วันพฤหัสบดีที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ขบวนการชาตินิยม กับการสร้างรัฐตุรกี

ออตโตมาน (Octtoman ) เป็นชื่อของราชวงศ์ที่ได้สร้างจักรวรรดิอันยิ่งใหญ่ กินอาณาบริเวณไปถึงสามทวีป คือยุโรป เอเชีย และแอฟริกา ราชวงศ์ออตโตมันครองอำนาจอยู่จวบจนมุสตาฟา เคมาล ยุบสถาบันสุลต่านไปใน ค.ศ. 1922 ก่อนถึงสมัยยังเติร์ก คำว่าออตโตมัน นอกจาเป็นชื่อราชวงศ์และชื่อจักรวรรดิที่ตั้งขึ้นโดยราชวงศ์นี้แล้ว ยังเป็นคำที่มีความหมายในเชิงยกย่อง พวกชนชั้นปกครองในจักรวรรดิจะเรียกตัวเองว่าเป็นพวกออตโตมัน ส่วน”ยังออตโตมัน” ( Young Ottoman ) เป็นกลุ่มชาวเติร์กพวกแรกที่ต้องการปฏิรูปจักรวรรดิให้เป็นประชาธิปไตยด้วยพลังชาตินิยม พวกยังออตโตมันเป็น “ผู้นำที่แท้จริงในขบวนการชาตินิยมและประชาธิปไตยในตุรกี” ในขณะที่ว่าคำว่า “เติร์ก” จะหมายถึงพวกชนชาติเติร์กเร่ร่อน และต่อมาจะหมายถึงพวกชาวไร่ชาวนาที่พูดภาษาเติร์กตามหมู่บ้านในอนาโตเลีย ซึ่งคือบริเวณดินแดนของจักรวรรดิออตโตมันหรือตุรกีในเอเชีย
จักรวรรดิออตโตมานเคยมีความยิ่งใหญ่มากเช่นในสมัยของสุลต่านสุไลมาน ซึ่งครองราชย์อยู่ระหว่าง ค.ศ. 1520 - 1566 นั้น จักรวรรดิออตโตมานมีฐานะทัดเทียมกับราชอาณาจักรใหญ่ในยุโรป เช่น ราชอาณาจักรฝรั่งเศส พระเจ้าฟรานซิซที่ 1 แห่งฝรั่งเศสทรงมีราชสาส์นติดต่อกับพระเจ้าสุไลมาน ซึ่งได้รับสมญานามว่า สุไลมานผู้เกรียงไกรและพระเจ้าสุไลมานทรางตอบดังนี้
เราคือสุลต่านแห่งสุลต่าน กษัตริย์เหนือกษัตริย์ ผู้พระราชทานมงกุฎแก่กษัตริย์ ในภาคพื้นพิภพ เงาแห่งอัลลอฮเจ้าบนพิภพสุลต่านและจักรพรรดิแห่งทะเลขาว (เมดิเตอร์เรเนียม ) ทะเลดำ อาเมเลีย อนาโตเลีย คาราเมเนีย แห่งแดนรูม แห่งดามัสกัส อเลบโป ไคโร มักกะฮ มะดีนะฮ เยรูซาเล็ม อาระเบียทั้งหมด เยเมน… พระองค์ผู้ทรงพระนามว่าฟรานซิสกษัตริย์แห่งฝรั่งเศสทรงมีพระชาสาส์น…”
ความยิงใหญ่ดังได้ยกมาเป็นตัวอย่างนี้ค่อย ๆ ลดถอยลงเมื่อยุโรปตะวันตกได้ปรับตัวเข้าสู่ยุคใหม่ มีความแข็งแกร่งพอที่จะต่อต้านกำลังของจักรวรรดิออตโตมานและสามารถขับไล่พวกเติร์กให้ถอยรุ่นไปจากดินแดนยุโรปนับตั้งแต่ปลายคริสตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา จักรวรรดิออตโตมานมีศัตรูสองด้านคือ ออสเตรีย ทางตะวันตกและรุสเซียทางตะวันออกความล้าหลังชาวตะวันตก ทำให้จักรวรรดิค่อย ๆเปลี่ยนสถานะมาเป็น “คนป่วยแห่งยุโรป ตามที่ฉายาที่ซาร์นิโคลลัสที่ 1 แห่งรัสเซียทรงตั้งไว้อย่างไรก็ดี จักรวรรดิออตโตมานยังไม่ถึงจุดจบง่าย ๆ เพราะไม่มีมหาอำนาจใดในยุโรป ซึ่งเข้มแข็งพอที่จะปราบปรามมหาอำนาจอื่นและยึดเอาจักรวรรดิออตโตมานได้ แต่ละมหาอำนาจต่างไม่ต้องการให้จักรวรรดิออตโตมานตกเป็นของมหาอำนาจอื่น ดังนั้นคนป่วยจึงได้รับการเยียวยาไว้เพื่อรักษาดุลแห่งอำนาจในยุโรป ในขณะเดียวกันประเทศมหาอำนาจต่างก็พากันหาผลประโยชน์จากคนป่วยเท่าที่จะสามารถทำได้
สุลต่านแห่งจักรวรรดิออตโตมานได้พยายามปรับปรุงจักรวรรดิโดยการเอาแบบอย่างจากตะวันตก เช่น สุลต่าน มะห์มูดที่ 2 พยายามปรับปรุงกองทัพตามแนวตะวันตกในครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยการจ้างนายทหารรัสเซียมาเป็นที่ปรึกษาทางด้านกลาโหม และช่วยฝึกกองทัพบก ส่วนกองทัพเรือก็ได้รับการปรับปรุงโดยผู้เชี่ยวชาญชาวอเมริกันและนายทหารที่ปรึกษาชาวอังกฤษ เป้นต้น
เมื่อโมฮัมหมัด อาลี ตั้งตัวเป็นใหญ่ในอียิปต์และพยายามแบ่งแยกอียิปต์ไปจากจักรวรรดิ รัฐบาลออตโตมานต้องการความสนับสนุนช่วยเหลือจากมหาอำนาจในการจำกัดอำนาจของโมฮัมหมัด อาลี มิให้ขยายออกไปดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องปฏิณุปจักรวรรดิเพื่อแสดงว่าจักรวรรดิสามารถสร้างความก้าวหน้าและมีคุณค่าแก่การช่วยเหลือปกป้องให้ดำรงอยู่ต่อไป
การปฏิรูปซึ่งเกิดขึ้นในรัชสมัยของสุลต่าน อับดุลมายิด มีชื่อเรียกว่า ตันซีมัต ในประวัติศาสตร์ตุรกี คำว่า “ตันซีมัต” แปลว่าการปรับปรุงใหม่ สมัยตันซีมัต”กินเวลาราว 40 ปี เป็นช่วงเวลาที่รัฐบาลออตโตมานพยายามปรับปรุงประเทศตามแนวตะวันตก คนหลายฝ่ายไม่พอใจกับการปฏิรุปโดยมองว่าเป็นไปอย่างผิวเผิงผลิผลามตามกับตะวันตก หรือมิฉะนั้นก็ยังไม่เข้มแข็งพอ การที่รัฐบาลพยายามรักษาความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของจักรวรรดิโดยไม่เน้นเรื่องเชื้อขาติและศาสนา แต่เน้นความเป็นออตโตมาน และความเสมอภาคในทาง กฎหมาย ทำให้พวกมุสลิมไม่พอใจที่รัฐให้ความสำคัญต่อคนนอกศาสนาเท่ากับมุสลิม
ทั้งพระราชกฤษฎีกาปฏิรูปใน ค.ศ. 1839 และ 1856 เป็นการเน้นการปฏิรุปตามแนวตะวันตก เช่นการเน้นเรื่องปัจเจกบุคคล ความเสมอภาค และการรับวัฒนธรรมตะวันตก เช่น ในเรื่องการแต่งกาย การใช้ส้อม และการนั่งเก้าอี้เป็นต้น ในด้านการศึกษานั้นการปฏิณุปดูจะส่งผลเด่นชัด กล่าวคือเกิดการศึกษาแบบตะวันตกควบคู่ไปกับการศึกษาจากโรงเรียนศาสนาที่มีอยู่เดิม
การศึกษาแบบตะวันตกได้ก่อให้เกิดขบวนการทางวรรณกรรม ซึ่งเริ่มต้นด้วยการออกหนังสือพิมพ์อิสระ ให้ความสนใจในวรรณกรรมตะวันตกทั้งในรูปบทกวี บทละครนวนิยาย และงานหนังสือพิมพ์อิสระ มีการแปลวรรณกรรมตะวันตกเป็นภาษาเติร์ก ปรับภาษาทางราชการ แนวความคิดแบบตะวันตกได้ซึมซาบเข้ามาในงานเขียนและก่อให้เกิดความคิดใหม่ ๆ เกี่ยวกับเรื่องชาติ การปกครอง และความก้าวหน้า


พวกออตโตมานหนุ่ม ( Young Ottoman )
พวกออตโตมานหนุ่ม ซึ่งบางที่เรียกว่ากันว่า พวกออตโตมานใหม่ เป็นคนหนุ่มหัวใหม่ซึ่งเกือบทั้งหมด อายุตำกว่า 40 ปี เป็นผลิตผลของจบวนการทางวรรณกรรมที่กล่าวข้างต้น ผู้นำสำคัญได้แก่ นามิก เคมาล และซียะ ปาชา พวกคนหนุ่มหัวใหม่ตั้งกลุ่มหรือสมาคมลับ ที่เรียกว่า ออตโตมานหนุ่มนี้ขึ้น ในค.ศ. 1867 เป็นที่น่าสังเกตว่าพวกออตโตมานเป็นพวกปัญญาชนซึ่งมาจากตระกูลสูง เป็นนักหนังสือพิมพ์ และผู้มีความสนใจในงานเขียน จึงต่างจากพวกยังเติร์กในสมัยต่อมา ซึ่งเป็นพวกชนชั้นกลางประกอบด้วยนายทหารหนุ่มและข้าราชการผู้น้อยเป็นต้น
สิ่งที่พวกออตโตมานหนุ่มเรียกร้องคือการปกครองแบบมีรัฐธรรมนูญ การพัฒนาเศรษฐกิจ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และการศึกษาแบบสมัยใหม่ นามิก เคมาล ซึ่งได้อิทธิพลจากมองเตสกิเออและรุสโซมากได้เรียกร้องการแยกอำนาจอธิปไตยและการตั้งสภาที่มาจากการเลือกตั้ง ถึงแม้พวกออตโตมานหนุ่มจะต้องการความเจริญก้าวหน้าแต่ก็รับอารยธรรมตะวันตกแต่บางส่วน และยังต้องการอนุรักษ์วัฒนธรรมอิสลามและเติร์กที่มีมาก่อน แนวความคิดชาตินิยมที่มีอิทธิพลต่ออตโตมานหนุ่ม และนำไปสู่ความคิดเรื่องบ้านเกิดเมืองนอนหรือประเทศชาติ เนื่องจากจักรวรรดิมีชนหลายเชื้อชาติ แนวคิดเรื่องชาติจึงมิใช่ชาติเติร์ก แต่เป็นออตโตมาน ซึ่งหมายถึงประชากรทั้งหมดในจักรวรรดิ
พวกออตโตมาน หนุ่มพยายามโค่นล้มรัฐบาลเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามที่ตนเรียกร้องจึงถูกเพ่งเล็งและปราบปรามจนพวกหัวหน้าต้องหนีออกนอกประเทศ และตั้งศูนย์ประจำการที่ปาริสความหวังของออตโตมานหนุ่มที่ทำท่าว่าจะเป็นไปได้เมื่อสุลต่านอับดุลฮามิดที่ 2 ขึ้นครองราชย์ พระองค์ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญใน ค.ศ. 1876 ตามที่ได้ให้สัญญาไว้แก่ผู้ที่สนับสนุนให้พระอง๕ได้บัลลังก์ รัฐธรรมนูญฉบับแรกซึ่งร่างโดยพวกออตโตมานหนุ่มมีลักษณะเป็นแบบตะวันตก เช่น ระบุให้มีคณะวะซีร มีวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งมีสภาผู้แทนที่มาจากการเลือกตั้ง มีอำนาจตุลาการที่เป็นอิสระเป็นเอกเทศมีกฎหมายรับรองสิทธิประชาชน พวกนิยมรัฐธรรมนูญผูกความหวังไว้กับสภาผู้แทน ถึงแม้ว่าสุลต่านจะขอปรับแก้ไขคณะวะซีรรับผิดชอบต่อสุลต่านมิใช่ต่อสภาผู้แทน เมื่อเริมมีสภาผู้แทน สมาชิกได้แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ จึงก่อให้เกิดความขัดแย้งกับสุลต่านซึ่งยังไม่คุ้นเคยกับการถุกทำร้ายท้าทายอำนาจ ในที่สุดสุลต่านอับดุลฮามิดก็สั่งปิดสมัยประชุมใน ค. ศ. 1878 และไม่ยอมเปิดสมัยประชุมอีกเลยเป็นเวลานานถึง 30 ปี
ความล้มเหลวของออตโตมานใหม่นั้น มีสาเหตุสำคัญมาจากการที่พวกเขาต้องการอนุรักษ์วัฒนธรรมอิสลามไปพร้อม ๆกับการรับส่วนที่ดีของอารยธรรมตะวันตก ทำให้ไม่เป็นที่พอใจของฝ่ายอนุรักษ์ที่ต่อต้านอารยธรรมตะวันตก และฝ่ายหัวรุนแรงที่ต้องการอารยธรรมตะวันตกทั้งหมด การเน้นความเป็นอิสลามก็ทำให้พวกที่มิใช่เป็นมุสลิมไม่สนับสนุน
ในสมัยปลายอาณาจักรออตโตมาน ( 1908 - 1918 ) นั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงภายในระบบสัมพันธ์มิตรยุโรปจึงทำให้อาณาจักรออตโตมานจำเป็นต้องมีการปฏิรูปทางการทหาร ความเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดจากการที่เยอรมันมีกำลังมากขึ้น กลายเป็นสมาชิกของสัมพันธ์มิตรสามฝ่าย อันประกอบด้วย เยอรมัน อิตาลี และออสเตรีย – ฮังการี ในสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันที่อยู่จนถึงสงครามโลกครั้งที่ 1 ฝรั่งเศสได้ตอบโต้สนธิสัญญาไตรภาคีโดยไปเป็นพันธ์มิตรกับรัสเซียในปี ค.ศ. 1894 ฝ่ายอังกฤษนั้นชอบที่จะหลีกเลี่ยงความยุ่งยากของการเป็นพันธมิตรกับชาติในยุโรป แต่การเพิ่มการแข่งขันทางอุตสาหกรรมและกำลังรบทางเรือของเยอรมันนีที่ทำให้อังกฤษต้องพิจารณาท่าทีของตัวเองเสียใหม่ ผลคืออังกฤษเข้าไปสู่การตกลงเป็นทางการกับฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1904 ซึ่งอำนาจทั้งสองได้แก่แก้ไขข้อพิพาททางทะเลระหว่างกันที่มีมากว่า 20 ปี ในข้อตกลงนี้ฝรั่งเศสยอมรับการที่อังกฤษเข้าครองอิยิปต์ และอังกฤษก็ยอมรับ การที่ฝรั่งเศสเข้าครองมอรอกโกข้อตกลงระหว่างประเทศนี้ได้ขยายเป็น ความเข้าใจสามฝ่าย ในปี ค.ศ. 1907 เมื่ออังกฤษและรัสเซียตกลงกันทีจะลดการแข่งขันเพื่อหาอิทธิพลในอิหร่านด้วยการยอมรับวงอิทธิพลของกันและกันในประเทศคือ รัสเซีย จะมีอำนาจในภาคเหนือ อังกฤษมีอำนาจในภาคใต้ของอิหร่าน อิหร่านตอนกลางจะเป็นกลาง
ความรวดเร็วที่อังกฤษกับรัสเซียตกลงที่จะแบ่งอิหร่านกันนั้นเป็นการคกคามต่ออาณาจักรออตโตมาน ตลอดจนศตวรรษที่ 19 เป้นต้นมา
ผู้ปกครองออตโตมานจึงตอบโต้ได้ 2 อย่างคือ เน้นการปฏิรูปทางทหารโดยหวังจะจำกัดพวกยุโรปออกไปให้ได้ อีกอย่างคือ พยายามทำให้ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การฑูต กาทหารระหว่างออตโตมานกับเยอรมันนีเข้มแข็งขึ้นเพื่อจะเผชิญหน้ากับพันธ์มิตรสามฝ่ายได้

ขบวนการชาตินิยมเติร์ก (Turkism)
ขบวนการชาตินิยมเติร์กหรอเติร์กหนุ่ม นั้นประกอบด้วยผู้ประท้วงทั้งสามกลุ่ม คือ กลุ่มผู้ถูกเนรเทศเป็นเวลานาน ข้าราชการและนักศึกษาที่ไม่พอใจและกลุ่มนายทหารที่มีตำแหน่งอยู่ในราชอาณาจักรออตโตมาน พวกทหารในวิทยาลัยแพทย์ทหารได้ตั้งสมาคมลับสำหรับประท้วงขึ้นมาในปี ค.ศ. 1886 โดยให้ชื่อว่า คณะกรรมการสหภาพและความก้าวหน้า ต่อมาเป็นที่ดึงดูดใจของนักศึกษาและข้าราชการฝ่ายอื่น ๆ พวกเขาเชื่อในความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องมีการบูรณะรัฐบาลให้มีณัฐธรรมนูญขึ้นมาเพื่อป้องกันจักรวรรดิต่อมาถูกสุลต่าน แห่งออตโตมานคือสุลต่านอับดุลฮามิดจับได้และถูกเนรเทศ โดยแก่นแท้นั้น CUP เป็นขบวนการปฏิรูปแม้ว่าในตอนหลังจะมีลักษณะก้าวร้าวบ้างก็ตาม
ผลงานของพวกยังเติร์กหรือซียูพี
จุดมุ่งหมายของสำคัญของการปฏิวัติยังเติร์กใน ค.ศ. 1908 ก็เพื่อต่อต้านการปกครองแบบเผด็จการณ์ของสุลต่าน และเพื่อรักษาความมั่นคงของจักรวรรดิออตโตมานแต่ปรากฎว่าเมื่อถึง ค.ศ. 1918 พวกยังเติร์กได้พิสูจน์ตัวเองว่า เป็นผู้เผด็จการณ์ไม่แพ้สุลต่านและเป็นผู้นำความหายนะมาสู่จักรวรรดิ

สาเหตุพวกยังเติร์กไม่สามารถดำเนินการตามจุดมุ่งหมายของการปฏิวัติ
ความหวังดีและจุดมุ่งหมายที่ดีมิได้นำไปสู่ผลดีเสมอไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมและตัวแปรต่าง ๆ ที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ สมัยยังเติร์กอันพอสรุปได้ดังนี้
1. พวกยังเติร์กขาดบารมี
สังคมเติร์กสมัยต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ยังเป็นสังคมอนุรักษ์นิยมยึดถือในระบบ
อาวุโส ชาติตระกูลและภูมิความรู้ ฮุซัย จาฮิด วัชซิน ซึ่งเป็นนักหนังสือพิมพ์ ชื่อดังสมัยนั้นได้เขียนแสดงความเห็นว่า “ประเทศนี้ไม่สามารถยอมรับคนหนุ่มที่ปราศจาก ยศศักดิ์เหรียญตรา เครา ความยิ่งใหญ่ และชื่อเสียง
สรุปได้ว่าพวกยังเติร์ก เป็นชนชั้นกลางที่ยังไม่มีบารมีพอที่จะเป็นที่เชื่อถือไว้วางใจของประชาชนจึงประสบปัญหาในการที่จะเข้ามาบริหารประเทศ

2. ความแตกแยกในซียูพี ซึ่งเป็นองค์การสำคัญของยังเติร์ก
แม้สมาชิกรัฐสภาส่วนใหญ่จะมาจากซียูพี แต่ก็มีความเห็นแตกแยกไม่ตรงกันเพราะ
สมาชิกซียูพีมีจุดประสงค์ร่วมกันเพียงเพื่อกำจัดอำนาจเผด็จการของซุลต่านและเชื่อว่า การปกครองโดยรัฐธรรมนูญจะทำให้จักรวรรดิอยู่รอด ต่างคนต่างมีนโยบายลายแตกต่างกันไป แนวความคิดสำคัญ 3 แนว ที่ขัดกันเองได้แก่ แนวหนึ่งเน้นความเป็นออตโตมานซึ่งรวมชนทุกชาติทุกศาสนา ในจักรวรรดิให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแนวที่สองเน้นความสำคัญของอิสลาม แนวที่สามเน้นภาษาและวัฒนธรรมเติร์ก นอกจากนี้ยังมีแนวความคิด
3. ลักษณะสังคมพหุลักษณ์ของจักรวรรดิ
ประชาชนในจักรวรรดิออตโตมานมีมากมายหลายเชื้อชาติและศาสนา มีทั้งเชื้อชาติเตืก อาหรับ กรีก อัลเบเนีย อาร์มเนียน นับถือศาสนาต่างกัน เช่นอิสลาม คริสต์ ยิว เมื่อลัทธินิยมเริ่มฟักตัวในจักรวรรดิประชาชนที่ไม่ใช่เติร์กก็เริ่มไม่พอใจนโยบายเติร์กนิยม ของพวกเติร์กที่ขึ้นมาเป็นผู้นำกฎหมาย ค.ศ. 1909 ซึ่งการห้ามตั้งสมาคมการเมืองตามเชื้อชาติสร้างความไม่พอใจ แม้นโยบายอิสลามร่วม ก็ไม่สามารถดึงชาวมุสลิมเช่นอาหรับ และเคิร์ด ไห้รวมเป็นอันเดียวกัน กับชาวเติร์กได้เพราะลัทธิชาตินิยมมีพลังยิ่งกว่า ชาวอาหรับตั้งสมาคมตามแนวอาหรับนิยมยิ่งรัฐบาลเติร์กคอยปราบปรามก็ยิ่งรวมพลังกันอย่างมากขึ้น

4. ความเผด็จการของซียูพี
ความพยายามที่จะรักษาความสงบเรียบร้อยในประเทศท่ามกลางปัยหาดังกล่าวแล้วทำให้พวกยังเติร์กซึ่งเป็นผู้บริหารต้องหันมาใช้วิธีการแบบเผด็จการ ทหารซึ่งก้าวเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมืองตั้งแต่เดือนเมษายน ค.ศ. 1909 ก็ไม่ยอมกลับมีแต่จะคุมอำนาจมากยิ่งขึ้น เช่น นายพลมะฮมูด เซฟเกด ซึ่งยึดอิสตันบูลคืนมาได้จากพวกกบฎได้กับการเข้าดำรงตำแหน่งวะซีรกลาโหม และต่อมาได้ดำรงตำแหน่งแกรนวิเชียรจนถูกลอบสังหารในค.ศ. 1913
สถานการณ์ทียังไม่สงบทั้งในและนอกประเทศห้ามพวกยังเติร์กหรือซียูพีประกาศใช้กฎอัยการศึกในค.ศ. 1910 อ้างว่าความมั่นคงของจักรวรรดิมีความสำคัญลำดับแรกการที่ทหารมามีอำนาจคุมงบประมาณและการบริหารทำให้การปฏิรุปต่าง ๆตามความต้องการของประชาชนเป็นไปได้ยาก

5. การรุกรานจากภายนอก
พวกยังเติร์กต้องเผชิญกับการรุกรานจากภายนอกนับตั้งแต่ปีที่ทำการปฏิวัติ คือ ค.ศ. 1908 ออสเตรีย -ฮังการี ได้ยึดบอสเนียและเฮอเซโกวีนาไปเป็นของตนเฟอร์ดินันนักแห่งบุคกาเรียประกาศตนเป็นกษัตริย์ ต่อมา ค.ศ. 1910 อัลเบอร์เนีย ได้ก่อกบฎเรียกร้องเอกราชใน ค.ศ. 1911 อิตาลียึกครองตริโปลีใน ค.ศ. 1912 เกิดสงครามบอลข่าน ครั้งที่ 1 ค.ศ. 1913 เกิดสงครามบอลข่านครั้งที่ 2 ทุกครั้งจักรวรรดิออตโตมานเป็นฝ่ายเสียหายพ่ายแพ้หรือเสียเปรียบหลังสนธิสัญญาสันติภาพใน ค.ศ. 1913 จักรวรรดิออตโตมานเหลือดินแดนในยุโรปเพียง 28,490 ตารางกิโลเมตร ความพ่ายแพ้ต่าง ๆทำให้พวกยังเติร์กเสื่อมจากความนิยมของประชาชน

6. การตัดสินใจเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 โดยอยู่ฝ่ายเยอรมันนี
จักรวรรดิออตโตมานอาจทำเป็นกลางในสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อเกิดสงครามระหว่างฝ่ายมหาอำนาจกลางและฝ่ายสัมพันธมิตร พวกเติร์กจำนวนำม่น้อยต้องการเข้าข้างฝ่ายสัมพันธมิตร แต่เนื่องจากรุสเซียเป็นศัตรูเก่าแก่ของจักรวรรดิออตโมานอยู่ฝ่ายสัมพันธ แม้เติร์กส่วนใหญ่และเสียข้างมากในคณะรัฐบาลจะต้องการความเป็นกลางแต่ เอนเวอร์ ปาชา หนึ่งในไตรภาคี ยังเติร์กซึ่งครองอำนาจอยู่ขณะนั้นเป็นผู้นิยมเยอรมัน เขาได้แอบเซนต์สนธิสัญญากับเยอรมันโดยพลการ มีผู้รู้เห็นก่อนเซนต์สัญญาเพียงสองคนเท่านั้น เอนเวอร์ ปาชา ความฝันอันยิ่งใหญ่ ที่จะขยายอำนาจเติร์กไปครอบคลุมบริเวณเคซัซของรัสเวีย ซึ่งเป็นถิ่นชนชาติเติร์กแต่ผลการนำประเทศเข้าสู่สงครามโลกก็คือความพ่ายแพ้และการสลายตัวของจักรวรรดิออตโตมาน
7. ผู้นำยังเติร์กทอดทิ้งความรับผิดชอบ
เอนเวอร์ ปาชา เป็นนายทหารยังเติร์กกรรมการซี ยูพี ดำรงตำแหน่งวะซีรกลาโหม ใน ค.ศ.1914 และเป็นผู้ตัดสินใจเข้าร่วมสงครามโลก แต่เมื่อพ่ายแพ้ก็หนีออกนอกประเทศ ไปถึงแก่กรรมที่ตุรกีสถานในการต่อสู้กับพวกบอลเชวิค เจมัล ปาชา เป็นนายทหารยังเติร์ก กรรมกามซียูพี เป็นวะซีรกระทรวงสาธารณะ ต่อมาเป็นวะซีรกระทรวงทหารเรือ ออกรบที่ซีเรีย ในฐานะแม่ทัพที่ 4 ลาออกใน ค.ศ. 1918 และหนีออกนอกประเทศถูกสังหาญโดยชาวอาร์มีเนีย ที่เมืองทิฟลิส
ทาลัด ปาชา เดิมเป็นแค่เสมียนไปรษณีย์โทรเลข แต่เป็นยังเติร์กที่มีอำนาจพอ ๆกับสองคนแรกที่กล่าวมาแล้ว เคยเป็นวะซีรมหาดไทยหลายสมัย ดำรงตำแหน่งแกรนวิเขียร์ใน ค.ศ. 1917 ลาออกใน ค.ศ. 1918 และหนีไปยุโรป ถูกสังหารที่เบอร์ลินใน ค.ศ. 1912 ผู้นำยังเติร์กหนีออกนอกประเทศแทนที่จะพยายามหาทางแก้ปัญหาบรรดาชาวเติร์กผู้รักชาติได้รวมตัวกันเป็นขบวนการชาตินิยม

ขบวนการชาตินิยม (Nationalist Movement )
ขบวนการชาตินิยม (Nationalist Movement ) นำโดยนายพล มุสตาฟา เคมาน นายทหารที่ไม่เห็นด้วยกับแนวนโยบายของพวกยังเติร์ก และไม่ยุ่งเกี่ยวกับพวกยังเติร์กหลังการปฏิวัติใน ค.ศ. 1908 นายพล มุสตาฟา เคมาน เป็นทหารเต็มตัวชื่อเสียงทางการรบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวรบที่แหลมกัลลิโปลี ซึ่งเป็นแนวรบเดียวของพวกเติร์กที่ได้รับชัยชนะในสงครามโลกครั้งที่ 1ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1915 เคมาลสามารถทำให้ทัพสัมพัน์มิตรถอยออกจากาลิโปได้ดังนั้นเคมาลจึงมีบารมีเหมะสมที่จะเป็นผู้นำในสงครามกูเอกราชของชาวเติร์ก
ในขณะที่สุลต่านยอมลงนามในสนธิสัญญาแซฟวรส์ ใน ค.ศ. 1920 ตามบัญชาของฝ่ายสัมพันธมิตร เคมาลกับกองทัพชาตินิยมได้ปฏิเสธสนธิสัญญาฉบับนี้ ซึ่งกำหนดให้จักรวรรดิถูกเฉือนออกไปมากมาย ต้องอยู่ใต้ความควบคุมของต่างชาติ การต่อสู้ของเคมาล ได้ยึดเป้าหมายที่พอจะเป็นไปได้คือการคงดินแดน เป็นการพิสูจน์ความเข้มแข็งและแน่วแน่ของประชาชนชาวเติร์กที่จะกำหนดชะตาของตนเอง ตำแหน่งสุลต่าน ซึ่งในประวัติศาสตร์เป็นผู้สร้างจักรวรรดินั้น บัดนี้หมดความหมายเพราะกลายเป็นหุ่นของฝ่ายสัมพันธมิตร ที่ปราบปรามประชาชนชาวเติร์กผู้ชาตินิยมจึงต้องประกาศยุบสถาบันสุลต่านในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1922 เคมาล ลงนามในสนธิสัญญาโลซานน์ ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1923 ซึ่งสัมพันธมิตรยอมรับความมีเอกราชสมบูรณ์ของตุรกีเหนือดินแดนเติร์กเกือบทั้งหมด
วันที่ 30 ตุลาคม ค.ศ. 1918 จักรวรรดิออตโตมานล่มสลายลงพร้อมชีวิตผู้คนหลายล้าน กับดินแดนจำนวนมากที่ต้องสูญเสียไปในฐานะประเทสผู้พ้สงครามโลกครั้งที่ 1 ประเทศผู้ชนะสนใจหลักการวิลโซเนียนที่สหรัฐอเมริกาเสนอขึ้นเป็นร่างแม่แบบในการสถาปนาสันติภาพและความสงบเรียบร้อยในยุโรปขึ้นมใหม่น้อยมาก สนธิสัญญาแวร์ซายส์ทำให้เยอรมันนีต้องสูญเสียสิ้นเชิงซึ่งอาณานิคมและตัวจักรในการทำสงคราม แต่สิ่งที่ออตโตมานถูกบังคับให้ลงนามนั้นกลับแตกต่างจาก “สนธิสัญญาเผด็จการ” ที่เยอรมันนี

สงครากอบกู้เอกราช
การที่กรีซยกพลขึ้นบกที่เสมอน่า ในวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1919 ได้จุดประกายความรักมาตุภูมิที่ซ้อนเร้นในใจของชาวเติร์กทั้งมวลในคุโซนขึ้น สี่วันต่อมามุสตอฟา เคมาล วีรบุรุษในการศึกที่กัลลิโปลีผู้ไม่เคยพ่ายแพ้ ก้างเท้าลงเหยียบแผ่นดิน อนาโตเลีย ที่ท่าเรือซัมซุง ในเขตทะเลดำ พร้อมพระบรมราชโองการจากองคืสุลต่านให้สลายกองทัพในภาคตะวันออกทั้งหมด ทันที่ที่ออกจากอิสตันบูลมาโดยปลอดภัย มุสตาฟา เคมาล ก็ประกาศสลัยศและตำแหน่ง พร้อมทั้งอุทิศตนให้การรวบรวมกองกำลังผู้รักชาติ ภายหลังการประชุมเบื้องต้นกับคณะกรรมาธิการป้องกันชาติในระดับท้องถิ่นที่ไร้ซึ่งอุดมการณ์อันแน่นอนไปสองครั้ง คามาลได้เรียกประชุมสมัชชาแห่งชาติขึ้นในวันที่ 23 เมษายน ค.ส. 1920 ที่อังการา เมืองชุมทางรถไฟที่เงียบเหงามีร้านรวงบ้านเรือนอยู่ไม่กี่ร้อยหลังคาเรือน

การสร้างชาติ
ก่อนหน้าสงครามกู้เอกราชจะยุติลงเคมาล และคณะได้ใหึความสนใจกับภาระอันหนักอึ้งในการสร้างชาติที่พินาศเสื่อโทรมลงเพราะความขัดแย้ง หนังสือเชิญจากฝ่ายสัมพันธ์มิตรเรียกร้องให้รัฐบาลอิสตันบูลไปร่วมหารือเรื่องสันติภาพและการเป็น แนวร่วม ทำให้เคมาลขุ่นเคืองถึงขั้นประกาศล้มล้างสถาบันสุลต่านในวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1922 สองสัปดาห์ ต่อมา สุลต่านเมห์เมดที่ 6 สุลต่านออตโตมานองค์สุดท้ายร้องขอความคุมครองจากอังกฤษและขึ้นเรือหลวงมาลายา หลบหนีไปยังเมืองมัลตา
วันที่ 20 พฤศจิกายน อิสเมต อีเนอนุ กล่าวปราศัยในพิธีเปิดสมัยการประชุมสันติภาพ ณ เมืองโลซานน์ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ อีเนอนุ เล่นเกมทางการฑูตกับเหล่าปฏิปักษ์อย่างลอร์ด เคอร์ซอน เลขานุการกระทรวงการต่างประเทศของอังกฤษ ได้อย่างเท่ากัน และต้อนให้พวกเขาลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพที่เอื้อประโยชน์ให้กับตุรกีได้ผลสำเร็จในวันที่ 24 กรกฎาคม ค.ศ. 1923 สนธิสัญญาฉบับนี้ได้รับรองอาณาเขตตลอดจนอำนาจอธิปไตยและเอกราชของชาวเติร์ก บัดนี้ถึงเวลาที่ต้องเร่งสร้างชาติขึ้นใหม่ แล้ววันที่ 19 ตุลาคม ค.ศ. 1923 สมัชชาแห่งชาติได้ลงมติ รับรองแถลงการณ์ ประธานธิปดีคนแรก คือมุสตาฟา เคมาล หัวหน้าพรรคมวลชนรัพับลีกัน ซึ่งเพิ่มก่อตั้งได้ไม่นาน ตลอด 58 ปีต่อมา พรรคอาร์พีพีได้เป็นแม่แบบในการปกครองประเทศ

การปฏิรูปโฉมหน้าใหม่
เคมาล และกลุ่มแกนนำต้องการพ้ฒนาประเทศตามแบบตะวันตก แต่สถาบันทั้งหมดที่เหลือจากจักรวรรดิที่ดับสูญไปแล้วล้วนเป็นแบบอย่างของทางตะวันออกทั้งสิ้น ยิ่งไปกว่านั้น ชาวตุรกียังถูกปลุกฝังทรรศนะว่าตนเองเป็นอุมมะฮ มากกว่าที่จะเป็นประเทศชาติหนึ่ง ชาวมุสลิมต่างชาติชนกลุ่มน้อยชาวคริสต์และยิวในแง่ที่ถูกกีดกั้นจากการมีส่วนร่วมทางการเมือง การค้า อุตสาหกรรม หรือแวดวงบ่อเกิดแห่งอำนาจด้านอื่น ๆ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการปกครองแบบเผด็จการณ์เบ็ดสร็จของราชวงศ์ของออตโตมานโดยสิ้นเชิง
ด้วยเหตุนี้ภารกิจในการปลูกฝังสำนึกของความเป็นชาติ ตะวันตกจึงจำเป็นต้องจัดตีความศาสนาอิสลามเสียใหม่ วันที่ 3 มีนาคม ค.ศ. 1923 เคมาลสั่งการให้สมัชชาแห่งชาติประกาศโค่นล้มสถาบันคอลีฟะฮ ราชินิกูงฝ่ายชายทั้งหมดถูกเนรเทศออกนอกประเทศ


การเปลี่ยนแปลงผู้ปกครอง
ช่วงที่เร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจบรรดาผู้นำประเทศต่างจับตาดูเมฆหมอกแห่งสงครามในยุโรปด้วยความปริวิตก อสัญกรรมของเคมาลในเวลาเช่นนี้ย่อมมีผลกระทบประเทศชาติอย่างใหญ่หลวง วันที่ 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1938 เคมาลล้มป่วยลงด้วยโรคตับแข็งหลายดือนก่อนลาโลกไปด้วยวัยเพียง 57 ปี วันรุ่งขึ้น อีเมต อีเนินนุ ขึ้นให้คำปฏิญาณในฐานะประธานาธิปดีคนที่สองของสาธารณรัฐตุรกี อีเนอนุปกป้องตุรกีจากไฟสงครามในปีถัดมาอย่างเต็มที่ซึ่งต้องอาศัยทักษะอย่างสูงในการประคองตัวเอไว้ให้ได้ท่ามกลางคู่สงครามต่าง ๆ การหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามพันธกรณีในสนธิสัญญาและวิธีการอันเฉียบขาดของ “ผู้นำประเทศ” ดำเนินการผ่านระบบพรรคอาพีพีช่วยให้ตุรกีคงความเป็นกลางเอาไว้ได้อย่างน่าอัศจรรย์ จนไม่กี่สัปดาห์ ก่อนหน้าที่จะสงครามจะยุติลง อีเนอนุจึงประกาศสงครามกับนาซีที่กำลังร่อแร่
ความสัมพันธ์อันหวานชื่นระหว่างตุรกีกับรัสเซียคู่อาฆาตตลอดจนช่วงทศวรรษ 1920 เลยมาถึงช่วงต้นศตวรรษ 1930 เริ่มเปลี่ยนแปลความเกลียดชั่งเมืองอังการาทำการปราบปรามกลุ่มคอมมิวนิสต์ อย่างต่อเนื่อง

ประชาธิปไตย
ทั้ง ๆทีเคมาลมีอำนาจทั้งจากความชอบธรรมและความยินยอมของประชาชนแต่พัฒนาการของระบอบประชาธิปไตยภายหลังการสถาปนาประเทศกลับเชื่องช้าว่าการพัฒนาความเจริญตามแบบตะวันตกด้านอื่น ๆ เพื่อปรับแบบแผนให้สอดคล้องกับการปกครองแบบประชาธิปไตย เคมาลจึงอนุญาตให้ก่อตั้งพรรคฝ่ายค้านขึ้นในปี 1924 และ1930 ภายใต้การนำของเพื่อมี่เขาวางใจจะซื่อตรงและมั่นคงต่ออุดมการณ์เดิม แต่ทั้งสองครั้งนี้ฝ่ายค้านกลับโจมตีรัฐบาลอย่างหนักแรงกดดันจากฝ่ายค้านกระตุ้นให้พวกลัทธินิยมมูลฐานแบบอีกครั้ง หลังจากทนเสียงเรียกร้องของฝ่ายปฏิปักษ์ทางการเมืองได้พักใหญ่ คณะผู้นำประเทศจึงสั่งยกเลิกการมีพรรคฝ่ายค้าน พรรคพีดีครองอำนาจอยู่นาน เป็นเอกสิทธิ์อยู่นาน 27 ปี และมีการฝึกคณะผู้นำทางการทหารขึ้นสำหรับอนาคตข้างหน้าด้วย
อิตาลีและเยอรมันนาซีฟื้นตัวจากความปั่นป่วนภายในหลังสงครามได้อย่างรวดเร็วกลายเป็นประเทศที่ทันสมัยและได้รับความชื่นชมด้าน”ระเบียบวินัยของชนในชาติ”ที่ได้รับการปลูกฝังและส่งเสริมจากพรรคอาวุโส ส่งผลให้ประเทศเจริญก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว
ผลสรุปของสงครามโลกครั้งที่ 2 ย่อมต้องมีผลสะท้อนต่อทรรศนะในประชาธิปไตยของชาวตุรกี ปี 1945 กลุ่มกบฎนำโดย อัดนัน เมเดรส ชาวไร่ฝ้ายและนักการเมืองไฟแรงกับเจลาล ไบยาร์ นายธนาคารผู้เคยร่วมงานกับเคมาล ได้รับอนุญาตให้ตั้งพรรคเดโมแครต ขึ้นส่วนหนึ่งเป็นเพราะตุรกีอยากได้รับการยอมรับในฐานะสมาชิกของระเบียบโลกใหม่อย่างสมบูรณ์ รวมถึงความช่วยเหลือจากอเมริกาตามหลักการของทรูแมนด้วย
พรรคอาร์พีพี พร้อมที่จะปรับตัวให้เข้ากับระบบพหุพรรคแต่ไม่ต้องการเปลี่ยนบทบาทจากที่มีอยู่เดิม ชัยชนะในปี 1946 ได้มาเพราะพรรคเข้าไปคุมระบบเลือกตั้งอย่างเข้มงวด พรรคเดโมแครตได้รับการสนับสนุนจากหลายวงการ ทั้งพวกเจ้าของที่ดินและกลุ่มอนัรักษ์นิยมของราษฎรในชนบททั่งนี้เพราะพรรคหยิบยื่นโอกาสให้พวกเขาได้แก่แก้แค้นพรรคอารืพีพี ที่อันธพาลใหญ่ รวมหัวเมืองต่าง ๆ มีการรวมพลังของชนชั้นกลางที่ไม่ยอมอภัยให้กับพรรคอาร์พีพี เปลี่ยนแนวทาไปยึดหลักรัฐนิยม

การเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน
การเปลี่ยนแปลงแนวทางการศึกษาเข้าสู่ระบบทางโลกดำเนินไปอย่างจริงจัง ปี 1925 สถาบันการการศึกษาภายใต้การบริหารของศาสนาถูกสั่งปิด มีการประกาศใช้การศึกษาภาคบังคับระดับประถมศึกษา ปี 1928 อักษรอาหรับที่ยุ่งยากถูกยกเลิก อักษรละตินซึ่งเหมาะกับภาษาตุรกีมากกว่าถูกนำเข้ามาแทนที
การแต่งกาย มีการสั่งห้ามสวมเฟส และหมวกแขก มุสตาฟา เคมาล ทำตัวเป็นผู้นำในการใช้หมวกฝรั่งกับหมวกแกปซึ่งเป็นที่ยอมรับกันมากกว่า การพัฒนาสตรีให้ก้าวหน้าทัดเทียมกับทางตะวันตกไม่ใช่แค่เรื่องเครื่องสำอางค์ แต่ยังถึงรวมการให้สิทะทางการเมืองซึ่งจะช่วยปลดแอกให้สตรีได้เร้วยิ่งขึ้น สตรีตุรกีได้รับการสนับสนุนเข้าสู่ทุกสาย งานอาชีพ ไม่แพ้ผู้ชายประมวลกฎหมายเพ่งที่รับแบบอย่างมาจากสวิสเซอร์แลนด์ช่วยรับรองสิทธิความเสมอภาคทางกฎหมายให้พวกเธอได้เป็นอย่างดี
วิวัฒนาการจากอุมมะฮ มาเป็นประเทศนำมาซึ่งกำเนิดของนามสกุลในปี 1934 มีการแข่งขันกันตั้งชื่อสกุลของผู้รักชาติขึ้นมากมาย แต่เคมาลกลับไม่ต้องลำบากคิดหาเองสมัชชาแห่งชาติมอบชื่อสกุลที่เหมาะสมให้กับข่าวอาตาตุร์ค แปลว่า บิดาแห่งชาวตุรกี

บทส่งท้าย
ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้ปิดฉากจักรวรรดิอันยิ่งใหญ่สองจักรวรรดิ ซึ่งประกอบด้วยชนหลายเชื้อชาติ จักรวรรดิออตโตมานและจักรวรรดิออสเตรีย –ฮังการี ซึ่งร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหล่ได้พ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งกลายเป้นประวัติศาสตร์ไปแล้วทั้งสองอาณาจักรถูกริดรอนดินแดนโดยมหาอำนาจผู้มีชัย แต่ชะตากรรมซึ่งรอคอยประชากรหลายเชื้อชาติของจักรวรรดิดังกล่าวมีความแตกต่าง
รัฐชาติอิสระหลายรัฐ ซึ่งมีออสเตรียปัจจันรวมอยู่ด้วยนั้นสามารถเกิดขึ้นมาจากจักรวรรดิออสเตรีย แต่ตรงกันข้าม เราได้เห็นประเทศที่มีเอกราชสมบูรณ์เพียงประเทศเดียวคือ สาธารณรัฐตุรกี เกิดมาจากดินแดนต่าง ๆของจักรวรรดิออตโตมานดินแดนที่เหลือถูกแบ่งปันระหว่างมหาอำนาจเจ้าอาณานิคม ซึ่งเป็นผู้ชนะ ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส และอิตาลี ข้อยกเว้น ซึ่งคือเกิดการประเทศตุรกีมิได้เป็นเหตุมาจากความใจกว้างของผู้ชนะแต่เป็นผลมาจากการทำสงครามที่เจ็บปวดเพื่อความอยู่รอดซึ่งกินเวลาถึงห้าปีหลังจากการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 ใน ค.ศ. 1918 การต่อสู้ ซึ่งนำโดย มุสตาฟา เคมาล อตาร์เติร์ก ได้ช่วยตุรกี ให้หลุดพ้นจากชะตากรรม ซึ่งประสบโดยซีเรีย เลบานอน จอร์แดน อิรัก ปาเลสไตน์ ลิเบีย และชาติอื่น ๆ อีกหลายชาติ ซึ่งตกอยู่ใต้อาณัตของประเทศจักรวรรดินิยม
ความจริงข้อนี้เพียงพอแล้วจารึกชื่อมุสตอฟา คามาล ในตำราประวัติศาสตร์และสถาปนาให้เป็นวีรบุรุษของชาติ แต่นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของผลงานที่ยิ่งใหญ่กว่า ได้แก่การสร้างรัฐสมัยใหม่ที่มีความเป็นเอกเทศจากศาสนาขึ้นมาจากซากของจักรวรรดิที่เสื่อมโทรมเก่าแก่ และผู้ติดกับศาสนา ประชาธิปไตยระบบรัฐสภา อธิปไตยที่แท้จริงของชาติ ประมวลกฎหมายสมัยใหม่ ความเป็นเอกเทศจากศาสนา สิทธิสตรี และตัวอักษรใหม่คือส่วนหนึ่งของการปฏิรูปที่มุสตาฟา เคมาล อตาร์เติร์ก ริเริ่มขึ้นและดำเนินการได้สำเร็จ ไม่จำเป็นต้องต้องกล่าวรายละเอียดให้มากกว่านี้เกี่ยวกับความสำคัญและความยากลำบาก ซึ่งอตาเติร์กประสบในการทำการปฏิรูปดังกล่าวในหมู่ประชาชนที่ถูกทอดทิ้งและกดขี่มานาน แม้ว่าจะเป็นดินแดนที่เก่าแก่และภาคถูมิจักรวรรดิออตโตมานซึ่งมือดีอันรุ่งโรจน์ได้มากลายเป็นสนามลัทธิจักรวรรดินิยมแบบใหม่ จะแทรกซึมได้ง่ายในบั้นปลาย การให้สิทธิพิเศษทางเศรษฐกิจ การเมือง และศาสนาแก่ต่างประเทศได้กัดกร่อนอธิปไตยของจักรวรรดิไปจนกระทั่งได้รับสมญานาม”คนป่วยแห่งยุโรป” ฉะนั้นสงครามเพื่อความอยู่รอดของชาติ การปฏิรูปก้าวหน้า ซึ่งได้ลบร่องรอยทั้งหมดของอิทธิพลต่างชาติอันเป็นบ่อเกิดแห่งพลัง สำหรับผู้นำในการต่อสู้เพื่อปกป้องเอกราชของชาติ ซึ่งยังผลให้เกิดรัฐชาติใหม่ ๆ ในแอฟริกา ตะวันออกกลาง และเอเชีย อีกทั้งได้ทำลายลัทธิล่าอาณานิคมดังที่ปรากฎอยู่จนถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20

บรรณานุกรม
จรัล มลูลีม.2541. อเชียตะวันตกศึกษา.ภาพรวมทางประวัติศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์. กรุงเทพ ฯ
สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นันทนา เตชะวาณิชย์ 2535 ประวัติสาสตร์ตะวันออกกลาง . กรุงเทพ ฯ สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นิล คำปังสุ์ 2542. แปลจาก ซาแฟร์ เบคเลเยน .ตุรกี กรุงเทพฯ สำนักงานพิมพ์หน้าต่างสู่โลก
กว้าง จำกัด

ประจักษ์ ช่วยไล่ .2511 โลกอิสลาม กรุงเทพ ฯ ห้างหุ้นส่วนจำกัด เซ้าซ์ ซี พับบลิเคชั่น

ศรีสุรางค์ พูลทรัพย์ .2532 . ผลการปฏิรูปประเทศสมัยอตาเติร์กต่อประเทศตุรกี ปัจจุบัน
กรุงเทพ ฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ศรีสุรางค์ พูลทรัพย์ .2531 . ยังออตโตมาน ยังเติร์กและอนาเติร์ก แบบฉบับปฏิรูป และการปฏิวัติ
วารสารธรรมศาสตร์ ปีที่ 16 ฉบับที่ 1

อ้างจากเอกสารประกอบการสอนรายวิชาหลักการบริหารในอิสลาม 3 สาขารัฐประศาสนศาสตร์มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา

4 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ23 ธันวาคม 2553 เวลา 06:04

    ขอบคุณค่า ได้ประโยชน์มากจริง ๆ ^^

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ25 มกราคม 2554 เวลา 00:29

    ขอบคุณนะคะ

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ23 ตุลาคม 2554 เวลา 13:54

    ขอก้อปน่ะค่ะ...ขอบคุนค่ะ

    ตอบลบ
  4. ขอมูลเป็นประโยน์มากเลยครับ ได้รู้เรื่องราวที่ยิ่งใหญ่ของนักปราชญ์อิสลาม
    ผมดีใจมากเลยครับที่มีพี่น้องเขียนเว็บบล็อกบันทึกเรื่องราวดีๆ ให้เราได้อ่านกัน
    เทคโนโลยีในโลกปัจจุบันนี้ ทุกอย่างเป็นเรื่องที่ง่ายและสะดวกมากครับสำหรับการเผยแพร่ความรู้แล้วก็ย่อมบังเกิดผลบุญ Insyalloh ผมจะช่วยโปรโมตให้พี่น้องของเราได้อ่านเรื่องราวดีๆเช่นนี้ในโอกาสต่อไปครับ

    ตอบลบ