seratus Muslim Terkemuka . Pinang,Malaysia:
:Sabdulmajeed

Sayid alwakil Muhamad . 1998 . Wajah Dunia Islam . Jakarta Timur Pt al
kausar

Haji Hahya Mahayudin . 1993. Sejarah Islam . Malaysia : Pajar Bakti Sdh bhd

Abd Rahman Mustafa . 1968. Rengkasan Sejarah Kerajaan bani Usmaniyah.
Pulau pinang : Ziyunaited preiss

ภาษาอาหรับ

Abd Qadir aI- Aw dah . 1955. aI- Islam wa Awda a na aI Qanuniyah. -----------
: --------------
Abi Muhammad Abd AIIah Ibn Muslim . 1967. aI- Imamat wa aI- Siyasat . aI-
Qahirah ; Muassasat aI Halabi

Abd Wahab Khalap . 1977 . al- Siyasat aI-Shar yyah aw Nizamu aI Dawlah
aI-Islamyyah . aI- Qahirah : Dar aI- Ansar
al-Nawawy . 1987. Sahih Muslim. Al-qahirah : Dar al-Rayan lil turath

Abi al Fathy Muhammad Ibn Abdulkarim al Shahr stany. 1998. al-Milal wa al Nihal.
Bairut Lubnan : Dar al-Ma ripah

Mas‘u di Abi Hasan Ibn Hasan Ibn Ali . Muruj al- Dhahab wa Ma‘ a din aI-Jawhar.
Bairut Lubnan : aI Maktabah aI- Asr yah


Ahmad Shalabi. 1982 . Mawsu‘ ah aI Tarikh al-Islami wa Hadarah aI-Islamiyah.
al - Qahirah : Maktabat aI - nahdah al – Misriyah

al Mawardy . 1990 . al Ahkam al sultaniah . Bairut : Dar al-Kutub al araby

Ahmad Ibn hanbal . 1998 . al-Musnad . al-Riyad : Baitul al-Afkar al-dawliyah

Ibn khaIdun Abd aI- Rahman. 1992 . Tarikh Ibn khaldun. Bairut Lubnan Dar al
- kutub al – Ilmiyah


aI - Tabari Muhamad Ibn Jarir . 1991 .Tarikh al-Umam wa al- Muluk.v.4. Bairut :
Lubnan Dar al - kutub al- Ilmiyah

Abd aI- Aziz bin Abd Allah al Humaidi. 1998 . Tarikh aI Islami Mawagifu wa
‘Ibar. al-Qahirah : Dar aI- Da‘ wah

al - Khatib al- Baghdadi . Tarikh Baghdad…….:………

Hasan Ibrahim Hasan.1983 .Tarikh al-Islam al-siyasi wa al-dini wa al-thaqapi wa
al- ijtima‘. al -Qahirah : Maktabat aI- Nahdah aI-Misriyah

Ibrahim Ahmad al- Adwi. 1996. Tarikh aI Alam aI- Islamiy. al-Qahirah :……..

Ibn Kathir . 1997. al- Bidayah wa aI- Nihayah. V.9-10. Bairut : Dar al- Ma‘ ri fah

Ibrahim Ahmad al-Adwi. 1979. Tarikh al-Watan al-Arabi wa Hadaratuhu fi al-‘Asr
al-Islamiy. Hambut :al-Mania.

Jamaludin Abi al-Hasan.1988. Akhbar aI - Duwal al- Munqati‘ ah tarikh
aI - dawlah al- Abbasiyah. Saudi : Maktabat aI- Tawdar bi al-
Madinah al- Munawwarah

Jalaluddin aI- Suyuti.1999 .Tarikh aI- khulafa’. al-Qahirah: Dar aI-Fajr aI-Turath
Khustaf Lubun . 1967 . Hadarat aI Arab . ---------- : Matba‘ ah Isa aI Babi aI
Halabi

Khayru al-din al-zirikly . 1984 . t6 . al lam . Bairut : Dar-al lmy lilmalayin

Muhamad aI Mubarak . 1974 . Nizam aI - Islam aI hukm wa aI-
Dawlah . aI- Qahirah : Dar aI Fikr

Muhamad Faruq .1981. al Madkhal Li aI – Tashri‘ Ia - Islamiy. Kuwait
: Wakalat aI – Matba‘ at al-kuwait

Muhamad aI Khudri bik .---------- . Tarikh aI Umam aI Islamiyah . aI Qahirah :
Matba‘ at aI IstiQamah

Shaki Abu Khalil . 1977 . Harun Arrashid Amir aI Khulafa wa Ajalu aI Muluku
aI Dunya . Dimas Suria : Dar aI Fikr

Sufi Husin Abd al Muttalib.1995.TatbiQ aI- Shari ah al- Islamiyah fi Bilad
al- ‘Arabiyah. al Qahirah : Dar aI nahdah al - Arabiyah

Abi al-hassan Ali ibnuMuhammad ibnu Habib. 1985M-1405 H Al-ahkam al-
sultaniyah wa al-wilayah al-diniyah. Bairut Lubnan : Dar al-kutub al-
elmiyah

Qade Abi yusuf yaa’kub ibnu ibrahim. 1302. kitab al-garaj.Bairut Lubnan : Dar al
Ma’arifah

Muhammad al-Mubarak. 196V M-1387H. al-Dawlah wa Nizam al-hisbah ‘Inda
ibnu Taimiyah. ………….Dar al-fikr
Sa’di danawy. 2001 M-1421.V1 Muwsu ‘ah Harunal-Rashid.Bairut Lubnan :
Darsader

Muhammad Rajab. 2000 Harun Arroshid al-khalifah al-‘alimWa al-faris al-mujahid.
Dimasy Siria : Dar al-galam

Muhamadzin/Ahmad al gatan. 1989 Harunal-Rashid al-khalifah al-Mazlum.
………..Maktabah al-Sundus

Muhammad al-zuhaily. 1995 Tarikh al-guda’ fi al-islam. Bairut lubnan : Dar al-fikr
al-Ma‘aser

Furuk ‘Umar fawzy. al-khalifah al-muJahid Harun al-Rashid.1989. Baghdad :Dar v
al- syu’un al-thagafah al-‘amah

Ahmad Amin bik. Harun al-Rashid. ……… . Misr : Daral-Hilal

Taha al-hajiry. gasru al-Rashid. ……. Misr : Daral-Ma ‘arif

AbdLah falaby. Harun al-Rashid. ……… . ……. :Jam ‘yah al-thagafah al-islamiyah

Ibnu kathir. al-bidayah wa al-nihayah. .V. 9-10 1997M-1417H.Bairut Lubnan : Dar
al-ma ‘rifah

Ibnu athir. al-kamilfi al-Tarikh.V5. 1987M-1407H. Bairut Lubnan : Dar al-kutub
al‘Lmiah

Abi ‘usman ‘umar ibnu bajar al-Jahiz. 1993 al-bayan wa al-tabYain.
Bairut Lubnan : Ihya’ al-‘uLam

Syamsudin Muhammad ibnuAhmah ibnu uthmanal-zahaby. V9. 1996 . Sir al-
a’lam al-nubala’. V9. 1996 Bairut Lubnan : Mua sasah al-Risalah


Syawki daif. Tarikh al-adab al-araby al-‘asr al-‘abas al-awwal. …… al-Qahiroh
: Dar al-ma‘arif.
Abd.Ghani Haji Mahmood, 1981. Sejarah Islam. Kota Bharu Kelantan : Pustaka Mahligai Press.

Muhammad Labib Ahmad. 1982. Sejarah dan kebudayaan Islam. Singapura :
Pustaka Nasional PTE LTD.

งานวิจัย/วิทยานิพนธ์
Mustafa ‘Ali Mustafa. Harun Arroshid Hayatuhu al- Diniyah wa al-assiyasah. 1948M-
1357H. MirsUniver city al-azhar.

การบริหารการปกครองในอิสลาม

การบริหารการปกครองนั้นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ชาติทั้งมวลโดยเฉพาะผู้ปกครอง (เคาะลีฟะฮฺ)ของราชอาณาจักรอิสลามจะต้องจัดระบบระเบียบการปกครองเนื่องจากพระองค์อัลลอฮฺส่งมนุษย์ชาติมาบนแผ่นดินนี้เพื่อเป็นตัวแทนและปกครองประชาชาติด้วยความยุติธรรม ดังที่พระองศ์อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ในอัลกุรอานว่า :

ความว่า : โอ้ดาวูดเอ๋ยเราได้แต่งตั้งเจ้าให้เป็นตัวแทนในแผ่นดินนี้ ดังนั้นเจ้าจงตัดสินคดีต่างๆ ระหว่างมนุษย์ด้วยความยุติธรรม และอย่าปฏิบัติตามอารมณ์ใฝ่ต่ำ มันจะทำให้เจ้าหลงไปจากทางของอัลลอฮฺ (ศอด, 26)
จากโองการดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าการตัดสินระหว่างมนุษย์ด้วยกันนั้น และแก้ปัญหาการพิพาทนั้นเป็นภารกิจหลักของบรรดานบี และเป็นหน้าที่รับผิดชอบที่จำเป็นของเคาะลีฟะฮฺบนผืนแผ่นดินนี้
สำหรับวัตถุประสงค์ของการจัดระเบียบการปกครองของราชอาณาจักรอิสลามนั้น ดังที่พระองค์อัลลอฮฺ ได้ตรัสไว้ในอัลกุรอานว่า :

ความว่า : โดยแน่นอน เราได้ส่งบรรดารสูลของเราพร้อมด้วยหลักฐานทั้งหลายอันชัดแจ้ง และเราได้ประทานคัมภีร์และความยุติธรรมลงมาพร้อมกับพวกเขา เพื่อมนุษย์จะได้ดำรงอยู่บนความเที่ยงธรรม และเราได้ให้มีเหล็กขึ้นมา เพราะในนั้นมีความแข็งแกร่งมาก และมีประโยชน์มากหลายสำหรับมนุษย์...(อัลหะดีด, 25)
จากโองการดังกล่าวพอสรุปดังนี้
1. คำว่า “ อัลกีตาบ ” ( الكتاب ) ในที่นี้หมายถึง คัมภีร์อัลกุรอานที่ครบสมบูรณ์ ทุกด้านหรือวิถีดำเนินชีวิตประจำวันตามหลักการศาสนาและอัลกุรอานสาสน์สุดท้ายสำหรับท่านนบีมุฮัมหมัด()
2. คำว่า “อีลมีซาน” ( الميزان ) หมายถึงความยุติธรรมระหว่างมนุษย์ด้วยกันโดยใช้ตราชั่งนี้ ในการตัดสินและให้สิทธิซึ่งกันและกัน
3. คำว่า “อัลกิสต์” ( القسط ) หมายถึง การดำเนินการตัดสินระหว่างประชาชนด้วยกันความยุติธรรมโดยไม่ลำเอียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
4. คำว่า “อัลหะดีด” ( الحد يد ) หมายถึง พลังความเข้มแข็งที่สนับสนุนด้วยหลักการ
อัลกุรอาน
จากโองการดังกล่าวอาจสรุปวัตถุประสงค์จากการปกครองตามรูปแบบอิสลามได้ดังต่อไปนี้
1. เพื่อสร้างความยุติธรรมระหว่างประชาชนด้วยกัน
ประชาชนนั้นมีทั้งเข้มแข็งและอ่อนแอมีทั้งผู้อธรรมและถูกอธรรม คำสั่งให้ปฏิบัติบทบัญญัติด้วยความยุติธรรมระหว่างประชาชนด้วยกัน และห้ามในสิ่งที่อธรรม อัลกุรอานได้เน้นในเรื่องนี้ว่า
พระองค์อัลลอฮฺ ทรงตรัสถึงรสูล ()เพื่อให้การตัดสิน การปกครองด้วยความยุติธรรมว่า :

ความว่า : และเราได้ให้คัมภีร์ลงมาแกเจ้า ด้วยความจริง ในฐานะเป็นที่ยืนยันที่อยู่เบื้องหน้ามันและเป็นที่ควบคุมคัมภีร์(เบื้องหน้า)นั้น ดังนั้น เจ้าจงตัดสินระหว่างพวกเขาด้วยสิ่งที่อัลลอฮฺ ทรงประทานลงมาเถิด และเจ้าอย่าปฏิบัติตามความใคร่ใฝ่ต่ำของพวกเขา(อัลมาอีดะห์, 48)

ความว่า : แท้จริงเราได้ให้คัมภีร์ลงมาแก่เจ้าเป็นความจริงเพื่อเจ้าจะได้ตัดสินระหว่างผู้คน..
(อันอิซาอฺ, 105)
2. เพื่อปฏิบัติตามบทบัญญัติของพระองค์อัลลอฮฺ ได้ตรัสไว้ในอัลกุรอาน
3. เพื่อดูแลผู้อ่อนแอและให้ความช่วยเหลือต่อผู้ที่มีความจำเป็น
4. เพื่อจัดระบบการปกครองตามรูปแบบอิสลามและนำสังคมมนุษย์สู่ความสุขในชีวิตประจำวัน
ในบทนี้ผู้วิจัยขอนำเสนอบทวิเคราะห์ใน 2 ประเด็นหลักๆ คือ ชีวประวัติของเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน
อัรรอชีด และลักษณะการปกครองของท่าน

ลักษณะการปกครองของราชวงศ์อับบสียะฮฺ

ระบบการบริหารการปกครองในยุคของเคาละฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด นั้น ตามรูปแบบและระบบอิสลาม โดยใช้อัลกุรอานเป็นธรรมนูญหรือ นโยบายในการปกครองคือพร้อมกับใช้อัลหะดีษมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานทุกอย่าง และยังมีที่ปรึกษาที่เรียกกันว่า ( Ahl al-Hal wa al-‘Akd ) อำนาจสูงสุดอยู่ที่ประมุขคนเดียว เคาะลีฟะฮฺมีอำนาจโดยไม่จำกัดขอบเขต เคาะลีฟะฮฺทรงเป็นประมุขของราชอาณาจักร ทรงเป็นประมุขทางศาสนา ทรงเป็นผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพ ทรงเป็นผู้แต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งต่างๆ ทรงมีอำนาจแต่งตั้งรัชทายาทสืบทอดตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺในอนาคตได้โดยไม่ต้องทำตามกฎใดๆแต่ทั้งหมดไม่ได้หมายความว่าเคาะลีฟะฮฺคนเดียวมีอำนาจในการบริหารทุกอย่างในราชอาณาจักร
แต่ถึงอย่างไรก็ตาม การบริหารการปกครองของเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด นั้นท่านได้มอบหมายงานทุกอย่างให้ผู้ปกครอง(วะลีย์)แคว้นต่างๆ และท่านทรงกล่าวว่า “ฉันได้มอบอำนาจการดูแลการปกครองประชาชาติให้กับท่านซึ่งเป็นการแบ่งเบาภาระของฉันให้กับท่าน ท่านจงให้การตัดสินตามความเห็นของท่านที่ถูกต้อง ท่านจงดำเนินการและปฏิบัติหน้าที่อะไรที่ท่านเห็นว่าดีและจงห้ามอะไรที่ท่านเห็นว่าเลวร้ายและอธรรมต่อพระองค์อัลลอฮฺ และท่านจงเดินหน้าต่อไปถ้าคิดว่ามีประโยชน์ต่อประชาชาติทั้งปวง” หน้าที่รับผิดชอบงานบริหารของแคว้นต่างๆไม่ว่าจะเป็นภายในหรือภายนอกนั้นเป็นหน้าที่รับผิดชอบของวะลีย์ เพราะเป็นผู้นำทางการทหารและทางนิติบัญญัติ
จากจุดนี้ให้ความหมายว่ารูปแบบการปกครองของเคาะลีฟะฮ ฮารูน อัรรอชีด นั้นเป็นการปกครองแบบการกระจายอำนาจให้ต่อผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการบริหารงานตามแคว้นต่างๆ เคาะลีฟะฮฺทรงให้ความช่วยเหลือในการปกครองของวะลีย์ตามแคว้นต่างๆในด้านต่างๆ เช่น
1. การช่วยเหลือทางด้านศาล
ท่านได้ให้ความช่วยเหลือกอฺฎีตามแคว้นต่างๆ ในการตัดสิน เช่น การเลือกกอฺฎีที่มีบุคลิกภาพที่ดี ผู้ทรงมีเกียรติในสังคมและผู้มีความละเอียดอ่อน, มีความอ่อนโยนในการดำเนินงาน
อิบนฺ คูตัยมะห์ ได้กล่าวในตำราของท่าน “อุยูนู อัล อัคบาร” ว่า ครั้งหนึ่งท่านเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด ได้เรียกชายผู้หนึ่ง เพื่อแต่งตั้งเป็นกอฺฎีชายคนนั้นได้กล่าวปฏิเสธว่า : ฉันไม่สมควรที่จะมาเป็นผู้พิพากษา และฉันไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญในด้านฟิกฮฺ
เคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด ทรงตอบว่า : ท่านมีบุคลิกภาพพิเศษ ซึ่งผู้อื่นไม่มีคือ
1. ท่านเป็นผู้มีเกียรติเพราะความมีเกียรตินั้นทำให้ตัวเองสูงส่ง
2. ท่านเป็นผู้ที่มีความอ่อนโยนในการปฏิบัติงาน แท้จริงความอ่อนโยนนั้นทำให้มีความ รอบคอบ และผิดพลาดน้อย
3. ท่านชอบปรึกษาหารือ และประชุมตลอดเวลา การประชุมจะทำให้งานส่วนใหญ่ถูกต้องแม่นยำ
เคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด ได้พยายามและเน้นในการแต่งตั้งกอฺฎีจากบรรดาอุละมาอฺที่มีวิชาความรู้ในทุกๆด้าน แต่มีบางอุละมาอฺได้คัดค้านไม่ตอบรับกับตำแหน่งนี้ เช่น อับดุลลอฮฺ อิบนฺ อิดริส และบาง
อุละมาอฺได้ตอบรับเป็นอย่างดีกับตำแหน่งนี้ เช่น ยะอฺกูบ อิบนฺ อิบรอฮีม และมุฮัมหมัด อิบนฺ อัลฮาซัน
อัลชัยบารียฺ และอีกหลายๆท่าน

2. การช่วยเหลือทางด้านรักษาความปลอดภัย
เคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด ได้เน้นถึงการรักษาปลอดภัยเป็นอย่างมาก เพื่อความสงบสุขระหว่างประชาชนที่อยู่ในเมืองหลวงและในแคว้นต่างๆ ท่านพยายามเลือกผู้จะมาอยู่ในตำแหน่งนี้ คือ อับดุลลอฮฺ อิบนฺ มะลิก ท่านเป็นทหารที่มีกิริยามารยาทที่ดี และห่างไกลจากสิ่งเลวร้ายต่างๆ อับดุลลอฮฺ อิบนฺ มะลิก ได้แต่งตั้งสายลับพิเศษเพื่อดูแลรักษาความปลอดภัยในเมืองหลวง และในแคว้นต่างๆ อีกด้วย และเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด ออกคำสั่งให้นักข่าวพยายามเก็บข้อมูลข่าวสาร และแพร่ขยายด้วยความจริง มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และรวดเร็วในการแก้ปัญหาโดยใช้ระบบการไปรษณีย์ที่ดี
เคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด ยังทรงแต่งตั้งผู้เข้าเวรกลางคืน ในเมืองหลวงและแคว้นต่างๆ เพื่อความปลอดภัยของประชาชน และดูและรักษาเมืองไม่ให้สิ่งเลวร้ายเข้าได้ง่ายๆ

3. การช่วยเหลือในด้านอาคารสถานที่และการพัฒนาที่ดินให้เป็นสีเขียว
ในตำราประวัติศาสตร์ ได้บันทึกถึงชีวประวัติของเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด ใน การให้ความช่วยเหลือด้านอาคารสถานที่นั้น ท่านได้เน้นในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก ซึ่งนับได้ว่าเมืองแบกแดดในยุคนี้เป็นเมืองที่สวยงามที่สุด เมืองแบกแดดสร้างผังเมืองขึ้นเป็นรูปแบบวงกลม มีความกว้างเกือบสองไมล์ ล้อมรอบด้วยกำแพงสูง ลาดชันขนาดใหญ่ กำแพงเมืองมี 2 กำแพงใหญ่ ดังนี้
1. กำแพงชั้นใน มีความกว้างถึง 50 ศอก และความสูง 20 ศอก
2. กำแพงชั้นนอก มีความกว้างเหมือนกับชั้นใน และมีความสูงถึง 30 ศอก
ไม่มีหอคอย ล้อมรอบจากภายนอกด้วยคูนํ้าลึก ซึ่งคูนั้นมีนํ้าไหลผ่านจากแม่นํ้ากัรฆอยา และสร้างตามริมแม่นํ้าด้วยก้อนหิน ด้านบนจะมีหอคอย 163 หอคอย ความหนาถึง 5 ศอก สำหรับกำแพงนั้นจะมี 4 ประตูด้วยกัน(al-Tabari,1991 : 240 , Hasan Ibrahim Hasan,1983 : 370) ซึ่งกำแพงดังกล่าวก่อสร้างขึ้นในยุคเคาะลีฟะฮฺ อัลมันศูร โดยมีเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างเองดังนั้นเมืองนี้ จึงเป็นเมืองที่สวยงามที่สุดในโลกนี้ในศตวรรษที่ 8-9 นักประวัติศาสตร์ท่านหนึ่งได้กล่าวในตำราของท่าน “ Trihk al-Bagdad ” ว่า ไม่มีเมืองใดในโลกนี้เทียบเท่ากับเมืองแบกแดดในด้านความสวยงามของผังเมืองและความยิ่งใหญ่ของอาคารสถานที่ต่างๆ
เคาะห์ลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด ยังได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของที่ดิน และภาษีรายได้จากที่ดินด้วยเหตุนี้ท่านได้เน้นถึงระบบการจัดที่ดินให้เป็นสีเขียวพร้อมกับให้ประชาชนใช้ผลประโยชน์จากที่ดินดังกล่าว ท่านได้ออกคำสั่ง เพื่อให้ขุดบ่อที่มีน้ำไหลออกทั้งในเมืองหลวงและในแคว้นต่างๆ อีกด้วย
การแต่งตั้งและการคัดเลือกผู้ปกครองแคว้นต่างๆ
ตามทัศนะอิสลามผู้ปกครอง(ผู้นำ)นั้นจะต้องมีคุณสมบัติหรือบุคลิกภาพพิเศษที่เหมาะสมทั้งด้านศาสนา และทางด้านการเมืองการปกครอง ซึ่งสองส่วนนี้จะแยกกันไม่ได้ ดังที่อัลมาวัรดียฺ ได้กล่าวว่า :

حراسة الدين وسياسة الدنيا

ความว่า : ควบคุมศาสนาและปกครองบ้านเมือง
บรรดาอุละมาอฺ ได้กำหนดคุณสมบัติของผู้นำดังนี้
1. ผู้นำต้องมีวิชาความรู้และความสามารถ
วิชาความรู้และความสามารถนั้นเป็นสิ่งสำคัญของผู้ปกครอง (ผู้นำ) ตามทัศนะอิสลาม ด้วยความรู้ที่มีต่อผู้ปกครองจะสร้างความยุติธรรมระหว่างประชาชาติด้วยกันตามหลักการชารีอะห์ ในทุกๆด้าน ฉะนั้นวิชาความรู้จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากสำหรับผู้ปกครอง
เคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด เป็นผู้ปกครอง (เคาะลีฟะฮฺ) ของราชอาณาจักรอิสลามท่านมีบุคลิกลักษณะเต็มไปด้วยวิชาการอย่างครบครัน ท่านเป็นผู้นำทางศาสนา ผู้นำการปกครองผู้นำในการรบ จนท่านถูกเรียกฉายวาว่า “الرشيد ” “ผู้ปราดเปรื่อง”
เคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด ทรงแต่งตั้งอะบูยูซูฟ เป็นกฺอฎี อัลกูฎอฎ และมอบหมายให้เขียนตำรา “อัลคอรอจ” นับได้ว่าเป็นตำราที่โด่งดังในยุคนั้น อะบูยูซูฟ เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถท่านหนึ่งในบรรดาอุละมาอฺ ในสมัยของเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด
2. ผู้นำต้องมีประสบการณ์ด้านการเมืองการบริหาร
ความรู้ และประสบการณ์ด้านการเมืองการบริหารนั้นเป็นสิ่งจำเป็นต่อผู้ปกครอง (ผู้นำ)
เคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด ได้แต่งตั้งยะห์ยา อิบนฺ คอลิด อัลบัรมากียฺ และวงศ์ตระกูลบัรมากียฺมาเป็นคณะกรรมการบริหารในยุคของท่านสืบเนืองจากวงศ์ตระกูลนี้เคยเป็นผู้บริหารมาก่อนแล้ว
3. ผู้นำต้องมีกิริยามารยาท ที่สูงส่งและมีความยุติธรรม
ผู้ที่ได้รับคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งนี้มีหน้าที่รับผิดชอบ คอยดูแล สังคม ทรัพย์สิน ควบคุมดูแลประชาชาติให้อยู่อย่างมีความสุขและต้องดูแลทางด้านศาสนา พร้อมปกครองบ้านเมืองหน้าที่รับผิดชอบดังกล่าว จำเป็นต้องมีคุณสมบัติ คุณลักษณะที่มีอะมานะฮฺ และชอบความยุติธรรม
4. ผู้นำต้องมีความกล้าหาญ และจริงจังต่อหน้าที่
ศาลและความยุติธรรม
ตามทัศนะของอิสลามแล้วผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งเพื่อตัดสินคดีต่างๆ นั้น มีอำนาจโดยตรงในการใช้หรือปฏิบัติตามบทบัญญัติอิสลาม ตามหลักการอิสลามหรือนโยบายอิสลามอำนาจการตัดสินอยูที่
เคาะลีฟะฮฺ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายในการตัดสิน เช่นวะลีย์ หรือกฺอฎี แต่การตัดสินดังกล่าวต้องสอดคล้องกับอำนาจบัญญัติ หรือ ธรรมนูญของพระองค์อัลลอฮ คือ อัลกุรอาน และอัลหะดีษ
ในยุคเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด บรรดากฺอฎีที่ถูกแต่งตั้งให้มาดำรงตำแหน่งนี้ ส่วนใหญ่มาจากบรรดาอุละมาอฺ ที่มีความสามารถในการตัดสินและแก้ปัญหาโดยใช้หลักการวินิจฉัยมาตัดสินคดี ถ้าหากปัญหานั้นๆ ไม่มีในบทบัญญัติ อัลกุรอาน และอัลหะดีษ ด้วยเหตุนี้เคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด ใช้ระบบความยุติธรรมโดยมี “ศาลการตัดสิน” ซึ่งมีกฺอฎี มาดำเนินงานตามแคว้นต่างๆ
ด้านการบริหาร
จากการศึกษาพบว่า เคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด ได้จัดระบบการบริหารการปกครองโดยแบ่งตามแคว้นต่างๆ และได้แต่งตั้งวะลีย์เป็นผู้นำในการบริหาร ซึ่งวะลีย์จะมีอำนาจการบริหารการปกครองโดยไม่ต้องรอจากส่วนกลาง
ด้านการคลัง
สืบเนื่องจากการขยายอาณาเขตการปกครองของบรรดาเคาะลีฟะฮฺยุคก่อนๆ ทำให้เคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด ได้พยายามพัฒนาระบบการเงินให้ดีขึ้น ท่านได้กำหนดระบบการเงินโดยจัดตั้งคลังการเงินใหม่ คือ “บัยตุลมาล” ขึ้งเป็นกระทรวงการคลังมีหน้าที่เพื่อเก็บรายได้ทรัพย์สินของราชอาณาจักรทั้งหมด
รายได้ของราชอาณาจักรอับบาสิยะฮฺในสมัยเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรรอชีด นั้น คือ รายได้จากการเก็บซะกาต
ซึ่งเป็นรายได้ส่วนหนึ่ง และได้กำหนดสิทธิของผู้รับตามบทบัญญัติ ท่านได้ปฏิบัติในเรืองนี้อย่างเคร่งครัด

อ้างจากเอกสารประกอบการสอนรายวิชาหลักการบริหารในอิสลาม 3 สาขารัฐประศาสนศาสตร์มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา

สาเหตุแห่งความตกต่ำและการล่มสลายของสถาบันเคาะลีฟะฮฺอุษมานียะฮ

บทที่ 11
11.สาเหตุแห่งความตกต่ำและการล่มสลายของสถาบันเคาะลีฟะฮฺ
และอาณาจักรอุษมานียะห์
11.1 อาณาจักรอุษมานียะห์เป็นยุคอ่อนแอและยุคล่มสลาย
หลังจากสิ้นสุดยุคการปกครองของสุลต่านสุไลมานที่ 1 ซึ่งเป็นสุลต่านคนที่สิบของอาณาจักรอุษมานียะห์ (ราชวงศ์อุษมานียะห์) ก็เริ่มเข้าสู่ยุคแห่งความเสื่อมอย่างมาก ภายในราชสำนักมีแต่ความฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย สุลต่านมีความสนุกสนานอยู่ในฮารอม (Harom) บรรดาผู้ที่อยู่ในราชวัง บรรดาข้าราชการแสวงหาความร่ำรวยด้วยการกดขี่ข่มเหงประชาชน เศรษฐกิจเสื่อมโทรม การทหารเริ่มอ่อนแอในขณะที่บรรดาชาติต่างๆ ในยุโรปกลับอยู่ในยุคแห่งการล่าอาณานิคม
จากความอ่อนแอของอาณาจักรอุษมานียะห์ ทำให้กลุ่มน้อย กลุ่มประเทศราชต่างๆ ต่างตื่นตัวเรียกความเป็นเอกราช เช่น พวกเซอร์เบีย และกรีก เป็นต้น
เกือบตลอดเวลาที่อาณาจักรอุษมานียะห์กำลังเสื่อมอำนาจลงมานั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 18-19 บรรดาชาติยุโรปพากันเล่นงานอาณาจักรอุษมานียะห์อย่างไม่ปราณี อาณาจักรอุษมานียะห์ต้องถูกริดรอนเสียดินแดนไปไม่น้อย นอกจากอำนาจของรัสเซียและออสเตรียแล้ว ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 อังกฤษและฝรั่งเศสรวมอีกด้วย ทำให้อาณาจักรอุษมานียะห์กลายเป็นเวที่สำหรับการแข่งขันกันแผ่ขยายอำนาจอิทธิพล และเสาะแสวงหาผลประโยชน์ของชาติต่างๆ เช่น เซอร์เบีย โรมาเนีย บัลเกเรีย และกรีซ เป็นต้น
จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดกลุ่มชาตินิยมในอาณาจักรอุษมานียะห์ขึ้นขบานการชาตินิยมในอาณาจักรอุษมานียะห์ทวีความรุนแรงขึ้นหลังสงครามคาบสมุทรบอลข่าน ซึ่งอาณาจักรอุษมานียะห์เป็นฝ่ายพ่ายแพ้ และต้องสูญเสียดินแดนในแหลมบอลข่านไปเกือบทั้งหมด เหลือแต่คอนสแตนติโนเปิลและบริเวณรอบๆ ซึ่งเป็นบริเวณที่มีชาวเตอร์กอาศัยอยู่เป็นส่วนใหญ่และเหลือดินแดนในคาบสมุทรอนาโตเลียและอาร์มีเนียโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยที่อาณาจักรอุษมานียะห์มีมุสตอฟา เคมาลเป็นผู้นำสาธารณรัฐ ซึ่งมุสตอฟา เคมาล มีความเห็นว่าการที่จะรื้อฟื้นความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรอุษมานียะห์ในอดีตนั้น ไม่สามารถทำได้แล้ว แต่ลักษณะที่เป็นจุดร่วมแท้จริงของพลังชาตินิยมในอาณาจักรอุษมานียะห์ก็คือ การต่อต้านการแทรกแซงกิจการภายในอาณาจักรอุษมานียะห์หรืออุษมานียะห์นิยมสมัยใหม่ (New-Ottaomanism)
11.2 สาเหตุการล่มสลายของอาณาจักรอุษมานียะห์
สาเหตุการล่มสลายของอาณาจักรอุษมานียะห์ไม่มีอื่นใดนอกจากความเสื่อมเสียทางด้าน จริยธรรม วัฒนธรรม และความญาฮีลียะห์ ที่มีอยู่ในจิตใจของสุลต่าน และข้าราชการปกครองประเทศ พวกเขาเหล่านั้นได้กระทำทุกสิ่งทุกอย่างด้วยความญาฮีลียะห์ทำให้พวกเขาอ่อนแอและเสื่อมเสียในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อที่จะยกระดับในด้านศาสนาของประเทศ
จากสาเหตุดังกล่าวทำให้พวกเขาเหล่านั้นมีความอ่อนแอ สุดท้ายอาณาจักรอุษมานียะห์ที่ล่มสลายด้วยสาเหตุดังนี้

11.2.1 ความร่ำรวยของประเทศอาณาจักร
การเพิ่มรายได้ของอาณาจักรด้วยสาเหตุที่อาณาจักรอุษมานียะห์เปิดเสรีให้ประเทศอื่นเข้ามา
ลงทุนและทำค้าขายและทรัพย์สินที่ได้จากการสงครามซึ่งพวกเขาใช้ในปกครองประเทศเพื่อให้ประเทศเข้มแข็งต่อไป แต่ด้วยความญาฮีลียะห์และเสื่อมเสียด้านจรรยาที่มีอยู่ในจิตใจของสุลต่านและบรรดาข้าราชการ ทำให้สภาพการเปลี่ยนแปลงแล้วก็จะรับผลประโยชน์จากความร่ำรวยไม่ได้แต่กลับไปให้ผลอันตรายต่อรัฐบาลของเขา

11.2.2 มอบอิงกีซารีย์ (ทหารใหม่) เป็นผู้นำทหารในสนามสงครามรบ
ในยุคแรกๆ สุลต่านเองจะเป็นผู้นำ (แม่ทัพ) ในสนามรบ ต่อมาในยุคหลังสุลต่านสุไลมาน
ที่ 1 เปลี่ยนวิธีการนี้ โดยมอบผู้นำทหารให้กับแม่ทัพสายทหารจากอิงกีซารีย์ และสุลต่านเองก็อยู่ราชวัง พร้อมๆ คนรับใช้ ด้วยเหตุนี้ทหารจึงมีความเป็นอิสระและไม่มีจุดยืนเป็นของตนเอง สุดท้ายจึงทำให้เกิดความวุ่นวายที่นำพาความอ่อนแอและล่มสลายมาสู่อาณาจักรอุษมานียะห์

11.2.3 มอบหมายการงานของอาณาจักรให้กับวะซีร
ตามปกติแล้วการบริหารงานของอาณานจักรนั้นขึ้นอยู่กับสุลต่านเป็นผู้นำในการบริหาร
หลังจากได้มอบการบริหารงานรัฐบาลให้กับวะซีรโดยมีวะซีรที่แตกต่างกัน กลุ่มหนึ่งเป็นมุสลิมที่แท้จริง และอีกกลุ่มหนึ่งเป็นนัสรอนีย์ ที่ทำตัวเหมือนอิสลามด้วยเหตุนี้ทำให้เกิดการทะเลาะวิวาทกัน สุดท้ายทำให้เกิดความวุ่นวายและความอ่อนแอในรัฐบาลเอง

11.2.4 ยอมให้อิงกีซารีย์(ทหารใหม่)แต่งงานและไปพักอยู่นอกสถานที่
ในยุคแรกๆ ได้มีสถานที่โดยเฉพาะสำหรับอิงกีซารีย์ ซึ่งจะพักอยู่ในสถานที่ได้เตรียมไว้
พวกเขาจะออกไม่ได้นอกจากจะได้รับอนุญาตที่ทำดังกล่าวเพื่อให้อยู่ในความพร้อมที่ต่อสู้ (ญีฮาด) ในหนทางของอัลลอฮ ต่อมายุคหลังๆ อิงกีซารีย์ได้พักตามความต้องการซึ่งตามมุมต่างๆ และพวกเขาปะปนอยู่กับประชาชนทั่วไปเลยมีชีวิตความเป็นอยู่ที่สุขสบาย ทำให้ลืมและไม่มีพลังที่จะญีฮาดต่อไป
ด้วยสาเหตุดังกล่าว การล่มสลายของอาณาจักรอุษมานียะห์ นับว่าเป็นการสิ้นสุดของ
อาณาจักรอิสลามที่มีสภาพความเจริญอย่างชำนาญ
ตั้งแต่การสถานปนาอาณาจักรเซลจูกเป็นต้นมา รัฐเซลจูกได้แบ่งอำนาจการปกครองดินแดนภายใต้อาณาจักรออกเป็นหัวเมืองย่อย หรือจังหวัด โดยมีผู้ว่าการเรียกว่า ซะฮ (Syah) รับผิดชอบการบริหารทั้งหมด
อาณาจักรเซลจูกได้ปกครองโดยใช้ระบบการแบ่งอำนาจดังกล่าวตั้งแต่สมัยตุฆรูล เบย์ แต่ละหัวเมืองหรือจังหวัดมีอำนาจปกครองตนเองสูงมาก มีอำนาจที่จะขยายดินแดนในบริเวณใกล้เคียงได้ แต่อย่างไรก็ตามหัวเมืองหรือจังหวัดเหล่านั้นต้องเคารพ ในความยิ่งใหญ่ของรัฐบาลส่วนกลาง ตราบใดที่รัฐบาลกลางมีความเข้มแข็งหัวเมืองจะมีความสงบแต่ถ้รัฐบาลมีความอ่อนแอหัวเมืองจะแข็งข้อ ไม่เชื่อฟัง เป็นภาระที่รัฐบาลกลางจะต้องไปปราบเป็นเนือง ๆ (มูฮำหมัด ลาบิบอะห์หมัด, 1982 : 299)
ภายในจักวรรดิ ออตโตมานเป็นที่อาศัยของกลุ่มชนหลายเชื้อชาติหลายศาสนาเช่น พวกเตอร์ก ตาตาร์ อาหรับ เคอร์ด เตอร์กมัน เบอร์เบอร์ แมมลุก บอสเนียน อัลบาเนียน กรีก บุลกาเรียน ฮังกาเรียน สลาฟ รูเมเนียน อาร์มีเนียน คอร์ป จอร์เจียน และ ยิว การปกครองเหนือประชาชนหลาย ๆ พวกเหล่านี้จึงเป็นลักษณะเด่นของการปกครองจักรวรรดิหรือสถาบันการปกครอง
อำนาจสูงสุดของจักรวรรดิออตโตมานคือสุลต่าน พระองค์จะเป็นทั้งผู้นำในการปกครองของจักรวรรดิและสัญลักษณ์ทางศาสนา ดั้งเดิมแล้วสุลต่านเป็นเพียงหัวหน้านักรบเป็นเจ้าผู้มีอำนาจสูงสุด ผู้ได้นำพรรคพวกอพยพ รวบรวมพวกเร่ร่อนให้อยู่เป็นหลักแหล่งและเป็นผู้ลงโทษพวกที่รุนแรง การจัดระเบียบเป็นหมู่เหล่านั้น เข้มงวดมาก และมีสุลต่านได้แต่เรียกตนเองว่า อมีร์ (Amir) ซึ่งแปลว่าหัวหน้า มาจนถึงยุคบาญาชิดที่ 1 จึงใช้คำว่าสุลต่านกับตำแหน่งของตน (โลกอิสลาม : 248)
ศูนย์กลางของสถาบันการปกครอง คือพระราชวัง เป็นทั้งที่ฝึกหัดสำหรับวะซีรและข้าราชการ การปกครองของออโตมานเป็นการปกครองรวมอำนาจคือแกรนด์วิเซีย (Grand Vizir) เทียบเท่าตำแหน่งนายกวะซีร เนื่องจากบรรดาสุลต่านภายหลังสมัยสุไลมานชอบความสนุกสนานในฮาเรมมากกว่างานในการบริหารจักรวรรดิ จึงทำให้อำนาจในการปกครองส่วนใหญ่จะตกอยู่แก่แกรนด์วิเซีย นอกจากแกรนดิ์วิเซียแล้ว ก็ยังมีเจ้าหน้าที่ระดับสูงช่วยในคณะรัฐบาลอีกด้วย กล่าวคือ มีเหจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการเงิน 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งสำหรับเรื่องที่เกี่ยวข้องกับยุโรป อีกฝ่ายหนึ่งเกี่ยวข้องกับเอเชีย มีผู้พิพากษาสูงสุด 2 คน ซึ่งเป็นตัวแทนเรื่องที่เกี่ยวกับยุโรปและเอเชีย ข้าหลวงใหญ่ 2 คน บรรดาผู้บริหารงานในหน้าที่ต่าง ๆ ของสุลต่าน มักจะเกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัยภายใน การเก็บภาษี การแผ่ขยายจักวรรดิหรืออย่างน้อยก็การรักษาพรมแดนออตโตมาน และมีหน้าที่แต่งตั้งข้าหลวงประจำจังหวัด ข้าราชการเก็บภาษีและงานของกองทัพต่าง ๆ

11.3 อาณาจักรอุษมานียะฮฺยุคเสื่อมถอย
อาณาจักรอุษมานียะห์ได้ขยายดินแดนอย่างกว้างขวาง ตลอดระยะเวลาตั้งแต่การสถาปนาอาณาจักรโดยสุลต่านอุษมานที่ 1 ในปี ค.ศ. 1281 เป็นต้นมา จนถึงสมัยสุลต่านสุไลมานที่ 1 ปี ค.ศ. 1520 ซึ่งเป็นสมัยที่รุ่งเรืองที่สุด
นับตั้งแต่สุลต่านสุไลมานที่ 1 สิ้นพระชนม์ อาณาจักรรอตโตมานถึงจุดสุดยอด และหลังจากนั้นได้มีเหตุการณ์วุ่นวายมากมาย การก่อกบฏในจังหวัดต่าง ๆ เช่นอียิปต์ เป็นต้นและสุลต่านบางพระองค์มีความอ่อนแอไม่มีความสามารถในการแก้ปัญหา จึงทำให้อาณาจักรออตโตมานเริ่มเสื่อมลง สุลต่านต่าง ๆ ที่อยู่ในช่วงดังกล่าว คือตั้งแต่สุลต่านซาเลมที่ 2 ถึงสุลต่านองค์สุดท้าย
สุลต่านที่น่ากล่าวถึงพอแบ่งยุคได้ดังนี้
11.3.1 ยุคเสื่อมถอยตอนต้น ตั้งแต่สุลต่านที่ 11 – สุลต่านที่ 16
11.3.2 ยุคเสื่อมถอยตอนกลาง ตั้งแต่สุลต่านที่ 17 – สุลต่านที่ 30
11.3.3 ยุคเสื่อมถอยตอนปลาย ตั้งแต่สุลต่านที่ 31 – 36

11.3.1 ยุคสุลต่านเริ่มเสื่อมถอย
ในสมัยสุลต่านสุไลมานที่ 1 อาณาจักรออตโตมาน ได้เจริญสูงสุด พระองค์ได้รับสมญานาม
ว่า อัลกอนูนี เนื่องจากพระองค์เป็นผู้ร่าง และให้ความสำคัญกับกฎหมายของบ้านเมืองและพวกยุโรปเรียกท่านว่าผู้ยิ่งใหญ่ เพราะความสามารถในการปกครองประเทศที่กว้างใหญ่อย่างมาก พระองค์สามารถแก้ปัญหาการก่อการจลาจลที่ซาม รบชนะฮังการี ได้จัดสร้างระบบเรือรบ และสร้างมัสยิดอันสวยงามและใหญ่โตในใจกลางเมืองอิสตันบูล มีการเปิดสถานศึกษา สถานที่เลี้ยงเด็กยากจน โรงพยาบาล สวนสาธารณะและอื่น ๆ แต่หลังจากสุลต่านสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1566 สถานการณ์เริ่มเปลี่ยนโฉมหลังจากที่พระราชโอรสคือสุลต่านซาเลมที่ 2 ขึ้นครองราชย์แทน พระองค์ไม่สนใจการบริหารประเทศ หมกมุ่นอยู่กับสุรานารี เหตุการณ์ไม่สงบต่าง ๆ กลายเป็นหน้าที่ของแกรนด์วิเซียร์ คือมูฮำหมัดปาซา อัลซอกลี รับผิดชอบทั้งหมด
นักประวัติศาสตร์มีความเห็นว่านับตั้งแต่สุลต่านที่ 11 คือสุลต่านซาเลมที่ 2 เป็นต้นมาว่า
เป็นจุดเริ่มต้นของยุคถดถอยของอาณาจักรออตโตมาน เพราะสุลต่านที่ปกครองออตโตมานเริ่มแสดงถึงความไม่เอาใจใส่ต่อบ้านเมืองมีความอ่อนแอ เกิดความวุ่นวายในพระราชวัง เกิดการจลาจลตามเมืองต่าง ๆ มีการสู้รบกับกองทัพเรือคริสเตียนซึ่งประกอบด้วยกองทัพเรือสเปน กองทัพเรือบอนดาเกียกองทัพเรือสันตะปาปา ในทะเล Liponto(Yunani) ในการรบครั้งนี้ ออตโตมานเป็นฝ่ายแพ้ ผลของสงครามออตโตมานต้องเสียตูนีเซียให้แก่ศัตรู
ในสมัยต่อ ๆ มาก็เช่นเดียวกัน เมื่อสุลต่านมีความอ่อนแอการบังคับใช้กฎหมายก็ไร้ผล เช่น
ในสมัยสุลต่านมูร็อดที่ 3 รัฐบาลได้ออกกฎหมายห้ามดื่มสุรา ทำให้พวกแจนิสซารีไม่พอใจ และไม่เคารพ พร้อมทั้งได้ขู่ว่าหากไม่ยกเลิกกฎหมายดังกล่าวพวกตนไม่รับรองในความปลอดภัยของสุลต่านมูร็อด
สุลต่านในยุคนี้นอกจากไม่ได้แก้ปัญหา แล้วยังสร้างปัญหาให้กับพระราชวัง พระองค์มีพระ
มเหสีหลายองค์ แต่ละองค์มีพระโอรสหลายคน ย่อมเกิดความอิจฉาริษยาในพระราชสมบัติ เกิดการแก่งแย่งพระราชบัลลังก์ หวาดระแวงซึ่งกันและกันมีการประหัตประหาร เช่น ในสมัยมูร็อดที่ 3 พระองค์ได้ประหารพี่น้องของท่าน 5 คน เมห์เมดที่ 3 ก่อนขึ้นครองราชย์ได้สั่งประหารชีวิตพี่น้อง 19 คน และได้นำอดีตมเหสี 10 คนไปจมน้ำตาย สถานการณ์ที่เลวร้าย ออสเตรียได้โจมตีออตโตมาน
ในโครงสร้างการปกครองของอาณาจักรรอตโตมานนั้นสถาบันทหารมีความสำคัญมากโดยเฉพาะทหารรักษาพระองค์ของสุลต่านที่เรียกว่าแจนิสซารี เพราะพวกนี้ได้มาโดยสุลต่านได้สร้างระบบโรงเรียนอย่างหนึ่งขึ้นเพื่อรองรับเด็กชายชาวคริสเตียนอายะระหว่าง 8 – 18 ปี เด็กชายเหล่านี้ถูกคัดเลือกทั้งจากหมู่เชลยของดินแดนบอลข่านที่ออตโตมานมีชัยชนะหรืออาจโดยผ่านระบบการเหณฑ์ทหาร การคัดเลือกนี้อาจจะมีทุกปี หรือทุก ๆ 5 ปี แล้วแต่ความจำเป็น บรรดาข้าราชการออตโตมานจะไปท่องเที่ยวทั้งบอลข่านและเลือกเด็กชายคริสต์ที่ฉลาดและเข้มแข็งนำมาฝึกฝนในโรงเรียนดังกล่าว เพื่อเป็นทหารในกองทัพของจักวรรดิ (นันทนา เตชะวณิชย์, 2538 : 67)
พวกเจนิสซารีเป็นดาบสองคม ในยามสงครามแจนิสซารีจะทำหน้าที่ของตัวเองได้ดีเป็นประโยชน์ แต่ในยามสงบ และว่างงานพวกนี้อาจสร้างปัญหา เพราะพวกนี้รู้จักแต่ถืออาวุธเท่านั้น จึงก่อการจลาจลหรือโจมตีหัวเมืองอื่นด้วยเหตุผลอันน้อยนิด ในสมัยสุลต่านมูร็อดที่ 3 พวกแจนิสซารีโจมตีฮังการี ในปี ค.ศ. 1578 ด้วยเหตุผลเพียงเล็กน้อยในปลายสมัยเมห์เมดที่ 3 ทหารในอนาโตเลียก่อการจลาจลเสียเอง
การแก้ปัญหาของสุลต่านเมห์เมดที่ 3 เกี่ยวกับทหารที่ตกงาน โดยยกดิแดนให้แก่ปาชา เป็นระบบพิวดัล แต่ได้กลายเป็นปัญหาในภายหลัง กล่าวคือ ปาชา จะไม่เคารพต่อสุลต่าน เพราะถือว่าตัวเองก็เป็นผู้ปกครองดินแดนหรือเป็นกษัตริย์องค์หนึ่งเหมือนกัน
11.3.2 ยุคเสื่อมถอยตอนกลาง ตั้งแต่สมัยที่สุลต่านที่ 16 - 30
การขึ้นครองราชย์ของสุลต่านอุสมานที่ 2 ในปี ค.ศ. 1617 ด้วยอายุอย่างน้อย 14 ชันษา
พระองค์ยังไม่มีวุฒิภาวะเพียงพอที่จะบริหารราชการได้ทำให้ขาดภาวะผู้นำ ทหารแจนิสซารีที่เคยจงรักภักดีเริ่มไม่เชื่อฟัง สุลต่านปกครองได้ไม่นาน เกิดมีปัญหาชายแดนขึ้น กับโปแลนด์ และเกิดสงครามในที่สุด พระองค์ด้องพ่ายแพ้ในศึกสงครามครั้งนี้ ทั้ง ๆที่ได้ล้อมป้อมปราการคอยซิมหมดแล้ว ทั้งนี้เนื่องจากทหารแจนิสซารีไม่ปฏิบัติตามแผนการของพระองค์วางไว้
บทบาทของทหารแจนิสซารีทางการเมืองการปกครองเริ่มปรากฏชัดขึ้นในสมัยนี้ หลังจากที่สุลต่านสุไลมานที่ 2 ประจักษ์ถึงความล้าหลังและไร้ระเบียบขาดเทคนิคใหม่ ๆ หรือกลยุทธในการรบ สุลต่านมีความปรารถนาที่จะปรับปรุงระบบทหาร สร้างความไม่พอใจแก่ทหารแจนิสซารีเป็นอย่างมากจึงคัดค้าน ความขัดแย้งระหว่างแจนิสซารีกับสุลต่านอุสมานที่ 2 และมีความตึงเครียดมากขึ้น หลังจากที่พระองค์หันหลังให้กับพวกแจนิสซารีและมีแผนการลับที่จะไปปราบกบฏในเลบานอน แต่แจนิสซารีทราบเรื่องเสียก่อน จึงได้ก่อเรื่องขึ้นมาและบีบบังคับให้สุลต่านส่งแกรนด์วิเซียร์ให้แก่พวกเขา และให้ยกเลิกการเคลื่อนทัพไปเลบานอน แต่สุลต่านไม่ได้ปฏิบัติตาม จึงได้ล้อมพระราชวังพระองค์ถูกจับกุม และถูกประหารชีวิตในที่สุด พวกแจนิสซารีได้แต่งตั้งให้มุสตอฟาเป็นสุลต่านแทนแต่พระองค์ไม่สามารถบริหารอาณาจักรได้เลย เนื่องจากพระองค์เป็นโรคปัญญาอ่อน จึงสละราชบัลลังก์ให้มูร็อดที่ 4 ขึ้นครองราชย์ในปี ค.ศ. 1623 ซึ่งเป็นไปตามความต้องการของพวกแจนิสซารี พระองค์มีอายุยังน้อยจึงยังไม่มีอำนาจพอที่จะควบคุมการปกครองได้ยอมอยู่ภายใต้อิทธิพลของพวกแจนิสซารี
อิทธิพลของรัฐบาลกลางต่อจังหวัดหรือแคว้นต่าง ๆ เสื่อมลงเรื่อย ๆ ทั้งนี้เนื่องจากระยะเวลาที่แจนิสซารีมีอิทธิพลนั้น เป็นช่วงเวลาที่ขาดเสถียรภาพของอำนาจ พวกนี้จะใช้อำนาจตามอำเภอใจไร้ระเบียบ ขาดความเป็นเอกภาพ จึงทำให้แคว้นต่าง ๆ ก่อการกบฏ เช่น อัล-อามิรฟัครุดดีน ได้จัดตั้งรัฐบาลใหม่ในเลบานอน เกิดสงครามครูเสด ยึดปาเลสไตน์คืนจากอำนาจของมุสลิม พวกแจนิสซารีไม่ได้รับชอบอย่างแท้จริง แต่เมื่อสุลต่านมูร็อดที่ 4 มีวุฒิภาวะมากขึ้นได้พยายามกู้สถานการณ์ยึดเมืองต่าง ๆ คืนได้บ้าง แต่น่าเสียดายที่สุลต่านอายุไม่ยืน เพราะเป็นโรคสุราเรื้อรังและเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1640
หลังจากสุลต่านมูร็อดที่ 4 สิ้นพระชนม์และไม่มีพระราชโอรสที่จะสืบทอดอำนาจจึงได้แต่งตั้งสุลต่านอิบรอฮีม เป็นสุลต่านอะห์หมัดที่ 1 ปกครองต่อไป สุลต่านอิบรอฮีมไม่มีความสามารถและภาวะผู้นำเพียงพอที่จะควบคุมสถานการณ์ภายในราชวัง และในราชอาณาจักรต้องอาศัยแกรนด์วิเซียร์ที่มีความสามารถจัดการกับปัญหาต่าง ๆ แต่จัดการได้ชั่วคราวระยะเวลาหนึ่งเท่านั้นเพราะอาจจะเกิดปัญหาการไม่ยอมรับจากผู้ที่เสียประโยชน์โดยเฉพาะชนชั้นขุนนาง ชนชั้นปกครองและทหาร เช่น พระราชินีและพระมเหสี เป็นต้น
พวกแจนิสซารีได้ก่อรัฐประหารหลายครั้งและทุกครั้งที่ก่อ พวกแจนิสซารีจะไม่สถาปนาตนเองเป็นกษัตริย์แต่จะพยายามหาตระกูลสุลต่านที่ไม่เป็นพิษเป็นภัยแก่พวกตนขึ้นครองพระราชบัลลังก์ เช่น การขึ้นครองราชย์บัลลังก์ ของสุลต่านเมห์เมดที่ 4 ในปี ค.ศ. 1648 เกิดจากการรัฐประหารสุลต่านอิบรอฮีมในวันที่ 18 ส.ค. 1648 โดยการแขวนคอ การขึ้นมาดำรงตำแหน่งของเมห์เมดที่ 4 เป็นแผนการของพวกแจนิสซารีที่มีความเห็นว่าเมื่อพระองค์อายุยังน้อย ก็ไม่สามารถดูแลบ้านเมืองได้พวกตัวเองจะได้มีบทบาทต่อไป
แจนิสซารีปลดสุลต่านอะห์หมัดที่ 3 ด้วยเหตุผลเพราะสุลต่านไม่ให้กองทัพของพวกเขาไปรบกับเปอร์เซีย และได้แต่งตั้งมะห์มูดที่ 1 ขึ้นครองราชย์แทน
ในยุคกลางของความเสื่อมถอยนอกจากความอ่อนแอของสุลต่าน ปัญหาแจนิสซารีความวุ่นวายตามแคว้นต่าง ๆ แล้ว พวกยุโรปมีความมุ่งมั่นที่จะทำลายอาณาจักรออตโตมานด้วย ได้มีความร่วมมือและคำขวัญร่วมกันว่า “ขับไล่ออตโตมานออกจากยุโรป” ป้อมและเมืองต่าง ๆเริ่มถูกยึด เช่น ป้อมอาร์โลและโลปา เมืองเบลเกรด กลุ่มบัชถูกยึดโดยออสเตรียในสมัยสุไลมานที่ 2
พระเจ้าปีเตอร์แห่งรัชเซียประกาศสงครามกับออตโตมานในปี 1695 และสามารถยึดเมือง AZOV และถูกกดดันให้ทำสัญญาสงบศึกคือสัญญาคาโลวิทย์ โดยออตโตมานต้องเสียดินแดนบางส่วนไป สงครามในครั้งนี้ถือว่าเป็นความพ่ายแพ้ครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ออตโตมานเกิดขึ้นในสมัยสุลต่านมุสตอฟาที่ 2 ถึงแม้ว่าออตโตมานสามารถขับไล่รัสซียในสมัยมุสตอฟาที่ 3 ก็ตามแต่ต้องพ่านแพ้อย่างไร้เกียรติ ในสงครามครั้งยิ่งใหญ่ที่ชุมลา (Syumlla) ในสมัยอับดุลฮามิดที่ 1 ซึ่งต้องยอมทำสนธิสัญญา “กุจุ กัยนัรยา” ซึ่งเป็นสนธิสัญญาที่ออตโตมานเสียเปรียบมากในปี ค.ศ. 1774 เพราะต้องมอบป้อมปราการต่าง ๆ ชายฝั่งทะเลดำ ต้องยอมให้รัสเซียผ่านช่องแคบดาร์ดาแนลได้อย่างอิสระ ยินยอมให้สร้างโบสถ์ได้ในกรุงอิสตันบูล และมีสิทธิคุ้กองทัพให้ทันสมัย โดยเฉพาะในสมัยมะห์มูดที่ 2 ปี ค.ศ. 1808 ถึงแม้ว่าจะได้รับการต่อต้านจากพวกแจนิสซารีก็ตาม พระองค์ได้ใช้ไม้แข็งในการปราบการประท้วงของพวกแจนิสซารี โดยใช้ปืนใหญ่ยิงผู้ประท้วงหน้าพระราชวัง ทำให้ผู้ประท้วงเสียชีวิตเป็นจำนวนนับหมื่นคนและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก
จากเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้ อิทธิพลของพวกแจนิสซารีหมดไป สุลต่านได้มีโอกาสปรับปรุงกองทัพให้ทันสมัยตามแบบตะวันตก
11.3.3 ยุคเสื่อมตอนปลาย
เริ่มตั้งแต่สมัยสุลต่านที่ 31 คือสุลต่านอับดุลมาญีดที่ 1 ได้ขึ้นครองราชย์หลังจากการ
สิ้นพระชนม์ของสุลต่านมะห์มูดที่ 2 ซึ่งอยู่ภายใต้เหตุการณ์ทวีความรุนแรงมากขึ้นเกิดการกบฏตามหัวเมืองจนรัฐบาลกลางไม่สามารถที่จะควบคุมได้ และชาติตะวันตกเข้ามาแทรกแซง บีบบังคับ กลายเป็นปัญหาระดับภูมิภาคและระดับโลก ออตโตมานต้องเข้าร่วมในสงครามโลกโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้จนถูกจัดสรรดินแดนอาณาจักรตามความพึงพอใจของชาติมหาอำนาจ
ถึงแม้ว่าในสมัยต้นของสุลต่านอับดุลมาญิ สุลต่านมีเวลาในการซ่อมแซมประเทศเป็นระยะเวลาเกือบ 10 ปี แต่เนื่องจากความเป็นเอกภาพของหัวเมืองต่าง ๆ ไม่ได้ถูกแก้อย่างถาวรก็ย่อมต่อการยุยง ในปี 1848 เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อปกครองตนเองในหลายหัวเมือง เช่น ชาวโรมันชาวเปอร์เซียที่กรุงแบกแดด รัฐบาลออตโตมานไม่สามารถที่จะส่งทหารไปปราบความวุ่นวายเหล่านั้นได้ทั้งหมด จึงเป็นการเปิดโอกาสให้อาณาจักรอื่นที่รอจังหวะที่จะเข้ามาแทรกแซงในพื้นที่มีปัญหาเป็นการแก้แค้น และโจมตีออตโตมานด้วยภายในตัว
ในปี 1858 เกิดความวุ่นวายในจิดดะห์ ดามัสกัส ระหว่างมุสลิมกับคริสเตียน มีการบุกรุกกองสุล ฝรั่งเศส เป็นเหตุให้ภรรยาท่านกงสุลถูกฆ่าและได้กลายเป็นประเด็นทางการเมือง เป็นการดึงฝรั่งเศสให้เข้ามามีอิทธิพลในดินแดนแถบนี้มากขึ้น รัฐบาลยุโรปได้เรียกร้องให้ออตโตมานแก้ไขสถานการณ์เหล่านั้นให้กลับสู่ภาวะปกติ บังคับให้ออตโตมานจ่ายค่าเสียหายแก่ชายคริสเตียน เกิดความวุ่นวายในมอนเตนิโกรในปี 1863 ในบอสเนีย เฉอร์เซฝโกวินา เซอร์เนีย เป็นต้น สุลต่านไม่ให้ความสนใจเท่าที่ควรจะสนใจเหตุการณ์ภายในพระราชวังมากกว่า
ในยุคเสื่อมตอนปลายมีแนวความคิดประชาธิปไตยเริ่มเข้ามาโดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชนรวมทั้ง มัดฮัด ปาซา ซึ่งเป็นบุคคลที่มีความสามารถในการบริหารราชการ ความไม่พอใจในระบบการปกครองแบบเก่ามีมากขึ้นเรื่อย ๆ ประชาชนเรียกร้องสิทธิต่าง ๆ การมีส่วนร่วมทางการเมือง เรียกร้องให้มีการร่างรัฐธรรมนูญ ส่วนสุลต่านอับดุลอาซิซไม่ได้สนใจและไม่ยอมรับการความคิดเห็นดังกล่าวแต่ประการใด
คณะวะซีรได้เล็งเห็นถึงอุปสรรคของการปฏิรูปการปกครองคือ สุลต่านย่อมไม่เห็นด้วยกับความพยายามดังกล่าว จึงคิดวางแผนที่จะปลดสุลต่านออกจากตำแหน่ง ในที่สุดสุลต่านอับดุลมาญิที่ 1 ยอมสละราชบัลลังก์ให้สุลต่านองค์ต่อมาปกครอง
ในสมัยสุลต่านอับดุลฮามิดที่ 2 ได้มีกลุ่มอุลามะบางกลุ่มที่สนับสนุนสุลต่านได้คัดค้านแนวคิดที่จะให้มีการร่างรัฐธรรมนูญ พระองค์ได้ถือโอกาสทวนกระแสการเรียกร้องประชาธิปไตย โดยใช้นโยบายโยกย้ายผู้ที่มีแนวคิดไม่สอดคล้องกับพระองค์ มัดฮัด ปาซา หนึ่งในข้าราชการที่ถูกย้ายไปยังฎออีฟ จนถูกฆ่าตาย
หลังสงครามออตโตมานและรัสเซีย ในปี 1877 ออตโตมานต้องสูญเสียดินแดนเกือบครึ่งหนึ่งของอาณาจักร ภายใต้สัญญา ณ กรุงเบอร์ลิน รัฐบาลในช่วงนี้ไม่มีประสิทธิภาพ อ่อนแอ มีการคอรัปชั่น จนกระทั่งยุโรปเรียกรัฐบาลออตโตมานว่า คนป่วยแห่งยุโรป (Sick man of Europe) ออตโตมานดำรงอยู้ได้ด้วยการแสวงหาผลประโยชน์จากประชาชนผู้อยู่ใต้ปกครองซึ่งไม่ได้เป็นชาวเตอร์ก(ชัยวัฒน์ ถาวรธนสาร นันทนา เตชะวณิชย์ 2544 : )
นายทหารหนุ่ม ไม่พอใจสุลต่านอับดุลฮามิดอย่างมากที่ออตโตมานต้องสูญเสียดินแดนและสิทธิหลายอย่าง และระบบการปกครองที่ล้าสมัย นายทหารหนุ่มเหล่านี้ได้รวมกลุ่มจัดตั้งกลุ่มใต้ดินเรียกว่า Young Terk เป็นกลุ่มทหารชั้นกลางที่มีการศึกษาค่อนข้างหัวรุนแรงที่ไม่พอใจสุลต่านอับดุลฮามิดที่ 2 ที่มีอำนาจมากเกินไปตามรัฐธรรมนูญ1876 ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นกลุ่มการเมืองที่เปิดเผยภายใต้ชื่อใหม่ว่า พรรค lttihad Wat Taraggi พรรคนี้มีอิทธิพลมากในการปกครอง ได้มีการจัดตั้งกรรมการชุดหนึ่งคือ คณะกรรมการแห่งความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและความก้าวหน้า (The Committee of Union and Progress : cup) : ซึ่งประกอบด้วยเตอร์กหนุ่มบริหาร ในระยะแรกการบริหารก่อให้เกิดสมานฉันท์ แต่ต่อมาพวกอาร์เมเนียเป็นผู้นำลัทธิชาตินิยมมาสู่อนาโตเลีย แม้ว่าจะมีความพยายามสร้างสมัยแห่งความสามัคคีระหว่างอาหรับกับเตอร์กแต่ความรู้สึกชาตินิยมก็ได้ทำลายความพยายามดังกล่าว พวกยังเตอร์กกลับพยายามทำให้จักรวรรดิออตโตมานกลายเป็นตุรกี การต่อสู้ของกลุ่มนี้ต้องการสู้รบปกป้องตุรกีและปลดตัวแทนต่างชาติออกให้หมด โดยเฉพาะชาวอาหรับ แนวคิดนี้ เรียกกันว่า ชำระล้างตุรกี ชาวอาหรับถูกทำร้ายและถูกประหารชีวิตจำนวนมาก จากความโหดเหี้ยมในครั้งนี้ทำให้ชาวอาหรับเคียดแค้นมาก จนทำให้หัวเมืองหลายแห่งได้ประกาศแยกตัวเป็นอิสระ
ในสงครามโลกครั้งที่1 รัฐบาลตุรกีได้เข้าข้างเยอรมันนี ออสเตรีย ฮังการี ซึ่งเป็นฝ่ายแพ้ในสงครามครั้งนี้ กองทัพพันธมิตรสามารถยึดออตโตมานได้โดยไม่มีการต่อสู้ใด ๆ อาณาจักรออตโตมานสิ้นสุดลง
สัญญาแห่งความตกต่ำและการล่มสลายของอาณาจักรอุษมานียะห์ เริ่มปรากฏหลังจากสุลต่านสุไลมานที่ 1 สิ้นพระชนม์ เพราะในสมัยของพระองค์นั้นถือได้เช่น มหาราช ว่าอาณาจักรอุษมานียะห์เจริญสูงสุด ทั้งอาณาเขต และชื่อเสียงของพระองค์นั้นถือได้รับฉายาต่าง ๆ เช่น มหาราช ผู้สง่างาม อัลกอนูนี เป็นต้น พระองค์เป็นผู้ปกครองที่ประสบความสำเร็จมีการพัฒนาทางศิลปะ และวิทยาศาสตร์ อารยธรรมและวัฒนธรรมได้เจริญก้าวหน้าพระองค์มีลูกชายที่มีความสามารถ เฉลียวฉลาดเหมือนกับพระองค์ แน่นอนความรุ่งโรจน์ของอาณาจักรออตโตมานคงอยู่ต่อไปหากมุสตอฟา ลูกชายคนหนึ่งสืบทอดอำนาจต่อจากพระบิดาแต่โชคร้ายที่สาวใช้ชาวรัสเซียที่น่ารักได้ลอบวางแผนสังหารเสียก่อน
หลังจากสุลต่านซาเลมที่ 2 ขึ้นครองราชย์ในปี ค.ศ. 1566 – 1573 เหตุการณ์ได้เปลี่ยนแปลงรัฐบาลอุษมานียะห์ต้องพ่ายแพ้สงครามและเสียดินแดนบางส่วนให้แก่ยุโรป (Badri Yatim, 1997 : 163) ถึงแม้ว่าอาณาจักรอุษมานียะห์เริ่มเสื่อมถอยมีผู้นำที่อ่อนแอและเกิดความวุ่นวาย แต่เนื่องจากอาณาจักรอุษมานียะห์เป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่มีอาณาเขตที่กว้างมีวัฒนธรรมเดิมช่วยประคับประคองอยู่ได้ เป็นเวลาหลายร้อยปีกว่าจะล่มสลายมีปัจจัยหลายปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการเสื่อมถอยและล่มสลายอาณาจักรออตโตมานดังต่อไปนี้
1. ความอ่อนแอของสุลต่าน
ผู้ปกครองเป็นปัจจัยสำคัญของการบริหารประเทศ โดยเฉพาะรูปแบบการปกครองในระบบ
กษัตริย์ซึ่งอำนาจสูงสุดอยู่ที่พระองค์เดียว เมื่อพระองค์ไม่มีความสามารถ ไม่สนใจบ้านเมืองเท่าที่ควร มีนิสัยฟุ่มเฟือย หมกมุ่นอยู่กับความสุขสำราญทางโลก สภาพแวดล้อมในวังที่หรูหราอลังการและเต็มไปด้วยผู้หญิงและสิ่งมึนเมา การมีคนจำนวนมากคอยรับใช้ดูแลมีความสะดวกสบายเกินไปทำให้ความสามารถในด้านการปกครองและการทหารลดน้อยถอยลง เมื่อเกิดความวุ่นวายไม่ได้ถูกแก้ปัญหาอย่างถูกต้อง
2. อาณาจักรที่กว้างใหญ่
การบริหารราชการในประเทศที่มีอาณาเขตกว้างขวางเป็นเรื่องยากมากในการปกครองเพราะหัวเมืองที่อยู่ห่างไหลการปกครองอาจไม่ทั่วถึง การปกครองส่วนกลางของอาณาจักรเองยังไม่ลงตัวมีปัญหามาตลอดและในขณะดียวกันการปกครองหัวเมืองต่าง ๆ เจ้าเมืองมีความทะเยอทยานที่จะขยายดินแดนเพิ่มขึ้นจึงเกิดสงครามกับชาติอื่น ๆ ตลอดเวลา เรื่องดังกล่าวนี้ย่อมส่งผลต่อความมั่นคง ความสงบและการพัฒนาประเทศเป็นอย่างมาก
3. ภายในอาณาจักรออตโตมานมีหลายเชื้อชาติ
อาณาจักรออตโตมานมีประชากรหลายเชื้อชาติ หลายศาสนา มีประเพณี วัฒนธรรมที่แตกต่าง
กัน อยู่ในพื้นที่คนละแห่ง ตั้งแต่เอเชียไมเนอร์ อาร์เมเนีย อีรัก อีหร่าน ซีเรีย เยเมน ฮีญาชในทวีปเอเชีย อียิปต์ ลิเบีย ตูนีเซีย อัลยีเรียในแอฟริกา บัลกาเรีย กรีก ยูโกสลาเวีย อัลบาเนีย ออาเตรีย โรมาเนียในทวีปยุโรป ซึ่งความแตกต่างเหล่านั้นเป็นสาเหตุของความวุ่นวาย การปกครองในพื้นที่ที่มีความแตกต่างสูง นอกจากต้องมีระบบการปกครองที่ดี และเป็นระเบียบแล้ว ผู้ปกครองต้องมีศิลปะเฉพาะที่สามารถประนีประนอม ประสานประโยชน์ระหว่างเชื้อชาติทั้งหลาย หากยุดใดสุลต่านไม่ความสนใจอย่างเพียงพอ รัฐบาลอุษมานียะห์ต้องรับภาระในการปราบปรามความวุ่นวายที่เกิดขึ้นทั่วอาณาจักร มีเหตุการณ์หลายครั้งที่มีสาเหตุจากศาสนาจนทำให้รัฐบาลต้องสูญเสียทั้งเวลา เศรษฐกิจ และทหารในการปราบปราม
4. การเรียกเก็บเงินใต้โต๊ะ
เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าตำแหน่งในราชการต่าง ๆ มีการซื้อขายกัน ตั้งแต่ระดับต่ำจนถึง
ระดับสูง กลายเป็นเรื่องปกติในวงราชการ ทำให้ระบบมีแต่บุคคลที่ไม่มีคุณภาพ เห็นแก่ตัว ทำให้การบริหารงานราชการไม่สนองนโยบายของรัฐบาลกลาง
5. กองทัพแจนิสซารีมีอำนาจมากเกินไป
สุลต่านมูร็อดที่ 1 ได้เริ่มโครงการเก็บภาษี เลือดเนื้อจากราษฎร กล่าวคือ แต่ละครอบครัว
ต้องมอบบุตรชายที่แข็งแรงกำที่สุดมาเป็นทหารในหน่วย กองพลใหม่ เด็กหนุ่มเหล่านี้จะต้องเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม ตัดขาดจากนครอบครัวและอุทิศตนจงรักภักดีต่อสุลต่านเพียงผู้เดียว เมื่อชีวิปราศจากซึ่งทุกสิ่ง ยกเว้นสามัคคีจิตใจหมู่ตนเช่นนี้ กองทัพแจนิสซารีจึงกลายเป็นมหันตภัยอันน่าสะพรึงกลัวไม่เพียงรัฐบาลต่างชาติ กับจักรวรรดิออตโตมานเองก็ไม่เว้น
6. เกิดความวุ่นวามภายใน
การบ่อนทำลายและการก่อการจลาจลภายในที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในอาณาจักรอุษมานียะห์
ได้ทำลายความเข้มแข็งของอาณาจักรนี้ลงเป็นอย่างมาก ผิดกับอำนาจชาติคริสเตียนแห่งยุโรปที่ยังคงรวมตัวกันเหนียวแน่นและใช้สถานการณ์ดังกล่าวสร้างความยุ่งยากลำบากให้แก่มุสลิมครั้งแล้วครั้งเล่า จนกระทั่งในที่สุดก็สามารถแบ่งแยกอาณาจักรอุษมานียะห์อันยิ่งใหญ่ออกเป็นรัฐเล็กรัฐน้อยที่ไม่มีอำนาจ(บรรจง บินกาซัน, 2544 : 108)
7. เศรษฐกิจตกต่ำ
เนื่องจากเกิดสงครามตลอดเวลา ทำให้เศรษฐกิจไม่ขยายตัว เพราะแรงงานหนุ่มต้องออกศึกสงคราม เหลือเฉพาะแรงงานสตรีและคนแก่ที่จะต้องสร้างรายได้ให้กับประเทศชาติ ในขณะที่ค่าใช้จ่ายของประเทศเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ เป็นสาเหตุประการหนึ่งที่ทำให้ออตโตมานไม่สามารถพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ได้(Badri Yatim, 1997 : 168)
8. ลัทธิชาตินิยม
มหาอำนาจที่มิใช่สุสลิมยังมีความหวั่นเกรงอิสลาม จนกระทั่งถึงปัจจุบันโดยเฉพาะพวกยิว คริสเตียนและฮินดูนั้นมีความหวาดกลัวความเป็นเอกภาพของอิสลามเป็นอย่างมาก ในอดีตชาติเหล่านี้ได้ใช้วิธีการเลวร้ายทุกอย่างที่จะทำให้เอกภาพแห่งอิสลามได้รับความอ่อนแอ เครื่องมืออันตรายชนิดหนึ่งที่ชาติเหล่านี้ได้นำมาใช้อย่างได้ผลในการทำลายความสมานฉันท์และความเป็นเอกภาพในหมู่รัฐมุสลิมก็คือลัทธิชาตินิยม ยุทธวิธีนี้ได้ถูกทดลองใช้ในตุรกี เพื่อเป็นเครื่องมือในการแบ่งแยกพวกเติร์กออกจากประชาชาติ มุสลิมและก็ประสบความสำเร็จ อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องน่ายินดีที่จะกล่าวว่าถึงแม้จะติดกับดักศัตรูที่ส่งเสริมให้ตุรกีปกครองประเทศโดยแยกตัวออกมาจากศาสนาในเวลานั้น แต่ในปัจจุบันพวกเติร์กก็กำลังฟื้นฟูอิสลามขึ้นมาในมาตุภูมิของตนและพยายามที่จะสร้างสายสัมพันธ์แห่งอิสลามกับส่วนอื่น ๆ ของโลกมุสลิม(บรรจง บินกาซัน, 2544 : 108)
9. การไม่สนใจต่อวิทยาการสมัยใหม่
ในช่วงปลายสมัยของอาณาจักรอุษมานียะห์ชาติยะโรปใกล้เคียงมีความเจริญก้าวหน้าทาง
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก ทั้งที่ความจริงแล้วความเจริญก้าวหน้าทางด้านนี้ของพวกยุโรปมีต้นกำเนิดมาจากนักวิชาการมุสลิมในสเปน แต่พวกยุโรปให้ความสนใจทางด้านวิทยาศาสตร์อย่างต่อเนื่องและได้ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ในการสร้างความเข้มแข็งให้แก่กองทัพของตน แต่ในทางตรงกันข้าม มุสลิมกลับไม่สนใจในเรื่องนี้ ดังนั้นมุสลิมจึงล้าหลังพวกยุโรปและในที่สุดก็ได้รับความตกต่ำและความพ่ายแพ้(บรรจง บินกาซัน, 2544 : 108)
ความเข้มแข็งของทหารเพียงอย่างเดียว โดยไม่ได้พัฒนาทางด้านเทคโนโลยี ทางด้านอาวุธย่อมไม่เพียงพอที่จะต่อสู้ศัตรูที่พัฒนาอาวุธและเทนโนโลยีตลอดเวลา รัฐบาลออตโตมานได้ละเลยในเรื่องการพัฒนาทางวิชาการและเทคโนโลยี ซึ่งอาจเนื่องมาจากติดยึดอยู่กับวิธีคิดแบบโบราณของมุสลิม(Badri Yatim, 1997 : 168)
10. ความต่อเนื่องของการบริหารราชการไม่เชื่อมต่อ
นโยบายการบริหารอาณาจักรของสุลต่านแต่ละองค์ไม่ต่อเนื่องกัน เนื่องจากการบริหาร
ราชการขาดแผนแม่บท จะบริหารตามสถานการณ์ที่เป็นอยู่
11. มีการและทางด้านศรัทธาและไม่เข้าใจอิสลาม

อ้างอิงจาก หนังสือหลักการบริหารในอิสลาม สาม

ขบวนการชาตินิยม กับการสร้างรัฐตุรกี

ออตโตมาน (Octtoman ) เป็นชื่อของราชวงศ์ที่ได้สร้างจักรวรรดิอันยิ่งใหญ่ กินอาณาบริเวณไปถึงสามทวีป คือยุโรป เอเชีย และแอฟริกา ราชวงศ์ออตโตมันครองอำนาจอยู่จวบจนมุสตาฟา เคมาล ยุบสถาบันสุลต่านไปใน ค.ศ. 1922 ก่อนถึงสมัยยังเติร์ก คำว่าออตโตมัน นอกจาเป็นชื่อราชวงศ์และชื่อจักรวรรดิที่ตั้งขึ้นโดยราชวงศ์นี้แล้ว ยังเป็นคำที่มีความหมายในเชิงยกย่อง พวกชนชั้นปกครองในจักรวรรดิจะเรียกตัวเองว่าเป็นพวกออตโตมัน ส่วน”ยังออตโตมัน” ( Young Ottoman ) เป็นกลุ่มชาวเติร์กพวกแรกที่ต้องการปฏิรูปจักรวรรดิให้เป็นประชาธิปไตยด้วยพลังชาตินิยม พวกยังออตโตมันเป็น “ผู้นำที่แท้จริงในขบวนการชาตินิยมและประชาธิปไตยในตุรกี” ในขณะที่ว่าคำว่า “เติร์ก” จะหมายถึงพวกชนชาติเติร์กเร่ร่อน และต่อมาจะหมายถึงพวกชาวไร่ชาวนาที่พูดภาษาเติร์กตามหมู่บ้านในอนาโตเลีย ซึ่งคือบริเวณดินแดนของจักรวรรดิออตโตมันหรือตุรกีในเอเชีย
จักรวรรดิออตโตมานเคยมีความยิ่งใหญ่มากเช่นในสมัยของสุลต่านสุไลมาน ซึ่งครองราชย์อยู่ระหว่าง ค.ศ. 1520 - 1566 นั้น จักรวรรดิออตโตมานมีฐานะทัดเทียมกับราชอาณาจักรใหญ่ในยุโรป เช่น ราชอาณาจักรฝรั่งเศส พระเจ้าฟรานซิซที่ 1 แห่งฝรั่งเศสทรงมีราชสาส์นติดต่อกับพระเจ้าสุไลมาน ซึ่งได้รับสมญานามว่า สุไลมานผู้เกรียงไกรและพระเจ้าสุไลมานทรางตอบดังนี้
เราคือสุลต่านแห่งสุลต่าน กษัตริย์เหนือกษัตริย์ ผู้พระราชทานมงกุฎแก่กษัตริย์ ในภาคพื้นพิภพ เงาแห่งอัลลอฮเจ้าบนพิภพสุลต่านและจักรพรรดิแห่งทะเลขาว (เมดิเตอร์เรเนียม ) ทะเลดำ อาเมเลีย อนาโตเลีย คาราเมเนีย แห่งแดนรูม แห่งดามัสกัส อเลบโป ไคโร มักกะฮ มะดีนะฮ เยรูซาเล็ม อาระเบียทั้งหมด เยเมน… พระองค์ผู้ทรงพระนามว่าฟรานซิสกษัตริย์แห่งฝรั่งเศสทรงมีพระชาสาส์น…”
ความยิงใหญ่ดังได้ยกมาเป็นตัวอย่างนี้ค่อย ๆ ลดถอยลงเมื่อยุโรปตะวันตกได้ปรับตัวเข้าสู่ยุคใหม่ มีความแข็งแกร่งพอที่จะต่อต้านกำลังของจักรวรรดิออตโตมานและสามารถขับไล่พวกเติร์กให้ถอยรุ่นไปจากดินแดนยุโรปนับตั้งแต่ปลายคริสตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา จักรวรรดิออตโตมานมีศัตรูสองด้านคือ ออสเตรีย ทางตะวันตกและรุสเซียทางตะวันออกความล้าหลังชาวตะวันตก ทำให้จักรวรรดิค่อย ๆเปลี่ยนสถานะมาเป็น “คนป่วยแห่งยุโรป ตามที่ฉายาที่ซาร์นิโคลลัสที่ 1 แห่งรัสเซียทรงตั้งไว้อย่างไรก็ดี จักรวรรดิออตโตมานยังไม่ถึงจุดจบง่าย ๆ เพราะไม่มีมหาอำนาจใดในยุโรป ซึ่งเข้มแข็งพอที่จะปราบปรามมหาอำนาจอื่นและยึดเอาจักรวรรดิออตโตมานได้ แต่ละมหาอำนาจต่างไม่ต้องการให้จักรวรรดิออตโตมานตกเป็นของมหาอำนาจอื่น ดังนั้นคนป่วยจึงได้รับการเยียวยาไว้เพื่อรักษาดุลแห่งอำนาจในยุโรป ในขณะเดียวกันประเทศมหาอำนาจต่างก็พากันหาผลประโยชน์จากคนป่วยเท่าที่จะสามารถทำได้
สุลต่านแห่งจักรวรรดิออตโตมานได้พยายามปรับปรุงจักรวรรดิโดยการเอาแบบอย่างจากตะวันตก เช่น สุลต่าน มะห์มูดที่ 2 พยายามปรับปรุงกองทัพตามแนวตะวันตกในครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยการจ้างนายทหารรัสเซียมาเป็นที่ปรึกษาทางด้านกลาโหม และช่วยฝึกกองทัพบก ส่วนกองทัพเรือก็ได้รับการปรับปรุงโดยผู้เชี่ยวชาญชาวอเมริกันและนายทหารที่ปรึกษาชาวอังกฤษ เป้นต้น
เมื่อโมฮัมหมัด อาลี ตั้งตัวเป็นใหญ่ในอียิปต์และพยายามแบ่งแยกอียิปต์ไปจากจักรวรรดิ รัฐบาลออตโตมานต้องการความสนับสนุนช่วยเหลือจากมหาอำนาจในการจำกัดอำนาจของโมฮัมหมัด อาลี มิให้ขยายออกไปดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องปฏิณุปจักรวรรดิเพื่อแสดงว่าจักรวรรดิสามารถสร้างความก้าวหน้าและมีคุณค่าแก่การช่วยเหลือปกป้องให้ดำรงอยู่ต่อไป
การปฏิรูปซึ่งเกิดขึ้นในรัชสมัยของสุลต่าน อับดุลมายิด มีชื่อเรียกว่า ตันซีมัต ในประวัติศาสตร์ตุรกี คำว่า “ตันซีมัต” แปลว่าการปรับปรุงใหม่ สมัยตันซีมัต”กินเวลาราว 40 ปี เป็นช่วงเวลาที่รัฐบาลออตโตมานพยายามปรับปรุงประเทศตามแนวตะวันตก คนหลายฝ่ายไม่พอใจกับการปฏิรุปโดยมองว่าเป็นไปอย่างผิวเผิงผลิผลามตามกับตะวันตก หรือมิฉะนั้นก็ยังไม่เข้มแข็งพอ การที่รัฐบาลพยายามรักษาความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของจักรวรรดิโดยไม่เน้นเรื่องเชื้อขาติและศาสนา แต่เน้นความเป็นออตโตมาน และความเสมอภาคในทาง กฎหมาย ทำให้พวกมุสลิมไม่พอใจที่รัฐให้ความสำคัญต่อคนนอกศาสนาเท่ากับมุสลิม
ทั้งพระราชกฤษฎีกาปฏิรูปใน ค.ศ. 1839 และ 1856 เป็นการเน้นการปฏิรุปตามแนวตะวันตก เช่นการเน้นเรื่องปัจเจกบุคคล ความเสมอภาค และการรับวัฒนธรรมตะวันตก เช่น ในเรื่องการแต่งกาย การใช้ส้อม และการนั่งเก้าอี้เป็นต้น ในด้านการศึกษานั้นการปฏิณุปดูจะส่งผลเด่นชัด กล่าวคือเกิดการศึกษาแบบตะวันตกควบคู่ไปกับการศึกษาจากโรงเรียนศาสนาที่มีอยู่เดิม
การศึกษาแบบตะวันตกได้ก่อให้เกิดขบวนการทางวรรณกรรม ซึ่งเริ่มต้นด้วยการออกหนังสือพิมพ์อิสระ ให้ความสนใจในวรรณกรรมตะวันตกทั้งในรูปบทกวี บทละครนวนิยาย และงานหนังสือพิมพ์อิสระ มีการแปลวรรณกรรมตะวันตกเป็นภาษาเติร์ก ปรับภาษาทางราชการ แนวความคิดแบบตะวันตกได้ซึมซาบเข้ามาในงานเขียนและก่อให้เกิดความคิดใหม่ ๆ เกี่ยวกับเรื่องชาติ การปกครอง และความก้าวหน้า


พวกออตโตมานหนุ่ม ( Young Ottoman )
พวกออตโตมานหนุ่ม ซึ่งบางที่เรียกว่ากันว่า พวกออตโตมานใหม่ เป็นคนหนุ่มหัวใหม่ซึ่งเกือบทั้งหมด อายุตำกว่า 40 ปี เป็นผลิตผลของจบวนการทางวรรณกรรมที่กล่าวข้างต้น ผู้นำสำคัญได้แก่ นามิก เคมาล และซียะ ปาชา พวกคนหนุ่มหัวใหม่ตั้งกลุ่มหรือสมาคมลับ ที่เรียกว่า ออตโตมานหนุ่มนี้ขึ้น ในค.ศ. 1867 เป็นที่น่าสังเกตว่าพวกออตโตมานเป็นพวกปัญญาชนซึ่งมาจากตระกูลสูง เป็นนักหนังสือพิมพ์ และผู้มีความสนใจในงานเขียน จึงต่างจากพวกยังเติร์กในสมัยต่อมา ซึ่งเป็นพวกชนชั้นกลางประกอบด้วยนายทหารหนุ่มและข้าราชการผู้น้อยเป็นต้น
สิ่งที่พวกออตโตมานหนุ่มเรียกร้องคือการปกครองแบบมีรัฐธรรมนูญ การพัฒนาเศรษฐกิจ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และการศึกษาแบบสมัยใหม่ นามิก เคมาล ซึ่งได้อิทธิพลจากมองเตสกิเออและรุสโซมากได้เรียกร้องการแยกอำนาจอธิปไตยและการตั้งสภาที่มาจากการเลือกตั้ง ถึงแม้พวกออตโตมานหนุ่มจะต้องการความเจริญก้าวหน้าแต่ก็รับอารยธรรมตะวันตกแต่บางส่วน และยังต้องการอนุรักษ์วัฒนธรรมอิสลามและเติร์กที่มีมาก่อน แนวความคิดชาตินิยมที่มีอิทธิพลต่ออตโตมานหนุ่ม และนำไปสู่ความคิดเรื่องบ้านเกิดเมืองนอนหรือประเทศชาติ เนื่องจากจักรวรรดิมีชนหลายเชื้อชาติ แนวคิดเรื่องชาติจึงมิใช่ชาติเติร์ก แต่เป็นออตโตมาน ซึ่งหมายถึงประชากรทั้งหมดในจักรวรรดิ
พวกออตโตมาน หนุ่มพยายามโค่นล้มรัฐบาลเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามที่ตนเรียกร้องจึงถูกเพ่งเล็งและปราบปรามจนพวกหัวหน้าต้องหนีออกนอกประเทศ และตั้งศูนย์ประจำการที่ปาริสความหวังของออตโตมานหนุ่มที่ทำท่าว่าจะเป็นไปได้เมื่อสุลต่านอับดุลฮามิดที่ 2 ขึ้นครองราชย์ พระองค์ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญใน ค.ศ. 1876 ตามที่ได้ให้สัญญาไว้แก่ผู้ที่สนับสนุนให้พระอง๕ได้บัลลังก์ รัฐธรรมนูญฉบับแรกซึ่งร่างโดยพวกออตโตมานหนุ่มมีลักษณะเป็นแบบตะวันตก เช่น ระบุให้มีคณะวะซีร มีวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งมีสภาผู้แทนที่มาจากการเลือกตั้ง มีอำนาจตุลาการที่เป็นอิสระเป็นเอกเทศมีกฎหมายรับรองสิทธิประชาชน พวกนิยมรัฐธรรมนูญผูกความหวังไว้กับสภาผู้แทน ถึงแม้ว่าสุลต่านจะขอปรับแก้ไขคณะวะซีรรับผิดชอบต่อสุลต่านมิใช่ต่อสภาผู้แทน เมื่อเริมมีสภาผู้แทน สมาชิกได้แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ จึงก่อให้เกิดความขัดแย้งกับสุลต่านซึ่งยังไม่คุ้นเคยกับการถุกทำร้ายท้าทายอำนาจ ในที่สุดสุลต่านอับดุลฮามิดก็สั่งปิดสมัยประชุมใน ค. ศ. 1878 และไม่ยอมเปิดสมัยประชุมอีกเลยเป็นเวลานานถึง 30 ปี
ความล้มเหลวของออตโตมานใหม่นั้น มีสาเหตุสำคัญมาจากการที่พวกเขาต้องการอนุรักษ์วัฒนธรรมอิสลามไปพร้อม ๆกับการรับส่วนที่ดีของอารยธรรมตะวันตก ทำให้ไม่เป็นที่พอใจของฝ่ายอนุรักษ์ที่ต่อต้านอารยธรรมตะวันตก และฝ่ายหัวรุนแรงที่ต้องการอารยธรรมตะวันตกทั้งหมด การเน้นความเป็นอิสลามก็ทำให้พวกที่มิใช่เป็นมุสลิมไม่สนับสนุน
ในสมัยปลายอาณาจักรออตโตมาน ( 1908 - 1918 ) นั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงภายในระบบสัมพันธ์มิตรยุโรปจึงทำให้อาณาจักรออตโตมานจำเป็นต้องมีการปฏิรูปทางการทหาร ความเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดจากการที่เยอรมันมีกำลังมากขึ้น กลายเป็นสมาชิกของสัมพันธ์มิตรสามฝ่าย อันประกอบด้วย เยอรมัน อิตาลี และออสเตรีย – ฮังการี ในสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันที่อยู่จนถึงสงครามโลกครั้งที่ 1 ฝรั่งเศสได้ตอบโต้สนธิสัญญาไตรภาคีโดยไปเป็นพันธ์มิตรกับรัสเซียในปี ค.ศ. 1894 ฝ่ายอังกฤษนั้นชอบที่จะหลีกเลี่ยงความยุ่งยากของการเป็นพันธมิตรกับชาติในยุโรป แต่การเพิ่มการแข่งขันทางอุตสาหกรรมและกำลังรบทางเรือของเยอรมันนีที่ทำให้อังกฤษต้องพิจารณาท่าทีของตัวเองเสียใหม่ ผลคืออังกฤษเข้าไปสู่การตกลงเป็นทางการกับฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1904 ซึ่งอำนาจทั้งสองได้แก่แก้ไขข้อพิพาททางทะเลระหว่างกันที่มีมากว่า 20 ปี ในข้อตกลงนี้ฝรั่งเศสยอมรับการที่อังกฤษเข้าครองอิยิปต์ และอังกฤษก็ยอมรับ การที่ฝรั่งเศสเข้าครองมอรอกโกข้อตกลงระหว่างประเทศนี้ได้ขยายเป็น ความเข้าใจสามฝ่าย ในปี ค.ศ. 1907 เมื่ออังกฤษและรัสเซียตกลงกันทีจะลดการแข่งขันเพื่อหาอิทธิพลในอิหร่านด้วยการยอมรับวงอิทธิพลของกันและกันในประเทศคือ รัสเซีย จะมีอำนาจในภาคเหนือ อังกฤษมีอำนาจในภาคใต้ของอิหร่าน อิหร่านตอนกลางจะเป็นกลาง
ความรวดเร็วที่อังกฤษกับรัสเซียตกลงที่จะแบ่งอิหร่านกันนั้นเป็นการคกคามต่ออาณาจักรออตโตมาน ตลอดจนศตวรรษที่ 19 เป้นต้นมา
ผู้ปกครองออตโตมานจึงตอบโต้ได้ 2 อย่างคือ เน้นการปฏิรูปทางทหารโดยหวังจะจำกัดพวกยุโรปออกไปให้ได้ อีกอย่างคือ พยายามทำให้ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การฑูต กาทหารระหว่างออตโตมานกับเยอรมันนีเข้มแข็งขึ้นเพื่อจะเผชิญหน้ากับพันธ์มิตรสามฝ่ายได้

ขบวนการชาตินิยมเติร์ก (Turkism)
ขบวนการชาตินิยมเติร์กหรอเติร์กหนุ่ม นั้นประกอบด้วยผู้ประท้วงทั้งสามกลุ่ม คือ กลุ่มผู้ถูกเนรเทศเป็นเวลานาน ข้าราชการและนักศึกษาที่ไม่พอใจและกลุ่มนายทหารที่มีตำแหน่งอยู่ในราชอาณาจักรออตโตมาน พวกทหารในวิทยาลัยแพทย์ทหารได้ตั้งสมาคมลับสำหรับประท้วงขึ้นมาในปี ค.ศ. 1886 โดยให้ชื่อว่า คณะกรรมการสหภาพและความก้าวหน้า ต่อมาเป็นที่ดึงดูดใจของนักศึกษาและข้าราชการฝ่ายอื่น ๆ พวกเขาเชื่อในความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องมีการบูรณะรัฐบาลให้มีณัฐธรรมนูญขึ้นมาเพื่อป้องกันจักรวรรดิต่อมาถูกสุลต่าน แห่งออตโตมานคือสุลต่านอับดุลฮามิดจับได้และถูกเนรเทศ โดยแก่นแท้นั้น CUP เป็นขบวนการปฏิรูปแม้ว่าในตอนหลังจะมีลักษณะก้าวร้าวบ้างก็ตาม
ผลงานของพวกยังเติร์กหรือซียูพี
จุดมุ่งหมายของสำคัญของการปฏิวัติยังเติร์กใน ค.ศ. 1908 ก็เพื่อต่อต้านการปกครองแบบเผด็จการณ์ของสุลต่าน และเพื่อรักษาความมั่นคงของจักรวรรดิออตโตมานแต่ปรากฎว่าเมื่อถึง ค.ศ. 1918 พวกยังเติร์กได้พิสูจน์ตัวเองว่า เป็นผู้เผด็จการณ์ไม่แพ้สุลต่านและเป็นผู้นำความหายนะมาสู่จักรวรรดิ

สาเหตุพวกยังเติร์กไม่สามารถดำเนินการตามจุดมุ่งหมายของการปฏิวัติ
ความหวังดีและจุดมุ่งหมายที่ดีมิได้นำไปสู่ผลดีเสมอไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมและตัวแปรต่าง ๆ ที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ สมัยยังเติร์กอันพอสรุปได้ดังนี้
1. พวกยังเติร์กขาดบารมี
สังคมเติร์กสมัยต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ยังเป็นสังคมอนุรักษ์นิยมยึดถือในระบบ
อาวุโส ชาติตระกูลและภูมิความรู้ ฮุซัย จาฮิด วัชซิน ซึ่งเป็นนักหนังสือพิมพ์ ชื่อดังสมัยนั้นได้เขียนแสดงความเห็นว่า “ประเทศนี้ไม่สามารถยอมรับคนหนุ่มที่ปราศจาก ยศศักดิ์เหรียญตรา เครา ความยิ่งใหญ่ และชื่อเสียง
สรุปได้ว่าพวกยังเติร์ก เป็นชนชั้นกลางที่ยังไม่มีบารมีพอที่จะเป็นที่เชื่อถือไว้วางใจของประชาชนจึงประสบปัญหาในการที่จะเข้ามาบริหารประเทศ

2. ความแตกแยกในซียูพี ซึ่งเป็นองค์การสำคัญของยังเติร์ก
แม้สมาชิกรัฐสภาส่วนใหญ่จะมาจากซียูพี แต่ก็มีความเห็นแตกแยกไม่ตรงกันเพราะ
สมาชิกซียูพีมีจุดประสงค์ร่วมกันเพียงเพื่อกำจัดอำนาจเผด็จการของซุลต่านและเชื่อว่า การปกครองโดยรัฐธรรมนูญจะทำให้จักรวรรดิอยู่รอด ต่างคนต่างมีนโยบายลายแตกต่างกันไป แนวความคิดสำคัญ 3 แนว ที่ขัดกันเองได้แก่ แนวหนึ่งเน้นความเป็นออตโตมานซึ่งรวมชนทุกชาติทุกศาสนา ในจักรวรรดิให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแนวที่สองเน้นความสำคัญของอิสลาม แนวที่สามเน้นภาษาและวัฒนธรรมเติร์ก นอกจากนี้ยังมีแนวความคิด
3. ลักษณะสังคมพหุลักษณ์ของจักรวรรดิ
ประชาชนในจักรวรรดิออตโตมานมีมากมายหลายเชื้อชาติและศาสนา มีทั้งเชื้อชาติเตืก อาหรับ กรีก อัลเบเนีย อาร์มเนียน นับถือศาสนาต่างกัน เช่นอิสลาม คริสต์ ยิว เมื่อลัทธินิยมเริ่มฟักตัวในจักรวรรดิประชาชนที่ไม่ใช่เติร์กก็เริ่มไม่พอใจนโยบายเติร์กนิยม ของพวกเติร์กที่ขึ้นมาเป็นผู้นำกฎหมาย ค.ศ. 1909 ซึ่งการห้ามตั้งสมาคมการเมืองตามเชื้อชาติสร้างความไม่พอใจ แม้นโยบายอิสลามร่วม ก็ไม่สามารถดึงชาวมุสลิมเช่นอาหรับ และเคิร์ด ไห้รวมเป็นอันเดียวกัน กับชาวเติร์กได้เพราะลัทธิชาตินิยมมีพลังยิ่งกว่า ชาวอาหรับตั้งสมาคมตามแนวอาหรับนิยมยิ่งรัฐบาลเติร์กคอยปราบปรามก็ยิ่งรวมพลังกันอย่างมากขึ้น

4. ความเผด็จการของซียูพี
ความพยายามที่จะรักษาความสงบเรียบร้อยในประเทศท่ามกลางปัยหาดังกล่าวแล้วทำให้พวกยังเติร์กซึ่งเป็นผู้บริหารต้องหันมาใช้วิธีการแบบเผด็จการ ทหารซึ่งก้าวเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมืองตั้งแต่เดือนเมษายน ค.ศ. 1909 ก็ไม่ยอมกลับมีแต่จะคุมอำนาจมากยิ่งขึ้น เช่น นายพลมะฮมูด เซฟเกด ซึ่งยึดอิสตันบูลคืนมาได้จากพวกกบฎได้กับการเข้าดำรงตำแหน่งวะซีรกลาโหม และต่อมาได้ดำรงตำแหน่งแกรนวิเชียรจนถูกลอบสังหารในค.ศ. 1913
สถานการณ์ทียังไม่สงบทั้งในและนอกประเทศห้ามพวกยังเติร์กหรือซียูพีประกาศใช้กฎอัยการศึกในค.ศ. 1910 อ้างว่าความมั่นคงของจักรวรรดิมีความสำคัญลำดับแรกการที่ทหารมามีอำนาจคุมงบประมาณและการบริหารทำให้การปฏิรุปต่าง ๆตามความต้องการของประชาชนเป็นไปได้ยาก

5. การรุกรานจากภายนอก
พวกยังเติร์กต้องเผชิญกับการรุกรานจากภายนอกนับตั้งแต่ปีที่ทำการปฏิวัติ คือ ค.ศ. 1908 ออสเตรีย -ฮังการี ได้ยึดบอสเนียและเฮอเซโกวีนาไปเป็นของตนเฟอร์ดินันนักแห่งบุคกาเรียประกาศตนเป็นกษัตริย์ ต่อมา ค.ศ. 1910 อัลเบอร์เนีย ได้ก่อกบฎเรียกร้องเอกราชใน ค.ศ. 1911 อิตาลียึกครองตริโปลีใน ค.ศ. 1912 เกิดสงครามบอลข่าน ครั้งที่ 1 ค.ศ. 1913 เกิดสงครามบอลข่านครั้งที่ 2 ทุกครั้งจักรวรรดิออตโตมานเป็นฝ่ายเสียหายพ่ายแพ้หรือเสียเปรียบหลังสนธิสัญญาสันติภาพใน ค.ศ. 1913 จักรวรรดิออตโตมานเหลือดินแดนในยุโรปเพียง 28,490 ตารางกิโลเมตร ความพ่ายแพ้ต่าง ๆทำให้พวกยังเติร์กเสื่อมจากความนิยมของประชาชน

6. การตัดสินใจเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 โดยอยู่ฝ่ายเยอรมันนี
จักรวรรดิออตโตมานอาจทำเป็นกลางในสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อเกิดสงครามระหว่างฝ่ายมหาอำนาจกลางและฝ่ายสัมพันธมิตร พวกเติร์กจำนวนำม่น้อยต้องการเข้าข้างฝ่ายสัมพันธมิตร แต่เนื่องจากรุสเซียเป็นศัตรูเก่าแก่ของจักรวรรดิออตโมานอยู่ฝ่ายสัมพันธ แม้เติร์กส่วนใหญ่และเสียข้างมากในคณะรัฐบาลจะต้องการความเป็นกลางแต่ เอนเวอร์ ปาชา หนึ่งในไตรภาคี ยังเติร์กซึ่งครองอำนาจอยู่ขณะนั้นเป็นผู้นิยมเยอรมัน เขาได้แอบเซนต์สนธิสัญญากับเยอรมันโดยพลการ มีผู้รู้เห็นก่อนเซนต์สัญญาเพียงสองคนเท่านั้น เอนเวอร์ ปาชา ความฝันอันยิ่งใหญ่ ที่จะขยายอำนาจเติร์กไปครอบคลุมบริเวณเคซัซของรัสเวีย ซึ่งเป็นถิ่นชนชาติเติร์กแต่ผลการนำประเทศเข้าสู่สงครามโลกก็คือความพ่ายแพ้และการสลายตัวของจักรวรรดิออตโตมาน
7. ผู้นำยังเติร์กทอดทิ้งความรับผิดชอบ
เอนเวอร์ ปาชา เป็นนายทหารยังเติร์กกรรมการซี ยูพี ดำรงตำแหน่งวะซีรกลาโหม ใน ค.ศ.1914 และเป็นผู้ตัดสินใจเข้าร่วมสงครามโลก แต่เมื่อพ่ายแพ้ก็หนีออกนอกประเทศ ไปถึงแก่กรรมที่ตุรกีสถานในการต่อสู้กับพวกบอลเชวิค เจมัล ปาชา เป็นนายทหารยังเติร์ก กรรมกามซียูพี เป็นวะซีรกระทรวงสาธารณะ ต่อมาเป็นวะซีรกระทรวงทหารเรือ ออกรบที่ซีเรีย ในฐานะแม่ทัพที่ 4 ลาออกใน ค.ศ. 1918 และหนีออกนอกประเทศถูกสังหาญโดยชาวอาร์มีเนีย ที่เมืองทิฟลิส
ทาลัด ปาชา เดิมเป็นแค่เสมียนไปรษณีย์โทรเลข แต่เป็นยังเติร์กที่มีอำนาจพอ ๆกับสองคนแรกที่กล่าวมาแล้ว เคยเป็นวะซีรมหาดไทยหลายสมัย ดำรงตำแหน่งแกรนวิเขียร์ใน ค.ศ. 1917 ลาออกใน ค.ศ. 1918 และหนีไปยุโรป ถูกสังหารที่เบอร์ลินใน ค.ศ. 1912 ผู้นำยังเติร์กหนีออกนอกประเทศแทนที่จะพยายามหาทางแก้ปัญหาบรรดาชาวเติร์กผู้รักชาติได้รวมตัวกันเป็นขบวนการชาตินิยม

ขบวนการชาตินิยม (Nationalist Movement )
ขบวนการชาตินิยม (Nationalist Movement ) นำโดยนายพล มุสตาฟา เคมาน นายทหารที่ไม่เห็นด้วยกับแนวนโยบายของพวกยังเติร์ก และไม่ยุ่งเกี่ยวกับพวกยังเติร์กหลังการปฏิวัติใน ค.ศ. 1908 นายพล มุสตาฟา เคมาน เป็นทหารเต็มตัวชื่อเสียงทางการรบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวรบที่แหลมกัลลิโปลี ซึ่งเป็นแนวรบเดียวของพวกเติร์กที่ได้รับชัยชนะในสงครามโลกครั้งที่ 1ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1915 เคมาลสามารถทำให้ทัพสัมพัน์มิตรถอยออกจากาลิโปได้ดังนั้นเคมาลจึงมีบารมีเหมะสมที่จะเป็นผู้นำในสงครามกูเอกราชของชาวเติร์ก
ในขณะที่สุลต่านยอมลงนามในสนธิสัญญาแซฟวรส์ ใน ค.ศ. 1920 ตามบัญชาของฝ่ายสัมพันธมิตร เคมาลกับกองทัพชาตินิยมได้ปฏิเสธสนธิสัญญาฉบับนี้ ซึ่งกำหนดให้จักรวรรดิถูกเฉือนออกไปมากมาย ต้องอยู่ใต้ความควบคุมของต่างชาติ การต่อสู้ของเคมาล ได้ยึดเป้าหมายที่พอจะเป็นไปได้คือการคงดินแดน เป็นการพิสูจน์ความเข้มแข็งและแน่วแน่ของประชาชนชาวเติร์กที่จะกำหนดชะตาของตนเอง ตำแหน่งสุลต่าน ซึ่งในประวัติศาสตร์เป็นผู้สร้างจักรวรรดินั้น บัดนี้หมดความหมายเพราะกลายเป็นหุ่นของฝ่ายสัมพันธมิตร ที่ปราบปรามประชาชนชาวเติร์กผู้ชาตินิยมจึงต้องประกาศยุบสถาบันสุลต่านในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1922 เคมาล ลงนามในสนธิสัญญาโลซานน์ ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1923 ซึ่งสัมพันธมิตรยอมรับความมีเอกราชสมบูรณ์ของตุรกีเหนือดินแดนเติร์กเกือบทั้งหมด
วันที่ 30 ตุลาคม ค.ศ. 1918 จักรวรรดิออตโตมานล่มสลายลงพร้อมชีวิตผู้คนหลายล้าน กับดินแดนจำนวนมากที่ต้องสูญเสียไปในฐานะประเทสผู้พ้สงครามโลกครั้งที่ 1 ประเทศผู้ชนะสนใจหลักการวิลโซเนียนที่สหรัฐอเมริกาเสนอขึ้นเป็นร่างแม่แบบในการสถาปนาสันติภาพและความสงบเรียบร้อยในยุโรปขึ้นมใหม่น้อยมาก สนธิสัญญาแวร์ซายส์ทำให้เยอรมันนีต้องสูญเสียสิ้นเชิงซึ่งอาณานิคมและตัวจักรในการทำสงคราม แต่สิ่งที่ออตโตมานถูกบังคับให้ลงนามนั้นกลับแตกต่างจาก “สนธิสัญญาเผด็จการ” ที่เยอรมันนี

สงครากอบกู้เอกราช
การที่กรีซยกพลขึ้นบกที่เสมอน่า ในวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1919 ได้จุดประกายความรักมาตุภูมิที่ซ้อนเร้นในใจของชาวเติร์กทั้งมวลในคุโซนขึ้น สี่วันต่อมามุสตอฟา เคมาล วีรบุรุษในการศึกที่กัลลิโปลีผู้ไม่เคยพ่ายแพ้ ก้างเท้าลงเหยียบแผ่นดิน อนาโตเลีย ที่ท่าเรือซัมซุง ในเขตทะเลดำ พร้อมพระบรมราชโองการจากองคืสุลต่านให้สลายกองทัพในภาคตะวันออกทั้งหมด ทันที่ที่ออกจากอิสตันบูลมาโดยปลอดภัย มุสตาฟา เคมาล ก็ประกาศสลัยศและตำแหน่ง พร้อมทั้งอุทิศตนให้การรวบรวมกองกำลังผู้รักชาติ ภายหลังการประชุมเบื้องต้นกับคณะกรรมาธิการป้องกันชาติในระดับท้องถิ่นที่ไร้ซึ่งอุดมการณ์อันแน่นอนไปสองครั้ง คามาลได้เรียกประชุมสมัชชาแห่งชาติขึ้นในวันที่ 23 เมษายน ค.ส. 1920 ที่อังการา เมืองชุมทางรถไฟที่เงียบเหงามีร้านรวงบ้านเรือนอยู่ไม่กี่ร้อยหลังคาเรือน

การสร้างชาติ
ก่อนหน้าสงครามกู้เอกราชจะยุติลงเคมาล และคณะได้ใหึความสนใจกับภาระอันหนักอึ้งในการสร้างชาติที่พินาศเสื่อโทรมลงเพราะความขัดแย้ง หนังสือเชิญจากฝ่ายสัมพันธ์มิตรเรียกร้องให้รัฐบาลอิสตันบูลไปร่วมหารือเรื่องสันติภาพและการเป็น แนวร่วม ทำให้เคมาลขุ่นเคืองถึงขั้นประกาศล้มล้างสถาบันสุลต่านในวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1922 สองสัปดาห์ ต่อมา สุลต่านเมห์เมดที่ 6 สุลต่านออตโตมานองค์สุดท้ายร้องขอความคุมครองจากอังกฤษและขึ้นเรือหลวงมาลายา หลบหนีไปยังเมืองมัลตา
วันที่ 20 พฤศจิกายน อิสเมต อีเนอนุ กล่าวปราศัยในพิธีเปิดสมัยการประชุมสันติภาพ ณ เมืองโลซานน์ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ อีเนอนุ เล่นเกมทางการฑูตกับเหล่าปฏิปักษ์อย่างลอร์ด เคอร์ซอน เลขานุการกระทรวงการต่างประเทศของอังกฤษ ได้อย่างเท่ากัน และต้อนให้พวกเขาลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพที่เอื้อประโยชน์ให้กับตุรกีได้ผลสำเร็จในวันที่ 24 กรกฎาคม ค.ศ. 1923 สนธิสัญญาฉบับนี้ได้รับรองอาณาเขตตลอดจนอำนาจอธิปไตยและเอกราชของชาวเติร์ก บัดนี้ถึงเวลาที่ต้องเร่งสร้างชาติขึ้นใหม่ แล้ววันที่ 19 ตุลาคม ค.ศ. 1923 สมัชชาแห่งชาติได้ลงมติ รับรองแถลงการณ์ ประธานธิปดีคนแรก คือมุสตาฟา เคมาล หัวหน้าพรรคมวลชนรัพับลีกัน ซึ่งเพิ่มก่อตั้งได้ไม่นาน ตลอด 58 ปีต่อมา พรรคอาร์พีพีได้เป็นแม่แบบในการปกครองประเทศ

การปฏิรูปโฉมหน้าใหม่
เคมาล และกลุ่มแกนนำต้องการพ้ฒนาประเทศตามแบบตะวันตก แต่สถาบันทั้งหมดที่เหลือจากจักรวรรดิที่ดับสูญไปแล้วล้วนเป็นแบบอย่างของทางตะวันออกทั้งสิ้น ยิ่งไปกว่านั้น ชาวตุรกียังถูกปลุกฝังทรรศนะว่าตนเองเป็นอุมมะฮ มากกว่าที่จะเป็นประเทศชาติหนึ่ง ชาวมุสลิมต่างชาติชนกลุ่มน้อยชาวคริสต์และยิวในแง่ที่ถูกกีดกั้นจากการมีส่วนร่วมทางการเมือง การค้า อุตสาหกรรม หรือแวดวงบ่อเกิดแห่งอำนาจด้านอื่น ๆ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการปกครองแบบเผด็จการณ์เบ็ดสร็จของราชวงศ์ของออตโตมานโดยสิ้นเชิง
ด้วยเหตุนี้ภารกิจในการปลูกฝังสำนึกของความเป็นชาติ ตะวันตกจึงจำเป็นต้องจัดตีความศาสนาอิสลามเสียใหม่ วันที่ 3 มีนาคม ค.ศ. 1923 เคมาลสั่งการให้สมัชชาแห่งชาติประกาศโค่นล้มสถาบันคอลีฟะฮ ราชินิกูงฝ่ายชายทั้งหมดถูกเนรเทศออกนอกประเทศ


การเปลี่ยนแปลงผู้ปกครอง
ช่วงที่เร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจบรรดาผู้นำประเทศต่างจับตาดูเมฆหมอกแห่งสงครามในยุโรปด้วยความปริวิตก อสัญกรรมของเคมาลในเวลาเช่นนี้ย่อมมีผลกระทบประเทศชาติอย่างใหญ่หลวง วันที่ 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1938 เคมาลล้มป่วยลงด้วยโรคตับแข็งหลายดือนก่อนลาโลกไปด้วยวัยเพียง 57 ปี วันรุ่งขึ้น อีเมต อีเนินนุ ขึ้นให้คำปฏิญาณในฐานะประธานาธิปดีคนที่สองของสาธารณรัฐตุรกี อีเนอนุปกป้องตุรกีจากไฟสงครามในปีถัดมาอย่างเต็มที่ซึ่งต้องอาศัยทักษะอย่างสูงในการประคองตัวเอไว้ให้ได้ท่ามกลางคู่สงครามต่าง ๆ การหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามพันธกรณีในสนธิสัญญาและวิธีการอันเฉียบขาดของ “ผู้นำประเทศ” ดำเนินการผ่านระบบพรรคอาพีพีช่วยให้ตุรกีคงความเป็นกลางเอาไว้ได้อย่างน่าอัศจรรย์ จนไม่กี่สัปดาห์ ก่อนหน้าที่จะสงครามจะยุติลง อีเนอนุจึงประกาศสงครามกับนาซีที่กำลังร่อแร่
ความสัมพันธ์อันหวานชื่นระหว่างตุรกีกับรัสเซียคู่อาฆาตตลอดจนช่วงทศวรรษ 1920 เลยมาถึงช่วงต้นศตวรรษ 1930 เริ่มเปลี่ยนแปลความเกลียดชั่งเมืองอังการาทำการปราบปรามกลุ่มคอมมิวนิสต์ อย่างต่อเนื่อง

ประชาธิปไตย
ทั้ง ๆทีเคมาลมีอำนาจทั้งจากความชอบธรรมและความยินยอมของประชาชนแต่พัฒนาการของระบอบประชาธิปไตยภายหลังการสถาปนาประเทศกลับเชื่องช้าว่าการพัฒนาความเจริญตามแบบตะวันตกด้านอื่น ๆ เพื่อปรับแบบแผนให้สอดคล้องกับการปกครองแบบประชาธิปไตย เคมาลจึงอนุญาตให้ก่อตั้งพรรคฝ่ายค้านขึ้นในปี 1924 และ1930 ภายใต้การนำของเพื่อมี่เขาวางใจจะซื่อตรงและมั่นคงต่ออุดมการณ์เดิม แต่ทั้งสองครั้งนี้ฝ่ายค้านกลับโจมตีรัฐบาลอย่างหนักแรงกดดันจากฝ่ายค้านกระตุ้นให้พวกลัทธินิยมมูลฐานแบบอีกครั้ง หลังจากทนเสียงเรียกร้องของฝ่ายปฏิปักษ์ทางการเมืองได้พักใหญ่ คณะผู้นำประเทศจึงสั่งยกเลิกการมีพรรคฝ่ายค้าน พรรคพีดีครองอำนาจอยู่นาน เป็นเอกสิทธิ์อยู่นาน 27 ปี และมีการฝึกคณะผู้นำทางการทหารขึ้นสำหรับอนาคตข้างหน้าด้วย
อิตาลีและเยอรมันนาซีฟื้นตัวจากความปั่นป่วนภายในหลังสงครามได้อย่างรวดเร็วกลายเป็นประเทศที่ทันสมัยและได้รับความชื่นชมด้าน”ระเบียบวินัยของชนในชาติ”ที่ได้รับการปลูกฝังและส่งเสริมจากพรรคอาวุโส ส่งผลให้ประเทศเจริญก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว
ผลสรุปของสงครามโลกครั้งที่ 2 ย่อมต้องมีผลสะท้อนต่อทรรศนะในประชาธิปไตยของชาวตุรกี ปี 1945 กลุ่มกบฎนำโดย อัดนัน เมเดรส ชาวไร่ฝ้ายและนักการเมืองไฟแรงกับเจลาล ไบยาร์ นายธนาคารผู้เคยร่วมงานกับเคมาล ได้รับอนุญาตให้ตั้งพรรคเดโมแครต ขึ้นส่วนหนึ่งเป็นเพราะตุรกีอยากได้รับการยอมรับในฐานะสมาชิกของระเบียบโลกใหม่อย่างสมบูรณ์ รวมถึงความช่วยเหลือจากอเมริกาตามหลักการของทรูแมนด้วย
พรรคอาร์พีพี พร้อมที่จะปรับตัวให้เข้ากับระบบพหุพรรคแต่ไม่ต้องการเปลี่ยนบทบาทจากที่มีอยู่เดิม ชัยชนะในปี 1946 ได้มาเพราะพรรคเข้าไปคุมระบบเลือกตั้งอย่างเข้มงวด พรรคเดโมแครตได้รับการสนับสนุนจากหลายวงการ ทั้งพวกเจ้าของที่ดินและกลุ่มอนัรักษ์นิยมของราษฎรในชนบททั่งนี้เพราะพรรคหยิบยื่นโอกาสให้พวกเขาได้แก่แก้แค้นพรรคอารืพีพี ที่อันธพาลใหญ่ รวมหัวเมืองต่าง ๆ มีการรวมพลังของชนชั้นกลางที่ไม่ยอมอภัยให้กับพรรคอาร์พีพี เปลี่ยนแนวทาไปยึดหลักรัฐนิยม

การเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน
การเปลี่ยนแปลงแนวทางการศึกษาเข้าสู่ระบบทางโลกดำเนินไปอย่างจริงจัง ปี 1925 สถาบันการการศึกษาภายใต้การบริหารของศาสนาถูกสั่งปิด มีการประกาศใช้การศึกษาภาคบังคับระดับประถมศึกษา ปี 1928 อักษรอาหรับที่ยุ่งยากถูกยกเลิก อักษรละตินซึ่งเหมาะกับภาษาตุรกีมากกว่าถูกนำเข้ามาแทนที
การแต่งกาย มีการสั่งห้ามสวมเฟส และหมวกแขก มุสตาฟา เคมาล ทำตัวเป็นผู้นำในการใช้หมวกฝรั่งกับหมวกแกปซึ่งเป็นที่ยอมรับกันมากกว่า การพัฒนาสตรีให้ก้าวหน้าทัดเทียมกับทางตะวันตกไม่ใช่แค่เรื่องเครื่องสำอางค์ แต่ยังถึงรวมการให้สิทะทางการเมืองซึ่งจะช่วยปลดแอกให้สตรีได้เร้วยิ่งขึ้น สตรีตุรกีได้รับการสนับสนุนเข้าสู่ทุกสาย งานอาชีพ ไม่แพ้ผู้ชายประมวลกฎหมายเพ่งที่รับแบบอย่างมาจากสวิสเซอร์แลนด์ช่วยรับรองสิทธิความเสมอภาคทางกฎหมายให้พวกเธอได้เป็นอย่างดี
วิวัฒนาการจากอุมมะฮ มาเป็นประเทศนำมาซึ่งกำเนิดของนามสกุลในปี 1934 มีการแข่งขันกันตั้งชื่อสกุลของผู้รักชาติขึ้นมากมาย แต่เคมาลกลับไม่ต้องลำบากคิดหาเองสมัชชาแห่งชาติมอบชื่อสกุลที่เหมาะสมให้กับข่าวอาตาตุร์ค แปลว่า บิดาแห่งชาวตุรกี

บทส่งท้าย
ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้ปิดฉากจักรวรรดิอันยิ่งใหญ่สองจักรวรรดิ ซึ่งประกอบด้วยชนหลายเชื้อชาติ จักรวรรดิออตโตมานและจักรวรรดิออสเตรีย –ฮังการี ซึ่งร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหล่ได้พ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งกลายเป้นประวัติศาสตร์ไปแล้วทั้งสองอาณาจักรถูกริดรอนดินแดนโดยมหาอำนาจผู้มีชัย แต่ชะตากรรมซึ่งรอคอยประชากรหลายเชื้อชาติของจักรวรรดิดังกล่าวมีความแตกต่าง
รัฐชาติอิสระหลายรัฐ ซึ่งมีออสเตรียปัจจันรวมอยู่ด้วยนั้นสามารถเกิดขึ้นมาจากจักรวรรดิออสเตรีย แต่ตรงกันข้าม เราได้เห็นประเทศที่มีเอกราชสมบูรณ์เพียงประเทศเดียวคือ สาธารณรัฐตุรกี เกิดมาจากดินแดนต่าง ๆของจักรวรรดิออตโตมานดินแดนที่เหลือถูกแบ่งปันระหว่างมหาอำนาจเจ้าอาณานิคม ซึ่งเป็นผู้ชนะ ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส และอิตาลี ข้อยกเว้น ซึ่งคือเกิดการประเทศตุรกีมิได้เป็นเหตุมาจากความใจกว้างของผู้ชนะแต่เป็นผลมาจากการทำสงครามที่เจ็บปวดเพื่อความอยู่รอดซึ่งกินเวลาถึงห้าปีหลังจากการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 ใน ค.ศ. 1918 การต่อสู้ ซึ่งนำโดย มุสตาฟา เคมาล อตาร์เติร์ก ได้ช่วยตุรกี ให้หลุดพ้นจากชะตากรรม ซึ่งประสบโดยซีเรีย เลบานอน จอร์แดน อิรัก ปาเลสไตน์ ลิเบีย และชาติอื่น ๆ อีกหลายชาติ ซึ่งตกอยู่ใต้อาณัตของประเทศจักรวรรดินิยม
ความจริงข้อนี้เพียงพอแล้วจารึกชื่อมุสตอฟา คามาล ในตำราประวัติศาสตร์และสถาปนาให้เป็นวีรบุรุษของชาติ แต่นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของผลงานที่ยิ่งใหญ่กว่า ได้แก่การสร้างรัฐสมัยใหม่ที่มีความเป็นเอกเทศจากศาสนาขึ้นมาจากซากของจักรวรรดิที่เสื่อมโทรมเก่าแก่ และผู้ติดกับศาสนา ประชาธิปไตยระบบรัฐสภา อธิปไตยที่แท้จริงของชาติ ประมวลกฎหมายสมัยใหม่ ความเป็นเอกเทศจากศาสนา สิทธิสตรี และตัวอักษรใหม่คือส่วนหนึ่งของการปฏิรูปที่มุสตาฟา เคมาล อตาร์เติร์ก ริเริ่มขึ้นและดำเนินการได้สำเร็จ ไม่จำเป็นต้องต้องกล่าวรายละเอียดให้มากกว่านี้เกี่ยวกับความสำคัญและความยากลำบาก ซึ่งอตาเติร์กประสบในการทำการปฏิรูปดังกล่าวในหมู่ประชาชนที่ถูกทอดทิ้งและกดขี่มานาน แม้ว่าจะเป็นดินแดนที่เก่าแก่และภาคถูมิจักรวรรดิออตโตมานซึ่งมือดีอันรุ่งโรจน์ได้มากลายเป็นสนามลัทธิจักรวรรดินิยมแบบใหม่ จะแทรกซึมได้ง่ายในบั้นปลาย การให้สิทธิพิเศษทางเศรษฐกิจ การเมือง และศาสนาแก่ต่างประเทศได้กัดกร่อนอธิปไตยของจักรวรรดิไปจนกระทั่งได้รับสมญานาม”คนป่วยแห่งยุโรป” ฉะนั้นสงครามเพื่อความอยู่รอดของชาติ การปฏิรูปก้าวหน้า ซึ่งได้ลบร่องรอยทั้งหมดของอิทธิพลต่างชาติอันเป็นบ่อเกิดแห่งพลัง สำหรับผู้นำในการต่อสู้เพื่อปกป้องเอกราชของชาติ ซึ่งยังผลให้เกิดรัฐชาติใหม่ ๆ ในแอฟริกา ตะวันออกกลาง และเอเชีย อีกทั้งได้ทำลายลัทธิล่าอาณานิคมดังที่ปรากฎอยู่จนถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20

บรรณานุกรม
จรัล มลูลีม.2541. อเชียตะวันตกศึกษา.ภาพรวมทางประวัติศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์. กรุงเทพ ฯ
สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นันทนา เตชะวาณิชย์ 2535 ประวัติสาสตร์ตะวันออกกลาง . กรุงเทพ ฯ สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นิล คำปังสุ์ 2542. แปลจาก ซาแฟร์ เบคเลเยน .ตุรกี กรุงเทพฯ สำนักงานพิมพ์หน้าต่างสู่โลก
กว้าง จำกัด

ประจักษ์ ช่วยไล่ .2511 โลกอิสลาม กรุงเทพ ฯ ห้างหุ้นส่วนจำกัด เซ้าซ์ ซี พับบลิเคชั่น

ศรีสุรางค์ พูลทรัพย์ .2532 . ผลการปฏิรูปประเทศสมัยอตาเติร์กต่อประเทศตุรกี ปัจจุบัน
กรุงเทพ ฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ศรีสุรางค์ พูลทรัพย์ .2531 . ยังออตโตมาน ยังเติร์กและอนาเติร์ก แบบฉบับปฏิรูป และการปฏิวัติ
วารสารธรรมศาสตร์ ปีที่ 16 ฉบับที่ 1

อ้างจากเอกสารประกอบการสอนรายวิชาหลักการบริหารในอิสลาม 3 สาขารัฐประศาสนศาสตร์มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา

การเคลื่อนไหวอิสลามในตุรกี

มัดรอซะฮฮันนูน
การเมืองและสถานการณ์อำนวยต่อกามาลและชาวยุโรปที่หาโอกาสเพื่อประชาชาติตุรกีตกหลุม และหาโอกาสกัดกั้นอิสลามไม่ว่าในมัสยิดก็ตาม หรือทำอีบาดัดอื่น ๆ และได้บังคับให้ละทิ้งอาซานที่เป็นภาษาอาหรับมาเป็นอาซานภาษาตุรกี และอัลกุรอานที่กามาลประกาศว่า เสรีภาพแต่แล้วท่านเองไม่เสรีภาพแก่ประชาชนไม่ว่าจะเป็นเรื่องอิบาดัด เครื่องแต่งกาย การอ่าน และสถานที่เรียนยังไม่จบแค่นั้น ท่านกามาลได้ถือตัวเองเป็นลูกหลานของอาณาจักรผู้ยิ่งใหญ่ของออตโตมาน ครั้งหนึ่งที่มีความแข็งแกร่งที่ศัตรูเกร่งกลัว ท่านกามาลไม่ได้รับมรดกอิสลามประชาชนกลับมาใช้ชีวิตอย่างถูกบังคับ
ท่านบดีอุซามาน เป็นตัวแทนของโรเรียนอิสลามียะฮ ซึ่งเป็นโรงเรียนตัวอย่างที่สำคัญในการเผยแผ่การเชิญชวนอิสลามในตุรกี ซึ่งสถาบันการเรียนนี้ เป็นสถาบันการเรียนตัวอย่างผลิตนักคิดและนักปฏิวัติ
ขบวนการนักเรียนจำเป็นที่เราจะต้องศึกษาโดยเฉพาะการเคลื่อนไหวอิสลามปัจจุบันซึ่งนำทีม นัจมูดิน อารยากัน ซึ่งมีความสัมพันธ์กับท่านบาดีอุซามาน ผู้ก่อตั้งและเป็นส่วนหนึ่งของประวัติบาดีอุซามาน จนกระทั่งท่านได้จากไป ส่วนชีวประวัติส่วนตัวของบาดีอุซามานเป็นที่แน่ชัดว่าบุคคลที่มีบุคลิภาพที่ต้องการ

ซาฮิดอัลมัซฮุร
ท่านบาดีอุซามานเกิดในปึ ค.ศ. 1873 ในหมูบ้านเล็ก ๆ แห่งหนึ่งในแขวงของอิซานในจังหวัดของเบตลิส จากพ่อแม่ชาวตุรกี เมื่อท่านได้อายุ 9 ปี ท่านก็ได้ศึกษาจากหลาย ๆที่ในแถบละแวกนั้นจนกระทั่งท่านอายุ 18 ปี ท่านเสมือนอุลามะฮ และมีความรู้ประกอบหลายอย่างด้วยกัน เช่นความรู้ด้านภาษาโวหาร และฟาลาซาฟี และอลูมีกุรอาน
และท่านเป็นคนเฉลี่ยวฉลาด จนกระทั่งในหมู่บรรดาอุลามะฮท่านได้นามว่า

ท่านบาดีอุซามานเป็นคนที่ ซาฮิด ผู้ไม่โลภ และท่านเป็นคนถ่อมตน และท่านได้ปฏิบัติในชีวิตของท่านในฮาดิสตอนหนึ่งว่า เป็นกฎตายตัวของเขาจนกระทั่งกลายเป็นคนวาระฮ ท่านเป็นคนที่มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ ชอบขี่ม้าและเก่งในการยิงธนู ท่านไม่ชอบกินมาก
ชอบพอดี

บาดีอุซามานกับการเมือง
ท่านซาอิดนูรซี เป็นคนที่แปลกประหลาด และทุกคนรู้จักซาอิดดี และเป็นเหตุบรรดานักวิชาการ เห็นพร้อมกันว่า บาดีอุซามาน เหตุการณ์บ้านเมืองในช่วงนั้นอยู่ในภาวะวิกฤต ซึ่งในช่วงนั้นท่านมีอายุ 20 ปี เหตุการณ์บ้านเมืองร้อนระอุ อยู่มาวันหนึ่งหนังสือพิมพ์ได้ออกข่าวว่าวะซีรของอังกฤษได้กล่าวในที่ประชุมว่า
หากอัลกุรอานยังอยู่ในมือของมุสลิม แท้จริงนั้นจะเป็นอุปสรรคต่องานเชิญชวนของเรา ดังนั้นเราจำเป็นที่จะต้องเก็บตำราอันนี้เป็นการเร่งด่วน
ท่านบาดีอุซามานได้ประกาศจุดยืนของเขาว่า หากเขายังมีชีวิตอยู่เขาจะทุ่มเท เพื่ออัลกุรอาน และหาเมเติมความหัศจรรของอัลกุรอาน ความตั้งใจของซาฮิด คือจะเปิดโรงเรียนอัลอิหาร ท่านบาดีอุซามานได้สนทนากับแชคอัลอัซหา ในเวลายาวนานพอสมควร

ในปี 1908 สุลต่านอับดุลฮามิด ถูกขับไล่โดยอาภรณ์
ดูลักษณะนอกแล้ว รับหน้าที่เป็นอิสลามแต่จริงแล้วกลับกัน ข้างในเป็นยิว ดังนั้นท่านบดีอุซามานต้องแบ่งได้ตั้งชื่อว่าอาภรณ์ว่า ชมรมมูฮัมหมัดดี ผู้สนับสนุน ซึ่งผู้สนับสนุนจากอาณาจักรออตโตมานหลายพันคน ทั้งสองพรรคได้สงครามสื่อซึ่งมูฮัมหมัดดี มีสัญลักษณ์ว่า ความเอกภาพและความภราดรภาพและอิสระ และมีความสัมพันธ์กับความหมายของอัลกุรอาน
การเคลื่อนไหวของบาดีอุซามาน ทำให้หลายคนกลัวและเป็นห่วงโดยเแพาะยิวและไซออนิส ซึ่งอยู่เบื้องหลังอาภรณ์
ส่วนด้านบาดีอุซามานได้ก่อตั้งอาภรณ์ มีชื่อว่า ซึ่งเป้นความหมายและศัญลักษณ์การเคลื่อนไหวที่อิสระและเหมาะสมกับทุกคนและความหมายไปถึงซารีอะฮ อิสลามด้วย ดังนั้นการเคลื่อนไหวของบาดีอุซามาน เป็นที่แกร่งกลังของยิวและไซออนิส ที่พวกเขาเหล่านั้นได้โค่นล้มเคาะลีฟะฮ อณาจักรออตโตมานและขับไล่สุลต่านอับดุลฮามิดและขโมยปาเลสไตน์
ศาลชั้นต้น
ทางด้าน ไม่มีทางอื่นที่จะสามารถสกัดการเคลื่อนไหวของบดีอุซามานได้ออกนอกจากต้องจับตัวบาดีอุซามานและในที่สุดบาดีอุซามานถูกจับ
ซึ่งในปีนั้น ผู้สนับสนุนถูกจับและได้ประหารชีวิต 15 คน ท่านบาดีอุซามานถูกจับขึ้นศาลในระหว่างอยู่ในชั้นศาล ท่านได้กล่าวตั้งหน้าชั้นศาล ซึ่งมีความว่า ถ้าหากฉันมีวิญญาณพันครั้งฉันจะหุ่มเพื่ออิสลาม และฉันจะไม่ยอมรับศาสนาอื่นนอกจากศาสนาอิสลาม และฉันจะบอกพวกคุณว่าว่าฉันกำลังจะไปสู่อีกโลกหนึ่งที่พวกท่านเรียกว่าคุก และฉันรอรถไฟที่สถานีนี้เพื่อจะเดินทางต่อไปยังสถานีสุดท้ายในวันกียามัต และฉันเป็นคนที่รักและชอบในวันนั้น และฉันก็จะเดินทางพร้อมกับคนที่จับฉันในวันนี้

บาดีอุซามานขณะรับใช้ชาติเป็นทหาร
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ท่านคนหนึ่งที่สมัครเข้ารับหน้าที่ของบรรดานายร้อย ในระหว่างท่านอยู่ในแค้มทหารในแวดล้อมของท่านมีนักศึกษาเวลาเรียนพิเศษเรียนอูลุมกรุอ่าน และเป็นที่ประหลาดของท่านคือท่านได้แต่งหนังสือซึ่งเป็นภาษาอาหรับได้ชื่อว่าท่านบาดีอุซามาน เป็นเฉลยศึกต่อรัสเซียและท่านถูกพาตัวไปยังไสบีเรีย และที่นั่นท่านได้ใช้ชีวิตเป็นเวลาอันยาวนานพอสมควร พร้อมกับอากาศหนาว แต่ท่านบาดีอุซามานสามารถแหกคุกได้สำเร็จ และได้หนีเข้าไปยังอิสตันบูลผ่านเส้นทางเยอรมันบุคแคเรีย

หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 อังกฤษก็สามารถยึดเมืองอิสตันบูลในปี 1918 มีคำถามหกข้อ ต่อแชตอิสลาม ซึ่งคำถามผ่าโบต์ซึ่งมีการวางแผนที่จะทำลายอิสลาม และแชตอิสลามก็ได้เปิดคำถามนี้ให้แก่บาดีอุซามาน เพื่อตอบคำถาม 600 คำ ดังความต้องการของอังกฤษ

ท่านบาดีอุซามานได้ตอบว่า
คำถามที่ถามไม่มีคำตอบ 600 คำและ 6ประโยชน์และประโยคเดียว แต่คำถามนี้กลับกันต่อผู้ถามเท่านั้น สุดท้ายท่านก็ถูกประหารชีวิต

จุดยืนของบาดีอุซามาน จากมุสตอฟากามาล
หลังจากอนาโตเลียได้ปฏิวัติ มุสตอฟากามาลเป็นผู้นำของการเคลื่อนไหวได้ขออวยพรจากท่านบาดีอุซามานในปีที่ 1920 และพิธีเฉลิมฉลอง เพื่อสมเกียรติให้แก่มุสตอฟากามาล แตึความหวังของกามาล คือภัยอันตรายเมื่อทุกคนรู้ว่าเป็นศัตรูกับกฎหมายอิสลาม หลังจากนั้นท่านบาดีอุซามานได้ส่งตัวแทนเข้าใจสภาซึ่งกามาลเป็นประธาน พร้อมกับคำเตือน 10 หน้ากระดาษด้วยกัน ในหัวข้อ พวกท่านจงรู้ว่าพวกท่านถูกส่งไปในวันสิ้นโลก
มุสตอฟากามาลได้กล่าวในที่ประชุมว่า ที่เราเชิญมาเพราะว่าท่านบาดีอุซามานเป็นคนที่มีความคิด และเป็นผู้นำตัวอย่าง และเอาความคิดมาสร้างคิดเห็นที่ดี แต่ท่านคุยอันดับแรกพูดคุยเรื่องละหมาด ซึ่งเป้นความพยายามสร้างความแตกแยกในที่ประชุม
ท่านบาดีอุซามานได้ตอบว่า โอ้ท่านบาซาร์ สิ่งที่ยิ่งใหญ่หลังจากอิสลามก็ถือการละหมาด คนที่ไม่ละหมาด คือคนที่ไม่มีความรับผิดชอบและทำลาย สำหรับคนที่ไม่รับผิดชอบและทำลายสิ่งที่รับไม่ได้ ทำให้กามาลอึกอักและทิ้งประเด็น ซึ่งกามาลของบดีอุซามานครั้งน้ว่าเพื่อจะให้การเมืองของกามาลจากความืดสูความแสงสว่าง เปลี่ยนมารับใช้อิสลาม แต่อุปสรรคนั้นมากมาย ท่านบาดีอุซามานหาโอกาสเพื่อให้คำเตือนแก่กามาลเพื่ออย่าหลงทางจากอัลอิสลามแต่กามาลยอมรับไม่ได้ ในขณะที่บาดีอุซามาน อยากให้มุสตอฟากามาลกลับตัวและเป็นผู้นำของออตโตมานเสียทั้งหมด
ในช่วงนี้บาดีอุซามานเล่นบทบาททางการเมืองในปี 1921 ในประวัติสาสตร์ของบาดีอุซามานมีสองช่วงก่อนในปี ค.ศ. 1921 ได้เรียกชื่อตัวเองว่า ซาอิด อัลฎอดีม และในช่วงที่สองเรียกว่าตัวเองว่า ซาฮิดอัลจาดีด เพราะในช่วงนี้ท่านได้เปลี่ยนมาสนใจการเมืองเพื่อคิดจะพัฒนาประชาติมุสลิม

ท่านซาฮิด ดุดจาฮิดกับจดหมายของอินนูร
ท่านซาฮิดได้เริ่มต้นการเมืองของเขาด้วยคำว่า
เขาได้ออกจาก อังการ่า ไปยังแขวงเมืองต่าง ๆ และห่างไกลจากปัญหาการเมือง และพรรคพวก เขา แต่ในเวลาเดียวกับท่านก็มีสิ่งและเข้าหากับเส้นทางเยาวชน ด้วยความจริงจัง และเป็นที่ยอมรับหลังจากท่านได้รับจดหมาย ของอันนูรและได้ความรู้รู้จักเหล่าบรรดาผู้นำขององค์กรอันนูร
จดหมายของอันนูรทั้งหมด 13 ฉบับ ซึ่งใน 13 ฉบับนั้นมีคำอธิบายปัญหาเกี่ยวกับรูฮี และนัฟซี และอัคลี ที่กำลังเล่นงานเยาวชนปัจจุบันจุดดังกล่าวจะต้องอบรมควบคุมเยาวชนด้วย บรรยากาศของอัลกุรอานเพราะกามาลได้ยกเลิกกิจกรรมอิสลามทุกอย่าง
WWW. Google .com
มีบางคนในบรรดาองค์กรอันนูรเกือบ 20 ปี ที่ได้เผยแผ่จดหมายของอินนูร เพื่อสื่อจนกระทั่งในหมู่วัยรุ่นชายหญิงแย่งกันซื้ออ่าน และหนังสือขาดตลาด และหนังสือของเหล่าบรรดาผู้อ่านขายหญิงที่ถูกตำรวจจับกุมตาราง เพราะพวกเขาเหล่านั้นได้แจกจ่ายหนังสือเหล่านั้นเผยแผ่ทางจดหมายและโรงเรียนต่าง ๆ
บาดีอุซามานที่มันปา
ในสารของบาดีอซมาน และอาภรณ์ของเขาได้กระจัดกระจายทั่วทุกภาคในการเคลื่อนไหวและเผยแผ่ และอุปสรรคหลายอย่างที่ถูกกามาล (มุสตาฟา ) ได้สั่งให้บดีอุซมานถูกส่งไปยังบัลลาเป็นพื้นที่กันดาร ซึ่งไม่มีผู้คนอาศัยและห้ามใคร ๆ ติดต่อความสัมพันธ์แต่กลับตรงกันข้ามยามที่เฝ้าดูแลกลับมีความคิดและพื้นฐานอิสลามและท่านได้ทำงานที่มันปาด้วยการตรวจสอบสารและข้อเขียนของท่านและติดตามข่าวคราวของลูกศิษย์ลูกหาเพื่อทำงานต่อต้านพวกไม่มีศาสนา
บาดีอุซมานใช้ชีวิตอยู่นั้นเป็นเวลา 8 ปี แต่มุสตาฟาการมาลก็ไม่หยุดยั้งเพราะข่าวคราวบาดีอูซามานได้กระจัดกระจายไปยังผู้คนทั่วไป และสารของท่านเขียนถูกกระจัดกระจายในช่วงนั้นเช่นกัน ตำรวจของการมาลได้จับนักศึกษาเข้าคุก 120 คน หลังจากนั้นขึ้นศาล และถูกดำเนินการคดีในข้อหาอาภรณ์ ของบดีอุซมาน ไม่เป็นที่อนุญาตและทำงานอย่างเงียบเพื่อโค่นล้มรัฐบาลและในที่สุดบาดีอุซมานก็ถูกดำเนินคดี 11 เดือน
คำกล่าวของบาดีอุซมานเพื่อปกป้องอิสลามอย่างน่าชื่นชม โอ้ท่านผู้ปกครองที่ฉันมานี่ในข้อหา ฉันเอาศาสนามาทำลายความมั่นคงของรัฐและฉันบอกว่าที่ฉันทำงานคือเกี่ยวกับศาสตร์ของอิสลามและฉันไม่รับใช้พวกท่านนอกจากรับใช้สิ่งที่อัลลอฮพอใจ โอ้ความหวังของข้าพเจ้าอยากจะรับใช้ศาสนา
และมีคำถามอีกว่า เงินทองในองค์กรของบาดีอุซมานสนับสนุนใคร ท่านได้ตอบว่าเราหน้าจะถามกลับว่าพวกท่านมีหลักฐานอะไรว่าพวกเราใช้เงินทองในการเคลื่อนไหว และรู้ได้ยังไงว่าการเคลื่อนไหวของเราใช้เงินทอง ยังไม่จบแค่นั้น ท่านบาดีอุซมานถูกส่งไปยังจังหวัดคัสตามูโนเป็นเมืองกันดารที่ตั้งอยู่ริมชายฝั่งทะเลดำ แลถูกบังคับอาศัยอยู่ที่บ้าน แต่บาดีอุซมานไม่จอดแค่นั้น ท่านได้เขียนตำราอิสลามและได้ส่งไปยังมหาลัยต่าง ๆ ค่ายทหารและภาครัฐบาล
มุสตาฟากามาลขอประกาศด่วนอย่างเงียบ ๆ และได้เชิญผู้นำไซออนิสเพื่อให้กำลังใจที่ถอดถอนเคาะลีฟะฮ และสร้างรัฐบาลนิยม มติได้ลงพร้อมว่าบาดีอุซมานนักเคลื่อนไหวนักกฎหมาย และมุสตาฟากามานได้กล่าวหาต่อบดีอุซมานว่าเป็น ดาจาล แต่ถึงอย่างไรกามาลก็ไม่หยุดนิ่ง ได้ร่วมมือกับไซออนิสเพื่อศึกษาในองค์กรของบดีอุซมานเพื่อตีห่างจากเมืองและพรรค ประชาชนที่เป็นสมาชิกของอค์กรอันนูรที่ถูกรัฐทำร้าย และฆ่าเกือบหนึ่งล้านคนหญิงและชาย

อ้างจากเอกสารประกอบการสอนรายวิชาหลักการบริหารในอิสลาม 3 สาขารัฐประศาสนศาสตร์มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา

บทบาทของยิวต่อการโค่นล้มอาณาจักรเคาะลีฟะฮอุษมานียะห์

ความพยายามของยิวในการโค่นล้มสุลต่านอับดุลฮามิดจากบัลลังก์เคาะลีฟะฮ อุสมานียะห์ความพยายามของยิวคือสร้างความสัมพันธ์กับสุลต่านอับดุลฮามิดและหาทางให้อับดุลฮามิดยอมรับให้ชาวยิวใช้ชีวิตในปกครองของปาเลสไตน์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาลอุสมานียะห์

ความพยายามไม่ใช่สมัยของสุลต่านดุลอามิดเท่านั้น ความพยายามอันนี้เริ่มเริ่มจากสมัยสงครามครูเสด ซึ่งเริ่มจากผู้นำศาสนาแต่ถึงอย่างไรมุสลิมสามรถต้านลมแรงของยิวได้ จนกระทั่งมุสลิมได้รับชัยชนะตลอดไม่ว่างจะสรางรบแห่งใด

ศอลาฮุดดีน สามารถปกป้องอิสลามจากกาเฟร์ได้ แต่ถึงอย่างไรยุโรปก็ไม่ยอมแพ้ง่าย ๆพวกเขาหาทางอื่นอีกเพื่อให้ถึงเป้าหมายและจุดประสงค์ เริ่มวางแผนภายในประเทศก่อนและขอความช่วยเหลือจากชนกลุ่มน้อยเขตการปกรองของอุสมนียะห์ ออก เพื่อโค่นล้มอุษมานียะห์ พวกยิวไม่สามารถที่จะวางแผนโดดเดียวได้ นอกจากขอความช่วยเหลือ อังกฤษและฝรั่งเศสพวกเขาเหล่านั้นมีผลประโยชน์ร่วมกัน
ตามความเป็นจริงแล้วพวกเขาไม่สามารถอาศัยอยู่กับชาวยุโรปได้พวกยิวก็ถูกขับไล่ทั่วทิศของยุโรป ไม่ว่าที่อังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน รัสเซีย และเยอรมัน นอกจากว่ายิวอยู่ภายใต้การดูแลของรัฐบาลอิสลามอย่างเช่นที่สเปนและส่วนหนึ่งพื้นที่อาหรับ
ในสมัยของออตโตมานสมัยการปกครองของนายาซิด ให้โอกาสต่อชาวยิว เริ่ม
เริ่มกลับสู่บ้านเกิดในพื้นที่อาหรับอิสลามให้อภัยในฐานะอัลกุรอาน ได้อภัยต่อชาวอะลีกีตาบและบายาซิด กำหนดการค้าและอะไรอีกหลายแห่ง
การปฏิวัติของเซดซาอิด
การปฏิวัติของเชคซาอิดในช่วงของกามาลเช่นกัน ถูกมุสตอฟากามาลอ้างเป็นปฏิวัติและกบฎของชาวตุรกี เป็นเป้าหมายเพื่อก่อตั้งประเทศตุรกี
ตามความเป้นจริงแล้วเชคซาอิด เป็นผู้นำมุสลิมประกาศจุดยืนและการเคลื่อนไหวของเขาด้วยพระนามของอัลลอฮ และมีธงชาติสีเขียวสัญลักษณ์มูฮัมหมัดรอซุลลุลอฮ และเอาสัญลักษณ์ของเคาะลีฟะฮกลับคืนมา และโค่นล้มระบบประธานาธิปดี
ในช่วงสุดท่ายของเดือน 2 ปี 1925 มุสตอฟากามาลได้ส่งทหารไปปราบปรามในพื้นที่เขตดังกล่าว และสามารถจับฆ่าผู้เดียวกัน การเคลื่อนไหวของเชคซาอิดซึ่งประวัติศาสตร์ไม่เคยปรากฎมาก่อน มีบางรายงานได้บอกว่า มุสลิมถูกกามาลฆ่ามากกว่า50,000 คน ด้วยน้ำมือของมุสตอฟากามาล เพราะพวกเขาเหล่านั้นต้านกามาล เพื่อปกป้องเคาะลีฟะฮ

กิจกรรมของกามาล
กิจกรรมหลายอย่างที่มุสตอฟากามาลได้เปลี่ยนแปลงจากประชาชาติตุรกีมุสลิมกลายเป็นประชาติตุรกี นิยม และจารึกคำว่า อาตาตุรกียกย่องชาตินิยม
1. ท่านกามาลได้เปลี่ยนระบบกฎหมายและสร้างกฎหมายใหม่ทดแทน กฎหมายซารีอะฮ ท่านกามาลได้ปฏิบัติกฎหมายใหม่ และยกเลิกกฎหมายเก่าเปลี่ยนจากระบบเคาะลีฟะฮเป็นระบบชาตินิยม และใช้กฎหมายเผด็จการต่อประชาชน
2. แยกออกระหว่างศาสนากับการเมือง และวางแผนชั่วร้ายเย่างเหลือเชื่ออิสลาม
3. มุสตอฟากามาลได้ยกเลิกภาษาอาหรับ และเริ่มเปลี่ยนและเขียนเป็นภาษาตุรกี
4. ทางด้านการศึกษา มุสตอฟากามาลได้เปลี่ยนตุรกีให้เป็นประเทศยุโรปจากหัวจรดเท้า โดยแพาะฝรั่งเศส อย่างเช่นได้เปลี่ยนระบบเคาะลีฟะฮ และวะซีรว่าการศึกษา แขตอิสลาม และฏอกี ในเดือรรอมฏอมไปได้เปลี่ยนเวลาทำงาน วันหยุดสุดสัปดาห์ และบังคับให้ชาวตุรกีเลียนแบบยุโรปจากระบบการศึกษาศาสนาอิสลามเป็นระบบการศึกษาของชาตินิยมและได้ยกเลิกโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามทั้วประเทศโดยไม่ยกเว้น
5. อาซานภาษอาหรับ มุสตอฟากามาลได้ออกคำสั่งในประชาชนอาซานเป็นภาษาตุรกีและได้แปลอาซานจากภาษาอาหรับเป็นภาษาตุรกี ซึ่งได้สร้างความเจ็บปวดแก่ประชาชนอย่างมาก ไม่แค่อาซานเท่านั้น นอกเหนือนั้นมุสตอฟากามาลให้แปลเป็นภาษาตุรกี กฎหมายอิสลามชีวิตอิสลามที่บอกว่าไม่มีสิ่งอื่นใดที่จะต่อเติมอัลกุรอานได้
6. ท่านกามาลได้ยกเลิกวันหยุดสุดสัปดาห์ คือ วันศุกร์และได้ปลี่ยนเป็นวันอาทิตย์ซึ่งคนอิสลามเข้าใจดีว่าวันหยุดสุดสัปดาห์ของคริสต์
7. ท่านกามาลได้ยกเลิกการใช้ปฏิทินอิสลาม
8. ท่านกามาลได้เปลี่ยนการแต่งกายแบบอิสลามเปลี่ยนเป้นการแต่งกายยุโรปผู้ชายให้ถอดหมวก ส่วนผู้หญิงให้ใส่กระโปรง
9. มุตอฟากามาล อ้างสัญลักษณ์สิทธิของสตรีคือต้องมีเสรีภาพอ้างว่าผู้หญิงออกนอกบ้านก้ได้และขัดกบฎของครอบครัวอิสลาม

อ้างอิงจากหนังสือหลักการบริหารในอิสลาม สาม

สุลต่านอับดุลฮามิดที่ 2แห่งอาณาจักรอุษมานียะห์


มารู้จักชีวประวัติของสุลต่านอับดุลฮามิดที่สอง เพราะท่านคนหนึ่งที่มีความเที่ยงตรง และเป็นกลางในการปกครองประเทศมุสลิมในฐานะเคาะลีฟะฮ อุสมานียะห์ และท่านมีความจริงจังจะรวมพลังมุสลิมกลับคืนมา ในสถานภาพที่เหตุการณ์ของอาณาจักรอุสมาน แทบจะไม่ฟื้น
สุลต่านอับดุลฮามิด
เกิดในปี 1842 ค.ศ. บิดาของท่านคือ อับดุลมายิด อยู่ในกลุ่มผู้วางแผนกฎหมาย ให้เข้ากับหลักสูตรของยุโรป และท่านอยู่ในวงการมาซูนียะห์ พร้อมกับรอเซต บาซาร์ หลังจากสุลต่านอับดุงมายิดสิ้นพระชนม์ น้องของเขาถูกแต่งตั้งเป็นสุลต่านและได้เดินตามรอยของสุลต่านอับดุลมายิดเป็นเส้นทางของพี่
สุลต่านอับดุลฮามิดได้ถูกแต่งตั้งในปี 1876 ซึ่งสถานการณ์ในประเทศตอนนั้นแย่มากเลย และมีกลุ่มหนึ่งเคลื่อนไหวเป็นลูกสมุนของซูมานียะห์ และได้ถอดถอน สุลต่านอับดุลอาซิดและประหารชีวิต และได้แต่งตั้งมูร็อด ซึ่งเป็นเครื่องมือของซูมานียะห์ การครองตำแหน่งของมูร็อดเพียงไม่กี่เดือน เพราะเป็นบ้า ท่านปกครองได้เพียง 93 วันเท่านั้น และท่านไม่ได้ออกหน้าต่อประชาชนเพียงวันเดียวเท่านั้น และได้แต่งตั้งอับดุลอามิดเป็นสุลต่าน ส่วนสถานการณ์นอกประเทศอยู่ในสถานการณ์ย่ำแย่ เกิดการปฏิวัติและต่อต้านเกือบทุกที และยุโรปอยู่เบื้องหลังการก่อกวนและสร้างกระแสแทรกแซง กิจการในประเทศมุสลิมโดยใช้ชื่อต่าง ๆ โดยไม่มีเงื่อนไข
ทางด้านรัสเซีย พยายามเต็มที่จะครอบครองประเทศมุสลิม ทางด้านยิว และองค์กรนานาชาติ ได้ขยายการเคลื่อนไหวและวางแผน เพื่อเป้าหมายที่สำคัญ คือยึดดินแดนปาเลสไตน์และได้ร่วมมือกับหลายฝ่าย อังกฤษ ฝรั่งเศส และอัลมาเนีย เยอรมัน และยุโรป เพื่อโค่นล่ม รัฐบาลอิสลาม
และในที่สุด อาณาจักร ออตโตมาน เคาะลีฟะฮ อิสลามียะห์ ถูกเปลี่ยนเป็นชาตินิยม และแบ่งแยกดินแดนเป็นส่วน ๆ

บุคลิกภาพสุลต่านอับดุลอามิด
บิดาของท่านได้ทิ้งมารดา ราชวังอันสวยงาม แต่อับดุลฮามิดไม่ได้ใช้ชีวิตอยู่นอกวัง และเติบโตที่นั่น และในราชวังอันสวยงามท่านสุลต่านอับดุลฮามิดมิได้ จัดทำห้องละหมาด และเป็นข่าวที่แคร่คนหนึ่ง ท่านสุลต่านได้ใช้ชีวิตในพระราชวัง 33 ปี ท่านอยู่ในความกลัว ตลอดกับเหตุการณ์ในประเทศและนอกประเทศ โดยเฉพาะเหตุการณ์ฟิตบะฮ ยังเพิ่มความรุนแรง


เหตุการณ์ในบ้านเมืองและนอกเมือง

หลังจากอับดุลฮามิด เป็นสุลต่านการปกครองของสุลต่าน เสมือนปกครองเกาะบางพื้นที่ได้รวมตัวกันและบางพื้นที่ การปกครองของสุลต่าน อ่อนแอมาก มีแค่ชื่อเท่านั้นที่ว่าเป็นส่วนหนึ่งของเคาะลีฟะฮ แต่จริงแล้วไม่มีอะไรพื้นทีที่แยแมน ไม่ได้อยู่ภายใต้คำสั่งของสุลต่านและพื้นที่อิยิปต์ ไซปรัส มีแต่ชื่อเท่านั้นเอง ถึงแม้ว่าทุกปี ทางฝ่ายเจ้าเมืองจะจ่ายเงินมายังสุลต่านที่ตูนีเซีย ฝรั่งเศส ได้ยึกครองในปี 1881 ชาวบอสเนียและแธรซิก แพ้กับและถูกลอบให้กับทหารและอาหรับได้ประกาศสงครามเป็นกลุ่มท่านสุลต่านอับดุลฮามิดได้ขึ้นครองราชย์หลังจากเกิดเหตุการณ์หลั่งเลือดหลังจากได้ถอดถอนสุลต่านสองท่าน 93 วัน

ทางด้านรัสเซียเตรียมพร้อมที่จะจัดการกับคนไข้ซึ่งไม่มีความสามารถที่จะต้านได้จากรัสเซีย ในที่สุดรัสเซียได้ยึดและการปกครองและแรงต้านจากครูเสดกำลังลุกฮืออังกฤษได้อิยิปต์และเยอรมัน และประเทศได้ติดหนี้เป็นมหาศาล ไม่มีเส้นทางอื่นอีกแล้ว เปรียบเสมืนพื้นที่ของเคาะลีฟะฮแคบมาก ส่วนศัตรูภายนอกได้มีการประหารตลอดเพื่อยกเลิกอาณาจักรอุสมานียะห์และไม่สนใจกับอาณาจักร ซึ่งผู้นำเป็นไข้ไม่สบายท่านสุลต่านอับดุลฮามิดไม่รู้จะพึ่งใคร จะเข้าร่วมกับอังกฤษกับรัสเซีย เยอรมัน ฝรั่งเศส
ในปีสุลต่านได้ขึ้นครองราชอังกฤษได้ปกครองอินเดียและส่วนหนึ่งของจีนและรัสเซียได้ยึดปกครองตุรกีสถาน ตาจีสถาน และที่อเมริกาได้ตลอดออกมาใหม่และอาครณ์ยิวและในช่วงนั้นรัสเซียกับอังกฤษได้เสนอราชวงศ์อุสมานียะห์แย่งพื้นที่ปกครองก่อกวนภายในประเทศ
ตะวันตกไม่เพียงแต่วางแผนนอกประเทศ เท่านั้นแบ่งดินแดนของอุสมานียะห์เท่านั้นได้แทรกกิจการภายในเพื่อให้กิจการภายในวุ่นวาย และอังกฤษฉวยโอกาสแทรกไปยังองค์กรสตรีของตุรกี โดยผ่านวกไซออนิสและองค์กรสตรีก็ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของไซออนิส อังกฤษ และเยอรมันทำงานร่วมกันในการปฏิวัติภายในประเทศ โดยใช้วัยรุ่นทั้งชายและหญิงและสมทบเงินทองเพื่องานนี้โดยเฉพาะ
ความพยายามของสุลต่านอับดุลฮามิด
1. สร้างความเอกภาพความเป็นประเทศและเคาะลีฟะฮ การที่มีเคาะลีฟะฮที่แข่งแกร่นสร้างความเข้มแข็งและปกป้องมุสลิมทุกมุมของโลกมุสลิม ความพยายามเหล่านี้สร้างความไม่พอใจให้แก่อังกฤษและหลายประเทศ
2. สุลต่านอับดุลฮามิด พยายามสร้างความผูกพันกับเอเชียตะวันออกและได้ส่งตัวแทนและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเคาะลีฟะฮ์
3. การทำงานของอับดุลฮามิด จะเห็นได้ว่าภายในประเทศพยายามสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความคิดอิสลามและต่างประเทศท่านได้พยายามสร้างความสัมพันให้แน่งแฟ้นเป็นหนึ่งอันเดียวกัน และท่านทุ่มเทได้ทำงานอย่างลึกลับเพื่อไม่ให้โลกตะวันตกที่กำลังจ้องมองด้วยความริษยาและแผนการอันเลวร้าย
4. ท่านได้ส่งตัวแทนเกือบประเทศเพื่ออธิบายการเมืองนี้ให้เข้าใจและตอนนี้เรากำลังรอโอกาสเท่านั้นเอง
สุลต่านอับดุลฮามิดได้อธิบายความเป็นหนึ่งอันเดียวกันทุกสองพื้นที่ของมุสลิมและสร้างความใกล้ชิดเท่าที่ทำได้นี่แหละความหวังของเราในอนาคตและวันหนึ่งความเป็นหนึ่งอันเดียวกันของพี่น้องมุสลิมเปรียบเสมือนร่างเดียวกันเมื่อเรานั้นเราจะติดต่อชาวกาเฟร

อ้างจากเอกสารประกอบการสอนรายวิชาหลักการบริหารในอิสลาม 3 สาขารัฐประศาสนศาสตร์มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา

ฮะดีษที่กล่าวถึงกรุงอิสตันบูลหรือคอสแสตนติโนเปิล

มัสยิดสีฟ้า เดิมก่อนเคยเป็นโบถส์อายาโซเฟีย

1.             อบูฮุรอยเราะห์เล่าว่าท่านรอซูล  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า  :
วันกิยามัตจะไม่เกิดขึ้นจนกว่าชาวโรมันจะยกทัพไปยังเมืองอิอ์มากหรือดาบิก(ปัจจุบันนี้ตั้งอยู่ในเมืองชามติดกับเมืองฮัลบ) และแล้วกองทหารจากนครมดีนะห์ซึ่งเป็นประชาชาติที่ประเสริฐที่สุดในขณะนั้นจึงได้ยกทัพไปเผชิญหน้ากับพวกเขา แล้วชาวโรมันก็กล่าวขึ้นว่า  จงหลีกทางระหว่างเราและผู้ที่ถูกจับเป็นเชลยศึกในหมู่พวกเรา (หมายถึงชาวโรมันที่เข้ารับอิสลาม)  เราจะฆ่าพวกเขา  มุสลิมจึงค้านขึ้นมาว่า  ไม่!  ด้วยพระนามของอัลลอฮ  เราจะไม่หลีกทางให้พวกเจ้าฆ่าฟันสหายของเราเป็นอันขาด  ดังนั้นจึงเกิดการต่อสู้กัน  จนหนึ่งในสามของพวกเขาต้องพ่ายแพ้  และอัลลอฮจะไม่ทรงให้อภัยแก่พวกเขาตลอดไป อีกหนึ่งในสามของพวกเขาถูกฆ่าตายและเป็นชาวซูฮาดาอ์ (ผู้ที่ตายในหนทางของอัลลอฮ)ที่ประเสริฐที่สุดของอัลลอฮ  และอีกส่วนหนึ่งของพวกเขาทำการพิชิตกรุงคอนสแตนติโนเปิลโดยที่พวกเขาไม่ได้รับการคุกคามแต่อย่างใด  และแล้วพวกเขาก็สามารถเปิดกรุงคอนสแตนติโนเปิลได้สำเร็จ” รายงานโดย มุสลิม : 8 : 175-176  (2897)

3. เอาฟ์  บิน  มาลิก  เล่าว่าท่ารอซูล ศ็อลลัลลอฮูอะลัยฮิวาซัลลัม  กล่าวว่า :
                จงนับ  6  อย่างที่จะเกิดขึ้นระหว่างการสิ้นโลก  (หนึ่งในจำนวนนั้นคือ)  และการพิชิตกรุงคอนสแตนติโนเปิล”(รายงานโดย อัลบุคอรีย์  : 6 : 277)
4.             มุอาซ  บิน  ญะบัลเล่าว่าท่านรอซุล ศ็อลลัลลอฮูอะลัยฮิวาซัลลัม  กล่าวว่า :
                การบูรณะอัลกุดส์คือการล่มสลายของยัซริบ (มดีนะห์) และการล่มสลายของยัซริบคือเกิดการสู้รบ และการสู้รบคือการเปิดกรุงคอนสแตนติโนเปิล และการเปิดกรุงคอนสแตนติโนเปิลคือการออกมาของดัจญัล”รายงานโดย อะหมัด : 5 : 233 อบูดาวุด (4285) อัลบานีย์กล่าวว่าเป็นฮะดีษที่ถูกต้อง (อัลบานีย์, เซาะเฮียะห์อัลญามิอ (4096)

5.  บิซร์ อัลเฆาะนะวีย์ เล่าว่าท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮูอะลัยฮิวาซัลลัม กล่าวว่า:
                แท้จริงกรุงคอนสแตนติโนเปิลจะถูกพิชิตโดยพวกเจ้า และแท้จริงอะมีรที่ดีที่สุด คืออะมีรที่สามารถพิชิตมัน และแท้จริงกองทหารที่ดีที่สุดคือกองทหารของอะมีรนั้น”รายงานโดยอะหมัด  : 4 : 335 อัลบุคอรีย์,อัลตารีฆุลกะบีร : 2: 81  อัลเฏาะบะรอนีย์,อัลมุญัมอัลกะบีร : 2 : 24  อัลหากิม : 4 : 422  และกล่าวว่า  สายรายงานนี้ถูกต้อง  และอัลซะฮะบีย์เห็นด้วย

6.  อบูฮุรอยเราะห์เล่าว่า ท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮูอะลัยฮิวาซัลลัม กล่าวว่า :
                พวกเจ้าเคยได้ยินชื่อเมืองที่ส่วนหนึ่งของมันติดกับพื้นดินและอีกส่วนหนึ่งของมันติดกับทะเลหรือไม่?”  พวกซอฮาบะห์ตอบว่า  ใช่  โอ้ท่ารอซูล  ดังนั้นท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮูอะลัยฮิว่าซัลลัมจึงกล่าวว่า  วันสิ้นโลกจะไม่เกิดขึ้นจนกว่าจะมีลูกหลานของบนีอิสฮากจำนวน  70,000  ทำสงครามกับมัน  พอพวกเขาได้ไปถึงยังเมืองดังกล่าว  พวกเขาจะตั้งค่ายอยู่ตรงนั้นโดยที่พวกเขาไม่ได้ทำสงครามด้วยอาวุธและไม่ได้ยิงด้วยธนูแต่อย่างใด  เพียงแต่พวกเขากล่าวคำว่า  ลาอิลาฮาอิลลัลลอฮ  วัลลอฮูอักบัร  เท่านั้นเองฟากที่ติดกับทะเลของเมืองนี้ก็จะถูกพิชิตลง  แล้วพวกเขาก็กล่าวอีกเป็นครั้งที่สอง  ลาอิลาฮาอิลลัลลอฮ  วัลลอฮูอักบัร  ดังนั้นอีกฟากหนึ่งที่ติดกับพื้นดินก็ถูกพิชิตลงอีก  หลังจากนั้นพวกเขาจึงกล่าวเป็นครั้งที่สาม  ลาอิลาฮาอิลลัลลอฮ  วัลลอฮูอักบัร  อัลลอฮจึงเปิดเมืองให้กับพวกเขา  ดังนั้นพวกเขาจึงเดินทางเข้าไปในเมืองและทำการยึดทรัพย์สิน  ในขณะที่พวกเขากำลังแบ่งปันทรัพย์สินอยู่นั้น  ทันใดพวกเขาได้ยินเสียงร้องตะโกนขึ้นมาว่า  แท้จริงดัจญาลได้ออกมาแล้ว  ดังนั้นพวกเขาจึงทิ้งทุกสิ่งทุกอย่างและเดินทางกลับ”รายงานโดย มุสลิม  : 18 : 43-44

7.  อัลดุลลอฮ  บินอัมรู  บินอัลอาส  เล่าว่า
                ในขณะที่พวกเรากำลังรายล้อมท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮูอะลัยฮิวาซัลลัม เพื่อเขียนคำพูดของท่าน ก็ได้มีชายคนหนึ่งถามท่านรอซูลกล่าวว่า   :  ศ็อลลัลลอฮูอะลัยฮิวาซัลลัม ขึ้นมาว่าระหว่างกรุงคอนสแตนติโนเปิลกับเมืองโรมา เมืองไหนจะถูกเปิดก่อน?”  ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮูอะลัยฮิวาซัลลัม  ตอบว่า  เมืองเฮรเกิลจะถูกเปิดก่อน (หมายถึงกรุงคอนสแตนติโนเปิล)”รายงานโดย อะหมัด : 2 : 176 อัลหากิม : 4 : 555  และกล่าวว่า  เป็นรายงานที่ถูกต้องและอัลซาฮาบีย์ก็เห็นด้วย

               จากฮะดีษข้างต้นทำให้เข้าใจว่า  การเปิดกรุงคอนสแตนติโนเปิลนั้นเกิดขึ้นสองครั้งด้วยกัน  ครั้งแรกเป็นการพิชิตด้วยการทำการศึกสงครามซึ่งเกิดขึ้นในสมัยการปกครองของอาณาจักรออตโตมานภายใต้การนำของจอมทัพสุลต่านมุหัมมัดอัลฟาติห์  และครั้งที่สองเป็นการพิชิตด้วยเสียงตักบีรและตะห์ลีลเท่านั้นโดยปราศจากการต่อสู้แต่อย่างใด  ซึ่งจะเกิดขึ้นก่อนหน้าที่ดัจญัลจะออกมาอาละวาด  แต่สิ่งที่น่าสังเกตจากฮะดีษข้างต้น  คือฮะดีษกล่าวว่า  กรุงคอนสแตนติโนเปิลจะถูกเปิดโดยลูกหลานของบนีอิสฮาก จำนวน  70,000  คน ซึ่งที่จริงแล้วลูกหลานบนีอิสฮากก็คือชาวโรมันนั่นเอง  เพราะพวกเขามาจากเชื้อสายของอัลอัยซ์  บิน  อิสฮาก  บิน  อิบรอฮิม(อ้างจากอิบนูกาซีร,  อิลนิฮยะห์  ฟิลฟิตัน : 1 : 58) ดังนั้นจะเป็นไปได้อย่างไรกันที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลอันเป็นศูนย์กลางของพวกเขาจะถูกพิชิตโดยมือพวกเขาเอง
                มุสตอฟา  ชะลาบีย์กล่าวว่า :“อุลามาอฺจำนวนไม่น้อยได้ยกฮะดีษดังกล่าวเป็นหลักฐานยืนรยันว่าแท้จริงชาวโรมันในช่วงสุดท้ายแห่งวันสิ้นโลกจะเข้ารับการอิสลามและร่วมกับกองทัพมุสลิมในการพิชิตกรุงคอนสแตนติโนเปิล”(อ้างจากมุสตอฟา  ชะลาบีย์ : 184)วัลลอฮุอะลัม
                อิบนูกาซีรมีความเห็นว่า:“ฮะดีษนี้บ่งบอกว่าแท้จริงชาวโรมันจะเข้ารับอิสลาม  (ในช่วงสุดท้ายแห่งวันสิ้นโลก)  และบางทีการพิชิตกรุงคอนสแตนติโนเปิลจะเกิดขึ้นด้วยน้ำมือของพวกเขาส่วนหนึ่ง  ดังฮะดีษข้างต้นที่ได้กล่าวไว้ว่า  ลูกหลานของบนีอิสฮากจำนวน  70,000  คน  จำทะสงครามพิชิตกรุงคอนสแตนติโนเปิล…”(อิบนูกาซีร,  อัลนิฮายะห์ : 1 : 58-59)
                ฮะดีษที่เล่าโดยอบูฮุรอยเราะห์เกี่ยวกับการสู้รบของชาวโรมันก็เป็นอีกหลักฐานหนึ่งที่บ่งบอกว่าชาวโรมันจะเข้ารับการอิสลามในช่วงสุดท้ายแห่งกาสิ้นโลกหรือกิยามัต  ซึ่งชาวโรมันหรือผู้ปฏิเสธได้ขอให้มุสลิมหลีกทางให้พวกเขาได้สู้รบกับชาวโรมันที่ถูกจับเป็นเชลยและเข้ารับอิสลามแล้ว  แต่ชาวมุสลิมไม่ยอมและอ้างว่าพวกเขาเป็นพี่น้องของตน  จนเกิดการสู้รบกันขึ้นในที่สุด
                อิมามอัลนาวาวีย์กล่าวว่า :“ข้อเท็จจริงอันนี้ได้เกิดขึ้นในสมัยของเรา  ยิ่งกว่านั้นค่ายทหารอิสลามในเมืองชามและอียิปต์ส่วนใหญ่ล้วนมาจากกองเชลยศึกที่เข้ารับอิสลามและปัจจุบัน  อัลฮัมดุลิลละห์  พวกเขากลับจับชาวผู้ปฏิเสธมาเป็นเชลยศึกต่อ…”(อัลนาวาวีย์ ; 18 : 21)
                การพิชิตหรือเปิดกรุงคอนสแตนติโนเปิลที่กล่าวถึงในฮะดีษเกิดขึ้นโดยปราศจากการสู้รบด้วยอาวุธสงคราม  แต่ใช้การตักบีรหรือตะห์ลิลเท่านั้น  ซึ่งแน่นอนการพิชิตอันนี้ยังไม่เกิดขึ้นจนถึงปัจจุบัน
                ติรมิซียืได้ยกรายงานจากอานัส  บิตน  มาลิก  ท่านกล่าวว่า :“การพิชิตคอน
สแตนติโนเปิล  (ที่ถูกกล่าวถึงในฮะดีษ)  จะเกิดขึ้นพร้อมกับการสิ้นโลก”(อัลตัรมีซีย์ : 6 : 498)
                ส่วนการพิชิตที่เกิดขึ้นโดยฝีมือของกองทหารแห่งอาณาจักออตโตมานภายใต้การนำของสุลต่านมุหัมมัดอัลฟาติห์นั้นเกิดด้วยการสู้รบ  ซึ่งการพิชิตดังกล่าวถือเป็นการเปิดทางสำหรับการพิชิตครั้งยิ่งใหญ่  และการที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลตกอยู่ภายใต้การปกครองของชาวยุโรปผู้ปฏิเสธหลังการล่มสลายของเคาะลีฟะห์อิสลามียะห์นั้นเป็นการตอกย้ำถึงการหวนกลับมาของการพิชิตครั้งยิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง  อินชาอัลลอฮ(อะหมัดชากิร ; 2 : 256)  วัลลอฮุอะลัม



อ้างจาก หนังสือหลักการบริหารในอิสลาม 3 สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา